Friday, 3 May 2024
LITE

รู้จัก 'โรคเตียงดูด' เสพติดการนอน อีกหนึ่งสัญญาณเตือนอาการป่วย

(2 มี.ค.66) ชวนทำความรู้จักภาวะ 'Dysania' หรือ ภาวะเสพติดการนอน โดยทางเว็บไซต์ POBPAD ได้อธิบายเกี่ยวกับโรคนี้ว่า เสพติดการนอน (Dysania) หรือที่บางคนเรียกว่า 'โรคเตียงดูด' เป็นภาวะที่ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและง่วงนอนมากจนไม่สามารถลุกขึ้นจากเตียงได้ แม้จะไม่ได้จัดเป็นโรคโดยตรง แต่อาการที่เกิดขึ้นมักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา

อาการของ Dysania โรคเตียงดูด
รู้สึกไม่อยากลุกจากเตียง ใช้เวลาอยู่บนเตียงนานผิดปกติทั้งในเวลากลางคืนและระหว่างวัน แต่คนที่มีภาวะเสพติดการนอนอาจไม่ได้ใช้เวลานอนหลับนานกว่าคนอื่นเสมอไป

ทั้งนี้ ระยะเวลาการนอนปกติของคนทั่วไปจะแตกต่างกันตามช่วงอายุ เช่น เด็กวัยเรียนอายุ 6–13 ปี ใช้นเวลานอนวันละ 9–11 ชั่วโมง วัยรุ่นอายุ 14–17 ปี ใช้เวลานอนวันละ 8–10 ชั่วโมง และผู้ใหญ่อายุ 18–64 ปี ใช้เวลานอนวันละ 7–9 ชั่วโมง หากนอนหลับอย่างเพียงพอตามระยะเวลาแต่ยังรู้สึกอ่อนเพลียมาก และไม่สามารถตื่นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ 

สาเหตุและผลเสียของการเสพติดการนอน

โรคซึมเศร้า ผู้ป่วยมักมีอาการนอนมากผิดปกติและอ่อนเพลีย ร่วมกับอาการอื่น เช่น เศร้าและร้องไห้บ่อย หมดความสนใจต่อสิ่งรอบตัว ความอยากอาหารและน้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะและปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ

กลุ่มอาการความล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome หรือ Myalgic Encephalomyelitis) ที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากลุกจากเตียง และแม้จะพักผ่อนแล้วก็ยังรู้สึกไม่ดีขึ้น

ภาวะนอนมากเกินไป (Hypersomnia) ทำให้มีอาการง่วงนอนมากในช่วงกลางวันจนสามารถหลับได้ตลอดเวลา

ความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) ที่ทำให้นอนหลับยากหรือหลับไม่สนิท เมื่อตื่นมาจะรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย และไม่อยากลุกจากเตียง

โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โลหิตจาง มะเร็ง ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) และกลุ่มโรคไทรอยด์อย่าง ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) และโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน (Hashimoto’s Thyroiditis) ที่ทำให้ผู้ป่วยอ่อนเพลียง่ายกว่าคนทั่วไป

ความเศร้าโศกเสียใจ ที่เกิดจากการสูญเสีย ซึ่งอาจทำให้นอนหลับยากและนอนไม่พอ

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ยาต้านเศร้าที่ทำให้อ่อนเพลียและง่วงนอน

วิธีรับมือกับอาการไม่อยากตื่น

2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ ขณะประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ

วันนี้ เมื่อ 89 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ

“…ข้าพเจ้าเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร

บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิ์ออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จและเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าในฐานที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวงอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมาก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์…”

ข้อความนี้คือบางส่วนของคำประกาศสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เวลา 13.45 น. ซึ่งเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับพระราชหัตถเลขาของพระองค์ไว้ในฐานะผู้แทนรัฐบาล

ก่อนหน้านั้นระหว่างการเสด็จประพาสยุโรป รัชกาลที่ 7 ทรงมีโทรเลขมาถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นเหตุให้ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ทรงทำหนังสือไปถึง พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีถ้อยคำบางส่วนว่า

กิ่งทองใบหยก ‘ปอย ตรีชฎา’ จูงมือ ‘โอ๊ค ภควา’ เข้างานวิวาห์ชื่นมื่น จัดพิธีเรียบง่ายแบบภูเก็ตดั้งเดิม ทำเจ้าสาวน้ำตาริน

เปิดภาพบรรยากาศงานแต่งพิธียกน้ำชา เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (1 มี.ค. 66) โดย เพจ ‘Baan Ar-Jor บ้านอาจ้อ’ ได้โพสต์ภาพสุดหวานชื่นของ ‘ปอย ตรีชฎา’ และ หวานใจ ‘โอ๊ค ภควา’ ซึ่งจัดตามพิธีแบบภูเก็ตดั้งเดิม สุดแสนอบอุ่น มีเหล่าบรรดาญาติมิตรสนิท ร่วมอวยพร 

 

ที่สถิตแห่งความผูกพัน ‘วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร’ ศิลปะแห่งการผสมผสาน ที่ ‘รัชกาลที่ 3’ ทรงผูกพัน ทรงรับสั่ง “ตายแล้วจะมาอยู่ที่วัดนี้”

เมื่อไม่นานมานี้ เฟซบุ๊ก ‘น้ำเงินเข้ม’ ได้โพสต์เรื่องราวถึงความผู้กพันระหว่าง ‘พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3’ และ ‘วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร’ โดยระบุว่า

วัดที่ “ร.3” ทรงผูกพันมาก ถึงขั้นรับสั่งว่า ตายแล้วจะมาอยู่ที่วัดนี้

“ถ้าข้าตายแล้ว ข้าจะมาอยู่ที่ต้นพิกุลนี้”
คือพระราชกระแสรับรับสั่งของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับได้ว่าอยู่ในยุคแห่งความรุ่งเรืองและมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองอย่างมาก เพราะล้นเกล้าฯ ทรงหาเงินเข้าท้องพระคลังได้เป็นจำนวนมาก ด้วยวิธีการระบบการจัดเก็บภาษี เช่น จังกอบ อากร ฤๅชา ส่วย ภาษีเงินค่าราชการจากไพร่ เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน และวิธีที่ทรงหาเงินมาได้มากที่สุดก็คือ การต่อกำปั่นเรือสำเภาออกไปค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งทรงสนพระราชหฤทัยและเชี่ยวชาญมาตั้งแต่ครั้งทรงเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” จนพระบรมชนกนาถ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2) ตรัสเรียกพระองค์ว่า “เจ้าสัว” 

กล่าวกันว่าหลังสวรรคต เงินในท้องพระคลังยังคงมีเหลือถึง 40,000 ชั่งเลยทีเดียว นอกจากนี้เงินบางส่วนในจำนวนนี้ยังช่วยกู้แผ่นดินไว้ได้เมื่อครั้งเกิดวิกฤติในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ร.ศ. 112 กับฝรั่งเศส ซึ่งล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 ได้รับสั่งให้ใส่ถุงแดงเก็บไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง ราวกับทรงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า 

ด้วยเหตุที่เป็นยุคสมัยที่มีความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมาก รัชกาลที่ 3 จึงทรงปรารถนาที่จะทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงบูรณะวัดวาอารามขึ้นมาใหม่หลายวัด หนึ่งในนั้นก็คือ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร อันถือกันว่าเป็นวัดประจำรัชกาล และเป็นที่มาของพระราชกระแสรับสั่งดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แสดงถึงความผูกพันที่ทรงมีกับวัดแห่งนี้

“วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร” เดิมชื่อ “วัดจอมทอง” เป็นวัดเก่าแก่ฝั่งธนบุรีที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมารัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาวัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม ตั้งแต่ยังทรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอฯ ต่อมาเมื่อครั้งปี พ.ศ. 2363 ทรงยกทัพไปสกัดพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทองแห่งนี้ จึงทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม และทรงตั้งจิตอธิษฐานให้มีชัยชนะในศึกราชการทัพครั้งนี้ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา จึงทรงยกทัพกลับ และเดิมทีวัดแห่งนี้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2360 หลังเสร็จศึกจึงทรงบูรณะต่อจนแล้วเสร็จและยกสถานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “วัดราชโอรส” หมายถึงตัวพระองค์เอง แล้วโปรดให้มีงานฉลองสมโภชเมื่อปี พ.ศ. 2374 

ในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสฯ แห่งนี้ ทรงควบคุมงานก่อสร้างโดยพระองค์เอง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ล้วนเป็นไปตามพระราชนิยมโดยผสมผสานระหว่างไทยและจีนเข้าด้วยกันอย่างประณีต แตกต่างจากยุคสมัยในรัชกาลก่อน ๆ ดังกลอนเพลงยาวยอพระเกียรติยศที่พระยาไชยวิชิต (เผือก) แต่งทูลเกล้าฯ ถวายพระองค์ ความตอนหนึ่งว่า

“วัดไหนไหนก็ไม่ลือระบือยศ เหมือนวัดราชโอรสอันสดใส
เป็นวัดเดิมเริ่มสร้างไม่อย่างใคร ล้วนอย่างใหม่ทรงคิดประดิษฐ์ทำ

ทรงสร้างด้วยมหาวิริยาธึก โอฬารึกพร้อมพริ้งทุกสิ่งขำ
ล้วนเกลี้ยงเกลาเพราเพริศดูเลิศล้ำ ฟังข่าวคำลือสุดอยุธยา

จะรำพันสรรเสริญก็เกินสมุด ขอยกหยุดพองามตามเลขา
กำหนดสร้างพระอาวาสโดยมาตรา ประมาณช้านับได้สิบสี่ปี”

นอกจากนี้ จอห์น ครอว์เฟิร์ด ผู้ซึ่งเป็นแพทย์ นักการทูต และนักเขียนชาวสก็อตติช และเป็นทูตที่เดินทางเข้ามายังสยามเมื่อปี พ.ศ. 2364 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตามคำสั่งของลอร์ดเฮสติงส์ ผู้สำเร็จราชการประจำอินเดีย เพื่อให้สยามยกเลิกการจำกัดการค้าเสรี แต่ด้วยการแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมของครอว์เฟิร์ดทำให้การเจรจาล้มเหลวและต้องเดินทางกลับไป ได้บันทึกเรื่องราวการก่อสร้างวัดราชโอรสฯ แห่งนี้ไว้เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2365 ว่า

ตามบรรดาวัดที่เราได้เห็นมาแล้วในกรุงเทพฯ ไม่มีวัดไหน จะทำด้วยฝีมือประณีตงดงามเท่าวัดนี้ ขณะที่เราไปนั้นวัดกำลังก่อสร้างอยู่ เราได้มีโอกาสเห็นลำดับแห่งการก่อสร้าง เช่น องค์พระประธาน ก็เห็นหล่อขึ้นแล้ว แต่บางส่วนวางเรียงรายอยู่ในโรงงานแห่งหนึ่ง รอไว้ประกอบเมื่อภายหลัง ได้ทราบว่าโลหะที่ใช้ในการนี้ คือ ดีบุก สังกะสี ทองแดง เจือด้วยธาตุอื่นๆ อีกบ้างโดยไม่มีส่วนที่แน่นอนเพราะจักเป็นการยากอยู่บ้างที่จะกำหนดส่วน

คืนที่ดาวครองฟ้า!! ชวนดูปรากฏการณ์ 'ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี' เมื่อ 'เทวีแห่งความรัก' เคียงคู่ 'ครูของปวงเทวดา'

ห้วงท้องฟ้าดาราศาสตร์ไทยในระหว่างหัวค่ำวันที่ 1-3 มีนาคม พ.ศ. 2566 นี้ จะเกิดมีปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม 'ดาวศุกร์' เคียง 'ดาวพฤหัสบดี' ทางทิศตะวันตก อวดความสวยงามของวัตถุท้องฟ้าดังกล่าว ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณสองทุ่ม สว่างเด่นสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านเพจเฟสบุ๊ก @NARITpage มีเนื้อหาโดยย่อว่า "...ช่วงวันที่ 1 ถึง 3 มีนาคม 2566 จะเกิดปรากฏการณ์ 'ดาวเคราะห์ชุมนุม' ดาวศุกร์ปรากฏเคียงดาวพฤหัสบดี ทางทิศตะวันตกบริเวณกลุ่มดาวปลาคู่ (Pisces) หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นต้นไป จนถึงเวลาประมาณ 20.00 น. สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ในวันที่ 1 มีนาคม 2566 ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏอยู่เหนือดาวศุกร์ ห่างประมาณ 0.8 องศา  จากนั้นวันที่ 2 มีนาคม 2566 ดาวศุกร์จะเปลี่ยนตำแหน่งมาปรากฏเคียงดาวพฤหัสบดี ห่างกันประมาณ 0.6 องศา และในวันที่ 3 มีนาคม 2566 ดาวศุกร์จะปรากฏอยู่เหนือดาวพฤหัสบดี ห่างกันประมาณ 1.4 องศา และค่อย ๆ ทำมุมห่างออกจากกันมากขึ้นหลังจากนี้"

'ดาวศุกร์' (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ในลำดับที่ 2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ Venus (วีนัส) ยืมมาจาก 'เทพีแห่งความรัก' ของโรมัน โดยชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่ด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ จึงเชื่อว่าดาวศุกร์น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้ว นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀ หรือสัญลักษณ์แทนสตรีเพศนั่นเอง

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
✨ประจำวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566

บลิ้งค์ไทยช็อก! ราคาบัตรคอนเสิร์ต 'BLACKPINK' พุ่ง แห่ติดแฮชแท็ก #แบนlivenationth – เล็งส่งเรื่องถึง สคบ.

(1 มี.ค. 66) ติดเทรนทวิตเตอร์ยาวๆ กันเลยทีเดียวสำหรับแฮชแท็ก #แบนlivenationth หลังทางผู้จัดงานปล่อยผังละราคาบัตรคอนเสิร์ต BLACKPINK WORLD TOUR [BORN PINK] BANGKOK ENCORE ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 27 - 28 พฤษภาคม 2566 ที่ราชมังคลากีฬาสถาน 

งานนี้เจอกระแสตีกลับอย่างแรง เมื่อ Live Nation Tero ปล่อยผังและราคาบัตรออกมานั้น ราคาแรงแบบสุดๆ ซึ่งบัตรวีไอพีแพ็กเกจมีราคาสูงถึง 14,800 บาทจากเดิมที่มีราคา 9,600 บาท ซึ่งมีราคาสูงกว่าราคาเดิมถึง 5,000 บาท 

‘พาณิชย์’ โชว์กางเกงมวยผ้าไหมไทย สุดงาม หนุนงานศิลปหัตถกรรม - ผลักดันสู่ Craft Power

‘พาณิชย์’ โชว์กางเกงมวยผ้าไหมไทย สุดงาม เดินหน้าผลักดัน Craft Power ผ่าน 'บัวขาว' และ 'แอนนา เสืองามเอี่ยม'

(1 มี.ค. 66) นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit ดำเนินการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวที่แสดงให้เห็นถึงพลังของงานศิลปหัตถกรรมไทย หรือ Craft Power ดึงเสน่ห์แห่งภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดทางการค้าและสร้างความหลากหลายทางการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จึงเป็นที่มาของการจัดงาน 'Andaman Craft Festival' ในวันที่ 12 มี.ค. 2566 ณ ลานมังกร จังหวัดภูเก็ต ภายใต้แนวคิด 'Hand on the smile with Thai Craft' มอบรอยยิ้มและความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือนด้วยงานศิลปหัตถกรรมไทยและความเป็นมิตรของคนไทย โดยมั่นใจว่านอกจากจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว ยังจะช่วยสร้างรายได้ให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยในตลาดสินค้าของขวัญของที่ระลึกในจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ภาคใต้ เกิดเม็ดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท

1 มีนาคม พ.ศ. 2433 รัชกาลที่ 5 ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา

วันนี้ เมื่อ 133 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพ ฯ ถึงเมืองนครราชสีมาเป็นทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย

เมื่อ พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งในเครื่องราชบรรณาการนั้นมีรถไฟเล็กจำลองย่อส่วนจากรถจักรไอน้ำของจริงที่ใช้ในเกาะอังกฤษ ประกอบด้วยหัวรถจักรไอน้ำชนิดมีปล่องสูงและรถพ่วงครบขบวน ซึ่งเป็นที่สนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น แต่ตลอดรัชสมัยของพระองค์ยังไม่มีการสร้างทางรถไฟเกิดขึ้น เพราะภาวะเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยามในขณะนั้นยังอยู่ในฐานะที่ไม่มั่นคงและยังมีจำนวนประชากรน้อยอยู่

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากการทรงทอดพระเนตรการสร้างทางรถไฟในชวาและทรงประทับรถไฟในอินเดีย พระองค์ทรงเห็นว่ารถไฟจะทำให้ราชอาณาจักรสยามมีความเจริญยิ่งขึ้น และจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับราชอาณาจักรได้ ซึ่งในขณะนั้นราชอาณาจักรสยามกำลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกในการล่าอาณานิคม ดังนั้นการสร้างทางรถไฟจึงได้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433 โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงนครราชสีมา ดังมีข้อความแสดงพระราชดำริบางดอนว่า

"การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาในระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้ความเจริญแก่บ้านเมืองได้เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถๆฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยากให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ไปมาถึงกันได้โดยสะดวกเร็วพลัน การย้ายขนสินค้าไปมาเป็นการลำบาก ก็สามารถจะย้ายขนไปมาถึงกันได้โดยง่าย เป็นการเปิดโอกาสให้อาณาประชาราษฎร์ มีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไปและทำทรัพย์สมบัติกรุงสยามให้มากมียิ่งขึ้นด้วย ทั้งเป็นคุณประโยชน์ในการบังคับบัญชา ตรวจตราราชการบำรุงรักษาพระราชอาณาเขตให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขได้โดยสะดวก"

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ จากนั้นในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงขุดดินถมทางรถไฟหลวงสายแรก

‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ภัยทันสมัยในม่านควัน หรือวาทกรรมที่ถูกปั้นเพื่อให้คนกลัว

“...แวดวงนักกลืนควันในอดีต เวลาจุดบุหรี่สูบก็ต้องสูบให้หมดมวน แต่บุหรี่ไฟฟ้าสูบคำสองคำก็พอ ทำให้ลดการสูบลง” คือคำพูดของเด็กหนุ่มใกล้ตัวที่คุยกับผม ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ได้รับความนิยมอย่างสูงในแวดวงนักกลืนควันวันนี้ ทั้งที่รู้อยู่เต็มบอกว่ามันก็มีอันตรายไม่แตกต่างจากบุหรี่ (จริง)

บรรพบุรุษของบุหรี่รุ่นแรกมีหน้าตาค่อนไปทางซิการ์ คือ มวนโตและห่อพัน (ใบยาสูบ) ด้วยใบยา (อีกที) และดูเหมือนจะมีมาก่อนในดินแดนเม็กซิโกและอเมริกากลาง ราวศตวรรษที่ 9 ซึ่งก็คือบริเวณที่ชาวมายาและแอซเท็กเริ่มสูบยา รวมถึงใบยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทกับพิธีกรรมทางศาสนา โดยพบหลักฐานภาพวาดบนเครื่องปั้นดินเผาและภาพแกะสลักบนวิหาร เป็นภาพนักบวชหรือเทพเจ้ากำลังสูบบุหรี่ ซึ่งทั้งซิการ์กับบุหรี่คือ วัฒนธรรมของชนชาวพื้นเมืองแถบแคริบเบียน, เม็กซิโก, อเมริกากลาง และใต้ ก่อนเผยแพร่ไปทั่วโลกเพียงไม่กี่ทศวรรษ

“สูบบุหรี่แก้ขวย ช่วยเข้าสังคม” คือคำโฆษณาจากรัฐบาลยุคมาลานำไทย เชิญชวนให้คนสูบบุหรี่ (ซึ่งเป็นกิจการของรัฐ) นัยว่าช่วยพัฒนาประเทศทางอ้อม ด้วยภาพลักษณ์ของการสูบบุหรี่ยังดูโก้เก๋ ทันสมัย มีอารยะ

คนไทยโบราณไม่ว่าหญิงหรือชายจะมีของติดตัวกันแทบทุกคน สำหรับสตรีไทย คือ ‘กระทายหมาก’ หรือ ‘เชี่ยนหมาก’ ส่วนของบุรุษก็คือ ‘กลักบุหรี่’ หรือ ‘กระป๋องใส่บุหรี่’ ที่ยังไม่ได้มวนพร้อมสูบ สมัยนั้นเวลาจะสูบบุหรี่สักที ก็ต้องนั่งมวนต่อมวน แล้วจุดด้วยไฟที่เกิดจากการตี ‘หินเหล็กไฟ’ จนเกิดประกายติดใส่นุ่นในหลอดที่มีพร้อมอยู่ข้างกาย จึงจะได้สูบบุหรี่สำเร็จได้ดังใจนึก

บุหรี่หรือยาสูบ เคยถูกใช้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนควบคู่กับ ‘หมาก - พลู’ โดยเห็นได้จากคำกล่าว “หมากพลู บุหรี่” รับแขกบนชานเรือนของตน ก่อนการแพทย์และสาธารณสุขจะล่วงรู้ถึงภัยร้ายของควันบุหรี่ จนกระทั่งสังคมก็เริ่มเสื่อมความนิยมต่อ ‘บุหรี่’ ลงเป็นลำดับ

แต่หากดูตามสถิติ ‘นักสูบหน้าใหม่’ ก็ยังเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยหันหาสิ่งที่เรียกว่า ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ มากขึ้น ๆ และด้วยความเชื่อว่า ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ มีภัยต่อร่างกายน้อยกว่า ‘บุหรี่’ จริง

28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ก้มกราบแผ่นดิน หลังลี้ภัยในต่างแดน 1 ปี 5 เดือน

วันนี้ เมื่อ 15 ปีก่อน ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังจากต้องลี้ภัยในต่างแดนเป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน จากเหตุรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549

ย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ได้มีภาพของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรากฏและเป็นข่าวโด่งดังซึ่งประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก กับกรณีการ ก้มกราบแผ่นดิน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

หลังจากที่ นายทักษิณ ต้องออกจากประเทศไทยและลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษนานถึง 1 ปี 5 เดือน เนื่องจากถูกปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งนำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. เมื่อปี 2549

เหตุการณ์ในวันนั้น เมื่อนายทักษิณ เดินทางมาถึง ได้อยู่ภายในห้องวีไอพีกับครอบครัว ซึ่งเป็นห้องที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจัดเตรียมไว้ให้เซ็นรับทราบข้อกล่าวหา รวมถึงทำกระบวนการต่างๆ ตรวจพาสปอร์ต จากนั้นได้เดินออกจากอาคารสนามบินสุวรรณภูมิทักทายอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย รัฐมนตรี และ ส.ส. ที่มายืนรอต้อนรับ

27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ในพิธี วางศิลาฤกษ์ ‘เขื่อนสิริกิติ์’

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

เดิมเขื่อนนี้มีชื่อว่า 'เขื่อนผาซ่อม' โดยก่อสร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายหลังได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาขนานนามเขื่อนว่า เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511

'ปาท่องโก๋' ที่คุ้นเคย แท้จริงชื่อ 'อิ่วจาก้วย' เกิดจากความแค้นต่อ '2 ผัวเมีย' กบฏขายชาติ

'ปาท่องโก๋' เป็นอาหารที่คนไทยนิยมรับประทาน ไม่ว่าจะในอาหารมื้อเช้า หรือกินเล่นเป็นขนม จับคู่กับเครื่องดื่มทั้งชา กาแฟ หรือเครื่องเคียงรสชาติเลิศอย่าง นมข้นหวาน สังขยา ฯลฯ ต่างก็ลงตัวเข้ากันและอร่อยสุดๆ

เราเข้าใจตรงกันว่า ปาท่องโก๋ หมายถึง แป้งทอดที่ประกบคู่กันกรอบนอกนุ่มใน หรือมีบางร้านดัดแปลงเติมความสร้างสรรค์เป็นรูปไดโนเสาร์ หรือ มังกร หรือรูปร่างอื่นๆ ที่สะดวก

แต่ความรู้ด้านหนึ่งที่มีการเข้าใจผิดในเรื่องของภาษาและการเรียกตามความนิยม นั่นคือ แท้จริงแล้ว 'ปาท่องโก๋' ที่เป็นภาษากวางตุ้ง แปลว่า 'ขนมน้ำตาลขาว' เป็นขนมชนิดหนึ่งของคนกวางตุ้ง รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม เนื้อสัมผัสคล้ายกับขนมถ้วยฟู

แต่ลักษณะของปาท่องโก๋ที่คนไทยเรียกกันนั้น คือ 'อิ่วจาก้วย' หรือ 'อิ้วจาก๊วย' เป็นภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า ขนมทอดน้ำมัน ซึ่งตรงตามลักษณะของ 'ปาท่องโก๋' แบบที่เราเรียกติดปาก 

'อิ่วจาก้วย' มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน เป็นภูมิปัญญาที่คนจีนบ่มเพาะความคิดผสมความเคียดแค้น ก่อนจะกลายมาเป็นอาหารยอดนิยมอย่างในปัจจุบัน

ขอย้อนกลับไปในสมัยซ่งใต้ที่มีเมืองลิ่มอันเป็นเมืองหลวง (ราชวงศ์ซ่งมี 2 ยุค คือ ซ่งเหนือ ค.ศ. 960-1127 และซ่งใต้ ค.ศ. 1127-1279) ยุคนั้นราชวงศ์ซ่งใต้กำลังมีศึกปะทะกับประเทศไต้กิม โดยซ่งใต้ในขณะนั้นมี 'งักฮุย' หรือ 'เย่ว์เฟย' เป็นยอดขุนพล ที่นอกจากเก่งกาจด้านการรบที่สามารถต่อต้านทัพศัตรูได้ทุกครั้ง งักฮุยยังเป็นคนดีมีคุณธรรม จงรักภักดี รักชาติยิ่งชีพ จนเป็นที่นิยมรักใคร่ของคนจีนทั้งประเทศ

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ศาลสั่งยึดทรัพย์ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ รวมมูลค่ากว่า 46,000 ล้านบาท

วันนี้ เมื่อ 13 ปีก่อน ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายึดทรัพย์ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 46,373 ล้านบาท คืนเงิน 30,247 ล้านบาท

องค์คณะผู้พิพากษาเริ่มอ่านคำพิพากษาในเวลา 13.30 น.ใช้เวลาอ่านคำฟ้องของอัยการ 1 ช.ม.อ่านคำคัดค้านการยึดทรัพย์ของผู้ถูกร้อง (จำเลย) 1.30 ช.ม. เริ่มเข้าสู่การพิจารณาในแต่ละประเด็น 16.00 น.

1. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะคดีนี้ไม่ใช่คดีความผิดทางละเมิดของศาลปกครอง หรือ คดีถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

2. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ร้อง ทั้งอัยการ, ป.ป.ช., คตส. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน ตกเป็นของแผ่นดิน เพราะ

2.1 พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ปี 42 ไม่ได้สิ้นสุดลงตาม รธน.40 จากการยึดอำนาจ 19 ก.ย.49
2.2 คตส.จึงสามารถใช้อำนาจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบการทุจริต ตามประกาศ คปค.ได้

2.3 การที่ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.กำหนดให้การฟ้องคดีร่ำรวยผิดปกติ ต้องทำในสมัยที่นักการเมืองคนนั้น อยู่ในตำแหน่ง ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับการตรวจสอบของ คตส.ที่มีการบัญญัติไว้เป็น กม.เฉพาะได้

2.4 การตั้งนายกล้าณรงค์ จันทิก , นายบรรเจิด สิงคเนติ , นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นอนุกรรมการตรวจสอบชอบด้วย กม.ไม่ได้มีอคติ หรือ เป็นปรปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหา เพราะการไปฟังกลุ่มพันธมิตรฯปราศรัย , การแสดงความเห็นตรงข้ามกับผู้ถูกกล่าวหา เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในฐานะประชาชนทั่วไป , นักวิชาการ และ ส.ว. ไม่ได้มีเรื่องโกรธแค้นเป็นการส่วนตัวกับผู้ถูกกล่าวหา

2.5 ป.ป.ช.ชุดนี้ตั้งตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ซึ่งชอบด้วย กม.แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องให้ ปธ.วุฒิสภา รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

2.6 คดีนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีแพ่งประกอบคดีอาญา ที่ต้องรอผลทางอาญาก่อน ตาม ป.วิ อาญา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาได้ โดยไม่ต้องรอให้มีคำพิพากษาในส่วนที่เป็นคดีอาญาก่อน

3. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้นชินคอร์ปผ่านเครือญาติ และนิติบุคคลที่ตัวเองตั้งขึ้น

25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ เป็นวันแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในไทย

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันที่ประเทศไทยมีการกระจายเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรก

กิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 ด้วยพระดำริของ 'พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน' เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และโทรคมนาคม

พระองค์ทรงดำริตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น เมื่อพ.ศ.2471 โดยสั่งเครื่องส่งกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง และให้อยู่ในความควบคุมของช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งสถานีที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลวัดราชบูรณะเป็นครั้งแรก ใช้ชื่อสถานีว่า '4 พีเจ' (HS 4 PJ) ต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ ขึ้น ทำการทดลองที่ตำบลศาลาแดงใช้ชื่อสถานีว่า 'หนึ่ง หนึ่ง พีเจ' (HS 11 PJ) ซึ่งการใช้ชื่อสถานีว่า 'พีเจ' ในยุคนั้น ย่อมาจากคำว่า 'บุรฉัตรไชยากร' อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์ท่านนั่นเอง

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top