Sunday, 12 May 2024
The States Times EconBiz Team

Interstate Charging Station ‘สถานีชาร์จไฟฟ้าระหว่างเมือง’ อีกตัวแปร ‘สำคัญ’ ในการเลือกใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ต้องยอมรับว่าในหลายๆ ประเทศการขนส่งหลักจะใช้ยานยนต์เป็นหลัก ซึ่งการที่จะช่วยให้มีการเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาป ต้องคำนึงถึงเรื่องแบตเตอรี่ที่รอบรับการชาร์จได้รวดเร็ว 

ฉะนั้นนอกเหนือจากการมียานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบสนองผู้บริโภคแล้ว สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV Charger ก็ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านการใช้งานไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น

สำหรับสถานีชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV Charging Station เปรียบเทียบได้กับสถานีปั๊มน้ำมัน แต่เปลี่ยนจากเติมน้ำมันเป็นเติมประจุพลังงานไฟฟ้าแทน ซึ่งการชาร์จพลังงานให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั่น จะแบ่งออกเป็น 2 วิธีได้แก่...

1.) Normal Charge เป็นการชาร์จแบบปกติ เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่อยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC โดยขนาดของ On Board Charger นั่นจะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่ ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละคันก็มีขนาดไม่เท่ากัน

และ 2.) Quick Charge ซึ่งเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charging Station (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่จะทำการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ไม่ผ่าน On Board Charger เหมือนกับ Normal Charge ซึ่งวิธีการชาร์จไฟฟ้า จะส่งผลให้ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จลงน้อยลง
 

แบตเตอรี่ Li-ion ขนาด 1 กิกะวัตต์ ต่อยอดอะไรได้บ้าง?

ความหวังสังคมรถไฟฟ้าเด่นชัดขึ้น เมื่อปัจจุบัน บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) บริษัทย่อยในกลุ่มของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เดินเครื่องผลิตแบตเตอรี่ Li-ion AMITA เป็นที่เรียบร้อย 

โดยในระยะเริ่มต้นสามารถผลิตแบตเตอรี่ ขนาด 1 กิกะวัตต์ หรือ 1,000,000 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถนำมาใช้กับรถโดยสารไฟฟ้า ขนาด 11 เมตร ที่ขับเคลื่อนได้ระยะทางสูงสุด 240 กิโลเมตร ได้ถึง 4,160 คันต่อปีกันเลยทีเดียว 

รอทำไม? หากหยุดใช้รถน้ำมัน 10,000 คัน แล้วลดก๊าซเรือนกระจกได้ 220,454 ตันต่อปี

คำถามปลายเปิด ที่แทบไม่ต้องรอคำตอบปลายปิด ในยุคที่พลังงานน้ำมันแพง กอปรกับกระแสความแรงของการรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนโลก รวมถึงประเทศไทย!!

อย่างไรก็ตาม แม้กระแสพลังงานไฟฟ้าที่จะเข้ามาไหลเวียนในพาหนะยุคต่อจากนี้ จะพยายามเร่งสปีดเข้ามาใกล้ชิดกับชีวิตคน โดยเฉพาะคนไทยมากยิ่งแค่ไหน แต่ก็ต้องยอมรับว่าในแง่ของราคาและความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ยังคงอยู่ในระดับของการเฝ้าดูจากผู้บริโภคส่วนใหญ่เสียมาก 

กลับกันแนวคิดในการสนับสนุนยานพาหนะในหมวดขนส่งสาธารณะ หรือ ‘รถโดยสาร’ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ดูจะมีความเป็นไปได้และได้รับแรงหนุนกระแสลดการปล่อยมลพิษของประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ดีกว่า สอดคล้องกับรายงานของ Electric Vehicle Outlook ของ Bloomberg ที่คาดว่า ตลาด ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ (e-Buses) จะถูกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในสัดส่วนมากกว่า 67% ของรถโดยสารทั่วโลกภายในปี 2040

เหตุผลหลัก เพราะ ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ เป็นยานพาหนะที่สามารถเข้าถึงคนได้เป็นจำนวนมาก ยิ่งถ้าพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณะที่ดีควบคู่ได้ ก็จะช่วยให้คนลดการใช้รถส่วนตัว (น้ำมัน) ลดปัญหามลพิษ, ลดปัญหาโลกร้อน ตลอดจนลดปัญหาทางด้านการจราจร ก่อนทั้งโลกจะเปลี่ยนผ่านจากเครื่องสันดาปสู่ไฟฟ้าเต็มตัว 

และนี่แหละ คือ เหตุผลว่าทำไม ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ (รถบัส) อาจจะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านยุคแห่งพลังงานและช่วยลดการปล่อยมลพิษของประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น

ว่าแต่!! พอหันกลับมาดู ประเทศไทย ซึ่งมีการจดทะเบียนรถโดยสารเพื่อการพาณิชย์ หรือ ‘รถโดยสาร’ ในแต่ละปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10,000 คันนั้น

ก็พลันให้เกิดคำถามว่า ถ้าเราเริ่มเปลี่ยน ‘รถโดยสาร’ ที่มีอยู่ให้กลายเป็น ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ ได้ จะช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้เพียงใด? (ปัจจุบันประเทศไทยมี ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ จาก EA หรือ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์)

...220,454 ตันต่อปี คือ ผลลัพธ์จากการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission Reduction) 

...233,333,333.33 ลิตรต่อปี คือ ตัวเลขการใช้น้ำมันดีเซลที่ลดลง ซึ่งเดิมปริมาณตัวเลขนี้ สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 629,701.80 ตันต่อปีกันเลยทีเดียว (หมายเหตุ: คำนวณจากจำนวนรถ 10,000 คัน ระยะทางการวิ่งรถ 200 กิโลเมตรต่อวัน เป็นระยะเวลา 350 วันเท่ากัน)

ยั่งยืนระดับโลก!! EA ติดอันดับดัชนีความยั่งยืนระดับสากล ‘The Sustainability Yearbook 2022’ จาก S&P Global ตอกย้ำเชื่อมั่นนักลงทุนทั้งสถาบันไทยและต่างประเทศ

ปัจจุบันภาคเอกชนนับว่ามีความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่สามารถดึงเม็ดเงินลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

แต่ในขณะเดียวกันบริษัทจดทะเบียนเอง หากต้องการได้รับการยอมรับจากนักลงทุน สิ่งสำคัญคือการพัฒนาธุรกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

เฉกเช่น บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ที่สามารถพัฒนาและสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ จนได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 41 บริษัทไทยติดอันดับดัชนีด้านความยั่งยืนระดับสากล ‘The Sustainability Yearbook 2022’ ระดับ Member ซึ่งจัดโดย S&P Global

อมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) EA สะท้อนภาพธุรกิจของ EA ว่า การที่ S&P Global ประกาศรายชื่อบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับใน The Sustainability Yearbook 2022 ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มี 41 บริษัทไทยที่ติดอันดับจากบริษัททั่วโลก 716 บริษัท โดย EA เป็นหนึ่งในบริษัทที่ติดอันดับดัชนีดังกล่าว ในระดับ Member และผลประเมินด้านความยั่งยืนของ S&P Global สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนในสายตาผู้ลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศ และแน่นอนว่าการจัดอันดับดังกล่าว จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ลงทุนทั่วโลกใช้ในการวิเคราะห์ และพิจารณาตัดสินใจในการเข้าลงทุน

ในปีนี้ S&P Global เน้นย้ำถึงวิกฤติของปัญหาภาวะโลกร้อนที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน นั่นจึงเป็นส่วนช่วยเสริมให้ EA มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เพราะธุรกิจหลักของ EA มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมสร้างศักยภาพทางด้านพลังงานสะอาดและด้านพลังงานไฟฟ้า 

โดยมีธุรกิจที่ถือว่าเป็น New S Curve อย่างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตใหญ่ที่สุดในอาเซียน ตลอดจนเป็นผู้นำด้านสถานีอัดประจุ เพื่อที่จะยกระดับการเดินทางสมัยใหม่ให้มีความสะดวกสบาย ช่วยลดมลภาวะอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ประเทศเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมทั้งสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนไทย มีรายได้สูงขึ้น ช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้าม Middle income Trap ไปสู่ประเทศที่มีศักยภาพและมีความยั่งยืนทางด้านพลังงานในอนาคต

ขณะเดียวกัน EA ยังมีเป้าหมายที่จะพัฒนาองค์กร จากการเป็นผู้ผลิตพลังงานสะอาดสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจ EV แบบครบวงจร ซึ่งในปี 2565 จะเป็นปีแห่งการเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากที่ได้ทยอยลงทุนมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังมีการลงทุนเพิ่มเติม โดยจะเน้นในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

แน่นอนว่า ผลตอบแทนจากการที่บริษัทฯ ได้ลงทุนมาเริ่มเห็นผลชัดเจนมากขึ้น ทำให้ในปี 2565 บริษัทฯ มองถึงตั้งเป้าหมายการเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% โดยมาจากการเติบโตของธุรกิจ EV ทั้งในส่วนของ แบตเตอรี่ รถบัสไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า และสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ขณะที่ธุรกิจไบโอดีเซล-พลังงานทดแทน วางเป้าหมายรักษาการเติบโตต่อเนื่อง

สำหรับผลการดำเนินงาน ในปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่า EA  มีกำไรสุทธิ อยู่ที่ 6,100.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 895.50 ล้านบาท หรือ 17.21% เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิรวม 5,204.57 ล้านบาท

โดยปี 2564 บริษัทมีรายได้ 20,588.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,358.96 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 19.53% เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มารายได้รวม 17,199.14 ล้านบาท

ยกระดับการเดินทางในคลองแสนแสบด้วย ‘เรือโดยสารไฟฟ้า’ เมื่อ EA ส่ง MMR เซ็นเอ็มโอยู ‘บ.ครอบครัวขนส่ง’ ลุยพัฒนาเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า ‘คลองแสนแสบ’

ภาพน้ำคลองดำ เน่าเหม็น จากคราบเขม่าควันของน้ำมันเรือในคลองแสนแสบคลองสายประวัติศาสตร์ของไทยซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญที่ผ่านมาหลายชั่วอายุคน จะเปลี่ยนไปในไม่ช้า เมื่อตอนนี้การรุดหน้าของการยกระดับขนส่งมวลชนไฟฟ้า ทั้งรถ-ราง-เรือ ในเมืองไทยให้สะดวกสบาย มีความชัดเจนมากถึงมากที่สุด

ล่าสุด EA หรือ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ ได้ส่ง บริษัทย่อย ‘ไมน์ โมบิลิตี รีเสิร์ช’ (MMR) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ครอบครัวขนส่ง (2002) จำกัด ผู้ประกอบการเรือโดยสารประจำทางคลองแสนแสบ ในโครงการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าคลองแสนแสบ โดยความร่วมมือในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อศึกษา-พัฒนาออกแบบเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าคลองแสนแสบ ให้มีประสิทธิภาพสามารถใช้งานได้จริง และเป็นต้นแบบในการเปลี่ยนเรือน้ำมันให้เป็นเรือไฟฟ้าต่อไปในอนาคต

22 มีนาคม 2565 ถือเป็นวันสำคัญแห่งการริเริ่มเป้าหมายใหญ่แห่งน่านน้ำที่อยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลานาน โดย นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) EA เปิดเผยว่า บริษัทไมน์ โมบิลิตี รีเสิร์ช จำกัด หรือ MMR ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ครอบครัวขนส่ง (2002) จำกัด โดยมี นายเชาวลิต เมธยะประภาส กรรมการผู้จัดการ ร่วมลงนาม

ปฏิวัติการเดินทาง ยกระดับเมืองหลวงปลอดควันพิษ ใกล้ความจริง!! ขนส่งมวลชนไฟฟ้า 100% หลัง EA บุกซื้อกิจการ Smart Bus

เรื่องที่จะกล่าวต่อจากนี้ ไม่ใช่แค่แผน หรือภาพฝัน แต่เป็นภารกิจการเติมเต็มอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่สังคมเมืองอย่างจริงจัง ซึ่งเริ่มขึ้นให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างผ่านบริการ ‘ขนส่งมวลชนสาธารณะพลังงานไฟฟ้า 100%’

หมุดหมายดังกล่าว เกิดจากการต่อยอดแผนธุรกิจอีกขั้นของ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ผู้นำนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาดและยานยนต์ไฟฟ้าอย่างครบวงจร ที่ส่งบริษัทย่อย ภายใต้ชื่อ บริษัท อี ทรานสปอร์ต โฮลดิง จำกัด (E Transport Holding Co., Ltd.) เข้าซื้อกิจการของบริษัท สมาร์ทบัส จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจขนส่ง ให้บริการรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 37 สาย ด้วยงบลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เปิดเผยให้ฟังถึงความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจด้านขนส่งสาธารณะด้วยยานยนต์ไฟฟ้าไว้ว่า…

“ปัจจุบัน EA มีโรงงานผลิตรถโดยสารไฟฟ้าภายในประเทศที่ได้รับมาตรฐานระดับสากล ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต จนถึงการให้บริการดูแลซ่อมบำรุงหลังการขายที่ครบวงจร พร้อมทั้งมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน สามารถผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานได้เองครบทุกกระบวนการ

“โดยในส่วนของกำลังผลิตแบตฯ ในระยะแรก จะอยู่ที่ 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี เพื่อป้อนให้กับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ของบริษัท ได้แก่ รถโดยสารไฟฟ้า MINE Bus, เรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry และรถบรรทุกไฟฟ้า

ความภาคภูมิใจของคนไทย!! เปิดเส้นทางฐานผลิตแบตฯ ใหญ่สุดในอาเซียน ใต้แนวคิดปั้น ‘ศก.-พลังงาน’ แห่งอนาคตจาก EA

“หากวันนี้ประเทศไทย มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใหญ่กว่าโรงงานแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา ถึง 1.4 เท่า ด้วยเงินลงทุนที่ถูกกว่า จะทำให้สามารถผลิตแบตเตอรี่ได้ในราคาที่ถูกกว่า และส่งให้ไทยสามารถเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในการส่งออกแบตเตอรี่ไปต่างประเทศได้ในอนาคต” 

นี่คือความมุ่งมั่นจาก ‘สมโภชน์ อาหุนัย’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA (Energy Absolute) ธุรกิจไทยผู้บุกเบิกและพัฒนาการนำ ‘พลังงานสะอาด’ หรือ ‘พลังงานทดแทน’ มาใช้ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย รวมถึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า 

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ความมั่นใจหรือแค่คำพูด แต่เป็นภารกิจของ EA ในการพาประเทศไทยเข้าสู่โอกาสใหม่แห่งอนาคต ภายใต้ Gigafactory โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ทันสมัย ซึ่งมีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน!!

12-12-2021 หรือวันที่ 12 เดือน 12 ปี 2564 ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งวันที่ประเทศไทยต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ เมื่อ EA ประกาศตอบสนอง New S-Curve ของประเทศไทย ด้วยการเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ทันสมัย มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้ ‘อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย)’ ซึ่งจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้ (Bluetech City) กิจการของ EA ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

CEO แห่ง EA อย่าง สมโภชน์ ยอมรับว่า การที่เขาเลือกตั้งโรงงานแห่งนี้ เพราะเขามองเห็นว่า แม้ทิศทางของโลกจะหันหาเข้าสู่การใช้พลังงานทดแทน แต่พลังงานทดแทนที่ต้องผลิตให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์ชีวิตคน ก็ยังไม่เสถียร

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ EA ภายใต้ สมโภชน์ เบนเข็มเข้าโฟกัสโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เพื่อตอบโจทย์การใช้พลังงานที่มีความเสถียร 

แน่นอนว่า ในปัจจุบันเริ่มมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และราคาต้นทุนก็ถูกลงเรื่อยๆ เรียกว่าถูกจนกระทั่งสามารถผลิตออกมาได้ถูกกว่าการใช้น้ำมัน การใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งถ่านหินเสียอีก แต่ปัญหามันติดอยู่ที่ว่า พลังงานทดแทน เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เวลาไม่มีแดด โซล่าร์เซลล์ ก็ไม่ผลิตกระแสไฟฟ้า หรือแม้แต่เวลาไม่มีลม กังหันลม ก็ไม่ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

“มนุษย์เรา ต้องการไฟฟ้าในเวลาที่เราต้องการ เมื่อกลับถึงบ้าน รู้สึกร้อน ใครๆ ก็อยากเปิดแอร์ เวลากลางคืน ทุกคนก็อยากมีไฟฟ้าใช้ แบตเตอรี่ก็จะทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าเวลาที่เราไม่ได้ใช้ และจะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาเวลาที่เราต้องการ ถ้าเราสามารถทำขั้นตอนนี้ได้ถูกลง นั่นคือ เราไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งถ่านหินอีกเลย และแบตเตอรี่ คือ คำตอบของเรื่องนี้

“ถึงกระนั้น บางคนบอกอาจจะมองว่า แบตเตอรี่ ราคายังแพงอยู่ ไว้เดี๋ยวเวลาพลังงานชนิดนี้ถูก ค่อยไปผลิตเอามาใช้ก็ได้ รอก่อน แต่ผมมองว่าความคิดแบบนี้ทำให้เราเป็นผู้ตามเรื่อยไป และประเทศไทย ถ้ายังคิดแบบนี้ เราก็ยังต้องเป็นผู้ซื้อตลอดไป

“ยิ่งไปกว่านั้น หากเราต้องการจะหลุดพ้นจาก Middle Income Trap มันก็มีแค่ทางเลือกเดียว คือ การพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเราเองขึ้นมาให้ได้ เราต้องมีแรงของตัวเอง เพื่อเพิ่ม Value added หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ เพื่อให้ประชาชน พี่น้องชาวไทย มีรายได้ที่ดีขึ้น ทำให้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศหายไปได้”

GWM ประกาศศักดา!! มุ่งสู่ผู้นำรถยนต์ไฟฟ้าไทย พร้อมดันไทยฮับอาเซียน ในวาระครบรอบ 1 ปี

ต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2021 เป็นปีทองของค่ายรถยนต์อย่าง เกรท วอลล์ มอเตอร์ (Great Wall Motor) หรือ GWM ค่ายรถยนต์สัญชาติจีนที่เข้ามาถล่มตลาดไฮบริด และ SUV อีกทั้งยังปลุกกระแสตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา จนหลายคนรู้จักกันมากขึ้น

365 วันที่ผ่านมา GWM สร้างปรากฏการณ์ที่ทำให้แบรนด์จีนกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่คนไทยยอมรับ ตั้งแต่การพุ่งเป้าสู่ตลาดรถยนต์ xEV หรือ รถที่มีการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าล้วนที่เปิดตัวออกมาอย่าง ORA Good Cat ซึ่งกวาดยอดจองไปมากกว่า 10,000 คันในสัปดาห์แรก

ส่วน SUV อย่าง Haval H6 Hybrid ก็ครองตำแหน่งยอดขายสูงสุด 3 เดือนติดต่อกัน ขณะที่ All New HAVAL JOLION Hybrid SUV ก็เข้ามาสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับรถยนต์ SUV-B พร้อมยอดสั่งจองที่ยังไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง 

โดยตลอดหนึ่งปีมานี้ GWM ได้ส่งมอบรถยนต์ทั้ง 3 รุ่นให้กับผู้บริโภคชาวไทยไปแล้วรวมทั้งสิ้นเกือบกว่า 4,000 คัน สร้างฐานแฟนคลับชาวไทยได้กว่า 500,000 คนที่ติดตามผ่านทางโซเชียลมีเดีย ทั้ง Facebook, TikTok และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ ของ GWM

ผู้สันทัดกรณีในวงการยานยนต์หลายท่านเชื่อว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ค่ายรถยนต์สัญชาติจีนรายนี้ได้รับการตอบรับจากตลาดเมืองไทยนั้น มาจากการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับคนไทย ในราคา เทคโนโลยี และประสบการณ์การขับขี่อัจฉริยะในรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ต่อไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคคนไทยแบบไม่กั๊ก 

ขณะเดียวกัน เมื่อช่องว่างตลาดเปิดสินค้าล็อตใหม่ ทาง GWM ก็ปล่อยทีเซอร์สินค้ารุ่นอื่นๆ เพื่อต่อยอดกระแสเรียกการติดตามได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น WEY SUV พรีเมียม หรือแม้แต่ Tank 500 SUV ไซส์ยักษ์ของ GWM

ในด้านของช่องทางการจัดจำหน่ายและบริการก็เช่นกัน GWM รู้ดีว่าตลาดเมืองไทยใส่ใจเรื่องนี้มาก จึงมีการเพิ่มช่องทางจาก 50 แห่ง เป็น 80 แห่งในปี 2565 รวมถึงการเตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการเพิ่มจุดชาร์จ ให้เพียงพอกับการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า โดยจะเพิ่มจุดชาร์จ เป็นทั้งหมด 55 แห่ง ประกอบด้วยจุดชาร์จ ในผู้แทนจำหน่ายที่ลูกค้าสามารถมาใช้บริการได้ตลอดเวลา และ จุดชาร์จ ณ ที่หมาย เช่น โรงแรม ร้านอาหาร พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางชาร์จฉุกเฉิน สำหรับลูกค้าที่มีระยะทางมาไม่ถึงตู้ชาร์จด้วย

นี่คือ 1 ปีของ GWM ในประเทศไทยที่ มร. เอลเลียต จาง ประธาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ ภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย กล่าวว่า ต้องออกมาขอบคุณลูกค้าชาวไทยด้วยตัวเอง หลังจากที่คนไทยให้ความไว้วางใจและความสนับสนุนที่มอบให้เกรท วอลล์ มอเตอร์ มาโดยตลอด รวมถึงพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ และทีมงานทุกคน สำหรับความเชื่อมั่นและความทุ่มเทอย่างเต็มที่เสมอมา จนทำให้ GWM ประเทศไทยเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งจนถึงวันนี้

ทั้งนี้ ย่างก้าวสู่ปีที่ 2 ของ GWM ด้าน นายณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) เผยว่า เกรท วอลล์ มอเตอร์ ประเทศไทย จะมุ่งเน้นไปสู่การเป็นผู้นำด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้า พร้อมทั้งสร้างสังคมยานยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 4 ด้าน ได้แก่...

1.) ด้านผลิตภัณฑ์: ภายใต้ภารกิจ Mission 9 in 3 ที่ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ประกาศจะนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 9 รุ่นมาให้ผู้บริโภคชาวไทยได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดภายใน 3 ปี โดยในปี 2565 นี้ GWM จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 5 รุ่น จาก 3 แบรนด์ โดยหนึ่งในนั้นได้แก่ All New HAVAL H6 Plug-in Hybrid SUV จากแบรนด์ HAVAL ที่เคยเผยโฉมครั้งแรกของโลกในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา และรถยนต์อีก 2 รุ่นที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% จากแบรนด์ ORA ตอบรับกับนโยบายการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจากทางภาครัฐอีกด้วย ส่วนอีก 2 รุ่นจะมีการเปิดเผยรายละเอียดให้ทราบต่อไป 

2.) ด้านช่องทางจำหน่าย: เกรท วอลล์ มอเตอร์ จะขยาย GWM Store ทั้งที่เป็น Direct Store และ Partner Store เพิ่มขึ้นอีก 50 แห่ง รวมเป็น 80 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญๆ ของประเทศ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและรองรับกับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

‘น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ’ ความแซ่บ คู่ครัวไทย ส่งขายทั่วโลก!! | BizMAX THE TOPIC EP.5

📌 BizMAX THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้ EP.5 ตอน ‘น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ’ ความแซ่บ คู่ครัวไทย ส่งขายทั่วโลก!!
📌 พบกับ ‘คุณอ้อม พิไรรัตน์ บริหาร’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพชรดำฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตน้ำปลาร้าแบรนด์ ‘แม่บุญล้ำ’

💻 ดำเนินรายการโดย หยก THE STATES TIMES 

'ล้ำความคิด ล้ำความอร่อย’ เปิดตำราน้ำปลาร้า ‘แม่บุญล้ำ’ | Game Changer เก่งพลิกเกม EP.5

จากวันที่ภาพลักษณ์ของตลาดน้ำปลาร้าทั้งตลาด ถูกมองในแง่ลบ จากความไม่สะอาดในตัวสินค้า จนมีการแบนน้ำปลาร้ากันหนักในช่วงปี 2558 

กลายเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์น้ำปลาร้าไทยในชื่อ ‘แม่บุญล้ำ’ ที่อยู่ในแวดวงนี้มามากกว่า 38 ปี ต้องลุกขึ้นมาปฏิวัติสินค้าน้ำปลาร้าของตนแบบพลิกโฉม

- ตั้งแต่การผลิตด้วยระบบปลอดเชื้อ ด้วยมาตรฐานโรงงานระดับมาตรฐานโลก
- การพัฒนาสินค้าเพื่อให้ตอบโจทย์ต่ออาหารทุกแนว ทุกสัญชาติ จนเริ่มกลายเป็นเครื่องปรุงคู่ครัวไม่ต่างจากเครื่องปรุงรสชนิดอื่นๆ
- การให้โอกาสต่อชุมชน ด้วยการผลิตสินค้าที่ได้จากวัตถุดิบปลาของคนในท้องถิ่น สร้างรายได้ให้เกิดแก่ชุมชน 
- และการสร้างแบรนด์ที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในสินค้าไทย คุณภาพ รสชาติ และมาตรฐานโดนใจผู้คนทั่วโลกที่ได้สัมผัส

ในวันนี้ ‘น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ’ ได้ผสมผสานสิ่งต่างๆ ที่ว่า จนกลายเป็นธุรกิจที่กลมกล่อม และถูกยกให้เป็นแบรนด์ผู้นำน้ำปลาร้าของเมืองไทย

Game Changer EP นี้พาไปแซ่บกับ ‘แม่บุญล้ำ’ ผู้นำในตลาดน้ำปลาร้าเมืองไทย ถอดรหัสแนวคิดสุดคูล…

‘ล้ำความคิด ล้ำความอร่อย’
เปิดตำราน้ำปลาร้า ‘แม่บุญล้ำ’ 
ปรุงรสแบบไหน? โดนใจทุกคู่ครัว!!

โดย พิไรรัตน์ บริหาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพชรดำฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตน้ำปลาร้าแบรนด์ ‘แม่บุญล้ำ’

.

.


 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top