Tuesday, 12 November 2024
The States Times EconBiz Team

MEA - PEA - EGAT - OR - EA 5 พันธมิตร ผนึกกำลังยกระดับการให้บริการ EV พัฒนาแอปฯ ดูหมุดสถานีชาร์จข้ามค่ายได้แล้ว

MEA - PEA - EGAT - OR - EA นำร่องพัฒนาแอปฯ ยกระดับการให้บริการ EV ในประเทศไทย ดูหมุดสถานีชาร์จข้ามค่ายได้แล้ว

ไม่นานมานี้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ 5 หน่วยงาน ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง / การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย / บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) และ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันพัฒนาและบริหารจัดการแพลตฟอร์มกลางของสถานีอัดประจุไฟฟ้า เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 

โดยทั้ง 5 หน่วยงาน ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงโครงข่ายแอปพลิเคชันการจัดการสถานีอัดประจุไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งในเฟสแรกของความร่วมมือดังกล่าวได้ร่วมกันพัฒนาให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถค้นหาพิกัดสถานีอัดประจุไฟฟ้าของทั้ง 5 หน่วยงาน ผ่านแอปพลิเคชันทุกเครือข่าย ได้แก่ MEA EV (MEA), PEA VOLTA (PEA), EleXA (EGAT), EV Station PluZ (OR) และ EA Anywhere (EA) ได้สำเร็จ และเปิดทดลองใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับพัฒนาในเฟสต่อไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา

นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง (MEA) เปิดเผยว่า MEA ได้ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 เป็นวาระครบรอบ 10 ปีที่ MEA ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ EV มีโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาครอบคลุมทั้งในด้านสถานีอัดประจุไฟฟ้า และรูปแบบยานยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ ตลอดจนการสร้าง MEA EV Application ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้รถ EV อย่างครบวงจร ซึ่ง MEA พร้อมที่จะบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน

กระบะไฟฟ้าสัญชาติไทย EA ‘เผยโฉม-เปิดจอง’ MINE MT30 ครั้งแรกในงาน Motor Expo 2022

‘EA’ ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าส่ง MINE Mobility เปิดโฉม พร้อมเปิดจอง MINE MT30 ครั้งแรกในงาน Motor Expo 2022 นี้

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ (EA) เดินหน้าเต็มสูบขับเคลื่อนธุรกิจผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 100% โดยส่ง MINE Mobility บริษัทในกลุ่ม เปิดตัวและเปิดให้จองรถกระบะไฟฟ้า MINE MT30 ภายใต้แนวคิด ‘Driving Toward Net Zero by MINE MT30’ ตอกย้ำวิสัยทัศน์มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero เพื่อสร้างความยั่งยืน เสริมความมั่นใจหลังการขายด้วยศูนย์บริการชั้นนำ Cockpit ที่มีจุดบริการครอบคลุมทั่วประเทศ

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ กล่าวถึง วิสัยทัศน์ของ EA ที่มุ่งเน้นด้านพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาธุรกิจขององค์กรให้ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย Net Zero พร้อมผลักดันประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ล่าสุดเปิดตัวยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ภายใต้ชื่อ ‘MINE MT 30’ รถกระบะไฟฟ้าสัญชาติไทย 100% ประสิทธิภาพสูง ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำรถ ‘MINE MT30’ ไปใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ ทั้งด้านโลจิสติกส์ ด้วยการดีไซน์เป็น Shutter Van หรือ Mobile Office หรือแม้แต่สามารถดัดแปลงเป็น Food Truck ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้ด้วย การทำเป็น Campervan เป็นต้น

MINE MT30 เป็นรถกระบะไฟฟ้าคุณภาพสูงที่พัฒนาขึ้นด้วยกลยุทธ์ Respect Environment กับแนวทางดำเนินงานตามกลยุทธ์ 5E

ไทย สมายล์ บัส เข้าร่วมกลุ่ม EA ควบรวมรถ – เรือโดยสาร ยกระดับระบบขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้า

ไทย สมายล์ บัส เข้าร่วมเป็นบริษัทในกลุ่ม EA สยายปีก ควบรวมรถโดยสารเข้ากับเรือโดยสารยกระดับการขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าไร้มลพิษครบวงจร นำร่องช่วยลดการปล่อย CO2 พร้อมสะสม Carbon Credit

ไม่นานมานี้ที่ไทย สมายล์ บัส สาขาตลิ่งชัน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ทำพิธีเปิดให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าสาย 515 เส้นทาง ศาลายา - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งในวันดังกล่าว บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด (หรือ ‘ไทย สมายล์ บัส’) ยังได้ประกาศผลสำเร็จในการขยายธุรกิจของบริษัทที่สามารถควบรวมกิจการรถโดยสารและเรือโดยสารรวมทั้งสิ้น 21 บริษัท ไว้เป็นกลุ่มเดียวกันภายใต้แนวคิด ‘Thai Smile as One’ ไทยสมายล์รวมใจเป็นหนึ่ง เป็นผลให้กลุ่มไทย สมายล์ และบริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) (หรือ BYD) ได้เข้าไปเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (หรือ ‘EA’) ผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานสะอาดและด้านยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวว่า EA มีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะพัฒนาและส่งเสริมการนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ PM2.5 ตลอดจนลดต้นทุนพลังงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถเพื่อการพาณิชย์ที่มีการใช้งานสูง เช่น รถโดยสารประจำทาง รถบรรทุก เป็นต้น 

EA ได้มองเห็นศักยภาพของ BYD ซึ่งมีการลงทุนในบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด อันเป็นกลุ่มบริษัทที่เป็นเจ้าของใบอนุญาตให้บริการรถโดยสารประจำทางจากกรมการขนส่งทางบกจำนวนรวมสูงถึง 80 เส้นทาง และกำลังจะลงทุนเพิ่มอีก 6 เส้นทาง โดยมุ่งเน้นให้บริการด้วยรถโดยสารไฟฟ้าเป็นหลัก จึงนับว่ามีวิสัยทัศน์และแนวคิดที่สอดประสานกันกับกลุ่ม EA อย่างลงตัว จึงตัดสินใจนำบริษัทย่อยเข้าลงทุนใน BYD ร้อยละ 23.63 คิดเป็นมูลค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 6,997 ล้านบาท และมีการจัดโครงสร้างด้วยการขายกลุ่มธุรกิจให้บริการรถโดยสารในเครือ EA จำนวน 37 เส้นทาง และเรือโดยสาร 3 เส้นทาง ให้แก่ไทย สมายล์ บัส เพื่อให้มีการควบรวมกิจการในคราวเดียวกัน 

ส่งผลให้กลุ่มไทยสมายล์มีสายการเดินรถในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่า 120 เส้นทาง และเรือโดยสารอีก 3 เส้นทาง นับเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่เสริมศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้าของกลุ่ม EA ให้ครบวงจรอย่างแท้จริง และยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสทางธุรกิจจากการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าของบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด ให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและมั่นคง 

อีกทั้ง EA ได้ร่วมมือกับ BYD ในโครงการขายคาร์บอนเครดิตกับรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งจะสามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติมขึ้นอีกในอนาคตได้ ส่งเสริมให้กลุ่ม EA เป็นผู้นำทางด้านยานยนต์ไฟฟ้าที่ครบวงจร

นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ มีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเดินหน้าลงทุนในกิจการรถโดยสารและเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าตามแผนที่วางไว้ โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก BYD ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในรูปเงินให้กู้ยืมถึง 8,550 ล้านบาท และยังได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ทั้งในด้านเทคโนโลยี บุคลากร การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ และการสนับสนุนในทุกๆ ด้านที่สอดประสานกันอย่างเป็นระบบ ทำให้ไทย สมายล์ บัสเชื่อมั่นว่าจะสามารถขยายการให้บริการแก่ประชาชนเพื่อตอบโจทย์ให้ทันใจต่อความต้องการของผู้ใช้บริการได้ตามแผน ทั้งนี้ ได้ประมาณการไว้ว่าต้องใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้นอีกกว่า 18,000 ล้านบาท และสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับพี่น้องประชาชน มากกว่า 7,500 ตำแหน่ง

“เราจะเป็นผู้นำในการพลิกโฉมการให้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะของกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้เป็นเครือข่ายของระบบให้บริการขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าที่ไร้มลพิษและไร้ PM2.5 มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และครบวงจรเป็นประเทศแรกและใหญ่ที่สุดในเอเชีย ด้วยการให้บริการเส้นทางเดินรถและเดินเรือจำนวนกว่า 120 เส้นทาง เราได้นำเทคโนโลยีมาใช้เชื่อมต่อการเดินทางและการเก็บค่าโดยสารทางบกและทางน้ำเป็นโครงข่ายเดียวกัน (หรือ Single Network) ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยกระดับคุณภาพการให้บริการและจัดระบบการควบคุมได้อย่างรัดกุมแบบรวมศูนย์ หรือ (Single Service) และจะนำระบบการคิดค่าโดยสารแบบเหมาจ่าย ภายในโครงข่ายของกลุ่มไทยสมายล์ (หรือ Single Price) เพื่อลดภาระของผู้โดยสาร แนวคิด 3-Single นี้ จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยทุกคนต่อไป” นางสาวกุลพรภัสร์ กล่าว

ปัจจุบัน กลุ่มไทยสมายล์เปิดให้บริการรถโดยสารสาธารณะแล้ว กว่า 70 เส้นทาง หรือกว่า 900 คัน โดยแบ่งเป็น รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า 35 เส้นทาง หรือจำนวนรถที่บริการ 612 คัน และรถโดยสารสาธารณะเอ็นจีวี 37 เส้นทาง หรือคิดเป็นจำนวนรถที่ให้บริการ 365 คัน สำหรับวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 นี้ เป็นวันที่เปิดให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าสาย 515 เส้นทาง ศาลายา - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งคาดว่า จะได้รับการตอบรับและการสนับสนุนจากผู้โดยสารเป็นอย่างดีดังเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา และจากเสียงสะท้อนที่แสดงถึงความพึงพอใจในการใช้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า 100% ของเรา กลุ่มไทยสมายล์จึงมีความยินดีที่จะแจ้งว่า เรามีแผนที่จะเปลี่ยนรถโดยสารทั้งหมด เป็นรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นไป  

EA คว้า 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ ‘Best Innovative Company Award’ ควบ 2 รางวัลผลงานดีเด่นจาก ‘SET Awards 2022’

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA คว้ารางวัล ‘Best Innovative Company Award’ พร้อมผลงานดีเด่น 2 รางวัล จากงาน ‘SET Awards 2022’ 

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 นายวสุ กลมเกลี้ยง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนากลยุทธ์และวางแผนการลงทุน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เข้ารับรางวัล ‘Best Innovative Company Awards’ ในงาน ‘SET Awards 2022’ ที่จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ วารสารการเงินธนาคาร โดยได้รับรางวัลจากผลงานนวัตกรรมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนอมิตา (AMITA Li-ion Battery) 

สำหรับนวัตกรรมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนอมิตา (AMITA Li-ion Battery) เป็นนวัตกรรมที่มีความโดดเด่นในการอัดประจุไฟฟ้าได้รวดเร็วภายใน 15-20 นาที มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน กักเก็บพลังงานได้สูง มีน้ำหนักเบา และยังเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในการสร้างอุตสากรรมแบบ New S-Curve

ล้ำหน้าไปอีกก้าว!! EA เปิดตัว EV Mini Truck MT30 รถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกฝีมือไทย

คนไทยทำได้ EA เปิดตัวรถกระบะไฟฟ้า 100% EV Mini Truck MT30 พร้อมจดทะเบียนเป็นรถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกของไทย ภายใต้นวัตกรรมไทย ยกระดับการขนส่งเชิงพาณิชย์ ต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบบ New S-Curve ตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

นับเป็นก้าวสำคัญในการพลิกโฉมประวัติศาสตร์ด้านการคมนาคม ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่สังคมปลอดคาร์บอนได้เร็วยิ่งขึ้น หลังจากกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้ออกแบบและพัฒนา ‘EV Mini Truck MT30’ รถกระบะไฟฟ้าฝีมือคนไทย 100% สำหรับใช้งานในเชิงพาณิชย์ ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษในภาคขนส่ง 

ทั้งนี้ EV Mini Truck MT30 หวังเจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างผู้ประกอบการที่สนใจการใช้งานรถไฟฟ้า ที่คำนึงถึงการลดต้นทุนค่าขนส่งและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยตัวรถจะมาพร้อมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด (Li-Ion Battery) 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่ผลิตโดย อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ขับเคลื่อนได้ไกลกว่า 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ ใช้เวลาชาร์จเพียง 15 นาที (30-80%) ด้วยเทคโนโลยี DC Fast Charge จาก EA Anywhere ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีที่กลุ่ม EA ได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ให้การใช้งานยานยนต์เชิงพาณิชย์มีประสิทธิภาพสูงสุด 

'จอง-จ่าย-ชาร์จ' อัปเดต!! แอปฯ EA Anywhere ขยายแล้ว 473 สถานี 2,000 หัวชาร์จ ครอบคลุม 'ห้าง-ปั๊มน้ำมัน-โรงแรม-ร้านอาหาร' ทั่วไทย

ในระหว่างที่กระแสรถยนต์ไฟฟ้าค่อย ๆ ฝ่าทะลวงเข้ามาเกาะความต้องการของผู้บริโภคคนไทยได้ในระดับหนึ่ง

แต่ก็ยังไม่แทรกซึมพอ ที่จะทำให้คนกล้าเปลี่ยนมาใช้งานทันควัน เนื่องจากยังพะวงถึงสถานีชาร์จที่อาจจะยังไม่รอบคลุมเท่าไรนัก 

อย่างไรก็ตาม หากติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง จะพบว่าในวันนี้ สถานีอัดประจุไฟฟ้าในประเทศไทยเริ่มมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำ

อย่างล่าสุด EA Anywhere ผู้นำด้านสถานีอัดประจุไฟฟ้า ก็ได้ขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วกว่า 473 สถานี กว่า 2,000 หัวชาร์จ แบ่งออกเป็น...

รถโดยสารไฟฟ้ายกระดับคุณภาพชีวิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม EA ร่วม ‘ไทยสมายล์บัส’ สร้างเครือข่ายขนส่งไร้มลพิษ เชื่อมต่อทุกการเดินทาง ด้วยรถโดยสารไฟฟ้า

ถือเป็นอีกผลิตผลแห่งเครือข่ายขนส่งไร้มลพิษ จากกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ที่ปัจจุบันค่อยๆ เข้ามาช่วยเปลี่ยนระบบขนส่งสาธารณะภายในบ้านเรา เพื่อสังคมน่าอยู่ให้กับประเทศ ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาฝุ่น pm 2.5 ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น 

ไม่นานมานี้ บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ให้บริการ รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ได้เปิดการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV) สาย 2-38 (สาย 8 เดิม) ภายใต้แนวคิด ‘We Come To Change Fast 8 To Feel Good เรามาเพื่อเปลี่ยนความรู้สึกให้ดีขึ้น’ โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด, นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน), นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) และนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็ก พ้อยท์ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ ณ อู่บึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า ปัจจุบัน EA ได้มีการร่วมมือกับ ไทยสมายล์บัส โดยนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม EA อย่างรถโดยสารไฟฟ้าที่ผลิตโดยคนไทยและได้นำเทคโนโลยี Fast Charge ที่เรียกว่า Ultra Fast Charge ซึ่งสามารถชาร์จรถขนาดใหญ่แบบนี้ได้ในเวลาเพียง 15-20 นาทีเข้ามาให้บริการ

นอกจากนี้ EA ยังร่วมมือกับบริษัทครอบครัวขนส่ง ซึ่งเดินเรืออยู่ในคลองแสนแสบ โดยเข้าไปช่วยเปลี่ยนให้เป็นเรือไฟฟ้าทั้งหมด และมีการทำหัวรถจักรไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ เป็นต้น

“สิ่งเหล่านี้ เป็นโครงข่ายของคมนาคมที่ทาง EA อยากช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ในราคาที่ไม่แพง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ช่วยประหยัดพลังงานจากรูปแบบเดิมๆ ในทางอ้อมก็ทำให้ต้นทุนการขนส่งถูกลง ลดภาระของประชาชนทั่วไปได้ตามลำดับ”

'อลงกรณ์' เร่งเครื่อง 'เพชรบุรีโมเดล-เมืองสร้างสรรค์อาหาร' ทุกมิติ เดินหน้าเร็วโครงการเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย

'อลงกรณ์' เร่งเครื่อง 'เพชรบุรีโมเดล-เมืองสร้างสรรค์อาหาร' ทุกมิติ เดินหน้าเร็วโครงการเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย มอบ 'เกษตรฯ' ส่งเสริมทุกอำเภอ 'มกอช.' ทำไวได้จริง เปิดตัวร้านอาหาร Q ที่เพชรบุรีแห่งแรก ผู้ประกอบการแฮปปี้ ผู้บริโภคพอใจ พร้อมหนุนเกษตรปลอดภัย ใช้สินค้า Q

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า การขับเคลื่อน 'เพชรบุรี โมเดล' เป็นต้นแบบการปฏิรูปเมืองในทุกมิติมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะมิติการยกระดับศักยภาพจังหวัดในฐานะที่องค์การยูเนสโก (UNESCO) ขององค์การสหประชาชาติคัดเลือกให้เป็น 'เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร' (City of Gastronomy) และเพชรบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยวและเมืองเกษตร จำเป็นต้องเชื่อมโยงการพัฒนาภาคเกษตรภาคอาหารและผู้ประกอบการภายใต้นโยบาย 'มาตรฐานเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย' ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยส่งเสริมให้ร้านอาหารใช้มาตรฐานเกษตรปลอดภัยหรือตรา Q (Quality) เพื่อสร้างความมั่นใจของลูกค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค 

ล่าสุดทางสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้ดำเนินการคิกออฟโครงการร้านอาหาร Q ที่เพชรบุรีเป็นแห่งแรก และมอบหมายให้ขยายโครงการให้ครบทุกอำเภอ ๆ ละ 1 แห่ง เป็นอย่างน้อย โดยร่วมมือกับจังหวัดเพชรบุรี หอการค้าจังหวัด สมาคมท่องเที่ยวและสถาบันเกษตรกรแบบบูรณาการทำงานเขิงรุกทุกภาคส่วนภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

หัวรถไฟ EV ถึงไทยแล้ว ความสำเร็จของ EA และ CRRC Dalian อีกหนึ่งก้าวสำคัญขนส่งทางรางประเทศไทย

นับเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างที่สำคัญของระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย ภายหลังจาก EA นำทางด้าน Green Energy รายใหญ่ของประเทศไทย ได้จับมือกับ บริษัท CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน ร่วมพัฒนาหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าหรือรถจักร EV เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 

ล่าสุดหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าของบริษัท CRRC Dalian ส่งตรงมาถึงไทยแล้ว เตรียมทดสอบสับเปลี่ยนขบวนที่สถานีบางซื่อภายในปีนี้ 

จุดเด่นของหัวรถจักรรุ่นนี้ สามารถวิ่งได้ระยะ 150-200 กม. ประหยัดต้นทุนพลังงานได้กว่า 40% เมื่อเปรียบเทียบกับหัวรถไฟดีเซล สอดรับยุทธศาสตร์ Asian Logistics Hub ของไทยและภูมิภาค

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา บริษัท CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน ได้จัดส่งหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าหรือรถจักร EV มายังประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และร่วมมือกับพันธมิตร บริษัท เอเซียเอนจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส (ไทยแลนด์) จำกัด (AES) ผู้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมบำรุงรถไฟ เพื่อประกอบติดตั้งระบบแบตเตอรี่ 

โดยหัวรถจักร EV คันนี้เป็นรถจักรคันแรกในการพัฒนารถไฟระบบ Battery Train ที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ ซึ่งทาง EA ได้รับโอกาสจากกระทรวงคมนาคม และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายใต้นโยบาย EV on Train ขณะเดียวกันยังได้ร่วมมือกับภาควิชาการ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มทร. อีสาน ในการเตรียมทดสอบระบบสับเปลี่ยนขบวน (Shunting) ที่สถานีบางซื่อภายในปีนี้

เกาะ 986 พิกัด!! สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย ผู้ให้บริการรายไหน? จัดเต็ม!!

ในวันที่ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้าเริ่มชัดเจน และตลาดก็ตอบรับอย่างรวดเร็ว ค่ายรถยนต์น้องใหม่ รวมถึงค่ายเทคโนโลยีดังๆ หลายเจ้า เริ่มขอเข้ามาแทรกแซงทางโค้งเพื่อเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าของตนในประเทศไทยกันถ้วนหน้า จนสร้างความคึกคักท่ามกลางความคลื่นสึนามิย่อมๆ ของเศรษฐกิจไทย ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนของกำลังซื้อใหม่ๆ ได้อย่างน่าสนใจ

แต่ถึงกระนั้นกระแสการตื่นตัวเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่เกิดขึ้น กลับสวนทางกับภาพของการใช้งานจริง นั่นก็เพราะเรายังเห็นจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV วิ่งกันบนท้องถนนแบบจริงจัง น้อยมาก!! 

แน่นอนว่าตัวแปรสำคัญของเรื่องนี้ ยังอยู่ที่ความล่าช้าในการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าให้แก่ผู้บริโภค, ทางเลือกที่ยังมีจำกัด, ราคาที่ยังไม่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ส่วนมาก, ศูนย์บริการที่สามารถดูแลเมื่อเกิดปัญหาที่ยังไม่ครอบคลุม และ ‘อีกตัวแปรสำคัญ’ ที่น่าจะมีผลต่อความเบาบางของรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนมากเกือบที่สุด คือ ความกังวลของผู้ใช้รถว่าแบตเตอรี่ของตนอาจหมดลง แล้วหาสถานีชาร์จได้ลำบากนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทุกภาคส่วนของประเทศไทยที่อยู่ในระบบนิเวศนี้ ต่างรับรู้ปัญหาดี จึงได้มีการร่วมผลักดันสร้างสถานีชาร์จขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่คิดแค่อยากจะตั้งก็ตั้งขึ้นมาได้ เพราะการจัดตั้งสถานีชาร์จในแต่ละที่ ต้องมีการคำนึงถึงความพร้อมของกระแสไฟฟ้าของพื้นที่นั้นๆ อยู่ด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าวันนี้สถานีชาร์จในบ้านเรา ก็ผุดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วกันบ้างพอสมควรแล้ว

ว่าแต่...ในวันนี้ประเทศไทยมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศมากน้อยแค่ไหน?

จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและพลังงานแห่งชาติ กระทรวงพลังงาน ระบุว่า สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565) มีจำนวน 986 สถานีทั่วประเทศ มีหัวชาร์จรวมมากกว่า 2,200 หัวชาร์จ กระจายครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ / นนทบุรี / ปทุมธานี / ภาคกลาง / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / ภาคเหนือ และ ภาคใต้ โดยมีจำนวนผู้ให้บริการที่ติดตั้งจุดชาร์จแล้ว ดังนี้...

>> EA ANYWHERE แบรนด์ภายใต้บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ผลิตภัณฑ์ด้านสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 459 สถานี จำนวน 1,900 หัวชาร์จ
>> บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 120 สถานี
>> บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 108 สถานี
>> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟภ. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 73 สถานี
>> สถานีอัดประจุจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย มีจำนวนสถานีอัดประจุทั้งหมด 68 สถานี
>> บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 51 สถานี


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top