Friday, 29 March 2024
เงินเฟ้อ

'กอบศักดิ์' ชี้!! 2 ตัวแปร ราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงสุดในรอบ 8 ปี ลุ้นทะลุ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล ก่อนร่วงเพราะ EV

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL / นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาประเทศ การเงิน และตลาดทุน / อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง แนวโน้มราคาน้ำมันโลกพุ่ง ระบุว่า... 

ราคาน้ำมันโลกพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 8 ปี !!!

ล่าสุดทะลุ 90 ดอลลาร์/บาร์เรล อีกครั้ง

ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกระยะ จาก (1) ความต้องการซื้อน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ รวมทั้งจาก (2) ความขัดแย้งระหว่างประเทศ (Geopolitics) โดยเฉพาะกับรัสเซียที่ยูเครน และกับอิหร่าน ที่ทำให้อิหร่านมีปัญหาในการส่งออกน้ำมัน

ถ้าปัญหาที่ยูเครนลุกลามบานปลาย จะส่งผลต่อการส่งออกน้ำมันของรัสเซียที่มีสัดส่วนประมาณ 10% ของ World Supply ขณะนี้ และซ้ำเติมให้สถานการณ์ความตึงตัวของตลาดน้ำมันโลกแย่ขึ้นจากเดิม ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมตลาดจึงกังวลใจเรื่องนี้มาก

หาวิธีรับมือด่วน!! ‘กรณ์’ แนะรัฐมองวิกฤติเศรษฐกิจให้ออก เร่งตัดวงจรของแพง หลังเงินเฟ้อพุ่ง 5.8%

6 มีนาคม 2565 นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง และหัวหน้าพรรคกล้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ประกาศอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นถึง 5.8% มีเนื้อหาว่า แบงก์ชาติประกาศอัตราเงินเฟ้อ กุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นถึง 5.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

จริงๆ เรื่องนี้ไม่ต้องรอแบงก์ชาติบอกก็ได้ครับ เมื่อวานผมพบชาวบ้านที่ชัยนาท เรื่องหลักๆที่ชาวบ้านขอความช่วยเหลือคือเรื่อง #เศรษฐกิจปากท้อง เรื่องผักชีแพง นํ้ามันแพง ปุ๋ยแพง แต่ราคาข้าวตํ่า (แบงก์ชาติรายงานยืนยันว่าที่อัตราเงินเฟ้อไม่สูงกว่านี้ก็เพราะราคาข้าวเหนียวและข้าวสารเจ้าถูกลง)

'นายกฯ' เตรียมถก 'กพช.'  เร่งออกลดค่าใช้จ่ายประชาชน 9 มี.ค. นี้ หลังวิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครน ดันพลังงาน-เงินเฟ้อสูงทั่วโลก

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า ในปีนี้ ไทยและทั่วโลก เผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตพร้อมกัน  คือ วิกฤตไวรัสโควิด-19  วิกฤติเงินเฟ้อ และวิกฤติสงครามยูเครน-รัสเซีย ได้ส่งผลกระทบราคาพลังงานโลก คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น อาจจะเห็นตัวเลขราคาน้ำมันโลกที่ 120 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล ปัจจุบันน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่  106.58 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล  เบรนท์ 118.11  เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล  และเวสต์เท็กซัส  110.07  เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล  น้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าและขนส่ง ก็จะทำให้ราคาสินค้าและค่าขนส่งยิ่งแพงขึ้น กระทบทั้งค่าครองชีพ และภาคการส่งออก

รวมทั้งสภาวะเงินเฟ้อที่มาพร้อมกับเงินฝืด จะส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับครอบครัวและมหภาค  ซึ่งเป็นภาวะที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ไทยเองก็ไม่แตกต่าง เพราะเราเป็นประเทศนำเข้าน้ำมัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรอย่างต่อเนื่อง หลังการประชุมคณะที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งเดินหน้า มาตรการเร่งด่วนใน 3 แนวทางหลัก คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลประชาชน บรรเทาภาระหนี้สิน โดยให้ปีนี้เป็น “ปีแห่งการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน”   และเร่งการลงทุนภาครัฐ/เอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง  

ซึ่งในวันพุธที่ 9 มีนาคม นี้ นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อกำหนดมาตรการด้านพลังงาน ซึ่งจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 15 มีนาคม เพื่อเร่งรัดให้มีผลบังคับใช้ เพื่อบรรเทาภาระของประชาชนโดยเร็ว

พิษสงคราม ทำชีวิตคนอังกฤษสะเทือน อดอยาก-ไร้บ้าน-นอนร้านฟาสต์ฟู้ด

ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อและราคาพลังงานที่พุ่งกระฉูด ชาวอังกฤษส่วนหนึ่งต้องอดมื้อกินมื้อ-พักพิงในร้านอาหาร

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าขณะนี้ชาวอังกฤษกำลังประสบปัญหาปากท้องท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ และราคาพลังงานที่พุ่งกระฉูด โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ของอังกฤษเผยว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนเม.ย. ซึ่งระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ 9%

ท่ามกลางราคาพลังงานที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ตลอดจนราคาอาหารและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ชาวอังกฤษจำนวนไม่น้อยต้องใช้ชีวิตอย่างลำบาก

แอนดรูว์ เบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) กล่าวว่าปัญหาอาหารราคาสูงและขาดแคลนอันเป็นผลมาจากสงครามในยูเครน เป็นความกังวลใหญ่สำหรับชาวอังกฤษ และหลายพื้นที่ทั่วโลก

พักพิงในร้านอาหาร
The Guardian รายงานว่าครอบครัวที่ประสบปัญหาในการรับมือกับค่าไฟกำลังใช้ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแมคโดนัลด์เป็นที่พักพิงชั่วคราว โดยใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในร้านเป็นครัวฉุกเฉิน ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่น

เฟดทนไม่ไหวปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ดันหุ้นสหรัฐฯ-ทองคำปิดบวก แต่ฉุดน้ำมันร่วง $3

วอลล์สตรีทปิดบวกและน้ำมันขยับลงราว 3 ดอลลาร์ในวันพุธ (15 มิ.ย.) หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ยตามที่คาดหมายไว้ ในความพยายามต่อสู้กับเงินเฟ้อโดยไม่ฉุดเศรษฐกิจดำดิ่งสู่ภาวะถดถอย ปัจจัยนี้ผลักทองคำปรับขึ้น

ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 303.70 จุด (1.00 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 30,668.53 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 54.51 จุด (1.46 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,789.99 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 270.81 จุด (2.50 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 11,099.16 จุด

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ถือเป็นการปรับขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 และคาดหมายว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวและตัวเลขคนว่างงานจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

เฟดได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ สู่ระดับ 1.7% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 2.8% ในเดือน มี.ค. และคาดว่าจะขยายตัว 1.7% ในปี 2023

นอกจากนี้ เฟดคาดว่าเงินเฟ้อจะพุ่งแตะระดับ 5.2% ในสิ้นปีนี้ จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 4.3% และจะชะลอตัวสู่ระดับ 2.6% และ 2.2% ในปี 2023 และ 2024 ตามลำดับ

วอลล์สตรีทซื้อขายผันผวนหลังจากเฟดแถลงปรับขึ้นดอกเบี้ย ก่อนแกว่งตัวขึ้นหลังจาก เจอโรม พาวเวล ประธานเฟดระบุในถ้อยแถลงว่ามีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% หรือ 0.75% ในการประชุมครั้งถัดไปในเดือนกรกฎาคม แต่เขาไม่คาดหมายว่าการปรับขึ้น 0.75% จะกลายเป็นเรื่องปกติ

'กอบศักดิ์' เผยราคาน้ำมันโลกลดมาอยู่ช่วงก่อนเกิดสงคราม คาดจะช่วย 'เฟด' บริหารจัดการเงินเฟ้อได้ง่ายขึ้น

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกล่าสุด โดยระบุว่า 

ภาพประวัติศาสตร์

เริ่มกลับไปที่เดิม !!!!  ข่าวดี  !!!!

หลังราคาน้ำมันโลกได้พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด หลังเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ไปอยู่ที่ 130-140 ดอลลาร์/บาเรล

ทำให้หลาย ๆ คนกังวลใจว่าจะเกิดปัญหา Stagflation นั้น

มาถึงวันนี้ ราคาน้ำมันโลกได้ลดลง กลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อนเกิดสงครามอีกครั้ง 

ราคาน้ำมัน Brent ต่ำสุดวันนี้ที่ 94.5 ดอลลาร์/บาเรล 

ราคาน้ำมัน WTI ต่ำสุดวันนี้ที่ 90.56 ดอลลาร์/บาเรล

ต่ำกว่าระดับจุดเริ่มต้น !!! 

ก่อนปรับตัวขึ้น 

สะท้อนว่า ราคาน้ำมันโลกขึ้นได้ ก็ลงได้เช่นกัน

และหมายความต่อไปว่า สิ่งที่ทุกคนกังวลใจ "ราคาน้ำมันโลกจะเป็นปัจจัยกดดันให้เงินเฟ้อโลกพุ่งไปเรื่อย ๆ" ตอนนี้ได้คลี่คลายไปบ้างแล้ว

ภาวะความไม่สมดุลระหว่าง Supply และ Demand ในตลาดน้ำมันโลก เริ่มดีขึ้น 

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก การที่น้ำมันของรัสเซียซึ่งถูก Sanctions จากสหรัฐและพันธมิตร ได้ถูกส่งไปประเทศอื่น ๆ แทนได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ทำให้ปริมาณน้ำมันส่งออกในโลกกลับเป็นปกติมากขึ้น และจากความกังวลใจว่าจะเกิด Global Recession ในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดความต้องการใช้น้ำมันลง

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะราคาน้ำมันโลกเป็นต้นตอหลักของเงินเฟ้อในประเทศต่างๆ ในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา 

ถ้าราคาน้ำมันปรับตัวดีขึ้น การ Peak ของเงินเฟ้อก็จะตามมาในช่วงต่อไป

มาลุ้นกันนะครับว่า ราคาน้ำมันโลกในครึ่งหลังของปี จะปรับขึ้นไปสูงเหมือนช่วงแรกของสงครามอีกรอบ ได้หรือไม่ 

หากราคาน้ำมันโลกไม่ขึ้นสูงไปเช่นเดิม ยังวิ่งอยู่ที่ประมาณ 100 ดอลลาร์/บาเรล แรงกดดันต่อเงินเฟ้อในประเทศต่าง ๆ ในครึ่งหลังของปีก็จะค่อย ๆ ลดลง 

สงครามของเฟดกับเงินเฟ้อก็จะบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น

ซึ่งในเรื่องนี้ หากไม่มีอะไรพลิกผันจนเกินไป คงต้องบอกว่า 

สถานการณ์ตลาดน้ำมันโลกในช่วงครึ่งหลังของปี จะต่างจากช่วงครึ่งแรก 

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ 

'พิชัย' ชี้ 'ประยุทธ์' จะล้มเหลวรับมือปัญหาเศรษฐกิจ จี้ แก้ปัญหาไฟฟ้าแพง แก้ข้อพิพาทของก๊าซในอ่าวไทย

'พิชัย' ชี้ 'ประยุทธ์' จะล้มเหลวรับมือปัญหาเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย ค่าบาทอ่อน จี้ แก้ปัญหาไฟฟ้าแพง แก้ข้อพิพาทของก๊าซในอ่าวไทย และ ค่าความพร้อมสูงถึงปีละแสนล้านบาท แนะ แม้ปัจจุบันจะยังไม่แย่เท่าศรีลังกา แต่ทิศทางกำลังเหมือน 

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว. พลังงาน รองประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า เงินเฟ้อของสหรัฐเดือนมิถุนายนสูงถึง 9.1% สูงที่สุดในรอบ 40 ปี ทั้งที่สหรัฐเพิ่งขึ้นดอกเบี้ย 0.75% แต่ก็ยังคุมเงินเฟ้อไม่อยู่ ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่สหรัฐจะต้องขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกอาจสูงถึง 1% ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐในเร็วๆนี้  ซึ่งจะส่งผลกระทบมาถึงเศรษฐกิจไทยอย่างมาก เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต่างกันจะทำให้เงินตราต่างประเทศไหลออก ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติที่เงินทุนต่างประเทศจะออกไปเพื่อไปหาผลตอบแทนที่สูงกว่า และจะยิ่งทำให้ค่าเงินบาทยิ่งอ่อนลง และจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอีกได้ อีกทั้งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในหลายเดือนที่ผ่านมายิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง 

โดยล่าสุดในเดือนมิถุนายน ไทยขาดดุลการค้า 1.2 พันล้านเหรียญ หรือ 4 หมื่นล้านบาท ซ้ำเติมหลังจากที่ 5 เดือนแรก ไทยขาดดุลการค้าแล้ว 4,726 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเงินทุนได้ไหลออกไปกว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (กว่า 1 ล้านล้านบาท) แล้วตั้งแต่ต้นปี และยังมีแนวโน้มที่จะไหลออกเพิ่มอีก จนภาคเอกชนกังวลกันว่าเงินบาทที่อ่อนจะทะลุ 37 บาทต่อดอลล่าร์ในอีกไม่นานนี้ อาจจะทะลุไปถึง 40 บาทต่อดอลลาร์ได้และอาจทำให้เงินเฟ้อของไทยที่กำลังจะทะลุ 8% อาจจะพุ่งทะลุไปถึง 10% ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก ในขณะเดียวกัน หากไทยจะขึ้นดอกเบี้ยก็จะส่งผลกระทบต่อหนี้ครัวเรือนที่สูงถึงเกือบ 15 ล้านล้านบาท หรือ กว่า 90% ของจีดีพี อีกทั้งหนี้สาธารณะมากกว่า 10 ล้านล้านบาท หรือ ทะลุ  60% ของจีดีพีแล้ว ซึ่งหากขึ้นดอกเบี้ยก็จะยิ่งเพิ่มภาระขึ้นไปอีกมาก ดังนั้น ความกังวลเรื่องการระเบิดของหนี้ต่างๆในไทยเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ จากการบริหารเศรษฐกิจที่ผิดพลาดของพลเอกประยุทธ์ ดังนั้น ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาดอกเบี้ย ปัญหาค่าเงินบาทที่อ่อน และปัญหาการระเบิดของหนี้ จะเป็นปัญหาใหญ่ที่พลเอกประยุทธ์ต้องรับมือ ซึ่งพลเอกประยุทธ์แทบจะไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้เลย ซึ่งจะให้ปัญหาทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไปอีกเรื่อยๆ 

ทั้งนี้แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจจะลดลงบ้าง แต่ก็ยังผลิกผันได้ตลอด เรื่องที่น่ากังวลคือปัญหาการปรับราคาค่าไฟฟ้าที่จะพุ่งสูงขึ้นมากจากหน่วยละ 4 บาทเป็นหน่วยละ 5 บาท สร้างความสั่นสะเทือนและความกังวลไปทั่ว ทั้งค่าใช้จ่ายของประชาชนที่จะเพิ่มขึ้นและความสามารถแข่งขันของไทยที่จะลดลง เพราะคงไม่มีใครอยากจะมาลงทุนในประเทศที่ค่าไฟฟ้าแพงมหาโหด แนวทางที่จะแก้ไขก็ต้องเข้าไปแก้กันที่สาเหตุของปัญหาคือ การหาข้อยุติในข้อพิพาทระหว่างบริษัทที่รับสัมปทานเดิม เชฟรอน และ บริษัทที่รับสัมปทานใหม่ ปตท. สผ. และ มูตาบารา ในการส่งมอบสัมปทาน และ ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการรื้อถอนแท่นขุดเจาะก๊าซในทะเลที่ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงและอาจถูกฟ้องร้องได้ในกรณีที่การรื้อถอนอาจจะทำให้เกิดมลภาวะในทะเลและชายฝั่งได้ ทั้งนี้เพื่อที่นำก๊าซจากอ่าวไทยขึ้นมาได้ หลังจากที่ไม่สามารถนำก๊าซธรรมชาติจำนวนมากขึ้นมาได้จากปัญหาข้อพิพาทดังกล่าว จึงต้องทำให้ไทยต้องนำเข้า ก๊าซ LNG ที่มีราคาแพงกว่า 30 เหรียญต่อหน่วยเข้ามาทดแทน และทำให้ราคาค่า FT ของค่าไฟฟ้าพุ่งขึ้นสูงมาก 

นอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้าที่ล้นเกินถึง 50% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ทำให้ต้องจ่ายค่าความพร้อมให้กับโรงงานผลิตไฟฟ้าแต่ไม่ได้ส่งไฟฟ้ามียอดถึงเดือนละกว่า 8,000 ล้านบาท หรือ ปีละประมาณแสนล้านบาทซึ่งสูงมาก เป็นความผิดพลาดในนโยบายการผลิตไฟฟ้าของพลเอกประยุทธ์ และ ปัจจุบันยังมีการให้ใบอนุญาตผลิตไฟฟ้ากันอยู่เลย แม้กำลังผลิตจะยังล้นเกินนี้ดังนั้น พลเอกประยุทธ์จะต้องหาทางเจรจาลดค่าความพร้อมนี้ และ หยุดการให้ใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าไว้ก่อนชั่วคราวได้แล้ว จนกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะมีเพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงต้องทำเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น

ศ.สุชาติ! ไม่เห็นด้วยที่มีผู้เสนอให้ขึ้นดอกเบี้ยเยอะ ๆ​ เพื่อสกัดเงินเฟ้อ​ เพราะไทยยังอยู่ในวัฏจักร​เศรษฐกิจ​ที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว

ศ​าสตราจารย์​ ดร.สุชาติ​ ​ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง​ กล่าวว่า

1. เราต้องแยกแยะ​เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นว่า​ เป็นด้านพิมพ์เงินมาใช้มากเกินไป​แบบสหรัฐ​ฯ (Demand​ pull inflation) หรือด้านต้นทุนนำเข้า (Cost push inflation) ออกจากกัน ประเทศไทยเป็น​ Cost push inflation หากขึ้นดอกเบี้ย​ ก็จะลดเงินเฟ้อได้น้อยมาก​ ราคาน้ำมัน, ราคาปุ๋ยก็คงไม่ลดลง​ แต่จะทำเศรษฐกิจ​ที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว​กลับไปถดถอย​ ทำให้ประชาชนยากจนลงเพราะต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น​ เศรษฐกิจ​ไทยจะแย่ลง​ คนตกงานและรายได้ประชาชนลดลง​

2. รัฐบาลต้องดูแลประชาชนให้มีงานทำ​ มีรายได้​​เพิ่มขึ้นเร็วกว่าเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น​ การแนะนำให้ขึ้นดอกเบี้ยมากๆ​ เพื่อ (ก) เพิ่มต้นทุนการกู้ยืมของประชาชน​ ลดการบริโภค​ ลดการลงทุน​ ลดรายได้ภาษี​รัฐบาล​ (ข)​ เพื่อทำค่าเงินบาทให้แข็ง​ขึ้น เพื่อลดความสามารถในการส่งออกและในการดึงดูดคนต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยว​ ทั้ง​ 2 ประการจะทำให้​เศรษฐกิจ​จริง (GDP)​ ลดลง​ ทำให้ประเทศไม่พัฒนา​ ประชาชนไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้​ และยากจนลงมากขึ้น

'กอบศักดิ์' เผยประธานเฟดพูด 'ตัดรอนไม่เหลือเยื่อใย' จ่อขึ้นดอกเบี้ย สยบเงินเฟ้อ ซัดหุ้นร่วงระเนระนาด

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

9 นาทีเขย่าโลก
“ตัดรอน ไม่เหลือเยื่อใย”
นี่น่าจะเป็นข้อสรุปที่ตรงสุด สำหรับสุนทรพจน์ของท่านประธานเฟดเมื่อคืนนี้
1,301 คำที่ชี้ว่า “เฟดจะไม่ใจอ่อน และจะไม่เปลี่ยนใจ จนเงินเฟ้อลง”

We will keep at it until we are confident the job is done.

จึงไม่น่าแปลกใจว่า เมื่อคืนนี้ 
Dow Jones -1,008 จุด หรือ -3.03%
Nasdaq -498 จุด หรือ -3.94%
Bitcoin -1,500 ดอลลาร์ ลงมาเหลือ 20,200 หรือ -6.75%
Ethereum -200 ดอลลาร์ ลงมาเหลือ 1,500 หรือ -12%
ระเนระนาด 

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะนักลงทุนแอบหวังว่า
เงินเฟ้อสหรัฐที่ลงมาให้เห็น 1 เดือนแล้ว เป็นสัญญาณที่ดี
หมายความว่า ดอกเบี้ยขึ้นไปไม่มาก แค่ 3.66% ก็จะจบ
ต้นปีหน้า เฟดน่าจะพอแล้ว
และน่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี

แต่สิ่งที่ท่านประธานเฟดพูดเมื่อคืน มันช่างต่างจากที่นักลงทุนคิดไว้มาก
ท่านบอกว่า

📌 สิ่งที่คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐหมกหมุ่น focus อยู่ ก็คือ เอาเงินเฟ้อลงมาที่ 2%
หน้าที่ของเรา คือ การสยบเงินเฟ้อให้ได้ 
ถ้าเฟดผิดพลาดเรื่องนี้ เศรษฐกิจก็จะไม่สามารถขยายตัวอย่างยั่งยืน 
เงินเฟ้อจะสร้างความเสียหายแก่ทุกคน

📌 การเอาเงินเฟ้อกลับเข้าเป้า “ต้องใช้เวลา” 
ต้องใช้นโยบายที่ “เข้มข้น” เข้าจัดการ
จะนำมาซึ่ง เศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำกว่าปกติ
คนต้องตกงาน 
ธุรกิจต้องปิด
คนทั่วไป อาจจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้
แต่นี่คือต้นทุนที่เราต้องแบกรับไว้ เพราะถ้าพลาดจะเสียหายยิ่งกว่านี้

📌 ล่าสุด เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอลงบ้าง 
แต่โดยรวมยังมีแรงส่งที่ดีอยู่
ตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งมาก 
เงินเฟ้อกำลังกระจายไปภาคส่วนต่างๆ
ส่วนที่ลงมา 1 เดือน ถือเป็นข่าวดี 
แต่ยังไม่พอ 
ยัง falls far short ที่จะทำให้กรรมการมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะลง

📌 เฟดจะปรับดอกเบี้ยไประดับที่เข้มข้น ที่ชะลอเศรษฐกิจลงมา 
ระดับปัจจุบันที่ 2.25-2.5% เป็นระดับที่เรียกว่า Neutral rate
แต่จุดนี้ไม่ใช่จุดที่เฟดจะหยุดหรือชะลอการขึ้นดอกเบี้ย 
โดยการขึ้นดอกเบี้ยครั้งหน้า อาจจะเป็น .75% 
เราจะดูข้อมูลที่ออกมาอีก 1 เดือน แล้วตัดสินใจว่าเหมาะสมหรือไม่ 
ทั้งนี้ ในอนาคต เมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยไปได้สูงพอ อัตราการขึ้นอาจจะชะลอลงได้

📌 ในการที่จะเอาเงินเฟ้อลงมา เฟดคงต้อง “คงดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลาที่นานพอควร” 
เพราะบทเรียนในอดีตชี้ว่า การลดลงเร็วเกินไป เชื้อเงินเฟ้อจะไม่ตาย และจะเกิดปัญหาอีกรอบได้
โดยเมื่อมิถุนายน กรรมการมองว่าจุดสูงสุดของดอกเบี้ยรอบนี้ต้องขึ้นไปอย่างน้อยใกล้ๆ 4% 
แต่ในการประชุมครั้งหน้าจะบอกอีกทีว่าจะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ เท่าไหร

📌 สิ่งที่กรรมการคิด หารือแนวทางจัดการเงินเฟ้อ ตั้งอยู่บนบทเรียนสำคัญจากอดีต 3 เรื่อง

📌 เรื่องแรก – เป็นหน้าที่ของธนาคารกลางในการจัดการเงินเฟ้อ
ธนาคารกลางมีเครื่องมือในการสู้ศึกดังกล่าว ที่เคยใช้ได้ผลมาในอดีต
รอบนี้ก็เช่นกัน “ต้องเอาเงินเฟ้อลงมาให้ได้ อย่างไม่มีเงื่อนไขใดใด” 
We are committed to doing that job 
เฟดมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเรื่องนี้ โดยไม่ลังเล
(หมายความว่า เศรษฐกิจจะถดถอย คนจะตกงาน บริษัทจะปิดกิจการ ล้มละลาย รัฐบาลสหรัฐจะจ่ายหนี้ยากขึ้น เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องไปปรับตัวเอง)

📌 เรื่องที่สอง – การคาดการณ์เงินเฟ้อของทุกคนสำคัญมาก
ในช่วง 1970 เงินเฟ้อสูง คนเคยชิน 
ยิ่งเฟ้อ ก็ยิ่งเอามาใช้ในการปรับขึ้นราคาสินค้า เงินเดือน
Paul Volcker บอกว่า หน้าที่ของเฟดคือ ตีหลังของเงินเฟ้อให้หัก 
และทำให้เงินเฟ้อไม่สามารถต่อยอดตนเองได้
Alan Greenspan บอกว่า เป้าหมายคือ เราต้องทำให้เงินเฟ้อต่ำ ต่ำจนทุกคนไม่ได้ใส่ใจ 
แต่ปัญหาใหญ่ของเราก็คือ ช่วงนี้ เงินเฟ้ออยู่ในใจทุกคน 
ยิ่งปล่อยไว้นาน เงินเฟ้อก็จะสามารถฝังรากลึก ต่อยอดตัวเองได้

📌 เรื่องที่สาม - เราต้องไม่วอกแวก ลังเล
อดีตสอนว่า ยิ่งช้า ยิ่งเสียหาย
ก่อนที่ Paul Volcker จะจัดการเงินเฟ้อสำเร็จ 
เฟดล้มเหลวแล้ว ล้มเหลวอีก เป็นเวลา 15 ปี
(ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะใจอ่อน เปลี่ยนนโยบายเร็วเกินไป เชื้อยังไม่ตาย ก็รีบเลิกให้ยา)
นโยบายการเงินที่เข้มข้น ดอกเบี้ยที่สูง ที่ค้างไว้ยาวนานพอ 
คือ หัวใจสำคัญในการหยุดเงินเฟ้อไม่ให้เพิ่มขึ้น และเอาเงินเฟ้อลงมา
A lengthy period of very restrictive monetary policy was ultimately needed to stem the high inflation and start the process of getting inflation down to the low and stable levels…
เราต้องมุ่งมั่นในการสู้ศึกครั้งนี้ เพื่อจะไม่พลาดเหมือนในอดีต

📌 ท่านประธานเฟดจบสุนทรพจน์โดยบอกว่า 
These lessons are guiding us as we use our tools to bring inflation down. We are taking forceful and rapid steps to moderate demand so that it comes into better alignment with supply, and to keep inflation expectations anchored. We will keep at it until we are confident the job is done.
บทเรียนทั้งสามเรื่อง คือ กรอบที่เราใช้ในการจัดการเงินเฟ้อรอบนี้
เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย “ให้แรงพอ” และ “เร็วพอ” เพื่อจัดการเงินเฟ้อ
และเราเดินหน้าต่อไป ไม่เปลี่ยนใจ 
จนเรามั่นใจว่าเงินเฟ้อยอมสยบ กลับเข้าเป้า

เฟด ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% ตามคาด ขึ้นครั้งที่ 3 ในรอบปี หวังกดเงินเฟ้อให้ลงตามเป้า

เฟด ประกาศขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด นับเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี หวังกดเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้า

(22 ก.ย. 2565) สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.75% อยู่ที่ 3.00-3.25% โดยปรับไปตามคาดการณ์ของตลาด

ทั้งนี้เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้อยู่ที่ระดับ 3.00-3.25% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551

พร้อมกันนี้เฟดส่งสัญญาณว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1.25% ในการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้งในปีนี้ ซึ่งทำให้ดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจะอยู่ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 โดยคาดการณ์ใหม่ของเฟด จะทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปีนี้อยู่ที่ 4.25%-4.50% และสิ้นปีหน้า อยู่ที่4.50%-4.75%


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top