Saturday, 5 April 2025
อุยกูร์

สหรัฐฯ แถลงไม่ส่งผู้แทนฯ ร่วม ‘โอลิมปิกปักกิ่ง’ เหตุละเมิดสิทธิมนุษย์ฯ จีนโต้ ‘ไม่ได้เชิญฯอยู่แล้ว’

โฆษกทำเนียบขาวแถลงยืนยันเมื่อวานนี้ (6 ธ.ค.) สหรัฐอเมริกาจะไม่ส่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลไปเข้าร่วมมหกรรมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ณ กรุงปักกิ่งในปีหน้า เพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะการทำทารุณกรรมต่อชาวมุสลิมอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง

ในเดือนที่แล้ว ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ประกาศแก่ชาวโลกว่ากำลังพิจารณามาตรการบอยคอตจีนจากกรณีที่มีวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเหตุที่วอชิงตันชี้ว่าเป็น “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” มุสลิมอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงทางภาคตะวันตกจีน

“รัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนจะไม่ส่งเจ้าหน้าที่ทางการทูตหรือผู้แทนจากหน่วยงานรัฐใด ๆ ไปเข้าร่วมงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2022 และพาราลิมปิกเกมส์ เพราะสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ก่ออาชญากรรมทำลายมนุษยชาติในซินเจียง และละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ” คำแถลงของ นาง เจน ซากิ โฆษกทำเนียบขาวต่อที่ประชุมข่าวในวันจันทร์ (6 ธ.ค.)

‘วีรชน...คนธรรมดา’ ภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องการช่วยชีวิตเด็กชายชาวอุยกูร์ สะท้อนความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ภายใต้รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีน

สารพัดข่าวและเรื่องราวที่สื่อตะวันตกสาดสีใส่ไข่รัฐบาลจีน กรณีการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อย ‘ชาวอุยกูร์’ อย่างโหดร้ายและไร้มนุษยธรรม ย้อนแย้งอย่างสิ้นเชิงกับเหตุการณ์จากภาพยนตร์เรื่องนี้ 

วีรชน...คนธรรมดา! (Ordinary Hero) ซึ่งสร้างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 เมษายน ค.ศ. 2021 ด้วยมีผู้คนมากมายที่ต้องทำงานแข่งขันกับเวลาเพื่อช่วยชีวิตเด็กชายชาวอุยกูร์วัย 7 ขวบจากเมือง Hotan เขตปกครองตนเอง Xinjian ซึ่งประสบอุบัติเหตุถูกรถไถตัดแขนขวาขาด

ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากเรื่องจริงของทีมแพทย์ ลูกเรือ ผู้โดยสาร ตำรวจ และผู้คนอื่น ๆ อีกมากมายจากทุกสาขาอาชีพในเขตปกครองตนเอง Xinjian ซึ่งต่างได้ร่วมมือร่วมใจกันเพื่อที่จะพาเด็กชายชาวอุยกูร์วัย 7 ขวบจากเมือง Hotan เดินทาง 1,400 กิโลเมตรมายังโรงพยาบาลที่ทันสมัยและมีความพร้อมในนคร Urumqi เพื่อที่จะรับการผ่าตัดต่อแขนที่ขาดให้ทันภายในเวลา 8 ชั่วโมงนับจากเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ

ทั้งนี้ Hotan เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางทางตะวันตกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเอง Xinjian ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน 

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2021 ณ หมู่บ้าน Kumairik เกิดอุบัติเหตุกับ Merdan เด็กชายชาวอุยกูร์วัย 7 ขวบถูกเครื่องมือเก็บเกี่ยวของรถไถตัดแขนขวาตรงไหล่จนขาด หลังจากเกิดเหตุทันทีที่ตั้งสติได้ Abdul ผู้เป็นพี่ชายรีบขับรถพา Merdan น้องชายกับแม่เข้าเมืองเพื่อไปโรงพยาบาลทันที

เมื่อมาถึงตัวเมืองรถของ Abdul ก็เจอเข้ากับตลาดนัดซึ่งมีฝูงชนมากมาย เขาบีบแตรเพื่อขอทางจนพ่อค้าผู้หนึ่งซึ่งกำลังเข็นรถเข็นขายของอยู่ไม่พอใจ จึงเดินมาที่รถแต่เมื่อมองเข้าไปในรถก็เห็น Merdan ซึ่งเลือดโชกอยู่บนตักแม่ เขารีบหันกลับไปยังรถเข็นหยิบโทรโข่งขึ้นมาประกาศขอทางให้รถของ Abdul จนสามารถแล่นผ่านไปได้ 

เมื่อรถของ Abdul สามารถผ่านย่านชุมชนที่แสนจะแออัดและจอแจไปได้แล้ว Abdul ก็รีบขับต่อไปยังโรงพยาบาล โดยพยายามฝ่าไฟแดงจนถูก Ainur ตำรวจจราจรหญิงสกัดไว้ เมื่อเธอเข้ามาถึงรถแล้วเห็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เธอจึงรีบวิทยุแจ้งศูนย์ควบคุมจราจรทันที ศูนย์ฯ ได้ประสานให้รถพยาบาลออกมารับ Merdan ทันที จากนั้นตำรวจจราจรหญิง Ainur รีบขี่มอเตอร์ไซต์เปิดไฟฉุกเฉินพารถของ Abdul ไปจนพบกับรถพยาบาล ด้วยความช่วยเหลือของศูนย์ฯ และได้ย้าย Merdan ไปยังรถพยาบาลแล้วเดินทางต่อจนถึงโรงพยาบาลประจำจังหวัด Hotan

ภาพจากเหตุการณ์จริง

ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด Hotan นายแพทย์ Akbar ศัลยแพทย์กระดูกและข้ออาวุโสได้ทำการตรวจและทำความสะอาดบาดแผล หลังจากตรวจดูแขนแล้ว เขาแนะนำว่าเนื่องจากอาการบาดเจ็บของ Merdan รุนแรงมาก จึงต้องผ่าตัดนำแขนที่ขาดต่อกลับเข้าไปใหม่เพื่อให้เส้นประสาทและชิ้นส่วนกระดูกเรียงตัวกันอย่างเหมาะสม มิฉะนั้น Merdan จะพิการไปตลอดชีวิต 

นายแพทย์ Akbar ได้แจ้งพี่ชายกับแม่ของ Merdan ว่า โรงพยาบาลประจำจังหวัด Hotan ไม่มีศักยภาพพอที่จะทำการผ่าตัดเพื่อต่อแขนของ Merdan ได้ วิธีเดียวที่จะรักษาแขนของ Merdan คือ การพาเขาไปรับการผ่าตัดต่อแขนยังโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยแพทย์แห่ง Xinjian ที่นคร Urumqi ซึ่งอยู่ห่างออกไป 1,400 กิโลเมตร ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ พร้อมกว่ามาก เนื่องจากอุบัติเหตุเกิดขึ้นประมาณ 19.30 น. ดังนั้นต้องต่อผ่าตัดต่อหลอดเลือดใหม่ให้ทันภายในเวลา 03.30 น. 

ภาพจากเหตุการณ์จริง

เมื่องได้ยินอย่างนั้น พี่ชายและแม่ของ Merdan ก็พยายามทำทุกวิธีทางเพื่อให้มาถึงสนามบินให้ทันเที่ยวบิน CZ6820 ของสายการบิน China Southern Airlines เที่ยวบินสุดท้ายจากจังหวัด Hotan ไปยังนคร Urumqi ในคืนวันนั้น

เมื่อ Merdan และ Abdul พี่ชายไปถึงสนามบิน เมื่อกัปตัน Xie Huiyang และลูกเรือ ซึ่งมี Zhou Yan หัวหน้าพนักงานต้อนรับของเที่ยวบิน CZ6820 รวมทั้งสำนักงานประจำสนามบิน Hotan ของ China Southern Airlines และหอบังคับการบิน Hotan เมื่อทราบเรื่องของ Merdan ต่างก็ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ โดยรายงานสถานการณ์นี้ต่อหน่วยงานระดับสูงอย่างรวดเร็ว หลังจากการประสานงานอย่างเร่งด่วนจากฝ่ายต่าง ๆ และความยินยอมของผู้โดยสาร 101 คน China Southern Airlines จึงอนุญาตให้กัปตัน นำเครื่องกลับหลุมจอดและเปิดประตูรับ Merdan ทั้ง ๆ ที่เครื่องบินอยู่บนรันเวย์แล้ว เพื่อให้ทันช่วงเวลาทอง 8 ชั่วโมงในการรักษา 

ทางสนามบิน Hotan ได้เปิดทางเดินสีเขียว และใช้เปลขนาดเล็กเพื่อส่ง Merdan ไปยังเครื่องบิน เนื่องจากมีที่นั่งเต็มแต่ก็มีครอบครัวที่มีสมาชิกสามคนยอมสละที่นั่งให้ ในที่สุดเที่ยวบิน CZ6820 ก็ออกเดินทางจากสนามบิน Hotan ในเวลา 00:09 น. 

สถานทูตจีน เผยส่ง 40 ชาวจีนกลับประเทศ หลังลักลอบเมืองโดยผิด กม. - ถูกกักตัวในไทยกว่า 10 ปี

(27 ก.พ. 68) - เฟซบุ๊กเพจ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน Chinese embassy in Bangkok โพสต์ข้อความ โดยมีเนื้อหาดังนี้

ชาวจีนที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย 40 รายถูกส่งตัวกลับซินเจียงของประเทศจีนจากประเทศไทย โดยเที่ยวบินเช่าเหมาลำของบริษัทการบินพลเรือนของจีน ซึ่งเป็นมาตรการที่เป็นรูปธรรมระหว่างจีนและไทยที่ได้ร่วมมือจัดการกับอาชญากรรมการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของพลเมืองจีน ตามกฎหมายของสองประเทศและแนวปฏิบัติระหว่างประเทศ

ชาวจีนที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดหมายที่ถูกส่งกลับจีนในครั้งนี้ ถูกควบคุมตัวอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 10 กว่าปี เนื่องจากปัจจัยระหว่างประเทศที่ซับซ้อน หน่วยงานความมั่นคงสาธารณะและหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของประเทศจีน ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อให้คนเหล่านี้กลับบ้านหลังจากปฏิบัติตามขั้นตอนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ได้มาตรฐาน ยุติธรรมและมีอารยะ และช่วยให้พวกเขากลับไปใช้ชีวิตปกติ

‘ภูมิธรรม’ ตอกสหรัฐ-ชาติตะวันตก เคยเสนออุยกูร์ลี้ภัย แต่ถูกเมิน เพราะคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศตัวเอง ยันไทยไม่มีทางเลือก-ปฏิบัติตามกฎหมายทุกประการ วอนสื่อไทยบางราย อย่าโหมจนเป็นเรื่อง ไม่กังวลเรื่องก่อการร้าย

(28 ก.พ. 68) ที่กระทรวงกลาโหม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีข้อกังวล จะมีเหตุก่อการร้าย หลังจากส่งชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน ว่า หากเราส่งชาวอุยกูร์แล้วได้รับอันตรายจนถึงแก่ชีวิต ก็เป็นเรื่องที่จะต้องขบคิดกัน แต่การดำเนินการครั้งนี้ เรามีหนังสือที่เป็นทางการจากจีนที่ควรแก่การเชื่อถือ ในขณะเดียวกันจีนมีสิทธิที่จะขอตัวชาวอุยกูร์ ที่ถูกควบคุมตัวในประเทศไทยมานานกว่า 11 ปี เป็นเรื่องที่ไม่สมควรเหตุเพราะเรา แก้ไขปัญหาที่ผ่านมาไม่ได้ ขณะเดียวกันเรื่องการส่งตัวไปประเทศที่ 3 เราดำเนินการมา 11 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้ที่ส่งไปตุรกีกว่าร้อยคนเราประสบความสำเร็จ แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครตอบรับเลย และตนก็ได้บอกกับชาติตะวันตกแล้วว่าหากเขารับไป ก็ไม่มีปัญหา แต่เขาก็ไม่รับ เพราะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเขา ดังนั้นเมื่อทางการจีนยืนยันว่าทั้งหมดเป็นพลเรือนของจีนที่มีเชื้อสายอุยกูร์ มีที่อยู่ชัดเจน จึงอยากขอตัวกลับไป เราจึงดำเนินการตามขั้นตอน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ชี้แจงกับประเทศตะวันตกหลายชาติ เช่น สหรัฐ ก็ได้พูดคุยกับตน ซึ่งก็ได้ย้ำไปว่า เราจะทำภายใต้อธิปไตยและกฎหมายของไทย คำนึงถึงหลักสากลและกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในเรื่องนี้ รวมถึงคำนึงถึงกฎหมายที่จะไม่ส่งคนไปเสียชีวิต เรามีสถานะอยู่แค่นี้กักตัวเอาไว้ก็ทำผิดกฎหมาย เราไม่มีทางเลือก และชัดเจนว่าเราไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรในเรื่องนี้ เพียงแต่ต้องดำรงประเทศให้มีความถูกต้องและเหมาะสม เพราะการที่เราขังชาวอุยกูร์ ก็ถูกร้องเรียนมาตลอดว่าเป็นการทรมาน ซึ่งขัดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย 2565 ดังนั้น การส่งอุยกูร์กลับไปจีน จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด อีกทั้งรัฐบาลก็จะติดตามเรื่องของความปลอดภัยเป็นระยะ

นายภูมิธรรม ยังขอวิงวอนให้สื่อไทยและสื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะสื่อในประเทศไทยบางราย ที่นำเสนอเหมือนอยากให้ประเด็นไม่จบ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศเลย อยากให้คำนึงถึงประเทศไทยด้วย ยืนยันรัฐบาลไทยมีความปรารถนาดี เพื่อไม่ให้ไทยถูกกล่าวหาและปฏิเสธจากทุกฝ่าย เราไม่ได้มีเจตนาร้าย หรือโหดเหี้ยม อำมหิต ที่จะส่งคนไปตาย เพียงแต่ต้องการแก้ไขปัญหาภายในประเทศของเรา เพื่อไม่ต้องมารับภาระ และจากการติดตามตอนนี้ไม่มีอะไรน่ากังวลสิ่ง แต่หลังจากนี้ก็ต้องติดตามและพิจารณาเป็นระยะ พร้อมยืนยันว่าไทยมีเจตนารมณ์ชัดเจนว่าการส่งอุยกร์กลับจีน ปฏิบัติตามกฎหมายทุกอย่าง และมองว่าไม่น่าจะมีอะไรที่ทำให้เป็นเรื่อง

เมื่อถามว่าในด้านการข่าว มีการเคลื่อนไหวในเรื่องการก่อความไม่สงบหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า อยากให้ช่วยกัน เราไม่อยากให้มีอะไรเกิดขึ้น เราไม่ได้มีการละเมิดใคร หากส่งเขาไปเสียชีวิตอาจต้องกังวล แต่ปัจจุบันนี้เขายังอยู่ดี แต่หากมีปัญหาหลังจากนี้ ก็เป็นเรื่องของคนที่ผิดจากสิ่งที่ควรจะเป็น

ไทยไร้ทางเลือก!! กรณีส่ง 40 อุยกูร์ กลับมาตุภูมิซินเจียง ชี้ ต้องไม่ลืม!!! เหตุระเบิดที่ศาลพระพรหมเอราวัณ 17 ส.ค. 58

ความขัดแย้งที่ซินเจียง หรือ ความขัดแย้งระหว่างชาวอุยกูร์ กับ รัฐบาลจีน (Xinjiang conflict หรือ Uyghur–Chinese conflict) เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเขตปกครองตนเองซินเจียงทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มาจากชาวอุยกูร์ ชนกลุ่มน้อยเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในภูมิภาคที่ต้องการปกครองตนเอง ชาวอุยกูร์ (Uighurs Uygurs หรือ Uigurs) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เติร์กที่มีต้นกำเนิดจากและมีส่วนเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับภูมิภาคเอเชียกลางและเอเชียตะวันออก ชาวอุยกูร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นชนพื้นเมือง ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน โดยถือเป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในจำนวน 55 กลุ่มของจีน แต่ชาวอุยกูร์ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลจีนว่า เป็นชนกลุ่มน้อยในภูมิภาคของประเทศในกรณีของความหลากหลายทางวัฒนธรรมเท่านั้น 

เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เป็นเขตปกครองตนเองของจีนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นเขตปกครองใหญ่ที่สุดของจีน เป็นเขตการปกครองชนชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก กินพื้นที่กว่า 1.6 ล้านตารางกิโลเมตร และเป็นเขตการปกครองที่มีประชากรมากที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบ ซินเจียงมีพรมแดนติดต่อกับ ประเทศรัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดต่อกับทิเบต มีน้ำมันสำรองอุดมสมบูรณ์ และเป็นภูมิภาคที่ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของจีน มีประชากรราว 24,870,000 คน ประกอบด้วย ชาวอุยกูร์ 45.84% ชาวฮั่น 40.48% ชาวคาซัค 6.50% ชาวหุย 4.51% และชาติพันธุ์อื่น ๆ อีก 2.67% เมืองสำคัญคือ อุรุมชี มีประชากรมากกว่า 2.3 ล้านคนประมาณ 75% เป็นชาวฮั่น 12.8% เป็นชาวอุยกูร์และ 10% มาจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ

ชาวอุยกูร์ส่วนส่วนหนึ่งหลบหนีออกมาเคลื่อนไหวนอกสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่ที่หลบหนีออกมาจะมุ่งหน้าไปยังตุรกีด้วยมีความคล้ายทางชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา โดยสหรัฐฯทั้งรัฐบาลและรัฐสภาต่างก็มีบทบาทในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของชาวอุยกูร์ โดยในเดือนธันวาคม 2019 สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ มีมติ 407 ต่อ 1 เสียงในการผ่านร่างกฎหมายที่กำหนดให้รัฐบาลของทรัมป์ต้องประณามและดำเนินมาตรการตอบโต้การจีนที่ใช้มาตรการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อชาวมุสลิมอุยกูร์ (กฎหมาย ‘อุยกูร์ 2019’) โดยต้องเรียกร้องให้จีนปิดค่ายกักกันขนาดใหญ่ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ รวมทั้งคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ของจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว โดยพุ่งเป้าไปที่ นายเฉิน ฉวนกั๋ว เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำซินเจียงผ่าน กฎหมายดังกล่าวประณามจีนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากกรณีการปราบปรามชาวอุยกูร์ในซินเจียง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ และเชื่อว่ามีชาวอุยกูร์และชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยนับล้านคนถูกควบคุมตัวอยู่ในค่ายปรับเปลี่ยนทัศนคติ ต่อมา 23 พฤษภาคม 2020 กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐออกแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เรื่องการเพิ่มชื่อบริษัทและสถาบันของจีนรวม 33 แห่ง เข้าสู่บัญชีดำการเป็นหน่วยงานที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในจีน โดยเฉพาะชาวอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ 9 แห่ง และอีก 24 แห่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับ "การผลิตอาวุธทำลายล้าง" และกิจกรรมทางทหาร

ตั้งแต่มีนาคม พ.ศ.2557 มีชาวอุยกูร์ประมาณ 300 กว่าคนได้หลบหนีเข้ามาในบ้านเรา ซึ่งรัฐบาลจีนได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยส่งบุคคลเหล่านี้กลับไปยังประเทศจีน เนื่องจากอาจมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายในประเทศจีน โดยรัฐบาลไทยได้ขอให้ฝ่ายจีนดำเนินการส่งหลักฐานการกระทำผิด และมีการพิสูจน์สัญชาติให้แก่ฝ่ายไทยพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป รัฐบาลไทยได้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมควบคู่กับหลักสิทธิมนุษยชนและพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย อีกทั้งรัฐบาลไทยได้พิจารณาอย่างรอบคอบจากหลักฐานของทุกฝ่าย สรุปว่า สามารถแยก'ชาวอุยกูร์'ดังกล่าว ได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกจำนวน 172 คน ซึ่งกลุ่มนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการกระทำผิดกฎหมาย และบุคคลดังกล่าวได้แสดงความประสงค์ที่จะเดินทางไปตุรกีและรัฐบาลตุรกีพร้อมที่จะรับ 

ขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยได้รับหลักฐานการกระทำผิดและการพิสูจน์สัญชาติ 'ชาวอุยกูร์' จำนวน 109 คนจากรัฐบาลจีน และยังมีอีกประมาณ 60 คนที่ยังอยู่ในความดูแลของไทย กระทรวงการต่างประเทศของไทย ระบุว่า จากข้อเท็จจริงข้างต้น รัฐบาลไทยจึงได้ดำเนินการต่อเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2558 และตัดสินใจส่งชาวอุยกูร์ จำนวน 172 คน ให้กับรัฐบาลตุรกี ซึ่งได้รับบุคคลเหล่านี้ไปตั้งถิ่นฐานในตุรกีเรียบร้อยแล้ว และในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2558 รัฐบาลไทยได้ตัดสินใจส่งชาวอุยกูร์จำนวน 109 คน ตามที่รัฐบาลจีนได้ส่งหลักฐานการกระทำผิดและได้รับการพิสูจน์สัญชาติให้กับฝ่ายไทยแล้ว โดยยังมีชาวอุยกูร์ ประมาณ 60 คน(ยอดในขณะนั้น) อยู่ในความดูแลของรัฐบาลไทยซึ่งยังไม่มีหลักฐานเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายรัฐบาลไทย โดยจะพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป 

จากเหตุระเบิดที่ศาลพระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 20 คน บาดเจ็บอีก 130 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมตัวชาวอุยกูร์สองคนส่งฟ้องศาลคือ นายบิลาล โมฮำเหม็ด หรือ อาเด็ม คาราดัก เป็นจำเลยที่ 1 และนายเมียไรลี ยูซุฟู เป็นจำเลยที่ 2 ในข้อหาเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดที่แยกราชประสงค์ และคนไทยอีกคนหนึ่งในคดีนี้คือ น.ส.วรรณา สวนสัน ถูกแยกฟ้องอีกต่างหาก โดยผู้ต้องหาทั้งหมดอยู่ระหว่างดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมของไทย ดังนั้นกรณีของชาวอุยกูร์ในประเทศไทยจึงต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นและเคร่งครัด ด้วยมีชาวอุยกูร์เคยก่อเหตุร้ายแรงในบ้านเรามาแล้ว ถือเป็นบทเรียนที่รัฐบาลต้องเตรียมการป้องกันและหาข่าวด้านความมั่นคงที่เกี่ยวเนื่องต่อไปอย่างต่อเนื่อง คนไทยเองต้องอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม เพราะจะนำมาซึ่งความเสียหายร้ายแรง และหากเป็นเพราะเจตนาไม่ชอบหรือหวังผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องจะถูกดำเนินคดีด้วยแม้ไม่ใช่ตัวการก็ในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 ของไทยด้วย 

ดังนั้นการส่งชาวอุยกูร์ที่ตกค้างอยู่กลับสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงชอบธรรมแล้ว ดังนั้น UNHCR และกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ โปรดอย่าได้ดัดจริตออกมาโวยวายในเรื่องนี้ เพราะตลอด 10 ปีที่ผ่านมาทำไม UNHCR จึงไม่ประสานจัดการส่งคนเหล่านี้ไปประเทศที่สาม (แต่สามารถประสานให้ผู้ต้องหาในคดีความผิดตามมาตรา 112 หนีออกนอกประเทศไปเป็นผู้ลี้ภัยได้) เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ตอนนี้เองก็ใช้เครื่องบินลำเลียงทหารขนผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองออกนอกประเทศเป็นว่าเล่น จะกล่าวหาประณามใคร ควรทบทวนมองดูตัวเองให้ดีก่อน เพราะการกระทำกับคำพูดสุดที่ย้อนแย้งกันเสียเหลือเกิน

‘คณะผู้แทนไทย’ เผย ชาวอุยกูร์ ดีใจได้คืนสู่อ้อมกอดครอบครัว ชี้ ทุกคนปลอดภัย ขณะที่ทางการจีน ให้คำมั่นจะไม่ดำเนินคดี

(1 มี.ค.68) เป็นข่าวไปทั่วโลก เมื่อรัฐบาลจีนส่งเครื่องบินมารับชาวอุยกูร์ที่ลักลอบเข้าเมืองและกลายเป็นผู้ต้องกักอยู่ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองขอไทยมานานกว่า 10 ปีแล้ว เพราะไม่มีประเทศที่สามรับตัวไป อีกทั้งเดิมทีชาวอุยกูร์เหล่านั้นไม่ยอมกลับไปบ้านเกิดด้วยเกรงการลงโทษจากรัฐบาลจีน การถูกกักตัวเป็นระยะเวลาที่ยาวนานนับ 10 ปี ทำให้เกิดความผูกพันระหว่างชาวอุยกูร์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) จึงทำให้ชาวอุยกูร์และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สตม. สามารถพูดคุยกันได้ทุกเรื่อง และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การส่งกลับครั้งนี้จึงเป็นไปด้วยความราบรื่นและเรียบร้อย

อีกทั้งในช่วงตรุษจีนของปีนี้เอง รัฐบาลจีนได้นำการแสดงของชาวอุยกูร์มาแสดงที่เยาวราช กลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ได้เห็นถึงการยอมรับของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า ชาวอุยกูร์เป็นส่วนหนึ่งของจีน ซึ่งเป็นไปตามแผนงานในการพัฒนาประเทศของรัฐบาลจีน โดยหลังจากนั้นรัฐบาลจีนได้ส่งคลิปต่าง ๆ ที่ถ่ายจากญาติพี่น้องของผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ที่แสดงให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวอุยกูร์ในปัจจุบัน และครอบครัวของผู้ต้องกักชาวอุยกูร์เหล่านั้นต่างก็เรียกร้องต้องการให้ญาติพี่น้องของตนได้เดินทางกลับบ้านเพื่อไปใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ต้องพลัดพรากห่างกันมานานกว่า 10 ปี และต่อมารัฐบาลจีนได้ทำการออกหนังสือรับรองอย่างเป็นทางการว่า ผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ทั้ง 40 คนนี้จะไม่ถูกดำเนินคดี และยังจะได้รับการฝึกงานสร้างอาชีพให้มีรายได้ต่อไป โดยสามารถกลับไปอยู่กับครอบครัวได้เลยทันทีหลังจากเดินทางกลับและผ่านการตรวจร่างกายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 คณะผู้แทนของประเทศไทยได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนและตรวจสอบชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอุยกูร์ที่ถูกส่งกลับ โดย พล.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง รองผบ.ตร. หนึ่งในคณะผู้แทนไทยได้เปิดเผยว่า คณะผู้แทนไทยได้พบอดีตผู้ต้องกักชาวอุยกูร์เหล่านั้นซึ่งปรากฏแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความปลอดภัยและความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อการกลับมาของครอบครัวอดีตผู้ต้องกักชาวอุยกูร์เหล่านั้น ดังนั้น UNHCR และกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งออกมาประท้วงและหรือประณามประเทศไทยถึงการส่งตัวผู้ต้องกักชาวอุยกูร์เหล่านั้นกลับ คงต้องกลับไปหาข้อมูลและทบทวนใหม่ว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาทำไม UNHCR จึงไม่สามารถประสานจัดการส่งคนเหล่านี้ไปประเทศที่สามได้สำเร็จ (แต่กลับสามารถทำให้ผู้ต้องหาในคดีความผิดตามมาตรา 112 หลบหนีออกจากประเทศไทยไปเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศต่าง ๆ ได้) เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ซึ่งตอนนี้เองก็ทำการผลักดันผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองเพื่อส่งออกนอกประเทศกันเป็นการใหญ่ การที่จะกล่าวหาหรือประณามหยามเหยียดใครจนได้รับความเสียหายนั้น สมควรที่จะได้ทบทวนมองดูตัวเองให้ดีโดยถี่ถ้วนเสียก่อน เพราะการกระทำกับคำพูดของทั้ง UNHCR และกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ มีความย้อนแย้งขัดกันมากเหลือเกิน และต้องรอดูกันต่อไปว่า ชาวปาเลสไตน์ที่เดินทางกลับบ้านที่ฉนวนกาซ่าจะได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีเทียบเคียงได้กับการปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ทั้ง 40 คนของรัฐบาลจีน เช่นนี้หรือไม่?

‘แยม ฐปณีย์’ โพสต์เฟซ!! วอนอย่าคุกคามกัน ถ้าเห็นไม่ตรงกัน ให้มาเมนต์ในเพจส่วนตัว

(2 มี.ค. 68) แยม ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวจากำนักข่าว ‘The Reporters’ โพสต์ข้อความระบุว่า ...

ถ้าเห็นไม่ตรงกันเรื่องอุยกูร์จะส่วนตัวหรือ IO มาเมนต์ในเพจส่วนตัว เพจข่าวได้ค่ะ แต่อย่าคุกคามในเพจร้านอาหารเลยค่ะ อย่าคุกคามกันถึงชีวิต เราก็แค่นักข่าวที่จะกี่รัฐบาลก็เป็นแบบนี้

‘จิรายุ’ เผย!! เลขา สมช.-รองผบ.ตร.กลับถึงไทยแล้วเช้านี้ พร้อมส่งคลิป!! สรุป ‘ชาวอุยกูร์’ กลับมาตุภูมิ เรียบร้อย

(2 มี.ค. 68) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายฉัตรชัย บางชวด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช. ) และ พล.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมคณะ เดินทางกลับถึงกรุงเทพมหานครเมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมาแล้ว โดยคณะทำงานจะสรุปรายละเอียดผลการดำเนินงาน รายงานต่อนายกรัฐมนตรีให้ทราบต่อไป ขณะที่ เช้านี้ คณะทำงานใน ภารกิจ “11ปีที่เป็นไปได้ในการกลับสู่บ้านเกิด“ (11 Year Mission possible ) ได้จัดทำคลิปวิดีโอความยาว 1.52 นาที เพื่อให้เห็นถึงขั้นตอนและวิธีในการทำงาน และผลของการส่งชาวอุยกูร์กลับสู่บ้านเกิด อย่างปลอดภัย

นายจิรายุ กล่าวว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้หารือกับคณะทำงาน โดยจะกำหนดวันและเวลาในการเดินทางกลับไปประเทศจีน มลฑลซินเจียง เพื่อติดตามตรวจสอบถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวอุยกร์ู ที่ไทยส่งกลับบ้านเกิดตามที่รัฐบาลจีนได้ให้พันธสัญญาไว้กับไทยภายในเวลา 15 -30 วันนับจากนี้  โดยพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ได้เสนอเพิ่มเติม มอบหมายเบื้องต้นให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ และมอบหมายให้ตนไปร่วมกันพิจารณาถึงกำหนดการที่จะเดินทางไปประเทศจีนและขอให้ประสานงาน เพื่อให้สามารถนำสื่อมวลชนของไทยร่วมสังเกตการณ์ด้วย

นักวิชาการ ม.อ.ปัตตานี เตือนไทยเสี่ยงเกิดเหตุรุนแรง หลังส่ง ‘อุยกูร์’ กลับจีน หวั่น!! ถูกตีความเลือกข้าง ทั้งเรื่อง ‘สิทธิมนุษยชน-นโยบายต่างประเทศ’

(2 มี.ค. 68) รศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวถึงกรณีที่ไทยส่งตัวชาวอุยกูร์ กว่า 40 คนกลับจีน ว่า อาจจะเกิดผลกระทบระยะสั้นจากประสบการณ์ที่ไทยเคยส่งกลับ สมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่หลังจากนั้นเกิดความรุนแรงเกิดเหตุระเบิดที่กรุงเทพฯมีคนเสียชีวิตและเกิดเหตุประท้วงที่อิสตันบูลจรคนไทยได้รับผลกระทบ ดังนั้นในระยะสั้นสิ่งที่ต้องพึงระวัง เรื่องความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นหรือการตอบโต้ นอกจากนี้องค์กรระหว่างประเทศหรือสหประชาชาติได้ออกมาประณามรัฐบาล ทำให้เรื่องของความน่าเชื่อถือ เชื่อใจ และการไม่กระทำนโยบายต่างประเทศที่ส่งบุคคลที่นำไปสู่ความเสี่ยงแก่ชีวิต เรื่องนี้จะทำให้ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยในปัจจุบัน ลดน้อยถอยลง และความเชื่อถือด้านสิทธิมนุษยชนต่อวงการนานาชาติ จะถดถอยลงอย่างมีนัยสำคัญ

ส่วนในระยะยาวเรื่องที่น่ากังวล รศ.เอกรินทร์ ระบุคือเรื่องสิทธิมนุษยชนและนโยบายต่างประเทศของไทย ที่ต้องพึงระวังว่าเราอยู่ท่ามกลางมหาอำนาจ โดยเฉพาะการแข่งขันของมหาอำนาจคือจีนและสหรัฐอเมริกา ถ้าการที่ไทยส่งชาวอุยกูร์กลับจีนถูกคนตีความว่าเราเลือกข้าง จะทำให้เราไม่สามารถสร้างความสมดุล ในการเมืองระหว่างประเทศได้

ส่วนไทยจำเป็นต้องปรับบทบาทเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศอย่างไร รศ.เอกรินทร์ กล่าวว่า การที่ไทยมีรัฐบาลพลเรือนหลังเลือกตั้งนานาประเทศคาดหวังว่า ไทยจะกลับสู่เวทีนานาชาติ อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี แต่เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่าเราไม่สามารถที่จะเป็นตัวผู้เล่นหลักหรือไว้เนื้อเชื่อใจได้ โดยเฉพาะประเทศอาเซียน ขณะที่บทบาทของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษานายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน แต่ประเด็นเรื่องอุยกูร์ ส่งไปประเทศจีนทำให้เราขาดความน่าเชื่อถือ และถูกตั้งคำถามเรื่องนโยบายต่างประเทศเป็นอย่างมาก และจะเห็นชัดเจนว่าการตอบโต้ หรือการออกมาให้ข้อมูลของ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมีลักษณะกลับไปกลับมา และสับสนเพียงชั่วข้ามวัน ที่ตอนแรกบอกไม่รับทราบเรื่องนี้ แต่อีกวันบอกรู้เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการส่งตัวกลับ จึงคิดว่าการที่ไม่ได้พูดอย่างตรงไปตรงมา และไม่ดำเนินนโยบายอย่างเปิดเผย ในการส่งคนช่วงกลางคืน ขาดความโปร่งใส วิธีการที่ไม่ให้องค์กรต่างๆ โดยเฉพาะ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าไปสังเกตการณ์ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึง นโยบายของรัฐบาลที่ขาดความโปร่งใส ทำให้รัฐบาลอยู่ภายใต้อิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจ หนึ่ง ซึ่งเป็นอันตราย

รศ.เอกรินทร์ ยังกล่าวอีกว่าเป็นที่ชัดเจนว่าไทยอาจถูกกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในฐานะที่ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทำให้นานาประเทศตั้งคำถามกับไทย ว่าจะจัดวางตัวเองอย่างไรให้บาลานซ์ในเวทีนานาชาติ และเราจะตอบคำถามเรื่องนี้อย่างไรในเวทีนานาชาติ จึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นภาระหนักมากของรัฐบาล นอกจากนี้ สหประชาชาติยังได้ออกแถลงการณ์ประณาม และยังจะเห็นจดหมายของคนอุยกูร์ ที่ระบุว่ารู้สึกกังวลและไม่อยากกลับ ขณะเดียวกันต้องติดตามอีก 8 คนที่อยู่ในไทย ว่าจะถูกส่งกลับหรือไม่ และที่ส่งกลับไปปลอดภัยหรือไม่

“กระบวนการทั้งหมดความยุ่งยากที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศไทยเกิดความวุ่นวาย และก่อให้เกิดความสับสน ในเรื่องนโยบายต่างประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งที่จริงแล้วหากเราแก้ไข ด้วยวิธีการให้ประเทศที่ต้องการจะรับอย่างตุรกี เรื่องเหล่านี้ก็จะถูกคลี่คลาย ไม่น่าจะลำบากเหมือนปัจจุบัน” รศ.เอกรินทร์ กล่าว

ส่วนกรณีดังกล่าวเป็นความเพรี่ยงพร้ำของรัฐบาลไทยหรือมีการเมืองเข้ามาสอดแทรกหรือไม่ รศ.เอกรินทร์ กล่าวว่า น่าจะเป็นความตั้งใจและจงใจ ของรัฐบาลปัจจุบันสืบเนื่องมาจากการ ที่จีนส่งรัฐมนตรีมาไทยเรื่องคนจีนที่เข้าไปในเมียนมาทำเรื่อง Call Center และทำให้คนอ่านออกว่าเราทำตามนโยบายของประเทศจีน ถ้าเราอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีนเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ

ยืนยันผู้ต้องขังชาวอุยกูร์ไม่ได้เขียนจดหมาย กระดาษและตราประทับไม่ใช่ของเรือนจำ

(3 มี.ค. 68) กรมราชทัณฑ์ ออกมาชี้แจงเรื่องผู้ต้องขังชาวอุยกูร์ เขียนจดหมายมีตราประทับจากเรือนจำกลางคลองเปรม 

ก่อนหน้านี้ นายกัณวีร์ สืบแสง สส.พรรคเป็นธรรม โพสต์ภาพจดหมาย 3 ฉบับจากผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่เคยถูกกัก ซึ่งเรียกร้องให้ทางการไทยอย่าส่งตัวผู้อพยพชาวอุยกูร์ที่เหลือให้กับจีน โดยพบว่ามีจดหมายฉบับหนึ่งถูกส่งมาจากกลุ่มชาวอุยกูร์ 43 คน เขียนเป็นข้อความภาษาอังกฤษ ถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งขอให้นายกฯ เข้าใจสถานการณ์และความรู้สึกของชาวอุยกูร์

ล่าสุด กรมราชทัณฑ์ ออกหนังสือระบุว่า ได้รับรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเรือนจำกลางคลองเปรมแล้ว โดยผู้ต้องขังชาวอุยกู ให้การยืนยันไม่เคยเขียนจดหมายฉบับดังกล่าวตามที่ปรากฏในสื่อ และลายมือ ที่ปรากฏมิใช่ลายมือของพวกตน โดยในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2567 ถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยส่งจดหมายออกภายนอกเรือนจำแต่อย่างใด

เบื้องต้นเรือนจำฯ ได้เปรียบเทียบลายมือแล้วพบว่า แตกต่างกันอย่างชัดเจน อีกทั้งตราประทับที่ปรากฏบนจดหมายฉบับนั้น ก็มิใช่ตราประทับของเรือนจำกลางคลองเปรมแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ ก่อนส่งจดหมายถึงภายนอกเรือนจำฯ ต้องตรวจสอบเนื้อหาในจดหมายว่ามีผลกระทบต่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อยหรือไม่ ปรากฏว่าไม่มีจดหมายฉบับดังกล่าว และโดยเฉพาะจดหมายผู้ต้องขังจากเรือนจำจะไม่มีตราประทับของเรือนจำแต่อย่างใด อีกทั้งผู้ต้องขังดังกล่าวไม่มีญาติหรือทนายความมาเยี่ยม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top