Saturday, 5 April 2025
อุยกูร์

‘กัณวีร์’ โชว์จดหมายชาวอุยกูร์ ยันเป็นฉบับจริง จี้ รัฐบาลเปิดหลักฐานชาวอุยกูร์สมัครใจกลับจีนจริงหรือไม่?

‘กัณวีร์’ เปิดจดหมาย ‘อุยกูร์’ โชว์สื่อ แจงตราประทับเป็นลายน้ำ ไม่ใช่ตราปั๊ม ขออย่าหลงประเด็น สิ่งสำคัญคือ ‘ชาวอุยกูร์’ อยากกลับจีนจริงหรือไม่ ชี้ไม่เกี่ยวกันหลัง ‘ภูมิธรรม’ บอกช่วยลดเหตุการณ์รุนแรง

(4 มี.ค. 68) ที่รัฐสภา นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม แถลงกรณีกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ขอหนังสือชี้แจงหลังเปิดเผยจดหมายที่อ้างว่าได้จากชาวอุยกูร์ โดยกรมราชทัณฑ์ยืนยันว่าไม่ใช่หนังสือร้องเรียนจากกลุ่มชาวอุยกูร์ที่ถูกกักตัว และเป็นหนังสือร้องเรียนปลอม ว่า  ตนไม่อยากให้หลงประเด็นการผลักดันชาวอุยกูร์กลับประเทศต้นทาง ซึ่งเป็นประเด็นที่ใหญ่กว่าว่าจดหมายร้องเรียนจริงหรือไม่ แต่สิ่งที่จำเป็นคือคำตอบจากรัฐบาลไทยว่าชาวอุยกูร์เหล่านั้นสมัครใจกลับ จริงหรือไม่ และอยากถามกลับว่าไม่มีประเทศอื่นจะรับตัวคนเหล่านี้ไปตั้งถิ่นฐานเลยหรือ

นายกัณวีร์ กล่าวว่า วันนี้ตนไม่อยากออกมาแถลง แต่สังคมแคลงใจว่าเป็นจดหมายจริง หรือจดหมายปลอม ซึ่งมันไม่ใช่สารัตถะสำคัญ เรื่องสำคัญคือการที่ผู้ลี้ภัยอยู่ในห้องกักขังมา 11 ปีแล้ว จนกระทั่ง 27 ก.พ. 68 ที่มีการส่งตัวกลับประเทศต้นทาง

ระหว่างแถลงนายกัณวีร์ ได้เปิดจดหมายโชว์ให้สื่อมวลชนดูว่าตราสัญลักษณ์มุมล่างขวาของกระดาษไม่ใช่ตราปั๊ม แต่เป็นลายน้ำจากกรมราชทัณฑ์ ซึ่งกระดาษแผ่นนี้สามารถหาได้จากกรมราชทัณฑ์ มีขายในราคาแผ่นละ 1 บาท

“ผมไม่เคยพูดว่าจดหมายฉบับนี้ออกมาอย่างถูกระเบียบจากรมราชทัณฑ์ แต่บอกว่าได้รับมาจากผู้ต้องกักที่ สตม.สวนพลู ซึ่งผมได้ตั้งข้อสังเกตว่าการผลักดันชาวอุยกูร์ครั้งนี้ เป็นการพูดคุยกันระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง อีกทั้งช่วงเวลานี้ เป็นการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พวกเขาถูกกักขังลืมเป็นเวลากว่า 10 ปี ทำไมเราไม่เคยได้ยินว่า ผู้ต้องกักมีความสมัครใจมากน้อยแค่ไหนว่า เขาต้องการกลับบ้าน จนปลายเดือน ก.พ. ที่รัฐบาลบอกว่า ทุกคนสมัครใจกลับ ซึ่งในความเป็นจริงคงเป็นไปไม่ได้” นายกัณวีร์ กล่าว

นายกัณวีร์ กล่าวว่า ในฐานะตนเป็น สส.พยายามจะสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ หากรัฐบาลมีหลักฐานใด ที่ระบุได้ว่า ชาวอุยกูร์เหล่านี้สมัครใจจะกลับประเทศจีนจริง ขอให้เอาออกมาแสดงให้สังคมและเวทีระหว่างประเทศ มั่นใจว่า เราไม่มีการผลักดันคนเข้าสู่หลักประหารอีกครั้ง ซึ่งประเทศไทยต้องรับแรงปะทะในเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะถ้าถูกถาม เราจะตอบได้หรือไม่ ส่วนในมุมความชอบธรรม ตนมองว่านี่เป็นการติดกระดุมผิดตั้งแต่ต้น

เปิดปมส่ง 40 อุยกูร์ กลับมาตุภูมิ ชี้! เรื่องนี้มีเบื้องลึก เผยคนหนุ่มบางส่วนในกลุ่มนี้ เตรียมถูกฝึกเป็น ‘นักรบพลีชีพ’

ไม่นานมานี้มีข่าวที่ทางการไทยส่งนักโทษอุยกูร์กลับประเทศจีนตามหน้าสื่อที่ว่าทางการไทยส่งตัวชาวอุยกูร์ 40 คนที่ถูกคุมขังในไทยตั้งแต่ปี 2557 กลับสู่ประเทศจีน  ท่ามกลางเสียงก่นด่าจากประเทศตะวันตก จนคนไทยหลายคนด่าว่ารัฐบาลไทยเลว เอาใจจีนจนเอาชีวิตคนไปแลก เอาเป็นว่าวันนี้ลองเปิดใจมารับรู้ข้อมูลอีกด้านกันดูดีกว่าไหม  แล้วค่อยมาสรุปว่ารัฐบาลไทยเราเลวดังที่ใครๆ เขาว่าหรือไม่

ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักองค์ก่อนหนึ่งก่อน นั่นคือ ขบวนการอิสลามเตอร์กิชสถานตะวันออก หรือ ETIM ขบวนการนี้มีการจัดตั้งกันมาตั้งแต่ปี 2476 เพื่อต่อสู้ให้เมืองซินเจียงที่เป็นเมืองหลักของชาวอุยกูร์เป็นรัฐอิสลามเพราะประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

แต่ทว่าแท้จริงแล้วในซินเจียงยังมีชนชาติอื่นร่วมด้วยทั้ง ทั้งชาวฮั่น, ชาวคีร์กีช, ชาวมองโกล, ชาวหุย, ชาวคาซัค และชาติพันธุ์อื่นๆอีกกว่า 50 ชาติพันธุ์เพราะเหตุที่ว่าซินเจียงนี้เคยเป็นเส้นทางสายไหมทางบกในอดีตนั่นเอง นั่นทำให้จีนเลือกที่จะยกซินเจียงให้เป็นเขตปกครองตนเองของจีน เช่นเดียวกับทิเบต และนี่เองที่เป็นชนวนเหตุความขัดแย้งในพื้นที่

จนกระทั่งในปี 2511 มีการจัดตั้ง พรรคปฏิวัติประชาชนแห่งเตอร์กีชสถานตะวันออก ขึ้นโดยมีสาขาในเมืองอุรุมูฉี และเมืองคาชการ์ มีกองกำลังติดอาวุธเพื่อก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน โดยอ้างตาม ETIM ในปลุกระดมผู้คนให้ก่อการครั้งนี้ว่า นี่คือ 'ญิฮาด' หรือ สงครามศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะสร้างแผ่นดินเสรีของเรา แม้ตามรายงานบอกว่าพรรคนี้สลายตัวไปตั้งแต่ปี 2532 แต่ยังมีผู้นำอยู่และแยกเป็นกลุ่มก่อการร้ายย่อย ๆ ภายใต้เงินทุนของชาติตะวันตก

มาถึงจุดนี้อ่านแล้วคุ้นๆ...ชาติพันธุ์ฝั่ง 45 น. ของไทยไหม

ณ เวลานั้นมีรายงานว่ามีการปลุกระดมเอาคนหนุ่มไปฝึกเป็น “นักรบพลีชีพ” เพื่อมาต่อสู้กับกองทัพจีน ซึ่งจะเห็นว่ามีเหตุการณ์ก่อการร้ายหลายครั้งที่เกิดขึ้น โดยแหล่งข่าวได้เล่าให้เอย่าฟังว่า นักรบเหล่านี้จะต้องเดินทางไปฝึกการรบดังกล่าวที่ประเทศหนึ่งที่อยู่ระหว่าง 2 ทวีป โดยใช้งบของประเทศที่ให้การสนับสนุนโจรใต้บ้านเรานั่นแหละ

แต่เหตุการณ์ดันโป๊ะตรงที่รัฐบาลจีนรู้ถึงการเดินทางของคนกลุ่มนี้และชี้เป้าให้ทางการไทยจับตัวไว้เมื่อปี 2557 โดยขณะนั้นทางการไทยเพียงตั้งข้อหาชาวอุยกูร์กลุ่มนี้ว่า เข้าเมืองผิดกฎหมาย

แม้จะไม่มีรายงานว่าชาวอุยกูร์กลุ่มนี้ถูกจับเดือนไหนแต่ช่วงเวลาดังกล่าวนั้นอยู่ในสายตาของนายกที่ชื่อประยุทธ์ จันทร์โอชา และท่านก็น่าจะทราบดีว่าคนเหล่านี้คือใครเพราะเวลานั้นไทยสนิทกับจีนมาก ในปี 2557 นั่นเอง จีนมีการตัดสินประหารชีวิตชาวอุยกูร์ที่ก่อเหตุระเบิดพลีชีพที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยเหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างรอยร้าวในความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนฮั่นและชาติพันธุ์ในซินเจียงโดยเฉพาะชาวอุยกูร์เป็นอย่างมาก

ถามว่าถ้าลุงตู่ส่งชาวอุยกูร์กลับจีนตอนนั้นจะเกิดอะไรขึ้น....

ใช่แล้ว..ไทยเลือกจะไม่ส่งกลับแต่ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายจีนเข้ามาปรับทัศนคติและแก้ปัญหาในบ้านของเขาให้เรียบร้อย

วันนี้เป็นเวลาเกือบ 11 ปี อุยกูร์เป็นมณฑลที่ติดอันดับที่ 23 จาก 31 มณฑลของจีน และถ้าคิดเฉลี่ยเป็น GDP ต่อประชากร ซินเจียงเปลี่ยนไปอย่างผิดหูผิดตารวมถึงความอยู่ดีกินดีของประชากร  จีนสนับสนุนการศึกษาให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้เรียนรู้ทั้งภาษาจีนกลางและภาษาถิ่นรวมถึงทำนุบำรุงศาสนสถานทุกศาสนาในเมือง ส่วนหนึ่งเพื่อให้เหล่าชาติพันธุ์ อีกส่วนหนึ่งคือความเป็นมรดกทางวัฒนธรรมประจำถิ่น ซินเจียงเป็นอีกหมุดหมายหนึ่งของนักท่องเที่ยวที่ต้องการความแปลกใหม่ในการท่องเที่ยวในประเทศจีน

สุดท้ายกลับมาที่นักโทษทั้ง 40 คนในคุกไทย ที่ตลอดเวลาร่วม 10 ปีได้รับการปรับทัศนคติจนเชื่อได้ว่าทั้งหมดอยากกลับไปหาญาติหาคนที่รักของเขาแล้ว และเชื่อได้ว่าตลอด 11 ปีมานี้ทางการจีนได้พัฒนาให้ชาวเมืองซินเจียงกลายเป็นคนที่มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก จนต้องมาตั้งคำถามว่า ทำไมต้องไปสร้างแผ่นดินในอุดมคติอีก ในเมื่อกลับไปพบกับครอบครัวที่อยู่ดีกินดีแล้ว...

คำถามก็คือ คำที่ชาติตะวันตกกล่าวหาไทยต่างๆ นานา นั้น ทำไปเพื่ออะไร ถ้าไม่ใช่ต้องการสร้างภาพให้จีนเป็นตัวร้าย แต่อย่างที่หลายคนกล่าว บางทีผู้นำประเทศเหล่านั้นก็ติดภาพฮอลลีวูดมาไปจนลืมว่าคนมีสติปัญญาเขาคิดได้ว่าถ้าทางการไทยอยากให้ชาวอุยกูร์กลุ่มนี้ตายจริงคงไม่ปล่อยให้เปลืองข้าวไทยมาเป็น 10 ปีหรอก

อดีตเสนาธิการทหารสมัย ปธน.จอร์จ ดับเบิลยู บุช ออกมาแฉ CIA เคยยุยงชาวอุยกูร์ในซินเจียง เพื่อสั่นคลอนเสถียรภาพจีน

(12 มี.ค. 68) พ.อ.ลอว์เรนซ์ วิลเกอร์สัน (Lawrence Wilkerson) อดีตหัวหน้าเสนาธิการทหารของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในยุคอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เปิดเผยว่า CIA เคยได้รับคำสั่งให้เข้าไปปลุกปั่นชาว อุยกูร์ ที่ไม่พอใจรัฐบาลจีนในมณฑล ซินเจียง เพื่อทำให้เกิดความไม่สงบและสั่นคลอนเสถียรภาพของจีน

คำกล่าวของวิลเกอร์สันเกิดขึ้นเมื่อ 7 ปีก่อน ในงานสัมมนาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ โดยเขาระบุว่า เป้าหมายของปฏิบัติการดังกล่าวคือการกดดันจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ เช่น มณฑลซินเจียง ซึ่งเป็นบ้านของชาวอุยกูร์ที่มีวัฒนธรรม ศาสนา และภาษาแตกต่างจากชาวฮั่นที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของจีน

“หากเราต้องการทำให้จีนหวั่นไหว เราควรใช้ CIA เข้าไปกระตุ้นให้ชาวอุยกูร์ที่ไม่พอใจลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลปักกิ่ง” วิลเกอร์สัน กล่าวในเวลานั้นพร้อมเสริมว่า “การสร้างความไม่สงบในซินเจียงจะช่วยกดดันจีนในเวทีระหว่างประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่สหรัฐฯ ใช้ในการรับมือกับอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวถูกนำกลับมาจนกลายเป็นที่สนใจอีกครั้งในปัจจุบัน ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยเฉพาะประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในซินเจียง ซึ่งจีนกล่าวหาสหรัฐฯ มาตลอดว่าพยายามใช้ประเด็นอุยกูร์เพื่อแทรกแซงกิจการภายในของตน

นักวิเคราะห์บางรายมองว่า การเปิดเผยของวิลเกอร์สันสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางของสหรัฐฯ ในการใช้ปฏิบัติการลับเพื่อบ่อนทำลายเสถียรภาพของประเทศคู่แข่ง ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนมองว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพทางศาสนาในจีน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนยังไม่ได้ออกมาแสดงท่าทีต่อคำกล่าวนี้อย่างเป็นทางการ แต่ก่อนหน้านี้ ปักกิ่งเคยกล่าวหาสหรัฐฯ ว่า ให้การสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในซินเจียง และใช้ประเด็นอุยกูร์เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาโดยตลอด

ส่วนเรื่องการเปิดเผยดังกล่าวจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนอย่างไร ยังต้องจับตาดูกันต่อไป โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ทั้งสองประเทศมีความขัดแย้งในหลายประเด็น ตั้งแต่เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ไปจนถึงภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ทั้งนี้ ยังไม่พบแหล่งข้อมูลจากสำนักข่าวต่างประเทศที่ยืนยันข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลและตรวจสอบจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้เพิ่มเติม

‘แยม ฐปณีย์’ เศร้า! ไม่ได้รับเชิญร่วมทริป ‘ภูมิธรรม’ เยือนซินเจียงอุยกูร์ หลังขอไปแล้วหลายทางแต่แห้ว เตรียมส่งจดหมายขอสถานทูตจีนต่อ

‘แยม ฐปณีย์’ สุดเสียดาย หลังไม่มีชื่อร่วมทริป ‘ภูมิธรรม’ เยือนมณฑลซินเจียง ประเทศจีน ตามติดชีวิต 40 อุยกูร์ที่รัฐบาลไทยส่งกลับไปก่อนหน้านี้

จากกรณีที่รัฐบาลไทย ได้ส่งชาวอุยกูร์ จำนวน 40 คน กลับไปยังเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และทางคณะ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสว่าการกระทรวงกลาโหม , พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมถึงสื่อมวลชนของไทย มีกำหนดการจะเดินทางไปติดตามชีวิตความเป็นอยู่ชาวอุยกูร์ หลังเดินทางกลับประเทศ ในวันที่ 18 มีนาคมนี้ 

แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ (13 มี.ค. 68) แยม ฐปณีย์ เอียดศรีไชย นักข่าวสายลุยคนดังจากรายการข่าว 3 มิติ โพสต์เฟซบุ๊กหลังจากไม่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสื่อมวลชนติดตามไปทำข่าวดังกล่าว โดยระบุว่า น่าเสียดายมากๆเลยค่ะสรุปเราไม่ได้รับเลือก/เชิญให้ไปทำข่าวที่ซินเจียงกับคณะรองนายกฯภูมิธรรมกรณีอุยกูร์ ขอไปหลายทางมากก็ไม่ได้ คิดว่าจะส่งจดหมายขอสถานทูตจีนดูด้วยค่ะ

รัฐสภายุโรปมีญัตติให้ใช้การเจรจา ตกลงการค้าเสรี FTA กดดันรัฐบาลไทยหยุดเนรเทศผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์และปฏิรูปกฎหมาย ม.112

(13 มี.ค. 68) รัฐสภายุโรป (European Parliament) ได้มีมติร่วมเพื่อแก้ปัญหา (Joint Motion for a Resolution) เรียกร้องให้ประเทศไทยดำเนินการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112) และยุติการส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน

ข้อเรียกร้องสำคัญจากรัฐสภายุโรป ซึ่งขอให้ปฏิรูปกฎหมายมาตรา 112 โดยรัฐสภายุโรปแสดงความกังวลเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112) ที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายดังกล่าว เพื่อรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุมโดยสงบ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

โดยขอให้ยุติการส่งตัวผู้ลี้ภัยอุยกูร์ รัฐสภายุโรปประณามการส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์กลับไปยังประเทศจีน ซึ่งระบุว่าการกระทำดังกล่าวอาจทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการถูกประหัตประหาร และเรียกร้องให้ประเทศไทยยุติการบังคับส่งตัวผู้ลี้ภัย ผู้ขอลี้ภัย รวมถึงผู้เห็นต่างทางการเมืองกลับสู่ประเทศที่อาจทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อชีวิต

อีกทั้งใช้เวทีเจรจา FTA (Free Trade Agreement) หรือ ข้อตกลงการค้าเสรี เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปใช้เวทีการเจรจาลงนามความร่วมมือเขตการค้าเสรีระหว่างไทยและสหภาพยุโรป เพื่อกดดันประเทศไทยให้มีการปฏิรูปกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และให้สัตยาบันอนุสัญญาหลักทั้งหมดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) 

ด้านรัฐบาลไทยยังไม่มีการตอบสนองอย่างเป็นทางการต่อมติของรัฐสภายุโรป อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา ได้แสดงความสนใจในประเด็นนี้ โดยเตรียมเดินทางไปตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ของชาวอุยกูร์ที่ถูกส่งตัวกลับประเทศจีน เพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและตอบข้อสงสัยของประชาคมโลก

นอกจากนี้ มีรายงานว่า สภาอุยกูร์โลกได้แสดงความกังวลต่อแผนการของรัฐบาลไทยในการส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน โดยระบุว่าการกระทำดังกล่าวอาจนำไปสู่โทษประหารชีวิต และเรียกร้องให้ประชาคมโลกดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยเหล่านี้

ทั้งนี้ มติของรัฐสภายุโรปครั้งนี้สะท้อนถึงความกังวลของประชาคมระหว่างประเทศต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยเฉพาะในประเด็นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ การตอบสนองของรัฐบาลไทยต่อมติดังกล่าวจะเป็นที่จับตามองของทั้งประชาชนภายในประเทศและประชาคมโลก

รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศมาตรการจำกัดวีซ่าต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย

(15 มี.ค. 68) มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศมาตรการจำกัดวีซ่าต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย จากกรณีการส่งตัวชาวอุยกูร์ที่หลบหนีเข้าเมือง 40 คนกลับจีน ซึ่งทางสหรัฐฯ อ้างว่าพวกเขาเสี่ยงที่จะเผชิญบทลงโทษรุนแรง

ถ้อยแถลงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า สหรัฐฯ มีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับความพยายามของจีนที่จะกดดันรัฐบาลชาติต่างๆ ให้ส่งตัวชาวอุยกูร์และคนกลุ่มอื่นๆ กลับไปยังจีน "ที่ซึ่งพวกเขาตกเป็นเหยื่อการทรมานและการบังคับสูญหาย"

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้แสดงเจตนารมณ์ของสหรัฐฯ ที่ต้องการโน้มน้าวไทยและประเทศอื่นๆ ให้งดเว้นการเนรเทศในลักษณะเช่นนี้

ทั้งนี้ ประกาศของ รูบิโอ ก็ไม่ได้มีการระบุรายชื่อเจ้าหน้าที่ไทยที่ถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตร

การส่งตัวชาวอุยกูร์ 40 ชีวิตซึ่งอาศัยอยู่ในสถานกักตัวคนต่างด้าวของไทยมานานกว่า 10 ปีมีขึ้น ทั้งๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้ย้ำเตือนไทยหลายครั้งว่า คนเหล่านี้เสี่ยงตกเป็น้หยื่อการทรมาน การปฏิบัติอย่างโหดร้ายทารุณ และอาจได้รับอันตรายชนิดแก้ไขกลับคืนไม่ได้หากถูกส่งกลับไปยังแดนมังกร

รอยเตอร์รายงานเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ว่า แคนาดาและสหรัฐฯ เคยยื่นข้อเสนอรับชาวอุยกูร์ 48 คนจากไทย ทว่าไทยไม่ดำเนินการใดๆ เนื่องจากเกรงว่าจะมีปัญหากับจีน

"ผมตัดสินใจใช้มาตรการนี้ทันทีด้วยการจำกัดการออกวีซ่าแก่เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ฐานมีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นเป็นใจกับการส่งตัวชาวอุยกูร์ 40 คนจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 ก.พ." 

รูบิโอ ระบุในคำแถลง

"เนื่องจากจีนมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) และก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติต่อชาวอุยกูร์มานานแล้ว เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกอย่าได้บังคับส่งชาวอุยกูร์หรือคนกลุ่มอื่นๆ กลับไปยังจีน" 

คำแถลงระบุด้วยว่า มาตรการจำกัดวีซ่าของสหรัฐฯ อาจจะถูกขยายครอบคลุมถึงสมาชิกในครอบครัวของบุคคลที่ถูกคว่ำบาตรด้วย 

รัฐบาลไทยออกมาแถลงปกป้องการส่งกลับชาวอุยกูร์ โดยยืนยันว่าได้ทำตามกฎหมายและพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนทุกประการ ขณะที่สถานทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ยังไม่ออกมาให้ความเห็นต่อคำประกาศของ รูบิโอ

แม้สหรัฐฯ จะเคยใช้มาตรการคว่ำบาตรกับไทยมาแล้วในอดีต รวมถึงระดับความช่วยเหลือด้านการทหารหลังจากที่มีการรัฐประหารเกิดขึ้น และยังพุ่งเป้าเจาะจงไปยังบุคคลและบริษัทของไทยที่ละเมิดมาตรการคว่ำบาตรประเทศที่สาม ทว่าผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนหนึ่งระบุว่า เขายังไม่เคยเห็นการคว่ำบาตรต่อเจ้าหน้าที่รัฐไทยเช่นนี้มาก่อน

เมอร์เรย์ ไฮเบิร์ต (Murray Hiebert) ผู้เชี่ยวชาญจากโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และระหว่างประเทศศึกษา (CSIS) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าวว่า เขาไม่เคยเห็นสหรัฐฯ ใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยในลักษณะเช่นนี้

ไฮเบิร์ต ยังชี้ว่า ไทยเป็นประเทศที่ค่อนข้างเซนซิทีฟกับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทว่าคราวนี้ปฏิกิริยาต่างๆ อาจจะไม่มาก เนื่องจากไทยยังมีความเสี่ยงที่จะถูกประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ สั่งรีดภาษีสินค้านำเข้าในฐานะประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ

"พวกเขาอาจเลือกที่จะสงบปากสงบคำไว้ก่อน" ไฮเบิร์ต ระบุ "พวกเขาถูกหมายหัวอยู่แล้วเนื่องจากเป็นชาติที่ได้ดุลการค้าสหรัฐฯ มากเป็นอันดับที่ 11 และยังไม่แน่ว่าไทยจะรอดพ้นจากคำสั่งรีดภาษีของ ทรัมป์ ในวันที่ 2 เม.ย. นี้หรือไม่"

นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า ที่ผ่านมาวอชิงตันพยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงกับไทย เพราะเกรงว่าจะยิ่งทำให้ไทยที่เป็นพันธมิตรเก่าแก่หันไปใกล้ชิดกับจีนมากขึ้นอีก

ด้านกลุ่ม Campaign for Uighurs ซึ่งเป็นองค์กรช่วยเหลือชาวอุยกูร์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ออกมาชื่นชมคำประกาศของ รูบิโอ และรัฐบาล ทรัมป์ โดยชี้ว่า "นี่เป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า กลุ่มคนที่เอื้อให้พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะต้องได้รับผลจากการก่ออาชญากรรมนั้น"

รูบิโอ โดนจีนขึ้นบัญชีดำ ปม!! อุยกูร์ ตั้งแต่ปี 2020 ก็เลยระบายความคับแค้น ผ่านการลงโทษ ไทยแลนด์ แบบที่ตัวเองก็โดน

(15 มี.ค. 68) รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า …
.
 “ รัฐบาล #จีน ขึ้นบัญชีดำ คุณ #รูบิโอ รมว กต ของรัฐบาลทรัมป์คนนี้เรื่อง #อุยกูร์ มานานแล้วตั้งแต่ปี 2020 (พ.ศ. 2563) ตอนที่ แกเป็นวุฒิสมาชิกจากฟลอริดาแล้วนะคะ เอิ่ม.. แกก็เลยถือโอกาสนี้ระบายความคับแค้นด้วยการกระทำแบบที่คล้ายกันนี้กับ #ไทยแลนด์ บ้าง ใช่มั้ยหนอ?

รัฐบาลไทย วอน!! นานาประเทศเข้าใจ การแก้ไขปัญหา ส่ง ‘อุยกูร์’ กลับ ขอให้มั่นใจ ทำตามสิทธิมนุษยชนเต็มที่

(16 มี.ค. 68) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายฉัตรชัย บางชวด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พล.ต.อ. ไกรบุญ ทรวดทรง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมคณะสื่อมวลชน 9 คนจากหลากหลายสำนักทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งสื่อโซเชียลมีเดีย รวมทั้งคณะ 25 คน มีกำหนดการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันอังคารที่ 18 - 20 มีนาคม 2568 ที่มณฑลซินเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน

โดยในวันอังคารที่ 18 มีนาคม 2568 เวลา 23.30 น. คณะจะออกเดินทางจากกองบิน 6 ท่าอากาศยานดอนเมือง ไปยังท่าอากาศยานเมืองคาซือ มณฑลซินเจียง โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมงบินโดยจะถึงเมืองคาซือ ในวันพุธที่ 19 มีนาคม เวลาประมาณ 07.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าเวลาประเทศไทย 1 ชั่วโมง คณะมีกำหนดการเดินทางไปเยี่ยมชาวจีน อุยกูร์ ที่เมืองคาซือ มณฑลซินเจียง และร่วมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันพร้อมกับผู้นำท้องถิ่นในช่วงเช้าและบ่าย

สำหรับในวันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2568 คณะจะเดินทางไปมณฑลซินเจียงที่อยู่ห่างไกล และจะเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์บังคับใช้กฎหมายและการจัดการคดีของสำนักงานความมั่นคงสาธารณะ ที่เมืองคาซือ มณฑลซินเจียง จากนั้นคณะจะเดินทางไปที่มัสยิดอิดกะฮ์ (Id Kah) พูดคุยสนทนากับผู้นำศาสนา และร่วมรับประทานอาหารค่ำกับตัวแทนผู้นำศาสนาในท้องถิ่น ก่อนที่รองนายกรัฐมนตรีและคณะจะออกเดินทางจากท่าอากาศยานเมืองคาซือ มณฑลซินเจียง ในเวลาประมาณ 20.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยจะเดินทางถึงประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2568 เวลาประมาณ 01.00 น. ณ กองบิน 6 ท่าอากาศยานดอนเมือง

นายจิรายุ กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้เพื่อทำความจริงให้ปรากฏในข้อกังวลของนานาอารยประเทศ และให้เข้าใจประเทศไทยถึงการแก้ไขปัญหาซึ่งรัฐบาลไทยได้ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมาและมีข้อตกลงสำคัญต่อรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ที่ต้องคืนชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในยุคโลกปัจจุบัน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีสิทธิเสรีภาพ ซึ่งถือว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากถึงขั้นตอนการตรวจสอบรายละเอียดนานหลายเดือนก่อนจะส่ง ชาวจีนอุยกูร์ กลับสู่มาตุภูมิ เพื่อให้มั่นใจว่าการส่งชาวจีนกลับสู่บ้านเกิดจะต้องได้รับความปลอดภัยและเป็นไปตามสิทธิมนุษยชน ซึ่งการเดินทางครั้งนี้เป็นเพียงครั้งแรก โดยรัฐบาลไทยจะกำหนดการเดินทางเป็นระยะๆเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศต่อนานาอารยะประเทศต่อไป

ประณามสหรัฐฯ แทรกแซงไทย กรณีคว่ำบาตรวีซ่า ปมส่งอุยกูร์กลับจีน

(18 มี.ค. 68) กระทรวงการต่างประเทศของจีน ออกมาแสดงท่าทีเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างไทยและสหรัฐฯ หลังจากที่ มาร์โก รูบิโอ (Marco Rubio) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศมาตรการจำกัดวีซ่า และคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ไทยที่เกี่ยวข้องกับการส่งตัวชาวอุยกูร์ 40 คนกลับจีน

เหมา หนิง (Mao Ning) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวในการตอบคำถามของผู้สื่อข่าวว่า จีนคัดค้านอย่างหนักแน่นต่อการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นภายใต้ข้ออ้างด้านสิทธิมนุษยชน และมองว่ามาตรการของสหรัฐฯ เป็นการใช้แรงกดดันทางการเมืองที่ไม่เหมาะสม

“จีนยึดมั่นในหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอธิปไตย และเราขอเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยุติการใช้สิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อกดดันประเทศอื่น” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าว

จีนเน้นย้ำถึงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีนในด้านความมั่นคง และกล่าวว่าการส่งตัวบุคคลกลับประเทศต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงและเสถียรภาพภายในประเทศ ขณะเดียวกันก็เคารพอธิปไตยของไทยในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายด้านความมั่นคงของตนเอง

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนยังกล่าวเพิ่มเติมว่า จีนพร้อมทำงานร่วมกับไทยอย่างใกล้ชิดในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ

ในขณะที่จีนออกมาตอบโต้ สหรัฐฯ ยังคงยืนกรานว่าการคว่ำบาตรครั้งนี้เป็นมาตรการที่มุ่งปกป้องสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์ 

อย่างไรก็ตาม น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ค.ร.ม. ถึงประเด็นดังกล่าวว่า “ยังไม่มีและยังไม่ทราบ” เรื่องโดนสหรัฐ จำกัดวีซ่า กรณีส่งชาวอุยกูร์ 40 ชีวิตกลับจีน ต้องให้กระทรวงต่างประเทศช่วยอธิบายเรื่องข้อมูลกับสหรัฐฯ อีกที

ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า กรณีนี้อาจกลายเป็นประเด็นที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย สหรัฐฯ และจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เข้มข้นขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

‘ภูมิธรรม-ทวี’ นำคณะเยือนซินเจียง ภารกิจแน่นพบปะอุยกูร์และถกประเด็นสำคัญกับท้องถิ่น

เมื่อเวลา 09.40 น. (19 มี.ค.68) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พร้อมด้วย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม เดินทางถึงท่าอากาศยานเมืองคาซือ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีนายชู ต้าถง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ ให้การต้อนรับ

ภารกิจของคณะเริ่มต้นด้วยการพบปะหารือกับนายฉี หยานจุน รองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ พร้อมรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการดำเนินการดูแลกลุ่มบุคคลที่ถูกส่งกลับจากจีน โดยเฉพาะชาวอุยกูร์ 40 คน ที่ถูกส่งกลับเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ช่วงบ่าย คณะผู้แทนไทยได้แบ่งออกเป็น 2 คณะ โดยคณะแรกนำโดยนายภูมิธรรม ส่วนคณะที่สองนำโดยพันตำรวจเอกทวี แยกเดินทางไปเยี่ยมเยียนชาวอุยกูร์ที่บ้านพักส่วนตัว ห่างจากเมืองคาซือประมาณ 100-300 กิโลเมตร โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจากจีนร่วมเดินทางในทั้ง 2 คณะ

ส่วนช่วงเย็น คณะของฝ่ายไทยได้เข้าเยี่ยมชมหมู่บ้านท้องถิ่นและมัสยิดอิดกะฮ์ พร้อมหารือกับผู้นำศาสนาอิสลาม ก่อนจะประชุมกับแพทย์ที่รักษาชาวอุยกูร์และตัวแทนชาวอุยกูร์ผ่านระบบการประชุมทางไกล

ขณะที่เวลาประมาณเวลา 20.00 น. คณะฝ่ายไทยได้หารือกับนายหม่า ซิงรุ่ย สมาชิกคณะกรรมการกรมการเมืองกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ก่อนร่วมงานเลี้ยงรับรองที่โรงแรมคาซือ

สำหรับภารกิจสุดท้ายของวันนี้ ฝ่ายจีนได้พาคณะฝ่ายไทยเยี่ยมชมพื้นที่สำคัญทางวัฒนธรรมเมืองโบราณคัชการ์ ก่อนปิดฉากภารกิจในวันที่แน่นเอี๊ยด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top