Thursday, 2 May 2024
หมอยง

'หมอยง' เผยผลซิโนแวค 2 เข็ม บวกกระตุ้นเข็ม 3 แอสตราฯ ภูมิต้านทานสูง สามารถต้านสายพันธุ์ 'เดลตา' ได้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กหัวข้อ "โควิด-19 วัคซีน การกระตุ้นเข็มที่ 3" โดยระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัส covid-19 ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง การกระตุ้นภูมิต้านทานให้สูงขึ้นจึงมีความจำเป็น การฉีดวัคซีน มีการให้เบื้องต้น และกระตุ้น เช่น ไวรัสตับอักเสบบี จะให้เบื้องต้น 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน และกระตุ้นเข็มที่ 3 อีก 6 เดือนต่อมา ทำนองเดียวกัน วัคซีน covid-19 ถ้ามีการกระตุ้นเข็ม 3 ภูมิต้านทานจะสูงขึ้นมาก

การให้วัคซีนเบื้องต้น 2 เข็ม เช่น เชื้อตาย เปรียบเสมือนให้ร่างกายรู้จักเหมือนการติดเชื้อ เมื่อกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิด virus vector หรือ mRNA กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูงมาก

'หมอยง' มอบทนายแจ้งหมิ่นประมาท หญิงลงคลิป วิจารณ์วัคซีนสูตรไขว้

“หมอยง” มอบทนายแจ้งหมิ่นประมาท!! หญิงลงคลิป วิจารณ์วัคซีนสูตรไขว้ ลง TikTok

จากกรณีมีหญิงอายุ 27 ปี ได้โพสต์คลิป TikTok พูดเสนอความเห็นในลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาหรือให้ข้อมูลอันเป็นที่กล่าวหาใส่ร้าย ศ.นพ.ยง จำนวน 2 คลิป

ล่าสุด “ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ” หรือ “หมอยง” ผู้เสียหาย ได้ตรวจสอบพบว่าคลิปที่โพสต์ใน TikTok พูดเสนอความเห็นในลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาหรือให้ข้อมูลอันเป็นที่กล่าวหาใส่ร้าย ศ.นพ.ยง จำนวน 2 คลิป จึงได้มอบอำนาจให้ นายพยง โชคชัยเสรี มาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดี

>> โดยคลิปที่ 1 เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 64 หลังจากที่มีการนำเสนอข่าว นพ.ยง รับอาสาสมัครฉีดไฟเซอร์-โมเดอร์นา เข็ม 3 แบบครึ่งโดสและเต็มโดส โดยหญิงวัย 27 ปี ได้โพสต์คลิปลง TikTok และวิพากษ์วิจารณ์ถึงสูตรใหม่ดังกล่าว ว่าคนใกล้ตัวเพิ่งเสียชีวิตจากวัคซีนสูตรไขว้ที่ ศ.นพ.ยง เป็นคนคิด พร้อมทั้งระบุว่าให้หยุดคิดวัคซีนสูตรไขว้ เนื่องจากได้รางวัลเยอะแล้ว

‘หมอยง’ เชื่อ ‘โอมิครอน’ ระบาดถึงไทยแน่ ชี้ มีโอกาสเกิดคลัสเตอร์ใหม่ กระจายตัวเร็ว

‘หมอยง’ ยกบทเรียนต่างประเทศ โควิด-19 สายพันธุ์ ‘โอมิครอน’ กระจายทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เชื่อประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้น ในอนาคตอันใกล้นี้ จะเลยปีใหม่หรือไม่ยังไม่ทราบ และมีโอกาสที่จะเกิดเป็นคลัสเตอร์ กระจายอย่างรวดเร็ว 

วันนี้ (20 ธ.ค.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan หัวข้อ โควิด-19 โอมิครอน มาแน่ ไม่อยากได้เป็นของขวัญปีใหม่ โดยระบุว่า

เมื่อมองย้อนอดีตสายพันธุ์อังกฤษ แอลฟา ระบาดในอังกฤษตั้งแต่ปลายปี 2563 พบผู้ป่วยเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย เป็นชาวอังกฤษ เดือนมกราคม 2564 ทุกคนที่เข้ามาจะต้องกักตัว 14 วัน เราควบคุมได้ดี จนกระทั่งปลายเดือนมีนาคม ก็เข้าสู่ประเทศไทยจนได้ โดยเข้ามาทางชายแดนด้านตะวันออก

สายพันธุ์อินเดีย เกิดในประเทศอินเดีย เดลตา ใน ต้นปี 2564 พบในแคมป์คนงานก่อสร้าง เดือนพฤษภาคม เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วมาแทนที่สายพันธุ์แอลฟาในเวลาต่อมา ใช้เวลาเพียงเดือนกว่า ๆ เท่านั้น ก็กระจายทั่วประเทศไทย จนถึงวันนี้

ขณะนี้การเดินทางเข้าประเทศไทย ใช้ test to go ไม่มีการกักตัว ยกเว้นคนที่ตรวจพบด้วย RT-PCR เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเดินทาง ทั้งครอบครัว 4 คนพ่อแม่ลูก ตรวจพบเฉพาะลูก 1 คน ก็จะกักตัวลูก ไว้รักษา และปล่อยผู้ที่ตรวจเป็นลบทั้งหมด และให้ทำ ATK รายงานผลมา ทุกคนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ถือเป็นความเสี่ยงสูง โอกาสผู้ที่ปล่อยไป จะติดเชื้อแบบไม่มีอาการ สายพันธุ์โอมิครอน เป็นไปได้สูง ที่จะแพร่กระจายเชื้อต่อไปได้

บทเรียนจากต่างประเทศ โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน กระจายทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ร่วม 90 ประเทศ ที่ตรวจพบ มีอัตราเร่งกระจายในพื้นที่ยุโรป และอเมริกาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็มก็ติดได้ ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ไม่จำกัดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่จะเป็นยุโรป และอเมริกาที่จะมีโอกาสนำเชื้อเข้ามา

'หมอยง' ห่วง ‘โอมิครอน’ แพร่หนักในไทย แนะรัฐเร่งตัดสินใจ หวั่นกระทบปากท้องปชช.

22 ธันวาคม 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

โควิด-19 โอมิครอน ความยากในการตัดสินใจของผู้บริหาร

การระบาดของ covid-19 สายพันธุ์โอมิครอน จะต้องเกิดในประเทศไทยอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว

ถ้าเป็นไปได้เราอยากให้ช้าที่สุดเพื่อรอระบบสาธารณสุขในการให้วัคซีนเข็ม 3 กระตุ้นให้ได้มากที่สุดก่อน การได้รับวัคซีน 2 เข็มไม่เพียงพอในการที่จะรับมือ โอมิครอน

โอมิครอน จะเข้ามาได้เร็วจากผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ Test to go โดยไม่มีการกักตัว เป็นไปได้ยากที่จะป้องกันการหลุดรอดของโอมิครอนเข้ามาระบาดในประเทศไทย ผู้เดินทางเข้ามาอาจอยู่ในระยะฟักตัว หรือสัมผัสระหว่างการเดินทาง

‘หมอยง’ ย้ำ ‘โอมิครอน’ ตรวจจับยาก-ระบาดเร็ว แนะวิธีป้องกัน ให้คิดว่าทุกคนอาจเป็นผู้ติดเชื้อ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ออกมาแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับ "โอมิครอน" ชี้ระบาดได้รวดเร็ว และตรวจจับยาก แนะวิธีป้องกันตนเองขอให้คิดไว้ก่อนว่าบุคคลที่เราจะใกล้ชิดอาจจะเป็นผู้ติดเชื้อ ต้องป้องกันตนเองอย่างเข้มงวด

วันนี้ (23 ธ.ค.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Yong Poovorawan" ในประเด็น "โอมิครอน การติดต่อและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว" โดยได้ระบุข้อความว่า

"ในระยะหลัง ไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มแพร่กระจายได้เร็วขึ้นมาโดยตลอด ตามสายพันธุ์ที่วิวัฒนาการขึ้นมา

ปัจจัยหนึ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัด มีการติดเชื้อ แล้วผู้ติดเชื้อจำนวนมากที่มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่กระจายได้ อัตราการเสียชีวิตของทั่วโลก ก็เริ่มลดลงมาโดยตลอด จะเห็นได้จากตั้งแต่สายพันธุ์อู่ฮั่น ในระยะแรกอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 3 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ และต่อมามีการระบาดที่ยุโรปโดยเฉพาะอิตาลี อัตราการเสียชีวิตในระยะแรกค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มที่จะลดลงมาเรื่อยๆ การเสียชีวิตทั่วโลกขณะนี้น้อยกว่า 2% ประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 0.9 เปอร์เซ็นต์ และแนวโน้มการติดเชื้อจะอยู่ในกลุ่มที่มีอายุน้อยลง อัตราการเสียชีวิตก็จะน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อมีผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ

‘หมอยง’ ห่วงกลุ่มเสี่ยง! หลังพบติดเชื้อพุ่ง แนะเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 รับมือ ‘โอมิครอน’

6 ม.ค. 65 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด-19 โอมิครอน หยุดยาวช่วงปีใหม่ และการติดต่อง่าย

โอมิครอน เรารู้แล้วว่าติดต่อง่าย ประกอบกับ การสนุกสนานรื่นเริง และหยุดยาวช่วงปีใหม่

ดังนั้น ผลที่จะพบผู้ป่วยมากขึ้นในช่วงต่อจากนี้ไป ไม่ใช่เรื่องแปลก 

ผมอยู่กับห้องปฏิบัติการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2 - 3 วันนี้ รู้แล้วว่าตัวเลขและอัตราการตรวจพบ โควิด-19 เพิ่มขึ้นมากๆ   

ผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ นับจากนี้ต่อไป จะเริ่มพุ่งขึ้นสูงอย่างแน่นอน จะขึ้นสูงแค่ไหนก็คงขึ้นอยู่กับการปฏิบัติ ต่อจากนี้ ที่ทุกคนจะต้องร่วมมือกันลดจำนวนตัวเลข ให้อยู่ในระดับที่ระบบสาธารณสุขรองรับได้

อัตราการป่วยรุนแรง และเสียชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วย จะน้อยกว่า ช่วงการระบาดของเดลตา 

สิ่งที่สำคัญขณะนี้ จะต้องเร่งกระตุ้นวัคซีนเข็มที่ 3 ให้ได้มากที่สุดและอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง 608 ที่เรารู้กันดีว่าอายุเกิน 60 และหรือ มีโรคเรื้อรัง 8 โรค เพื่อลดความรุนแรงให้ได้

‘หมอยง’ ชี้ เด็กจะเป็นตัวกลางแพร่เชื้อโควิด แนะผู้ใหญ่เร่งฉีดวัคซีนสร้างภูมิต้านทาน

"หมอยง" เปิดข้อมูลเด็กติดโควิด มีอาการน้อย แต่จะเป็นผู้แพร่กระจายเชื้อได้มาก ชี้เด็กป่วยไม่สามารถแยกตัวเองออกไปได้ เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ปกครองจะไม่ติดโรค

วันนี้ (10 ม.ค. 65) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan โดยระบุว่า โควิด-19 เด็กจะเป็นผู้กระจายเชื้อ ได้มาก เนื่องจากเด็กติดเชื้อโควิด-19 อาการจะน้อยมาก หรือไม่มีอาการเป็นส่วนใหญ่ อันตรายถึงชีวิตยิ่งน้อยมากๆ

จากการศึกษาในอเมริกา ในช่วงที่มีการระบาดสูงมากของโอมิครอน เด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นก็จริง เพราะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และเด็กจำนวนหนึ่งที่เข้ารับการรักษาด้วยสาเหตุอื่น แต่ตรวจพบโควิด-19 ก็มีมากขึ้น

ปัญหาสำคัญของการติดเชื้อในเด็ก ที่มีอาการน้อย แต่ เด็กจะเป็นผู้กระจายเชื้อหรือแพร่เชื้อได้ดีมาก 

เด็กป่วย ไม่สามารถแยกตัวเองออกไปได้ พ่อแม่ผู้ปกครองจะคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ติดโรค

ผมมีคนไข้เด็กที่ติดจากสถานเลี้ยงเด็ก เมื่อตรวจพบ แม่ยอมติดเชื้อด้วย เพราะต้องดูแลรักษาลูก รวมทั้งบุคคลในบ้าน เมื่อเด็กคนหนึ่งเป็น พี่น้องที่วิ่งเล่นด้วยกัน ก็จะติดกันอย่างแน่นอน

ในอดีตที่ผ่านมา เชื้อส่วนใหญ่อยู่ในผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่สามารถแยกตัวออกมาได้ ป้องกันไม่ให้ติดเด็ก

แต่เมื่อมีการระบาดอย่างมากโดยเฉพาะ โอมิครอน การติดเชื้อจะลงมาสู่เด็กอย่างแน่นอน

เด็ก ภาระความรุนแรงโรคน้อยมาก แต่จะเป็นผู้กระจายโรค ไปสู่คนในบ้าน

‘หมอยง’ ไขข้อสงสัย ฉีดวัคซีนโควิดกี่เข็มถึงเพียงพอ ชี้ อย่างน้อยต้องมีเข็ม 3 ให้ร่างกายได้รู้จักเชื้อ

หมอยง เผย การฉีดวัคซีนโควิด 3 เข็ม ยังจำเป็นช่วยลดอาการของโรค และสร้างความจำให้ร่างกายได้รู้จักโควิด แนะสิ่งสำคัญคือต้องดูแลร่างกายให้แข็งแรง - อยู่แบบวิถีชีวิตใหม่

เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 65 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า โควิด-19 วัคซีน จะฉีดวัคซีนกี่เข็มพอ

เราเริ่มเรียนรู้มากขึ้น วัคซีนที่เราให้ เพื่อป้องกันลดความรุนแรงของโรค ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

ไวรัสโควิดมีระยะฟักตัวสั้น และมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาโดยตลอด

วัคซีนที่ใช้ ใช้สายพันธุ์ดั้งเดิมตั้งแต่อู่ฮั่น ถึงแม้ว่าจะใช้สายพันธุ์ใหม่ ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลง ประสิทธิภาพก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิม

การติดเชื้อในธรรมชาติ เมื่อวัดภูมิต้านทานต่อหนามแหลม ก็ไม่ได้สูงมาก วัคซีนที่ทำมาจากจำเพาะหนามแหลม สร้างภูมิต้านทานที่สูงมาก ก็ยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากวัคซีน ที่มีความจำเพาะต่อหนามแหลม จะขึ้นสูงมากก็จริง แต่ก็จะลดลงตามกาลเวลา จึงไม่มีวัคซีนเทพ สูงมากก็ลงเร็วมาก เป็นกฎเกณฑ์ของร่างกาย

การฉีดวัคซีนจะกี่เข็มก็ตาม ยี่ห้ออะไรก็ตาม ขึ้นสูงก็ลงเร็ว ขึ้นน้อยก็ลงช้า ประสิทธิภาพของวัคซีนจึงสูงสุดเมื่อ 14 ถึง 28 วัน หลังจากนั้นก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว

สายพันธุ์โอมิครอน สามารถติดต่อได้ง่าย แต่ความรุนแรงของโรคลดลง ประกอบกับการมีภูมิต้านทานเป็นบางส่วน จากการที่เคยติดเชื้อมาก่อนหรือได้รับวัคซีน เป็นส่วนประกอบให้ความรุนแรงของโรคลดลง

เมื่อความรุนแรงของโรคลดลง และติดต่อได้ง่าย โดยเฉพาะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ก็สามารถแพร่โรคได้โดยไม่รู้ตัว ก็คงหนีไม่พ้นจากการรับเชื้อโดยไม่รู้ตัว การสืบสวน Time Line เมื่อมีการติดเชื้อจำนวนมาก ก็จะไม่มีการพูดถึงแล้ว

ในปัจจุบัน อายุของการติดเชื้อลดลงมาอย่างมาก ลงมาสู่วัยเด็ก โดยที่มีอาการน้อย และในอนาคตเด็กต้องไปโรงเรียน ถึงแม้ว่าเด็กฉีดวัคซีนแล้ว ก็มีโอกาสติดเชื้อได้

‘หมอยง’ ชี้!! บทเรียนสำคัญในการต่อสู้กับโควิดช่วง 2 ปี ไม่ได้สู้แค่โรค แต่สังคมถูกโชกไปด้วยข้อมูลสร้างความสับสน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับสถานการณ์ โควิด โดยเนื้อความระบุว่า..

โควิด 19 การต่อสู้ที่สำคัญ คือ Fake news, ข่าวร้าย (shock news, breaking news) และการให้ร้าย รังแก bully
ยง ภู่วรวรรณ 14 มีนาคม 2565 

บทเรียนสำคัญในการต่อสู้กับโรคระบาดร้ายแรงใน 2 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง fake news, ข่าวร้าย shock news ข้อมูลที่สร้างความสับสน 

โดยเฉพาะ ข้อมูลมีความจริงเพียง 20% แล้วใส่ความเห็น โน้มน้าว ไม่ได้อยู่บนฐานของความเป็นจริง

มีข่าว ที่ไม่เป็นจริง และมีการส่งต่ออันมากมายบนสื่อสังคมในยุคปัจจุบันที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อความจริงปรากฏ ก็ไม่มีใครตามไปแก้ข่าว
ข้อมูลดังกล่าวถ้าได้รับฟังซ้ำๆ เชื่อเลย หลายคนคงจะเชื่อ เรื่องของโรคโควิด วัคซีนในการใช้ป้องกัน ทำให้เราเสียโอกาสไปมาก

 ลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด! ‘หมอยง’ ย้ำ ‘วัคซีนยังจำเป็น’ โดยเฉพาะ ‘กลุ่มเสี่ยง-ผู้สูงอายุ’!

(19 มี.ค.65)  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า...

“ โควิด 19 วัคซีน การลังเลในการรับวัคซีน

ยง ภู่วรวรรณ 19 มีนาคม 2565

การรับวัคซีน covid 19 เป็นไปโดยสมัครใจ จะเลือกวัคซีนชนิดใด ก็สามารถทำได้
การให้ความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับวัคซีน ประโยชน์ในการได้รับวัคซีน และอาการไม่พึงประสงค์
การตัดสินใจ อยู่กับผู้รับ ไม่ได้มีการบังคับ โดยคำนึงถึง น้ำหนักของประโยชน์และความเสี่ยงมาเปรียบเทียบกัน

ผมจะข้ามถนนที่สีลม ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น มีแน่นอน ความจำเป็นที่จะต้องข้ามถนน ก็ต้องตัดสินใจ ความเสี่ยงในการข้ามถนนที่สีลม อาจจะมีมากกว่าความเสี่ยงจากการได้รับวัคซีน เราจะเห็นได้จากอุบัติเหตุทางท้องถนน

กลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะที่เราเรียกว่า 608 คือผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เมื่อติดเชื้อโควิด 19 จะทำให้เกิดความรุนแรง ต้องนอนโรงพยาบาล หรืออาจจะเข้า ICU และอาจทำให้ถึงชีวิตได้

ดังที่เราเห็นยอดการเสียชีวิตทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
กลุ่มดังกล่าวจึงมีความจำเป็น ที่จะต้องได้รับการป้องกัน และดูแลเป็นพิเศษ สิ่งหนึ่งในการลดความรุนแรงคือ วัคซีน

ทั่วโลกขณะนี้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 11,000 ล้านโดส วัคซีนขณะนี้มีเพียงพอ ให้เลือกชนิดของวัคซีนได้เลย
เราจะต้องอยู่กับ โควิด 19 จำเป็นที่จะต้องลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด”

ที่มา :เฟซบุ๊ก Yong Poovorawn

https://siamrath.co.th/n/332426


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top