Friday, 17 May 2024
หมอยง

'หมอยง' ถูกมิจฉาชีพอ้างชื่อหากิน ขายอาหารเสริม ยัน!! ไม่เคยขายของหรือหาผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น

ไม่นานมานี้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กหลังถูกนำชื่อไปแอบอ้างหากิน ว่า "ไม่เคยขายของหรือหาผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น"

ด้วยปรากฏว่าขณะนี้มีบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ได้นำรูปภาพของข้าพเจ้า ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ ไปใช้ประกอบการโฆษณาจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หรือยา เครื่องมือทางการแพทย์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามตัวอย่างรูปภาพ หรือ เว็บไซต์ ท้ายนี้ 

อันเป็นการสื่อความหมายไปในทางทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาดังกล่าวเป็นของข้าพเจ้า หรือข้าพเจ้ามีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นการทำความเสียหายต่อข้าพเจ้า เป็นอย่างมาก  

'หมอยง' ชี้การกลายพันธุ์ของไวรัส ไม่มีผลต่อยาที่ใช้รักษา

'หมอยง' ชี้การกลายพันธุ์ของไวรัส ไม่มีผลต่อยาที่ใช้รักษา

(9 ธ.ค. 65) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 การกลายพันธุ์ของไวรัส ไม่มีผลต่อยาที่ใช้รักษา

ไวรัส covid 19 มีการกลายพันธุ์เรื่อยมา ทุกคนทราบกันดี การกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมในส่วนของหนามแหลม ทำให้มีผลต่อวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันมีประสิทธิภาพลดลง และยาในกลุ่มของแอนติบอดี รวมทั้งโมโนโคลนอลแอนติบอดี มีประสิทธิภาพลดลง

'หมอยง' ฟันธง!! โควิดระยะฟักตัวสั้นลง แม้ติดง่ายขึ้น แต่ความรุนแรงของโรคลดลง

(23 ธ.ค. 65) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า...

โควิด 19 ระยะฟักตัวสั้นลง ติดง่ายขึ้น ความรุนแรงของโรคลดลง

ตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ระยะฟักตัวของโรคในระยะแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ระยะฟักตัวสั้นลงมาโดยตลอด จนมาถึงสายพันธุ์ปัจจุบัน โอมิครอน มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 3 วัน นับจากวันสัมผัสโรคจนถึงมีอาการ

เมื่อระยะฟักตัวสั้นลงทำให้ระบบภูมิต้านทานที่มีอยู่ เตรียมพร้อมไว้ที่จะกระตุ้นรับการจู่โจมเข้ามา ในการระดมออกมาต่อสู้ป้องกัน ทำไม่ทัน จึงทำให้ติดต่อกันง่ายขึ้น ในบางครั้งถึงแม้จะมีระดับภูมิต้านทานเกิดขึ้นสูงแล้ว ก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ระดับภูมิต้านทานที่มีอยู่ ยังพอช่วยในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของตัวไวรัสได้ในระยะเวลาต่อมา จึงเป็นเหตุให้ความรุนแรงของโรคลดลง

'หมอยง' ชี้!! นักท่องเที่ยวชาวจีน ไม่ได้น่ากลัวกว่า 'ยุโรป-อเมริกา'

(6 ม.ค. 66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ 'โควิด-19 การรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ชาวจีน ไม่ได้น่ากลัวกว่าชาติอื่น' ระบุว่า...

การรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ชาวจีน ไม่ได้น่ากลัวไปกว่า ยุโรปและอเมริกา ด้วยเหตุผลดังนี้...

1. สายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยขณะนี้เป็น โอมิครอน BA.2.75 ในระยะ 1 ปีที่ผ่านมาในช่วงโอมิครอน ประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วประมาณ 70% หรือประมาณ 50 ล้านคน และการระบาดสายพันธุ์ในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่ BA.1 BA.2 แล้วเป็น BA.4- BA.5 ซึ่งสายพันธุ์ BA.5 ได้ระบาดผ่านพ้นไปแล้วและขณะนี้เป็น BA.2.75 ขณะเดียวกันในยุโรปและอเมริกา สายพันธุ์ต่างๆ เกิดก่อนประเทศไทย และระบาดเข้าสู่ประเทศไทย สายพันธุ์ BA.2.75 ระบาดในยุโรปและอเมริกาเมื่อหลายเดือนก่อน ผ่านพ้นไปแล้ว ขณะนี้ในยุโรปและอเมริกา ได้เปลี่ยนเป็น เป็น BQ1 และ BQ1.1 แต่ขณะเดียวกันในจีนขณะนี้ยังเป็นสายพันธุ์ในกลุ่ม BA.5 ตามหลังประเทศไทย ถ้านักท่องเที่ยวจีนเข้ามาสู่ประเทศไทยนำเชื้อโควิด-19 เข้ามา จะเป็นสายพันธุ์ที่เคยระบาดผ่านไปแล้วในประเทศไทย ตรงกันข้ามกับยุโรปและอเมริกา จะเป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยระบาดในประเทศไทย เรื่องของสายพันธุ์ในปัจจุบันนี้ ถ้ามาจากประเทศจีน จึงไม่น่าวิตกแต่อย่างใด เพราะของเราผ่านพ้นไปแล้ว ถ้าจะกลัวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ สายพันธุ์ที่ยังไม่มีในประเทศไทยโดยเฉพาะ BQ ที่จะมาจาก ประเทศทางตะวันตกยังน่ากลัวกว่า เราก็ไม่ได้ตรวจ และไม่สามารถบังคับให้ใส่หน้ากากอนามัยได้ด้วย 

2. การเกิดสายพันธุ์ใหม่ สามารถเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ทุกแห่งในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน หรือทางตะวันตก แม้กระทั่งในอินเดีย แอฟริกา ก็เกิดได้ทั้งนั้น แต่ทั่วโลกขณะนี้ มีระบบการเฝ้าระวังด้วยการถอดรหัสพันธุกรรม เข้าธนาคารกลาง และทุกประเทศได้เรียนรู้ร่วมกัน ทำไมเราจึงต้องถอดรหัสพันธุกรรมอยู่ทุกวัน ห้องปฏิบัติการผมก็ทำอยู่ทุกวันเป็นการเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่ เมื่อยังไม่รู้ว่าสายพันธุ์ใหม่ จะเกิดที่ประเทศใด ก็ไม่รู้จะไปป้องกันปิดกั้นชาติใด เพราะการป้องกันประเทศจีน ประเทศเดียวไม่ใช่เป็นวิธีการแก้ปัญหา อาจจะมาจากประเทศใดก็ได้

'หมอยง' เผย 'โควิด 'เข้าสู่โรคประจำฤดูกาล แนะ!! ฉีดวัคซีนประจำปีป้องกันระบาด

(6 ก.พ. 66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

โควิด 19 end game โดยเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล

โรคโควิด 19 ไม่ได้หายไปไหน และน่าจะสิ้นสุดด้วยการเปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลต่อไป 

ในปีที่ 4 นี้ การนับยอดผู้ป่วยติดเชื้อ ไม่เกิดประโยชน์ เพราะตัวเลขที่รายงานต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ขณะนี้ทั่วโลกน่าจะมีการติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 70 หรือประมาณ 5 พันล้านคน ตัวเลขที่รายงานการติดเชื้อทั่วโลกมีประมาณเกือบ 700 ล้านคน ต่ำกว่าความเป็นจริงประมาณ 10 เท่า ประเทศไทยก็ไม่ได้รายงานตัวเลขติดเชื้อแล้ว รายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและผู้เสียชีวิตเท่านั้น 

องค์การอนามัยโลกคงจะเลิกนับตัวเลขในเร็ว ๆ นี้ หลังจากการระบาดในประเทศจีนลดลง (เพราะส่วนใหญ่ติดเชื้อแล้ว)

ความรุนแรงของโรคลดลงมาโดยตลอด ผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว จะไม่มีการย้อนไปปิดบ้านปิดเมืองอีกแล้ว 

วัคซีน โดยเฉพาะ mRNA ตลาดควรเป็นของผู้ซื้อ วัคซีนมีอายุสั้น และขวดหนึ่ง ยังมีจำนวน 7-10 โดส จึงยากต่อการใช้ ให้มีการสูญเสียทิ้งให้น้อยที่สุด ประกอบกับมีราคาแพง มีอาการแทรกซ้อนที่พบได้ มากกว่าวัคซีนที่ใช้ในอดีต และในอนาคตเมื่อเทียบกับความรุนแรงของโรค จึงเป็นการยากที่ประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึง ความจำเป็นที่จะต้องฉีดทุก 4-6 เดือนไม่มีอีกแล้ว เมื่อเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล การให้วัคซีนจะเหลือปีละ 1 ครั้ง การนัดคนมาฉีดพร้อมกันเพื่อลดการสูญเสียของวัคซีนจะทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะวัคซีนมีอายุสั้น การเก็บรักษายุ่งยาก ใช้อุณหภูมิติดลบ ยิ่งทำให้ราคาแพงขึ้น การให้ได้วัคซีนตรงกับสายพันธุ์ยิ่งยากเข้าไปอีก เพราะการพัฒนาต้องมีต้นทุนสูงและเมื่อพัฒนาขึ้นมาแล้วไวรัสก็เปลี่ยนสายพันธุ์ไปอีก 

'หมอยง' ชี้ บทสรุป 'วัคซีนทุกตัว' ประสิทธิภาพไม่ต่างกัน ฉีดกี่เข็มก็ไม่กันการติดเชื้อ ได้แค่ลดความรุนแรงของโรค

(3 มี.ค. 66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเรื่อง โควิด 19 วัคซีน ความต้องการที่น้อยลง ระบุว่า...

ในปีแรกที่เริ่มมีวัคซีน ทุกคนแย่งกันมาก เมื่อมีวัคซีนมากขึ้น เรียกร้อง mRNA เป็นวัคซีนเทพ เมื่อกาลเวลาผ่านไป จะเห็นได้ว่าวัคซีนทุกตัวประสิทธิภาพไม่ต่างกันเลย

มาถึงปัจจุบัน จะฉีดวัคซีนกี่เข็มก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้เพียงแต่ลดความรุนแรงของโรคลง

ในวันนี้ ประชากรทั่วโลกส่วนใหญ่ได้ติดเชื้อไปแล้ว น่าจะถึง 5 พันล้านคน แม้กระทั่งประเทศไทยก็น่าจะติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 50 ล้านคน

โรคระบาดเพิ่มขึ้น!! ‘หมอยง’ เตือนระวัง ‘ยุงลาย-ชิคุนกุนยา-ไวรัสชิกา’ แนะทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง เพื่อลดการกระจายโรค

ระบาดเพิ่มขึ้น!‘หมอยง’เตือนระวัง‘ไข้ปวดข้อยุงลาย-ชิคุนกุนยา-ซิกา’

(10 มี.ค.66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan มีเนื้อหาดังนี้...

ไข้ปวดข้อยุงลาย ชิกุนกันย่า ซิกา

ยง ภู่วรวรรณ

ราชบัณฑิต

10 มีนาคม 2566

ในช่วงปีที่ผ่านมา มีการระบาดของไข้ปวดข้อยุงลาย ชิคุนกุนยาและไข้ไวรัสชิกา เพิ่มมากขึ้น

การระบาดของไข้ปวดข้อยุงลายตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 เป็นต้นมา เกิดจากยุงลายบ้าน เช่นเดียวกับไข้เลือดออก จึงพบมากในเขตเมืองรวมทั้งกรุงเทพมหานคร ทำให้มีไข้ ผื่นขึ้น และปวดตามข้อ พบได้ทุกอายุแต่ในเด็กจะมีไข้ ออกผื่น อาการปวดข้อ อาจจะไม่เด่น ในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ อาการปวดข้อจะเป็นค่อนข้างรุนแรง และคงอยู่หลายสัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือนก็มี

จะไม่ทน!! ‘หมอยง’ โพสต์เฟซ โดนนำภาพไปหลอกขายยา  วอน!! ปชช. อย่าหลงเชื่อ งานนี้ไม่ยอมความแน่นอน 

(11 มี.ค. 66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Yong Poovorawan" เตือนภัย หลังพบกลุ่มมิจฉาชีพ แอบอ้างชื่อตนเองไปหลอกขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ โดย "หมอยง" ได้ระบุข้อความว่า

“ช่วยกันส่งต่อ ขณะนี้มีการเอารูปผมไปแอบอ้างโฆษณาผ่าน Facebook และสื่อออนไลน์มากมาย ผมได้ดำเนินการให้ทางตำรวจจัดการแล้ว แต่การดำเนินการค่อนข้างยุ่งยาก ล่าช้า เพราะส่วนใหญ่จะใช้ Proxy ต่างประเทศ ทำให้หาต้นตอค่อนข้างยาก และการขอความร่วมมือกับสื่อต่างประเทศทำได้ยากมาก

‘หมอยง’ เผย โควิด-19 ในไทยเปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ XBB.1.16 ชี้!! ติดต่อได้ง่าย หลบภูมิต้านทานได้ดี แต่ไม่เพิ่มความรุนแรง

‘หมอยง’ เผย โควิด 19 ในไทยเปลี่ยนสายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว กำลังมาแรงแทนที่สายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์ สายพันธุ์นี้ติดต่อได้ง่าย หลบหลีกภูมิต้านทานได้ดี แต่ความรุนแรงของโรคไม่ได้เพิ่มขึ้น

(13 พ.ค. 66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Yong Poovorawan’ ระบุว่า โควิด 19 การเปลี่ยนสายพันธุ์ สายพันธุ์ดาวดวงแก้วกำลังมาแรง XBB.1.16

จากการศึกษาในประเทศไทยของศูนย์จะเห็นว่าตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด 19 ทุกครั้งที่มีสายพันธุ์ใหม่ก็จะมีการระบาดเพิ่มขึ้นเป็นระลอก มาโดยตลอด

จากรูปนี้ในการถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 100 สายพันธุ์จะเห็นว่าสายพันธุ์หลักในประเทศไทยขณะนี้เป็น XBB แล้ว โดยที่สายพันธุ์ดาวดวงแก้ว XBB.1.16 กำลังมาแรงและจะเป็นสายพันธุ์หลักต่อไป

สายพันธุ์นี้ติดต่อได้ง่าย หลบหลีกภูมิต้านทานได้ดี แต่ความรุนแรงของโรคไม่ได้เพิ่มขึ้น

‘หมอยง’ เตือน!! ไข้หวัดใหญ่ กำลังระบาดหนัก จับตา ‘เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุ’ ป้องกันการสูญเสีย

(24 ก.ค. 66) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง ‘ไข้หวัดใหญ่ กำลังระบาดเพิ่มขึ้น’ ระบุว่า 

ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 3 ปีที่ผ่านมาไข้หวัดใหญ่มีการระบาดลดลงอย่างมาก ตามทิศทางของการระบาดของโควิด-19 ด้วยมาตรการในการป้องกันต่าง ๆ ปีนี้มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเริ่มจากไข้หวัดใหญ่ A สายพันธุ์ H3N2 และขณะนี้มีการระบาดทั้ง 3 สายพันธุ์ คือ A H3N2, A H1N1 และไข้หวัดใหญ่ B อาการของโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 มีอาการเหมือนกันทุกอย่าง

ในรายที่ตรวจเอทีเคต่อโควิด-19 แล้วให้ผลลบ จำเป็นที่จะต้องตรวจถึงไข้หวัดใหญ่ด้วย ทั้งนี้เพราะไข้หวัดใหญ่เอง มียาใช้รักษาได้คือ Oseltamivir โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กและกลุ่มเปราะบางผู้สูงอายุ การระบาดของไข้หวัดใหญ่เริ่มจากตามโรงเรียนต่าง ๆ และกระจายออกมาได้อย่างรวดเร็วทุกคนจะต้องใส่ใจในการช่วยกันป้องกันการระบาดของโรค เช่นเดียวกับการป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อลดความสูญเสีย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top