Friday, 17 May 2024
หมอยง

คนละไม้คนละมือ 'หมอยง'​ แนะ!! ฆ่าเชื้อ ATK ด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำ ก่อนทิ้ง พร้อมแยกขยะ​ติดเชื้อตามหลักมาตรฐานด้วย​ 'ถุงแดง'​ 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan ว่า...

“โควิด 19  การทำลายเชื้อโรคใน ATK ที่ใช้แล้ว
ยง ภู่วรวรรณ  26 มีนาคม 2565

การตรวจ ATK ขณะนี้มีการใช้อย่างแพร่หลาย มีการตรวจวันละหลายแสนชิ้น ATK ที่ใช้แล้วไม่ว่าจะตรวจพบเชื้อหรือตรวจไม่พบเชื้อ ถือเป็นขยะติดเชื้อ มาตรการในการทิ้งขยะติดเชื้อจะต้องใส่ถุงแดง และมีการทำลายอย่างถูกต้อง 

ตามบ้านทั่วไปจะไม่มีถุงแดง และมาตรการการเก็บขยะ ไม่มีการแยกขยะติดเชื้อ จึงเป็นปัญหาในการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ ถ้าทิ้งในขยะปกติที่ไม่ได้มีการแยกขยะ

ดังนั้นการตรวจน้ำเสีย ที่ทิ้งไปยังโรงบำบัดน้ำเสีย หรือตามแม่น้ำลำคลอง จึงสามารถตรวจพบ RNA ของไวรัสโควิดได้

สิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ หลังการตรวจ APK  คือการทำลายเชื้อในสิ่งที่ตรวจเสียก่อนที่จะนำไปทิ้ง

สารเคมีที่สามารถทำลายเชื้อ covid19 ได้ที่เรารู้จักกันคือแอลกอฮอล์ จะทำลายเชื้อเฉพาะไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม ไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้มไม่สามารถทำลายได้ เช่นไวรัสในกลุ่มมือเท้าปาก ก็พบได้ในบริเวณลำคอเช่นเดียวกัน

'หมอยง' ชี้!! โควิดเปรียบดังโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง อย่ารังเกียจ 'ผู้ป่วย-ติดเชื้อ' จงอยู่ด้วยกันกับโรคนี้ให้ได้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan” ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในไทยว่า โควิด 19 ความคิดเกี่ยวกับโรคโควิด 19 เปลี่ยนตามสถานการณ์

ต้องยอมรับว่าในปีแรก 2563 ที่เกิดการระบาดของโรคโควิด 19 โรคมีความรุนแรง อัตราเสียชีวิต สูง 3 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์

ทุกคนรอความหวังที่จะป้องกันด้วย “วัคซีน”

ปีต่อมา 2564 มีวัคซีน แต่พบว่าวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ยังคงพบการระบาดอย่างมาก ประสิทธิภาพของวัคซีนเหมือนกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่ไม่สามารถจะกำจัดหรือลดการระบาดลง ในแต่ละปีประสิทธิภาพแตกต่างกันตามสายพันธุ์

การให้วัคซีน 3 เข็ม 4 เข็ม หรือแม้กระทั่งติดเชื้อแล้วก็ยังติดเชื้อซ้ำได้อีก แต่อาการความรุนแรง “ลดลง”

ในปีนี้ 2565 โรคยังคงระบาดอย่างมาก ความรุนแรงลดน้อยลง อัตราการเสียชีวิตลดลง จากที่เคยสูง 1-2 % ลดลงมา เหลือ 1-2 ในพัน (0.1 - 0.2 %) ของผู้ติดเชื้อ (รวม ATK) ส่วนใหญ่เป็นในกลุ่มผู้เปราะบาง หรือ 608 ไม่ได้รับวัคซีน หรือ ได้รับวัคซีนไม่ครบ

โดยทั่วไปผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และ ได้รับวัคซีนแล้ว ติดเชื้อได้ ความรุนแรงของโรคจะลดลง แต่ก็ยังสามารถแพร่กระจายโรคได้ ในเด็กปกติโรคมีความรุนแรงน้อยกว่า ยกเว้น เด็กทารก และเด็กที่มีโรคประจําตัว ในเด็กทารกถ้ามารดาได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์ ภูมิต้านทานก็น่าจะส่งต่อมาปกป้องลูกน้อยในเดือนแรกๆ ได้

เราต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ ในการอยู่กับโรคนี้ให้ได้ พบผู้ป่วยผู้ติดเชื้อรอบตัวเรา รวมทั้งคนใกล้ชิด มีให้เห็นมากมาย ต่อไปวัคซีนพาสปอร์ต ที่จะต้องฉีด 2 เข็ม 3 เข็มก็จะมีความหมายน้อยลง การสืบสวนโรค ว่าติดจากใคร ทำได้ยาก และปัจจุบันแทบไม่ต้องถาม timeline กันอีกต่อไปแล้ว

เราไม่ควรรังเกียจคนที่เป็น และต้องยอมรับ เปรียบเสมือนเป็นโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง ไม่แสดงความรังเกียจผู้ป่วย เราจะต้องอยู่ด้วยกันกับโรคนี้

‘หมอยง’ ย้ำวัคซีนโควิด ช่วยลดป่วยตายได้ดี ชี้ เข็ม 4 จำเป็น เพื่อกระตุ้นภูมิให้อยู่นานขึ้น

‘หมอยง’ ยืนยัน ‘วัคซีนโควิด’ สามารถลดป่วยหนัก-เสียชีวิตได้ดี จำเป็นต้องฉีดเข็ม 4 เพื่อกระตุ้นภูมิให้อยู่ได้นานขึ้น อย่าหลงเชื่อวัคซีนไม่มีประโยชน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ "หมอยง" โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงแนวทางการฉีด "วัคซีนโควิด" โดยระบุว่า 

โควิด-19 วัคซีน วัคซีนมีประโยชน์ป้องกันความรุนแรง และ เสียชีวิต

เป็นที่แน่นอนและมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ วัคซีนกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานทั้งระบบ B เซลล์สร้างภูมิต้านทาน และระบบ T เซลล์ช่วยในการกำจัดไวรัสและลดความรุนแรงของโรค

'หมอยง' ปลื้ม!! ผลงานวิจัยวัคซีนอีกเรื่อง ได้ตีพิมพ์วารสารระดับโลก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า...

โควิด 19 วัคซีน ผลงานวิจัยส่งในวารสารตั้งแต่ปลายสิงหาคมปีที่แล้วได้รับการตีพิมพ์แล้ว

การทำงานวิจัย ประสบความสำเร็จกว่าจะเผยแพร่ได้ออกมาในวารสารที่มีชื่อเสียง และยอมรับของทั่วโลก จำเป็นต้องใช้เวลา ทั้งที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อออนไลน์กันอย่างมากสำหรับประเทศไทย

ผลงานชิ้นนี้ทำเสร็จตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว และก็มีการนำไปใช้ในการฉีดกระตุ้นกันมากตั้งแต่สิงหาคมเป็นต้นมา ผลงานก็ให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าการฉีดวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม และกระตุ้นด้วยวัคซีนไวรัส vector เป็นเข็มที่ 3 กระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี

‘หมอยง’ เคลียร์ชัดใครควรฉีดเข็ม 4 ส่วนวัยรุ่นให้รอดูสถานการณ์ก่อน

(30 พ.ค.65) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan หัวข้อ ‘โควิด 19 วัคซีนเข็มที่ 4’ ระบุว่า…

การให้วัคซีนครบ หมายถึง ให้เบื้องต้น 2 เข็ม และตามด้วยเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 ระดับภูมิต้านทานจะขึ้นมาสูง แล้วก็ค่อยๆ ลดลงอีก ก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ อยากให้ทุกคนได้รับอย่างน้อย 3 เข็ม

มีคำถามเข้ามามากโดยเฉพาะ เข็ม 4 

การให้เข็ม 4 จะเป็นการกระตุ้นให้ระดับภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นอีก ดังนั้นบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่ม 608 ที่มีอายุเกิน 60 ปี หรือถ้าอายุน้อย แต่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 อย่าง หรือบุคคลที่เสี่ยงต่อการติดโรค บุคลากรทางการแพทย์ ทำงานอยู่ด่านหน้า ควรจะได้รับเข็ม 4 เพื่อให้ระดับภูมิต้านทานสูง และถ้าติดโรค ก็จะได้ลดความรุนแรงของโรคลง
 

'หมอยง' ชี้!! ความยุ่งยากในการคุม ‘ฝีดาษลิง’ 'ไม่พบเคสตาย - อาการไม่แรง' ทำละเลยพบแพทย์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงโรคฝีดาษวานร ความยุ่งยากในการควบคุมโรค โดยข้อความตอนหนึ่งระบุว่า ฝีดาษวานรที่ระบาดในปีนี้ ในยุโรปและอเมริกา มีผู้ป่วยร่วม 500 ราย ส่วนใหญ่ เพศชายถึง 98%  และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20 ถึง 50 ปี 

ความยุ่งยากในการควบคุมโรค คือ 

1 อาการของโรคไม่ได้รุนแรงแบบไข้ทรพิษ ยังไม่มีใครเสียชีวิตเลย เมื่อมีอาการน้อยบางรายก็ไม่ได้รับการวินิจฉัย 

2 ตุ่มที่ขึ้นก็ไม่ได้มาก 30% เกิดในที่ลับ บริเวณอวัยวะเพศ และถ้าไม่มีอาการมาก หรือตุ่มขึ้นน้อยก็จะไม่ได้พบแพทย์

3 โรคนี้ติดต่อ เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ เพราะมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด

4 ไม่มีหลักฐานในการติดต่อจากสัตว์ หรือเดินทางมาจากแอฟริกา เป็นการติดต่อระหว่างคนสู่คน 

5 ถ้าเชื้อฝีดาษวานร ที่ระบาดอยู่ขณะนี้ เข้าไปติดยังสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะ ในตระกูล หนู กระต่าย กระรอก สัตว์เหล่านี้จะมีอาการน้อยมาก และเป็นพาหะ ที่จะกระจายโรคได้ จะยากต่อการควบคุมขึ้นอีก นำไปสู่การเกิดโรคประจำถิ่น ขณะนี้โรคประจำถิ่นอยู่แอฟริกา มีความกังวลว่า ถ้าติดในสัตว์เลี้ยง ที่กำลังระบาดอยู่นี้ ก็อาจประจำถิ่นอยู่ยุโรปต่อไป


ที่มา: https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0961fhvf8UqDFQsNMuymvyN9g9NEmZu4kjgSwj4oiuescCvCFW2WyG4P61uTcwZnTl&id=100000978797641

'หมอยง' เชื่อ!! ยอดติด 'ฝีดาษลิง' เพิ่มขึ้นเเน่ ชี้!! เป็นโรคที่ยากควบคุม เทียบกามโรค

‘หมอยง’ ชี้ ‘ฝีดาษลิง’ เป็นโรคยากต่อการควบคุม-ไม่มีทางหมดไป เทียบกามโรค ย้ำ ทุกประเทศต้องช่วยกันในการควบคุม ลดการระบาดของโรค

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โพสต์ข้อความว่า ฝีดาษวานร เป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกประกาศเป็น ภาวะฉุกเฉินฯ ระหว่างประเทศ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2565  

ทุกประเทศ ควรจะต้องช่วยกันในการควบคุม ลดการระบาดของโรค 

ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก มากกว่า 16,000 คน มีรายงานกล่าวถึงการเสียชีวิต 5 ราย แต่ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกในวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ไม่มีผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วยมากกว่า 70 ประเทศ และจะพบจำนวนเพิ่มมากขึ้นอีกแน่นอน 

'หมอยง' ไขข้อข้องใจอาการ 'ลองโควิด' ชี้ ไม่ควรตระหนก-หวาดกลัวจนเกินเหตุ

วันที่ (15 สิงหาคม 2565) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด-19 ลองโควิด

ขอให้รายละเอียด ที่มีการพูดถึงกันมากเกี่ยวกับ ลองโควิด (Long Covid) และไม่ควรตระหนกจนเกินเหตุ

ลองโควิด หมายถึง อาการที่หลงเหลืออยู่หลังติดเชื้อโควิด ไม่ต่างกับโรคอื่น ที่เมื่อเจ็บป่วยแล้ว อาจจะมีอาการหลงเหลืออยู่

ส่วนใหญ่เป็นอาการจากคำบอกเล่า (symptoms) มากกว่าที่ตรวจพบ (signs)

อาการหลักคือ รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย สมองล้า หัวตื้อ (brain fog) หายใจติดขัด

อาจจะมีอาการอื่นประกอบ เช่น เจ็บหน้าอก ปวดศีรษะ ท้องเสีย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รส ซึมเศร้าเครียด กังวล นอนไม่หลับ

ส่วนใหญ่จะเป็นอาการทางจิตใจ มากกว่า ทางร่างกาย

ผู้ที่ป่วยหนักจะพบได้มากกว่า

อายุมากยิ่งสูงอายุ พบมากกว่าอายุน้อย หรือน้อยมาก ๆ ในเด็ก

พบในหญิงมากกว่าเล็กน้อย

'หมอยง' ชี้!! โควิด 19 แนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น จากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไปแล้วจำนวนมาก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 แนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น จากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไปแล้วจำนวนมาก

ภาพรวมของ covid 19 มีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น

ประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน มีการฉีดวัคซีนไปแล้วเกือบ 143 ล้านโดส แต่เมื่อดูการฉีดครบ 2 เข็ม ก็อยู่ประมาณเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ และการฉีด 3 เข็ม ประมาณเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่เรามีวัคซีนเพียงพอ และอยากให้มีการฉีดวัคซีนให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง

ในขณะเดียวกันประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานเกิดขึ้นจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ยอดการติดเชื้อที่มีการแจ้งให้ทราบ เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ในความเป็นจริงประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่ง

'หมอยง' เตือน 'ไข้ปวดข้อยุงลาย' กำลังระบาดหนักใน กทม.

‘หมอยง’ เตือน ไข้ปวดข้อยุงลาย กำลังระบาดหนักในกรุงเทพมหานคร แนะทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ระวังไม่ให้โดนยุงกัด

(4 พ.ย. 65) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคที่นำโดยยุงกำลังระบาดมาก

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย chikungunya กำลังระบาดมาก โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

เดิมโรคนี้ เมื่อกว่า 10 ปีก่อน จะนำโดยยุงลายสวน (Aedes albopictus) ระบาดมากในสวนยางและทางปักษ์ใต้ แต่ตั้งแต่มี 2561 เป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของไวรัส ปรับตัวให้เหมาะสมข้าวกับยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นยุงชนิดเดียวกันที่นำโรคไข้เลือดออก ไข้ไวรัสซิกา ทำให้การระบาดเข้าสู่ในเมืองรวมทั้งกรุงเทพฯ การระบาดเกิดขึ้นมากในปี 2561 จนถึง 2562 หลังจากการระบาดของ covid 19 โรคอยู่เหมือนลดลง แต่ก็ยังพบได้ตลอด จนมาถึงเดือนที่แล้วและเดือนนี้ พบผู้ป่วยไข้ปวดข้อยุงลาย ไข้ไวรัส zika และไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แม้ในกรุงเทพฯ

ไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นได้ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่และสูงอายุ จะมีอาการไข้และปวดข้อ มีผื่นตาแดง บางครั้งรักษาอาการก็แยกกันยากกับไวรัสซิก้า และ ไข้เลือดออก การระบาดมักจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในกรุงเทพฯ เอง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top