Friday, 26 April 2024
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

‘ธรรมศาสตร์’ แจง!! ยุตินำเข้า ‘โมเดอร์นา’ ล็อตบริจาค 1.5 ล้านโดส จากโปแลนด์

เพจโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าของความพยายามจัดหาวัคซีนทางเลือก ว่า…

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ทำ MOU กับเอกชนหลายกลุ่มในการจัดหาวัคซีน ทั้งโมเดอร์นา ไฟเซอร์ และวัคซีนชนิด Protein Based ซึ่งค่าใช้จ่าย ค่าขนส่ง และค่าประกันภัยเป็นของเอกชน โดย มธ.จะขอรับบริจาควัคซีนในสัดส่วนไม่เกิน 10% มาให้บริการฟรีแก่ประชาชนผู้มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ วัคซีนนอกเหนือจากนั้น ให้เอกชนสามารถนำไปให้บริการโดยคิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประสงค์จะรับวัคซีนได้

สำหรับการประสานขอรับบริจาค #วัคซีนโมเดอร์นา ซึ่งยังมีอายุใช้งานได้ถึงเดือน เม.ย. 65 จำนวน 1.5 ล้านโดส ผู้แทนที่ มธ. มอบหมายได้ติดต่อประสานกันกับสำนักงานสำรองทางยุทธศาสตร์ของโปแลนด์ ซึ่งได้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรในนามของหน่วยงานมายัง มธ. โดยตรง เพื่อที่จะบริจาควัคซีนดังกล่าว 

27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 วันสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง มหาวิทยาลัยเปิดเพื่อราษฎรแห่งแรก

27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 วันสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) (Thammasat University : TU) ชื่อเมื่อเริ่มก่อตั้งคือ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.)

ย้อนไปก่อนหน้านั้น พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.2476 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา นับเป็นมหาวิทยาลัยเปิดเพื่อราษฎรแห่งแรกตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎรและ ดร.ปรีดี พนมยงค์ โดยหลักที่ 6 กล่าวว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร”

ต่อมา วันที่ (27 มิถุนายน 2477) สมเด็จฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์รัชกาลที่ 7 เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีสถาปนา โดยมี ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ กล่าวรายงาน

ในปีแรก มีผู้สมัครเรียน 7,094 คน

สำนักหอสมุดได้รับการก่อตั้งในปีเดียวกัน แต่เปิดให้บริการได้ครั้งแรก เมื่อปี 2479 เดิมเป็นแผนกตำราและห้องสมุด

พ.ศ. 2480 มีการตราข้อบังคับให้เปิดชั้นเตรียมปริญญา โดยกำหนดให้รับผู้สอบไล่ได้ชั้นมัธยมบริบูรณ์เข้าศึกษา 2 ปี เพื่อเตรียมคนเข้าศึกษาหลักสูตร “ธรรมศาสตร์บัณฑิต”

อมธ. ประกาศใช้เพลงประจำมหาวิทยาลัย แทนเพลง ‘ยูงทอง’ ในทุกกิจกรรมของตนเอง

องค์การ นศ.ธรรมศาสตร์ เปิดผลประชามติ ประกาศใช้ “เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว” แทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย อมธ.

วันที่ (6 ก.ค. 65) องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประกาศผ่านเฟซบุ๊กว่า ... อมธ. ประกาศใช้ “เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว” แทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย อมธ.

เพื่อให้นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดกิจกรรม โดยเฉพาะในการเลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัย อันเป็นการแสดงออกที่สำคัญถึงอัตลักษณ์ การก่อกำเนิด และการเชิดชูประวัติศาสตร์การต่อสู้ของมหาวิทยาลัย

อมธ. จึงได้จัดทำแบบสำรวจประชามติของประชาคมธรรมศาสตร์ โดยเพลงที่เข้ารับการคัดเลือกมีจำนวนทั้งหมด 3 เพลง คือ เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว, มาร์ช มธก. และ เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง โดยจากผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 5,168 คน ได้เลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว กว่า 51.9%

‘ดีอีเอส’ ร่วมมือ มธ. เปิดศูนย์ Thammasat AI Center ต่อยอดความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์สู่คนรุ่นใหม่

(22 ก.ย. 65) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดพิธีเปิด ‘ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ หรือ ‘Thammasat AI Center’ เพื่อเป็นศูนย์กลางฝึกอบรม วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ให้คนรุ่นใหม่และผู้สนใจเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยมี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ให้เกียรติร่วมเปิดงาน พร้อมด้วย รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้บริหาร เยี่ยมชมบรรยากาศการเรียนการสอน AI ณ อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยีโลกเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มุ่งส่งเสริมองค์กรต่างๆ ในการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมีการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ การพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ พร้อมจัดตั้ง ‘กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม’ ซึ่งได้สนับสนุน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้ง ‘ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ หรือ Thammasat AI Center เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้และพัฒนาการวิจัยด้าน AI ร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ยกระดับศักยภาพและกระตุ้นการคิดค้นต่อยอดนวัตกรรม สร้างระบบนิเวศชุมชนใช้ AI เป็นเครื่องมือดำเนินธุรกิจ คาดว่ามูลค่าการตลาด AI ทั่วโลกจะสูงกว่า 15.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 565 ล้านล้านบาทในปี 2030 เพิ่มมูลค่าถึง 26% นำไปสู่โอกาสพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยในอนาคต

ด้าน รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการขับเคลื่อนโครงการใหม่ๆ พัฒนานวัตกรรม ความรู้ และทักษะด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดจัดตั้ง Thammasat AI Center มีเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ภาคธุรกิจ และบุคคลทั่วไป ตลอดจนเพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์ผลงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ให้โดดเด่น พร้อมยกระดับสู่ความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ รองรับการเปลี่ยนผ่านที่ท้าทายของประเทศไทยต้องก้าวสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต

ปัจจุบัน นอกจาก Thammasat AI Center แล้ว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังได้ริเริ่มโครงการใหม่ 3 โครงการได้แก่... 

1. โครงการ Medical Valley ต้นแบบศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา
2. โครงการ 88 sandbox ศูนย์การเรียนรู้ทักษะผู้ประกอบการแห่งอนาคต
3. โครงการ TU Metaverse ที่จะสร้าง Campus ที่ 5 ใน Metaverse พร้อมหลักสูตร AI ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก สอน Online และ Offline ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ กว่า 60 องค์กร พัฒนานวัตกรและวิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์ เสริมศักยภาพ AI ของประเทศ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิด 'ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์' คิดค้นนวัตกรรมสู่การพัฒนา 'เศรษฐกิจ-สังคม' ในอนาคต

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิด 'ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์' คิดค้นนวัตกรรมสู่การพัฒนา 'เศรษฐกิจ-สังคม' ในอนาคต

6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เหตุการณสังหารหมู่นักศึกษา หนึ่งในวันสุดอัปยศในประวัติศาสตร์ไทย

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า เป็นวันสุดอัปยศเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลและกลุ่มฝ่ายขวาหลายกลุ่มร่วมมือกันก่อการสังหารหมู่นักศึกษาและประชาชน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จุดเริ่มต้น สืบเนื่องจากเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้ทำให้รัฐบาลเผด็จการทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร พ้นจากอำนาจ และต้องเดินทางออกนอกประเทศพร้อมจอมพลประภาส จารุเสถียร และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร

แต่นับตั้งแต่กลางปี 2518 มีสัญญาณว่าเผด็จการทหารกลุ่มเดิมกำลังวางแผนที่กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง และในวันที่ 19 กันยายน 2519 จอมพลถนอม ที่ถูกขับไล่ออกนอกประเทศและลี้ภัยอยู่ที่สหรัฐฯ ได้เดินทางกลับประเทศไทยด้วยการบวชเป็นสามเณรเข้ามา โดยอ้างต่อสาธารณชนว่าตนจะอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ มิได้มุ่งแสวงหาอำนาจ และต้องการมาเยี่ยมบิดาที่ใกล้ถึงแก่กรรม

สามเณรถนอมออกจากสนามบินมุ่งตรงไปยังวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อเข้ารับการอุปสมบท แต่มวลชนจำนวนมากยังไม่เชื่อว่าสามเณรถนอมปรารถนาความหลุดพ้นจริงๆ (สุดท้ายเขาก็สึกในปีต่อมา ก่อนเรียกร้องให้รัฐบาลคืนทรัพย์สินของเขาที่ถูกยึดไปด้วยข้อหาทุจริต) จึงพากันออกมาประท้วง

แต่นักกิจกรรมถูกตอบโต้กลับอย่างรุนแรง ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2519 พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคถูกฆ่าแขวนคอขณะออกไปปิดใบประกาศประท้วงการกลับมาของถนอม จากนั้นในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นักศึกษาได้แสดงละครแขวนคอเพื่อประท้วงการใช้ความรุนแรง ซึ่งเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง และต่อต้านความพยายามใด ๆ ที่จะนำพาประเทศกลับสู่ระบบเผด็จการอีกครั้ง

วันต่อมา 'ดาวสยาม' หนังสือพิมพ์ฝ่ายขวาได้กล่าวหานักศึกษาที่แสดงละครแขวนคอว่าหมิ่นพระบรมโอรสาธิราช พร้อมด้วยข้อหาล้มสถาบันกษัตริย์ ภาพจากหนังสือพิมพ์ดาวสยาม (ซึ่งมีการถกเถียงกันว่ามีการตกแต่งภาพหรือไม่ และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับอื่นมีส่วนสมคบคิดกับดาวสยามหรือไม่) ถูกนำไปปลุกระดมให้ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มฝ่ายขวาอื่น ๆ เข้าปิดล้อมธรรมศาสตร์ ที่มีนักศึกษานับพันคนชุมนุมประท้วงกันอยู่

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 คือวันที่เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อกองกำลังติดอาวุธซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐอย่างตำรวจตระเวนชายแดน และลูกเสือชาวบ้านเป็นแกนนำได้ใช้กำลังเข้าทารุณกรรม และสังหารชีวิตของนักศึกษาอย่างไร้ปราณี ด้วยข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 46 ราย (บางแหล่งอ้างถึงหลักร้อยราย)

การที่กองกำลังตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งมิได้ประจำการอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เคลื่อนพลเข้ามากวาดล้างนักศึกษาในครั้งนี้ ทางรัฐบาลของนายเสนีย์ ปราโมช ยืนยันว่ามิได้เป็นผู้ออกคำสั่ง และยังอ้างว่าเขามิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการสังหารหมู่ โดยกล่าวว่า ทางรัฐบาลสั่งให้เจ้าหน้าที่จับกุมตัวนักศึกษาที่มีส่วนกับการแสดงละครแขวนคอเท่านั้น มิได้สั่งให้ยิงนักศึกษาแต่อย่างใด

เหตุสังหารหมู่ที่เกิดขึ้น กลายเป็นข้ออ้างให้ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ประกาศยึดอำนาจ พร้อมกล่าวประณามนักการเมือง และความไร้ประสิทธิภาพของระบอบประชาธิปไตย

19 มีนาคม พ.ศ.2533 วันสถาปนาคณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นับเป็นคณะแพทยศาสตร์ลำดับที่ 9 ของประเทศไทย

วันนี้ เมื่อ 33 ปีก่อน เป็นวันสถาปนา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นคณะแพทยศาสตร์ ลำดับที่ 9 ของประเทศไทย

นโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยมี ศ.ปรีดี พนมยงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีขณะนั้น จัดตั้งคณะกรรมการร่างโครงการจัดตั้งขึ้นชุดหนึ่ง และได้ดำเนินการอย่างจริงจังในสมัย ศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2526 ได้ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ประยุกต์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตแพทย์ และมอบหมายให้อธิการบดีดำเนินการตามนโยบาย

โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินตามแผนโดยการสร้างโรงพยาบาลขึ้น โดยศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีคำสั่ง ที่ 747/2529 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีศาสตราจารย์ สุธี นาทวรทัน เป็นประธานกรรมการ และ นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะนั้น เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ระดมทุนจากศิษย์เก่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบด้วยตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0203/126 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งอธิการบดีได้พบปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ขอดำเนินการโรงพยาบาลให้ครบ 1 ปีก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานของคณะแพทยศาสตร์ แล้วจึงจะดำเนินการเรื่องคณะแพทยศาสตร์ โดยมีการสานต่อในสมัย ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ. 2531

‘มธ.-ปตท.’ จับมือพัฒนาสถานีบริการ NGV ธรรมศาสตร์รังสิต เพิ่มพื้นที่สีเขียวพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ปตท.) พร้อมด้วยผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ปตท.ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีบริการ NGV ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต สู่แหล่งรวมบริการที่หลากหลายทั้งด้านพลังงานในอนาคต ศูนย์รวมสินค้าและบริการที่ตรงกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่สะดวกสบายเข้าถึงได้ง่าย ภายใต้แนวคิด ‘Greenity+’ ในรูปแบบการผสมผสานการใช้งานพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานสะอาด และการให้บริการและสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานในพื้นที่ (Mixed Used Station)

ซึ่งประกอบด้วย สถานีให้บริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ชนิดพิเศษ (NGV Plus Station) สถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า (Charging Station) พื้นที่ทำงานร่วมของนิสิตนักศึกษา (Co-working Space) และพื้นที่กลางแจ้งส่วนกลางที่มีความร่มรื่นจากพื้นที่สีเขียว (Outdoor Common Space) รวมถึงนำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลายทั้งร้านค้า ร้านอาหาร - เครื่องดื่ม ในรูปแบบทั้งไดร์ฟ-อิน (Drive-in) และ ไดร์ฟ-ทรู (Drive-through) เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้บริการที่ต้องการนั่งรับประทานอาหารในร้าน และผู้ใช้บริการที่ต้องการความสะดวกสบายในการรับอาหาร รวมถึงเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทาง และเป็นพื้นที่เรียนรู้เกี่ยวกับด้านพลังงานสะอาด โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2568 ด้วยงบประมาณ 105 ล้านบาท
 

'นักศึกษา มธ.' จี้!! คณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ. เบรก!! มือชี้ขาดชะตา 'พิธา' ห้ามมาเป็น อ.สอนพิเศษ

เมื่อวานนี้ (21 ก.ค. 66) จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์รับคำร้องกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคก้าวไกล สิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ จากที่มีชื่อถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น โดยมีมติ 7 ต่อ 2 เสียง สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

สำหรับ ตุลาการเสียงข้างน้อย 2 เสียง ในกรณีให้นายพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.หรือไม่นั้น ประกอบด้วย นายนภดล เทพพิทักษ์ กับ นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์

ขณะที่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีมติเสียงข้างมาก ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม, นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์, นายปัญญา อุดชาชน, นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม, นายวิรุฬห์ แสงเทียน, นายจิรนิติ หะวานนท์ และ นายอุดม รัฐอมฤต

ล่าสุด สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และ คณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีจดหมายเปิดผนึกถึง คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ขอให้ยุติการเชิญ นายอุดม รัฐอมฤต มาปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษ

เปิดประวัติ 'นายอุดม รัฐอมฤต' ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ถูกนักศึกษา มธ.แบน!! ไม่ให้มาเป็นอาจารย์สอนพิเศษ

🔍 เช็กประวัติ 'นายอุดม รัฐอมฤต' ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ถูกนักศึกษา มธ.แบน!! ไม่ให้มาเป็นอาจารย์สอนพิเศษ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top