Friday, 26 April 2024
ประชาชน

'เพื่อไทย' จี้รัฐเร่งส่งปัจจัย 4 ช่วยปชช. พร้อมเตรียมมาตรการเยียวยาหลังน้ำลด

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ (17 ต.ค. 65) ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.ชญาภา สินธุไพร รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ เช่น ที่ จ.อุบลราชธานี บางพื้นที่ปริมาณน้ำท่วมสูงกว่า 3-6 เมตร ประชาชนต้องออกจากบ้านมาอาศัยที่ศูนย์อพยพโดยไร้การช่วยเหลือที่เพียงพอ หรือล่าสุดที่ จ.กาฬสินธุ์ พนังกั้นลำน้ำชีขาด ทำให้กระแสน้ำท่วมไหลเข้าท่วม 4 หมู่บ้านของ อ.ฆ้องชัย ต้องเร่งอพยพประชาชนออกจากหมู่บ้านอย่างเร่งด่วน ที่ จ.ร้อยเอ็ด ถูกน้ำท่วมขังแล้ว 14 อำเภอ ที่ปริมาณน้ำในลำน้ำชี ลำน้ำมูล และลำน้ำข้างเคียง รวมถึงบางพื้นที่ถูกน้ำท่วมขังมาแล้ว 3 เดือน ขาดน้ำ อาหารและยารักษาโรค จนถึงวันนี้ยังไม่มีการเข้าไปดูแลช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเพียงพอ

ทั้งนี้ ปัญหาเดิมในเรื่องการดูแลทุกข์ของพี่น้องประชาชนที่ถูกน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานานนับเดือน และปัญหาใหม่ที่การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน แม่น้ำ และน้ำทุ่งที่ไม่ได้รับการดูใจ หรือดูแลแก้ไขอย่างดีพอของรัฐบาลที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ที่คาดการณ์สถานการณ์ผิดพลาด การบริหารจัดการน้ำ และการให้ความช่วยเหลือไม่เป็นที่พึ่งที่หวังให้กับพี่น้องประชาชนได้

น.ส.ชญาภา กล่าวต่อว่า พรรคเพื่อไทยเห็นใจและเข้าใจถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพี่น้องในจ.อุบลราชธานี ที่ถูกน้ำท่วมสูงที่สุดในรอบ 44 ปี น้ำท่วมจนมองไม่เห็นฝั่ง พื้นที่การค้าขาย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นถูกปิดตาย ไม่สามารถกลับมาได้ในเร็ววัน หลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางก็ล้วนได้รับความเดือดร้อนทั่วทุกหัวระแหง แต่พล.อ.ประยุทธ์เป็นผู้นำของประเทศยังเงียบหาย แม้ในวันเสาร์อาทิตย์ ยังคงเป็นวันหยุดที่นายกฯ ของประเทศ ทำตัวไม่รู้ร้อนรู้หนาว ทำงานเหมือนคนหมดไฟ ขณะที่ประชาชนต้องทนหนาวแช่น้ำท่วมที่ไม่รู้ปลายทางว่าน้ำจะลดลงเมื่อไหร่ และวันไหนที่จะมีภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ

'เพื่อไทย' จี้ รัฐฯ ปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย-ค่าครองชีพให้ประชาชน

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ส.ส.เลย กรรการบริหารและคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เร่งลดภาระของประชาชน ลดต้นทุนภาคธุรกิจจากภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงปัญหาราคาน้ำมัน ไฟฟ้าและก๊าซ พลังงานแพงเป็นสาเหตุเงินเฟ้อสูง ต้องเร่งปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ ล่าสุดผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันที่ต้องเสียภาษีตัวอาคารสถานีบริการน้ำมัน อาคารค้าปลีก ห้องน้ำและอื่น ๆ อยู่แล้ว และได้ขอให้ทบทวนการจัดเก็บภาษีบริเวณถนน ลาน รั้ว ซึ่งจะได้ช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจได้บ้าง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากกรรมการภาษี และกระทรวงมหาดไทย จึงเป็นกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐเลือกที่จะจัดเก็บภาษีในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม สร้างภาระให้กับภาคธุรกิจ

นายเลิศศักดิ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ต้นทุนสำคัญของภาคธุรกิจ เรื่องราคาน้ำมันโดยเฉพาะเรื่องราคาหน้าโรงกลั่นของไทย ที่มีราคาสูงกว่าราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ และสูงกว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่โรงกลั่นไทยส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการเอาเปรียบคนไทยที่ต้องซื้อราคาที่แพงกว่า ทั้งที่ต้นทุนการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางส่งมาไทยและส่งมาสิงคโปร์ก็เท่ากัน ประสิทธิภาพการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันของไทยกับสิงคโปร์ก็ใกล้เคียงกัน อีกทั้งโรงกลั่นไทยยังขยายการกลั่นเป็นแสน ๆ บาเรลต่อวันเพื่อส่งออก แสดงว่าราคาส่งออกก็ต้องกำไรมากแล้ว การคิดราคาหน้าโรงกลั่นไทยสูงกว่าราคาสิงคโปร์จึงเป็นการเอาเปรียบประชาชนไทยมากเกินไป 

‘ตรีชฎา’ เตือนคนปชป. ห่วงพรรคตัวเองก่อน ระวังซ้ำรอยปี 62 ไม่ได้ส.ส.กทม. สักที่เดียว

เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 65 น.ส.ตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า หลังจากที่ได้ชี้แจงกรณีที่นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เลขานุการประธานสภาฯ ที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าในช่วงที่พรรคไทยรักไทยจนถึงเพื่อไทยเป็นรัฐบาล มีการใช้นโยบายเลือกปฏิบัติ รวมถึงพาดพิงเหตุการณ์ที่ตากใบ กรือเซะนั้น ขอย้ำว่าที่ผ่านมานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้ออกมากล่าวแสดงความเสียใจและขอโทษพี่น้องชาวมุสลิมแล้ว แม้ไม่ได้สั่งการแต่ในตอนนั้นเป็นนายกฯ ก็ได้ขอโทษพี่น้องชาวมุสลิมอย่างจริงใจ ถือว่าเป็นการผิดพลาดในเรื่องของการลำเลียงผู้ต้องหา ซึ่งต้องแยกกันระหว่างการกำกับนโยบายและการปฏิบัติ ส่วนเรื่องการชดเชยญาติผู้สูญเสียนั้น นายทักษิณเห็นว่าควรได้รับการเยียวยา ซึ่งขณะนั้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็น ผบ.ทบ.เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งต้องเยียวยาครอบครัวของผู้เสียชีวิต

'สุทิน' ถามสด ต่างชาติซื้อที่ดิน 1 ไร่แลก 40 ลบ. คุ้มหรือ? ชี้!! นโยบายนี้เอื้อนายทุน - ซ้ำเติมประชาชนในชาติ

(3 พ.ย. 65) สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และประธานวิปฝ่ายค้าน ตั้ง #กระทู้สดด้วยวาจา กรณีมติคณะรัฐมนตรีแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยการได้มาที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ 

กระทู้สดด้วยวาจานี้ถามต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รองนายกรัฐมนตรีมาเป็นผู้ตอบกระทู้ 

สาระสำคัญคือ ชี้ชวนจูงใจให้ต่างชาตินำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่าคนละ 40 ล้านบาท เพื่อแลกกับการถือครองที่ดินได้คนละ 1 ไร่ โดยอ้างว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กรณีดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และวิตกกังวลสำหรับพี่น้องประชาชนคนไทยโดยทั่ว

การส่งเสริมให้คนต่างชาติถือครองที่ดิน คือการเปิดช่องให้ต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของที่ดินในขณะที่คนไทยกำลังอ่อนแอ เพราะคนไทยกว่าร้อยละ 80 ยังไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินสูงมากไปกระจุกอยู่กับนายทุนคนละหลายแสนไร่ และยังจะซ้ำเติมด้วยต่างชาติเข้ามาถือครองอีก เรื่องนี้ชาวบ้านวิตกกันถึงขั้นว่าเป็นการ ‘ขายชาติ’ 

แม้รัฐบาลในอดีตเคยทำ แต่ทำบนข้อจำกัดและความจำเป็น คือเมื่อปี 2542 และปี 2545 รัฐบาลไปกู้เงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ไอเอ็มเอฟกำหนด แต่ก็ออกกฎกระทรวงหรือมีมาตรการที่ระมัดระวัง รอบคอบและรัดกุม จนในที่สุดแล้วมีต่างชาติมาซื้อที่ดินเพียงแค่ประมาณ 7-8 ราย ก็ถือว่าเราไม่ได้เกิดการสูญเสียที่ดิน

แต่รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา อ้างว่าเพื่อความจำเป็นด้านเศรษฐกิจ อันมาจากวิกฤต เสมือนรัฐบาลยอมรับว่า วันนี้รัฐบาลได้จนมุมทางเศรษฐกิจ และจำเป็นแล้วที่ต้องใช้มาตรการนี้ หมายความว่าการเงินการคลังเรากำลังลำบาก ต้องรอแต่เงินต่างชาติอย่างเดียวแล้วหรือ? 

และที่รัฐบาลอ้างว่ามีมาตรการนั้น มาตรการดังกล่าวก็หละหลวมมาก คือที่อ้างว่าเปิดการลงทุนเพื่อให้ได้ผู้เชี่ยวชาญ ได้เงินลงทุน ได้เทคโนโลยี แต่ดูไปดูมา รัฐบาลนี้แค่อยากได้เงินเขาเท่านั้น เพราะแต่ละกลุ่มที่รัฐบาลเลือกมาคือ เศรษฐี ผู้เกษียณอายุ ซึ่งนี่ตรงกันข้ามกันกับที่บอกว่าอยากได้ผู้เชี่ยวชาญ ได้เทคโนโลยีได้การลงทุนสร้างงาน และมากกว่านั้น 

สุทินย้ำว่า เงินลงทุนแค่ 40 ล้านบาทคือ โอนเงินข้ามประเทศมาก็ได้ที่ดินเลย คนไม่ต้องมา โรงงานไม่ต้องมา เทคโนโลยีไม่ต้องมา นี่คือไม่ได้เกิดงานที่แท้จริง ไม่ได้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี แต่เอาเงินมา 40 ล้าน ครบ 3 ปีได้ดอกก็ถอนออกไป ตรงนี้อันตราย 

จึงเกิดข้อสงสัยถัดมาว่า จริงๆ แล้ว รัฐบาลเจตนาช่วยเหลือกลุ่มทุนที่วันที่ถือที่ดินไว้เต็มมือหรือไม่? บางรายมีที่ดินหลายแสนไร่ บางรายมีคอนโดมิเนียมนับหมื่นห้อง ซึ่งวันนี้ขายไม่ออก ตรงนี้เป็นแรงจูงใจหรือแรงผลักดันจากกลุ่มทุนหรือไม่ว่าให้ต่างชาติมาช่วยซื้อที่ดินซื้อบ้าน ดังนั้นจึงมีข้อสงสัยว่า รัฐบาลมีเจตนาหรือไม่เจตนาที่จะเอื้อกฎหมายนี้ให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มนายทุนใหญ่ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง คนได้ประโยชน์คือทุนใหญ่ คนเสียประโยชน์คือชาวบ้าน 

วันนี้ พรรคเพื่อไทย จึงตั้งกระทู้ เพื่อถามนายกรัฐมนตรีว่า

1.) คณะรัฐมนตรีมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลอะไรที่หนักหนาสาหัส ถึงขนาดต้องมีมติคณะรัฐมนตรีแบบนี้ออกมา

'ซูเปอร์โพล' เผยผลสำรวจ 'ผู้แทนราษฎรกับความหวังใหม่' ชี้!! ประชาชนยังมีหวัง ผู้แทนฯ ใหม่ทำหน้าที่ที่ดีในสภาฯ

เมื่อวานนี้ (15 ม.ค. 66) ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ผู้แทนราษฎร กับ ความหวังใหม่ กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่าง 1,137 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 12 - 13 มกราคม 2566

เมื่อถามถึง ความเข้าใจของประชาชนต่อ หน้าที่ของ ผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พบว่า ร้อยละ 51.0 ระบุผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. มีหน้าที่อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล

ร้อยละ 44.9 ระบุ เห็นชอบกฎหมาย

ร้อยละ 32.7 ระบุ พิจารณากฎหมาย

ร้อยละ 30.3 ระบุ พิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี

ร้อยละ 28.7 ระบุ เสนอกฎหมาย

ร้อยละ 23.7 ระบุ ช่วยเหลือ งานศพ งานบวช พบปะประชาชน ในงานต่าง ๆ

ร้อยละ 21.6 ระบุ ตั้งคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ

ร้อยละ 14.8 ระบุ เห็นชอบ แต่งตั้งบุคคลนายกรัฐมนตรี

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่าที่น่าพิจารณาคือประชาชนเข้าใจว่า หน้าที่ของผู้แทนราษฎรคือช่วยเหลืองานศพ งานบวช พบปะประชาชนในงานต่าง ๆ มีสัดส่วนมากกว่าหน้าที่ในการเห็นชอบตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประเด็นที่ควรมีการพิจารณาเสริมสร้างความเข้าใจของประชาชนให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ส่วนในประเด็นต้นตอความเสื่อมศรัทธาของประชาชน ต่อสภาผู้แทนราษฎร 

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.8 ระบุ ความเสื่อมของ ส.ส. หรือผู้แทนราษฎร คือ สภาล่มซ้ำซาก แจกกล้วย พฤติกรรมไม่เหมาะสม ดูหนังโป๊ในสภา เสียบบัตรแทนกัน

ร้อยละ 91.9 ระบุ รัฐสภาไม่เป็นต้นแบบของความรักความสามัคคีของคนในชาติ แบ่งขั้ว แบ่งข้างมุ่งแต่หาผลประโยชน์

ร้อยละ 91.0 ระบุ ผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. ต้นตอทุจริต แสวงหาผลประโยชน์ จากการประมูลโครงการต่าง ๆ

ร้อยละ 90.5 ระบุ ความเป็น ส.ส. หรือ ผู้แทนราษฎร เป็น สมบัติประจำตระกูลสืบทอดต่อ ๆ กันได้

ผู้แทนราษฎรที่ประชาชนคาดหวังทำหน้าที่ ส.ส.ที่ดีในสภาผู้แทนราษฎร พบว่า

ร้อยละ 54.9 ระบุ นาย เอกสิทธิ์ คุณานันทกุล, นาย ธนกร วังบุญคงชนะ, นางวลัยพร รัตนเศรษฐ จากพรรคพลังประชารัฐ

ร้อยละ 54.0 ระบุ นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์, นายอิสรพงษ์ มากอำไพ, น.ต.สุธรรม ระหงษ์ จากพรรคประชาธิปัตย์

‘บี พุทธิพงษ์’ ห่วง ปชช. หลังค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่ง!! แนะ สวมหน้ากากอนามัย - ออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น

‘พุทธิพงษ์’ เตือนประชาชนดูแลสุขภาพ!! หลังค่า PM 2.5 พุ่งสูงมาก ให้กำลังใจคนกรุงเทพฯ-เชียงใหม่สู้ฝุ่นพิษ

(2 ก.พ. 66) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ หัวหน้าทีม กทม. พรรคภูมิใจไทย โพสต์เฟซบุ๊กถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ระบุข้อความว่า…

วันนี้…คงต้องเตือนทุก ๆ ท่านครับ ให้ระวังสุขภาพ ตื่นเช้ามารู้สึกได้ว่าเหมือนจะเป็นหวัด พอตรวจสภาพอากาศและเห็นจากการรายงานของไทยรัฐออนไลน์ ค่าฝุ่นวันนี้สูงมากและน่าจะหนักขึ้นตลอดทั้งวัน ขอให้กำลังใจคนกรุงเทพฯ และเชียงใหม่นะครับ ดูแลสุขภาพ ถ้าไม่จำเป็นก็ควรเลี่ยงออกไปข้างนอก แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรใส่หน้ากากอนามัย คงจะช่วยได้บ้างนะครับ ดูแลสุขภาพกันด้วยครับ #ชีวิตคนเมือง #เราผ่านอะไรด้วยกันมาเยอะ

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล ประชาชนต้องการ” จุรินทร์ “ ถึง 84.6 เปอร์เซ็นต์

เมื่อวันที่ 11 มี.ค. สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เปิดเผยผลสำรวจความเห็นประชาชน 1,102 คน ระหว่างวันที่ 5-10 มี.ค. เรื่อง “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” พบว่าสิ่งที่ประชาชนต้องการคือ  84.6 เปอร์เซ็นต์ ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังการเลือกตั้ง ส่วน 15.4 เปอร์เซ็นต์ ระบุอย่างเดิมดีอยู่แล้ว เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นพบว่า 81.5  เปอร์เซ็นต์ เชื่อมั่นว่า นายชวน หลีกภัย จะช่วยพรรคประชาธิปัตย์ได้ 62.5 เปอร์เซ็นต์ เชื่อมั่นว่า นายบัญญัติ บรรทัดฐาน จะช่วยพรรคประชาธิปัตย์ได้ 84.5 เปอร์เซ็นต์ เชื่อมั่นว่า นายจุรินทร์ รวมพลังกับ นายชวน และนายบัญญัติ จะช่วยพาพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลอีกหลังการเลือกตั้ง ทั้งนี้ประชาชน 74.6  เปอร์เซ็นต์ ระบุพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ เป็นพรรคเก่าแก่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข...

 

เมื่อถามถึงผลงานเด่นของนายจุรินทร์ 80.9 เปอร์เซ็นต์ ระบุ คือประกันรายได้เกษตรกร พืชเศรษฐกิจ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง 62.3 เปอร์เซ็นต์ คือส่งออกการค้าระหว่างประเทศ สร้างรายได้ให้ประเทศและประชาชน และ 61.5 เปอร์เซ็นต์ การค้าชายแดน

เปิด 10 รายชื่อในดวงใจ ที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในศึกเลือกตั้ง 2566

19 มี.ค. 2566 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 1” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-8 มีนาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 1 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 38.20 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 15.75 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 15.65 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 9.45 ระบุว่า ยังหาคนที่ เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 5 ร้อยละ 5.10 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) อันดับ 6 ร้อยละ 4.45 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) อันดับ 7 ร้อยละ 2.35 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 8
ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) อันดับ 10 ร้อยละ 1.40 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) อันดับ 11 ร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ และร้อยละ 3.35 

ระบุอื่น ๆ ได้แก่ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายเศรษฐา ทวีสิน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) 

‘อดีตผู้ว่าการ ธปท.’ เศร้าใจ!! หลังหลายพรรคออกนโยบาย ไร้ความรับผิดชอบต่อ ปชช.

“เห็นนโยบายไร้ความรับผิดชอบแบบนี้แล้วเศร้าใจค่ะ นอกจากการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็นแล้ว ยังเป็นการสร้างนิสัยให้ประชาชนขาดวินัยทางการเงิน คอยแต่จะแบมือรับ แทนที่จะติดอาวุธให้ประชาชนมีทักษะ มีความสามารถในการยกระดับความเป็นอยู่ของตัวเองให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน มากกว่าเงินช่วยเหลือจากนักการเมือง” นางธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าว

 

ตำรวจไซเบอร์ แนะนำประชาชนสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนที่สถาบันการเงิน ตัดวงจรภัยออนไลน์

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์แนะนำประชาชนให้ดำเนินการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนกับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อตัดวงจรการกระทำผิดของมิจฉาชีพ ป้องกันภัยทางการเงินออนไลน์ ดังนี้

ตามที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการประกาศเผยแพร่ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ซึ่งกำหนดให้มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 17 มี.ค.66 ที่ผ่านมาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน คุ้มครองประชาชนซึ่งถูกหลอกลวงจนสูญเสียทรัพย์สิน ผ่านทางโทรศัพท์ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์จากมิจฉาชีพ โดย พ.ร.ก. ดังกล่าวมีสาระสำคัญ เช่น สถาบันการเงินมีอำนาจและหน้าที่ยับยั้งธุรกรรมทางการเงินที่ต้องสงสัย ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องและเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิด  ผู้เสียหายสามารถแจ้งธนาคารเพื่ออายัดเงินในบัญชีด้วยความรวดเร็ว  ผู้เสียหายสามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ทั่วราชอาณาจักร และมีบทกำหนดโทษสำหรับผู้รับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีเงินฝาก รวมไปถึงการซื้อขายเลขหมายโทรศัพท์ ซึ่งลงทะเบียนแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมามีการกวาดล้างอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจับกุมผู้กระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีปฏิบัติที่สำคัญเข้าทำการตรวจค้นทั่วประเทศกว่า 40 จุด สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้หลายราย ตรวจยึดซิมโทรศัพท์ของกลางได้รวมกว่า 110,000 ซิม เพื่อตัดวงจรการครอบครองซิมโทรศัพท์มือถือของมิจฉาชีพนำไปใช้หลอกลวงประชาชน

ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กำหนดแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้ทำสถาบันการเงินปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน ภายใต้มาตรการการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ลดช่องทางของมิจฉาชีพที่ใช้ในการเข้าถึงประชาชน ซึ่งมีมาตรการที่สำคัญ คือ 1.มาตรการป้องกัน 2.มาตรการตรวจจับและติดตามบัญชี หรือธุรกรรมที่ต้องสงสัย 3.มาตรการตอบสนองและรับมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านมาตรการป้องกัน เช่น การยกเลิกการแนบ link ทางข้อความสั้น (SMS) และอีเมล  การปรับปรุงระบบการรักษาความปลอดภัยบน Mobile Banking ให้เป็นปัจจุบัน และการให้ประชน หรือลูกค้าทำการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมการเงินผ่าน Mobile Banking ในกรณีการเปิดบัญชีแบบไม่เห็นใบหน้า (non-face-to-face)  กรณีการโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปต่อครั้ง กรณียอดรวมของการโอนเงินทุก 200,000 บาทต่อวัน และกรณีการเปลี่ยนวงเงินในการทำธุรกรรม ซึ่งกำหนดให้แล้วเสร็จในเดือน มิ.ย.66 นั้น  

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ในการปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับการให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร และซื้อขายหมายเลขโทรศัพท์โดยผิดกฎหมาย ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมประเภทดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถยับยั้งความเสียหายได้ทันท่วงที รวมถึงสร้างการรับรู้ให้กับภาคประชาชนเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา บช.สอท. ยังคงมุ่งหน้าปราบปรามจับกุมอาชญากรไซเบอร์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งนี้ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ถือเป็นกฎหมายที่สำคัญ ที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันผลักดัน และวางมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญของการหลอกลวงออนไลน์ ทำให้ภัยจากอาชญากรรมออนไลน์ลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามฝากประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนเตรียมความพร้อมและเร่งดำเนินการเข้าไปยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้าที่สถาบันการเงิน หรือธนาคารสาขาต่างๆ หรือตามช่องทางที่ธนาคารนั้นได้กำหนดเอาไว้ เพื่อให้การทำธุรกรรมการเงินไม่ติดขัด เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และเพื่อเป็นการตัดวงจรการกระทำผิดของมิจฉาชีพก่อนจะนำเอาทรัพย์สินของประชาชนหลบหนีไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top