Thursday, 2 May 2024
WHO

เอกสารองค์การอนามัยโลกชี้ มีการเพิ่มชื่อ โรงงานของสยามไบโอไซเอนซ์ เป็นสถานที่ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้ว 

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และที่ปรึกษา ศบค. โพสต์เอกสาร ซึ่งเนื้อหาระบุว่าเป็นเอกสารจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ นายโรจิริโอ กาสปาร์ ผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมและกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้น ส่งถึง นางเอตเลวา คาดิลิ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหาของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา

เพื่อแจ้งเรื่อง การเพิ่มโรงงานผลิตวัคซีนใช้ในกรณีฉุกเฉิน ที่เสนอโดยแอสตร้าเซนเนก้า ภายใต้ขั้นตอนรับรองกรณีใช้ฉุกเฉิน (EUL) จาก WHO โดยระบุว่า

เรายินดีที่จะแจ้งให้คุณทราบถึงข้อเสนอแนะ เรื่องสถานที่ผลิตทางเลือกของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าคือ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งคำแนะนำนี้อ้างอิงตามข้อมูลที่ตรวจสอบโดย WHO และหน่วยงานบริหารสินค้ารักษาโรคออสเตรเลีย (TGA) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลวัคซีนชนิดนี้

สยามไบโอไซเอนซ์ ได้ถูกเพิ่มลงในรายชื่อสถานที่ผลิตทางเลือกของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ EUL ที่บริษัทได้รับอนุญาต โดยที่หน้าเว็บ WHO EUL จะมีการอัปเดต เพื่อรวมสถานที่ผลิตวัคซีนแห่งนี้ด้วย

ทั้งนี้ ทาง “ประชาชาติธุรกิจ” สอบถามไปทางตัวแทน แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ยืนยันว่าเป็นเอกสารจริง โดยหลังจากนี้จะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการต่อไป

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเว็บ WHO EUL พบข้อมูลอัปเดตถึงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยโรงงานที่ได้รับการรับรองจาก WHO ให้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าใช้ในกรณีฉุกเฉิน ได้แก่ โรงงานขององค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เท่านั้น

เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้าเผย 100 ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์ระดับโลกร่วมลงชื่อ กระตุ้น WHO เปลี่ยนจุดยืนเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า

ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขระดับโลกกว่า 100 รายร่วมกันลงชื่อในจดหมายที่ส่งไปยัง WHO เพื่อเรียกร้องให้แก้ไขจุดยืนเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ชี้ไทยยังคงปฏิเสธทางเลือกของผู้สูบบุหรี่ด้วยอคติและการไม่ยอมรับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ พร้อมเรียกร้องไทยสร้างความโปร่งใสในการพิจารณานโยบายเกี่ยวกับยาสูบและบุหรี่ไฟฟ้า

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ” นำโดยนายอาสา ศาลิคุปต และนายมาริษ กรัณยวัฒน์ สองแอดมินเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 100,000 คน เปิดเผยว่า “ผู้เชี่ยวชาญอิสระที่ทำงานด้านการวิจัยและพัฒนานโยบายเกี่ยวกับยาสูบกว่า 100 คน กำลังมีความกังวลเกี่ยวกับจุดยืนขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO ที่ยังคงมองข้ามศักยภาพของบุหรี่ไฟฟ้าในการช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ จึงได้ร่วมกันลงชื่อเพื่อเรียกร้องให้ WHO สนับสนุนและรวมเอาหลักการลดอันตราย (Harm Reduction) เข้าไปไว้ในกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบด้วย”

ในจดหมายที่ 100 ผู้เชี่ยวชาญร่วมกันลงชื่อ เผยว่ามีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องว่าบุหรี่ไฟฟ้าอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูบบุหรี่ลดหรือเลิกการสูบบุหรี่ได้ อีกทั้งยังเป็นการช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG 3.4 ที่มุ่งลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อของประชากรโลก นอกจากนี้ ในจดหมายยังได้ ระบุข้อเรียกร้อง 6 ประการ ได้แก่ 1) ให้ WHO และประเทศสมาชิกสนับสนุนแนวทางการลดอันตราย 2) การพิจารณานโยบายของ WHO ต้องมีความครอบคลุมเหมาะสม ทั้งกับผู้สูบบุหรี่ ผู้ไม่สูบบุหรี่ และการป้องกันเยาวชนจากความเสี่ยงในการใช้บุหรี่ไฟฟ้า 3) การจะแบนบุหรี่ไฟฟ้าต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่จะตามมาอย่างไม่ตั้งใจด้วย 4) ใช้มาตรา 5.3 ของ FCTC อย่างเหมาะสม 5) การประชุม FCTC ควรเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อสร้างความโปร่งใส และ 6) ริเริ่มการทบทวนอย่างเป็นอิสระต่อแนวทางของ WHO และ FCTC

นายอาสากล่าวว่า “การแบนบุหรี่ไฟฟ้าตลอด 7 ปีที่ผ่านมาของประเทศไทย เป็นตัวอย่างของความล้มเหลวในการควบคุมยาสูบ การปฏิเสธนวัตกรรม และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้บริโภค จนทำให้ผู้สูบบุหรี่ยังคงได้รับอันตรายจากควันบุหรี่ต่อไป พอมีใครเสนอให้พิจารณาหาทางควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าใหม่ กลุ่มรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ในประเทศไทยมักจะอ้าง WHO โดยไม่พิจารณาว่าหน่วยงานสาธารณสุขชั้นนำของโลก เช่น สาธารณสุขอังกฤษ สาธารณสุขนิวแลนด์ ยูเอสเอฟดีเอ ต่างก็มีจุดยืนที่ส่งเสริมการลดอันตรายและการใช้บุหรี่ไฟฟ้าทดแทนการสูบบุหรี่เพื่อลดอันตรายให้กับผู้ที่จะสูบบุหรี่ต่อไป ในขณะที่ป้องกันการเข้าถึงของเด็กเยาวชนควบคู่กัน”

จดหมายฉบับดังกล่าวทำขึ้นก่อนการจัดการประชุมภาคีสมาชิกกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ ครั้งที่ 9 (FCTC COP9) ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและรัฐบาลของหลายๆ ประเทศเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ระหว่างวันที่ 8-13 พฤศจิกายน และอาจจะมีการพิจารณามาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยงในการประชุมครั้งนี้

WHO คาด!! ระลอกใหม่โควิดในยุโรป อาจดับลมหายใจชาวยุโรปร่วม 7 แสนราย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอนามัยโลก หรือ WHO (The World Health Organization) แถลงคาดการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในภูมิภาคยุโรป เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า อาจจะส่งผลทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตรายใหม่มากกว่า 7 แสนรายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ยุโรปมีจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 2.2 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากตัวเลขผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมในขณะนี้ 1.5 ล้านราย อันเป็นผลจากการที่จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ทะยานพุ่งสูงขึ้นทั่วทั้งทวีป จนเป็นเหตุให้บางประเทศต้องกลับไปใช้มาตรการเข้มงวดอีกครั้ง

รายงานข่าวแจ้งว่า การออกมาประมาณการครั้งนี้ เพิ่มตัวเลขจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ของผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรป ที่ออกมาระบุว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในยุโรป อาจทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตมากถึง 5 แสนราย ภายในเดือนมีนาคมปีหน้า (2565)

WHO ไม่แนะนำใช้พลาสมารักษาผู้ป่วยโควิด ชี้ ควรใช้เฉพาะการทดลองทางคลินิกเท่านั้น

การรักษาโควิด-19 โดยใช้พลาสมาจากเลือดของคนไข้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หายป่วยแล้ว ไม่ควรใช้กับผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อยหรือปานกลาง จากคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในวันอังคาร (7 ธ.ค.) และกระทั่งกับผู้มีอาการหนัก ก็ควรใช้เฉพาะในการทดลองทางคลินิก

“คอนวาเลสเซนต์ พลาสมา” (Convalescent Plasma) หรือพลาสมาจากเลือดที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน แสดงสัญญาณในด้านดีในเบื้องต้น ครั้งที่ถ่ายพลาสมาแก่ผู้ป่วยโควิด-19

US-WHO ข้อมูลตรงกัน เคส 'โอมิครอน' พบอาการป่วยแค่เล็กน้อย เบากว่าเชื้อ 'เดลตา'

รายงานฉบับหนึ่งจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (CDC) ระบุว่าเคสผู้ติดเชื้อตัวกลายพันธุ์โอมิครอนกลุ่มแรก ๆ ในสหรัฐฯ เกือบทั้งหมดมีอาการเล็กน้อย ส่วนใหญ่แค่ไอหรือน้ำมูกไหล สอดคล้องกับข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่บอกว่า แม้โอมิครอนจะแพร่เชื้อง่ายกว่าตัวกลายพันธุ์เดลตา และลดประสิทธิภาพของวัคซีน แต่ก่ออาการเบากว่า

การค้นพบของซีดีซีที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ (10 ธ.ค.) มอบเบาะแสในเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวกลายพันธุ์โควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง ซึ่งเวลานี้พบแล้วอย่างน้อย 25 รัฐทั่วอเมริกา แม้พวกผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำว่ายังเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปอย่างชัดเจนว่าแนวโน้มการแพร่ระบาดของมันในประเทศแห่งนี้จะออกไปในทิศทางไหน

รายงาน 5 หน้าของซีดีซีเป็นการสังเกตอาการคนไข้ 43 รายในสหรัฐฯ ที่ยืนยันว่าติดเชื้อตัวกลายพันธุ์โอมิครอน โดยมากกว่าครึ่งเป็นคนหนุ่มสาว อายุระหว่าง 18 ถึง 39 ปี และในนั้นมีที่ป่วยหนักถึงขั้นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพียงคนเดียว

ข้อมูลของซีดีซีระบุด้วยว่า ในบรรดาผู้ติดเชื้อนั้นมากกว่า 3 ใน 4 เป็นคนที่ฉีดวัคซีนครบเข็มแล้ว และในนั้น 1 ใน 3 ยังฉีดเข็มกระตุ้นแล้วด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังมีอยู่ 6 รายเคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน และ 1 ใน 3 เร็ว ๆ นี้เคยเดินทางไปยังต่างประเทศ

ในรายงานระบุว่า อาการที่พบเห็นได้ทั่วไปคือไอ เหนื่อยล้า และคัดจมูกหรือน้ำมูกไหล

มีคนไข้ที่ฉีดวัคซีนแล้วรายหนึ่งอาการหนักถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ใช้เวลาพักรักษาตัวเพียง 2 วัน และไม่มีรายงานการเสียชีวิต

การค้นพบนี้เป็นไปตามกรอบข้อมูลในเบื้องต้นจากแอฟริกาใต้ ซึ่งแพทย์บางส่วนระบุว่าตัวกลายพันธุ์ใหม่นี้ดูเหมือนจะก่ออาการเบากว่าในคนไข้ที่ติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม ในรายงานได้มีคำเตือนบางอย่าง โดยซีดีซีชี้ว่า มันอาจต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ก่อนอาการรุนแรงจะปรากฏขึ้นในบรรดาผู้ติดเชื้อบางคน แต่คาดการณ์ว่าบุคคลที่ฉีดวัคซีนแล้วจะมีอาการเบากว่า เช่นเดียวกับบุคคลที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มาก่อน

แพทย์หญิงโรเชลล์ วาเลนสกี ผู้อำนวยการซีดีซีให้คำจำกัดความรายงานดังกล่าวว่าเป็น "จุดเริ่มต้น" พร้อมระบุเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐบาลกลางจะเดินหน้าติดตามตัวกลายพันธุ์โอมิครอนอย่างใกล้ชิด ในขณะที่พวกผู้เชี่ยวชาญเตือนว่ายังเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปใด ๆ

WHO ยัน ‘วัคซีนจีน’ มีประสิทธิภาพพอ ช่วยป้องกันการป่วยหนักจาก โอมิครอน

ผู้เชี่ยวชาญ WHO ชี้ Sinovac - Sinopharm ช่วยป้องกันการป่วยหนัก - เสียชีวิตจาก Omicron

เว็บไซต์ข่าว South China Morning Post และ The National รายงานว่าดร.อับดี มาฮามุด จากฝ่ายจัดการด้านโรคอุบัติใหม่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า วัคซีนโควิด-19 ของ Sinopharm และ Sinovac .
สามารถป้องกันการป่วยหนักเข้าโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้

มาฮามุด กล่าวว่า แม้ว่าโอมิครอนจะสามารถหลบเลี่ยงแอนติบอดีทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วมีโอกาสติดเชื้อได้ แต่มีหลักฐานว่าวัคซีนยังคงป้องกันอาการเจ็บป่วยรุนแรง การรักษาในโรงพยาบาล และการเสียชีวิต รวมถึงวัคซีนชนิดเชื้อตายของ Sinopharm และ Sinovac

‘องค์การอนามัยโลก’ ชี้!! การระบาดใกล้ถึงจุดสิ้นสุด หลัง Omicron ส่อแวว!! ทำระบาดใหญ่ยุโรปจบลง 

ฮันส์ คลูจ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรป กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ในยุโรปกำลังเข้าสู่ระยะใหม่ ซึ่งอาจนำมาสู่จุดจบของการแพร่ระบาดในยุโรป 

“เป็นไปได้ว่ายุโรปกำลังก้าวเข้าสู่จุดสิ้นสุดของโรคระบาด”

คลูจ กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีโดยเสริมว่าโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนสามารถแพร่เชื้อให้กับชาวยุโรปถึง 60% ภายในเดือนมี.ค. 65

นอกจากนี้ เมื่อยุโรปผ่านการแพร่ระบาดของเชื้อโอมิครอนระลอกรุนแรงนี้ไปได้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าโลกจะมีภูมิคุ้มกันหมู่ไปอีกหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ไม่ว่าจะด้วยวัคซีนหรือการติดเชื้อ และการแพร่ระบาดจะลดลงตามฤดูกาลด้วย

“เราคาดว่าจะมีช่วงเวลาที่เงียบสงบช่วงหนึ่ง ก่อนที่โควิด-19 จะกลับมาแพร่ระบาดอีกในช่วงปลายปีนี้ แต่อาจไม่ได้กลับมาในรูปแบบของโรคระบาดใหญ่ (Pandemic)” คลูจกล่าว

ขณะที่องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคแอฟริกาได้กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตในภูมิภาคลดลงเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เผชิญกับการแพร่ระบาดระลอกที่ 4 ซึ่งเชื้อโอมิครอนทำให้การแพร่ระบาดถึงจุดพีก

ผู้อำนวยการ WHO เตือนระวัง 'อันตราย' หากทึกทัก 'โอมิครอน' คือจุดจบโควิดระบาด

ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนในวันจันทร์ (24 ม.ค.) เป็นเรื่องอันตรายหากทึกทักว่าตัวกลายพันธุ์โอมิครอนเป็นลางแห่งจุดจบระยะเฉียบพลันของโควิด-19 เร่งเร้าประเทศต่างๆ ให้ยังคงมุ่งสมาธิในการเอาชนะโรคระบาดใหญ่

"มันอันตรายหากทึกทักว่าโอมิครอนจะเป็นตัวกลายพันธุ์สุดท้ายและเราอยู่ในช่วงท้ายเกม" ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก บอกกับที่ประชุมคณะกรรมการบริหารชุดหนึ่งขององค์การอนามัยโลก ในเรื่องของโรคระบาดใหญ่ที่ยืดเยื้อมากว่า 2 ปีและคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วเกือบ 6 ล้านราย "ในทางตรงกันข้าม ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั่วโลก เหมาะสำหรับตัวกลายพันธุ์ต่างๆ จะปรากฏเพิ่มเติม"

คำเตือนนี้ดูจะสวนทางกับความเห็นของดร.ฮานส์ คลูก ผู้อำนวยการภาคพื้นยุโรปขององค์การอนามัยโลก ที่ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพีเมื่อวันอาทิตย์ (23 ม.ค.) ว่าตัวกลายพันธุ์โอมิครอนได้ผลักให้โควิด-19 เคลื่อนเข้าสู่ขั้นใหม่ และอาจนำมาซึ่งจุดจบของโรคระบาดใหญ่ในยุโรป

คลูกกล่าวว่า "เมื่อครั้งระลอกการแพร่ระบาดของโอมิครอนที่กำลังเล่นงานทั่วยุโรปในปัจจุบันเบาบางลง โลกจะมีภูมิคุ้มกันหมู่หลายสัปดาห์และหลายเดือน ซึ่งเป็นผลจากการฉีดวัคซีนหรือเพราะคนมีภูมิคุ้มกันแล้วจากการติดเชื้อ และการแพร่ระบาดจะลดลงตามฤดูกาลเช่นกัน"

"เราคาดหมายว่าจะมีช่วงเวลาที่เงียบเชียบช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่โควิด-19 อาจกลับมาอีกในช่วงปลายปี แต่มันไม่จำเป็นที่มันจะกลับมาในรูปแบบของโรคระบาดใหญ่" คลูกกล่าว

แม้โอมิครอนโหมกระพือเคสผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นแตะระดับเกือบ 350 ล้านคน แต่มันส่งผลกระทบถึงตายน้อยกว่าและอัตราการฉีดวัคซีนในระดับสูง นำมาซึ่งมุมมองในแง่บวกว่าบางพื้นที่อาจผ่านพ้นสถานการณ์เลวร้ายของโรคระบาดใหญ่ไปแล้ว

ศบค. เผย WHO ห่วงที่หลายประเทศผ่อนคลายกิจการ กิจกรรมมากเกินไป หวั่นยอดติดเชื้อทำยอดตายพุ่ง

ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์โควิด-19ในประเทศไทยตอนหนึ่งว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ห่วงที่หลายประเทศที่กำหนดนโยบายผ่อนคลายโควิด19 มากจนเกินไป โดยให้เหตุผลว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดอีกต่อไป ซึ่ง WHO ค่อนข้างเป็นห่วง

จึงออกมาย้ำเตือนว่าการแพร่ระบาดที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นนั้นจะหมายถึงมียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโอมิครอนที่รายงานที่แรกที่แอฟริกาเมื่อ 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั่วโลกมียอดติดเชื้อไปแล้ว เกิน 90 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งปีของปี 63 จึงมีทิศทางที่ไม่เห็นด้วยกับการผ่อนคลายมากเกินไป ซึ่งประเทศที่ผ่อนคลายชัดเจนคือ เดนมาร์ก ที่เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมาได้ยกเลิกมาตรการสาธารณสุขที่จำเป็นหลายอย่าง ทั้งเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ รวมทั้งในแง่การดำเนินชีวิตมีการกำหนดว่า

ส่องหลายประเทศ เริ่มคลายล็อก-ใช้ชีวิตกับโควิดเร็ว ความน่ากังวล ‘ยอดป่วย-ตาย’ ขยับหวนคืน

ปัจจุบันหลายประเทศกำลังผ่อนคลายมาตรการคุมโควิด เพื่อให้ผู้คนใช้ชีวิตปกติ ล่าสุดนิวซีแลนด์ประกาศเปิดประเทศ ยกเลิกกักตัวคนเดินทาง ส่วนบริษัทใหญ่เกาหลีใต้ขอให้พนักงานตรวจหาเชื้อก่อนมาทำงาน หรืองดมาทำงาน 2 สัปดาห์ ขณะที่บังกลาเทศขยายการปิดโรงเรียนต่อไปอีก เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

แม้ในความเป็นจริง การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 จะยังคงดำรงอยู่ แต่ขณะนี้มีหลายชาติเพิ่มมากขึ้นที่ผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนกลับไปใช้ชีวิตด้วยการปาร์ตี้ในไนต์คลับ นั่งดูภาพยนตร์ติดกัน และไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะอีกครั้ง

แนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งประเทศจำนวนมากค่อยๆ ผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิด ท่ามกลางความหวังว่าการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอนน่าจะผ่านช่วงสูงสุดไปแล้ว ซึ่งอาจถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งหนึ่งหลังการแพร่ระบาดที่ยาวนานเกือบสองปี และอาจนำไปสู่การรับมือกับโควิดในวิธีเดียวกับการแพร่ระบาดของไข้หวัด

ยุโรปซึ่งเป็นศูนย์กลางของการแพร่ระบาดมานานหลายเดือน มีการประกาศผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มมากที่สุด ไม่ว่าจะในอังกฤษ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงหลายประเทศที่ได้ยุติหรือผ่อนคลายมาตรการคุมเข้ม เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ ที่หลายเมืองได้มีการยุติคำสั่งให้ผู้คนต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนหรือการสวมใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ แต่ยังบังคับให้มีการสวมใส่หน้ากากอนามัยในโรงเรียนและระบบขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมทั่วโลกมากกว่า 370 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5.6 ล้านคน

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า รัฐบาลนิวซีแลนด์ประกาศยกเลิกข้อบังคับให้ผู้คนเข้ารับการกักตัวเมื่อเดินทางมาถึงนิวซีแลนด์รวมถึงเปิดประเทศอีกครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับเสียงตอบรับด้วยความยินดีจากชาวนิวซีแลนด์หลายพันคนที่ยังคงติดค้างอยู่ในต่างประเทศ และเฝ้ารอที่จะเดินทางกลับบ้าน ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโควิด-19 นิวซีแลนด์กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบังคับใช้มาตรการควบคุมชายแดนที่เข้มงวดมากที่สุด โดยผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศจะต้องกักตัวในโรงแรมที่กำกับดูแลโดยทหารเป็นเวลา 10 วัน

ขณะที่บริษัทใหญ่ในเกาหลีใต้บางแห่งใช้มาตรการสกัดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการขอให้พนักงานตรวจหาเชื้อก่อนมาทำงานในวันนี้ หรืองดมาทำงานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เนื่องจากคนจำนวนมากเพิ่งกลับจากการเดินทางวันหยุดปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติ ตัวอย่างเช่น กาเกาคอร์ป บริษัทแอปพลิเคชันแชตรายใหญ่ ห้ามพนักงานเข้าสำนักงานจนถึงวันที่ 18 ก.พ. โดยจะยกเว้นให้เป็นบางกรณี ซึ่งต้องตรวจหาเชื้อด้วยตัวเองในพื้นที่ที่จัดไว้และมีผลตรวจเป็นลบเท่านั้น และหลังจากวันที่ 18 ก.พ. พนักงานต้องตรวจหาเชื้อก่อนมาทำงาน ด้านเอสเคอินโนเวชัน บริษัทด้านพลังงาน และแอลจีเอเนอร์จีโซลูชัน ผู้ผลิตแบตเตอรี ได้แจกชุดตรวจให้พนักงานตั้งแต่ก่อนปีใหม่ และขอให้ตรวจก่อนกลับมาทำงานตั้งแต่วันนี้ ขณะที่หน่วยงานรัฐบาลเกาหลีใต้ก็ใช้มาตรการลักษณะเดียวกัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top