Tuesday, 6 May 2025
WeeklyColumnist

วาระที่โลกจับตา เดินหน้าสู่เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก ความคืบหน้าที่ต้องจับตาใน APEC 2022

ภายหลังจากที่ APEC เริ่มยกระดับการประชุมสู่กลไกการตัดสินใจร่วมกันของที่ประชุมสุดยอดผู้นำ หรือ APEC Summit ที่เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในปี 1993 เมื่อสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งแรก ณ Blake Island ในรัฐวอชิงตัน การผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจสมาชิกก็ดูจะมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

ตามประเพณีของ APEC เขตเศรษฐกิจที่ได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่ประธานในแต่ละปี จะเกิดขึ้นจากฉันทามติของที่ประชุม APEC โดยจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันระหว่างเขตเศรษฐกิจในทวีป สลับกับเขตเศรษฐกิจในภาคพื้นแปซิฟิก 

ในปี 1994 ประเทศอินโดนีเซียซึ่งอยู่ในฟากฝั่งทวีปเอเชียจึงได้รับเกียรติให้เป็นประธานการประชุมต่อจากสหรัฐอเมริกัน ซึ่งถือเป็นสมาชิกทางภาคพื้นแปซิฟิก โดยรัฐบาลอินโดนีเซียเลือกที่จะจัดการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ขึ้นที่เมือง Bogor ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ลงไปประมาณ 60 กิโลเมตรจากกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศ

ในการประชุมครั้งนั้น สาระสำคัญที่สุดที่ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของการประชุมในกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น นั่นคือ ผู้นำ APEC ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายระยะยาวในการสร้าง ‘เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก’ หรือที่ประชุมใช้คำว่า Free and Open Trade and Investment in the Asia-Pacific และได้กำหนดเป็น ‘เป้าหมาย’ หรือ ‘Bogor Goals’ ที่ตั้งเอาไว้ว่า “สำหรับเขตเศรษฐกิจที่มีรายได้ระดับสูงและมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพัฒนาแล้ว จะเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนกับสมาชิก APEC ภายในปี 2010 และให้แต้มต่อกับเขตเศรษฐกิจที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ และมีระดับการพัฒนาการทางเศรษฐกิจในระดับกำลังพัฒนาให้มีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในปี 2020”

หลังจากนั้น ก็ได้มีการตั้งคณะที่ปรึกษาภาคเอกชนขึ้นมาเป็นกลไกสำคัญในการให้ข้อเสนอแนะในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีและความร่วมมือในมิติอื่นๆ กับการประชุมของภาครัฐและผู้กำหนดนโยบาย โดยสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก (APEC Business Advisory Council) หรือ ABAC ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1995 และได้ทำหน้าที่ประชุมควบคู่กันไปกับการประชุมของภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ Asian Financial Crisis หรือที่พวกเราชาวไทยนิยมเรียกว่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ ต่อเนื่องกระแสที่ตกต่ำลงของการประชุมเพื่อเปิดเสรีการค้าในระดับพหุภาคีขององค์การการค้าโลก ที่ล้มเหลวในการเปิดการเจรจารอบ Millennium Round ในปี 1999 และความล่าช้าของการเจรจาในรอบ Doha Development Round ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2001 นั้น ได้ทำให้การเจรจาเพื่อเปิดเสรีการค้าและการลงทุนในกรอบใหญ่ๆ ดูเหมือนจะหยุดชะงักลง และหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็มาให้ความสำคัญกับการเจรจาเพื่อเปิดเสรีการค้าในระดับทวิภาคี และในระดับภูมิภาค นั่นจึงทำให้การเจรจาการค้าในกรอบ APEC ดูจะซบเซา

อย่างไรก็ตามในปี 2007 แนวคิดที่จะปัดฝุ่นการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนในกรอบ APEC ก็ได้ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงอีกครั้ง โดยการผลักดันอย่างแข็งแกร่งจากภาคเอกชน ABAC นั่นจึงเป็นการฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งของความร่วมมือที่ต่อจากนี้ไปจะถูกเรียกว่า เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific) หรือ FTAAP (อ่านว่า เอฟ-แท็บ) 

ด้านสำนักเจรจาการค้าพหุภาคี กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้มีการทำสรุปประเด็นการก่อกำเนิดของ FTAAP ไว้อย่างน่าสนใจในปี 2009 เอาไว้ว่า ผลการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่น่าสนใจคืองานศึกษาของเกาหลีใต้ที่ได้รวบรวมมาจากงานวิจัยของนักวิชาการต่างๆ โดยรายงานการศึกษาได้ยกคำถามรวมทั้งความเห็นต่อคำถามเหล่านั้นไว้ให้สมาชิกเอเปก หารือกันต่อ คำถามหลัก ๆ อาทิ... 

1.) ทำไมต้องมี FTAAP
2.) FTAAP มีประโยชน์หรือไม่
3.) การจัดทำ FTAAP เป็นไปได้หรือไม่
4.) การจัดตั้ง FTAAP จะใช้วิธีใด
5.) เอเปกควรศึกษาประเด็นใดเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง FTAAP เป็นต้น

>> ‘ทำไมต้องมี FTAAP?’ 
นักวิชาการต่างเห็นว่า เหตุผลสำคัญที่ FTAAP จะเป็นหนึ่งในหลายทางเลือกในเชิงนโยบายสำหรับสมาชิกเอเปกและโลก คือความล่าช้าในการดำเนินงานเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายโบกอร์ (Bogor Goals) ปัญหา Spaghetti bowl จากความซับซ้อนของการจัดทำ FTA / RTA ของสมาชิกเอเปก รวมทั้งความล้มเหลวในการเปิดเสรีรายสาขาโดยสมัครใจของเอเปกในช่วงที่ผ่านมา

>> ‘FTAAP มีประโยชน์หรือไม่?’ 
ผลจากงานวิจัยได้แสดงผลกระทบด้านความกินดีอยู่ดีในเชิงปริมาณว่า การจัดทำ FTAAP จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกเอเปกและเศรษฐกิจโลกโดยรวม หากเอเปกไม่เลือกปฏิบัติต่อประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก (Unilateral Open Regionalism Approach) โดยจะสร้างความแข็งแกร่งแก่การเปิดเสรีการค้าในระดับพหุภาคี อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่แต่ละสมาชิกจะได้รับนั้นจะแตกต่างกันตามระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

>> ‘การจัดทำ FTAAP เป็นไปได้หรือไม่?’ 
ในรายงานได้กล่าวอย่างระมัดระวัง โดยยอมรับถึงความเป็นไปได้ในการพิจารณา FTAAP ว่าเป็นหนึ่งนโยบายทางเลือกในการดำเนินงานเพื่อเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุนของเอเปก โดยคงไว้ซึ่งนโยบายการเปิดกว้างในภูมิภาค (Open Regionalism) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเอเปกยังขาดแรงผลักดันทางการเมือง (Political Will) ที่จะส่งเสริมการจัดทำ FTAAP ภายในเอเปก รวมทั้งมีข้อจำกัด/อุปสรรคเฉพาะในบางเรื่องในการจัดตั้ง Regional Trade bloc ของตน เช่น การดำเนินงานของเอเปกอยู่บนหลักของความสมัครใจ (voluntary) เป็นต้น

ในห้วงเวลานั้น สมาชิกเอเปกกำลังทำการบ้านกันอย่างขะมักเขม้นเพื่อศึกษาประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ FTAAP เช่น ศึกษาผลกระทบจากการจัดทำ FTAAP ทางเศรษฐกิจต่อสมาชิกเอเปกและโลก ศึกษาวิเคราะห์กลไกในการจัดทำ FTAAP ศึกษาความเหมือน/แตกต่างของข้อบทต่าง ๆ ในความตกลงการค้าเสรีของสมาชิกเอเปก (เช่น Market Access, Rules of Origin, Customs Procedures, Technical Barriers to Trade) และศึกษาเรื่องถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) เป็นต้น

ด้วยรักและศรัทธา การจาริก ‘Arba'een’ พิธีกรรมทางศาสนาประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากพลังศรัทธาของชาวชีอะห์มุสลิมที่มีต่อ ‘อิหม่ามฮุเซน’

เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา มีพิธีการจาริก Arba'een หรือ Arba'een Walk เป็นการแสวงบุญหรืองานชุมนุมทางศาสนาสาธารณะประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่กลับมีคนรู้จักการแสวงบุญนี้น้อยเป็นอย่างมาก ทุกๆ ปีจะมีผู้คนมากกว่า ๒๐ ล้านคน เดินเท้าอย่างสงบระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร ท่ามกลางอากาศร้อนด้วยอุณหภูมิที่สูงกว่า ๔๐ องศาเซลเซียส เพื่อทำการจาริกแสวงบุญ Arba'een ไปยังสถานที่ฝังเรือนร่างของท่านอิหม่ามฮุเซน ผู้เป็นหลานรักของท่านศาสดามูฮำหมัด (ศ็อลฯ) ณ ดินแดน Karbala ประเทศอิรัก

การจาริก Arba'een เริ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดช่วงเวลาไว้ทุกข์ ๔๐ วันหลังวันอาชูรออ์ (ASURA) อันเป็นวันไว้อาลัยโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นต่ออิหม่ามฮุเซน บิน อะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เนื่องจากถูกสังหารในดินแดน Karbala เมื่อวันที่ ๑๐ มุฮัรรอม ฮ.ศ. (ฮิจเราะห์ศักราช) ๖๑ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๑๒๒๓ โดยอิหม่ามฮุเซนและครอบครัวพร้อมกับบรรดาสาวกจำนวน ๗๒ คนได้ร่วมเดินทางไปยังเมือง Kufa ประเทศอิรัก (ปัจจุบันรวมเป็นส่วนหนึ่งของเมือง Najaf) เนื่องจากประชาชนที่ Kufa ได้ร้องเรียกให้อิหม่ามฮุเซนมาโค่นล้มบัลลังก์ของราชวงศ์บนีอุมัยยะฮ์ ผู้ปกครองในยุคนั้น 

โดยระหว่างการเดินทาง กองคาราวานของอิหม่ามฮุเซน ได้ไปหยุดอยู่ที่เขตที่เรียกว่า Karbala คาราวานของเขาเดินทางไปต่อไม่ได้ เนื่องจากถูกทหารของฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์จำนวนหลายหมื่นคนได้ทำการปิดกั้น และที่สุดก็ได้สังหารอิหม่ามฮุเซนและบรรดาสาวกจนหมด 

ชาวชีอะห์มุสลิมจะไว้อาลัยอิหม่ามฮุเซนในวันอาชูรออ์ โดยการจัดพิธีกรรมต่างๆ เช่น การเล่าเรื่องอิหม่ามฮุเซนจากประวัติศาสตร์ การขอดุอาอ์ การเลี้ยงอาหารและน้ำแก่คนยากจน สถานที่จัดคือที่มัสยิดฮุซัยนียะห์

จำนวนผู้เข้าร่วมแสวงบุญประจำปีมากกว่า ๒๕ ล้านคน บนเส้นทางแสวงบุญมีอาหาร ที่พัก และบริการอื่นๆ ให้บริการฟรีโดยอาสาสมัคร ผู้แสวงบุญบางคนเดินทางจากที่ต่างๆ และจากต่างประเทศ เช่น อิหร่าน ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด พิธีกรรมนี้ได้รับการอธิบายว่าเป็น “การแสดงความเชื่อและความเป็นปึกแผ่นอันทรงพลังอย่างท่วมท้น” 

การจาริก Arba'een ตามแบบปัจจุบันเริ่มขึ้นในปี ฮ.ศ. ๑๓๑๙ ( ค.ศ.๒๔๔๔) โดยนักวิชาการศาสนาหลายคน และ Marja ยังคงรักษาแนวทางเดียวกันในการจาริก Arba'een จนถึงสมัยของประธานาธิบดีซัดดัม การจาริกแสวงบุญจึงถูกห้ามตลอดระยะเวลาภายใต้การปกครองของเขา ด้วยตัวซัดดัมเป็นชาวสุหนี่มุสลิม และฟื้นคืนมาหลังจากการโค่นล้มซัดดัมในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และจำนวนผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีผู้แสวงบุญราว ๒๕ ล้านคนในปี พ.ศ. ๒๕๕๙

สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ ‘จักรวรรดิอิตาลี’ ขยายอำนาจเข้ายึดครอง ‘ลิเบีย’ ตำนานนักต่อสู้ ฉายา ‘สิงโตแห่งทะเลทราย’ จึงเกิด

เมื่อไม่นานมานี้ มีเพื่อนในเฟซบุ๊ก ‘ดร.โญ มีเรื่องเล่า’ ของผม ได้ส่งข้อความมาหาและขอให้ผมเล่าเรื่องราวของจักรวรรดิอิตาลี ยินดีครับ จัดให้เลย กลังจากค้นคว้าหาข้อมูล เรียบเรียง แล้วจึงส่งบทความที่น่าสนใจนี้มาเผยแพร่ใน THE STATES TIMES และสำหรับใครที่สนใจเรื่องอะไร อยากรู้เรื่องไหน สามารถเขียนบอกที่คอมเมนต์ได้เลยครับ

พฤติกรรมหรือนิสัยของฝรั่งโซนยุโรปอย่างหนึ่งที่มีมานานแล้วคือ ‘การล่าเมืองขึ้น’ หรือที่เรียกว่า ลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) เป็นการใช้พลังอำนาจ โดยเฉพาะกำลังทางทหารที่เหนือกว่าไม่ว่าด้วยจำนวนกำลังพลหรือเทคโนโลยีด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ในการเข้าบังคับยึดเอารัฐหรือดินแดนอื่นให้มาอยู่ภายใต้อาณัติ เพื่อกอบโกย (หรือปล้น) ทรัพยากรของรัฐหรือดินแดนนั้นๆ ทั้งทางตรง (ยึดแล้วขนกลับประเทศเลย) และทางอ้อม (ด้วยวิธีการเรียกเก็บภาษีอากรต่าง ๆ)

สาธารณรัฐอิตาลี เดิมคือ ราชอาณาจักรอิตาลี เป็นรัฐอธิปไตยบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๐๔ (ค.ศ. 1861) จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลายๆ รัฐ ภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย 

ต่อมาอิตาลีได้ประกาศสงครามต่อออสเตรียในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ (ค.ศ. 1866) โดยมีปรัสเซีย (เยอรมนีในอดีต) เป็นพันธมิตรร่วม แม้ว่าอิตาลีจะทำการรบล้มเหลว แต่ชัยชนะของปรัสเซียก็ได้ทำให้อิตาลีได้สิทธิครอบครองเวนิส ต่อมาอิตาลีได้ยกทัพเข้ายึดกรุงโรมในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ (ค.ศ. 1870) เป็นการปิดฉากอำนาจการปกครองทางโลกของสมเด็จพระสันตะปาปาที่ต่อเนื่องยาวนานมานับพันปี 

อิตาลีเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑

ต่อมาอิตาลีได้ตอบรับข้อเสนอของ ออทโต้ ฟอน บิสมาร์ค ผู้นำปรัสเซียในการเข้าร่วมกลุ่มไตรพันธมิตรกับเยอรมนีและออสเตรียในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ (ค.ศ. 1892) หลังจากที่อิตาลีเกิดความไม่พอใจในการขยายอาณานิคมของฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีกับเยอรมนีจะเป็นไปด้วยดียิ่ง แต่ความเป็นพันธมิตรกับออสเตรียกลับอยู่ในลักษณะเป็นทางการเท่านั้น 

ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ (ค.ศ. 1915) อิตาลีจึงได้ตอบรับคำเชิญของสหราชอาณาจักรในการเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสงครามครั้งนั้นได้ทำให้อิตาลีก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจ โดยมีที่นั่งถาวรอยู่ในสภาสันนิบาตชาติ และราชอาณาจักรอิตาลีดำรงคงอยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. 1946) เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ระบบสาธารณรัฐ

จักรวรรดิอาณานิคมของอิตาลีถูกสร้างขึ้นหลังจากอิตาลีเข้าไปมีส่วนร่วมกับมหาอำนาจยุโรปอื่น ๆ ในการแสวงหาอาณานิคมในต่างประเทศในยุคของ ‘การแย่งชิง/การล่าอาณานิคมในแอฟริกา’ ซึ่งจักรวรรดิอาณานิคมของอิตาลีถูกสร้างขึ้นช้ากว่าหรือยังคงเล็กเกินไปที่จะนำไปเปรียบเทียบกับการครอบครองโพ้นทะเลขนาดใหญ่ของมหาอำนาจยุโรปอื่น ๆ เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งต่างก็ได้สร้างจักรวรรดิขนาดใหญ่แล้วมาเป็นเวลาหลายร้อยปี และหนึ่งในพื้นที่สุดท้ายที่เหลืออยู่ที่เปิดให้ล่ารัฐหรือดินแดนมาเป็นอาณานิคมก็คือ ดินแดนในทวีปแอฟริกา 

ดังนั้นจักรวรรดิอิตาลีจึงกำเนิดก่อเกิดขึ้นเฉพาะในแอฟริกาตะวันออกและในลิเบีย ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการที่ประเทศเข้าสู่ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism) ภายใต้การนำของ ‘เบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini)’

เรื่องที่น้อยคนจะรู้!! เปิดอีกด้านของมหกรรมกีฬา ‘โตเกียวโอลิมปิก’ งานระดับโลกสุดยิ่งใหญ่ที่ซ่อนปม ‘สินบน-ทุจริต’ เพียบ!!

ไม่รู้ว่าข่าว ‘การทุจริตในโตเกียวโอลิมปิก’ จะมีคนไทยกี่คนที่รู้และเข้าใจมากน้อยแค่ไหน เพราะสื่อบ้านเราเป็นสื่อที่มักง่าย เลือกนำเสนอข่าวที่หาง่าย ไร้การตรวจสอบ หรือไม่ทำการบ้านใดๆ เลย แต่สำหรับผมแล้ว ข่าว ‘การทุจริตในโตเกียวโอลิมปิก’ นี้ค่อนข้างมีความน่าสนใจ เพราะมีจุดเชื่อมโยงกับรัฐบาลญี่ปุ่น รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีอาเบะ ชินโซผู้ล่วงลับ จึงสรุปข่าวนี้ให้เข้าใจได้ง่ายๆ และมาแบ่งปันให้ผู้อ่านได้อ่านกันครับ

ค่าใช้จ่ายในการจัดโตเกียวโอลิมปิกทั้งหมดนั้นอยู่ที่ 1,432,800 ล้านเยน (1兆4328億円) หรือเทียบเป็นเงินไทยตอนนี้ก็ราวๆ 375,913 ล้านบาท โดยผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดแบ่ง มีดังนี้
1.) ประเทศ 42% 
2.) เมืองโตเกียว 13%
3.) คณะกรรมการจัดการแข่งขัน 45%

โดยประเทศและเมืองโตเกียวนั้น ที่มาของเงินก็คือภาษีจากประชาชนนั่นเอง รวมเป็น 55% คิดเป็นเงิน 783,400 ล้านเยน ส่วนอีก 45% ที่รับผิดชอบโดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันนั้นมาจากการรับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ภาคเอกชนนั้นเอง 

จึงสามารถพูดได้ว่าการจัดโตเกียวโอลิมปิกเกินครึ่งหนึ่งเป็นเงินแผ่นดิน แต่กลับมีคนบางกลุ่มหาประโยชน์จากการจัดงานกีฬาระดับประเทศที่ใช้เงินแผ่นดินนั้น ถือเป็นสิ่งที่ไม่สมควรเกิดขึ้น ซึ่งจุดที่มีการค้นพบการทุจริตในครั้งนี้ก็คือ คณะกรรมการจัดการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก เป็นองค์กรธุรกิจเพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม หรือ Public Interest Incorporated Foundation (公益財団法人) และด้วยเพราะการเป็นองค์กรแบบนี้ กฎหมายญี่ปุ่นจึงไม่ได้บังคับให้ต้องแสดงและเผยแพร่ข้อมูลทางธุรกิจทั้งหมดให้สังคมได้รับทราบ พูดง่ายๆ คือไม่สามารถตรวจสอบการใช้จ่ายขององค์กรด้วยวิธีปกติได้ทั้งหมด 

ตัวละครที่เป็นศูนย์กลางของเรื่องนี้ในปัจจุบันคือ อดีตหนึ่งในคณะกรรมการจัดการแข่งขันชื่อ ทาคาฮาชิ ฮารุยูกิ (高橋 治之) อดีตดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทเดนท์สุ บริษัทตัวแทนโฆษณาอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ผู้มีฉายาว่าท่านดอนแห่งวงการธุรกิจด้านกีฬา โดยหน้าที่ที่ทาคาฮาชิได้รับในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการจัดการแข่งขันคืออำนาจในการเลือกสปอนเซอร์ ที่จะเป็นเงินทุนให้กับการจัดโตเกียวโอลิมปิกถึง 45% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทำให้เกิดการรับสินบนจากภาคเอกชนที่จะมาเป็นสปอนเซอร์

ณ ปัจจุบัน (26 กันยายน 2565) มีบริษัทที่กำลังถูกสืบสวนการจ่ายสินบนดังต่อไปนี้
1.) บริษัท AOKI บริษัทผลิตเสื้อสูทสำเร็จขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น (ตัวผมก็ซื้อสูทพิธีการตอนสมัยเรียนที่ญี่ปุ่นจากบริษัทนี้) ได้จ่ายเงินสินบน 51 ล้านเยน ทำให้อดีตประธานบริษัทถูกจับกุมแล้ว
2.) บริษัท KADOKAWA บริษัทสื่อบันเทิงของญี่ปุ่น ที่ประเทศไทยอาจคุ้นเคยในสื่อประเภทการ์ตูน อนิเมชั่น นิยาย รวมไปถึงธุรกิจโรงเรียนสอนศิลปะ ได้จ่ายเงินสินบน 76 ล้านเยน ทำให้อดีตประธานบริษัทถูกจับกุมแล้ว
3.) บริษัท Daiko บริษัทสื่อโฆษณา ถูกสำนักงานอัยการตั้งข้อสงสัยว่าอาจจ่ายสินบน 14 ล้านเยน กำลังอยู่ระหว่างการสืบสวน เก็บหลักฐาน
4.) บริษัท Park24 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่เน้นทำธุรกิจให้เช่าที่จอดรถในโตเกียว ถูกสำนักงานอัยการตั้งข้อสงสัยว่าอาจจ่ายสินบนเพื่อให้ได้เป็นสปอนเซอร์ของโตเกียวโอลิมปิก กำลังอยู่ระหว่างการสืบสวน เก็บหลักฐาน

แต่ระดับผู้กว้างขวางในวงการสื่อสารมวลชนของญี่ปุ่น คงไม่ทำอะไรให้โดนจับง่ายๆ ถ้าไม่มีหลักฐานมัดให้ตัวคาหนังคาเขา จากการสืบสวนของสำนักงานอัยการ พบว่าเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกจับว่าเป็นการติดสินบน นายทาคาฮาชิได้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาชื่อ Commons (コモンズ) เพื่อรับเงินสินบนนั้นในรูปแบบเงินค่าที่ปรึกษา จ่ายเป็นเงินรายเดือน 

นอกจากนี้แล้ว เพื่อไม่ให้เป็นที่สงสัยว่าบริษัทของนายทาคาฮาชิรับค่าที่ปรึกษาจากบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาเป็นสปอนเซอร์เพียงบริษัทเดียว จึงมีการเพิ่มตัวละครที่ชื่อ ฟุคามิ คาซุมาซะ (深見和政) ที่มีบริษัทที่ปรึกษาชื่อ Commons2 (コモンズ2) เข้ามารับเงินค่าที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาเป็นสปอนเซอร์อีกบริษัทหนึ่ง 

จากบริษัทที่ขึ้นลิสต์ข้างต้นไป บริษัท AOKI จ่ายค่าที่ปรึกษาให้กับบริษัทของนายทาคาฮาชิ โดยตรง ส่วนบริษัท KADOKAWA และ Daiko จ่ายค่าที่ปรึกษาให้กับบริษัทของนายฟุคามิ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างนายทาคาฮาชิ และนายฟุคามินั้น มีหลายจุดที่ทำให้สำนักงานอัยการคิดว่าทั้งคู่สมรู้ร่วมคิดกันในการรับสินบนครั้งนี้คือ ทั้งคู่เป็นรุ่นพี่รุ่นน้องสมัยที่ทำงานที่บริษัทเดนท์สุ และบริษัท Commons2 (コモンズ2) ที่นายฟุคามิก่อตั้งในปี 2012 มีนายทาคาฮาชิเป็นกรรมการบริษัท ถึงปี 2013 นอกจากนี้แล้วบริษัท Commons2 รับงานทำ CM โปรโมตโตเกียวโอลิมปิกจากบริษัท AOKI ที่ได้รับการแนะนำจากบริษัท Commons (コモンズ) อีกทอดหนึ่ง 

จากหลักฐานที่สืบสวนได้ ยังสามารถจับกุมได้เพียงนายทาคาฮาชิ, นายฟุคามิ และผู้บริหารบริษัทเอกชนข้างต้นเท่านั้น ยังมีการตั้งข้อสงสัยเพิ่มเติม เนื่องจากโตเกียวโอลิมปิกเป็นการแข่งขันระดับประเทศที่ยิ่งใหญ่ สปอนเซอร์ก็ถูกจัดแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ 
1.) Worldwide Olympic Partner
2.) Gold Partner
3.) Official Partner
4.) Official Supporter

ทั้งสี่บริษัทล้วนเป็นเพียง Official Supporter ระดับล่างสุดของสปอนเซอร์โตเกียวโอลิมปิกเท่านั้นหรือ? แล้วระดับสูงขึ้นไปจะมีการรับสินบนหรือไม่? นั้นเป็นสิ่งที่สำนักงานอัยการกำลังสืบสวนเพิ่มเติม ถ้าได้ผลอย่างไร จะนำมาเล่าให้ฟังอีกนะครับ

สิ่งที่ไทยได้ทันที กางผลลัพธ์ APEC 2022 ไม่ต้องรอถึงเดือน 11 เพราะผลสำเร็จต่อศก.ไทย เกิดขึ้นแล้วตลอดทั้งปี

สิ่งที่อาจจะเป็นเรื่องเข้าใจผิดสำหรับหลายๆ คนเกี่ยวกับ APEC นั่นคือ ผู้คนต่างเข้าใจว่า การประชุม APEC หรือ การประชุมความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือนพฤศจิกายน ปี 2022 นั้น คือผลลัพธ์ที่จะทำให้ไทยได้ประโยชน์

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การประชุม APEC และการประชุมที่เกี่ยวข้องของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ที่ครอบคลุมมูลค่าทางเศรษฐกิจในราว 2 ใน 3 ของมูลค่าเศรษฐกิจโลก แท้จริงแล้วได้เกิดขึ้นมาตลอดทั้งปี และในประเทศไทยเอง ก็ได้มีการประชุมไปแล้วมากกว่า 14 คลัสเตอร์ 

ที่ต้องใช้คำว่า ‘คลัสเตอร์’ เนื่องจากใน 1 ช่วงเวลาที่มีการจัดการประชุมอาจจะมีการประชุมเกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้ง ครอบคลุมเนื้อหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในหลากหลายมิติ และการประชุมเองก็มีการจัดทั้งในรูปแบบการประชุมทางไกล ในช่วงเวลาที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 และมีการประชุมแบบ On-site ที่เกิดขึ้นทั้งใน กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่, ภูเก็ต และขอนแก่น 

โดยการประชุมคลัสเตอร์สำคัญๆ เฉพาะที่เป็นของภาครัฐ ในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือ ในระดับตั้งแต่รองอธิบดี, อธิบดี, ปลัดกระทรวง ขึ้นไปจนถึงระดับรัฐมนตรี และช่วงเวลาที่เกิดขึ้น รวมทั้งสถานที่การจัดงานสามารถสรุปได้ดังนี้…

>> คลัสเตอร์ที่ 1 ตลอดปี 2020-2021 ในช่วงเวลาที่เชื้อโควิด-19 กำลังระบาด การประชุมทางไกล และการประชุมแบบพบหน้า (เท่าที่มีโอกาส) ของหน่วยงานสำคัญๆ อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนในนาม สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจ APEC หรือ APEC Business Advisory Council (ABAC) ร่วมกับ ภาคประชาชน เครือข่ายนักวิชาการ สื่อสารมวลชน และภาคส่วนต่างๆ ได้มีการจัดขึ้นตลอดทั้ง 2 ปี เพื่อเตรียมความพร้อมและกำหนด Theme ของการประชุมที่ประเทศไทยจะได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในปี 2022

>> คลัสเตอร์ที่ 2 ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ การประชุม First Senior Officials’ Meeting (SOM1) and Related Meeting ซึ่งเป็นการประชุมหลายครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อม กำหนดวาระ และสารัตถะของการประชุม เมื่อประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพต่อจากประเทศนิวซีแลนด์ ก็ได้มีการประชุมในรูปแบบการประชุมทางไกล จำนวนหลายครั้ง

>> คลัสเตอร์ที่ 3 เมื่อ 16-17 มี.ค. การประชุมของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารกลางของเขตเศรษฐกิจ APEC หรือ Finance and Central Bank Deputies’ Meeting (FCBDM) ก็เกิดขึ้นในรูปแบบการประชุมทางไกล เพื่อลงลึกในรายละเอียดของความร่วมมือในการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายการคลังร่วมกันของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ

>> คลัสเตอร์ที่ 4 เมื่อ 9-19 พ.ค. เริ่มต้นการประชุมแบบพร้อมหน้าครั้งแรก หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เริ่มคลี่คลาย ตลอดทั้ง 10 วันที่ได้มีการกำหนดตารางเวลาเอาไว้ ก็มีการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ Second Senior Officials’ Meeting (SOM2) and Related Meeting เพื่อเจรจาในการเดินหน้าสารัตถะสำคัญที่จะนำเสนอและรับการพิจารณาโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจ การค้า และผู้นำ APEC ก็เกิดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร 

>> คลัสเตอร์ที่ 5 เมื่อ 21-22 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการต้อนรับ และประชุมคณะทำงาน จนถึงการประชุมสำคัญที่สุดอีกประชุมหนึ่งของ APEC นั่นคือ การประชุมรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการค้า หรือ Ministers Responsible for Trade (MRT) Meeting ของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ

ตัวอย่างของคนสร้างป่า!! ‘สามี-ภรรยาชาวบราซิล’ เสกผืนป่าจากทุ่งทะเลทราย สรรค์สร้างธรรมชาติขึ้นใหม่บนพื้นที่กว่า ๓,๗๕๐ ไร่

ช่วงต้นทศวรรษ 2000 Sebastião Salgado ช่างภาพชื่อดังชาวบราซิล และ Lélia Wanick Salgado ภรรยาของเขาตัดสินใจพัฒนาระบบนิเวศในพื้นที่ทะเลทรายขนาด ๖๐๐ เฮกตาร์ขึ้น (ราว ๓,๗๕๐ ไร่) ขึ้นมาใหม่ใน Aimorés โดยพวกเขาได้ปลูกต้นกล้าพืชพรรณชนิดต่าง ๆ กว่า ๒ ล้านต้น โดยคนงานกับอาสาสมัครเป็นเวลา ๑๘ ปี แล้วพวกเขาก็ได้รับผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง! พวกเขาสามารถสร้างป่าใหม่ขึ้น และตอนนี้พื้นที่ป่านี้ มีพืช ๒๙๓ สายพันธุ์ นกอีก ๑๗๒ สายพันธุ์ และสัตว์ต่าง ๆ อีก ๓๓ สายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์กำลังใกล้ที่จะสูญพันธุ์แล้ว

Sebastião Ribeiro Salgado Júnior เป็นช่างภาพสารคดีทางสังคมและช่างภาพชาวบราซิล เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ในเมืองไอโมเรส รัฐมีนัสเชไรส์ ประเทศบราซิล หลังจากการเดินทางท่องเที่ยวในวัยเด็ก Salgado ได้รับการศึกษาเพื่อเป็นนักเศรษฐศาสตร์ โดยได้รับปริญญาตรีจาก UFES ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเซาเปาโลในบราซิล และปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยปารีส

เขาเริ่มทำงานเป็นนักเศรษฐศาสตร์ขององค์การกาแฟนานาชาติ (หน่วยงานภายใต้สหประชาชาติ (UN)) ซึ่งจะต้องเดินทางไปทวีปแอฟริกาเพื่อปฏิบัติภารกิจ ในการเดินทางไปทวีปแอฟริกาเป็นครั้งแรกที่เขาเริ่มถ่ายภาพอย่างจริงจัง ที่สุดแล้วในปี ค.ศ. 1973 เขาก็เลือกที่จะทิ้งอาชีพนักเศรษฐศาสตร์แล้วเปลี่ยนมาทำงานด้านการถ่ายภาพ  โดยเริ่มจากงานที่ได้รับมอบหมายด้านภาพสำหรับข่าวก่อนที่จะหันไปทำงานประเภทภาพสำหรับสารคดีมากขึ้น ในตอนแรก Salgado ทำงานร่วมกับบริษัทถ่ายภาพ Sygma และ Gamma ในปารีส แต่ในปี ค.ศ. 1979 เขาได้เข้าร่วมกับ Magnum Photos ซึ่งเป็นความร่วมมือระดับนานาชาติของช่างภาพ แล้วเขาก็ลาออกจาก Magnum ในปี ค.ศ. 1994 เพื่อร่วมกับภรรยาของเขา Lélia Wanick Salgado ก่อตั้งบริษัท Amazonas Images ขึ้นในกรุงปารีส เพื่อเป็นบริษัทตัวแทนของเขา เขามีชื่อเสียงในด้านการถ่ายภาพสารคดีทางสังคม โดยเฉพาะภาพชีวิตของคนงานในประเทศกำลังพัฒนา

เขาได้เดินทางไปในกว่า ๑๒๐ ประเทศสำหรับโครงการถ่ายภาพของเขา สิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์และหนังสือหลายเล่ม นิทรรศการการท่องเที่ยวผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์นำเสนอไปทั่วโลก นอกจากนั้นแล้ว Salgado ได้รับรางวัล W. Eugene Smith Memorial Fund Grant ในปี ค.ศ. 1982 เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ชาวต่างประเทศของ American Academy of Arts and Sciences ในปี ค.ศ. 1992 และเหรียญ Centenary Medal and Honorary Fellowship ของ Royal Photographic Society (HonFRPS) ในปี ค.ศ. 1993 เขาเป็นสมาชิกของ Académie des Beaux-Arts ที่ Institut de France ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2016

Salgado ทำงานในโครงการระยะยาวที่ตัวเขาริเริ่ม ซึ่งหลายโครงการได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสืออาทิ : The Other Americas, Sahel, Workers, Migrations และ Genesis เป็นหนังสือที่รวบรวมรูปภาพหลายร้อยรูปจากทั่วทุกมุมโลก ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ เหมืองทองคำในบราซิลที่เรียกว่า Serra Pelada เขายังเป็นทูตสันถวไมตรีของยูนิเซฟตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 ด้วย 

ระหว่างปี ค.ศ. 2006 ถึง ค.ศ. 2011 Salgado ทำงานโดยมุ่งเป้าไปที่การนำเสนอภาพที่ปราศจากตำหนิของธรรมชาติและมนุษยชาติ ประกอบด้วยชุดภาพถ่ายทิวทัศน์และสัตว์ป่า ตลอดจนชุมชนมนุษย์ที่ยังคงดำเนินชีวิตตามประเพณีและวัฒนธรรมตามวิถีของบรรพบุรุษ งานนี้ถูกมองว่าเป็นเส้นทางที่มีศักยภาพในการค้นพบตัวเองตามธรรมชาติของมนุษยชาติ

เอกชนสำคัญ!! รู้จัก ABAC ‘สภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค’ กลไกสำคัญขับเคลื่อน APEC

หลังจากการกำหนดเป้าหมาย ‘โบกอร์’ (Bogor Goals) ในปี 1994 ที่สมาชิก APEC ต้องการเดินหน้าไปสู่การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนในระหว่างสมาชิกทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ต่อมาในปี 1995 กับการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ณ ประเทศญี่ปุ่น ผู้นำ APEC ก็ได้มีมติร่วมกันที่จะจัดตั้ง ‘สภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปก’ (APEC Business Advisory Council) หรือที่นิยมเรียกกันในชื่อย่อว่า ABAC (อ่านว่า เอ-แบค) เพื่อให้ภาคธุรกิจ, ภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงจากการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน เข้ามามีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อเสนอแนะ ศึกษา ตลอดจนสร้างกลไกในการร่วมกันกำหนดนโยบายการขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 21 เขตเศรษฐกิจ

กลไกการทำงานของ ABAC ประกอบขึ้นจากตัวแทนของแต่ละเขตเศรษฐกิจจำนวน 3 ท่าน ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากผู้นำของแต่ละเขตเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้มีคณะที่ปรึกษาธุรกิจเอเปคจำนวนทั้งสิ้น 63 ท่าน

โดยในกรณีของประเทศไทย ตัวแทน 3 ท่านจะมาจาก หอการค้าไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย 

ทั้งนี้ 63 ท่านจาก 21 เขตเศรษฐกิจ จะประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง พร้อมทั้งมีการจัดงาน APEC CEO Summit จำนวน 1 ครั้ง เพื่อร่วมหารือและแลกเปลี่ยนมุมมองด้านธุรกิจและความท้าทายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อพัฒนาบทสรุปคำแนะนำประจำปีที่จะยื่นเสนอต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ในการประชุมสุดยอดผู้นำในแต่ละปี โดยในปี 2022 ‘คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล’ รับหน้าที่ประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก เพื่อนำข้อเสนอไปหารือกับคณะผู้นำของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ 

จากการเตรียมงานอย่างทุ่มเทของภาคเอกชนไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ก่อนปี 2022 ... ABAC ก็ได้มีการกำหนด theme ของการประชุมภาคเอกชนในปีนี้ไว้ว่า Embrace. Engage. Enable

- Embrace หมายถึงการกลับมาใกล้ชิดพร้อมหน้ากันอีกครั้งในการร่วมประชุม หลังจากที่ต้องไปประชุมทางไกลมาตลอดช่วงการระบาดของโควิด-19
- Engage หมายถึง การลงมือทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง...
- เพื่อให้ Enable นั่นคือ สามารถผลักดันกลไก APEC ให้เดินหน้าไปได้อย่างแท้จริง

ตลอดปี 2022 ที่ผ่านมา ภาคเอกชนทำงานอย่างหนักและต่อเนื่องร่วมกันกับทุกเขตเศรษฐกิจสมาชิก โดยแบ่งมิติการทำงานร่วมกันออกเป็น 5 คณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ 5 ด้าน เพื่อนำไปสู่ ‘การเร่งฟื้นตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และการกระตุ้นให้เกิดการพลิกฟื้นสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ครอบคลุม และมีความยืดหยุ่นในระยะยาว’ โดยทั้ง 5 คณะทำงาน และ 5 กลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมาย ได้แก่...

1.) Regional Economic Integration: เส้นทางสู่เขตการค้าเสรีของเอเชียแปซิฟิก (FTAAP) และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการค้าภาคบริการ สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคเห็นว่า FTAAP ควรตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระดับโลกที่ค่อยๆ พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป จึงเห็นควรในการพัฒนาแผนงานนี้ต่อไปเพื่อให้วาระนี้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม  และในขณะเดียวกัน นวัตกรรมจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโตในภูมิภาคโดยเฉพาะในภาคบริการผ่านการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมนวัตกรรม โดยเฉพาะเกี่ยวกับบริการดิจิทัลที่สนับสนุนอีคอมเมิร์ซ, บริการทางโลจิสติกส์, บริการด้านสุขภาพ และบริการด้านสิ่งแวดล้อม

2.) Digital – การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์และดิจิทัล แนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สอดคล้องและบูรณาการ นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และนับเป็นความสามารถในการปกป้องความก้าวหน้าและนวัตกรรมต่างๆ คณะทำงานจึงขอเรียกร้องให้เอเปคสร้างแพลตฟอร์มในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับภูมิภาค ที่จะประสานการดำเนินการและการลงทุนด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ร่วมกัน  

‘Lockheed’ ติดสินบนผู้มีอำนาจหลายชาติ เพื่อปิดดีลซื้อ-ขายเครื่องบิน

ไม่ใช่เฉพาะบ้านเราที่มีข่าวการติดสินบนทั้งในหมู่นักการเมืองและหน่วยราชการต่าง ๆ ในประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘อารยประเทศ’ ก็เคยมีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นเช่นกัน การติดสินบนอื้อฉาวดังกล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างมากใน เยอรมนีตะวันตก อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น ส่วนในสหรัฐอเมริกาเรื่องอื้อฉาวเกือบจะนำไปสู่ความหายนะของบริษัท Lockheed เนื่องจากต้องดิ้นรนให้พ้นจากความล้มเหลวทางการค้าในการผลิตเครื่องบินโดยสารแบบ Lockheed L-1011 TriStar 

กรณีสินบนจากผลงานที่ทำโดยพนักงานของ บริษัท Lockheed ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1950 จนถึงกลางทศวรรษ 1970 ในขั้นตอนของการเจรจาต่อรองในการเสนอขายเครื่องบินแบบต่างๆ ของบริษัท Lockheed

Clarence ‘Kelly’ Johnson หัวหน้าคนแรกของทีมออกแบบ Skunk Works ของบริษัท Lockheed

ผู้บริหารของบริษัท Lockheed ยอมรับว่า มีการจ่ายเงินสินบนหลายล้านดอลลาร์เป็นเวลากว่าทศวรรษให้กับผู้มีอำนาจใน เยอรมนีตะวันตก อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น รวมทั้งซาอุดีอาระเบียเพื่อให้พวกเขาซื้อเครื่องบินของเรา 

‘Kelly’ หมายถึง Clarence ‘Kelly’ Johnson หัวหน้าคนแรกของทีมออกแบบ Skunk Works ของบริษัท Lockheed เองก็ยังรู้สึกเบื่อหน่ายกับการเปิดเผยเรื่องทุจริตเหล่านี้จนเกือบจะลาออก และมีผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Lockheed ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวจะลาออกด้วยความอับอายขายหน้ากันหลายคน

เมื่อมีการผ่านรัฐบัญญัติการค้ำประกันเงินกู้ในกรณีฉุกเฉิน ปี ค.ศ. 1971 ซึ่งโครงการค้ำประกันนี้จะทำให้รัฐบาลสหรัฐรับภาระหนี้ของบริษัท Lockheed หากผิดนัดชำระหนี้ ในปี ค.ศ. 1975 ในเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 1975 คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐฯ ได้ตรวจสอบว่า บริษัท Lockheed อาจละเมิดภาระหน้าที่หรือไม่ โดยไม่แจ้งให้คณะกรรมาธิการฯ ทราบเกี่ยวกับการชำระเงินในต่างประเทศของบริษัท Lockheed เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1977 บริษัท Lockheed และธนาคารผู้ให้กู้ยืม ๒๔ แห่งได้ทำข้อตกลงด้านสินเชื่อโดยให้วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน US$100,000,000 เพื่อทดแทนข้อผูกพันในการค้ำประกันของรัฐบาล สิ่งนี้ถูกใช้เพื่อปลดหนี้ของบริษัท Lockheed มูลค่า US$60,000,000 คณะกรรมาธิการการค้ำประกันเงินกู้ฉุกเฉินได้อนุมัติข้อตกลงสินเชื่อฉบับใหม่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1977 ผ่านข้อตกลงการยกเลิกโดยคณะกรรมาธิการค้ำประกันเงินกู้ฉุกเฉินของรัฐบาลฯ หลังจากออกรายงานฉบับสุดท้ายในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1977 ค่าธรรมเนียมที่บริษัท Lockheed และธนาคารจ่ายให้แก่คณะกรรมาธิการการฯ สำหรับการบริหารเงินกู้โปรแกรมสุทธิประมาณ US$30,000,000 ซึ่งถูกส่งไปยังกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ โดยตรง และไม่เคยมีการมอบเงินภาษีของพลเมืองอเมริกันแก่บริษัท Lockheed เลย

เครื่องบินขับไล่แบบ Lockheed F-104 Starfighter ของกองทัพอากาศเยอรมันตะวันตก

ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1975 และต้นปี ค.ศ. 1976 คณะอนุกรรมาธิการของวุฒิสภาสหรัฐ ซึ่งนำโดยวุฒิสมาชิก Frank Church สรุปว่า สมาชิกของคณะกรรมการบริหารของบริษัท Lockheed ได้จ่ายเงินให้สมาชิกของรัฐบาลที่เป็นมิตรเพื่อรับประกันสัญญาสำหรับเครื่องบินรบ ในปี ค.ศ. 1976 มีการเปิดเผยต่อสาธารณะว่า บริษัท Lockheed ได้จ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ต่างชาติจำนวน US$22,000,000 ในกระบวนการเจรจาการขายเครื่องบินซึ่งรวมถึงเครื่องบินขับไล่แบบ F-104 Starfighter ซึ่งถูกเรียกว่า ‘ข้อตกลงแห่งศตวรรษ’ (Deal of the Century)

>> เยอรมนีตะวันตก 
Ernest Hauser อดีต Lobbyist ของบริษัท Lockheed บอกกับคณะอนุกรรมาธิการของวุฒิสภาสหรัฐ ว่า Franz Josef Strauss รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเยอรมันตะวันตกและพรรค Christian Social Union ของเขาได้รับเงินอย่างน้อย US$10,000,000 สำหรับการซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ F-104G จำนวน ๙๐๐ เครื่องในปี ค.ศ. 1961 แต่พรรค Christian Social Union และผู้นำพรรคปฏิเสธข้อกล่าวหา และ Strauss ยื่นฟ้อง Hauser ว่าใส่ความ เนื่องจากคำฟ้องดังกล่าวไม่ได้รับการยืนยันปัญหาจึงหลุดไป 

Manfred Wörner สมาชิกของ Bundestag และสมาชิกสภากลาโหม เยอรมันตะวันตก

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1976 ช่วงสุดท้ายของการเลือกตั้งสหพันธรัฐเยอรมันตะวันตก กรณีดังกล่าวได้ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมีการถามคำถามเกี่ยวกับ ‘เอกสารของ Lockheed’ กระทรวงกลาโหมของรัฐบาลเยอรมันตะวันตกเก็บไว้ ทั้งยังมีแหล่งข่าวนิรนามได้แจกจ่ายเอกสารหลายฉบับให้สื่อมวลชนรับทราบ 

ตามเอกสารเหล่านี้ Manfred Wörner สมาชิกของ Bundestag และสมาชิกสภากลาโหม เยอรมันตะวันตก ได้ตอบรับคำเชิญจากบริษัท Lockheed ให้ไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตเครื่องบินของพวกเขาในสหรัฐอเมริกาโดยที่บริษัท Lockheed เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ตลอดการเดินทาง และในระหว่างการสืบสวนยังพบว่า เอกสารส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ Lockheed F-104 Starfighter ถูกทำลายในปี ค.ศ. 1962 เบาะแสของเอกสารได้ถูกนำขึ้นมาหารืออีกครั้งในการประชุมคณะกรรมาธิการสอบสวนของ Bundestag ระหว่างเดือนมกราคม ค.ศ. 1978 ถึงเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1979 และการสืบสวนของทางการสหรัฐฯ เปิดเผยว่าการเดินทางไปสหรัฐฯ Wörner รับทุนจาก Bundestag และเกี่ยวข้องกับการทดสอบการบินกับเครื่องปราบเครื่องดำน้ำแบบ S-3 Viking และเที่ยวบินของ Wörner ที่เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกากลับไปยังเยอรมนีได้รับการชำระโดยบริษัท Lockheed ซึ่ง Wörner เดินทางพร้อมกับเลขานุการของเขา และบริษัท Lockheed ก็ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางส่วนหนึ่งให้เธอ ยิ่งไปกว่านั้น Wörner ยัง ‘เสีย’ ตั๋วเดินทางที่รัฐบาลเยอรมันตะวันตกขากลับไปเยอรมนี และบริษัท Lockheed ‘รับรอง’ เขาด้วยการให้ตั๋วเดินทางกลับอีกใบแก่เขา 

เครื่องบินขนส่งแบบ Lockheed C-130 Hercules ของกองทัพอากาศอิตาลี

>> อิตาลี
เรื่องอื้อฉาวของบริษัท Lockheed ในอิตาลีเกี่ยวข้องกับการติดสินบนนักการเมืองสังกัดพรรค Christian Democrat และพรรคสังคมนิยมเพื่อให้สนับสนุนการจัดซื้อเครื่องบินขนส่งแบบ Lockheed C-130 Hercules ของกองทัพอากาศอิตาลี 

ข้อกล่าวหาเรื่องการติดสินบนได้รับการสนับสนุนจาก L'Espresso นิตยสารทางการเมือง และมีเป้าหมายที่อดีตรัฐมนตรี ๒ คน คือ Luigi Gui และ Mario Tanassi (อดีตรัฐมนตรีอิตาลีคนแรกที่รับโทษจำคุก และเป็นนักการเมืองคนแรกที่ถูกตัดสินว่ามีความผิด ก่อนเกิดเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตทั่วประเทศในทศวรรษ 1990) อดีตนายกรัฐมนตรี Mariano Rumor และจากนั้น ประธานาธิบดี Giovanni Leone ได้กดดันให้เขาลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1978

โทรเลขรายงานข้อมูลที่เกี่ยวกับการติดสินบนของบริษัท Lockheed จากเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำเนเธอร์แลนด์มายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ (Henry Kissinger)

เจ้าชาย Bernhard พระสวามีในสมเด็จพระราชินีจูเลียนา ถูกกล่าวหาว่า ได้รับสินบน US$1,100,000 จากบริษัท Lockheed เพื่อให้แน่ใจว่า เครื่องบินขับไล่แบบ Lockheed F-104 Starfighter จะชนะเครื่องบินขับไล่แบบ Dassault Mirage 5 ในการสั่งซื้อโดยกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมาธิการต่าง ๆ มากกว่า 300 แห่งทั่วโลก และได้รับการยกย่องอย่างมากในเนเธอร์แลนด์สำหรับความพยายามในการส่งเสริมความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจที่ดีของประเทศเนเธอร์แลนด์

เจ้าชาย Bernhard พระสวามีในสมเด็จพระราชินีจูเลียนา

นายกรัฐมนตรี Joop den Uyl สั่งให้มีการสอบสวนเรื่องนี้ ในขณะที่เจ้าชาย Bernhard ทรงปฏิเสธที่จะตอบคำถามของผู้สื่อข่าวโดยระบุว่า ‘ข้าพเจ้าอยู่เหนือเรื่องนั้น’ ผลของการไต่สวนนำไปสู่วิกฤตรัฐธรรมนูญซึ่งสมเด็จพระราชินีจูเลียนาทรงขู่ว่า จะทรงสละราชสมบัติหากเจ้าชาย Bernhard ทรงถูกดำเนินคดี เจ้าชาย Bernhard ทรงได้รับยกเว้นการดำเนินคดี แต่ทรงต้องลงจากตำแหน่งสาธารณะหลายตำแหน่ง และถูกห้ามไม่ให้ทรงเครื่องแบบทหารอีก 

เจ้าชาย Bernhard ทรงปฏิเสธข้อกล่าวหามาโดยตลอด แต่หลังจากการสิ้นพระชนม์ชีวิตในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2004 มีการเผยแพร่บทสัมภาษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงยอมรับว่า ทรงรับเงิน พระองค์ตรัสว่า "ข้าพเจ้ายอมรับว่าคำว่า Lockheed จะถูกสลักไว้บนหลุมฝังศพของข้าพเจ้า" 

Adnan Khashoggi ตัวแทนจำหน่ายของบริษัท Lockheed ในซาอุดีอาระเบีย

>> ซาอุดิอาระเบีย
ระหว่างปี ค.ศ. 1970 และค.ศ. 1975 บริษัท Lockheed จ่ายค่า Commissions ราว US$106,000,000 ให้กับ Adnan Khashoggi ตัวแทนจำหน่ายในซาอุดีอาระเบีย เริ่มต้นที่ 2.5% + และในที่สุดก็เพิ่มขึ้นเป็น 15% 

เครื่องบินขับไล่แบบ Lockheed F-104 Starfighter กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น

>> ญี่ปุ่น
เรื่องอื้อฉาวที่เกี่ยวข้องกับ Marubeni Corporation และอีกสมาชิกระดับสูงทางการเมือง ธุรกิจ และวงการมาเฟียของญี่ปุ่น รวมทั้ง Eisaku Satō รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ Minoru Genda ประธานคณะเสนาธิการ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (JASDF) ในปี ค.ศ. 1957 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่นต้องการซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ Grumman F11F-1F Super Tiger เพื่อแทนที่เครื่องบินขับไล่แบบ F-86 Saber ที่ประจำการอยู่ในขณะนั้น แต่การล็อบบี้อย่างหนักโดยบริษัท Lockheed โดยแกนนำคนสำคัญของพรรค Liberal Democratic Party ทำให้มีการซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ Lockheed F-104 Starfighter แทน

Yoshio Kodama

ต่อมาบริษัท Lockheed ได้ทำการว่าจ้าง Yoshio Kodama ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทและอิทธิพลต่อหลายสายการบินของญี่ปุ่น เป็นที่ปรึกษา ซึ่งทำให้ All Nippon Airways (ANA) สั่งซื้อเครื่องบินโดยสารแบบ Lockheed L-1011 TriStar แทนเครื่องบินโดยสารแบบ McDonnell Douglas DC-10 โดยวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976 รองประธานของบริษัท Lockheed กล่าวกับคณะอนุกรรมาธิการของวุฒิสภาว่า บริษัท Lockheed ได้จ่ายสินบนประมาณ US$3,000,000 ให้กับสำนักงานของ Kakuei Tanaka นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้ 

2 เหตุผลใหญ่ ทำไมการประชุม APEC ปี 2022 ที่ไทย คนทั่วทั้งโลกต้อง ‘ทบทวน-พิจารณา’

ปี 2022 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นประธานและเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งปี มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของระบบเศรษฐกิจโลก 

ทำไม? เราถึงสามารถกล่าวเช่นนี้ได้ ผู้เขียนคิดว่าเป็นเพราะอย่างน้อย 2 เหตุผลด้วยกัน...

>> เหตุผลส่วนแรก
APEC คือ ความร่วมมือของ 21 เขตเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ประชากรของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจรวมกันครอบคลุมประชากรมากกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 38% ของประชากรของทั้งโลก และนี่คือกลุ่มประชากรที่มีความน่าสนใจมากที่สุด เพราะตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา กำลังซื้อของประชากรกลุ่มนี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 

พิจารณาได้จากสัดส่วนของประชากรของ 21 เขตเศรษฐกิจที่ดำเนินชีวิตอยู่ใต้เส้นขีดความยากจนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากที่มีสัดส่วนของคนจนสูงถึง 41.7% ของประชากรในปี 1990 โดยปัจจุบันตัวเลขนี้ลดต่ำลงเหลือเพียง 1.8% ของประชากร APEC เท่านั้นที่ยังอยู่ในสถานะยากจน 

นอกจากนี้ APEC ยังเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันราว 2 ใน 3 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของทั้งโลก หรือคิดเป็นตัวเงินกว่า 50 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการค้าระหว่าง 21 เขตเศรษฐกิจ ยังเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของทั้งโลก

ยิ่งไปกว่านั้นตลอดช่วงเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จากปี 1990 ถึง 2020 มูลค่าการลงทุนระหว่างประเทศภายในกลุ่มสมาชิก APEC เพิ่มขึ้นจาก 45.2% เป็น 67.9% นั่นแปลว่า 21 เขตเศรษฐกิจนี้คือผู้ลงทุนรายสำคัญที่ต่างก็ลงทุนภายกลุ่ม APEC ด้วยกันเอง ซึ่งการลงทุนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องนี้ เป็นผลมาจากการที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่าง APEC ที่เน้นสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitations: TFs) อาทิ การลด ละ เลิก มาตรการทางการค้าที่มิใช่มาตรการทางภาษี, การสร้างความร่วมมือเพื่อให้พิธีการทางศุลกากรมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น, ลดความซับซ้อนลง หรือ การอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจ APEC ได้ทำให้ดัชนีความยากง่ายในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business: EoDB Index) เฉลี่ยของทั้งกลุ่มปรับตัวสูงขึ้นกว่า 11.3% 

แค่ทฤษฎีสมคบคิด?? รู้จัก 'Dulce Base' ในมลรัฐ New Mexico พื้นที่ที่หลายคนเชื่อว่าเป็น 'ฐานของมนุษย์ต่างดาว'

วันนี้ขอเปลี่ยนบรรยากาศรับอากาศเย็นด้วยเรื่องราวที่ดูเหมือนเป็นทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy theory) หรือเรื่องราวที่อ่านแล้วรู้สึกว่า 'เหลือเชื่อ' กันครับ เรื่องของ Dulce Base อันเป็นประเด็นหนึ่งของทฤษฎีสมคบคิดที่อ้างว่า มีสถานที่ใต้ดินที่มนุษย์และมนุษย์ต่างดาวทำงานร่วมกันภายใต้แนวเขา Archuleta Mesa บนชายแดนระหว่างสองมลรัฐคือ Colorado กับ New Mexico ใกล้ ๆ กับเมือง Dulce มลรัฐ New Mexico ในสหรัฐอเมริกา เมือง Dulce เป็นเมืองหลักของเขตสงวน Jicarilla Apache ทางตอนเหนือของมลรัฐ New Mexico และส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมือง แม้จะมีประชากรเพียงเล็กน้อย ซึ่งจำนวนน้อยกว่า ๓,๐๐๐ คน 

หมู่บ้านเล็ก ๆ ในทะเลทรายที่แปลกตา ไม่มีแม้กระทั่งสัญญาณไฟจราจรเสียด้วยซ้ำ แต่ชุมชนเล็ก ๆ ที่เงียบสงบนี้เป็นจุดที่นักจานบินวิทยาและนักทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ต่างดาวทุกคนเชื่อว่า ใต้เมืองนี้เป็นฐานลับ ๗ ชั้น อยู่ลึกลงไปสองไมล์ใต้พื้นดิน เป็นสถานที่ซึ่งมนุษย์และมนุษย์ต่างดาวทำงานร่วมกัน อันเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Dulce Base

อันที่จริงแล้วมลรัฐ New Mexico เป็นรัฐที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับจานบินและมนุษย์ต่างดาวมาหลายสิบปีแล้ว จากกรณีของ เหตุการณ์จานบิน (Unidentified Flying Object) ตกที่ Roswell เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1947 เมื่อมีวัตถุบินตกใส่ไร่แห่งหนึ่งใกล้กับเมือง Roswell มลรัฐ New Mexico ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 มีคำอธิบายเหตุการณ์หลากหลายมากมาย ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แม้รัฐบาลสหรัฐฯ จะประกาศว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงบอลลูนเฝ้าตรวจทางทหารของกองทัพสหรัฐฯ ตก แต่คำอธิบายที่มีผู้เชื่อถือมากที่สุดคือ วัตถุดังกล่าวเป็นยานอวกาศที่มีสิ่งมีชีวิตนอกโลกอยู่ด้วย ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เหตุการณ์ที่ Roswell ได้กลายเป็นหัวข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง จนเกิดเป็นเกิดเรื่องราวต่าง ๆ กระทั่งทฤษฎีสมคบคิดมากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้

Gabriel Valdez ตำรวจทางหลวงของมลรัฐ New Mexico ได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับตำนาน Dulce Base โดยรอบเป็นอย่างดี เรื่องราวเกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1970 โดยเขารายงานการตายของวัวหลายตัว โดย Valdez อ้างว่าได้เห็น 'ยานอวกาศที่มีรูปร่างที่แปลกประหลาดและซับซ้อน' ในเมือง Dulce บนท้องฟ้าใกล้กับตำแหน่งซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของ Dulce Base และได้พบวัวที่ถูกสังหารพร้อมกับลูกในครรภ์ 

Valdez อ้างต่อว่า ไม่ใช่ลูกวัวที่ยังไม่เกิด แต่ดูเหมือนจะเป็นลูกผสมที่แปลกประหลาดระหว่าง 'มนุษย์ ลิง และกบ' เศษซากที่อยู่รอบ ๆ ทำให้ Valdez เชื่อว่า รัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้อง และสัตว์ที่ตายไม่ได้ถูกสังหารโดยสัตว์ป่า 

เขากล่าวว่า “หลักฐานที่ถูกทิ้งไว้ที่นั่น คุณรู้ไหมว่า ผู้ล่าจะไม่ทิ้งหน้ากากป้องกันแก๊สพิษ แท่งเรืองแสง เรดาร์ Chaff (อุปกรณ์พรางสัญญาณเรดาร์)”

Valdez สรุปว่า 'พวกเขาไม่ทิ้งของพวกนี้' การตายของวัว-ควาย ปศุสัตว์ มักจะเชื่อมโยงกับการพบเห็นจานบินในบริเวณใกล้เคียง บริเวณชายแดนระหว่างสองมลรัฐคือ Colorado กับ New Mexico กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ที่โดดเด่นที่สุดในประเทศสำหรับรายงานสองประเภททั้งจานบินและมนุษย์ต่างดาวตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980

การกล่าวอ้างถึงกิจกรรมของมนุษย์ต่างดาวเกิดขึ้นครั้งแรกจาก Paul Bennewitz นักธุรกิจชาวเมือง Albuquerque เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1979 เมื่อ Bennewitz เชื่อว่า เขากำลังสกัดกั้นการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์จากยานอวกาศของมนุษย์ต่างดาวและฐานลับบนพื้นโลกซึ่งอยู่นอกนอกเมือง Albuquerque ในช่วงทศวรรษ 1980 

เขาเชื่อว่า เขาได้ค้นพบฐานลับใต้ดินใกล้กับเมือง Dulce ซึ่งเต็มไปด้วยมนุษย์ต่างดาวสีเทา ในปี ค.ศ. 1983 คำกล่าวอ้างของ Bennewitz ถูกเผยแพร่ในสื่อยอดนิยมหลายครั้ง เรื่องราวแพร่กระจายอย่างรวดเร็วภายในชุมชนผู้สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับจานบินและมนุษย์ต่างดาว เขายังตีพิมพ์บทความเรื่อง 'Project Beta' ในปี ค.ศ. 1988 และในปี ค.ศ. 1987 John Lear นักจานบินวิทยาอ้างว่า เขาได้รับการยืนยันเกี่ยวกับการมีอยู่ของฐานจานบินและมนุษย์ต่างดาว 

ต่อมาในปี ค.ศ. 1986 George Clinton Andrews ได้เล่าถึงตำนานของ Dulce Base ในหนังสือของเขาชื่อ Extra-Terrestrials Among Us และในปี ค.ศ. 1988 หนังสือพิมพ์ Weekly World News ตีพิมพ์เรื่อง 'ฐานจานบินที่พบในมลรัฐ New Mexico' อ้างว่า "ผู้บุกรุกที่ชั่วร้ายจากระบบสุริยะอื่นได้มาตั้งฐานใต้ดินลับในภูเขาที่ขรุขระทางตอนเหนือของมลรัฐ New Mexico เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้มนุษย์สำหรับการทดลองทางพันธุกรรมที่แปลกประหลาด" 

เรื่องราวของ Weekly World News อ้างอิงจากคำพูดจาก Leonard Stringfield นักจานบินวิทยา แต่เมื่อ Stringfield ทราบเรื่องนี้ เขาก็ประท้วงทันทีว่า "ข้อเท็จจริงคือ ในชีวิตผมไม่เคยอ่านเรื่องอะไรที่บิดเบือนเช่นนี้มาก่อนเลย" ในปี ค.ศ. 1990 'Paul Snyder' เขียนเกี่ยวกับแผนการสมคบคิดของ Dulce Base


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top