Sunday, 19 May 2024
WeeklyColumnist

กระแส “กัญชง” ในดงอินเดีย

ปัจจุบันกระแสกัญชงกับกัญชาในไทยกำลังมาแรงมากจากกระแสการผลักดันกัญชาให้ถูกกฎหมายทั้งในด้านการครอบครอง การปลูก และการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ แต่หลายคนอาจจะยังสับสนว่า “กัญชง” กับ “กัญชา” เหมือนหรือต่างกันยังไง ผมเลยไปสืบค้นจากอินเตอร์เน็ตก็พบความกระจ่างในเพจ “ทันข่าว Today” ซึ่งระบุว่า ทั้งกัญชาและกัญชงเป็นพืชชนิดเดียวกัน มีลักษณะภายนอกแตกต่างกันน้อยมาก แต่สามารถสังเกตในเบื้องต้นได้คือ กัญชงมีใบแคบเรียวและสีเขียวอ่อนกว่า มีลำต้นสูงและแตกกิ่งก้านน้อยกว่า ช่อดอกมียางน้อยกว่ากัญชา จึงมีการนำกัญชงไปใช้เป็นพืชเส้นใยสำหรับทำเสื้อผ้าและเยื่อกระดาษ

แต่ถ้าต้องการจำแนกให้ลึกลงไป เพจดังกล่าวก็ให้พิจารณาจากสารประกอบที่เรียกว่าแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) โดยเฉพาะสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท นั่นคือ THC (Delta-9-Tetrahydrocannabinol) และสารสำคัญอีกชนิดคือ CBD (Cannabidiol) ซึ่งช่วยยับยั้งการออกฤทธิ์ของ THC ถ้าต้นที่มีสาร THC น้อยกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักแห้ง จะถือว่าเป็น Hemp หรือกัญชง แต่ถ้ามีค่า THC สูงกว่านี้ถือว่าเป็น Marijuana หรือกัญชา กรณีใช้ทางการแพทย์ต้องสกัดสาร THC, CBD รวมถึงสารประกอบแคนนาบินอยด์อื่น ๆ ออกมาจากต้น ซึ่งแตกต่างจากการเสพกัญชาที่ใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยตรง

สำหรับที่อินเดีย มีรายงานที่น่าสนใจจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครมุมไบ ประเทศอินเดีย ระบุว่า กระแสที่กำลังมาแรงในปัจจุบันคือ “กัญชง” แต่ว่าการแปรรูปกัญชง (Hemp / Cannabis Sativa) เชิงอุตสาหกรรมในอินเดียยังอยู่ในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ดี คนอินเดียมีความคุ้นเคยกับการใช้ประโยชน์จากกัญชงมาตั้งแต่โบราณ โดยนำกัญชงมาเป็นส่วนหนึ่งของสมุนไพรแบบอายุรเวท (Ayurveda) และเครื่องเทศประกอบอาหาร รวมถึงเส้นใยสำหรับทำเสื้อผ้า กระเป๋าและเชือกด้วย ซึ่งภูมิปัญญาเหล่านี้มีส่วนทำให้ภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักวิจัยของอินเดียเข้าใจในศักยภาพของกัญชงเป็นอย่างดี และตระหนักในการควบคุมผลกระทบต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์กัญชงมีแนวโน้มที่จะได้รับการพัฒนาและเป็นที่ยอมรับในตลาดได้ง่าย

จากรายงานของ Grand View Research ระบุว่าในปัจจุบันตลาดสินค้ากัญชงในอินเดียยังมีมูลค่าเป็นสัดส่วนเพียง 0.1% ของตลาดโลกเท่านั้น ในขณะที่ การใช้/บริโภคในอินเดียจะขยายตัวได้อีกมาก ทั้งการนำกัญชงไปใช้ในการผลิตน้ำมัน อาหารและเครื่องดื่ม อาหารสัตว์ เส้นใยสำหรับเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอาง ของใช้สำหรับทำความสะอาด ปุ๋ย และวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ กระดาษรีไซเคิล วัสดุเฟอร์นิเจอร์ และวัสดุก่อสร้าง รวมถึงพลังงานชีวมวล นอกเหนือจากการนำมาผลิตเพื่อใช้ในทางการแพทย์ อาทิ ยาบรรเทาอาการของโรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ โรคลมชัก โรคอัลไซเมอร์ และอาการเจ็บปวดเรื้อรังต่าง ๆ นอกจากนี้ คาดว่าภาวะการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะทำให้คนอินเดียหันมาบริโภคอาหารมังสวิรัติมากขึ้น ซึ่งเมล็ดกัญชงจะเป็นแหล่งโปรตีนที่ทดแทนถั่วและเนื้อสัตว์ โดยปราศจากกลูเตน และมักจะเป็นการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ด้วย เพราะกัญชงเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีศัตรูพืช จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง 

ผลิตภัณฑ์จากกัญชง

ขอบคุณภาพจาก : https://medium.com

ทั้งนี้ ผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์ผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์นานาชาติ (IFPMA) และคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB) ประมาณการณ์ว่า ในปี 2567 ตลาดสินค้ากัญชงในอินเดียจะมีมูลค่าประมาณ 584.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สอดคล้องกับผลการสำรวจของ All India Institutes of Medical Sciences ที่พบว่าผู้บริโภคชาวอินเดียจะตอบรับต่อผลิตภัณฑ์กัญชงได้อย่างรวดเร็ว โดยพบว่ามีคนอินเดียจำนวนไม่น้อยกว่า 7.2 ล้านคนที่เคยใช้กัญชงมาแล้ว โดยการซื้อมาทดลองใช้เอง และมีราคาขายปลีกในอินเดียอยู่ที่ประมาณ 4.38 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกรัม

ตาม พรบ. The Narcotic Drugs and Psychotropic Substances Act (1985) รัฐบาลกลางของอินเดียอนุญาตให้ปลูกกัญชงได้เฉพาะที่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอลหรือ THC ไม่เกิน 0.3 % โดยน้ำหนัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกัญชงในอินเดียส่วนใหญ่มีระดับสาร THC สูงกว่าที่กำหนดไว้ การผลิตและซื้อ-ขายกัญชงในอินเดีย จึงเป็นการกระทำผิดกฎหมายตาม พรบ. ดังกล่าวอยู่ อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้ให้อำนาจแก่รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละรัฐให้สามารถพิจารณาอนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์จากใบและเมล็ดของกัญชงได้ ภายใต้การควบคุมโดยหน่วยงานของรัฐอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบและส่งเสริมโดยกระทรวงการแพทย์แผนโบราณของอินเดีย (Ministry of Ayurveda, Yoga & Naturopathy: AYUSH) เป็นระยะ

ในปัจจุบันมีเพียงสามรัฐในอินเดียที่อนุญาตให้มีการปลูกกัญชงได้ ได้แก่ รัฐอุตตราขัณฑ์ รัฐอุตตรประเทศ และรัฐมัธยประเทศ ส่วนรัฐอื่น ๆ อีกหลายรัฐก็มีแนวโน้มจะอนุญาตให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมกัญชงเช่นกัน อาทิ รัฐมณีปุระ รัฐอานธระประเทศ และรัฐหิมาจัลประเทศ โดยรัฐอุตตราขัณฑ์เป็นรัฐแรกที่อนุญาตให้มีการเพาะปลูกได้ โดยได้ให้ใบอนุญาตแก่ Indian Industrial Hemp Association (IIHA) ซึ่งเป็น NGO สามารถเพาะปลูกเพื่อทำการทดลองในพื้นที่ 6,250 ไร่ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายเป็น 62,500 ไร่ และมุ่งเน้นการผลิตเมล็ดพันธุ์ และนำมาแปรรูปเป็นเส้นใยสำหรับป็นสิ่งทอเป็นหลัก

แม้ว่าจะมีการเพาะปลูกในไม่กี่รัฐ แต่มีผู้นำกัญชงมาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วภายใต้กิจการของสตาร์ทอัพประมาณ 30-40 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ (Biotech Startups) อาทิ บริษัท Bombay Hemp Company (BOHECO) โดยมีโรงงานแปรรูปอยู่ที่รัฐอุตตราขัณฑ์ (เมือง Almora) และในรัฐอุตตรประเทศ (เมือง Lucknow) นอกจากนี้ ยังมี Startups อีกหลายรายที่พร้อมจะผลิตเชิงอุตสาหกรรม และขยายตลาดทั้งภายในอินเดียและตลาดโลก อาทิ Hemp Street, Best Weed และ India Hemp Organics โดยมีแบรนด์หลักในตลาด ได้แก่ VEDI, SATLIVA, BOHECO Life และ B LABEL

ขอบคุณภาพจาก : https://www.vice.com

ทั้งนี้ การผลิตสินค้าจากกัญชงในอินเดียมีแนวโน้มที่จะเติบโตในปี 2564 จากการที่หน่วยงานด้านความปลอดภัยและมาตรฐานทางอาหาร (The Food Safety and Security Authority of India : FSSAI) ของอินเดียซึ่งเทียบได้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย ได้จัดทำร่างกฎระเบียบสำหรับการกำกับดูแลสินค้าที่นำกัญชงมาผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้ The Food Safety and Standards (Food Products Standards and Food Additives) Amendment Regulations, 2020 ซึ่งผู้ประกอบการในอินเดียมองว่าจะเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจนและเป็นสัญญาณที่เปิดให้สินค้ากัญชงมีการแข่งขันกันอย่างเสรีในตลาด โดย FSSAI ได้ยอมรับว่ากัญชงเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม ซึ่งล่าสุดได้มีการกำหนดว่าเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกัญชงต้องมี THC ไม่เกิน 0.2mg/kg โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดการเตรียมการผลิตเครื่องดื่มกัญชงและสถานบริการเครื่องดื่มกัญชงตามมาเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม คุณสุพัตรา แสวงศรี ทูตพาณิชย์ไทยประจำนครมุมไบ ประเทศอินเดียได้ให้ความเห็นว่าการเพาะปลูกและการแปรรูปในอินเดียยังต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาอีกไม่ต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสที่สินค้าจากต่างชาติจะเข้าไปแทรกตลาดหากมีราคาที่เทียบเคียงได้กับจีน ทั้งนี้ อินเดียเรียกเก็บภาษีนำเข้าสำหรับกัญชงในอัตรา 30% โดยผู้นำเข้าต้องมีใบอนุญาตให้นำเข้าไปเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ด้วย ดังนั้น โอกาสที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการไทย จึงน่าจะเป็นการเข้าไปร่วมลงทุนในการแปรรูปกัญชงเพื่อการแพทย์และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียที่มีสภาพอากาศเหมาะสมและเกษตรกรมีทักษะในการปลูกที่ดี รวมถึงโอกาสจากการเข้าไปถือหุ้นเพื่อเพิ่มทุนให้กับ Tech-Startups ของอินเดียที่กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อรองรับการบริโภคที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อภาครัฐของอินเดีย (FSSAI) มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าจากกัญชงที่ชัดเจนแล้ว ในขณะที่ ผู้บริโภคในอินเดียเองก็มีความคุ้นเคยกับกัญชงอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเอื้อให้เกิดการตอบรับของตลาดได้อย่างรวดเร็วและหลากหลาย

ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทยหรือนักลงทุนไทยที่สนใจธุรกิจเกี่ยวกับกัญชงที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ที่ประเทศอินเดียที่เป็นตลาดใหญ่อันดับสองรองจากประเทศจีน

ขอขอบคุณสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างปรแทศ ณ นครมุมไบ ประเทศอินเดีย


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เสียเงินไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้ “วัฒนธรรมรักษาหน้า” ของสังคมจีน 

หากผู้อ่านท่านใดเป็นลูกหลานชาวจีน ก็คงจะได้เคยเห็นญาติผู้ใหญ่ของตัวเองกระทำการ “แย่งกันจ่าย” หรือการพยายามออกตัวเป็นเจ้าภาพผู้ใจกว้างที่จ่ายเงินเลี้ยง และดูแลพวกพ้องตามมื้ออาหารต่าง ๆ รวมถึงเวลามีงานเลี้ยงกับเพื่อนฝูงหรืองานเลี้ยงรวมญาติ

ดูเหมือนว่าการแย่งกันจ่ายสำหรับคนจีนนั้นจะทำกันอย่างเป็นวัฒนธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความ “爱面子 - อ้ายเมี่ยนจึ” แปลตรงตัวได้ว่า “รักหน้า” หรือหากจะหาคำภาษามานิยาม ก็คงจะใกล้เคียงกับคำว่า “หน้าใหญ่” ที่สุด ซึ่งก็คือการยึดติดกับเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และการมีภาพลักษณ์ที่ดีสมบูรณ์ ซึ่งคนจีนหลายคนให้ความสำคัญกับ “หน้า” เป็นอย่างมาก

ตัวผู้เขียนเรียนมหาวิทยาลัยที่ประเทศจีนมาเป็นเวลา 4 ปี หนึ่งในประโยคที่ผมได้ยินบ่อยมากคือ...

“什么都可以丢,但不能丢脸” (อะไรก็ยอมเสียได้หมด แต่จะไม่ยอมเสียหน้า)

หากแปลเป็นไทยก็จะคล้ายกับประโยคที่ว่า “เสียเงินไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้”

แล้วต้องทำอย่างไรให้ “ได้หน้า” หรืออย่างน้อยก็คือ “ไม่เสียหน้า” ? ซึ่งการกระทำให้ได้หน้านั้นก็เหมือนจะมีสูตรสำเร็จอยู่แล้ว สำหรับผู้ชายก็คือการประสบความสำเร็จในชีวิต มีเงิน มีบ้าน มีรถ และมีเมีย ซึ่งทั้งหมดที่ว่ามานี้ก็คือเครื่องประดับบารมีของผู้ชาย ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นนิยามของคำว่า “ประสบความสำเร็จ” ซึ่งการประสบความสำเร็จนั่นแล ที่เป็นตัวชี้วัดระดับสถานะทางสังคม หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า “มีหน้ามีตาในสังคม”

แต่ความเป็นจริงก็มิได้สวยหรูหรอกครับ เพราะพื้นที่ของปลายยอดพีระมิดนั้นมีจำกัด ทุกคนอยากประสบความสำเร็จ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จจริง ๆ กระนั้นแล้ว แม้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่เพื่อการมีหน้ามีตาในสังคม หลายคนยอมทำทุกอย่างเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเองดูรุ่งโรจน์ มีความมั่นคง และใกล้เคียงกับคำว่าประสบความสำเร็จมากที่สุด

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้คนจีนมากมายเกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า “打肿脸充胖子 - ต่า จง เหลี่ยน ชง พ่าง จึ” แปลเป็นไทยได้แบบตรงตัวได้ว่า “ตีหน้าตัวเองให้บวม เพื่อทำให้ตัวเองดูอ้วน” มีความหมายว่า ทำเรื่องเกินตัวเพื่อรักษาหน้า หรือการพยายามสร้างบารมีเกินกว่าความเป็นจริงจนเป็นโทษแก่ตัวเอง

ยกตัวอย่างพฤติกรรมการตีหน้าตัวเองให้บวม เพื่อทำให้ตัวเองดูอ้วน เช่นการดึงดันจะเป็นคนออกเงินเลี้ยงอาหารเพื่อนเพื่อทำให้ตัวเองดูดีมีฐานะ ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วอาจมีหนี้สินติดค้างคนอื่น ๆ อยู่มากมาย หรือการดื่มเหล้ามากเกินไป เพื่อทำให้คนอื่นเห็นว่าตัวเองคอแข็ง สามารถดื่มได้มาก แต่สุดท้ายเมาจนต้องให้คนหิ้วปีกกลับบ้าน หรือจะเป็นการลงทุนกับเครื่องแต่งกายด้วยการซื้อแบรนด์หรูให้ตัวเองดูมีมูลค่า แต่ต้องแอบกินบะหมี่สำเร็จรูปอยู่ที่บ้านไปทั้งเดือน

ซึ่งกรีณีเหล่านี้อาจถือได้ว่าเบาไปเลยครับ เมื่อเทียบกับผู้หญิงกลุ่มหนึ่งที่ถูกสามีทำร้ายร่างกาย แต่เพราะกลัวจะเสียหน้า จึงไม่กล้าหย่ากับสามี (ค่านิยมสำหรับคนจีน การหย่าคือเรื่องน่าอับอาย) และได้แต่ยอมทนถูกกระทำต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งก็ไม่ต่างจากเด็ก ๆ บางคนที่ยอมโกงข้อสอบเพื่อรักษามาตรฐานของตัวเอง และเพื่อไม่ให้พ่อแม่เสียหน้า หรือเพื่อให้พ่อแม่เอาคะแนนลูกไปอวดคนอื่นเพื่อเอาหน้า หรือแม้กระทั่งบางคนที่เคยประสบความสำเร็จจริง ๆ แต่เมื่อถึงคราวลำบากกลับไม่กล้าขอความช่วยเหลือจากญาติมิตรเพราะกลัวจะเสียหน้านั่นเอง

ซึ่งค่านิยมการรักหน้าในรูปแบบของการ “ตีหน้าตัวเองให้บวม เพื่อทำให้ตัวเองดูอ้วน” นับว่าเป็นค่านิยมที่ผิด ส่วนคนที่ยึดติดกับมายาคติของคำว่า “หน้า” มากเกินไปก็มักจะลงเอยด้วยการพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่ยากลำบากกว่าเดิม

แต่หากถามว่าการรักหน้านั้นมีข้อดีหรือไม่ ก็มีครับ หากอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะสิ่งที่เป็นแก่นหลักของวัฒนธรรมการรักหน้านั้นคือการพยายามพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองให้มีความรุ่งโรจน์ และตรงกับสิ่งที่นิยามคำว่า “ประสบความสำเร็จ” ซึ่งการรักหน้าก็ถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนในการใช้ชีวิตให้เดินไปข้างหน้าของคนในสังคมได้เหมือนกัน เพราะทำให้เกิดการแข่งขันกันพัฒนา ยิ่งคนในประเทศมีความมุ่งมั่นในการทำงานพัฒนาตัวเองมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสร้างเม็ดเงินให้กับเศรษฐกิจและบุคลากรคุณภาพให้กับประเทศในภาพรวม

แต่ก็อีกนั่นแหละครับ ค่านิยมเกี่ยวกับการ “รักหน้า” นั้นควรจะอยู่ในระดับที่พอดี เพราะหากมากเกินไปจนการแข่งขันเพื่อพัฒนากลายเป็นแข่งขันเพื่อบลัฟ เพื่ออวดเบ่งความยิ่งใหญ่ของตัวเอง และทำให้เกิดการ “ตีหน้าตัวเองให้บวม เพื่อทำให้ตัวเองดูอ้วน”

ซึ่งสำหรับตัวผู้เขียนแล้ว การให้ค่าตัวเองนั้นสำคัญที่สุดครับ และควรปล่อยวางคำตัดสินต่าง ๆ ของคนอื่นที่เกิดจากค่านิยมในสังคม การประสบความสำเร็จของเรานั้นเป็นอย่างไร เราควรมีส่วนในการตัดสินใจด้วย


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ประวัติศาสตร์ดำมืดของ “Chinatown” กับการกดขี่ชาวจีนในสหรัฐอเมริกา (ตอนที่ 1)

หากพูดถึง Chinatown หรือ “ย่านคนจีน” ทุกคนคงคุ้นเคยกันดีกับภาพของ “เยาวราช” ถิ่นของคนไทยเชื้อสายจีน ที่มีผู้คนเดินกันอย่างพลุกพล่านและมีอาหารอร่อยอยู่ตลอดสองข้างทาง 

และหลายคนคงทราบว่า Chinatown แบบนี้ยังมีในอีกหลายประเทศทั่วโลก แต่ไม่ใช่ทุกประเทศที่ชาวจีนจะมีประวัติศาสตร์อันน่าจดจำ เหมือนชาวจีนโพ้นทะเลที่มาอาศัยอยู่ในแผ่นดินสยาม

สหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ชาวจีนมี “ประวัติศาสตร์อันขมขื่น” ก่อนการก่อตั้ง Chinatown ที่มีชื่อเสียงได้แบบที่เห็นในปัจจุบัน Chinatown ในอดีตถูกคนผิวขาวมองว่าเป็น “สิ่งโสโครก” (Filth) ที่รวมของ “เผ่าพันธุ์ที่มีจริยธรรมต่ำช้า” มาก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อเช่นในปัจจุบัน

ภาพวาดและภาพถ่ายย่าน Chinatown ในเมืองซานฟรานซิสโกหลังการบูรณะเมือง

จุดเริ่มต้นมาจากการที่ชาวจีนจำนวนหนึ่งอพยพไปยังสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1800s โดยส่วนใหญ่ไปรับจ้างตามเหมืองทอง การก่อสร้างทางรถไฟ และโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะแรงงานราคาถูกที่ไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย

ครั้นพอถึงช่วงเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาตกต่ำระหว่างปี 1873-1879 ชาวอเมริกันจำนวนมาก ต่างพากันพุ่งความเกลียดชังมายังแรงงานจีนในประเทศ ว่าเป็นผู้แย่งงานของชาวอเมริกันผิวขาว จนนำไปสู่การสร้างทัศนคติเหยียดเผ่าพันธุ์ การเขียนการ์ตูนล้อเลียนชาวจีน ให้ดูอัปลักษณ์น่าเกลียด อ่อนแอ และเรียกชาวจีนว่าเป็น “ภัยเหลือง” (Yellow Peril)

ภาพการ์ตูนแสดงทัศนคติของชาวอเมริกันที่มีมองว่าชาวจีนอพยพเป็นภัยเหลืองที่คุกคามสังคมอเมริกัน

ตามมาด้วยการออก “กฎหมายกีดกันชาวจีน” (Chinese Exclusion Act) ในปี 1882 ซึ่งห้ามมิให้แรงงานอพยพชาวจีนอพยพมายังสหรัฐอเมริกา

และยังระบุให้ชาวจีนที่ตั้งถิ่นฐานในสหรัฐฯ เป็นคนต่างด้าว ที่ไม่มีสิทธิเป็นพลเมืองสหรัฐฯ รวมถึงจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ชาวจีนไม่มีสิทธิซื้อที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ไม่สามารถจดทะเบียนตั้งกิจการได้ และไม่มีสิทธิในการพิสูจน์หลักฐานหรือเป็นพยานในชั้นศาล

กฎหมายกีดกันชาวจีน ปี 1882

ความเกลียดชังของคนอเมริกันที่มีต่อชาวเอเชีย นำไปสู่อาชญากรรมและความรุนแรงต่อชาวอเมริกันเชื้อสายจีนในสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง

ปี 1871 มีการรุมประชาทัณฑ์ ด้วยการแขวนคอชาวจีน 18 ราย ในเมืองลอสแองเจลิส

ปี 1885 มีการสังหารหมู่แรงงานเหมืองชาวจีน 25 รายในเมืองไวโอมิ่ง

ปี 1885 มีกลุ่มคนผิวขาวชุมนุมขับไล่คนจีนที่ตั้งถิ่นฐานออกจากเมืองยูเรก้า

เหตุการณ์เหล่านี้พบได้ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในระหว่างปี 1849-1906 มีเหตุการณ์การขับไล่ และสังหารหมู่ชาวจีนเกิดขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนียถึงกว่า 200 ครั้ง

ภาพการ์ตูนที่แสดงความรังเกียจของชาวอเมริกันที่มีต่อชาวจีนอพยพ

ภาพวาดที่สื่อว่าแรงงานราคาถูกชาวจีน เป็นเสมือนฝูงตั๊กแตนที่กำลังทำลายไร่นาของชาวอเมริกัน

ภาพวาดแสดงเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวจีนในเมือง Wyoming ปี 1885

ชาวจีนจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา อพยพหนีมายังเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ซึ่งมีชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยมองว่าน่าจะเป็นหนทางเดียวที่ตนจะมีพวกพ้องและมีความปลอดภัยมากขึ้น

ถึงกระนั้นก็ยังมีกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการที่ชาวจีนจะเช่าที่อยู่อาศัย ทำให้ชาวจีนมาอาศัยรวมตัวกันในเขตตะวันออกของเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Chinatown ในปัจจุบัน โดยในย่านคนจีนนั้นมีธุรกิจเกิดขึ้นมาก เนื่องจากชาวจีนใน Chinatown จะค้าขายสินค้ากับชาวจีนแผ่นดินใหญ่

ย่าน Chinatown ในเมืองซานฟรานซิสโก ปี 1900

แต่เมื่อส่องลงไปในย่าน Chinatown เราจะพบว่า ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของย่านนี้ ไม่ได้เหมือนกับ Chinatown ในซานฟรานซิสโกในปัจจุบัน 

อาคารเป็นตึกแถวสไตล์ยุโรปแบบที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยที่ชาวจีนจะแสดงอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของตน ด้วยการนำของประดับตกแต่ง เช่น ป้ายขนาดใหญ่ที่มีภาษาจีนเขียนอยู่บนป้าย โคมไฟจีน หรือยันต์มาแปะไว้ที่ตัวอาคาร เพื่อแสดงอัตลักษณ์ของตน

Chinatown ปี 1901 (ภาพจากห้องสมุดสาธารณะเมืองซานฟรานซิสโก)

ชาวจีนประดับตกแต่งตึกแถวที่ตนเช่าใน Chinatown ด้วยโคมไฟและป้ายอักษรจีน เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับที่อยู่อาศัยของตนเอง (ภาพจาก VOX : The surprising reason behind Chinatown's aesthetic)

เมื่อเมืองซานฟรานซิสโกขยายตัวขึ้น ย่าน Chinatown กลายมาเป็นที่หมายปองของนายทุนผิวขาวที่มองว่าสามารถทำเงินได้จำนวนมหาศาลจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจในที่ดินผืนนี้

คำที่ใช้ในหนังสือพิมพ์ในยุคนั้นเป็นตัวสะท้อนทัศนคติของคนอเมริกันผิวขาวที่มีต่อชาวอเมริกันเชื้อสายจีนและย่าน Chinatown ได้เป็นอย่างดี เช่น 

“ทางการซานฟรานซิสโกจะทำการกำจัดพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยความโกลาหลและสิ่งโสโครก” (San Francisco Will Get Rid of Sixteen Square Blocks Turmoil of Turmoil and Filth) เพื่อให้เหมาะสมกับพ่อค้าผิวขาว (suitable to Caucasian merchant)  

“ที่ว่างซึ่งถูกใช้เหมือนที่ทิ้งขยะ” (Vacant Space Used As Dumps) และ “ผู้จัดการทรัพย์สินจะลงไปสำรวจย่านคนจีนที่แสนจะโสโครก” (Trustees Inspect Filthy Chinatown) 

แผนที่ย่าน Chinatown ปี 1885 ที่จัดทำโดยคณะกรรมการทีปรึกษาพิเศษของเมือง

นอกจากนี้คณะกรรมการที่ปรึกษาพิเศษของเมืองซานฟรานซิสโก ยังได้จัดทำผังรายงานกิจการในย่าน Chinatown โดยเน้นไปที่โรงฝิ่น, ซ่องโสเภณี และบ่อนการพนัน ซึ่งในรายงานของคณะกรรมการอีกฉบับได้ระบุว่า เป้าหมายของรายงานเกี่ยวกับย่าน Chinatown ก็เพื่อ “เปิดเผยศีลธรรมอันต่ำช้า การกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อน และบรรดาสิ่งชั่วร้ายที่เผ่าพันธุ์นี้เป็นอยู่”

ภาพประกอบจาก VOX : The surprising reason behind Chinatown's aesthetic

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นได้ถึงทัศนคติของชาวอเมริกันผิวขาวที่มีต่อชาวจีนว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม สิ่งโสโครก เป็นเผ่าพันธุ์ชั่วร้ายที่ฝังตัวอยู่ในสังคมอเมริกัน โดยเฉพาะเมื่อมีวิกฤตอย่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ความเกลียดชังเหล่านี้ยิ่งทวีความรุนแรง

ไม่ต่างจากในยุคปัจจุบันที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วประเทศ ได้ทำให้ชาวอเมริกันพุ่งความเกลียดชังที่มีต่อชาวจีน หรือ ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ดังที่เห็นได้จากสถิติอาชญากรรมต่อชาวเอเชียที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด

ภาพซ้าย การเดินขบวนต่อต้านอาชญากรรมแห่งความเกลียดชังต่อชาวเอเชียของคนในย่าน Chinatown หลังเหตุทำร้ายร่างกายคนอเมริกันเชื้อสายจีนและเอเชียจำนวนมากในปี 2020, ภาพขวา สถิติอาชญากรรมแห่งความเกลียดชังต่อชาวเอเชียในสหรัฐอเมริกา ที่พุ่งสูงขึ้น 149% ระหว่งปี 2019-2020

สำหรับตอนที่ 2 เราจะมาต่อกันกับ “ชะตากรรมและจุดพลิกผัน” ของย่าน Chinatown ในซานฟรานซิสโก ที่พลิกจากวิกฤตกลายมาเป็นโอกาสในการอยู่รอด จนสามารถรักษาอัตลักษณ์และความเป็นชุมชนชาวจีนมาได้จวบจนปัจจุบัน

 

ข้อมูลอ้างอิง 

National Geographic: The bloody history of anti-Asian violence in the West
https://www.nationalgeographic.com/history/article/the-bloody-history-of-anti-asian-violence-in-the-west

VOX: The surprising reason behind Chinatown's aesthetic
https://www.youtube.com/watch?v=EiX3hTPGoCg

History Channel: Chinese miners are massacred in Wyoming Territory
https://www.history.com/this-day-in-history/whites-massacre-chinese-in-wyoming-territory

Los Angeles Almanac: 1871 Chinese Massacre
http://www.laalmanac.com/history/hi06d.php

  หนังสือพิมพ์ The Topeka Herald วันที่ 4 พฤศจิกายน 1905 
  หนังสือพิมพ์ The Evening Bee วันที่ 29 มีนาคม 1900


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

“The Roof Koreans” เมื่อชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี ต้องจับปืนป้องกันตัวบนดาดฟ้า จากการจลาจลครั้งใหญ่ใน LA

Roof Koreans หรือที่เรียกว่า Rooftop Koreans เป็นศัพท์สแลงที่หมายถึงเจ้าของธุรกิจชาวเกาหลี-อเมริกันที่ปกป้องอาคารร้านค้าของพวกเขาในระหว่างการจลาจลในนครลอสแองเจลิส ในปี พ.ศ. 2535 ภาพของเจ้าของธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีที่ยืนถืออาวุธปืนอยู่บนหลังคาถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางในสื่อต่าง ๆ ทำให้พวกเขาได้กล่าวถึงในความกล้าและห้าวหาญ โดยคนอเมริกันเชื้อสายเกาหลีพร้อมอาวุธปืนขึ้นไปตั้งหลักบนหลังคาดาดฟ้าอาคารที่พวกตนประกอบธุรกิจอยู่ เพื่อป้องกันอาคารร้านค้าตลอดจนทรัพย์สินให้พ้นจากการปล้นโดยผู้ก่อการจลาจล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน และชาวอเมริกันเชื้อสายฮิสปานิก จากเหตุการณ์จลาจลกรณีตำรวจผิวขาวของกรมตำรวจแห่งนครลอสแองเจิลลิส (LAPD) 4 นายรุมทุบตี Rodney King ชายผิวสี และมีการการจลาจลในนครลอสแอนเจลิส ในปี พ.ศ. 2535 อันเป็นการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่เทศมณฑลลอสแอนเจลิส ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 

โดยความไม่สงบเริ่มขึ้นในวันที่ 29 เมษายน เมื่อมีคำพิพากษาให้ตำรวจ 4 นายพ้นผิดจากข้อหากระทำการเกินกว่าเหตุและทำร้ายร่างกายขณะจับกุม Rodney King ชายผิวสีที่ก่อเหตุเมาแล้วขับ การจลาจลดำเนินอยู่ 6 วันก่อนจะจบลงในวันที่ 4 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิต 63 คน ทรัพย์สินเสียหายคิดเป็นมูลค่ามากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ (มูลค่าในขณะนั้น)

ภาพเหตุการณ์ที่ตำรวจผิวขาวของ Los Angeles Police Department (LAPD) 4 นายรุมทุบตี Rodney King ชายผิวสี จนทำให้เกิดการการจลาจลในนครลอสแอนเจลิส ในปี พ.ศ. 2535

Latasha Harlins (ซ้าย) เด็กสาวผิวสีวัย 15 ปี เสียชีวิตหลังจากถูก Soon Ja Du (ขวา) ยิง

การจลาจลในลอสแอนเจลิส ปี พ.ศ. 2535 เป็นผลพวงมาจากหลายสาเหตุ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันกับชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเพิ่มสูงขึ้นเมื่อ Soon Ja Du เจ้าของร้านค้าผู้มีเชื้อสายเกาหลียิง Latasha Harlins เด็กสาวผิวสีวัย 15 ปีจนเสียชีวิตหลัง Soon Ja Du กล่าวหาว่า Harlins พยายามขโมยของในร้าน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 คณะลูกขุนมีความเห็นให้ดูมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา (Voluntary manslaughter) มีโทษสูงสุดคือจำคุก 16 ปี แต่จอยซ์ คาร์ลิน ผู้พิพากษาตัดสินให้ Soon Ja Du ถูกคุมประพฤติ 5 ปี บำเพ็ญงานสาธารณประโยชน์ 400 ชั่วโมง และปรับ 500 ดอลลาร์สหรัฐ

ในเดือนเดียวกันกับที่ Soon Ja Du ก่อเหตุ Rodney King และเพื่อนอีก 2 คนถูกตำรวจจับกุมจากหลังเมาแล้วขับและพยายามหลบหนีการจับกุม King และเพื่อนถูกตำรวจรุมทำร้ายระหว่างการจับกุม ซึ่งมีผู้บันทึกวิดีโอเหตุการณ์ไว้ได้แล้วส่งไปให้สำนักข่าวท้องถิ่น KTLA เดือนเมษายน พ.ศ. 2535 หลังอัยการเขตเทศมณฑลลอสแอนเจลิสตั้งข้อหาตำรวจ 4 นายว่ากระทำการเกินกว่าเหตุและใช้กำลังประทุษร้าย คณะลูกขุนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันผิวขาวมีความเห็นให้ตำรวจทั้ง 4 นายไม่มีความผิด หลังจากตีความเหตุการณ์ในวิดีโอว่า King พยายามขัดขืนการจับกุม

ตำรวจ 4 นายที่ร่วมกันทำร้าย King โดย 2 นายได้รับโทษจำคุก 30 เดือน ฐานละเมิดสิทธิพลเมือง ส่วนอีก 2 นายถูกไล่ออกจากกรมตำรวจลอสแอนเจลิส

หลังมีคำพิพากษาในวันที่ 29 เมษายน จึงเกิดการชุมนุมที่หน้ากรมตำรวจลอสแอนเจลิส และชาวผิวสีบางกลุ่มที่โกรธแค้นเริ่มไล่ทำร้ายชาวอเมริกันผิวขาวในนครลอสแอนเจลิสโซนใต้ ก่อนที่วันต่อมามีการประกาศเคอร์ฟิว และความรุนแรงแผ่ขยายไปเป็นการวางเพลิงและปล้นทรัพย์ในนครลอสแอนเจลิสโซนกลาง รวมถึงการปะทะกันระหว่างชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันกับชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเมื่อมีผู้ก่อการจลาจลบุก Korea Town 

วันที่ 1 พฤษภาคม Rodney King เรียกร้องให้มีการยุติการจลาจล มีการเคลื่อนกำลังทหารจากรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐบาลกลางรวมกว่า 10,000 นาย เข้ามาในเมือง วันที่ 4 ของการจลาจล (2 พฤษภาคม) มีการเพิ่มกำลังเสริมรวมเป็น 13,500 นาย ทำให้ลอสแอนเจลิสกลายเป็นเมืองที่ถูกกองประจำการสหรัฐยึดครองมากที่สุดนับตั้งแต่การจลาจลในวอชิงตัน ดี.ซี. พ.ศ. 2511 การจลาจลจบลงในวันที่ 4 พฤษภาคม เมื่อกองกำลังรัฐบาลควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และมีการยกเลิกเคอร์ฟิว แต่ให้คงกำลังทหารไว้จนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม

หลังเหตุการณ์สงบ มีผู้เสียชีวิต 63 คน บาดเจ็บ 2,383 คน และถูกจับกุม 12,111 คน อาคารบ้านเรือนถูกเผาทำลายกว่า 3,767 แห่ง กรมตำรวจลอสแอนเจลิสถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทในการควบคุมและจัดการสถานการณ์ที่ผิดพลาด จน แดริล เกตส์ ผู้บัญชาการของกรมตำรวจลอสแอนเจลิสต้องประกาศลาออก ส่วนคดี Rodney King ได้รับการพิจารณาใหม่ในปี พ.ศ. 2536 นำไปสู่การตัดสินโทษตำรวจ 4 นายที่ร่วมกันทำร้าย King โดย 2 นายได้รับโทษจำคุก 30 เดือนฐานละเมิดสิทธิพลเมือง ส่วนอีก 2 นายถูกไล่ออกจากกรมตำรวจลอสแอนเจลิส ส่วน King ได้รับเงินชดเชย 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Korea Town นครลอสแอนเจลิส

เหตุการณ์นี้ทำให้เกิด The Roof Koreans (The Rooftop Koreans) ด้วยนครลอสแอนเจลิสเป็นที่พำนักอาศัยของชาวเกาหลีกว่า 300,000 คน เป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ของผู้อพยพชาวเกาหลี หลายคนมาถึงในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 เมื่อสภาพทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในขณะนั้นมีความแตกต่างอย่างมากกับเกาหลีใต้ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากขาดโอกาสในการทำงานและเงินทุนที่จำกัด ชาวเกาหลีจำนวนมากจึงซื้อร้านค้าในพื้นที่ของคนผิวสีเป็นส่วนใหญ่ มักจะมาจากเจ้าของสีขาวย้ายออก นอกจากนี้ราคาค่าเช่าในพื้นที่เหล่านี้ยังถูกมากจนสามารถที่จะเปิดทำธุรกิจได้ด้วยเงินทุนไม่มากนัก

นครลอสแอนเจลิสกลายเป็นอนาธิปไตยอย่างรวดเร็ว มีทั้ง การลอบวางเพลิง การฆาตกรรม และการอาละวาดปล้นสะดม ตำรวจนครลอสแอนเจลิสละทิ้งย่าน Korea Town ตลาดแคลิฟอร์เนีย นครลอสแอนเจลิส ในระหว่างการจลาจลในปี 1992

เมื่อเกิดการประท้วงในเรื่องของการพ้นผิดของตำรวจที่รุมทำร้าย Rodney King นครลอสแอนเจลิสกลายเป็นอนาธิปไตยอย่างรวดเร็ว มีทั้งการลอบวางเพลิง การฆาตกรรม และการอาละวาดปล้นสะดม ความตึงเครียดทางชาติพันธุ์เริ่มก่อตัวขึ้นในชุมชนเกาหลี ชาวเกาหลีจำนวนมากถูกทำร้ายจนบาดเจ็บตายล้มตายระหว่างการปล้นตามร้านค้าต่าง ๆ และการจลาจลในนครลอสแอนเจลิสเริ่มเลวร้ายลง ชาวเกาหลีรู้แล้วว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรบางอย่าง สถานีวิทยุเกาหลีในนครลอสแอนเจลิสเริ่มเรียกร้องให้อาสาสมัครชาวเกาหลีออกมาช่วยเจ้าของธุรกิจชาวเกาหลี ซึ่งไม่นานก็นำไปสู่กลุ่มอาสาสมัครที่บรรทุกทุกอย่างตั้งแต่อาวุธทำเองไปจนถึงปืนเล็กยาวจู่โจม ในช่วงเริ่มต้นของการจลาจล กรมตำรวจลอสแอนเจลิสได้รับคำร้องเรียนจากเจ้าของธุรกิจชาวเกาหลี โดยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือใด ๆ และตำรวจส่วนใหญ่ล่าถอยออกจากทุกเรื่องเมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลงเรื่อย ๆ และเมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้น ต้องใช้เวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เจ้าของธุรกิจชาวเกาหลีที่ถูกปิดล้อมจะได้เห็นการบังคับใช้กฎหมายทุกรูปแบบ พวกเขาจึงเริ่มมาตรการปกป้องตนเอง ดังนั้นเรื่องของ The Roof Koreans จึงถือกำเนิดขึ้น

หนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดของหลังคาของชาวเกาหลีอยู่ที่ย่าน Korea Town ตลาดแคลิฟอร์เนียในนครลอสแอนเจลิส นักธุรกิจเจ้าของร้าน เสริมความแข็งแกร่งให้อาคารร้านค้าของเขา ด้วยการติดอาวุธปืนให้พนักงานครบทั้ง 20 คนผูกผ้าคาดหัวแบบเกาหลี ภาพลักษณ์นี้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของ The Roof Koreans

Chang Lee ชาวเกาหลี-อเมริกัน กำปืนและตะโกนใส่ผู้ลักขโมยข้าวของจากดาดฟ้าของห้างสรรพสินค้าเล็ก ๆ ที่เขายืนอยู่ ชายวัย 35 ปีคนนี้ไม่เคยถือปืนมาก่อนการจลาจลในนครลอสแอนเจลิส Lee ได้กลิ่นไฟที่ลุกโชนในย่าน Korea Town ของนครลอสแอนเจลิส "ตำรวจอยู่ที่ไหน ตำรวจอยู่ที่ไหน" Lee กระซิบซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากหลังคาร้านของเขา Lee จะไม่เห็นการบังคับใช้กฎหมายเป็นเวลาสามวัน มีเพียงเพื่อนชาวเกาหลี-อเมริกันเท่านั้นที่ถูกสำนักข่าวถ่ายภาพไว้ ซึ่งดูเหมือนทหารที่ติดอาวุธดูราวกับเป็นสงครามกองโจรบนท้องถนน วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2535 เมืองแห่งทูตสวรรค์ได้ถูกโหมกระหน่ำด้วยการปล้นสะดม เป็นวันที่สองของการโจมตีด้วยอาวุธและการลอบวางเพลิง ภายหลังการพ้นผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจของกรมตรวจนครลอสแอนเจลิสผิวขาวสี่นาย เนื่องจากใช้ความรุนแรงด้วยการทุบตี Rodney King ระหว่างการจับกุม

เพื่อนบ้านของ Chang Lee ออกมาช่วยเขาทำความสะอาดหลังจากที่ปั๊มน้ำมันของเขาถูกไฟไหม้

การจลาจลที่กินเวลานานเกือบสัปดาห์และคร่าชีวิตผู้คนไป 63 คน บาดเจ็บมากกว่า 1,000 คน และสร้างความเสียหายประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นธุรกิจที่ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเป็นเจ้าของ ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่คุกรุ่นมายาวนานระหว่างเจ้าของธุรกิจชาวอเมริกัน-เกาหลีผู้อพยพและลูกค้าชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่มีอำนาจเหนือกว่า คำตัดสินของ Rodney King และการจลาจลที่ตามมามักถูกมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับการบังคับใช้กฎหมายและชุมชนชาวแอฟริกัน-อเมริกัน Edward Taehan Chang ศาสตราจารย์ด้านชาติพันธุ์ศึกษา และผู้ก่อตั้ง Young Oak Kim Center for Korean American Studies แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ กล่าวว่า งานดังกล่าวยังเป็นงานสมัยใหม่ที่สำคัญที่สุดเพียงงานเดียวสำหรับชาวเกาหลี-อเมริกัน “แม้ว่าพ่อค้าชาวเกาหลี-อเมริกันจะตกเป็นเหยื่อ แต่ไม่มีใครได้รับการดูแล เพราะขาดทั้งการมองเห็นและอำนาจทางการเมืองของเรา” Chang กล่าว “ผู้อพยพชาวเกาหลีจำนวนมากที่มาถึงในช่วงปลายทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 80 ได้เรียนรู้ความสำเร็จทางเศรษฐกิจเพียงลำพัง แต่จะไม่รับประกันตำแหน่งของพวกเขาในสังคมอเมริกัน เมื่ออะไรเริ่มเปลี่ยนไป อัตตลักษณ์ของเกาหลี-อเมริกันจึงถือกำเนิดขึ้น” และ “การจลาจลแอลเอคราวนั้น กลายเป็นเสียงปลุกอย่างโหด ๆ ให้ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีตื่นจากการหลับใหลและตื่นตัวขึ้นจากการนิ่งเฉยรอ

Richard Rhee เจ้าของร้านถือปืนพกและพกโทรศัพท์มือถือ ยืนเฝ้าระวังบนหลังคาร้านขายของชำของเขาในย่าน Korea Town ของนครลอสแองเจลิสเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

การจลาจลทำให้ย่าน Korea Town ตกเป็นเป้าของถูกทั้งเหล่าพวกแก๊งอันธพาลและพวกก่อการจลาจลในนครลอสแองเจลิสเล็งเอาไว้อย่างเจาะจง ด้วยหวังจะเข้าปล้นชิงฉกฉวยหาประโยชน์ระหว่างที่เกิดความวุ่นวายโกลาหล ในสภาพที่เวลานั้นทั้งกรมตำรวจนครลอสแองเจลิส (Los Angeles Police Department : LAPD) และทหารกองกำลังพิทักษ์ชาติต่างปฏิบัติภาระหน้าที่กันจนสุดกำลังอยู่แล้ว ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเหล่านี้ซึ่งถูกปล่อยทิ้งไว้ให้ต้องหาทางป้องกันพวกเขากันเอง พวกเขาจึงใช้สิทธิของพวกเขาตามที่ระบุเอาไว้ในบทแก้ไขที่ 2 (Second Amendment) ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ด้วยการจัดตั้งกองกำลังอาสาสมัคร (Militia) ขึ้นมา โดยจัดวางกำลังคนติดอาวุธเข้ายึดที่มั่นเพื่อการป้องกันตัวตามยอดตึกดาดฟ้าหลังคาอาคาร ตลอดจนบริเวณรอบ ๆ อาคารห้างร้านอันเป็นที่ตั้งธุรกิจทั้งหลายของพวกเขา และได้สมญานามว่า “Roof Koreans” (ชาวเกาหลีบนดาดฟ้า/หลังคา/ยอดตึก)

ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลียืนหยัดรักษาที่มั่น ณ ลานดาดฟ้าบนตึกของพวกเขาเอาไว้ และเริ่มต้นยิงตอบโต้กลับไปในทันทีที่พวกแก๊งอันธพาลและพวกก่อจลาจลเริ่มบุกเข้ามาปล้นชิงข้าวของ

พลเมืองในพื้นที่ 150 ช่วงตึกของ Korea Town แม้จะถูกปล่อยทิ้งโดยกรมตำรวจนครลอสแองเจลิส (Los Angeles Police Department : LAPD) และทหารกองกำลังพิทักษ์ชาติ ซึ่งพวกเขาได้รับแจ้งให้ขนข้าวของต่าง ๆ และอพยพออกจากพื้นที่ไปเสีย และผู้อพยพจำนวนมากซึ่งหลบหนีจากไปภายหลังก็พบว่า ธุรกิจของพวกเขาถูกเผาจบราบเรียบไปเสียแล้ว แต่ยังมีชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีอื่น ๆ ที่ปฏิเสธไม่ยอมตกเป็นเหยื่อรับเคราะห์ และตัดสินใจที่จะอยู่จับอาวุธขึ้นมาปกป้องทรัพย์สินของพวกเขา และ “ปกป้องและรับใช้” กันและกันภายในชุมชนของพวกเขา ถึงแม้มีจำนวนน้อยกว่าพวกก่อจลาจลที่ติดอาวุธ ซึ่งพยายามเข้าปล้นชิงข้าวของจากธุรกิจต่าง ๆ ของ Korea Town แต่ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเหล่านี้ก็ยังคงยืนหยัดรักษาที่มั่น และลานดาดฟ้าบนตึกของพวกเขาเอาไว้ และเริ่มต้นยิงตอบโต้กลับไป ในทันทีที่พวกแก๊งอันธพาลและพวกก่อจลาจลเริ่มบุกเข้ามาปล้นชิงข้าวของสมาชิกของ Roof Koreans ก็เริ่มต้นยิงปืนใส่ทันที

ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลียืนหยัดรักษาที่มั่นบนตึกของพวกเขาเอาไว้ จนกลายเป็นตำนาน Roof Koreans

ชายอเมริกันเชื้อสายเกาหลีสมาชิกของ Korea Town เหล่านี้จำนวนมากทีเดียวเคยเป็นทหารผ่านศึกที่ประจำการอยู่ในกองทัพสหรัฐฯ หรือไม่ก็เป็นอดีตทหารเกณฑ์ในกองทัพเกาหลีใต้ ทั้งนี้เกาหลีใต้กำหนดให้ชายทุกคนต้องรับราชการเป็นทหารเป็นเวลา 2 ปี รวมทั้งชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีด้วย ด้วยสภาวะขาดแคลนกำลังคน อาวุธปืนที่ชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีเหล่านี้มีอยู่ในครอบครองมีทั้งพวกปืนเล็กยาวในรูปลักษณ์แบบปืนเล็กยาวแบบ AK-pattern, ปืนพก Glock 17, ปืนเล็กยาว Ruger Mini-14, ปืนเล็กสั้นแบบ SKS carbines, ปืนเล็กยาว AR-15, ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ TEC-9, ปืนพกกึ่งอัตโนมัติแบบปืนกลมือ Uzi-pattern, ปืนลูกซอง Remington 870, ปืนเล็กยาวแบบ Bolt-action, ปืนพกนานาชนิด, และปืนเล็กสั้นกึ่งอัตโนมัติแบบ Daewoo K-1 ซึ่งเป็นอาวุธปืนประจำกายของทหารเกาหลีใต้ในสมัยนั้น

Charles Whitman มือปืนชาวอเมริกันที่เป็นฆาตกรสังหารหมู่ 18 ศพ (รวมทั้งตัว Whitman เอง) ซึ่งได้รับฉายาอันไม่น่าอภิรมย์ว่า “นักฆ่าแห่งตึกสูงของเท็กซัส” (Texas Tower Sniper)

ถึงแม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า พวกชาวบ้านซึ่งเป็นอเมริกันเชื้อสายเกาหลีของ Korea Town ถูกทอดทิ้ง โดยตำรวจของกรมตำรวจนครลอสแองเจลิสที่ทำตัวเหนียมราวกับลูกแกะเชื่อง ๆ แต่สื่อมวลชนกลับเสนอข่าวเกี่ยวกับกองกำลัง Roof Koreans ในเชิงวิพากษ์โจมตี โดยการกระทำของพวกเขาถูกระบุว่าเป็น “การก่อกวนความสงบเรียบร้อย” รวมทั้ง Roof Koreans ยังถูกนำไปเปรียบเทียบกับ Charles Whitman มือปืนชาวอเมริกันที่เป็นฆาตกรสังหารหมู่ซึ่งได้รับฉายาอันไม่น่าอภิรมย์ว่า “นักฆ่าแห่งตึกสูงของเท็กซัส” (Texas Tower Sniper) แต่ที่เลวร้ายยิ่งไปกว่านี้ก็คือ เมื่อในที่สุดกำลังตำรวจของ กรมตำรวจนครลอสแองเจลิสกลับเข้ามาหลังจากเรื่องราวต่าง ๆ สงบเงียบเรียบร้อยลงแล้ว ตำรวจได้จับกุมคุมขังสมาชิก Roof Koreans เอาไว้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งยึดอาวุธปืนต่าง ๆ ของพวกเขาไปด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้คนจำนวนมากยังคงยกย่องชมเชยสมาชิก Roof Koreans ในเรื่องความกล้าหาญและความยืดหยุ่นในระหว่างที่เกิดการจลาจลโกลาหลอลหม่านครั้งนั้น และภาพของกลุ่มชายถืออาวุธบนดาดฟ้ายอดอาคารห้างร้านต่าง ๆ ก็กลายเป็นภาพหนึ่งที่ได้รับการเชิดชูให้เป็น ICON อย่างถาวรของการจลาจลในนครลอสแองเจลิส ปี พ.ศ. 2535 และ Roof Koreans ยังคงเป็นที่รู้จักจดจำในคนรุ่นต่อ ๆ มา ทั้งถูกนำไปใช้ผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกมากมาย

Roof Koreans ยังคงเป็นที่รู้จักจดจำในคนรุ่นต่อ ๆ มา ทั้งถูกนำไปใช้ผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกมากมาย


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

หมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos) ดินแดนสัตว์หายากที่ต้องมาเยือนสักครั้ง

กาลาปากอสเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวที่ต้องจ่ายแพงกว่าปกติ ค่าที่ขึ้นชื่อระดับโลกเรื่องสัตว์แปลก ๆ รวมถึงความงดงามมหัศจรรย์ของภูมิทัศน์ ผนวกเข้ากับเรื่องราวของ ชาลส์ ดาร์วิน ผู้เคยร่วมโดยสารเรือหลวงอังกฤษเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว เขาได้ผ่านไปเยือนหมู่เกาะแห่งแปซิฟิกซึ่งห่างจากฝั่งราวพันกิโลเมตรเหล่านี้ แล้วเขียนหนังสือท้าทายความเชื่อของคริสตศาสนจักรว่าด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการ นี่ยิ่งกระพือความอยากของใครต่อใครให้ไปเยือนกาลาปากอส

คนมีเงินเป็นถุงเป็นถังคงไม่กระไร แต่สำหรับผมผู้ซึ่งเป็นนักเดินทางทุนต่ำจำเป็นต้องคิดแล้วคิดอีกหลายตลบกว่าจะตัดสินใจจัดทริปนี้ให้กับตัวเอง เริ่มตั้งแต่ตั๋วเครื่องบิน ซึ่งคนต่างชาติต้องจ่ายแพงกว่าคนเอกวาดอร์ราวสองเท่า ไหนจะค่าเข้าเขตพิเศษ ค่าเข้าอุทยานแห่งชาติ ค่าที่พักอาหารและจิปาถะต่าง ๆ ระหว่างที่อยู่บนเกาะ รวม ๆ แล้วเพียงสิบวันผมต้องควักเงินจ่ายไปเท่ากับค่าใช้จ่ายในการเดินทางปกติสองเดือน ถือว่าโหดมาก

ผมตั้งต้นที่เมืองวายากิล ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศเอกวาดอร์ (หรือจะขึ้นเครื่องที่สนามบินเมืองหลวงกีโตก็ได้เช่นกัน) เครื่องบินเทคออฟจากรันเวย์ ใช้เวลาราวชั่วโมงก็ลดระดับความสูงลงเพื่อจะร่อนลงรันเวย์ของสนามบินเซย์มอร์บนเกาะบัลตราอันเป็นหน้าด่านแรก น้ำทะเลสีครามน้ำเงินปรากฎขึ้น เห็นผืนแผ่นดินสีน้ำตาลเห็นจากมุมสูงก็รู้ทันทีว่านั่นต้องเป็นหมู่เกาะกาลาปากอสแน่นอน ผู้โดยสารส่วนใหญ่ออกอาการตื่นเต้นกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเครื่องจอดสนิทแล้วผู้คนก็ออกมาสู่อาคารผู้โดยสาร เดินตาม ๆ กันไป เจ้าหน้าที่ประทับตราการเข้าสู่เกาะลงในพาสปอร์ตเสร็จก็ไปขึ้นรถบัสซึ่งอยู่ด้านนอกอาคาร นักท่องเที่ยวบางส่วนที่มากับทัวร์ก็มีไกด์คอยอำนวยความสะดวกให้ ส่วนคนที่มาเองก็ต้องช่วยเหลือตัวเองเพื่อจะไปยังเกาะซานตาครูซ รถบัสพามาถึงท่าเรือ เกาะบัลตราและซานตาครูซอยู่ใกล้กันมาก นั่งเรือเล็กไม่ถึงห้านาทีก็ข้ามมาอีกฝั่งแล้ว จากนั้นก็ต้องนั่งรถบัสอีกหนึ่งต่อเพื่อไปยังปวยร์โตอโยราอันเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของเกาะ 

เนื่องจากผมไม่ได้จองที่พักล่วงหน้า จึงต้องใช้เวลาเดินหาเกสต์เฮาส์ที่ราคาไม่โหดเกินไปนัก เสียเวลาราวสองชั่วโมงก็ได้ห้องเดี่ยวในราคา 15 เหรียญต่อวัน (ประเทศเอกวาดอร์ใช้เงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ) อาจจะถูกสุดในเมืองแล้ว ภารกิจต่อไปคือการหาร้านเช่าจักรยาน เมืองนี้เล็กเท่าปาย เดินเที่ยวก็ได้ แต่จะสะดวกกว่าหากอยากออกนอกเมืองไปยังจุดท่องเที่ยวอื่น ๆ เสร็จจากการเช่าจักรยานก็มาจัดการเรื่องปากท้องบ้าง ร้านอาหารทั้งหลายเน้นขายนักท่องเที่ยว ซึ่งราคาแพงกว่า วิธีลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็คือการจับจ่ายในร้านชำหรือซูเปอร์มาร์เก็ตหรือกินอาหารที่ตลาดสดแทน

ตัวเมืองปวยร์โตอโยราไม่ได้ต่างจากเมืองท่องเที่ยวอื่น ๆ ในแง่ที่เต็มไปด้วยร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหาร บริษัททัวร์ และอะไรต่อมิอะไรพรักพร้อมรองรับคนจับจ่ายซื้อหาในสิ่งที่ตนต้องการ แต่สิ่งที่แตกต่าง ก็คือสัตว์เชื่อง ๆ ทั้งหลายที่ไม่ค่อยกลัวมนุษย์ บริเวณตลาดปลามีแมวน้ำกระดึ๊บตามแม่ค้าต้อย ๆ ชายชาวประมงต่างทำการแล่ปลาบนเรือเล็กก็มีนกพิลิแกนมะรุมมะตุ้มอ้าปากกว้างคอยรับเศษอาหาร นกหน้าตาประหลาดก็บินเล่นแถวนั้น ตามโขดหินมีปูแดงขี้ตกใจมากมาย นกฟินช์ตัวเล็กเท่านกกระจอกก็เชื่องมากพอที่จะเข้าไปใกล้เพื่อทักทายและถ่ายรูปพวกเขา ในวันแดดดีเจ้าอิกัวน่าทะเลทั้งหลายต่างพากันขึ้นมาผึ่งแดด พวกมันชื่นชอบการดำน้ำและเป็นนักดำน้ำที่เก่งกาจ เมื่อขึ้นฝั่งมาอาบแดดก็พ่นน้ำออกทางจมูก หน้าตาพวกมันคล้ายกับก๊อตซิลล่ามาก พื้นที่บนหาดเล็กใกล้ท่าเรืออีกแห่งก็มีสิงโตทะเลพากันนอนขี้เกียจขึ้นอืดอย่างไม่แคร์สายตานักท่องเที่ยว เข้าใกล้มากอาจจะโดนขู่บ้าง แต่พวกมันก็ไม่น่าเข้าใกล้เท่าไหร่เพราะกลิ่นตัวแรงมาก เวลาบ่ายแก่ เด็ก ๆ ชาวเกาะพากันปั่นจักรยานมาท่าน้ำเพื่อกระโดดน้ำเล่น

ในระยะเดินทอดน่องสามารถไปเที่ยวสถานีวิจัยดาร์วิน เป็นสถานที่เรียนรู้ระบบนิเวศกาลาปากอส รวมถึงการพยายามสอดแทรกจิตสำนึกด้านการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่าทว่าเปราะบางเหล่านี้ เมื่อเข้าไปในศูนย์ จะมีฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ นักท่องเที่ยวเดินเป็นวงกลม นับว่าเป็นห้องเรียนที่ดีเยี่ยมทั้งสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก ๆ ด้วย นอกจากสิ่งที่จัดแสดงแล้ว ทางศูนย์ยังทำงานวิจัยหลายอย่างด้วย เช่นการขยายพันธุ์เต่าบกยักษ์ เป็นต้น

อีกด้านของปวยร์โตอโยรามีหาดตอร์ตูกาทรายขาวน้ำใส เหมาะสำหรับเดินเล่น อาบแดด ว่ายน้ำ และพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง ดูเหมือนอิกัวน่าทะเลจะมีปริมาณมากกว่านักท่องเที่ยวเสียอีก นกบู๊บบี้ตีนฟ้าน่าจะเป็นอีกไฮไลต์ พวกมันก็เชื่องมากเช่นกัน ท้ายหาดมีเวิ้งอ่าว นักท่องเที่ยวบางส่วนเช่าคายักพายเล่นกัน บ้างหลบใต้ต้นไม้นอนอ่านหนังสือ คนที่มากันเป็นครอบครัวก็จัดปิกนิคกัน สังเกตว่าไม่มีขยะเกลื่อน น่าจะเพราะทุกคนรู้ว่าจะต้องช่วยกันอนุรักษ์เพื่อให้ความงดงามคงอยู่นานเท่านาน

ยังมีอีกหาดทรายงามซึ่งอยู่ห่างจากย่านชุมชนค่อนข้างมาก คือการ์ราปาเตโร นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้วิธีเช่าแท็กซี่ให้ไปส่ง แต่ผมปั่นจักรยานไป ระหว่างทางผ่านบ้านเรือนเรือกสวน กาลาปากอสมีประชากรอยู่ราวสามหมื่นคน ประกอบอาชีพเกษตรและด้านการท่องเที่ยว เมื่อปั่นผ่านหมู่บ้านเบยาวิสตา รู้ว่ามีถ้ำลาวาจึงแวะชมเสียหน่อย ผมไม่ได้สนใจการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา จึงไปแค่ให้ได้เห็นและเป็นประสบการณ์เท่านั้น ออกจากถ้ำก็ปั่นต่อไปจนถึงหาดการ์ราปาเตโร ซึ่งพบว่าสงบเงียบมาก ทางเดินลงสู่หาดสร้างไว้เพื่อป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยวออกนอกเส้นทาง ลมพักโบกโกรกเย็นเกือบหนาวในวันที่เมฆห่มคลุมท้องฟ้า บรรยากาศแบบนี้ไม่ได้ชวนให้ลงไปแหวกว่ายเล่นน้ำ แต่เหมาะสำหรับเดินทอดน่องเล่นตามชายหาด โดยมีเจ้านกนางนวลโฉบดิ่งลงสู่ทะเลเพื่อจับปลาเป็นอาหาร เป็นภาพเพลินตาเพลินใจดี ความพิเศษของหาดโดดเดี่ยวแห่งนี้ คือสามารถพักแรมได้ โดยจะต้องนำเต็นท์มากางนอนได้ในจุดที่บริการไว้ให้ เสียดายที่ผมไม่ได้นำเต็นท์มาด้วย เพราะก่อนมาที่นี่หาข้อมูลเรื่องแคมป์ปิ้งจากอินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย

ไฮไลท์ตื่นตาตื่นใจอีกแห่งบนเกาะซานตาครูซคือศูนย์อนุรักษ์เต่าบกยักษ์เอลชาโต นี่ก็ต้องอาศัยแรงขาในการปั่นจักรยานไป เพราะอยู่ห่างจากตัวเมืองร่วมสิบกิโลเมตร ดีที่การจราจรบนเกาะไม่คับคั่ง จึงปั่นช้า ๆ อย่างเพลิดเพลินทั้งไปและกลับ นักท่องเที่ยวต้องเปลี่ยนใส่รองเท้าบู๊ตเมื่อจะเข้าไปในศูนย์ และต้องเว้นระยะห่าง ไม่เข้าไปใกล้เต่ายักษ์ทั้งหลายมากจนเกินไป จากข้อมูลบอกว่าเมื่อร้อยกว่าปีก่อนยังมีประชากรเต่าบกยักษ์นับแสน ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมาก สาเหตุหนึ่งคือฝีมือการล่าของมนุษย์นั่นเอง 

ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยและเป็นเหตุผลหลักอย่างหนึ่งของการลงทุนมาเยือนกาลาปากอส ก็คือกาแฟ ซึ่งนับเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของที่นี่ การได้มาเยือนเพื่อเรียนรู้เข้าใจเกี่ยวกับกาแฟมากขึ้นจึงมีความหมายกับผมมากทีเดียว ผมใช้เวลาเกือบครึ่งหนึ่งไปกับการสืบเสาะแหล่งปลูกกาแฟ พูดคุยกับทั้งบาริสต้าและเจ้าของโรงคั่ว ชิมรสชาติกาแฟที่ปลูกในพื้นที่แล้วเปรียบเทียบกับกาแฟที่มาจากแหล่งอื่น ๆ สำหรับผม ถ้ากาลาปากอสไม่มีสัตว์ประหลาด แต่มีแค่กาแฟแล้วผมมาเยือนที่นี่ด้วยเหตุผลเดียวผมก็เห็นว่าคุ้มค่ามากแล้ว 

ขึ้นชื่อว่าหมู่เกาะย่อมไม่ได้มีแค่ซานตาครูซ แต่ยังมีเกาะน้อยใหญ่กระจุกกันอยู่อีกนับสิบ แต่ผมไม่มีโอกาสไปเยือน แค่สิบวันกระเป๋าสะตังก็จะฉีกอยู่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้รับ ก็นับว่าคุ้มค่ามาก เพราะไม่แน่ใจว่าชีวิตนี้จะยังมีโอกาสได้กลับมาเยือนเกาะห่างไกลในมหาสมุทรแปซิฟิกนี้อีกหรือไม่ 


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

คอร์รัปชัน...ไหมครับท่าน ตอนที่ 6 เรียนรู้จากสิงคโปร์ การป้องกันและการปราบปรามการทุจริต

การแก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบที่ประสบความสำเร็จและได้รับการกล่าวขานเสมอในแถบภูมิภาคนี้ คือ กรณีการจัดการการทุจริตในประเทศสิงคโปร์และฮ่องกง ยืนยันด้วยผลงานการจัดอันดับใน ดัชนีการรับรู้เรื่องคอร์รัปชัน (Corruption Perception Index-CPI) จัดทำโดย องค์กรความโปร่งใสสากล (Transparency International) สำหรับประเทศในแถบเอเชีย สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด 85 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 3 ของโลก ในขณะที่ฮ่องกง และญี่ปุ่นอยู่ในลำดับที่ 11 และ 19 ตามลำดับ (77 และ 74 คะแนน) ประเทศไทยได้คะแนนดังกล่าวที่ 36 คะแนนอยู่ในลำดับที่ 104 น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประเทศในโลกที่มีคะแนนเกินครึ่งโดยที่ประเทศที่มีคะแนนเกินครึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปยุโรปนั้น ทำให้เราน่าจะเรียนรู้จากกรณีของสิงคโปร์ในการจัดการกับการทุจริตประพฤติมิชอบแบบที่แม้มีอำนาจในการบริหารประเทศสูงสุด เช่น นายกรัฐมนตรี ก็ต้องถูกตรวจสอบเช่นกัน

หน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการกับปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบของสิงคโปร์ คือ สำนักงานสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau : CPIB) ซึ่งศักยภาพในการปฏิบัติงานเพื่อจัดการกับปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบในสิงคโปร์นั้นได้รับการยอมรับในระดับโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิภาพในงานด้านการสืบสวน (investigation) กลไกในการจัดการกับปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบของสิงคโปร์นั้นมีศักยภาพที่โดดเด่นและสามารจัดการกับปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างเป็นรูปธรรมผ่านกลไกการทำงานภายใต้กลยุทธ์หลัก 5 ด้าน กล่าวคือ ด้านแรก เจตนารมณ์ของฝ่ายการเมืองที่ต้องการกำจัดปัญหาคอร์รัปชันอย่างจริงจัง (Strong political will) ด้านที่สอง กฎหมายป้องกันการทุจริตและคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ (Effective laws) ด้านที่สาม ระบบศาลและการดำเนินคดีที่มีความอิสระ (Independent judiciary) ด้านที่สี่ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจังและเด็ดขาด (Effective enforcement) และ ด้านที่ห้า การให้บริการสาธารณะหรือการดำเนินงานของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ (Responsive public service) 

สำนักงานสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (CPIB) ขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรีและได้รับรับรองการใช้อำนาจในการปฏิบัติงานอย่างอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสิงคโปร์และกฎหมายป้องกันการทุจริต (prevention of corruption act) ที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 1960 โดยให้อำนาจในการจับกุมและสืบสวนการกระทำผิดในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในสิงคโปร์ รวมถึงข้าราชการและพนักงานเอกชนทุกคนตลอดจนข้าราชการระดับสูงในหน่วยงานรัฐ ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรี หรือข้าราชการอาวุโสของกระทรวงต่าง ๆ

บทบาทหน้าที่หลักของสำนักงานสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 
(1) การรับเรื่องราวร้องทุกข์และสืบสวนเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันทั้งใน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน 
(2) การสืบสวนการประพฤติหรือปฏิบัติงานโดยมิชอบ (malpractices) ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ 
(3) การพิจารณาพฤติกรรมและกระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในการให้บริการสาธารณะเพื่อลดโอกาสของการเกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน 

สำนักงานสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชันของสิงคโปร์ (CPIB) มีโครงสร้างในการทำงานที่เล็ก ไม่ซับซ้อน มีผลทำให้การปฏิบัติงานมีความคล่องตัวสูงประกอบกับการมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่ให้อำนาจในการปฏิบัติงานได้อย่างอิสระ จึงทำให้การปฏิบัติงานด้านการสืบสวนของสำนักงานสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชั่น (CPIB) สามารถจัดการกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว

ลองพิจารณาเปรียบเทียบกับประเทศไทยในการจัดการกับปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบบ้างว่าหากจะปรับใช้จากกรณีของสิงคโปร์นั้นเราจะสามารถนำสิ่งดี ๆ มาใช้ได้อย่างไร

ประการแรก กลยุทธ์การจัดการปัญหาคอร์รัปชัน นั้น คือ ความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาจากฝ่ายการเมือง เป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการฝ่าด่านการแก้ปัญหานี้ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ การเมืองไม่นิ่งและมีการต่อรองทางการเมืองเพื่อรักษาเสถียรภาพในการบริหารประเทศ การเมืองนิ่งในประเทศไทยนั้นหากย้อนกลับไปสักยี่สิบปีจะพบว่า มีแค่สองช่วง คือ สมัยรัฐบาลทักษิณ 1 และสมัยรัฐบาลที่มาจากการกระทำรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม ปัญหาการคอร์รัปชั่นในสมัยนั้น ยังอยู่ในระดับมีนัยสำคัญ ดังนั้น หากจะฝ่าด่านการแก้ปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบโดยยึดกลยุทธ์ 5 ด้านของสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยจึงติดตั้งแต่ข้อแรก 

ลองพิจารณาในด้านที่สอง กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากนับจำนวนกฎหมาย ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาทุจริตจำนวนมาก แต่กฎหมายดังกล่าวถูกนำไปใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การเพิ่มขั้นตอนเพื่อไม่ให้เข้าสู่กระบวนการด้านระยะเวลาตามกฎหมายที่กำหนดให้ต้องแล้วเสร็จ หรือมีบางตัวบทที่ตัดตอนหรือยกประโยชน์ให้กับความล่าช้าไม่ว่าจะจงใจหรือไม่ ดังนั้น ในด้านที่สองนี้ แม้ว่าจะมีกฎหมายที่เขียนไว้อย่างสวยหรูเพียงใด แต่การปฏิบัติตามกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การแก้ปัญหาการคอร์รัปชันไม่สัมฤทธิผล

ด้านที่สาม ระบบศาลและการดำเนินคดีที่มีความอิสระ หากพิจารณาเชิงระบบ ต้องยอมรับว่า ประเทศไทยมีพัฒนาการพอสมควร เพราะมีการจัดตั้งศาลคดีทุจริต ขึ้นมาโดยเฉพาะ หากแต่กลไกที่นำคดีขึ้นสู่ศาลนั้น ต้องเป็นผู้เสียหาย ดังนั้น ประเด็นเรื่องรัฐเป็นผู้เสียหาย จึงเป็นอุปสรรคเมื่อหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบและนำคดีขึ้นสู่ศาล ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือหย่อนสมรรถภาพ หรือในกรณีที่เลวร้าย คือ มีการต่อรองคดีได้ ทำให้แม้ว่าระบบศาลและการดำเนินคดีมีความอิสระ แต่ติดตั้งแต่ต้นทางนั่นเอง

ด้านที่สี่ การบังคับใช้กฎหมายเข้มงวด จริงจัง เด็ดขาด ในประเด็นนี้ หากไม่พูดถึงกรณีนาฬิกายืมเพื่อนมา ก็ต้องยอมรับว่า เรื่องการแจ้งบัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดูจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เข้มงวดที่สุด ในบรรดาบทบัญญัติด้านการปราบปรามการทุจริต ในกรณีอื่น ๆ นั้น มีหลายปัจจัยที่ทำให้การดำเนินการแก้ปัญหาคอร์รัปชันไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ความล่าช้าในการสืบสวนสอบสวน แม้ว่ากฎหมายจะระบุชัดในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การงดหรือการลดค่าปรับหรือการขยายเวลาการจัดซื้อจัดจ้าง 

ด้านที่ห้า การให้บริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ ในประเด็นนี้ ต้องให้เครดิตว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้รับบริการ แม้ว่าบางกรณียังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านและการใช้ดุลพินิจยังลักลั่นอยู่บ้าง เช่น การเรียกสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนในหน่วยงานรัฐแม้ว่าหน่วยงานนั้นจะอยู่ในกระทรวงมหาดไทยและเชื่อมต่อฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ได้แล้วก็ตาม แต่ส่วนใหญ่บริการสาธารณะอยู่ในระดับที่ดีขึ้น เพราะการปรับปรุงระบบบริการตามเทคโนโลยี และความพยายามในการให้บริการสาธารณะ

จากการพิจารณาใน 5 ด้านในกรณีสิงคโปร์จะพบว่า ประเทศไทยต้องพัฒนาต่อไปโดยเฉพาะเรื่อง ความตั้งใจในการแก้ปัญหา “อย่างจริงจัง” ของประชาชน แม้ว่าจะหวังพึ่งฝ่ายการเมืองได้ยาก หากแต่เมื่อเวลาผ่านไป ภายใต้การตื่นรู้ ความเข้าใจถึงปัญหาและพิษภัยของการคอร์รัปชัน จะทำให้ปัญหาค่อย ๆ เบาบางลงแต่ใช้ระยะเวลาพอสมควร ทางออกสำคัญยิ่ง คือ การเปิดเผยข้อมูลและการ “ไม่ทน” ต่อการทุจริตประพฤติมิชอบ และการทำงานแบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกัน นอกจากนั้น การออกแบบลักษณะของปัญหาที่ทำให้สามารถจัดการกรณีที่มีฐานความผิดรองรับแล้วโดยการเชื่อมโยงเทคโนโลยี จะทำให้การจัดการคดีมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น กรณีการกระทำความผิดจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึง การงดหรือลดค่าปรับหรือขยายเวลาโดยมิชอบซึ่งกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างมีรายละเอียดและประเด็นที่รัดกุมเพียงพอที่จะทำให้การใช้เทคโนโลยี AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ ข้อดีอย่างยิ่งของการใช้เทคโนโลยี AI หรือการสอบสวนคดีแบบเป็นขั้นเป็นตอน คือ เทคโนโลยีไม่มีอารมณ์ความรู้สึก ไม่มีพรรคมีพวก ถูกผิดว่ากันตามตรง ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวมมากกว่าปัจจุบันที่ระบบอุปถัมภ์และพรรคพวกได้หยั่งรากลึกลงไปจนกระทั่งวิกฤติโควิด-19 ปรากฏการทุจริตหลายรูปแบบตั้งแต่หน้ากาก อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือแม้กระทั่งวัคซีน

อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบในประเทศไทยนั้น ยังมีทางแก้ไข และสามารถทำให้ดีขึ้นได้ หากมีความร่วมมือในภาคประชาชน อย่างเพิ่งสิ้นหวังครับ


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

การศึกษาไทยในยุค New Normal วิกฤตหรือโอกาส?

โควิดระบาดในประเทศไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว จนถึงวันนี้หากจะพูดถึงผลกระทบของโควิด ทุกคนคงกระจ่างแจ้งอย่างที่ไม่ต้องเอื้อนเอ่ยกันหลายคำ เพราะทุกคนล้วนเป็นผู้ประสบภัยกันทั่วหน้า แม้ผลกระทบมากน้อยอาจต่างกัน 

โควิดส่งผลกระทบมากมายอย่างคาดไม่ถึง ทั้งด้านชีวิตและสุขภาพ สภาพเศรษฐกิจ ตลอดจนวิถีชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนไปจากปกติเดิม จนต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ อย่างคำว่า “New Normal” วิธีชีวิตปกติแบบใหม่ นี้ก็คือการปรับพฤติกรรมของมนุษย์ในชีวิตประจำวันเพื่อการป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดนี้เอง เช่น การทำงานก็เปลี่ยนจากการที่ต้องเดินทางไปที่ออฟฟิศ ไปสำนักงานก็เปลี่ยนมาเป็นการทำงานที่บ้าน หรือที่เราเรียกทับศัพท์กันอย่างติดปากว่า Work From Home การประชุมติดต่อประสานงานนั้นก็ทำได้โดยใช้ระบบออนไลน์เข้ามาช่วย และไม่ใช่เพียงแค่ภาคธุรกิจเท่านั้นที่ต้องปรับขบวนกันยกใหญ่ ภาคการศึกษาก็เช่นกัน ต้องปรับจากการเรียนในสถานศึกษา มาเป็นห้องเรียนออนไลน์กันทุกระดับชั้นต้องแต่อนุบาล จนถึงมหาวิทยาลัย เพื่อมาตรการในการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดการระบาดของโรค

1 ปีกว่าผ่านมาหากจะชวนคิด ชวนตั้งคำถามว่าการศึกษาในยุค New Normal นี้ โอกาสหรือเป็นวิกฤต กับสังคมไทยนั้นก่อนจะสรุปว่าเป็นวิกฤตหรือโอกาส ลองมาสำรวจปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ กันก่อน

จากการเรียนในห้องเรียนที่มีเพื่อนร่วมห้อง มีคุณครู มีประตู หน้าต่าง มีการพบหน้าคาดตา ปรับมาเป็นการเรียนออนไลน์ ต่างคนต่างอยู่บ้าน เจอหน้ากันผ่านจอคอมพิวเตอร์ มีอินเตอร์เน็ตไว้เพื่อการเข้าถึงห้องเรียนออนไลน์ จากข่าวคราวที่ปรากฎในสื่อเห็นชัดว่าการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ไม่ใช่เรื่องง่ายในประเทศไทย เพราะด้วยเหตุผลหลายประการในเชิงโครงสร้าง  

ประการแรก เรายังมีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสำหรับใช้เรียนออนไลน์ที่บ้าน ซึ่งมักจะมาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำอีกรูปแบบในระบบการศึกษาไทย จากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนของไทยในปี 2563 อยู่ที่ 26018.42 ในขณะที่มีรายจ่ายปี 2562 อยู่ที่ 20,742.12 และล่าสุดรายจ่ายของครัวเรือนของไทยในปี 2563 มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น เฉลี่ยเดือนละ 21,329 บาท โดยร้อยละ 87 ของค่าใช้จ่าย ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค และร้อยละ 13 เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค (เช่น ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่ง / หวย ดอกเบี้ย) ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาอยู่ที่ 1.5% เท่านั้น ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการจัดสรรเงินสำรองเพื่อการศึกษาที่ไม่มากนั้น ยิ่งเมื่อเจอกับสถานการณ์โควิด ที่อาจทำให้รายรับของครอบครัวลดน้อยลงไปอีก จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายสำหรับครอบครัวที่ถูกซ้ำเติมในยามโควิดระบาดนี้อยู่แล้ว จะจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียน การซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ต ซึ่งช่องว่างทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นอีกในระบบการศึกษาไทย  

ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากการศึกษาของ TDRI ที่พบว่าปัญหาของครัวเรือนในประเทศไทยที่ใหญ่กว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากที่บ้านคือ การไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศไทยมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์เพียงร้อยละ 21 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่ร้อยละ 49 การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของครัวเรือนยิ่งยากมากขึ้นหากเป็นครัวเรือนที่มีฐานะยากจน 

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2560 ในประเทศไทย ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 2 แสนบาทมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพียงร้อยละ 3 ของครัวเรือนทั้งหมด ขณะที่ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 2 แสนบาทขึ้นไปมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตร้อยละ 19 ของครัวเรือนทั้งหมด และหากจำแนกตามภูมิภาคพบว่า กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์สูงถึงร้อยละ 42 ของครัวเรือนทั้งหมด ครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ในภาคกลางร้อยละ 21 ส่วนในภาคเหนือ ร้อยละ 19 ในภาคใต้ ร้อยละ 17 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 14  ซึ่งสถิตเหล่านี้ยิ่งตอกย้ำถึงความเหลื่อมล้ำในเชิงโครงสร้างในการเข้าถึงการเรียนออนไลน์ของเด็กและเยาวชนไทย 

นอกจากความไม่พร้อมในเครื่องไม้เครื่องมือแล้ว ประการต่อมาที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือเรื่องความไม่พร้อมของการจัดการเรียนการสอน ทั้งในแง่หลักสูตร ความพร้อมของครูอาจารย์ ตลอดดจนความพร้อมในการเรียนของนักเรียนนักศึกษาในการเรียนออนไลน์มีมากน้อยเพียงใด จากเสียงสะท้อนของทั้งผู้สอน และผู้เรียน ตลอดจนผู้ปกครองต่างต้องรับมือกับสถานการณ์การเรียนออนไลน์ที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ฝั่งผู้สอน ครูอาจารย์ก็รู้สึกท้อแท้กับการไม่มีส่วนร่วมของนักเรียนนักศึกษาจากการใช้ระบบออนไลน์ ยิ่งเป็นการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยที่ให้ความไว้วางใจว่านักศึกษาโตพอที่จะรับผิดชอบตนเองได้ ยิ่งพบว่าบรรดาอาจารย์ต่างปรับทุกข์ในทำนองเดียวกันว่านักศึกษาแทบไม่ค่อยมีปฎิสัมพันธ์กับผู้สอนเท่าที่ควรจะเป็น ไม่เปิดกล้อง ไม่ถามคำถาม ไม่ตอบคำถาม ส่วนในมุมผู้เรียนก็มองว่าเรียนออนไลน์น่าเบื่อ ไม่มีบรรยากาศการเรียนที่กระตุ้นการอยากรู้อยากเห็น ครูอาจารย์ไม่มีกลวิธีการสอนที่ดึงดูดใจพอ 

ส่วนพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กเล็ก ๆ ในชั้นอนุบาลหรือประถมต้นนั้นก็เหนื่อยไม่แพ้กันเพราะเหมือนต้องคอยดูแลกำกับให้ลูก ๆ หลาน ๆ นั่งหน้าจอเรียนออนไลน์ ในยุคก่อน new normal พ่อแม่ผู้ปกครองก็อาจมีหน้าที่ช่วยสอนลูกหลานในการทำการบ้าน แต่เหมือนว่าในยุค new normal นี้ต้องทั้งเรียนด้วย สอนด้วย ดูแลบุตรหลานด้วย ความเครียดจึงบังเกิดแด่พ่อแม่ผู้ปกครองกันทั่วหน้า

ดังนั้นปรากฏการณ์ของโควิด-19 ที่มีพลิกโฉมการเรียนการสอนจากห้องเรียนทางกายภาพสู่ห้องเรียนออนไลน์ หากมองดี ๆ แล้ว จะพบว่าความปกติใหม่ หรือ New normal นี้ ทำให้เกิดความตระหนักรู้ใหม่และกระตุ้นเตือนให้เราหันกลับมาทบทวนสิ่งที่เป็นความสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวหลักสูตร ที่ควรตั้งคำถามว่าหลักสูตรที่มีอยู่เดิมตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม มัธยม และอุดมศึกษานั้นเหมาะสมสำหรับพัฒนาการการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัยของเด็กและเยาวชนจริงหรือไม่ หลักสูตรที่มีเหมาะสมกับบริบทในท้องถิ่น ในพื้นที่ของเด็ก ๆ หรือไม่ หรือแม้แต่กฎเกณฑ์กติกาบางอย่างที่แท้จริงแล้วสำคัญหรือไม่อย่างไร หากเด็ก ๆ ต้องเรียนอยู่ที่บ้าน เช่น การแต่งชุดนักเรียนและการไว้ทรงผม และกติกาหรือระเบียบวินัยแบบไหนที่ควรต้องสร้างให้เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ แทน เป็นต้น นอกจากตัวเนื้อหาของหลักสูตรแล้ว กลวิธีการสอนและรูปแบบในการนำเสนอสำหรับการเรียนรู้ในห้องเรียนออนไลน์นั้นก็มีความสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงและต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและธรรมชาติในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ด้วย การใช้วิธีการเดียวกันกับการสอนในห้องเรียนปกตินั้นคงจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป 

ทั้งนี้ TDRI ได้ทำการศึกษาเราควรใช้ความตระหนักรู้ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์นี้ มาออกแบบอนาคตของการศึกษาไทย โดยให้น้ำหนักกับสิ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียนให้มากที่สุด ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยมากในหลายประเด็น เช่น 

• ให้น้ำหนักกับปฏิสัมพันธ์ที่มีคุณภาพระหว่างครูและนักเรียน มากกว่า จำนวนชั่วโมงที่นักเรียนอยู่ในห้องเรียนหรือเรียนผ่านสื่อโทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์
• ให้น้ำหนักกับการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับความสนใจของนักเรียน เชื่อมโยงกับชุมชนและบริบทที่นักเรียนอยู่มากกว่า การเรียนรู้อิงตามมาตรฐานแบบเดียวกันทั้งประเทศ
• ให้น้ำหนักกับการประเมินผลเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน (formative assessment) จากชิ้นงานและพฤติกรรมของนักเรียน มากกว่า การประเมินเพื่อการตัดสิน (summative assessment) เพื่อนำไปใช้ให้คุณให้โทษแก่โรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษา
• ให้น้ำหนักกับการเรียนรู้เพื่อสุขภาพกายและใจ ควบคู่กับการเรียนรู้ด้านวิชาการ สถานการณ์โรคระบาดส่งผลต่อสุขภาพกายและใจของทุกคนรวมถึงเด็ก ๆ ทุกวัย 
• ให้น้ำหนักกับการจัดสรรทรัพยากรออฟไลน์แก่เด็กและครอบครัว ควบคู่กับ ทรัพยากรออนไลน์ เช่น จัดสรรหนังสือเด็กให้แก่ครอบครัวด้อยโอกาสเพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่บ้าน จัดให้มีอาสาสมัครติดตามสถานการณ์เด็กในแต่ละครอบครัวและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการดูแลลูก เป็นต้น ควบคู่ไปกับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของประเทศไปด้วย 

ดังนั้น หากย้อนกลับมาที่คำถามของเราว่า การศึกษาไทยในยุค New normal นี่เป็นวิกฤตหรือโอกาส ก็คงตอบได้อย่างชัดเจนว่ามีทั้งสิ่งที่สะท้อนถึงความเป็นวิกฤต และโอกาส เพราะวิกฤตในวันนี้เราสามารถพลิกให้เป็นบทเรียนเพื่อสร้างโอกาสในวันหน้าได้ เพียงแต่ต้องปรับมุมมองของผู้กำหนดนโยบาย ปรับวิธีคิดของบุคลากรทางการศึกษา สร้างความร่วมมือกันใหม่ในการมีส่วนช่วยกันยกเครื่องระบบการศึกษา ทั้งพัฒนาหลักสูตร พัฒนาศักยภาพบุคคลกรทางการศึกษา พัฒนาแนวทางและรูปแบบการ 

โดยมีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและระดับท้องถิ่น นอกจากนี้อาจจะต้องดึงภาคเอกชนและหน่วยงานนอกระบบราชการ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนมาร่วมมือกันออกแบบการจัดการเรียนการสอน รวมถึงถอดบทเรียนองค์ความรู้จากทั้งในและต่างประเทศ เพราะเราจะพบว่าแนวโน้มในการความเป็น New normal นี้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโลกในอนาคต เช่น เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร การเกิดเทคโนโลยี disruptive หรือแม้แต่การเปลี่ยนด้านการเมือง การปกครองและเศรษฐกิจของโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องเตรียมพร้อมในการสร้างคน สร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ เพื่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศและโลก ซึ่งการศึกษาคือเครื่องมือสำคัญในการสร้างคนนั้นเอง 

 

ข้อมูลอ้างอิง
http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเป็นประจำตั้งแต่ปี 2500 (nso.go.th)
New Normal ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ - TDRI: Thailand Development Research Institute
วิกฤตโควิด-19 รัฐต้องเร่งลดช่องว่างดิจิทัล เพื่อความเท่าเทียมในห้องเรียนออนไลน์ - TDRI: Thailand Development Research Institute


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เร็วกว่า 2 เท่า !! Supersonic  การกลับมาของ “เครื่องบินความเร็วเหนือเสียง”

หลายท่านที่เคยนั่งเครื่องบินข้ามทวีปที่ต้องใช้เวลาบินนาน ๆ คงรู้สึกเมื่อยล้า และอ่อนเพลียจากการเดินทาง หากสามารถลดระยะเวลาเดินทางได้ครึ่งหนึ่ง ด้วยค่าโดยสารที่ไม่สูงจนเกินไป คงเป็นสิ่งที่นักเดินทางหลายคนใฝ่ฝัน

สายการบิน United Airlines กำลังจะทำให้ความฝันนั้นกลายเป็นจริง ด้วยการประกาศแผนการสั่งซื้อเครื่องบิน Supersonic รุ่น Overture จำนวน 15 ลำ จาก Boom Supersonic ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหม่ในสหรัฐอเมริกา และคาดว่าจะพร้อมให้บริการได้ในปี 2029

โดยปกติเครื่องเจ็ทสำหรับโดยสาร บินด้วยความเร็วประมาณ 900 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่เครื่องบินแบบ Supersonic มีความสามารถในการบินได้ความเร็วเหนือเสียง โดยเครื่อง Overture ถูกออกแบบให้บินได้ที่มัค 1.7 หรือ 1.7 เท่าของความเร็วเสียง นั้นคือประมาณ 1,805 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วเป็นสองเท่าของเครื่องบินเจ็ทปกติ

การใช้เครื่องบินพาณิชย์ที่มีความเร็วเหนือเสียงไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในปี 1976 สายการบิน British Airways และ Air France เปิดตัวการให้บริการด้วยเครื่องบิน Concorde เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง โดยเส้นทางการบินหลักคือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อเชื่อมโยงลอนดอนและปารีสกับนิวยอร์ก ใช้เวลาบินเพียงครึ่งเดียวของการบินปกติ แต่ข้อจำกัดของเครื่องบินคอนคอร์ดคือการบริโภคเชื้อเพลิงและค่าซ่อมบำรุงที่สูง จึงจำเป็นต้องขายตั๋วโดยสารไปกลับเมื่อเทียบกับค่าเงินปัจจุบันด้วยราคา 20,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 620,000 บาทต่อคน !!!!! ด้วยราคานี้จึงไม่ใช่การเดินทางปกติ แต่เป็นสิ่งที่บางคนอยากทำสักครั้งในชีวิต จึงเป็นการยากที่จะหาผู้โดยสารให้เต็ม 100 ที่นั่งในแต่ละเที่ยว

นอกจากนั้นยังมีประเด็นเรื่องของเสียง เนื่องจากหากเครื่องบินทำความเร็วเกินความเร็วเสียง จะก่อให้เกิดช็อคเวฟ ที่มีเสียงดังคล้ายฟ้าร้องที่เรียกกันว่า โซนิคบูม (Sonic Boom) ดังนั้นในหลายประเทศจึงห้ามการบินด้วยความเร็วเหนือเสียง บนแผ่นดินหรือพื้นที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัย จึงเป็นข้อจำกัดของเส้นทางการบินที่จะทำความเร็วได้เฉพาะเมื่อบินเหนือทะเล จากข้อจำกัดดังกล่าว และประกอบกับภาวะขาลงของธุรกิจการบินหลังเหตุการณ์ 9/11 จึงทำให้เครื่องบินคองคอร์ดหยุดให้บริการในปี 2003   

ทาง Boom Supersonic จึงได้ศึกษาบทเรียนจากคองคอร์ด และข้อกังวลของการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นอีก นำมาใช้ในการออกแบบเครื่องบิน Overture ที่สามารถจุผู้โดยสารได้ 65-88 คน และที่นั่งเป็นแบบสองแถว แถวละหนึ่งที่นั่ง เพื่อลดการสัมผัสในห้องโดยสาร และออกแบบเน้นเรื่องของสุขอนามัยแทนสิ่งอำนวยความสะดวกบนเครื่องสำหรับการเดินทางระยะนาน ๆ

นอกจากนั้นยังมีการออกแบบตัวเครื่องและเครื่องยนต์ เพื่อลดระดับการเกิดโซนิคบูม รวมถึงการเป็นอากาศยานไร้มลพิษ (net-zero carbon aircraft) โดยออกแบบให้เครื่องยนต์สามารถใช้เชื้อเพลิงทางเลือกได้

เป้าหมายระยะไกลของ Boom คือการพัฒนาเครื่องบินให้มีความเร็วสูงขึ้น เพื่อบินไปทุกแห่งทั่วโลกโดยใช้เวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมง และออกแบบเครื่องบินให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายต่อที่นั่ง โดยตั้งเป้าให้มีค่าโดยสารต่อเที่ยวไม่เกิน 1,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 32,000 บาท ซึ่งเป็นราคาเดียวกับค่าโดยสารชั้นธุรกิจ

แต่นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการบินหลายท่านให้ความเห็นว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่าสิบปีในการพัฒนาเครื่องบิน เพื่อลดเสียงที่เกิดขึ้นจากการบิน และใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 20 ปี ในการพัฒนาวัสดุเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ให้ทนกับความร้อนที่เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินทำความเร็วสูงเป็นระยะเวลานาน

คงต้องติดตามกันว่าเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงที่คนทั่วไปสามารถนั่งได้จะเป็นจริงหรือไม่ เพราะหากเกิดขึ้นจริงจะส่งผลให้รูปแบบการเดินทางของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเดินทางไกลข้ามทวีป

 

ข้อมูลอ้างอิง
https://edition.cnn.com/travel/article/boom-supersonic-four-hours-100-bucks/index.html
https://www.businessinsider.com/boom-supersonic-interview-overture-concorde-ceo-2020-10
https://www.cnbc.com/2021/06/03/united-will-buy-15-ultrafast-airplanes-from-start-up-boom-supersonic.html
https://www.nbcnews.com/science/science-news/supersonic-airliners-hit-turbulence-jet-developer-shuts-rcna1044?utm_source=morning_brew
https://www.bbc.com/news/technology-57361193


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เจ็บนี้อีกนาน !! อันตรายจาก “ข้อเท้าแพลง” รับมืออย่างไรให้ถูก ? 

“ข้อเท้าแพลง (Ankle Sprain)” เกิดจากอุบัติเหตุโดยเฉพาะการหกล้ม, การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือ การสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับขนาดเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณผู้หญิงที่ใช้รองเท้าส้นสูงจะเพิ่มโอกาสเกิดข้อเท้าแพลงได้ ซึ่งการบาดเจ็บดังกล่าวส่งผลต่อเอ็นข้อเท้าบริเวณตาตุ่ม นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยของ American Academy of Orthopedic Surgeons พบว่าหากข้อเท้าพลิกบ่อย ๆ หรือเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำ ๆ อาจนำไปสู่ปัญหาการปวดข้อเท้าเรื้อรัง ข้อเท้าเสื่อม และเกิดภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงได้ ทำให้การรักษาข้อเท้าแพลงกลายเป็นเรื่องไม่ง่ายและใช้เวลานานกว่าจะหายขาด จนทำให้เป็นที่มาของคำว่า “ข้อเท้าแพลง” 

อาการข้อเท้าแพลงส่วนมากมักเกิดจากการพลิกของข้อเท้าเข้าสู่ด้านในแล้วเกิดอาการบาดเจ็บที่เอ็นข้อเท้าบริเวณตาตุ่มด้านนอก เนื่องจากเส้นเอ็นในบริเวณดังกล่าวเกิดการยืดอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ข้อเท้าแพลงแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 

ระยะแรก มีอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย

ระยะที่สอง มีอาการบาดเจ็บจากเส้นเอ็นที่ฉีกขาด แต่ไม่ถึงครึ่งของเส้นเอ็น 

ระยะที่สาม เส้นเอ็นฉีกขาดทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถลงน้ำหนักได้ 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นใช้หลักการของ RICE ได้แก่

>> Rest - พัก หากทำกิจกรรมอะไรอยู่ต้องหยุดพัก ไม่ว่าจะเดินหรือเล่นกีฬา และหลีกเลี่ยงการใช้งาน
>> Ice - น้ำแข็งหรือการประคบด้วยความเย็น ควรรีบทำทันทีเพื่อให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้ลดอาการบวมและลดความเจ็บปวด
>> Compression - รัด เพื่อลดอาการบวม
>> Elevation - ยกให้สูงขึ้น เพื่อให้เลือดไหลลงได้สะดวก ช่วยลดอาการบวม

โดยปกติ ถ้าหากมีอาการข้อเท้าแพลงแบบไม่รุนแรง สามารถประคบด้วยความเย็นร่วมกับรับประทานยาแก้ปวด ซึ่งอาการปวดจะลดลงภายใน 2-3 วัน และหายขาดภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่ถ้ารุนแรงถึงขั้นข้อเท้าหลวม มีการปวดเรื้อรังเมื่อเวลาผ่านไป 2-3 เดือน แนะนำให้ไปพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด 

สำหรับผู้ที่เคยข้อเท้าแพลง มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดข้อเท้าแพลงซ้ำได้อีกภายในปีเดียวกัน เนื่องจากเส้นเอ็นเคยได้รับบาดเจ็บ ดังนั้น การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับข้อเท้ามีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้ข้อเท้าแพลงบ่อย ๆ และลดอาการปวดข้อเท้าเรื้อรังได้ ดังนี้

1.) ยืนเขย่งปลายเท้าสลับกับยืนบนส้นเท้า (Standing heel/toe rocking) ทำ 20 ครั้ง 3 รอบ

2.) ยืนทรงตัวด้วยขาเดียวนาน 1 นาที 

ทำ 3 รอบ (สลับข้างซ้าย-ขวานับเป็น 1 รอบ) ช่วยกระตุ้นการรับรู้ของข้อเท้าในการทรงตัว (Ankle proprioception/balance) อาจยืนบนพื้นปกติ (แบบง่าย) หรือยืนบนพื้นนุ่ม เช่น บนเบาะนิ่ม ๆ หรือบนพื้นทราย เพื่อเพิ่มความยาก

3.) ยืดกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวายในท่ายืน

โดยก้าวขาไปข้างหน้า 1 ข้าง ปลายเท้าชี้ตรงไปด้านหน้าทั้งสองเท้า โน้มตัวไปข้างหน้า โดยส้นเท้าหลังไม่ยกจากพื้น และต้องรู้สึกตึงที่น่องของขาที่อยู่ด้านหลัง ยืดค้างไว้ 30 วินาที 3 รอบ (สลับขาและทำแบบเดียวกัน)

โดยทั้ง 3 ท่าที่แนะนำสามารถทำได้ทุกวันหรือหากท่านใดมีการบาดเจ็บของข้อเท้า ควรขอคำปรึกษาและออกกำลังกายภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์หลังจากที่ได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้ว

 

เอกสารอ้างอิง
- Tran K, McCormack S. Exercise for the Treatment of Ankle Sprain: A Review of Clinical Effectiveness and Guidelines [Internet]. Ottawa (ON): Canadian Agency for Drugs and Technologies in Health; 2020 Apr 3. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK563007/
- Wells B, Allen C, Deyle G, Croy T. MANAGEMENT OF ACUTE GRADE II LATERAL ANKLE SPRAINS WITH AN EMPHASIS ON LIGAMENT PROTECTION: A DESCRIPTIVE CASE SERIES. Int J Sports Phys Ther. 2019;14(3):445-458. doi:10.26603/ijspt20190445
- https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/อันตรายจาก-ข้อเท้าพลิก/


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

“พอเพียงสู่ความยั่งยืน” (ตอนที่ 4) “รู้เขา รู้เรา” การสร้างโอกาสและความได้เปรียบของผู้ประกอบการยุคใหม่ ในมุมมองของครูบัญชี

“การชนะทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย จึงถือว่าเป็นวิธีการอันวิเศษยิ่ง” และ “หากรู้เขา รู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขารู้แต่เพียงเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธ์นั้นแล” หลาย ๆ ท่านคงไม่คุ้นเคยกับประโยคนี้เท่าใดนัก แต่ถ้าได้ยินคำว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” คิดว่าคงจะคุ้นเคยมากกว่า จากประโยคดังกล่าวเป็นข้อคิดเชิงปรัชญาของซุนวู ซึ่งเป็นผู้เขียนตำราพิชัยสงครามของซุนวู ได้ให้ข้อคิดและผู้เขียนได้นำมาเป็นแนวทางสำหรับการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะการเป็นผู้ประกอบการใหม่ว่า ไม่ว่าเราจะกระทำการใด ๆ ก็ตาม จะต้องมีการเรียนรู้ที่จะรู้จักตนเองและฝ่ายตรงข้ามเพื่อหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมาย ซึ่งจากความเดิมจากตอนที่ 3 ผู้เขียนได้กล่าวถึงการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ โดยการทำ SWOT analysis เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการใหม่พิจารณาสภาพแวดล้อมภายในองค์การที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน และสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อประเมินโอกาสและอุปสรรคต่าง ๆ ขององค์การ ถือเป็นการประเมินการ “รู้เขา รู้เรา” เพื่อสร้างโอกาสและความได้เปรียบในการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการใหม่

สำหรับผู้ประกอบการใหม่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Micro, Small and Medium-Size Enterprises หรือ MSME) คงพิจารณาได้แล้วสำหรับวิธีการเริ่มต้นการเป็นผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจที่มีอยู่เดิมของครอบครัว (Family business) การก่อตั้งขึ้นใหม่ (New entrepreneurship) การซื้อต่อจากผู้ประกอบการอื่น (Takeover) หรือธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) โดยในการเริ่มต้นการเป็นผู้ประกอบการนั้นควรมีการตรวจสอบความพร้อมด้านต่าง ๆ เช่น ความพร้อมด้านตนเองโดยการประเมินคุณสมบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้ ความสามารถ การยอมรับความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การเลือกประเภทธุรกิจ ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับตนเอง รวมถึงการสำรวจฐานะทางการเงินมีเพียงพอเพื่อประกอบธุรกิจหรือไม่

ดังนั้น การบริหารงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงมีความแตกต่างกันไปในแต่ละลักษณะการดำเนินธุรกิจ แต่โดยทั่วไปการบริหารงานของผู้ประกอบการจะมีหน้าที่การบริหารงานที่สำคัญเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ ของ Peter F. Drucker (2005) ดังต่อไปนี้

1.) การวางแผน (Planning)

2.) การจัดองค์การ (Organizing)

3.) การชี้นำและการจูงใจ (Leading)

4.) การควบคุม (Controlling)

ที่มา : https://www.pinterest.com/njbusinessbuild/management/

สืบค้น : เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

 

1.) การวางแผน (Planning) 

การวางแผนถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญขององค์การ โดยผู้ประกอบการจะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางในการดำเนินงานหรือควบคุมให้องค์การดำเนินงานในอนาคต ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย (Goal) หรือวัตถุประสงค์ (Objectives) ขององค์การในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การวางแผนจึงเป็นการผสมผสานระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรโดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งในบรรดาปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การ ประกอบด้วย

1.1.) กำลังคน (Man)
คนงาน พนักงาน หรือบุคลากรภายในและภายนอกองค์กรถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด องค์การจะต้องมีการบริหารกำลังคนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับงานมากที่สุด

1.2.) เงินทุน (Money)
เงินหรือทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจถือเป็นหัวใจของการบริหารงานในทุกระบบขององค์การ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจไม่สามารถดำเนินได้ดีหากขาดเงินหรือทุนที่ใช้ในการดำเนินงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจและปัจจัยต่าง ๆ ให้ดำเนินการไปได้

1.3.) วัสดุ (Material)
วัสดุ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนอะไหล่ ผลิตภัณฑ์ บริการหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่เป็นส่วนสำคัญในการนำไปใช้ผลิตสินค้าหรือจำหน่าย ผู้ประกอบการต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อการใช้ในการผลิตและจำหน่าย มีคุณภาพและต้นทุนที่ต่ำ เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและต้นทุนขาย

1.4.) การบริหารจัดการ (Management)
การบริหารจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นกระบวนการจัดการบริหารควบคุม เพื่อให้งานทั้งหมดภายในองค์การมีระบบที่ชัดเจนตลอดจนมีระเบียบขั้นตอน วิธีการต่าง ๆ ในการทำงานที่ส่งให้องค์การประสบความสำเร็จ มีการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้ธุรกิจบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ที่มา : https://www.twenty20.com/photos/91bcfe00-556f-4a52-ad05-f7d95c9b31ab
สืบค้น : เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

 

2.) การจัดองค์การ (Organizing)
การจัดองค์การเกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างองค์กรประกอบด้วย การแบ่งส่วนงานย่อยภายในกิจการให้เป็นหน่วยงานต่าง ๆ การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงานให้ชัดเจน และการกำหนดคำบรรยายลักษณะงาน (Job description) เป็นลายลักษณ์อักษร การจัดองค์การเป็นส่วนที่สำคัญ เนื่องจากการวางแผนและการควบคุมของกิจการขึ้นอยู่กับระดับของโครงสร้างองค์การ (ศิลปพร ศรีจั่นเพชร, 2555) ดังนั้น ผู้ประกอบการใหม่ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควรกำหนดรูปแบบการตัดสินใจและควบคุมว่าจะเป็นการกระจายอำนาจ (Decentralize) หรือ การรวมอำนาจ (Centralize) กำหนดจำนวนพนักงานในแต่ละหน่วยงานตามขนาดของกิจการ รวมถึงความรู้ความสามารถของพนักงานให้เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงานภายในองค์การ 

3.) การชี้นำและการจูงใจ (Leading)
การชี้นำและการจูงใจเกี่ยวข้องกับการมอบหมายงานให้บุคคลนำไปปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งต้องอาศัยการประสานงาน การมอบหมายงานด้วยการสื่อสาร (Communication) ที่ทั่วถึงทั้งองค์การ ผู้ประกอบการใหม่ในฐานะผู้บริหารต้องจัดองค์การ โดยการจัดทำผังองค์การ (Organization chart) ที่ระบุอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตลอดจนสายการบังคับบัญชาและควรมีการจูงใจอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้พนักงานตั้งใจและกระตือรือร้นและเต็มใจทำงานให้แก่องค์การ

4.) การควบคุม (Controlling)
การควบคุมถือเป็นขั้นตอนการดำเนินงานขั้นสุดท้าย เป็นกิจกรรมการติดตามผลและการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้งานบรรลุตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าแผนงานจะนำไปปฏิบัติอย่างประสบความสำเร็จ การควบคุมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะบรรลุผลได้นั้นจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการในฐานะผู้บริหาร (Management control) และการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน (Operational control) โดยการควบคุมจะมีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน (Performance report) เพื่อประเมินผลโดยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจริงกับแผนงานที่วางไว้ (เมธสิทธิ์ พูลดี, 2550) 

จากที่กล่าวมา ไม่ว่าเราจะเริ่มต้นการเป็นผู้ประกอบการใหม่ในกิจการขนาดใดก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบการจะละเลยไม่ได้ก็คือ “หน้าที่การบริหาร” เพื่อนำพาให้องค์การอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตเริ่มต้นจากการวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเกี่ยวกับกำลังคน เงินทุน วัสดุ และการบริหารจัดการ หรือ ที่เรารู้จักในคำว่า “4 M” การจัดองค์การ เพื่อออกแบบและพัฒนาโครงสร้างองค์การในการใช้ประโยชน์ในการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การ การชี้นำและการจูงใจ ในการมอบหมายงานให้บุคลากรนำไปปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนด และท้ายที่สุดคือ การควบคุม เป็นการติดตามและประเมินผลเพื่อให้แน่ใจว่าแผนงานที่วางไว้ได้นำไปปฏิบัติและประสบผลสำเร็จ

 

เอกสารอ้างอิง 
เมธสิทธิ์  พูลดี. การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2550.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. การวางแผนและควบคุมทางการบัญชี. กรุงเทพฯ : ทีพีเอ็น เพรส, 2555. 


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top