Friday, 24 May 2024
TheStudyTimes

ทางเลือก ตรงทางแยก ใช้เหตุผล หรือความรู้สึกใดในการเดินทางต่อ ก้าวสู่เป้าหมายอีกระดับ เก่งเกินไป สอบเข้า ม.4 โรงเรียนดัง ๆ ได้ทุกที่ เลือกเรียนที่ไหนดี (ปัญหาคนเก่ง) เป็นปัญหามาทุกปี สำหรับนักเรียนเก่ง ๆ ที่มีให้เห็น

หลายคนมีเป้าหมายชัดในการเตรียมตัวเรียนต่อ ม.4

1.) เตรียมอุดม

2.) มหิดลวิทยานุสรณ์

3.) กำเนิดวิทย์

4.) โครงการพิเศษ ของโรงเรียนต่างๆ ทั้งส่วนกลาง และภูมิภาค

จากกำหนดการ การประกาศผล รายงานตัว มอบตัว ของโรงเรียน เป้าหมายของกลุ่มนักเรียนแนวหน้าประเทศ เตรียมอุดม กำเนิดวิทย์ มหิดลวิทยานุสรณ์ และห้องพิเศษ หรือโครงการต่าง ๆ ในแต่ละโรงเรียน

หลายคนสับสนและไขว้เขวในการเลือกเรียน เหตุจากไม่ได้ตั้งเป้าหมายชัดเจนก่อนหน้า

การเลือกที่ดี ที่เหมาะสมกับเอกลักษณ์ และองค์ประกอบอื่นที่ถูกต้องจะนำไปสู่ความสำเร็จในขั้นตอนต่อไป การเลือกที่ที่ไม่เหมาะอาจจะรั้งทางด้านการเรียน

จากข้อมูลที่ผ่านมา(อาจจะไม่ถูกต้องนัก) จึงขอเล่าและเขียนเป็นช่องทางในการตัดสินใจ เพื่อให้เห็นภาพปัจจุบันและอนาคต

ความสำเร็จ อยู่ที่ตัวตนมากกว่าจะมาจากสถาบัน แต่สถาบันที่ดี ที่ตรงกับความสามารถส่วนตน ก็สามารถส่งเสริมความสำเร็จ ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาหลายรุ่น จะขอเปรียบเทียบบางเรื่องของแต่ละโรงเรียน ดังต่อไปนี้ครับ

1.) ค่าใช้จ่าย เฉลี่ยต่อเดือน

- เตรียมอุดมฯ 25,000 (ที่พัก 6,000 อาหาร 10,000 เดินทาง 2,000 เรียนพิเศษ 6,000 และอื่น ๆ )

- มหิดลฯ 10,000 ที่พักฟรีที่โรงเรียน ที่พักและเดินทางไปติว กทม. 3,000 - 4,000 ติว 6,000

- กำเนิดวิทย์ 10,000 ที่พักฟรีที่โรงเรียน ที่พักและเดินทางไปติว กทม. 3,000 - 4,000 ติว 6,000

- โรงเรียนอื่นๆ ส่วนมากใกล้บ้าน หรือโรงเรียนในภูมิภาคที่เคยเรียน ม.ต้น ที่พักและติว รวมประมาณ 10,000

2.) การเดินทาง

- เตรียมอุดมฯ นักเรียนพักที่บ้านสำหรับเด็กกทม. นักเรียนต่างถิ่น จะพักหอพักใกล้โรงเรียน หรือใกล้สถานีรถไฟฟ้า ไม่มีหอพักในโรงเรียน

- มหิดลฯ พักในหอพักโรงเรียนฟรี การเดินทางโดยมากคือ เสาร์อาทิตย์เข้า กทม. หาที่เรียนพิเศษ ระยะทางประมาณ 50 กม. เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว พ่อแม่รับส่ง รถเมล์ รถตู้ หรือรถไฟ

- กำเนิดวิทย์ พักในหอพักโรงเรียนฟรี การเดินทางโดยมากคือ เสาร์อาทิตย์เข้า กทม. หาที่เรียนพิเศษ ระยะทางประมาณ 150 กม. เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว พ่อแม่รับส่ง หรือรถโรงเรียนรับส่ง ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์

- โรงเรียนอื่น ๆ กลับบ้าน อาจจะใกล้โรงเรียน หรือ ต่างจังหวัด นานๆ ครั้ง

3.) ที่พัก

- เตรียมอุดมฯ คนต่างจังหวัด หรือบางคนใน กทม. จะเช่าหอพัก คอนโด อพาร์ทเม้นใกล้ๆ โรงเรียนหรือใกล้สถานีรถไฟฟ้า

- มหิดลฯ หอพักในโรงเรียนเป็นสวัสดิการฟรี แยกหอหญิงชาย ผู้ชาย พักห้องละ 4 คน ผู้หญิง ห้องละ 6 คน

- กำเนิดวิทย์ หอพักฟรีในโรงเรียน ห้องละคน ส่วนตัว

- โรงเรียนอื่นๆ พักที่บ้านหรือหอพักโรงเรียน หรือเช่า ตามแต่โรงเรียนที่เรียน

4.) เพื่อน ๆ พี่ ๆ

- เตรียมอุดมฯ เพื่อรุ่นเดียวกัน 1,500 ต่อรุ่น ตอนนี้รุ่นที่ 84 เพื่อนจะมีทุกคณะทุกสาขาอาชีพชั้นนำ สายวิทย์และสายศิลป์ และอยู่ในตำแหน่งหน้าที่การงานที่โดดเด่นในสังคมไทย

- มหิดลฯ รุ่นละ 240 คน รวม 30 กว่ารุ่นในปัจจุบัน ทุกคนเป็นสายวิทย์ เรียนต่อในสายการแพทย์ และวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเป็นส่วนมากแทบทั้งหมด ด้านอื่นๆ แทบไม่มีหรือเป็นส่วนน้อย เรียนทั้งไทยและบางคนต่อต่างประเทศ

- กำเนิดวิทย์ รุ่นละ 72 คน รวม 7 รุ่นในปัจจุบัน ทุกคนเป็นสายวิทย์ เรียนต่อในสายการแพทย์ และวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเป็นส่วนมากแทบทั้งหมด ด้านอื่นๆ แทบไม่มีหรือเป็นส่วนน้อย เรียนทั้งไทยและบางคนต่อต่างประเทศ

- โรงเรียนอื่นๆ ประวัติที่ต่างกัน ทุกที่มีความสำเร็จในแต่ละระดับที่แตกต่างกันไปทั้งทางภูมิภาค หรือคณะในแต่ละมหาวิทยาลัย

5.) สังคมในโรงเรียน

- เตรียมอุดมฯ เป็นสังคมการศึกษาที่หลากหลายและเป็นสังคมอันดับหนึ่งทางด้านการศึกษาอย่างแท้จริงทุกสาขาวิชา

- มหิดลฯ เหมาะสำหรับคนสนใจเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อย่างเข้มข้น สนใจงานด้านวิจัยเป็นหลัก

- กำเนิดวิทย์ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โครงงานต่าง ๆ ที่สร้างนวัตกรรม

- โรงเรียนอื่นๆ สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาบ้านเกิดหรือภูมิภาคที่สนใจ จะมีเป้าหมายในการประกอบอาชีพต่อใกล้บ้าน

6.) หลักสูตรการเรียน

- เตรียมอุดมฯ หลักสูตร สสวท. แต่เนื้อหาจริงในโรงเรียน จะเพิ่มเติมโดยอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้เหมาะสมกับนักเรียน โดยมากเนื้อหาเข้มข้น ข้อสอบยากกว่าปกติมาก

- มหิดลฯ ใช้หลักสูตร สอวน. มาใช้ในการสอน เนื้อหาล้ำหน้าไปถึงมหาวิทยาลัยในบางส่วน นักเรียนจะมีความรู้ในมหาลัยไปล่วงหน้า ทำให้ข้อสอบเข้ามหาลัยจะไม่ยากมากนักสำหรับทุกคน

- กำเนิดวิทย์ หลักสูตรแนวต่างประเทศ ใช้ตำราต่างประเทศในการเรียนการสอน นักเรียนจะมีความรู้ทันสมัย และใช้งานจริงได้ทั่วโลก มีการปฏิบัติทั้งแลปและโครงงานให้ทำมากมาย ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทขนาดใหญ่ในไทย

- โรงเรียนอื่นๆ หลักสูตรแกนกลางไม่เข้มข้นมาก แต่คุณภาพตามนักเรียนและโรงเรียนเป็นหลัก

7.) เป้าหมายระดับต่อไป

- เตรียมอุดมฯ เน้นการเรียนต่อแพทย์เป็นหลัก และทุกสาขาอาชีพ ระดับนำ การแข่งขันระดับโลกทางวิชาการ โอลิมปิก และทุนรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างชาติ ประสบความสำเร็จระดับสูง

- มหิดลฯ นโยบายทุน ม.ปลายเน้นสร้างความรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อนำพื้นฐานไปใช้ในทุกคณะทุกสาขาอาชีพ นักเรียนส่วนมากกว่า 50% เรียนแพทย์ 25% วิทยาศาสตร์วิศวะ ที่เหลือเรียนต่อต่างประเทศและอื่นๆ

- กำเนิดวิทย์ นโยบายทุน ม.ปลายเน้นสร้างความรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อนำพื้นฐานไปใช้ในทุกคณะทุกสาขาอาชีพ นักเรียนส่วนมากกว่า 50% เรียนแพทย์ 25% วิทยาศาสตร์วิศวะ ที่เหลือเรียนต่อต่างประเทศและอื่นๆ

- โรงเรียนอื่น ๆ จะเรียนตามภูมิภาคและหลากหลายคณะอาชีพ

8.) ความก้าวหน้าระดับการงานหลังจบสถิติการศึกษา

- เตรียมอุดมฯ รุ่นพี่รุ่นน้องค่อนข้างเหนียวแน่นและช่วยเหลือในหน้าที่การงาน ส่งเสริมความก้าวหน้าทุกสาขาอาชีพ

- มหิดลฯ ความสามารถเฉพาะตนจากพื้นฐานการเรียนทางวิทยาศาสตร์เข้มข้น จะช่วยให้ทำหน้าที่การงานก้าวหน้าดี

- กำเนิดวิทย์ การส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการงานจากองค์กรบริษัทขนาดใหญ่ จะทำให้โดดเด่นด้านการงาน

- โรงเรียนอื่นๆ ความสำเร็จในการงานในพื้นที่จะทำได้ง่ายสำหรับผู้ที่สำเร็จด้านการศึกษาที่ดี

9.) สถานที่เรียนและข้อมูลที่สามารถติดตามข่าวสาร

- เตรียมอุดมฯ

227 ถนน พญาไท แขวง ปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

https://www.triamudom.ac.th/

- มหิดลฯ

หมู่ที่ 5 364 ตำบล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล นครปฐม 73170

https://www.mwit.ac.th/

- กำเนิดวิทย์

หมู่ที่ 1 เลขที่ 999 ตำบล ป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ ระยอง 21210

https://kvis.ac.th/Home_TH.aspx

- โรงเรียนอื่น ๆ ติดตามตามที่สนใจ

อิทธิพล ในการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับ ม.ปลาย

พ่อแม่ มักจะเน้นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ปลอดภัย และดูสถิติ การสอบเข้ามหาลัย และตัวอย่างรุ่นพี่เป็นหลัก

เพื่อน ๆ พี่ ๆ มักแนะนำ เรียนที่ตนเองเลือกเรียนและ เคยเรียนมาเป็นหลัก

ตัวเอง... ควรพิจารณาตามศักยภาพ ความแหมาะสม และฐานะทางครอบครัว

ทุกที่สำเร็จได้ด้วยตัวเอง มากกว่าโรงเรียน และอื่นๆ


เขียนและรวบรวมข้อมูลโดย AodDekTai คุณพ่อผู้สนใจการศึกษาไทยและต่างประเทศ

จีนกำหนดเกณฑ์ ดึงดูดบรรดา "หัวกะทิ" ผู้มีความสามารถจากหลายแขนง เข้ามาพำนักทำงานในจีน เชื่อแรงงานคุณภาพสูงมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ หวังทะยานสู่ความเป็นเบอร์หนึ่งของโลก

โควิด-19 คือวิกฤตการณ์ของชาวโลก รวมถึงประเทศจีนที่ต้องทุ่มเทสรรพกำลังรับมือ แก้ปัญหา จนสถานการณ์คลี่คลาย

และในเวลานี้ ได้รับการบอกกล่าวจากเพื่อนที่เมืองจีนอัพเดทว่า ทุกอย่างใกล้คืนสู่สภาวะปกติเมื่อมีผู้ได้รับวัคซีนมากขึ้น

สหายจากแดนมังกรบอกว่า ขอให้ไทยเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้มาก ๆ จะได้มาเที่ยวเมืองจีน และคนจีนก็อยากมาเมืองไทยใจจะขาดแล้ว

มาว่ากันด้วยเรื่องของ "วิกฤต-โอกาส" ความกดดันในช่วงที่ผ่านมา เป็นจังหวะให้จีนต่อยอดเดินนโยบายสำคัญ

กุมภาพันธ์ปี 2020 คณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาลเซี่ยงไฮ้ ขยายบริการการยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแบบออนไลน์แก่ชาวต่างชาติในกลุ่ม A เพื่อหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มของผู้คน และกระตุ้นให้คนเหล่านี้อยู่ทำงานในจีนต่อไป

จีนจัดแบ่งแรงงานต่างชาติออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ กลุ่ม A พรสวรรค์ชั้นยอด กลุ่ม B พรสวรรค์รายสาขาอาชีพ และกลุ่ม C แรงงานฝีมือต่ำ

ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน ให้ข้อมูลว่า เวลานี้จีนกำลังมุ่งสนองตอบต่อนโยบาย Made in China 2025 การสร้างนวัตกรรม และการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ

พวกเขาจึงต้องการดึงดูดบรรดา "หัวกะทิ" ผู้มีความสามารถจากหลายแขนงให้เข้ามาพำนักทำงานในจีน (เหมือนที่เราคุ้นเคยในกรณีของมหาอำนาจตะวันตก)

รัฐบาลจีนมองว่าแรงงานคุณภาพสูงมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจจีน จึงกำหนดเกณฑ์ที่ "เอื้อ" ให้บุคคลเหล่านั้นเลือกมาทำงานที่จีน

"1 มีนาคม ที่ผ่านมา สำนักงานบริหารผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศแห่งนครเซี่ยงไฮ้ ออกกฎระเบียบให้ผู้ประกอบการระดับโลก นักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้า นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างชาติ และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และยา อยู่ในข่ายได้รับสิทธิ์ในกลุ่ม A"

"คนกลุ่ม A สามารถยื่นขอวีซ่าประเภท R ซึ่งเป็นวีซ่าการจ้างแรงงานพรสวรรค์ต่างชาติระดับไฮเอนด์และเป็นที่ต้องการสูง สามารถเข้า-ออกได้หลายครั้งแต่พำนักในจีนได้คราวละไม่เกิน 180 วัน รวมทั้งยังได้รับสิทธิ์พิเศษ อาทิ ขั้นตอนการยื่นขอรับการพิจารณาที่สะดวก การยกเว้นการประกันสุขภาพแก่คนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และการยื่นขอวีซ่าแก่สมาชิกครอบครัว"

'ดร.ไพจิตร' ชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลจีนที่ต้องการช่วยอำนวยความสะดวก เปรียบเสมือนการออกโปรโมชั่นเชิญชวนให้ลูกค้าแฮปปี้เข้ามาจับจ่ายได้คล่องตัวขึ้น

นับแต่เริ่มมาตรการดังกล่าว รัฐบาลเซี่ยงไฮ้ได้ออกใบอนุญาตใหม่และต่อใบอนุญาตเดิมจำนวนเกือบ 10,000 รายแล้ว

ในส่วนของขั้นตอนราชการที่ยุ่งยากในหลายประเทศ ทางจีนแก้ไขปัญหาเหล่านี้จนเป็นรูปธรรม

"ขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาใบอนุญาตทำงานของชาวต่างชาติก็กระชับขึ้น โดยลดเวลาจาก 10 วันทำการเหลือเพียง 3 วันทำการ"

"การดำเนินงานในลักษณะดังกล่าวสะท้อนว่า หากจีนได้รับประโยชน์จากสิ่งใด รัฐบาลจะพยายามปรับปรุงหลักเกณฑ์เงื่อนไขและขั้นตอนในเชิงรุกเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ไทยเราอาจนำแนวคิดมาปรับใช้กับการปรับปรุงเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลแรงงานต่างด้าวได้เช่นเดียวกัน"

ปัจจุบันมีชาวต่างชาติทำงานในเซี่ยงไฮ้อยู่ราว 215,000 คน คิดเป็น 23.7% ของจำนวนทั้งหมด อีกทั้งเซี่ยงไฮ้ยังครองแชมป์เมืองยอดนิยมของชาวต่างชาติเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน

"นโยบายดึงทรัพยากรมนุษย์จากต่างประเทศเพื่อป้อนภาคการผลิตแห่งโลกอนาคตในเชิงรุกของจีน ทำให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองแห่งนวัตกรรมในปัจจุบัน เพื่อเป็นแกนกลางส่งจีนทะยานสู่ความเป็นเบอร์หนึ่งของโลกในสิ้นทศวรรษนี้ตามเป้า"


ขอบคุณที่มา: https://www.facebook.com/thaichinesetalk/posts/464991111514690

คติประจำใจจาก "Johann Wolfgang von Goethe" (นักเขียน นักปรัชญา นักสิทธิมนุษยชน ชาวเยอรมัน)

“What is not started today is never finished tomorrow.”

“ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง”


Johann Wolfgang von Goethe (นักเขียน นักปรัชญา นักสิทธิมนุษยชน ชาวเยอรมัน)

เปิด (ปม) ภาคการศึกษา

UNESCO เปิดเผยข้อมูลว่า เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 1 คือมากถึง 1,200 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งตัวเลขนี้นับเฉพาะที่เรียนในโรงเรียนเท่านั้น ยังไม่นับรวมเวลาเรียนพิเศษอื่น ๆ การเรียนอย่างหนักหน่วงของเด็กไทยที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้ก่อให้เกิดผลดี แต่อาจนำมาสู่ผลร้ายมากกว่าที่คิด

แม้เด็กไทยจะเรียนหนักเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่เคยสงสัยไหมว่าทำไมการศึกษาไทยถึงรั้งท้าย ไร้คุณภาพ นอกจากนี้ยังมีปัญหาสำคัญที่สังคมมองข้าม ทั้ง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของเด็ก

เมื่อถึงวัยที่ต้องเข้าสู่ระบบการศึกษา เกือบครึ่งชีวิตของเด็กคนหนึ่งต้องต่อสู้อยู่ในระบบการศึกษาที่เพิ่มพูนความรู้ แต่กลับลดทอนความสุขในชีวิต เมื่อต้องแบกรับทั้งความกดดันจากครอบครัว ความคาดหวังในตัวเอง รวมถึงค่านิยมของสังคม ทำให้ตระหนักคิดได้ว่า ความรู้ที่จะใช้ประกอบอาชีพในอนาคตก็สำคัญ แต่ความสุขของพวกเขาก็ควรจะสำคัญไม่แพ้กัน

ปัญหาการเรียนที่หนักหนาสาหัสของเด็กไทย นอกจากจะนำไปสู่ความกดดัน การเปรียบเทียบ ความเครียด สิ่งที่น่าเป็นห่วงและเป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ดีและตรงจุด คือประเด็นเกี่ยวกับ 'สุขภาพจิต'

ภาวะซึมเศร้า โรคเครียด ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตของเด็กไทย เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมาตลอด เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่เกิดมานานมากแล้ว จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ที่นำเสนอประเด็นการฆ่าตัวตายของเด็กนักเรียน นักศึกษา หลายต่อหลายเหตุการณ์ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร หากมองให้ลึกลงไปถึงต้นตอจะพบกับความโหดร้ายของระบบที่คร่าหลายชีวิตไปอย่างไม่ใยดี

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 64 ที่ผ่านมา เกิดเหตุนักเรียนหญิงชั้น ม.1 ใน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ป่วยโรคซึมเศร้ากระโดดอาคารเรียน 4 ชั้น หลังเลิกเรียนเสียชีวิตคาที่ ด้านแม่ของนักเรียนหญิงที่เสียชีวิตเปิดเผยว่า ลูกสาวของตนป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาปีกว่าแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาอาการ ต้องไปพบจิตแพทย์

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 64 ตำรวจและเจ้าหน้าที่การแพทย์ได้รับแจ้งเหตุนักศึกษาหญิงชั้น ปี 2 รายหนึ่งได้ฆ่าตัวตายที่ห้องพักย่านราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้สอบถามรายละเอียดของผู้เสียชีวิตจากญาติ โดยได้รับทราบว่า นักศึกษาคนดังกล่าว เป็นคนเรียนดีมาตลอด แต่หลังจากมีการเรียนออนไลน์และต้องทำรายงานส่งครู ทำให้ผู้เสียชีวิตเผชิญกับการนอนดึกไม่ต่ำกว่าตีสี่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

เหตุการณ์ที่หยิบยกมา เป็นเพียงแค่ตัวอย่างจากหลายสิบโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นมาตลอด แท้จริงแล้วปัญหาเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นเลย หรืออย่างน้อยก็น่าจะสามารถยับยั้งเหตุการณ์ไม่ให้รุนแรงขนาดนี้ได้ โดยเฉพาะหากได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันหลักอย่างครอบครัว

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เผยผลวิจัย "โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21" พบว่า ความสุขเด็กไทยวัยเรียนเหลือน้อย วัยรุ่นมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้นเป็นผลมาจากการสะสมความเครียดจากโครงสร้างครอบครัวที่มีความพร้อมแตกต่างกัน, ความเหลื่อมล้ำของคุณภาพสถานศึกษาและการแข่งขันในระบบการศึกษา รวมถึงความคาดหวังจากคนใกล้ตัว

ในยุคนี้ บางครอบครัวเริ่มส่งให้ลูกหลานของตัวเองเรียนพิเศษ กวดวิชากันอย่างหนัก เพราะอยากให้ลูกเข้าโรงเรียนดี เด่น ดัง อีกสาเหตุหนึ่งคือโรงเรียนส่วนใหญ่จะมีการประกาศผลสอบ เมื่อนักเรียนคนไหนสอบได้ที่ 1 หรือสอบติดมหาวิทยาลัยชื่อดังได้ ก็จะประกาศเชิดชูแสดงความยินดีหน้าโรงเรียน ทำให้พ่อแม่ และตัวเด็กเองเกิดการแข่งขัน

เพราะครอบครัวเป็นสถาบันหลัก เป็นด่านแรกในการบ่มเพาะปลูกฝัง สร้างค่านิยมและเสริมสร้างทรัพยากรในตัวให้เด็ก พร้อมไปเผชิญกับค่านิยมความคาดหวังของสังคม พ่อแม่จึงมีบทบาทสำคัญในการประคับประคองชีวิตของลูก ไม่ใช่การขีดเส้นใต้ให้ทำตามที่สิ่งที่อยากให้เป็น เคยหันไปถามลูกไหม ว่าสิ่งที่เราอยากให้เขาทำ กับสิ่งที่เขาอยากทำ มันเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เคยบอกเขาไหมว่าไม่ต้องกดดัน ไม่ว่าจะเกิดอะไรหรือเลือกทางไหน จะยอมรับในตัวตนและการตัดสินใจของเขา  

หากบ้านหรือโรงเรียนถูกสร้างให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อ-แม่-ลูก ครู-นักเรียน มีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ก็จะสามารถช่วยให้วัยรุ่นมีสุขภาพจิตแข็งแรง ห่างไกลจากความเครียด และภาวะซึมเศร้าได้ เลิกโทษเด็กว่าจิตใจไม่เข้มแข็ง ลองย้อนกลับมามองการกระทำของตัวเอง ก่อนที่อะไรจะสาย จนนำไปสู่เหตุการณ์ความสูญเสียที่คุณจะไม่มีวันได้เขากลับคืน

.

อ้างอิงข้อมูล:  https://www.thaihealth.or.th/Content/51292-ห่วงความสุขเด็กไทยในวัยเรียนเหลือน้อย

.

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เตรียมเงินงบประมาณ 38,000 ล้านบาท สำหรับการให้กู้ยืมปีการศึกษา 2564 ให้ยื่นกู้ผ่านแอพ ดีเดย์ 1 เม.ย.นี้ นักศึกษาป.โท ยื่นกู้ได้ปีแรก

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ประชาสัมพันธ์ข่าวสาวจากกองทุนระบุว่า “กยศ. พร้อมให้กู้ผ่านมือถือ 38,000 ล้านบาท ดีเดย์ 1 เม.ย.นี้” โดยระบุว่า

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เตรียมเงินงบประมาณ 38,000 ล้านบาท สำหรับการให้กู้ยืมปีการศึกษา 2564 เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียน นักศึกษากู้ยืมตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงระดับปริญญาโท โดยสามารถยื่นขอกู้ยืมผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟนด้วยแอพพลิเคชัน “กยศ. Connect” ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

ในปีการศึกษา 2564 กองทุนได้เตรียมเงินงบประมาณให้กู้ยืมจำนวน 38,000 ล้านบาท เพื่อรองรับนักเรียน นักศึกษาจำนวนกว่า 624,000 ราย สามารถกู้ยืมได้สูงสุดถึง 200,000 บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับหลักสูตรสาขาวิชาหรือประเภทวิชาที่เลือกเรียน และในปีนี้เป็นปีแรกที่กองทุนให้กู้ยืมเงินแก่นักศึกษาระดับปริญญาโท

สำหรับเงื่อนไขการกู้ยืมแบ่งเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

ลักษณะที่ 1 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

ลักษณะที่ 2 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

ลักษณะที่ 3 นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลน หรือที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ

ลักษณะที่ 4 นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ โดยให้กู้ในระดับปริญญาโท

ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบรายละเอียดสาขาวิชาและเงื่อนไขการให้กู้ยืมทั้ง 4 ลักษณะได้ที่เว็บไซต์กองทุน https://bit.ly/2Pb3Nhg โดยนักเรียน นักศึกษาสามารถยื่นกู้ผ่านแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

และสอบถามรายละเอียดได้ที่สถานศึกษาที่ผู้กู้ประสงค์จะศึกษาต่อ กองทุนขอยืนยันว่า กองทุนจะเป็นหลักประกันของทุกครอบครัว เพื่อให้บุตรหลานและนักเรียน นักศึกษารุ่นหลังมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้ทุกคน โดยไม่มีการจำกัดโควตาการให้กู้ยืมแต่อย่างใด หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ไลน์บัญชีทางการ “กยศ.” หรือโทร. 02-016-4888”


ที่มา: https://www.matichon.co.th/education/news_2636874

ผลการศึกษานำร่องของสหรัฐฯ ชี้ โควิด-19 แพร่กระจายในโรงเรียนยาก หากโรงเรียนให้ความสำคัญกับมาตรการเฝ้าระวังทางสาธารณสุข อาทิ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม และล้างมือเป็นประจำ

การศึกษานำร่องในรัฐมิสซูรีของสหรัฐชี้ว่า การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในโรงเรียนเป็นเรื่องยาก แม้มีกลุ่มผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย หากโรงเรียนให้ความสำคัญกับมาตรการเฝ้าระวังทางสาธารณสุข อาทิ การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม และการล้างมือเป็นประจำ

การศึกษานำร่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์ (WUSTL) และหน่วยงานท้องถิ่นอื่นๆ ครอบคลุมโรงเรียน 57 แห่งในรัฐมิสซูรี โดยโรงเรียนทุกแห่งกำหนดให้นักเรียน ครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้มาเยือน สวมหน้ากากอนามัยขณะอยู่ในพื้นที่โรงเรียนหรือบนรถบัส

มาตรการด้านความปลอดภัยอื่นๆ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขอนามัยของมือ การทำความสะอาดสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบวงจร การรักษาระยะห่างในห้องเรียน การตรวจคัดกรองอาการโรคโควิด-19 ทุกวัน การติดตั้งสิ่งกีดขวางทางกายภาพระหว่างครูและนักเรียน การเสนอทางเลือกในการเรียนทางออนไลน์ และการระบายอากาศเพิ่มเติม

กลุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษานำร่องครั้งนี้ครอบคลุมประชาชน 193 คนจาก 22 โรงเรียนของกลุ่มข้างต้น โดยส่วนหนึ่งเป็นผู้มีผลตรวจโรคโควิด-19 เป็นบวก 37 ราย แบ่งเป็นนักเรียน 24 ราย (ร้อยละ 65) และครูหรือเจ้าหน้าที่ 13 ราย (ร้อยละ 35) และเป็นผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย 156 ราย แบ่งเป็นนักเรียน 137 ราย (ร้อยละ 88) และครูหรือเจ้าหน้าที่ 19 ราย (ร้อยละ 12)

บรรดาผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย 102 ราย ที่ดำเนินการตรวจโรคโควิด-19 ด้วยวิธีทดสอบน้ำลาย มีเพียงสองรายเท่านั้นที่มีผลตรวจโรคเป็นบวก ซึ่งบ่งชี้ว่าการแพร่เชื้อขั้นทุติยภูมิในโรงเรียนมีโอกาสเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ดี ยังไม่ตรวจพบการแพร่ระบาดในโรงเรียนที่เข้าร่วม แม้อัตราการแพร่กระจายในชุมชนจะอยู่ในระดับสูงเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน แม้กระทั่งโรงเรียนในเมืองสปริงฟิลด์ที่อนุญาตให้ผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยบางคนยังคงอยู่ในโรงเรียนได้

"โรงเรียนสามารถเปิดการเรียนการสอนได้อย่างปลอดภัยในช่วงของการแพร่ระบาด หากปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน" เจสัน นิวแลนด์ ศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน หนึ่งในผู้นำวิจัย กล่าว "การศึกษานำร่องแสดงให้เห็นถึงอัตราการแพร่เชื้อในโรงเรียนในระดับต่ำและไม่มีการถ่ายทอดจากนักเรียนสู่ครู แม้การศึกษาครั้งนี้จะดำเนินในเดือนธันวาคม ซึ่งมีอัตราการแพร่กระจายในชุมชนระดับสูงก็ตาม"

นอกจากนี้ คณะนักวิจัยจะดำเนินการวัดระยะห่างระหว่างโต๊ะในห้องเรียนในอนาคต เพื่อประเมินว่าจะสามารถผ่อนปรนกฎระยะห่างทางสังคม 6 ฟุต (180 เซนติเมตร) ในโรงเรียนได้หรือไม่ ทั้งยังจะส่งแบบสำรวจไปยังผู้ปกครอง ครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ เพื่อประเมินความเครียดและสุขภาพจิตระหว่างการกักตัวด้วย

ทั้งนี้ การศึกษานำร่องครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่ในรายงานการเจ็บป่วยและเสียชีวิตรายสัปดาห์ (MMWR) ของ CDC เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา


ขอบคุณที่มา: https://www.ryt9.com/s/iq47/3209874

ใครอยากเพิ่มสกิลภาษาอังกฤษ พลาดไม่ได้!! สถาบันภาษา ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์ท่าพระจันทร์) เปิด ‘โครงการอบรมภาษาอังกฤษสำหรับบุคคลทั่วไป’

โดยมีทั้งคอร์สแบบปูพื้นฐาน คอร์สอัปสกิล รวมถึงคอร์สเตรียมสอบ ซึ่งทุกคอร์สจะทำการเรียนการสอนที่ศูนย์ท่าพระจันทร์ หากใครสนใจ สามารถดูรายละเอียดด้านล่างได้เลย

คอร์สที่เปิดสอน

1.) หลักสูตรทักษะการฟัง-การพูด (Listening – Speaking)  ระดับ 1, 2, 3

2.) หลักสูตรทักษะการใช้ไวยากรณ์ (Grammar for Better English) ระดับ 1, 2, 3

3.) หลักสูตรทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ (Strategic Reading)  ระดับ 1,2

4.) หลักสูตรการเขียน (Writing) : Essay, Paragraph, Report and Propasal Writing for Careers

5.) หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน (English for Work) ระดับ 1, 2

6.) หลักสูตรการแปลเบื้องต้น (Introduction to Translation)

7.) หลักสูตรเตรียมสอบ (Test-Preparation Courses): Computer-based tests, การอ่าน, คำศัพท์, การอ่าน, ไวยากรณ์,  IELTS, TOEIC

- มีทั้งหลักสูตรภาษาอังกฤษพื้นฐาน 30 ชั่วโมง และหลักสูตรการเตรียมสอบ 60 ชั่วโมง (แล้วแต่คอร์ส)

- ค่าเรียน: 2,900 - 4,900 บาท (แล้วแต่คอร์ส)

- มีโปรมา 4 จ่าย 3

- เริ่มอบรมวันที่ 24 เมษายน - วันที่ 27 มิถุนายน 2564 (มีทั้งหลักสูตรเรียนวันธรรมดา, วันเสาร์ และอาทิตย์ *ตารางเรียนแต่ละคอร์สจะไม่เหมือนกัน ดูตารางเรียนได้ที่ http://public.litu.tu.ac.th/view/post/43

สมัครอบรม

- สมัครอบรมได้ที่ https://apply.litu.tu.ac.th/login

- ใบสมัคร: https://bit.ly/3lwjPyh

- หมดเขตวันที่ 16 เมษายน 2564 หรือจนกว่าจะเต็ม

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดคอร์ส รวมถึงการสมัครเรียน กรุณาติดต่อไปที่

-Facebook: Language Institute Thammasat University

-โทรศัพท์ : 02-613-3101-3

-Email : [email protected]

-ที่อยู่ : สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวังเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

อ่านรายละเอียดคอร์สฉบับเต็มที่ http://public.litu.tu.ac.th/view/post/43


ขอบคุณที่มา: https://www.facebook.com/OneMoreCoursebyDekD/posts/284385673057287

Saturday School หรือโรงเรียนวันเสาร์ ไม่มุ่งเน้นวิชาการ แต่มุ่งเน้นพัฒนา Soft Skill โดยวัดผลจากการจัดแสดงผลงานของเด็ก ๆ แทนการจัดอันดับหรือการแข่งขัน

ยังมีอะไรอีก ที่สำคัญต่อชีวิต และโรงเรียนไม่ได้สอน

เมื่อครั้งคุณยีราฟเป็นอาสาสมัคร Teach for Thailand ได้มีโอกาสเห็นศักยภาพมากมายในตัวเด็ก ๆ ในโครงการ แต่โรงเรียนสายสามัญกลับยังไม่มีหลักสูตรรองรับ คุณยีราฟเล่าว่า เห็นเด็กมีความสามารถหลายด้าน เช่น เด็กบางคนวาดรูปสวยมาก บางคนทำกิจกรรมกับผู้คนเก่ง บางคนเขียนโปรแกรมเก่ง หรือบางคนเต้นเก่ง หรืออาจจะพูดเก่ง แต่ในโรงเรียนกลับไม่มีวิชาเหล่านี้

คุณยีราฟจึงดึงครูอาสาที่ความสามารถเหมือนกับเด็กเหล่านั้นมาร่วมงาน และต่อยอดขยายผลจากการเป็นครูอาสามาเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ที่ชื่อว่า Saturday School มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์

ประสบการณ์ตั้งแต่ได้เป็นครูอาสา ทำให้คุณยีราฟเล็งเห็นความสามารถที่หลากหลายของเด็ก ที่หลักสูตรโรงเรียนในปัจจุบัน ยังไม่สามารถรองรับเด็ก ๆ เหล่านั้นให้สามารถต่อยอดความถนัดที่เค้ามีอยู่แล้วได้ โรงเรียนวันเสาร์ จึงไม่มุ่งเน้นวิชาการ แต่มุ่งเน้นพัฒนา Soft Skill โดยวัดผลจากการจัดแสดงผลงานของเด็ก ๆ แทนการจัดอันดับหรือการแข่งขัน

Soft Skill ที่โรงเรียนวันเสาร์มุ่งเน้นนั้น มี 4 ทักษะด้วยกัน คือ

  1. Self-Awareness การรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง
  2. Resilience ความสามารถในการปรับตัว ความยืดหยุ่น เรียนรู้แล้วลุกเร็ว
  3. Growth Mindset ความเชื่อว่าตัวเองทำได้
  4. Potential Behavior คือความมีจิตใจที่จะทำเพื่อสังคม

ในกระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียนวันเสาร์นั้น คุณยีราฟใช้ Design Thinking มาปรับใช้และเอาวิธีคิดแบบ Ownership หรือความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของมาจับ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในขณะเดียวกันก็เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นด้วย

ปัจจุบันโรงเรียนวันเสาร์จะเข้าไปเป็นพันธมิตรกับโรงเรียนต่าง ๆ ที่สนใจให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะเพิ่มเติมนอกเหนือจากโรงเรียน โดยมีระดับชั้นมัธยมต้นเป็นโปรแกรมหลัก เด็ก ๆ ในโปรแกรมยังสามารถชวนเพื่อนจากโรงเรียนอื่นมาร่วมเข้าโปรแกรมได้ด้วยเช่นกัน

หากคุณคือคนหนึ่งที่เชื่อว่าการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ในขณะที่เวลาของความเป็นเด็กนั้นมีจำกัด เราคงไม่สามารถเอาเวลาไปเรียนอะไรที่สุดท้ายแล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้ และยังมีอะไรอีกมากมายที่ในรั้วโรงเรียนไม่ได้สอน

เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่และลูกทุกคนค่ะ


สามารถย้อนไปฟังการ LIVE หัวข้อที่น่าสนใจเหล่านี้เพิ่มเติมได้ที่ เพจดีต่อลูก

หัวข้อ : โรงเรียนวันเสาร์ “วิชาที่โรงเรียนไม่ได้สอน”

Link https://www.facebook.com/299800753872915/videos/466518634738895

เขียนและเรียบเรียงเรื่องโดย: พิมพ์นารา สุวรรณไตรย์ 

กระทรวงศึกษาธิการ หารือร่วมกับผู้แทนกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติยูนิเซฟ ประเทศไทย สร้างความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กเล็ก เน้นการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ยกระดับความรู้เรื่องทักษะดิจิทัล

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รักษา รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับนางคิม คยองซัน ผู้แทนกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติยูนิเซฟ ประเทศไทย ว่า จากการหารือยูนิเซฟมีความสนใจเรื่องการศึกษาของเด็กปฐมวัย ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และยูนิเซฟจะมีความร่วมด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กเล็กมากขึ้น เช่น การดูแลความปลอดภัย การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งตนได้พูดถึงเรื่องที่ ศธ.ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้กลุ่มครูได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นกลุ่มแรก ๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่เด็กนักเรียน

นอกจากนี้ยูนิเซฟยังให้ความสนใจการศึกษาของเด็กชนเผ่าและเด็กด้อยโอกาส รวมถึงได้แสดงความคิดเห็นว่าจะทำอย่างไรที่จะให้ครูและนักเรียนได้ยกระดับความรู้เรื่องทักษะดิจิทัลให้มากขึ้น ซึ่งตนได้ชี้แจงว่าขณะนี้ ศธ.ได้เลือกโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกลในพื้นที่จังหวัดเลยและจังหวัดกาญจนบุรีอย่างละ 1 แห่ง เพื่อนำมาเป็นโรงเรียนนำร่องในการบริหารจัดการด้านการศึกษาด้วยการเติมทักษะดิจิทัล ห้องเรียนเทคโนโลยี ครูผู้สอนด้านภาษาอังกฤษ ในการเป็นต้นแบบให้เด็กในโรงเรียนเหล่านี้มีความรู้ด้านดิจิทัลและเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหน่วยงานภาคเอกชนเข้ามาช่วยสนับสนนุนการดำเนินงานให้ โดยการนำร่องดังกล่าวจะมีการประเมินผล 3 - 6 เดือนว่าเด็กในโรงเรียนขนาดเล็กมีทักษะการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นหรือไม่

“สำหรับความร่วมมือในอนาคตที่จะทำให้การทำงานระหว่างยูนิเซฟและ ศธ.มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าการทำงานของยูนิเซฟด้านการศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องส่งผลให้การดำเนินงานมีความกระจัดกระจายไม่เห็นการติดตามผลงานเท่าที่ควร ดังนั้น จึงมีข้อสรุปว่าอยากให้ยูนิเซฟจัดทำเป็นวารสาร เพื่อรวบรวมการดำเนินงานของยูนิเซฟในรูปแบบต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน ซึ่งจะทำให้สังคมได้รับทราบการทำงานของยูนิเซฟมากขึ้น”รมช.ศธ.กล่าว


ที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/96887

ปฏิทินการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปีการศึกษา 2564 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

รับสมัคร

ประเภททั่วไป 16 - 20 เม.ย. 64

ประเภทเงื่อนไขพิเศษ (ถ้ามี) 16 - 20 เม.ย. 64

จับฉลาก

ประเภททั่วไป 24 เม.ย. 64

ประกาศผล

ประเภททั่วไป 24 เม.ย. 64

ประเภทเงื่อนไขพิเศษ (ถ้ามี) 24 เม.ย. 64

รายงานตัว

ประเภททั่วไป 24 เม.ย. 64

ประเภทเงื่อนไขพิเศษ (ถ้ามี) 24 เม.ย. 64

มอบตัว

ประเภททั่วไป 1 พ.ค. 64

ประเภทเงื่อนไขพิเศษ (ถ้ามี) 1 พ.ค. 64

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://plan.bopp-obec.info/Home/

รับสมัคร

ประเภททั่วไป 16 - 20 เม.ย. 64

ประเภทเงื่อนไขพิเศษ (ถ้ามี) 16 - 20 เม.ย. 64

จับฉลาก

ประเภททั่วไป 24 เม.ย. 64

ประกาศผล

ประเภททั่วไป 24 เม.ย. 64

ประเภทเงื่อนไขพิเศษ (ถ้ามี) 24 เม.ย. 64

รายงานตัว

ประเภททั่วไป 24 เม.ย. 64

ประเภทเงื่อนไขพิเศษ (ถ้ามี) 24 เม.ย. 64

มอบตัว

ประเภททั่วไป 1 พ.ค. 64

ประเภทเงื่อนไขพิเศษ (ถ้ามี) 1 พ.ค. 64

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://plan.bopp-obec.info/Home/

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top