Thursday, 25 April 2024
TheStudyTimes

กยศ. แจงข่าวกรณีให้นายจ้างเอกชนหักเงินเดือนลูกจ้าง เพื่อคืนให้กองทุน เผยนายจ้างทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือ หนุนลูกหนี้ช่วยจ่ายหนี้กว่า 1.35 ล้านคน ปี 64 เตรียมปล่อยกู้ 38,000 ล้านบาท ส่งต่อโอกาสการศึกษาให้นักเรียน - นักศึกษา

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า จากการที่กองทุนได้มีหนังสือถึงหน่วยงานองค์กรนายจ้างภาคเอกชนในการหักเงินเดือนเพื่อชำระเงินคืนกองทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 นั้น

ขอชี้แจงว่า การดำเนินการแจ้งหักเงินเดือนได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 เริ่มจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานเอกชนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กตามลำดับ ทั้งนี้ มีหน่วยงานที่กองทุนต้องแจ้งหักเงินเดือนทั้งหมดประมาณ 107,000 แห่ง และมีผู้กู้ยืมที่เป็นพนักงานของหน่วยงานเหล่านี้ที่อยู่ในเกณฑ์หักเงินเดือนทั้งหมด 1,735,000 ราย ในช่วงที่ผ่านมา

โดยกองทุนได้แจ้งหักเงินเดือนไปยังนายจ้างแล้ว 14,813 แห่ง เป็นจำนวนผู้กู้ยืมทั้งสิ้น 1,268,000 ราย และอยู่ในระหว่างการแจ้งหักเงินเดือนในเดือนมีนาคมอีก 92,935 แห่ง ซึ่งมีผู้กู้ยืมจะอยู่ในเกณฑ์หักเงินเดือนจำนวน 466,000 ราย

ทั้งนี้ กองทุนได้จัดประชุมชี้แจงให้นายจ้างได้รับทราบและเข้าใจถึงเหตุผลและความจำเป็น ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมา นายจ้างทุกภาคส่วนได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่งผลให้ ณ 31 ธ.ค.63 มีลูกหนี้จ่ายหนี้ปกติกว่า 1.35 ล้านคน

สำหรับขั้นตอนการหักเงินเดือนของพนักงานหรือลูกจ้างที่เป็นผู้ยืมเงิน กยศ. ผ่านองค์กรนายจ้างนั้น กองทุนจะจัดส่งหนังสือแจ้งหักเงินเดือนไปตามที่อยู่ในทะเบียนราษฎร์ของผู้กู้ยืมเงินได้รับทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน จากนั้นกองทุนจะจัดส่งหนังสือแจ้งให้นายจ้างทราบถึงข้อมูลของผู้กู้ยืมเงิน รวมทั้งจำนวนเงินที่ต้องหักนำส่งล่วงหน้าประมาณ 30 วัน

ทั้งนี้ นายจ้างสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ต้องหักและนำส่งผ่านระบบรับชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาผ่านกรมสรรพากร (e-PaySLF) โดยเข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์ กยศ. www.studentloan.or.th ซึ่งกองทุนจะมีการปรับข้อมูลผู้กู้ยืมให้เป็นปัจจุบัน และจะแจ้งข้อมูลที่ต้องหักและนำส่งให้นายจ้างได้ทราบผ่านระบบดังกล่าวในทุกวันที่ 5 ของเดือน ทั้งนี้ กองทุนขอชี้แจงรายละเอียดการหักเงินเดือนเพื่อความชัดเจน ดังนี้

1.) เมื่อพนักงานได้รับเงินเดือน ลำดับการหักเงินเดือนกองทุนอยู่ในลำดับ 3 โดยลำดับแรกเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลำดับที่ 2 หักกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคม และลำดับที่ 3 หักเงินกองทุน กยศ.

2.) หากนายจ้างไม่ดำเนินการหัก ฯลฯ ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 ได้ระบุให้ นายจ้างจะต้องชดใช้เงินที่ต้องนำส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ และต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่นายจ้างยังไม่ได้นำส่ง หรือตามจำนวนที่ยังขาดไปแล้วแต่กรณี

แต่ที่ผ่านมาหากหน่วยงานแจ้งเหตุผลข้อขัดข้อง หรือความจำเป็นที่ไม่สามารถดำเนินการหักเงินเดือนผู้กู้ยืมได้ผ่านขั้นตอนในระบบให้กองทุนรับทราบก็ไม่ต้องชดใช้เงินให้กับกองทุน และหากไม่สามารถดำเนินการหักเงินเดือนได้ กองทุนยินดีที่จะอนุโลมและผ่อนผันให้ ซึ่งในปัจจุบันกองทุนยังไม่เคยเรียกให้นายจ้างชดใช้เงินหรือเรียกเงินเพิ่มจากนายจ้างแต่อย่างใด

3.) การคำนวณยอดหักเงินเดือน กองทุนจะใช้ยอดหนี้ตามตารางชำระรายปี หารด้วย 12 เดือน หรือจำนวนเดือนที่เหลือก่อนถึงวันครบกำหนดชำระหนี้ (5 กรกฎาคมของทุกปี) และในงวดปีถัดไปจะเริ่มหักเงินเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมของทุกปีจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น

ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมเงินที่ไม่สามารถชำระตามอัตราที่แจ้ง สามารถขอปรับลดจำนวนเงินได้โดยแจ้งความประสงค์ขอลดจำนวนการหักเงินเดือนได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” โดยกองทุนอนุโลมให้ชำระขั้นต่ำเพียง 100 บาท แต่ผู้กู้ยืมเงินยังมีหน้าที่ต้องไปชำระเงินในส่วนที่ขาดไปของงวดนั้นให้ครบตามจำนวนที่ต้องชำระก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้รายปี

“กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตั้งต้นมาจากงบประมาณแผ่นดินที่มาจากเงินภาษีของประชาชน และใช้เงินชำระหนี้ของผู้กู้ยืมรุ่นพี่หมุนเวียนเพื่อส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้แก่รุ่นน้อง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน กองทุนขอเรียนว่า ปัจจุบัน กองทุนไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินตั้งแต่ปี 2561 และในปีการศึกษา 2563 มีผู้ขอกู้ยืมเงินเพิ่มขึ้นจาก 28,000 ล้านบาท เป็น 33,000 ล้านบาท”

สำหรับปีการศึกษา 2564 นี้กองทุนได้เตรียมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา จำนวน 38,000 ล้านบาท สำหรับนักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมจำนวน 624,000 รายไว้เรียบร้อยแล้ว กองทุนขอยืนยันว่า กองทุนจะเป็นหลักประกันของทุกครอบครัว เพื่อให้บุตรหลานและนักเรียน นักศึกษารุ่นหลังมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้ทุกคนอย่างแน่นอน โดยไม่มีการจำกัดโควตาการให้กู้ยืมแต่อย่างใด

ทั้งนี้ หากนายจ้างมีข้อสงสัยสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.studentloan.or.th หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ไลน์บัญชีทางการ “กยศ.องค์กรนายจ้าง” หรือ โทร. 09 4212 6250 - 79 (30 คู่สาย) และสำหรับผู้กู้ยืมที่ชำระเงินผ่านองค์กรนายจ้างที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ไลน์บัญชีทางการ “กยศ.หักเงินเดือน” หรือโทร. 0 2016 4888


ที่มา: https://www.prachachat.net/finance/news-625000

วิทยาศาสตร์พัฒนาชาติ Part.2 เส้นทางการคัดเลือก 240 ทุน ม.ปลาย ก้าวเข้าโรงเรียนวิทยาศาสตร์อันดับหนึ่งไทย (MWIT)

กว่า 50% ของ 240 คน แต่ละรุ่น เข้าเรียนคณะแพทย์ จุฬาฯ ศิริราช รามา และอื่นๆ

กว่า 25% คณะวิศวะฯ สถาปัตฯ วิทยาศาสตร์

25% ที่เหลือโดยประมาณ เลือกเรียนตามคณะที่สนใจ ทุนต่างประเทศมากมายที่ได้ไปเรียนต่อ

นี่คือผลสำเร็จที่เป็นตัวชี้วัดได้ว่า นักเรียนมหิดลทุกคนสำเร็จในก้าวแรกสู่อาชีพที่มั่นคง และเป็นขุมกำลังและความหวังประเทศไทย

ผลงานชัดทุกปีของนักเรียนที่นี่ คือการนำชื่อเสียงมายังโรงเรียน และประเทศชาติผ่านการแข่งขันทางด้านวิชาการ หลากหลายรูปแบบ ทั้งโครงงาน โอลิมปิกวิชาการ และด้านอื่นๆ

ทุกปี มีตัวแทนประเทศไทย โอลิมปิกวิชาการ ทุกสาขาวิชา

คณิตศาสตร์ โอลิมปิก ,ฟิสิกส์ โอลิมปิก ,เคมี โอลิมปิก ,ชีววิทยา โอลิมปิก ,คอมพิวเตอร์ โอลิมปิก และดาราศาสตร์ โอลิมปิก

ทุนเรียนต่อในประเทศ ต่างประเทศมากมาย ที่ได้รับ และนักเรียนมหิดลฯ สนใจไปเรียนกัน

-ทุนเล่าเรียนหลวง

-ทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

-ทุนกระทรวงการต่างประเทศ

-ทุนธนาคารแห่งประเทศไทย

-ทุนวิวัฒนไชยานุสรณ์

-ทุนโอลิมปิก

-ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbukagakusho:MEXT)

-ทุนมหาวิทยาลัย KAIST (Korea Advanced Institute of Science & Technology)

และอื่นๆ ทั้งไทย และต่างประเทศ

ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ ทั้ง 240 คน โดดเด่นและสำเร็จได้ 100% เริ่มต้นจากการคัดสรรที่เข้มข้น คัดกรองจากทั่วประเทศ ผ่านคุณสมบัติตามกำหนด มาสอบรอบแรกกว่า 15,000 คน แข่งขันเข้มข้น จากการสอบสองรอบ สอบสองวิชา คือ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา) โดยรอบแรก รับมา 600 คน จากนั้นคัดต่อ เหลือแค่ 240 คน เข้าเรียนห้องละ 24 คน 10 ห้องเรียน (เรียนเฉพาะ สายวิทย์ คณิตศาสตร์)

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ นักเรียน และ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์”

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เกิดจากองค์ประกอบ 5 อย่าง ดังต่อไปนี้

1.กระบวนการสรรหานักเรียนที่มีประสิทธิภาพ การคัดทั้งรอบแรกและรอบสอง

2.) หลักสูตรที่เน้นการพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล เหมาะตามความสนใจและส่งเสริมในความถนัด เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์ ทุกแขนง

3.) ครูที่มีคุณภาพสูง ในแต่ละด้าน แต่ละวิชา จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ประสบการณ์สูง

4.) อาคาร สถานที่ สื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์ดีเยี่ยม ซึ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน

5.) บิดา มารดา และผู้ปกครองนักเรียน ที่มองเห็นถึงโอกาส และให้การสนับสนุนการศึกษาของบุตรหลานตั้งแต่เด็ก จนถึงปัจจุบัน และมุ่งมั่นต่อไปในอนาคต

เส้นทางสู่ MWIT”

เส้นทางสู่การเป็นนักเรียน MWIT มีดังต่อไปนี้

1.) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้มีคุณสมบัติตามประกาศการรับสมัคร ฯ สมัครเข้าสอบเพื่อเป็นนักเรียนของโรงเรียนรอบที่หนึ่งในช่วงปลายปีของแต่ละปี ผ่านทางเว็บไซต์ของโรงเรียน MWIT

2.) นักเรียนที่สมัครสอบรอบที่หนึ่งเข้าสอบในศูนย์สอบที่โรงเรียนจัดทั่วประเทศตามประกาศในแต่ละปี

3.) ประกาศรายชื่อนักเรียนที่สอบผ่านในรอบที่หนึ่ง จำนวน 600 คน

4.) นักเรียนที่สอบผ่านรอบที่หนึ่ง เข้าสอบรอบที่สอง ซึ่งเป็นการสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

5.) ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตัวจริง 240 คนแรก และสำรอง อีก 360 คนที่เหลือ เรียกสำรองทุกปี ประมานอันดับที่ 120 - 190

ประวัติจุดเริ่มต้นก่อตั้ง MWIT

https://www.facebook.com/292042747492220/posts/3587365571293238/?sfnsn=mo

มหิดลวิทยานุสรณ์ นามพระราชทาน

https://www.facebook.com/292042747492220/posts/3591326447563817/

ตัวอย่างรายละเอียดการรับสมัครสอบ เข้าม.4  รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ ปีการศึกษา 2564

https://www.facebook.com/292042747492220/posts/3594006723962456/?sfnsn=mo

ตัวอย่างประกาศรายชื่อรอบแรกปี การศึกษา 2564

https://www.facebook.com/292042747492220/posts/4020235601339564/?sfnsn=mo

รายละเอียดหลักสูตรการเรียน

https://www.facebook.com/292042747492220/posts/3911333725563086/?sfnsn=mo

นักเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นนักเรียนทุน ม.ปลาย ทุน 100% เรียนฟรี มีค่าใช้จ่ายรายเดือน ที่พัก และสวัสดิการอื่นๆ อีกมากมาย

จากความสำเร็จแต่ละขั้นตอน ของนักเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จึงเป็นอีกหนึ่งความหวังว่า ประเทศไทยจะมีบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มารับใช้ชาติในวันและโอกาสข้างหน้า


เขียนและรวบรวมข้อมูล โดย AodDekTai คุณพ่อผู้สนใจการศึกษาไทยและต่างประเทศ

อ้างอิงข้อมูลและบทความจาก เว็ปไซต์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และเพจ โรงเรียน Mahidol Wittayanusorn School (Official)

คติประจำใจจาก "Mahatma Gandhi" (ผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู)

“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”

“ใช้ชีวิตราวกับว่าคุณจะตายพรุ่งนี้ เรียนรู้ราวกับว่าคุณจะมีชีวิตอยู่ตลอดไป”


Mahatma Gandhi (ผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู)

กทม.จัดติวออนไลน์ครั้งแรก เสริมทักษะให้นักเรียนชั้น ม.6 เตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ชดเชยโอกาสก่อนหน้านี้ ที่โรงเรียนปิด

จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบการเรียน การสอน และเด็กๆ ที่ต้องเรียนออนไลน์ สลับกับการไปโรงเรียน นายเกรียงไกร จงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า เด็ก ๆ ที่เรียนออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมา ของโรงเรียนสังกัด กทม. ปรับตัวได้แล้ว กลายเป็นความคุ้นชิน ทั้งการเรียน การทำแบบฝึกหัดส่งครู

สำหรับนักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสังกัด กทม. ขณะนี้ ทุกคนกำลังเตรียมความพร้อม ทบทวนหนังสือ แบบฝึกหัด เพื่อสอบโอเน็ต แกตแพต และวิชาสามัญ เก็บคะแนนสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ปีนี้เป็นครั้งแรกที่ กทม. จัดติวออนไลน์ เพื่อเสริมทักษะให้นักเรียน ได้มีความพร้อม อีกทั้งยังเป็นการชดเชยโอกาสก่อนหน้านี้ ที่โรงเรียนปิด เด็กไม่ได้เรียนในห้องเรียน และไม่ได้ไปติวไปกวดวิชา เหมือนการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกปีที่ผ่านมา

สำหรับ เด็กนักเรียน ชั้นอื่น ๆ ช่วงนี้ ก็จะเข้าสู่การสอบ และใกล้จะปิดเทอมแล้ว เด็ก ๆ และผู้ปกครอง จะได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน อีก 1 แหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่เด็ก ๆ จะได้เรียนปนเล่น ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ยกมาไว้ใจกลางกรุง เปิดพื้นที่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในชื่อ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เดอะสตรีท รัชดา จัดตลอดเดือนนี้ ที่ศูนย์การค้าเดอะสตรีทรัชดา

เปิดโลกการเรียนรู้แบบใหม่ ที่เรียกว่า scream ที่จะฝึกให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ มีเหตุผล ฝึกการเขียนโค้ด หรือ Coding และเรียนรู้การพัฒนาและสร้างหุ่นยนต์ รู้หลักวิศวกรรม ศิลปศึกษา และคณิตศาสตร์ ผ่านสนามเด็กเล่น การลงมือทำกิจกรรมที่น่าสนใจ ที่เด็ก ๆ จะได้ลองสำรวจค้นคว้า ค้นพบและไขปริศนาอย่างสนุกสนาน สร้างแรงบันดาลใจ และจินตนาการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


ที่มา: https://news.ch7.com/detail/471583

เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาในงานประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ ประจำปี 2021 ในปักกิ่ง มีข้อเสนอให้มีการปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ทั้งระบบ โดยจะร่นระยะเวลาการศึกษาภาคบังคับให้สั้นลงจาก 12 ปี ให้เหลือเพียง 10 ปีเท่านั้น

ข้อเสนอนี้มาจาก นาย จาง หงเหว่ย รองประธานสภาประชนชน ที่นำเสนอแผนปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาภาคบังคับใหม่ จากเดิมที่เรียนระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปี มัธยมต้น 3 ปี และมัธยมปลาย 3 ปี รวมเป็น 12 ปี ที่คล้ายการระบบการศึกษาภาคบังคับของไทย

แต่โครงการการศึกษาใหม่นี้ จะบีบระยะเวลาในชั้นประถมเหลือเพียง 5 ปี ชั้นมัธยมต้น 3 ปี และชั้นมัธยมปลายก็จะเหลือเพียง 2 ปี เป็น 10 ปี

จาง หงเหว่ย ได้ให้เหตุผลว่า โดยปกติทั่วไปเด็กนักเรียนจีนจะเริ่มต้นวัยเรียนในชั้นประถมที่ประมาณ 7 ขวบ กว่าจะจบมัธยมปลายที่อายุ 19 และจะจบระดับอุดมศึกษาเมื่ออายุ 23 ที่หลายคนกว่าจะเริ่มต้นทำงานเต็มตัวได้ ก็อายุประมาณ 26 - 27 ปี และกว่าจะตั้งหลักสร้างตัวในอาชีพที่ใช่ก็เลย 30 ปีไปแล้ว และมาเกษียณอายุในวัย 55 ที่ดูเหมือนว่าช่วงเวลาที่ทำงานจะสั้นกว่าช่วงเวลาที่เรียนเสียอีก

ซึ่งข้อดีของการย่นระยะเวลาภาคบังคับให้เหลือเพียง 10 ปี ก็จะช่วยให้ครอบครัวจีนมีภาระค่าใช้จ่ายให้ลูกน้อยลง และสอดรับกับสภาพสังคมผู้สูงอายุของจีน และเร่งเติมเต็มแรงงานคนรุ่นหนุ่มสาว ในภาคธุรกิจและอุตสาสหกรรมให้ทันท่วงที

หลังจากที่มีความเห็นในการเปิดประเด็นหั่นระบบการศึกษาภาคบังคับให้เหลือ 10 ปีในสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ ก็มีเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ในเรื่องนโยบายนี้ไม่น้อย

โดยชาวเน็ตจีนก็เสียงแตกเป็น 2 ด้าน ด้านหนึ่งก็เห็นว่าดี จะเรียนให้เยอะ ๆ นาน ๆ ไปทำไม รีบเรียน รีบจบ รีบออกมาทำงานจะดีกว่า เพราะสมัยนี้คนที่เรียนนานกว่า ก็ไม่ได้หมายความว่าจะประสบความสำเร็จมากกว่า แต่บางส่วนก็มองว่าช่วงเวลาในระบบการศึกษาก็สัมพันธ์กับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย ที่จะเร่งกันไม่ได้

และก็มีนักการศึกษาจีนหลายคนที่ไม่เห็นด้วย เพราะรัฐบาลจีนมองการศึกษาในแง่มุมของการจ้าง "แรงงาน" ในภาคอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว ที่การหั่นระยะเวลาการศึกษาขั้นพื้นฐานอาจไม่ใช่การแก้ปัญหาเรื่องแรงงานที่ตรงนัก

ความเห็นต่างในแผนนโยบายใหม่นี้ก็มาจากนาย ฉู เชาฮุ่ย นักวิจัยที่สถาบันวิทยาศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ ให้ความเห็นผ่านสื่อ Global Times ของจีนว่า การย่นระยะเวลาการศึกษาเพื่อเพิ่มจำนวนแรงงาน เป็นแค่เพียงการเห็นของภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องการแรงงานในภาคธุรกิจ ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ

เช่นเดียวกับนาย สง ปิงฉี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 เชื่อว่าระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างหากที่เป็นรากฐานสำคัญของระบบการศึกษา และการพัฒนาสังคม

ดังนั้นการจะเร่งพัฒนาเยาวชนจีนรุ่นใหม่ สู่ตลาดแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องแก้ที่ระบบการเรียน การสอน ซึ่งปัจจุบันยังคงเน้นที่การสอบเป็นหลัก เพราะฉะนั้นต่อให้บีบระยะเวลาการศึกษาภาคบังคับให้เหลือเพียง 10 ปี ก็ไม่ได้ช่วยลดภาระของเด็ก และผู้ปกครองอยู่ดี ตราบใดที่ระบบการศึกษายังเน้นเรื่องการสอบแข่งขัน เด็กก็ยังคงต้องเรียนหนัก และผู้ปกครองก็ต้องมีภาระในค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนเสริม กวดวิชา ชั้นเรียนพิเศษ เพื่อสร้างความได้เปรียบให้ลูกเมื่อเข้าสู่ระบบสนามแข่ง พอเวลาเรียนสั้นลง ยิ่งสร้างความเครียด และกดดันให้กับเด็กเพิ่มขึ้นไปอีก

และพอมาพูดถึงประเด็นนี้ ก็มีชาวเน็ตจีนอีกจำนวนหนึ่งมองว่า ถ้าอย่างนั้นการเรียนเร่งรัด ให้ลดเวลาลงเหลือ 10 ปี ก็อาจจะเข้าท่าเหมือนกัน หากมองว่าไหน ๆ ทุกวันนี้เด็กจีนก็ต้องเสริม เรียนอัดกันอยู่แล้ว งั้นก็เร่งรัดให้เหลือชั้นประถม 5 ปี มัธยม 5 ปี ก็น่าจะพอแล้ว แต่ให้ยกระดับมาตรฐาน และการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการศึกษาให้มากขึ้น และจะช่วยเพิ่มเวลาในการค้นหาตัวเองเมื่อมุ่งหน้าสู่การศึกษาเฉพาะทางในระดับสูง ๆ ต่อไปด้วย

การศึกษาจีน เป็นหนึ่งในระบบการศึกษาที่เข้มงวด และกดดันที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่เด็กนักเรียนจีนจะได้รับการปลูกฝังจากครอบครัวให้เรียนอย่างจริงจังตั้งแต่เด็กเพื่อมุ่งสู่สนามสอบระดับชาติที่เรียกว่า "เกาเข่า" ที่ได้ชื่อว่าเป็นข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ยากที่สุดติดอันดับโลก ที่เชื่อว่าเป็นใบเบิกทางสู่หน้าที่การงานในอนาคต และไม่ว่าจะต้องเรียน 12 ปี หรือ 10 ปี ค่านิยมในการเรียนเพื่อสอบให้ผ่าน "เกาเข่า" ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง


แหล่งข้อมูล

https://www.globaltimes.cn/page/202103/1217628.shtml

https://www.wionews.com/world/chinas-gaokao-one-of-the-toughest-exams-in-the-world-311419

คติประจำใจจาก "Abraham Lincoln" (ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา)

“The things I want to know are in books; my best friend is the man who’ll get me a book I ain’t read.”

“สิ่งที่ฉันต้องการจะรู้ อยู่ในหนังสือ; เพื่อนที่ดีที่สุดของฉัน คือคนที่จะเอาหนังสือที่ฉันไม่เคยอ่านมาให้”


Abraham Lincoln (ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา)

กระทรวงศึกษาธิการ หารือ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทย ถ่ายทอดเทคโนโลยี และพัฒนาต่อยอด ยกระดับการศึกษาไทย ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และภาษา

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวภายหลังนายยูริ ยาร์วียาโฮ (H.E. Mr. Jyri Järviaho) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทย ‪เข้าเยี่ยมคารวะ ว่า ได้หารือถึงความร่วมมือด้านการศึกษา เนื่องจากประเทศฟินแลนด์จัดการศึกษาดีที่สุดในโลก ดังนั้น กระทรวงศึกษาฯ จะทำงานร่วมกันทางด้านวิทยาศาสตร์และภาษาต่างประเทศ ให้แก่ครูและผู้บริหารโรงเรียน และทางฟินแลนด์เสนอจะอบรมด้านพลศึกษาให้ด้วย ‬‬

และมีความร่วมมือทางด้านสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ การเกษตร กำจัดขยะ พลังงานทดแทน ซึ่งขณะนี้ฟินแลนด์ได้จัดอบรมออนไลน์ภาษาต่างประเทศให้กับครูไทย จำนวน 36 คน ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือน มิ.ย.นี้ หลังจากนั้นจะประเมินผลการอบรมออนไลน์ว่าผลเป็นอย่างไร และอาจจะจัดอัพสกิล รีสกิล โดยจัดเป็นหลักสูตรระยะสั้น เนื่องจากช่วงนี้มีคนตกงานเยอะเพื่อช่วยให้ผู้ที่ตกงานกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้

“ขณะนี้ให้อาชีวะร่างโครงการความร่วมมือ ซึ่งภายใน 2 อาทิตย์นี้กระทรวงศึกษาธิการ จะเซ็น MOU กับ ศูนย์การเรียนรู้ของประเทศฟินแลนด์ ผ่านสถานทูตฟินแลนด์ เพื่อพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว และหลังจาก MOU แล้ว ก็จะไปพัฒนาโครงการร่วมกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าโครงการใดจะเกี่ยวข้องกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาใด หรือนักเรียนระดับประถมฯมัธยมฯ รวมทั้งครูและผู้บริหารโรงเรียนใดบ้าง

ส่วนความร่วมมือยังไม่มีรายละเอียด แต่อาจจะขอให้ทางฟินแลนด์ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ แล้วเรานำมาพัฒนาต่อเอง โดยเราจะไม่เอาทุกอย่างของฟินแลนด์มาใช้ทั้งหมด แต่จะดูความต้องการและบริบทของแต่ละสถานศึกษาแต่ละพื้นที่” คุณหญิงกัลยา กล่าว


ที่มา: https://www.naewna.com/local/557672/

ประกาศรับสมัครสอบ EJU (Examination for Japanese University Admission for International Students) การสอบเพื่อวัดความรู้ทางภาษาญี่ปุ่น รอบ 1 ประจำปี 2564

การสอบ EJU เป็นการสอบสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและอุดมศึกษาอื่นๆ (เช่นวิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิค) ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่นและความรู้พื้นฐานทางวิชาการ

ประกาศกำหนดรับสมัครสอบ EJU รอบ 1 ประจำปี 2564

สอบวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2564

==============================

1st Session : รอบแรก

รับสมัคร : ถึงวันที่ 12 มีนาคม

วันสอบ : วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2564

==============================

สถานที่รับสมัคร

หมายเหตุ* ประสงค์สอบที่ใด สมัคร ณ สนามสอบนั้น

สนามสอบ กรุงเทพฯ

???? องค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น (JASSO)

โทร: 0-2661-7057-8

???? สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์ (OJSAT)

โทร: 0-2357-1241-5

(สาขาพหลโยธินและสาขาจามจุรีสแควร์)

https://www.ojsat.or.th/main/eju-1-2564/

สนามสอบ เชียงใหม่

???? สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นฯ ภาคเหนือ (ตรงข้ามวัดพระสิงห์) โทร. 053-272-331, 080-491-1298

https://www.facebook.com/ojsatn/posts/3684252071664906

==============================

ค่าสมัคร

- กรณีสมัครด้วยตนเอง 419 บาท

- กรณีสมัครทางไปรษณีย์ 439 บาท (รวมค่าบริการ)

เอกสารที่ต้องใช้ในการสมัคร

รูปถ่ายผู้สมัคร 1 นิ้ว 3 ใบ

==============================

Download คู่มือ Mini Student Guide

• การสอบ EJU คืออะไร

• ประโยชน์ของการสอบ EJU

• สถานที่รับสมัคร ข้อสอบเก่า ฯลฯ

https://goo.gl/Kybzqd


ที่มา: https://www.facebook.com/JASSO.Thailand/posts/4010680572285006

ก.ศึกษาธิการ เล็งแก้ปัญหาข้อเรียกร้องของกลุ่มนักเรียนที่สรุปไปแล้ว หลังเปลี่ยนรมว.ศึกษาธิการ ต้องส่งให้คนใหม่พิจารณา ขณะ สพฐ. เตรียมชงเครื่องแบบนักเรียนไม่ต้องแก้ระเบียบใหม่ ส่วนทรงผมควรไว้ยาวได้ ตั้งแต่ระดับม.ต้น ขึ้นไป

ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหานักเรียน ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มนักเรียน ประกอบด้วย 1.) คณะทำงานด้านการละเมิด-ความรุนแรง-ความปลอดภัยในสถานศึกษา 2.) คณะทำงานด้านกฎระเบียบที่ล้าหลัง 3.) คณะทำงานด้านการแสดงออกทางการเมืองในสถานศึกษา 4.) คณะกรรมการพิจารณาเรื่องเครื่องแบบ ทรงผมนักเรียน 5.) คณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ซึ่งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ได้สรุปข้อมูลการแก้ปัญหาให้นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ อดีต รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาไปแล้ว แต่เมื่อนายณัฏฐพล พ้นจากตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ ทำให้ข้อสรุปการแก้ปัญหานักเรียนยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงต้องรอให้ รมว.ศึกษาธิการคนใหม่เข้ามาทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง

ขณะที่ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระบุ พิจารณาแล้วว่า เครื่องแต่งกายนักเรียน เห็นว่า ไม่ต้องแก้ระเบียบใหม่ รวมทั้งทรงผมนักเรียน คณะกรรมการมีข้อเสนอที่จะให้ไว้ผมยาวได้ตั้งแต่เด็กปฐมวัย - มัธยมฯ แต่ สพฐ.เห็นว่าควรให้เด็กไว้ผมยาวได้ ตั้งแต่ ม.ต้น เพราะเด็กระดับนี้มีความรับผิดชอบที่จะดูแลสุขอนามัยสุขภาพผมด้วยตัวเอง โดยจะเสนอรมว.ศึกษาธิการคนใหม่พิจารณาต่อไป


ที่มา: https://siamrath.co.th/n/225135

เด็กโรงเรียนไทยจะฝึกภาษาอังกฤษยังไงให้ปัง? หาคำตอบพร้อมกันวันจันทร์ที่ 15 มีนาคม ผ่าน Facebook Live ของ THE STUDY TIMES!

อยากฝึกภาษาอังกฤษแต่ไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นอย่างไร...? หาแรงบันดาลใจจากที่ไหน...? ควร focus อะไรก่อน...? แล้วเมื่อไหร่จะเห็นผล...?

เชื่อว่าผู้ปกครอง และน้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนไทยหลายท่าน คงจะเคยสงสัยว่าจะฝึกภาษาอังกฤษอย่างไรให้ได้ผลที่สุด ทุกวันนี้มีสื่อการสอนภาษาอังกฤษมากมายจากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะทางโซเชียลมีเดีย Facebook, Instagram, Tik Tok ฯลฯ ควรจะเลือกอะไรดี? จำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินซื้อคอร์สเรียนพิเศษตามสถาบันสอนภาษา โรงเรียนกวดวิชา หรือไม่? ฝึกฝนด้วยตนเองเพียงพอมั้ย? ผ่านช่องทางไหนดี?

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคมนี้ THE STUDY TIMES ร่วมกับ Edsy (www.edsy.co) ได้เชิญครูภาษาอังกฤษ มากประสบการณ์ มาร่วมให้คำตอบและแนะนำวิธีการฝึกภาษาอังกฤษแบบไม่มีกั๊ก

แล้วพบกันวันจันทร์หน้าครับ!

โดย ทีมงาน Edsy สตาร์ทอัพด้านการศึกษา

Line ID: @edsy.th


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top