Tuesday, 10 December 2024
Politics

ส.ว. คนแรก ลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์

วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563  ที่รัฐสภาในการประชุมร่วมรัฐสภาที่มี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาเป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาลงมติรับหรือไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เลขาธิการรัฐสภาได้เริ่มขานชื่อสมาชิกรัฐสภาเรียงลำดับตามตัวอักษร ก่อนที่สมาชิกแต่ละคนจะขานมติว่า รับ-ไม่รับ-งดออกเสียง ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละร่าง ตั้งแต่ร่างที่ 1 - 7

ทั้งนี้เมื่อการลงมติผ่านไปได้ 200 คน สมาชิกรัฐสภา ทางฝั่งรัฐบาล และส.ว. ส่วนใหญ่ ลงมติรับหลักการ ร่างที่ 1 - 2 ตามที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล และส.ส.ฝ่ายค้านเสนอและในส่วนของร่างอื่นๆ ลงมติงดออกเสียงณะที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน ลงมติรับหลักการทั้ง 7 ร่างตามที่ได้แสดงจุดยืนร่วมกันไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งสำหรับทางฝั่งส.ว.นั้น พบว่า นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ส.ว. ลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์

‘ ประชามติ ’ ไม่ได้มีที่เดียวในโลก

ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งยึดถือเสียงข้างมากเป็นหลักแต่ในขณะเดียวกันก็เคารพในสิทธิและเสียงของข้างที่น้อยกว่า ซึ่งหลักการนี้นำมาใช้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเนื่องจากในสังคมมีคนมากมายต่างความคิด ความเห็นกัน ถ้ารัฐตัดสินเพียงฝ่ายเดียวก็จะดูเหมือนการมัดมือชกไปสักหน่อย รัฐจึงต้องมีการเปิดพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิทธิของตน

จึงเกิดรูปแบบที่เรียกว่า ‘ ประชามติ ’ เกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชนออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกฎหมายหรือนโยบายต่างๆของรัฐซึ่งประชามติ ก็เป็นรูปแบบนึงที่หลายๆประเทศนำมาใช้ไม่ใช่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ใช้รูปแบบของประชามติเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็นชอบด้านการเมือง วันนี้ The States Times อยากจะพาทุกคนไปดูว่า ‘ ประชามติ ’ ในแต่ละประเทศเป็นยังไงและมีความแตกต่างกันอย่างไร

.

เครดิตภาพ : https-//www.teenvogue.com/story/the-american-flag-was-sewn-in-part-by-a-teenage-black-girl

.

เริ่มที่ประเทศแรกประเทศที่ใครๆต่างก็รู้จัก ‘ ประเทศสหรัฐอเมริกา ’ ที่ใช้ระบบการปกครองแบบ สหพันธรัฐประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ประเทศนี้เขาใช้ประชามติแค่ในระดับมลรัฐเท่านั้น โดยใช้ 2 แบบ คือการให้ออกเสียงประชามติที่เริ่มต้นจัดทําโดยฝ่ายนิติบัญญัติและการออกเสียงประชามติที่เสนอโดยประชาชน ซึ่งทั้งสองแบบเรื่องที่เสนอขึ้นมาจะนำไปใช้ได้หรือไม่ได้ก็ต้องผ่านความเห็นชอบของประชาชนก่อนดังนั้นการใช้กระบวนการประชามติในสหรัฐฯจึงถือว่าเป็นกระบวนการที่ทำให้ประชาชนนั้นได้มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริงแม้จะในระดับมลรัฐก็ตาม

อย่างในกรณีของการลงประชามติในระดับมลรัฐ ซึ่งมีขึ้นที่รัฐออริกอน ที่มีการลงประชามติให้มีการยกเลิกโทษความผิดทางอาญา สำหรับการครอบครองยาเสพติดร้ายแรง เช่นเฮโรอีน หรือโคเคน สำหรับใช้ส่วนตัวในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

.

เครดิตภาพ : https-//th.investing.com/news/economic-indicators/article-22708

.

ประเทศต่อมาคงหนีไม่พ้นประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศที่ไม่ได้มีดีแค่ธรรมชาติที่สวยงาม แต่ยังเด่นเรื่องประชาธิปไตยทางตรงของพี่เขาอีกด้วย ซึ่งประเทศสวิสเซอร์แลนด์ปกครองในรูปแบบสมาพันธรัฐ ระบบการเมืองของประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้นเป็นระบบ ‘ ประชาธิปไตยทางตรง ’ อันเป็นกลไกที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และด้วยความกระตือรื้อร้นของพลเมืองจึงทำให้เกิดการใช้ระบบประชาธิปไตยทางตรงบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นการให้พื้นที่กับประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นอย่างมาก การออกเสียงประชามติในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ไม่เหมือนประเทศไหน ๆ เพราะคนที่ตัดสินว่าจะลงประชามติในเรื่องไหนบ้างไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นรัฐธรรมนูญที่จะมีการกำหนดเรื่องที่ต้องออกเสียงประชามติไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้การออกเสียงประชามติยังสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการเรียกร้องจากประชาชนอีกด้วย จะเห็นได้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์เองก็ได้นำกระบวนการออกเสียงประชามติมาใช้บ่อยครั้งเพราะด้วยตัวกฎหมายที่ส่งเสริมและประชาชนที่ให้ความสนใจ จึงทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเมืองอย่างแท้จริง 

ตัวอย่างในการลงประชามติที่เรียกร้องจากประชาชน ในเรื่องรับแผนประกันเงินเดือนขั้นต่ำของประเทศสวิสเซอร์แลนด์  ถึงแม้ว่าผลของประชามติจะถูกปัดตกไป แต่ก็แสดงให้เห็นว่าประชาชนให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการเมืองอย่างแท้จริง

.

เครดิตภาพ : https://www.posttoday.com/world/584840

.

การออกเสียงประชามติในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย กึ่งประธานาธิบดี ในปัจจุบันเรื่องที่นำมาให้ประชาชนออกเสียงประชามติมีทั้งหมด 4 กรณี ซึ่ง 3 กรณีเป็นเรื่องระดับประเทศ และอีกกรณีคือเรื่องท้องถิ่นทั่วไป แบ่งได้ง่ายๆคือ การออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับร่างกฎหมาย การออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ การออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในดินแดน และการออกเสียงประชามติระดับท้องถิ่น ซึ่งทั้ง 4 กรณีล้วนผ่านความเห็นชอบจากคนส่วนใหญ่ก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้ได้ การออกเสียงประชามติในประเทศฝรั่งเศส จึงเป็นกระบวนการที่มีความสําคัญเป็นอย่างมาก ที่จะเปิดโอกาศให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมด้วยการปรึกษาหารือกับผู้บริหารประเทศ โดยผ่านการตั้งคำถามหรือขอความเห็นในร่างกฎหมายหรือนโยบายที่สำคัญต่าง ๆ 

อย่างเช่นการลงประชามติปกครองตนเองของแอลจีเรียซึ่งนับว่าเป็นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในดินแดน

จากประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมาให้ดูนี้ จะเห็นได้ว่าทุกประเทศล้วนปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ให้ความสำคัญกับเสียงส่วนมากและให้อำนาจสูงสุดกับประชาชน ด้วยการให้สิทธิประชาชนในการมีส่วนร่วมกับรัฐเพื่อตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลกับตัวประชาชนโดยตรง 

.

ดังนั้น ‘ ประชามติ ’ จึงเป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นเพื่อพื้นที่ในการมีส่วนร่วมและรับฟังเสียงของผู้ที่มีอำนาจที่สุดนั่นก็คือ   ‘ ประชาชน ’

ตรงไหนดี พี่จะรับไปพิจารณา

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ที่พรรคประชาธิปัตย์  นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงร่างรัฐธรรมนูญที่ได้ผ่านการลงมติจากที่ประชุมร่วมรัฐสภาในวาระที่หนึ่ง จำนวน 2 ร่าง ไปเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ว่า ต้องถือว่าเป็นอีกก้าวที่สำคัญในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ซึ่งนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรค ได้ประกาศไว้ชัดตั้งแต่แรกเมื่อครั้งร่วมรัฐบาล คือการแก้มาตรา 256 และต่อมามีการเพิ่มเติมให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งประสบความสำเร็จมาอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญ แต่คงไม่หยุดเพียงเท่านี้เพราะทุกฝ่ายยังต้องหาความเห็นชอบร่วมกันในวาระที่สองในชั้นคณะกรรมาธิการฯ และยังมีวาระที่สามที่เสียงของสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 3 ที่ต้องร่วมกันทำให้สำเร็จ เพราะเราจะต้องทำให้เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน และประเทศ ภายใต้การปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นายราเมศ กล่าวต่อว่า การหาความเห็นพ้องจากประชาชนก็เป็นส่วนสำคัญ ในชั้นกรรมาธิการฯนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะมีการเสนอให้รับฟังเสียงจากประชาชนให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ซึ่งจะมีผลต่อการทำประชามติที่จะเป็นไปในทิศทางที่ดี 

ส่วนร่างของภาคประชาชนหรือไอลอว์ ตนไม่อยากให้มองว่าถูกปัดตกไปทั้งหมด ความตั้งใจทำในส่วนที่ดีที่เป็นประโยชน์ ก็จำเป็นต้องนำมาประกอบการพิจารณา อาจมีบางประเด็นที่เห็นไม่ตรงกัน แต่ส่วนไหนรับได้ส่วนไหนรับไม่ได้ก็ควรหยิบยกมาพูดคุยกันก็จะเกิดประโยชน์

อย่างไรก็ตามใน 11 ประเด็นของร่างไอลอว์ มีบางประเด็นที่น่าสนใจและควรหยิบยกมาพูดคุยกันในชั้นกรรมาธิการฯ เช่นกรณีของท้องถิ่น การแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น และกระจายอำนาจอย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังอยากให้กรรมาธิการฯนำผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯที่มีนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธาน มาประกอบการพิจารณาด้วย  

 

Who is อบจ.

ก่อนจะเลือกตั้ง อบจ. 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นี้มาทำดูกันก่อนดีกว่าว่าเขาเหล่านี้มีที่มายังไงแล้วมาทำอะไรให้กับพี่น้องประชาชนกันบ้าง

.

โม้รึเปล่า อานนท์โม้รึเปล่า

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อาจลาออกก่อนวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563นี้ ว่า "เรื่องที่นายอานนท์ โพสต์นั้น เราก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เขาระบุนั้นต้องการให้กลุ่มผู้ชุมนุมเกิดปฏิกิริยาอะไรหรือไม่อย่างไร

ทั้งนี้ นายกฯ ได้พูดมาตลอดว่า ท่านมีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหา และมีภารกิจหลายอย่างที่จะต้องทำต่อเนื่อง เช่น เศรษฐกิจ และล่าสุดก็มีการประกาศต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 45 วัน ที่จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีก

อีกทั้งต้องทำให้สังคมกลับสู่ความสงบสุข เรียบร้อย ซึ่งนายกฯ ก็ได้ออกแถลงการณ์ไปแล้วเมื่อวานนี้ ว่าจากนี้ไปหากผู้ชุมนุมดำเนินการผิดกฎหมาย ก็จะดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อให้กลับมาชุมนุมด้วยความสงบ ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ทั้งหมด จะเห็นว่าสิ่งที่นายกฯ ดำเนินการอยู่ทั้งหมดนั้น ก็กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง"

คนเขาดูออก แบบนี้ต้องใช้กฎหมาย

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้กล่าวถึงสถานการณ์การชุมนุมว่า ทุกคนทราบเจตนาของแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งไม่ใช่การเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะถ้าจุดหมายคือประชาธิปไตยผู้ชุมนุมต้องมีความจริงใจในการทำอย่างไรให้มุ่งสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น

 

ซึ่งขณะนี้ทางด้านรัฐสภาเองก็ได้พิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทางผู้ชุมนุมก็ควรแสดงความเห็นตั้ง สสร. เพื่อจะได้ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น แต่ดูเหมือนผู้ชุมนุมไม่ได้สนใจในประเด็นสำคัญนี้ กลับมุ่งใช้ถ้อยคำหยาบคาย ก้าวล่วง จาบจ้วงสถาบัน ซึ่งประชาชนมองออกว่าเป็นจุดมุ่งหมายหลักของแกนนำผู้ชุมนุม

นายราเมศ ยังกล่าวต่อว่า “นี่คือสิ่งที่ทุกคนรับไม่ได้  นับวันยิ่งเหิมเกริม ทำสิ่งที่ไม่สมควร คนไทยไม่สามารถรับได้ การที่นายกรัฐมนตรีได้มีหลักในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด คือหลักการที่ถูกต้อง ต้องสนับสนุน เพราะการกระทำความผิดชัดเจน เข้าองค์ประกอบกฎหมาย ไม่มีทางอื่นใดเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการอย่างเฉียบขาด ผู้ชุมนุมควรยุติการกระทำต่างๆ ใช้สติปัญญาในการคิด อย่าคิดว่าประเทศนี้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง หรือของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ประเทศเป็นของคนไทยทุกคน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ คือสิ่งที่คนไทยยึดมั่นตลอดระยะเวลาที่ผ่าน หากมีใครคิดมาทำลาย เชื่อว่าคนไทยไม่มีใครยอม ความคิดและการกระทำของผู้ชุมนุมที่แสดงออกมา เคยบอกไปแล้วว่าเราอยู่คนละข้างกัน เจ้าหน้าที่จึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นความวุ่นวายก็จะตามมา”

 

สสร. ใครกันล่ะเนี่ย?

ผลการลงมติ เมื่อวันที่ 17-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ก็ได้ออกมาแล้ว โดยทั้งสองญัตติที่ผ่านการลงมติล้วนเกี่ยวข้องกับการตั้งสสร. ซึ่งรายละเอียดต่างกันแค่ ‘จำนวน’ ของ สสร. เท่านั้น โดยญัตติแรก จากพรรคร่วมฝ่ายค้าน สสร. 200 คนมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และญัตติที่ 2 จากพรรคร่วมรัฐบาล สสร. 200 คนมาจากการเลือกตั้ง 150 คน และแต่งตั้ง 50 คน  ว่าแต่ สสร.เป็นใครกันล่ะแล้วเคยมีเป็นครั้งแรกรึเปล่านะ ?

.

วันนี้ The States Times อยากจะพาไปย้อนดูกันสักหน่อยว่า สสร.เรามีมากี่ครั้ง แล้วเขาเหล่านี้มีบทบาทอะไรกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ?

.

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่า ‘สสร.’ คืออะไร ?

‘สสร.’  หรือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ หน่วยงานที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแล้วเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งหน่วยงานนี้มักจะมีขึ้นตอนที่เรามีแต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วเราอยากจะมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรหรือต้องการประสานประโยชน์ ให้ตรงตามความต้องการทุกฝ่าย  จึงเกิดการตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมาโดยจะปฏิบัติหน้าที่เพียงในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้นซึ่งในบ้านเราก็มีการจัดตั้ง สสร.มาแล้วทั้งหมด 4 ชุดด้วยกัน ได้แก่

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 1

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2) เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2491 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นได้เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 ต่อสภา และให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 40 คน ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดแรกนี้ได้มีการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 2

จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ร่างรัฐะรรมนูญและให้เป็นรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติ และยังทำหน้าที่ในการคัดเลือกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกทั้งยังมีอำนาจที่จะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่ตนเองจัดทำด้วย ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดนี้ได้ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 3

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 โดยชุดนี้มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ โดยกำหนดเวลาร่างภายใน 240 วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกครบจำนวน โดยในการร่าง สสร. ต้องคำนึงถึงความเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และให้ สสร. กำหนดพื้นฐานที่จะพาไปสู่การปฏิรูปการเมืองโดยปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไว้ตลอดไป รัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดที่ 3 นี้ได้ประกาศและบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 4

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มีหน้าที่ในร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 18) และต้องเสนอความเห็นพร้อมกับเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้วย เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน และการร่างรัฐธรรมนูญในชุดนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยการลงประชามติให้ความเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดนี้ได้ประกาศและบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

.

จะเห็นได้ว่าบ้านเรานั้นมีรัฐธรรมนูญที่ผ่านการร่างจาก ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ’หรือ สสร. มาแล้วทั้งหมด 4 ฉบับด้วยกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญที่เป็นที่ยอมรับของประชาชน จากการร่างบนพื้นฐานความเห็นของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญนอกจากจะเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญให้กับประชาชนทุกคนแล้วยังเป็นหน่วยงานที่ช่วยลดความร้อนระอุในการเมืองและประสานประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างแท้จริงอีกด้วย

5 Facts About 'ม.112'

5 เรื่องที่อยากให้รู้ กับมาตรา 112 ที่ถูกพูดถึงมากในช่วงนี้ไปดูกัน !!
 

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top