Saturday, 24 May 2025
NewsFeed

คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2564

#คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2564

✏️หากมีคนประสบประมาทว่า คุณจะประสบความสำเร็จได้แค่ไหน จงก้าวหน้าให้ไกล จนคนเหล่านั้นไม่ได้ยินเสียงคำตอบของคุณ

'ธรรมนัส' เผย 'สมาคมมูลนิธิอินเดีย' จับมือพปชร. มอบเครื่องอุปโภค -บริโภค ช่วยปชช.บรรเทาเดือดร้อนจากโควิด

(29 ก.ค. 64) ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉิน พรรคพลังประชารัฐ (ศปฉ.พปชร.) เปิดเผยว่า...

ตนเป็นตัวแทนพรรคพปชร. รับมอบเครื่องอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย ข้าวสาร, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และหน้ากากอนามัย จากนายปินเดอร์ สิงมาดาน กรรมการบริหารสมาคมมูลนิธิอินเดียแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่พบเป็นคลัสเตอร์ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ใช้ดำรงชีพในระหว่างการกักตัวในที่อยู่อาศัยของตนเองรวมถึงในพื้นที่ศูนย์พักคอยในแต่ละพื้นที่ตามมาตรการทางสาธารณสุข เพื่อให้ผู้ติดเชื้อมีสถานที่ดูแลซึ่งจะจำกัดวงการแพร่ระบาดได้มากขึ้น

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างศปฉ.พปชร. และสมาคมมูลนิธิอินเดียแห่งประเทศไทย มีเป้าหมายเดียวกันคือ เดินหน้าช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนทั้งคนไทยและคนไทยเชื้อสายอินเดีย ที่ตั้งถิ่นฐานและประกอบธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมาก เพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ให้ทั่วถึงได้มากที่สุด

โดยสมาคมมูลนิธิอินเดียฯ เป็นองค์กรที่มีสมาชิกมากที่สุด และเป็นศูนย์กลางการประสานงานของสมาคมอินเดียอีกหลายสมาคม ซึ่งดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั้งในรูปแบบการบริจาคและสนับสนุน ร่วมถึงการประสานช่วยเหลือผู้ป่วยในการเข้าสู่ระบบสาธารณสุข เพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤติร่วมกันในครั้งนี้


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกาศให้ทุนการศึกษา จำนวน 100 ทุน แก่นักศึกษาปัจจุบันและผู้สมัครนักศึกษาใหม่ ที่บิดา-มารดา เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยให้เรียนฟรี 1 ปีการศึกษา เพื่อช่วยเหลือและให้โอกาสทางการศึกษาในเบื้องต้น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีนักเรียนนักศึกษาจากหลายครอบครัวที่ต้องสูญเสียบิดามารดาจากโรคดังกล่าว จนมีผลกระทบต่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวิทยาลัยรามคำแหง จึงขอมีส่วนร่วมในการดูแลและช่วยเหลือในเบื้องต้นแก่นักศึกษาที่สูญเสียบิดามารดาจากโรคโควิด-19 โดยมหาวิทยาลัยจะให้ทุนการศึกษา เรียนฟรี 1 ปีการศึกษา (ปีการศึกษา 2564) แก่นักศึกษาปัจจุบันและผู้สมัครเป็นนักศึกษาใหม่ เป็นจำนวน 100 ทุนการศึกษา

"ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาเหล่านี้มีโอกาสได้เรียนต่อโดยไม่หยุดชะงัก ซึ่งการให้ทุนการศึกษาครั้งนี้ เป็นมาตรการที่เพิ่มเติมจากการลดค่าเล่าเรียน 50% ของมหาวิทยาลัย ตามนโยบายของรัฐบาลและของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และหากมีผู้ได้รับความเดือนร้อนมากเกินกว่าจำนวนทุนการศึกษาที่กำหนดในข้างต้น มหาวิทยาลัยก็จะพิจารณาจัดสรรทุนการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป"

สำหรับนักศึกษาที่ได้รับความเดือนร้อนในกรณีดังกล่าว สามารถยื่นความจำนงขอรับทุนการศึกษาได้ที่ งานแนะแนวจัดหางานและทุนการศึกษา กองกิจการนักศึกษา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป รายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0-2310-8080


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ตร.ชี้ ชายชักเกร็งริมถนนแค่เมา ชัยวุฒิ เตือน   มีกลุ่มไม่หวังดีแชร์คลิปชักดิ้น หวังดิสเครดิตรัฐบาล

ตำรวจ ชี้  ชายชักดิ้นริมถนนวิภาวดีฯ ไม่ได้เสียชีวิตและไม่ติดโควิด แค่เมาสุรา ด้าน "ชัยวุฒิ" เตือน พบกลุ่มไม่หวังดี รวมทั้งคนแชร์คลิปชายแสดงชักดิ้นริมถนน สร้างความตื่นตระหนก โหนกระแสโจมตีรัฐบาล ถือว่ามีความผิด

โดยภายหลังมีสื่อสังคมออนไลน์ และผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายช่องทาง พากันแชร์ภาพวิดีโอของชายเร่ร่อน มีอาการนอนชักเกร็ง บริเวณถนนวิภาวดี -รังสิต  ขาออก ก่อนถึงแยกเกษตร 300 เมตร ต่างวิจารณ์กันว่าเป็นผู้ป่วยโควิดนอนเสียชีวิตบนถนน สร้างความหวาดผวาให้กับชาวบ้านและผู้สัญจรไปมา และผู้ที่เข้าไปชมคลิปเป็นอย่างมาก 

ผู้สื่อข่าวตรวจสอบไปยังสถานีตำรวจนครบาลวิภาวดี ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ ชี้แจงว่า  เหตุการณ์ในคลิปคือเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อ 3 วันที่แล้ว  เมื่อไปตรวจสอบพบว่าชายคนดังกล่าวมีอาการเมาสุราไม่ได้สติ มีกลิ่นแอลกอฮอล์คละคลุ้ง และเมื่อนำเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์มาวัดปรากฎว่ามีปริมาณที่สูงมาก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโควิด-19 แต่อย่างใด และไม่ได้เสียชีวิตตามที่มีกระแสข่าวในโซเชียล พร้อมขอให้ประชาชนอย่างตื่นตระหนก หรือแชร์ภาพดังกล่าว

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง นายชัยวุฒิ  ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า  ขณะนี้พบว่ามีกลุ่มไม่หวังดี พยายามจัดฉากสร้างภาพการแสดงให้เห็นว่า ชายในคลิปชักเกร็งเสียชีวิตริมถนนเพราะโควิด  เพื่อสร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชน ซึ่งเมื่อสังเกตดูจากทั้ง 2 คลิป เป็นคนเดียวกันและชายคนนี้ ไม่ได้เสียชีวิตแต่ตำรวจแจ้งว่า มีอาการเมาสุราเท่านั้น จึงให้กลับบ้านพักไป จึงขอฝากประชาชนผู้ใช้โซเชียลมีเดีย อย่าตกเป็นเครื่องมือให้กับคนบางกลุ่ม ด้วยการแชร์ข่าวปลอมหรือ fake news เพราะคนที่นำคลิปนี้ไปแชร์ต่อ สร้างความตื่นตระหนก โจมตีกล่าวหาว่า รัฐบาลปล่อยคนตายกลางถนนเพราะโควิดนั้น อาจเข้าข่ายมีความผิดทางกฎหมายได้

ออมสินแนะลูกค้าเร่งตรวจสอบสิทธิพักหนี้

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า หลังจากธนาคารได้ออกมาตรการพักชำระหนี้ลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท โดยให้พักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุด 6 งวด เริ่มตั้งแต่งวด ก.ค.- ธ.ค. 64 ซึ่งมีลูกค้าประมาณ 750,000 รายที่มีสิทธิ์เข้าร่วมมาตรการ โดยธนาคารได้เริ่มทยอยเปิดสิทธิ์ให้ลูกค้าสามารถกดเข้าร่วมมาตรการผ่านแอป MyMo แล้วกว่า 348,000 ราย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ก.ค.2564 ที่ผ่านมา ภายในเวลา 3 วันมีลูกค้าเข้ากดรับสิทธิ์แล้วประมาณ 50,000 ราย ซึ่งธนาคารจะเริ่มเปิดสิทธิ์เฟสที่สองช่วงต้นเดือนส.ค.เป็นต้นไป สิ้นสุดวันที่ 31 ส.ค.2564

ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกค้าได้รับสิทธิ์ตามมาตรการอย่างทั่วถึง และสะดวกรวดเร็ว จึงขอให้ลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่ได้รับผลกระทบ โปรดเร่งเข้าตรวจสอบสิทธิ์ในแอป MyMo และกดทำรายการได้ทันทีที่ปรากฎเมนูพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 

ส่วนผู้ที่ยังไม่มีแอป MyMo แต่มีบัตรเดบิต สามารถดาวน์โหลดและเปิดใช้งานแอป MyMo ด้วยตนเองได้โดยใช้ข้อมูลบัตรเดบิต ซึ่งจะได้รับความสะดวกในการขอพักชำระหนี้โดยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อที่สาขาธนาคาร และเป็นการลดความเสี่ยงการติดเชื้อในช่วงนี้อีกด้วย โดยลูกค้าสามารถศึกษาวิธีการดาวน์โหลดและเปิดใช้แอป MyMo ด้วยตนเองได้ที่ www.gsb.or.th หรือสอบถามที่ GSB Contact Center โทร. 1115 กด 1

ดีพร้อม เผยสถิติ 8 ปัญหาที่ผู้ประกอบการพบเจอในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ชี้ปัญหา “การตลาด” “การเข้าถึงแหล่งเงินทุน” “การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม” ผู้ประกอบการประสบมากที่สุด พร้อมวาง 5 แนวทางเร่งด่วนฝ่าวิกฤต หนุน “พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด”

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยในวงกว้าง พบว่าหน่วยงานด้านเศรษฐกิจรายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ไทยโต เพียง 1% จากที่ในไตรมาสแรกของปี 2564 ที่ตัวเลข 2.6% ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากติดลบ 6.1% ในปี 2563

ขณะเดียวกันสถานการณ์ภาพรวมของเอสเอ็มอี ที่มีจำนวน 3.1 ล้านล้านราย ในปี 2564 น่าจะยังคงน่ากังวล เพราะเมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว บริการ และกลุ่มค้าส่งค้าปลีก โดยจากข้อมูลสถิติพบว่า GDP SMEs ในปี 2563 ซึ่งปรับตัวลบ 9.1% และได้ประเมินว่าในปี 2564 คาดว่า จะติดลบที่ 4.8%  

อย่างไรก็ตาม ดีพร้อมได้ทำการสำรวจปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการณ์รายย่อย เพื่อทราบถึงปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,574 สถานประกอบการ จากผลสำรวจพบ 8 ปัญหาที่ผู้ประกอบการพบเจอในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ตามลำดับดังนี้

1.) ปัญหาด้านการตลาด 66.82%

2.) ปัญหาด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 21.92%

3.) ปัญหาด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 13.74%

4.) ปัญหาด้านวัตถุดิบและปัจจัยเอื้อในการประกอบธุรกิจ 11.40%

5.) ปัญหาด้านการเพิ่มผลิตภาพการผลิต 11.28%

6.) ปัญหาด้านการจัดการ เช่น การขนส่ง บุคลากร 9.50%

7.) ปัญหาด้านต้นทุน 8.16%

และ 8.) ปัญหาด้านการพัฒนาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 8.16%

จากผลสำรวจปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการณ์ดังกล่าว ดีพร้อมจึงได้กำหนดแนวทางนโยบาย การดำเนินงานในระยะต่อไปในปีงบประมาณ 2564 ภายใต้แนวนโยบายการดำเนินงาน โควิด 2.0 “พร้อมสู้-อยู่ได้-ไปรอด” ในระยะเร่งด่วนช่วง 60 วัน ดังนี้

1.) การจัดการโควิดภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสถานประกอบการปลอดเชื้อ โดยการแนะนำให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อบริหารจัดการสถานประกอบการ ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 สำหรับการช่วยเหลือธุรกิจอุตสาหกรรมให้ปลอดภัย โดยเน้นในการสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นแบบองค์รวม ใน 9 หัวข้อวิชา

ตั้งแต่ การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอาชีวอนามัยและสุขอนามัย การใช้เครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อลดความแออัด การประยุกต์ใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมในการบริหารจัดการให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ไปจนถึงการแชร์ประสบการณ์จากสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019

2.) การตลาดภายใต้โควิด โดยมุ่งเน้นการดำเนินการตลาดและการขยายตลาดในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบไปด้วย

(1) การส่งเสริมการทำการตลาดออนไลน์ภายใต้โครงการ DIProm Marketplace โดยการสร้างช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค สามารถเข้ามาซื้อ-ขาย สินค้าและบริการดี ๆ มีคุณภาพ และได้รับการคัดสรรจากดีพร้อม และการเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วย Social Commerce

(2) การส่งเสริมด้านกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ผ่านการฝึกอบรม e-Learning 26 หลักสูตร พร้อมจะมุ่งเน้นการใช้ดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจ และการถ่ายทอดประสบการณ์ของที่ปรึกษาและผู้ประกอบการที่ช่ำชองด้านการตลาดแบบออนไลน์ รวมทั้งเคล็ดลับหรือวิธีการเจาะลึกตลาดในอาเซียน จะช่วยเสริมความรู้ให้ผู้ประกอบการ ให้ลองเปิดใจที่จะก้าวออกจากกรอบเดิม ไปสู่ตลาดใหม่อันเป็นโอกาสดีที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถฝ่าวิกฤตนี้ไปได้

(3) แนวทางการช่วยเหลือด้านการขนส่ง ผ่านโครงการ ดีพร้อมแพค : บรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์วิถีใหม่ (The Next Diprom Packaging : DipromPack) ด้วยการออกแบบ และพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ ที่ตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตแลประกอบธุรกิจใหม่เพื่อลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพิ่มยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการ

(4) แนวทางการตลาดร่วมเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ โดยเตรียมความพร้อมเอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชนไทยเข้าสู่การรับรองตราสินค้า Made in Thailand หรือ MiT โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผ่านการเสริมสร้างการรับรู้และสร้างโอกาสการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐผ่าน 3 ช่องทาง ประกอบด้วย

- การรับรอง Made in Thailand (MiT) โดย ส.อ.ท.

- การขึ้นทะเบียนเอสเอ็มอี Thai SME-GP ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. และ

- การขึ้นบัญชีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Thai GPP ของกรมควบคุมมลพิษ

3.) เปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นเงินทุน โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับเปลี่ยนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นเงินทุนในการประกอบกิจการให้แก่ผู้ประกอบการ โดยการใช้ระบบคลังสินค้าออนไลน์ เพื่อเปลี่ยนเงินทุนด้วยเทคโนโลยี สามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้แก่ผู้ประกอบการผ่านระบบ Google Sheet และ Line OA ซึ่งเป็นมาตรการช่วย SMEs แบบดีพร้อม ด้วยการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อลดต้นทุนต้นทุนด้านโลจิสติกส์ 3 ด้านหลัก ได้แก่

- ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง

- ต้นทุนการขนส่งสินค้า

- ต้นทุนการบริหารจัดการ

เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 3 มิติ ได้แก่ ต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ ผ่านโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะให้แก่ผู้ประกอบการ

4.) สร้างเครือข่ายพันธมิตร โดยดีพร้อมเป็นผู้จัดสรรและเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรให้แก่ผู้ประกอบการ ผ่านโครงการสำคัญ ๆ ดังนี้ โครงการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรและผู้แปรรูป โครงการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเพื่อปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ โครงการเชื่อมโยงเครื่องจักรเพื่อแปรรูป (i-Aid) โครงการช่างชุมชน โดยการมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะวิชาชีพให้แก่ช่างในชุมชน

5.) ปรับโมเดลธุรกิจ มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมในการดำเนินการปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ การสร้าง และพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP) และยังได้ช่วยเสริมทักษะทางการเงิน (Financial Literacy) ให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และให้ตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อการตัดสินใจทางการเงินที่ดี

นอกจากนี้ดีพร้อมยังได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Business Continuity Plan) ในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบ โดยเน้นการรับมือและสร้างแนวทางการดำเนินธุรกิจกับสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบ

ทั้งนี้ จากการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม มาตรการเร่งด่วนต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดในระลอกใหม่นี้ ดีพร้อม คาดว่าในปีงบประมาณ 2564 จะสามารถช่วยส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการในภาคส่วนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้จำนวนรวม 3,356 กิจการ 11,955 คน 982 ผลิตภัณฑ์ และคาดว่าจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้านบาท

“อย่างไรก็ตามจากการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2564 ภายใต้ นโยบาย “สติ (STI)” ที่มุ่งเน้นการพัฒนา 3 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย

1.) SKILL : ทักษะเร่งด่วน โดยเร่งเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัว

2.) TOOL : เครื่องมือเร่งด่วน เครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน

และ 3.) INDUSTRY : อุตสาหกรรมเร่งด่วน สร้างโอกาสจากต้นทุนที่ประเทศไทยมีจุดแข็ง เพื่อเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ครอบคลุมทุกมิติ

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ได้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี เพื่อปรับแผนการดำเนินงานโครงการให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 สอดคล้องกับมาตรการด้านสาธารณสุข และสอดรับกับการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่เปลี่ยนไปที่กระทบทั้งด้านรายได้ ด้านการจ้างงาน ด้านสภาพคล่องทางการเงิน และเงินทุนหมุนเวียน” นายณัฐพล กล่าวสรุป


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

รมช.แรงงาน 'นฤมล'​ ส่งทีมมอบข้าวกล่องให้บุคลากรทางการแพทย์ ส่งแรงใจสู้ภัยโควิด-19

(28 ก.ค.64)​ 'ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์'​ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง นอกจากพี่น้องแรงงานจะได้รับผลกระทบแล้ว ยังมีบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อรับมือกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในวันนี้ได้มอบหมายให้ทีมงานนำข้าวกล่องไปมอบให้โรงพยาบาลบุษราคัม​ (โรงพยาบาลสนาม) สถาบันโรคทรวงอก และโรงพยาบาลศรีธัญญา เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ให้ได้รับประทานอย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รวมถึงเป็นกำลังในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อีกด้วย          

รมช.แรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอบคุณในความเสียสละของทีมบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งถือเป็นด่านหน้าในการดูแลรักษาผู้ป่วย ทั้งโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนาม ที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการรักษา เฝ้าระวังอาการผู้ป่วย ตลอดจนควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไม่ให้ส่งผลกระทบกับพี่น้องประชาชนชาวไทย เพื่อร่วมกันนำพาประเทศไทยผ่านวิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ไปด้วยกัน

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top