Sunday, 18 May 2025
NewsFeed

ทบ. แจง ฉีดวัดซีนให้ทหารปฏิบัติงานด่านหน้า พื้นที่เสี่ยงและทหารใหม่ตามที่ได้รับจัดสรร นอกนั้นกำลังพลใช้วิธีลงทะเบียนฉีดเหมือนปชช.ทั่วไป

ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวโดยอ้างถึงการติดเชื้อโควิด-19 ในกองทัพ และมีการตั้งคำถามเรื่องของวัคซีนที่กองทัพ ได้รับจัดสรร รวมถึงขอให้หยุดกระบวนการตรวจเลือกทหาร เพื่อรอสถานการณ์ ระบาดของโควิด-19 นั้น ว่า ทางกองทัพบก ขอเรียนข้อเท็จจริงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้

1.) กองทัพบกขอเรียนถึงความจำเป็นที่กำลังพลซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงและด่านหน้า จะต้องได้รับการฉีดวัคซีน สืบเนื่องจากในสถานการณ์โควิด-19 กองทัพบก ได้รับมอบภารกิจในการสนับสนุนรัฐบาล และ ศบค. ในหลายมิติ ทั้งป้องกันการนำเข้าเชื้อจากนอกประเทศ 

โดยสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ด้วยการคัดกรองการผ่านเข้า-ออก ประเทศตามท่าอากาศยาน ส่วนภาคพื้นดินกองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบก ทั้ง 7 กองกำลังทั่วประเทศ ได้จัดกำลังเข้าคัดกรอง ลาดตระเวน เฝ้าตรวจ สกัดกั้นการลักลอบข้ามแดนโดยผิดกฎหมายไม่ผ่านการคัดกรอง ด้วยมาตรการสกัดกั้นที่เข้มข้นและต่อเนื่องตั้งแต่มีการระบาด ปรากฏเป็นผลการจับกุมผู้ลักลอบเข้า-ออกประเทศโดยผิดกฎหมาย อีกทั้ง ได้จัดกำลังสนับสนุนการตรวจกิจการกิจกรรมในพื้นที่ตอนใน นอกจากนั้น กองทัพบกได้ใช้บุคลากรทางการแพทย์ ทั้งหมดสนับสนุนงานด้านการป้องกันและรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ ทั้งที่อยู่ในโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบกทั้ง 37 แห่ง และโรงพยาบาลสนามที่กองทัพบก จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนจังหวัดต่าง ๆ 

รวมทั้ง เมื่อเกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน กองทัพบกยังได้สนับสนุนกำลังพลเข้าช่วยบริหารจัดการ ระงับยับยั้งการแพร่ระบาดไม่ให้ขยายวงกว้าง ภารกิจข้างต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่กองทัพบกจะต้องดูแลให้กำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจในด่านหน้าและปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ดำรงความแข็งแรงให้สามารถยืนหยัดในภารกิจได้อย่างปลอดภัย กองทัพบกจึงได้ขอรับการสนับสนุนวัคซีนผ่านกระทรวงกลาโหม ไปยังกรมควบคุมโรคเพื่อให้กับกำลังพลที่ต้องปฏิบัติภารกิจดังกล่าว ซึ่งเป็นไปในรูปแบบองค์กรทั่วไปที่สามารถขอรับการจัดสรรวัคซีนตามข้อกำหนดของรัฐบาลได้

2.) สำหรับกำลังพลส่วนใหญ่และครอบครัวจะได้รับวัคซีนจากการลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นหมอพร้อม และระบบการจัดการวัคซีนของแต่ละจังหวัดเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันได้รับวัคซีนเป็นบางส่วนเท่านั้น

3.) การที่มีการจัดทำบัญชีแผนการขอรับวัคซีนไว้ แผนดังกล่าวยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้นเป็นเพียงเตรียมการ ทั้งนี้หน่วยทหารมีกำลังพลเป็นจำนวนมากจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมปฏิบัติงานโดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤติ ต้องมีการเตรียมแผนบริหารจัดการให้กำลังพลได้รับวัคซีน ตามลำดับความเร่งด่วนและตามเกณฑ์เสี่ยง การจัดการแผนดังกล่าวเพื่อเตรียมความพร้อมหากปริมาณวัคซีนในภาพรวมของประเทศมีเพียงพอและได้รับการจัดสรร จะได้ดำเนินการเองตามแผนที่เตรียมไว้ได้ทันทีและช่วยลดภาระงานสาธารณสุข

 4.) กรณีการจัดสรรวัคซีนที่ได้รับให้กับทหารกองประจำการ ขอเรียนว่า ทหารกองประจำการ ถือว่าเป็นประชาชนคนหนึ่งเช่นกันที่มีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีน ก่อนเข้ามาเป็นทหารบางคนอาจอยู่ในภาวะว่างงาน แต่เมื่อเข้ามาประจำการ ทำให้มีอาชีพและได้รับเงินค่าตอบแทนจากงบประมาณของทางราชการซึ่งมาจากภาษีของประชาชน ทำให้มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีพอย่างไม่เดือดร้อน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด การมีรายได้ที่มั่นคง อาจสามารถนำไปช่วยดูแลแบ่งเบาภาระของครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง

กองทัพบกจึงได้เตรียมดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับทหารใหม่ทุกคนที่เข้าประจำการในเดือน กรกฎาคม 2564 ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการพิทักษ์พลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ โควิด-19 เพราะทหารใหม่ คือประชาชนที่มาจากหลากพื้นที่ หลายอาชีพและอาจเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ การได้รับวัคซีนจะสร้างความมั่นใจในการเข้าประจำการ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และกองทัพบกต้องการที่จะดูแลทหารกองประจำการที่ถือว่าเป็นบุคลากรอันมีค่าของกองทัพ ที่สำคัญกำลังพลส่วนนี้เมื่อปลอดภัย ได้รับการคัดกรองแล้ว ได้วัคซีนแล้ว ก็จะสามารถออกไปทำหน้าที่ช่วยเหลือคนอื่น ๆ ได้ต่อไป ตามที่กองทัพบกได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การบริจาคโลหิตในทุกครั้งที่มีปัญหาการขาดแคลน การช่วยอุดหนุนสร้างรายได้ให้ประชาชนในสถานการณ์โควิด ที่ปรากฎให้เห็น ในทุกภารกิจ

และ 5.) สำหรับการติดเชื้อในค่ายทหาร มีเกิดขึ้นบ้างเป็นจำนวนไม่มากและสามารถควบคุมได้ การติดเชื้อถือเป็นสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกชุมชน ทุกองค์กร เมื่อมีการติดเชื้อก็จะเข้าสู่กระบวนการป้องกันและรักษาตามมาตรฐานสาธารณสุข โดยใช้ศักยภาพของโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก ในการรักษาพยาบาลกำลังพลและครอบครัว และควบคุมไม่ให้กระจายไปสู่ภายนอก

ทั้งนี้การติดเชื้อส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการออกปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ COVID-19 ในพื้นที่เสี่ยง และบางส่วนเกิดจากการสัมผัสจากครอบครัวกำลังพล อย่างไรก็ตามทหารมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้เช่นเดียวกับประชาชนโดยทั่วไป

“ยืนยันว่า ในสถานการณ์โควิด กองทัพบก ตระหนักดีถึงความจำเป็นและข้อจำกัดรวมถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ได้ทุ่มเททรัพยากรและศักยภาพที่มีในการช่วยเหลือสนับสนุนทุกภาคส่วน เพื่อคลี่คลายและบรรเทาผลกระทบให้กับประเทศและประชาชนกลับมาสู่วิถีปกติ ในวิกฤติหากทุกคนร่วมมือกัน เชื่อมั่นในการบริหารจัดการของ ศบค. และรัฐบาล สื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมาด้วยข้อมูลที่เป็นความจริงและสร้างสรร  และเราจะผ่านพ้นสถานการณ์โรคอุบัติใหม่นี้ไปได้ในที่สุด”รองโฆษกกองทัพบก กล่าว 

"นทพ. สาธารณสุข" เตรียมขยายเตียงรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ใน รพ.สนามบุษราคัม เปิด Challenger 2 เพิ่มอีก 1,500 เตียง

พล.อ.นเรนทร์ สิริภูบาล ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (ผบ.นทพ.) ได้สั่งการให้สำนักงานสนับสนุน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (สสน.นทพ.) จัดกำลังพลสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการเตรียมขยายเตียงเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ให้กับ รพ.สนามบุษราคัม อิมแพ็ค เมืองทองธานี พร้อมกับประสานขอกำลังพลจากศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.), ศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.), สำนักกองบัญชาการกองทัพไทย (สน.บก.บก.ทท.), โรงเรียนช่างฝีมือทหาร (รร. ชท.สปท.), หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (นปอ.), กรมป่าไม้ และจิตอาสา 904 รวม 600 คน เข้าดำเนินการประกอบเตียงกระดาษสำหรับใช้ในการขยายเตียงรองรับผู้ป่วยที่จะเข้ามารับการดูแลรักษา โดยเพิ่มเตียงในพื้นที่อาคาร Challenger 2 จำนวน 1,500 เตียง เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว โดยมี พล.ต.ธนินทร์ พู่ทองคำ ผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็นผู้แทน ผบ.นทพ. อำนวยการและกำกับดูแลในการปฏิบัติ

นทพ. จะอยู่เคียงข้างประชาชนและใช้ศักยภาพที่มีในการดูแลพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ตามเจตนารมย์ของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด/หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ผบ.ทสส./หน.ศปม.)

“พรรคกล้า” ยื่น 2 ข้อเสนอ ถึง “บิ๊กตู่” แนะ ชะลอการระบาด ไม่ให้ถึงจุดวิกฤต ชี้ การรักษาเร็วดีที่สุด เผย ฟ้าทลายโจรรักษาโควิดได้

ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล นายมนต์ชีพ ศิวะศินางกูร กรรมการบริหารพรรคกล้าพร้อมด้วย ทพ.กันตพงศ์ ดีชัยยะ คณะทำงานด้านสาธารณสุข พรรคกล้า, นายณัฐนันท์ กัลยาศิริ ทีมกฎหมายพรรคกล้า และนายแสนยากรณ์ สิงห์วีรธรรม โฆษกพรรคกล้า ยื่นหนังสือข้อเสนอตั้งสถานกักตัวชุมชนและให้ยาฟ้าทะลายโจร รักษาผู้ติดเชื้อทันที ถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผ่านนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

นายมนต์ชีพ กล่าวว่า ข้อเสนอแรกให้จัดตั้งสถานที่กักตัวชุมนุมและเมือง (Community-City Quarantine ) คือ หากพบผู้ติดเชื้อ แต่บ้านที่มีขนาดกลาง-เล็ก มีสมาชิกในครอบครัวจำนวนมาก หรือวิถีชีวิตไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ (Home Isolation) ให้มีกระบวนการแยกผู้ติดเชื้อออกจากสมาชิกในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดทันที แล้วนำมากักตัวในพื้นที่เฉพาะที่ชุมชนหรือจังหวัดตั้งขึ้น โดยขอให้รัฐผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวการใช้สถานที่เพื่อการรักษาพยาบาลชั่วคราว เพื่อจัดตั้งสถานกักตัวในชุมชน ใช้อาสาสมัครหรือสร้างรายได้ด้วยการจ้างคนในชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรมแล้ว เป็นผู้ดูแลแทนแพทย์และพยาบาลไปพลางก่อน

นายมนต์ชีพ กล่าวว่า ข้อเสนอที่สอง ‘ติดเชื้อปุ๊ป รับยาทันที’ เมื่อพบว่ามีการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่กักตัวเองอยู่ที่บ้าน หรืออยู่ในสถานกักตัวชุมชนตามข้อเสนอข้างต้น ซึ่งอยู่ระหว่างการรอเตียงเข้ารับการรักษาต้องได้รับยาทันที ซึ่งทราบว่ายาฟาวิพิราเวีย (Favipiravir) มีเหลืออยู่ในคลังถึง 2.9 ล้านเม็ด และมีแผนจัดหาในเดือนกรกฎาคมอีก 5 ล้านเม็ด ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายนอีก 3 ล้านเม็ด ซึ่งมีปริมาณมากพอ เหลือแต่เพียงการกระจายให้ผู้ป่วยอย่างทั่วถึง และที่น่าสนใจคือการให้ยาสมุนไพร "ฟ้าทะลายโจร" ได้ทันทีเมื่อพบว่าติดเชื้อ ซึ่งพบว่าสารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจร สามารถบรรเทาอาการและรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้ โดยร่างกายต้องได้รับสารแอนโดรกราโฟไลด์ 180 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งมีการทดลองแล้วว่า เมื่อได้รับยาติดต่อกัน 5 วัน จะเกิดภาวะปอดอักเสบน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร ประกอบกับต้นทุนราคาถูกกว่า สามารถหาซื้อได้ง่าย จึงเหมาะสมเป็นอีกหนึ่งยาหลักที่ผู้ติดเชื้อควรได้รับทันที

นายมนต์ชีพ กล่าวว่า เพื่อชะลอการระบาดไม่ให้สถานการณ์ไปถึงจุดวิกฤต หากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อใหม่ต่อวันสูงถึง 5,000 ถึง 6,000 คนต่อไปเรื่อย ๆ สิ่งที่จะตามมาก็คือวิกฤตระบบสาธารณสุข บุคลากรและเครื่องมือทางการแพทย์ไม่เพียงพอ จำนวนผู้เสียชีวิตก็จะมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นพรรคกล้าจึงเห็นว่า การแก้ปัญหาที่ต้นทางเป็นเรื่องที่จำเป็นเพราะการรักษาที่เร็วที่สุด คือการรักษาที่ดีที่สุด

บิ๊กแมทซ์อีกครั้ง! อิตาลีดวลแข้งเบลเยี่ยม สูสีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว!

#เก็บตกยูโร2020 ⚽

คืนนี้มีบิ๊กแมทซ์อีกครั้ง เมื่อเต็ง 3 อย่างอิตาลี จะลงดวลแข้งกับทีมเต็ง 4 อย่างเบลเยี่ยม งานนี้บอกเลยว่า สูสีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว!

ลองเทียบสถิติของทั้งสองทีมตลอด 4 นัดในยูโรที่ผ่านมา ถือว่ายอดเยี่ยมกระเทียมเจียวด้วยกันทั้งคู่ คือชนะรวดทั้ง 4 แมทซ์ เบลเยี่ยมอาจดูดีกว่านิด ๆ ตรงชนะในเวลา 90 นาทีทั้ง 4 นัด (อิตาลีผ่านออสเตรียในรอบ 16 ทีม ด้วยการชนะในช่วงต่อเวลา 120 นาที)

แต่ถึงตรงนี้ ดูตามหน้าเสื่อ อิตาลีเป็นต่อนิด ๆ นะครับ ด้วยฟอร์มการเล่นที่ดุดัน รับแน่น เสียยาก และมีเกมบุกที่หวังผลได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากอยากจะผ่านเบลเยี่ยมไปให้ได้ ก็ต้องหยุดเกมบุกคุณภาพของเบลเยี่ยมให้ได้ซะก่อน

เบลเยี่ยมผ่านมาถึงรอบนี้ ซัดไป 8 ประตู ซึ่ง 3 ใน 8 เป็นผลงานของ พี่ตู้-โรเมลู ลูกากู ยอดกองหน้าของทีมนั่นเอง

ลูกากู จัดว่าทำผลงานในยูโรครั้งนี้ได้ไฉไลอยู่นะครับ ลงไปทั้งหมด 4 นัด มีความพยายามในการทำประตู 9 ครั้ง ยิงตรงกรอบ 4 ครั้ง และเปลี่ยนเป็นประตูได้ถึง 3 ประตู ซึ่งใน 3 ประตูที่ว่านี้ เป็นการยิงจากเท้าซ้าย 1 ลูก และจากเท้าขวาข้างไม่ถนัดอีก 2 ลูก

จัดว่าไม่ธรรมดา ซึ่งบรรดากองหลังอิตาลีนั้นรู้ดี เพราะต้องไม่ลืมว่า พี่ตู้นั้นเล่นอยู่ในกัลโช่ เซเรียอา หรือลีกอิตาลี มากว่า 2 ปี ลงไป 72 นัด ยิงไป 47 ประตู แถมฤดูกาลล่าสุดยังเป็นดาวซัลโวประจำลีกซะอีก ยิงไป 24 ประตู

อย่างที่บอกไป บรรดากองหลังอิตาลี รู้พิษสงของพี่ตู้เป็นอย่างดี แต่จะ ‘เอาพี่ตู้อยู่’ หรือเปล่า อันนี้ต้องใช้วิทยายุทธกันหนักหน่อย ไม่นับบรรดาตัวรุกคนอื่น ๆ ในทีมเบลเยี่ยมเวลานี้ ที่ก็จัดจ้านในย่านยูโรกันทั้งสิ้น

คืนนี้เบลเยี่ยมมา ‘ชื้อเกมบุก’ อย่างแน่นอน ก็ขึ้นอยู่กับว่า อิตาลีจะรับไหวไหม และจะจัดการลูกากูอยู่หมัดแค่ไหน ตามสถิติที่เจอกันมาในระดับรายการเมเจอร์ 4 ครั้ง อิตาลีเอาชนะได้ 3 ครั้ง และเสมอไป 1 ครั้ง ครั้งนี้เป็นการเจอกันครั้งที่ 5 ผลจะเข้าข้างฝั่งอิตาลีอีกหรือไม่ คืนนี้ตีสอง เจอกัน!!


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

สภาหอการค้าสหรัฐฯ ร้องรัฐบาลหยุดให้เงินเยียวยา แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน เผย บางบริษัทจูงใจพนักงานใหม่ด้วยไอโฟน และเงินพิเศษ

คนอเมริกันไม่อยากกลับไปทำงาน ทำธุรกิจขาดแคลนแรงงาน หลังรัฐอัดฉีดเงินจนเคยตัว ด้านหอการค้าร้องรัฐหยุดเงินเยียวยา เผยบางบริษัทจูงใจพนักงานใหม่ด้วยไอโฟน และเงินพิเศษ

เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่กำลังฟื้นตัวอย่างร้อนแรงหลังจากที่หลายพื้นที่สามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้แล้วเกือบ 100% ทำให้ความต้องการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างสูงในช่วงนี้

แต่สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความต้องการรับคนเข้าทำงานคือ จำนวนของชาวอเมริกันที่อยากจะไปกลับไปทำงานนั้นลดลงอย่างมาก กระทบไปถึงธุรกิจต่าง ๆ ที่กำลังขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก จนต้องมีการออกแคมเปญต่าง ๆ เพื่อที่จะดึงดูดให้คนไปสมัครงานกัน

ร้านฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังวิกฤต คนไม่อยากสมัคร เร่งออกโบนัสพิเศษล่อใจ

ธุรกิจร้านอาหารจานด่วนชื่อดังหลายแบรนด์ ต่างกำลังประสบปัญหาอย่างหนักในการหาพนักงานเข้ามาทำงานเพิ่มเติม เนื่องจากคนสนใจกลับมาทำงานน้อยลง เนื่องจากได้รับเงินเยียวยาจากทางรัฐบาลมานานหลายเดือนติด ๆ กันจนเคยตัว

ก่อนหน้านี้มีภาพที่ถูกแชร์ออกไปบนโลกออนไลน์ว่าร้าน McDonald's ในรัฐอิลลินอยส์ให้สิทธิพิเศษเป็นโทรศัพท์มือถือ iPhone สำหรับพนักงานใหม่ที่เข้ามาสมัครงานกับทางร้าน แต่มีเงื่อนไขก็คือ จะต้องทำงานให้ครบ 6 เดือนถึงจะได้ iPhone ไปครอง

ขณะที่ Axios รายงานว่า McDonald's แห่งหนึ่งในเมืองอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย เสนอโบนัสจ่ายล่วงหน้า 500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 16,000 บาท สำหรับพนักงานใหม่

ส่วนร้านฟาสต์ฟู้ด Wendy’s จะให้โบนัสสำหรับผู้ที่มาสมัครงานใหม่และผู้แนะนำคนละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3,200 บาท ทันทีในวันเดียวกัน

Chipotle ก็กำลังเพิ่มค่าจ้างพนักงานร้านอาหารเป็น 15 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 480 บาทต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ย

ส่วนที่รัฐโอไฮโอ ร้าน White Castle ได้เริ่มเพิ่มค่าจ้างรายชั่วโมงจาก 11.50 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 368 บาท เป็น 15 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 480 บาท ตามรายงานของ The Columbus Dispatch

ธุรกิจบริการของสหรัฐฯ กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง โดยเมื่อเดือนเมษายน สำนักสถิติแรงงานรายงานว่า ภาคบริการขาดแคลนพนักงานราว 349,000 ตำแหน่ง ในขณะที่เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีผู้คนมากกว่า 15 ล้านคน แจ้งเคลมเงินประกันสังคมกับรัฐบาล

ขณะนี้ รัฐบาลกลางและท้องถิ่นได้แจกเงินเยียวยาเฉลี่ย 638 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 20,400 บาทต่อสัปดาห์ ให้แก่ผู้ว่างงาน ซึ่งสูงกว่าเงินช่วยเหลือการว่างงานปกติก่อนการระบาดของไวรัสถึง 300 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 9,600 บาท โดยรัฐที่แจกมากที่สุด ได้แก่ แมสซาชูเซตส์ และวอชิงตัน โดยแจกอยู่ที่ 850 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 25,600 บาทต่อสัปดาห์

แต่มาตรการจ่ายเงินเยียวยาของสหรัฐฯ กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนนี้ แต่ก็มีบางรัฐที่ประกาศยกเลิกมาตรการก่อนจะถึงกำหนดแล้ว ซึ่งก็คือรัฐแมรี่แลนด์ และเทนเนสซี่ ที่จะสิ้นสุดมาตรการในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้

ในขณะเดียวกันอัตราการว่างงานในสหรัฐฯ ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 5.8% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งสูงกว่าช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีที่ 3.5%

McDonald's ระบุว่า ตอนนี้มีต้องการจ้างพนักงานถึง 10,000 คน ในร้านอาหารของบริษัทและจะเพิ่มค่าจ้างให้อีกด้วย โดยพนักงานระดับเริ่มต้นจะได้รับอย่างน้อย 11-17 ดอลลาร์สหรัฐ (352-547 บาท) ต่อชั่วโมง ในขณะที่เป็นระดับหัวหน้างานจะได้รับขั้นต่ำ 15-20 ดอลาร์สหรัฐฯ (480-641 บาท) ต่อชั่วโมง

สาเหตุของการที่ผู้คนไม่ยอมกลับไปทำงานก็เนื่องจากว่า การได้รับเงินเยียวยาวที่สูงกว่าค่าแรงที่ได้จากการทำงาน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 638 ดอลลาร์สหรัฐ (20,457 บาท) ต่อสัปดาห์ ซึ่งได้มากกว่าก่อนเกิดโรคระบาดถึง 300 ดอลลาร์สหรัฐ (9,619 บาท)

หมายความว่าคนที่ทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก่อนเกิดโรคระบาด ตอนนี้ได้รับเงินเกือบ 16 ดอลลาร์สหรัฐ (513 บาท) ต่อชั่วโมง โดยที่ไม่ต้องทำเลย ซึ่งมากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลกลาง ที่ระบุไว้ที่ 7.25 ดอลลาร์สหรัฐ (232 บาท) ถึงสองเท่า

สภาหอการค้าสหรัฐฯ ร้องรัฐบาลหยุดให้เงินเยียวยา แก้ปัญหาแรงงานขาด

นายนีล แบรดลีย์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านนโยบายของสภาหอการค้าสหรัฐฯ แถลงการณ์ถึงผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่กำลังขาดแคลนแรงงาน โดยเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ ยุติการให้เงินเยียวยาผู้ที่ตกงานจากผลกระทบของโรคระบาด เพื่อผลักดันให้คนกลับมาทำงาน

"ตัวเลขการจ้างงานที่น่าผิดหวังทำให้เห็นได้ชัดว่าการจ่ายเงินสำหรับผู้ที่ไม่ได้ไปทำงานกำลังส่งผลกระทบต่อตลาด ตามการวิเคราะห์ของสภาหอการค้าพบว่า การจ่ายเงิน 300 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ให้แก่ผู้ที่ตกงาน ทำให้ผู้ที่ได้รับเงิน 1 ใน 4 มีรายได้ขณะตกงานมากกว่าไปทำงาน"

ทั้งนี้ รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อเยียวยาชาวอเมริกันและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยหนึ่งในมาตรการดังกล่าว ได้แก่ การส่งเช็คเงินสดไปให้ผู้ที่ตกงานเป็นเงิน 300 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์จนถึงเดือนกันยายน

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ระบุว่ามาตรการแจกเงินแก่คนตกงานดังกล่าว ได้ลดแรงจูงใจที่จะทำให้แรงงานกลับเข้าตลาด และเป็นสาเหตุทำให้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรต่ำกว่าคาดที่ควรจะเพิ่มขึ้นถึง 1,000,000 ตำแหน่ง แต่ก็มีตัวเลขเพียงแค่ 266,000 ตำแหน่งเท่านั้น

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัว 6.4% ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นตัวเลขการขยายตัวสูงเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่ไตรมาส 3/2546 ส่งผลให้อุปสงค์ในตลาดแรงงานพุ่งขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจเกิดภาวะขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบ นับตั้งแต่ภาคการผลิตไปจนถึงร้านอาหาร

 

 

แหล่งอ้างอิง

https://www.dailymail.co.uk/news/article-9742549/McDonalds-offers-500-bonus-new-staff-Wendys-gives-100-Chipotle-increase-pay.html

https://www.uschamber.com/press-release/hiring-bonuses-show-real-potential-bring-back-america-s-workers

https://www.uschamber.com/press-release/number-of-open-jobs-jumps-1-million-americas-worker-shortage-crisis-worsening-urgent

ที่มา : https://www.facebook.com/100764650095869/posts/1773045692867748/


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

กห.เรียกถกด่วน เร่งขยายห้องผู้ป่วย ICU และ รพ.สนาม รับผู้ป่วยสีแดงและเหลืองที่เพิ่มขึ้นรายวัน

ที่กระทรวงกลาโหม พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม และ พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงหลาโหม ได้เรียกประชุมด่วน หน่วยงาน กอ.รมน. นขต.กลาโหม เหล่าทัพ และ ตร. ผ่านระบบ VTC ณ ศาลาว่าการกลาโหม เพื่อเร่งสนับสนุน สธ.รับมือกับผู้ป่วยโควิด 19 สะสมที่มีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ทั้งนี้ ได้หารือและพิจารณาร่วมกัน ถึงขีดความสามารถทางการแพทย์ทหารสูงสุด ในการร่วมระดมปรับเกลี่ยบุคลากรทางการแพทย์ทหาร เสริมโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เร่งขยายห้องผู้ป่วย ICU จำนวน 80 เตียง ในโรงพยาบาลทหารต่าง ๆ ในพื้นที่ กทม.

โดยจะทยอยเปิดต่อเนื่องใน 30 วัน และขยายขีดความสามารถ พื้นที่ มทบ.11 สนับสนุนอาคารและสถานที่จัดทำ รพ.สนามเพิ่มเติม โดยร่วมกับ รพ.ธนบุรีบำรุงเมือง จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ดูแลผู้ป่วยสีแดงและเหลือง จำนวน 178 เตียง เปิดบริการในวันนี้ (2 ก.ค.) และร่วมกับ รพ.พระมงกุฎฯ จัดตั้ง รพ.สนาม ดูแลผู้ป่วยสีเขียว เพิ่มเติม 176 เตียง โดยจะเร่งเปิดให้การบริการใน 4 ก.ค.นี้

โดย พล.อ.ชัยชาญ ได้กำชับ ขอให้ทุกเหล่าทัพ เร่งให้การสนับสนุนขยายขีดความสามารถห้องผู้ป่วย ICU และ รพ.สนาม ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรวม.กลาโหม ให้สามารถรองรับผู้ป่วยสีแดงและสีเหลืองที่เพิ่มขึ้นโดยเร็ว และขอให้สนับสนุนการทำงานร่วมกับ กระทรวงสาธารณะสุขอย่างใกล้ชิด เพื่อเสริมขีดความสามารถทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในการดูแลประชาชน ช่วงวิกฤตสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิดไปด้วยกัน โดยเฉพาะพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมทั้ง 4 จังหวัดชายแดนใต้ พร้อมทั้งเน้นย้ำ ให้เร่งฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด่านหน้าในพื้นที่เสี่ยงสูงทั้งหมดโดยเร็ว หากได้รับการสนับสนุนวัคซีนเพิ่มเติม

หวั่นคนแอบขึ้นทะเบียนวิสาหกิจชุมชนปลูกกัญชา

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ได้รับทราบความคืบหน้าการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน โดยจากข้อมูลการจดทะเบียนในเดือนมิ.ย. 64 พบว่า มีวิสาหกิจที่จดทะเบียนและดำเนินการอยู่ 9.6 หมื่นแห่ง คิดเป็นจำนวนสมาชิกรวม 1.68 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปี 63 ที่มี 9.3 หมื่นแห่ง โดยในจำนวนนี้ พบว่า มีวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้ว 2,900 แห่ง 

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพิ่มขึ้นมาก คือ การเข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มช่องทางการตลาดแก่เกษตรกร เป็นโครงการภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงนโยบายรัฐบาลที่เปิดโอกาสให้วิสาหกิจชุมชนสามารถปลูกพืชเสพติดเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ เช่น กัญชา ภายใต้การกำกับของหน่วยงานรัฐตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ทำให้วิสาหกิจชุมชนต้องการเพิ่มกิจกรรมการปลูกพืชเสพติด รวมถึงคนทั่วไปต้องการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อปลูกพืชดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น 

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือกัน และมีข้อกังวลว่า อาจมีคนบางกลุ่มเข้าจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนแต่ดำเนินการข้ามพื้นที่ เป็นในลักษณะที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้วิสาหกิจชุมชน เป็นของประชาชนในพื้นที่ ใช้ทรัพยากรในการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความแข็งแรง เป็นชุมชนพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนดังนั้น เพื่อให้การดำเนินของวิสาหกิจชุมชนเป็นไปเพื่อชุมชนนั้นๆอย่างแท้จริง คณะกรรมการฯจึง มีมติให้ทบทวนประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เรื่องคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และการต่อทะเบียนของวิสาหกิจชุมชน ให้มีความชัดเจนมากขึ้น 

คลังเปิดผลมาตรการรัฐวันแรกคนใช้จ่าย 1,646 ล้าน

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบจากโควิด-19 ประกอบด้วย โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โครงการเพิ่มกำลังซื้อกลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ได้เปิดให้ประชาชนใช้จ่ายวันแรกเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2564 พบว่า การใช้จ่ายวันแรก มีผู้ใช้สิทธิทุกโครงการรวมกว่า 7.8 ล้านราย และมียอดใช้จ่ายรวม ทั้งหมด 1,646 ล้านบาท

สำหรับสรุปผลการใช้จ่ายได้ ดังนี้  

1.) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 3.5 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายรวม 791.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 399.4 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 391.8 ล้านบาท

2.) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 3,428 ราย โดยเป็นยอดการใช้จ่ายรวม 9.1 ล้านบาท  

3.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 4.2 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายรวม 826.3 ล้านบาท

และ 4.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มีผู้ใช้สิทธิจำนวนกว่า 1 แสนราย มียอดการใช้จ่ายรวม 19.6 ล้านบาท 

“การใช้จ่ายในทุกโครงการ จะต้องเป็นการจ่ายเงินระหว่างประชาชนกับร้านค้าหรือผู้ให้บริการแบบพบหน้าเท่านั้น และจะต้องไม่มีกระบวนการใด ๆ รองรับการซื้อขายที่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ หรือผ่านคนกลาง ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ที่เป็นการหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมแบบพบหน้าดังกล่าว เช่น การนำ QR Code ไปคัดลอกส่งต่อแก่บุคคลอื่นเพื่อสแกนจ่ายเงิน และการสแกนจ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะต้องระบุยอดเงินให้ตรงตามมูลค่าสินค้าหรือบริการนั้น เนื่องจากไม่สามารถทอนเงินหรือรับแลกสินค้าหรือบริการคืนเป็นเงินสดได้”

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจ หนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง 90.5% ต่อ จีดีพี สูงสุดรอบ 18 ปี

ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดในไตรมาส 1/2564 สะท้อนสถานการณ์หนี้สินของประชาชนที่ยังคงมีอัตราการเติบโตเร็วกว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวม โดยยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 1/2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90.5% ต่อจีดีพี สูงสุดในรอบ 18 ปีตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสูงขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 89.4% ต่อจีดีพี ในไตรมาสที่ 4/2563 

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า วิกฤตโควิด-19 ที่ลากยาวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปีจะเพิ่มความเสี่ยงต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พร้อม ๆ ตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้สินของภาคครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ หรือมีรายได้ลดลงจนมีผลกระทบต่อความสามารถในการชำระคืนหนี้ และสำหรับแนวโน้มในปี 2564 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับทบทวนตัวเลขประมาณการหนี้ครัวเรือนไทยขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 90-92% ต่อจีดีพี (กรอบเดิมคาดที่ 89-91% ต่อจีดีพี)

2 มิ.ย. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกรายงานผลการศึกษาเรื่องหนี้ครัวเรือนของไทย พบว่า ปัญหา หนี้สินในภาคครัวเรือนของไทยยังคงมีทิศทางขาขึ้นสวนทางภาพความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่ยังคงถูกกดดันจากผลกระทบของวิกฤตโควิด 19 โดยหนี้ครัวเรือนล่าสุดในไตรมาสที่ 1/2564 อยู่ที่ระดับ 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 90.5% ต่อจีดีพี (สูงสุดในรอบ 18 ปี) ขยับขึ้นจาก 89.4% ต่อจีดีพี ในไตรมาสที่ 4/2563 ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (Quarter on Quarter: QoQ) หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 1/2564 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นประมาณ 88,138 ล้านบาท โดยหลัก ๆ เป็นผลมาจากการเร่งขึ้นของหนี้รายย่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ หนี้บ้าน หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้เพื่อใช้จ่ายชีวิตประจำวัน 

1.) หนี้บ้าน (ยอดคงค้างหนี้บ้านเพิ่ม 5.53 หมื่นล้านบาทจากไตรมาสก่อน) ซึ่งสอดคล้องกับแคมเปญกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบราคาประมาณ 1-3 ล้านบาท และ 3-5 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งผู้กู้หรือครัวเรือนยังคงเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ รายได้ปานกลางค่อนไปทางสูง (ไม่ถูกกระทบมากนักจากสถานการณ์โควิด) ซึ่งทำให้ยังคงมีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ได้

2.) หนี้เพื่อประกอบอาชีพ (ยอดคงค้างหนี้ประกอบอาชีพเพิ่ม 4.01 หมื่นล้านบาทจากไตรมาสก่อน) โดยผู้กู้หรือครัวเรือนจำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่มเพื่อหนุนสภาพคล่อง และใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการประคับประคองกิจการในช่วงที่โควิด-19 ยืดเยื้อ ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องต่อรายได้และยอดขาย

3.) หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไป (ยอดคงค้างหนี้อุปโภคบริโภคทั่วไป เพิ่ม 3.35 หมื่นล้านบาทจากไตรมาสก่อน) ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหารายได้ฝืดเคือง รายได้ไม่สมดุลกับภาระค่าใช้จ่าย จนทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายในชีวิตประวัน
 
อย่างไรก็ดี วิกฤตโควิด-19 ระลอกสามของไทยที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นไตรมาส 2/2564 มีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของประชาชนหลายกลุ่ม โดยผู้กู้รายย่อยมีรายได้ที่ฝืดเคือง และประเมินว่า ตนเองจะมีปัญหาความสามารถในการชำระคืนหนี้มากขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการเปรียบเทียบผลสำรวจภาวะหนี้สินและการออมของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยจัดทำขึ้นในเดือนมี.ค. 2564 และเดือนมิ.ย. 2564 ที่เป็นช่วงก่อน-หลังโควิดรอบสาม) พบว่า สถานการณ์รายได้และหนี้สินของประชาชนรายย่อยถดถอยลงมากจากผลของโควิด 19 ระลอกที่สาม โดยในผลสำรวจเดือนมิ.ย. 2564 (หลังโควิดรอบสาม) ผู้ตอบแบบสอบถามที่ “มีรายได้ไม่ปกติ” มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 59.6% ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด สูงกว่าสัดส่วน 56.2% ในผลสำรวจเดือนมี.ค. 2564 (ก่อนโควิดรอบสาม) และโดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามในรอบเดือนมิ.ย. 2564 มี “จำนวนบัญชีสินเชื่อ” และ “สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ หรือ DSR” เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผลสำรวจฯ เดือนมี.ค. 2564 โดย DSR จากผลสำรวจฯ เดือนมิ.ย. 2564 ขยับขึ้นมาที่ 46.9% เทียบกับ DSR ที่ 42.8% จากผลสำรวจฯ เดือนมี.ค. 2564  

โดยหากพิจารณาเฉพาะในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความเปราะบางทางการเงิน ซึ่งเป็นประชาชน-ครัวเรือนที่กำลังเผชิญแรงกดดัน 3 ด้านพร้อมกัน ทั้ง “ปัญหารายได้ลด-ค่าใช้จ่ายไม่ลด-DSR สูงเกินกว่า 50% ต่อรายได้ต่อเดือน” จะพบว่า สัดส่วนของกลุ่มเปราะบางในผลสำรวจเดือนมิ.ย. 2564 ขยับขึ้นมาที่ 22.1% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เทียบกับสัดส่วนประมาณ 10.8% ในผลสำรวจเดือนมี.ค. 2564 ภาพสะท้อนดังกล่าวตอกย้ำปัญหาหนี้สินของประชาชนที่มีสัญญาณน่ากังวลมากขึ้นในระดับครัวเรือน 

สำหรับมุมมองต่อสถานการณ์หนี้สินของตัวเองนั้น ผลสำรวจฯ พบว่า ลูกหนี้ห่วงปัญหาหนี้สินของตัวเองมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามในเดือนมิ.ย. ส่วนใหญ่ราว 79.5% ประเมินว่า ปัญหาหนี้ของตัวเองยังไม่น่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 โดยสัดส่วนของผู้ที่ “มองว่าปัญหาหนี้จะแย่ลง” เพิ่มขึ้นมาที่ 26.6% ของผู้ตอบแบบสำรวจในรอบมิ.ย. เทียบกับสัดส่วนเพียง 7.8% ในรอบมี.ค. ซึ่งโควิดระลอกสามมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของครัวเรือนหลายส่วนให้อ่อนแอและเปราะบางมากขึ้น และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่มีภาระหนี้อยู่ในปัจจุบันสนใจที่จะสมัครเข้ามาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินมากขึ้น โดยผู้ที่สนใจมีสัดส่วนประมาณ 62.8% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ขณะที่ภาพสะท้อนจากมุมของประชาชน-ครัวเรือน บ่งชี้ว่า สินเชื่อที่ต้องการรับความช่วยเหลือส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อบัตรเครดิต+สินเชื่อส่วนบุคคล (45.3%) สินเชื่อเช่าซื้อ (25.3%) และสินเชื่อบ้าน (14.3%) ตามลำดับ

สำหรับแนวโน้มในปี 2564 วิกฤตโควิด-19 ที่ลากยาวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 มีผลกระทบทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ขณะที่ประชาชน-ครัวเรือนหลายส่วนมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสถานะรายได้จากการทำงานของตัวเอง ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนจากการค้นหาช่องทางเพื่อหารายได้เสริมใน Google Trends ที่กลับมาปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่โควิดระบาดรอบสาม ซึ่งเป็นภาพที่คล้ายกับการระบาดของโควิดในรอบแรก สำหรับข้อมูลลูกหนี้รายย่อยที่เข้ารับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์นั้น ขยับขึ้นมาที่ 1.69 ล้านบัญชีในเดือนเม.ย. 2564 (จาก 1.68 ล้านบัญชีในเดือนมี.ค.) คิดเป็นยอดภาระหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 12.4% ของลูกหนี้รายย่อย ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ผลกระทบที่หนักและชัดเจนมากขึ้นของโควิดรอบสาม อาจทำให้จำนวนบัญชีลูกหนี้รายย่อยเข้ามาตรการช่วยเหลือฯ มีโอกาสขยับขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนมิ.ย. ถึงต้นไตรมาส 3/2564 นี้

ดังนั้น ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนในปี 2564 น่าจะเติบโตในระดับที่สูงกว่า หรือใกล้เคียงกับอัตรา 4.1%  ในปี 2563 ตอกย้ำภาพหนี้สินครัวเรือนที่โตกว่าทิศทางเศรษฐกิจ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับทบทวนสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2564 ขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 90-92% ต่อจีดีพี (กรอบคาดการณ์เดิมที่ 89-91% ต่อจีดีพี) 

ปัญหาหนี้ครัวเรือนโตสวนทิศทางเศรษฐกิจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ ประเทศ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับประเทศไทย แต่อย่างไรก็ดีศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ไม่มีปัญหาโควิด-19 หนี้ครัวเรือนก็เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างลำดับต้นๆ ของไทยที่รอให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแนวทางแก้ไข ซึ่งสำหรับในปีนี้ น่าจะเห็นการเดินหน้ามาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงสภาพคล่อง ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อประคองไม่ให้ลูกหนี้กลายเป็น NPLs และ/หรือทบทวนเพดานดอกเบี้ยผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย (เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ในช่วงที่โควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด) ตลอดจนการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ รวมไปถึงการวางแนวทางในระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและหนี้สินของภาคครัวเรือนอย่างจริงจังเมื่อวิกฤตโควิด-19 สิ้นสุดลง โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ และดูแลให้การก่อหนี้ของภาคประชาชน สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของตนเองมากขึ้น

คำรณ ปราโมช ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งและอดีตกรรมการผู้จัดการนิตยสารอิมเมจ โพสต์ข้อความสนับสนุนการเปิดภูเก็ตรับนักท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อ ภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์

คำรณ ปราโมช ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งและอดีตกรรมการผู้จัดการนิตยสารอิมเมจ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ส่วนตัวสนับสนุนการเปิดภูเก็ตรับนักท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อ ภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์ โดยระบุว่า สื่อต่างประเทศต่าง ๆ อาทิ (นิตยสาร Travel + Leisure) เริ่มลงข่าวเกี่ยวกับการเปิดเกาะภูเก็ต ตามที่รัฐบาลตั้งชื่อ Phuket sandbox กันแล้ว น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี

ด้วยความที่ไปเรียนประเทศอังกฤษตอนเด็ก ๆ ตั้งแต่สิบเอ็ด สิบสองขวบ ในช่วงปี 1974 เมื่อเรียนภาษาอังกฤษ คำว่า Sandbox สำหรับเราจะมีความเข้าใจเสมอว่า มันคือกล่อง หรือการนำไม้มากั้นพื้นที่ ใส่ทราย เป็นพื้นที่ ๆ ปลอดภัย สำหรับเด็ก ๆ เล่นกันอย่างมีความสุข

ต่อมาไม่กี่ปีมานี่ คำศัพท์ที่ถูกพูดถึงอย่างมากในแวดวง Fintech คือ Regulatory Sandbox เป็นพื้นที่ทดสอบภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่ บริษัท ผู้ประกอบการ หรือนักลงทุนสามารถมาทดสอบผลิตภัณฑ์และบริการของตนได้โดยได้รับการยกเว้นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับบางอย่าง เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วหรือการเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ ๆ

แนวคิดดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ในปี 2015 เมื่อ FCA หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของอังกฤษ ส่งเสริมการแข่งขันและการปรับปรุงพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ จนกลายเป็นต้นแบบให้มีการนำแนวคิดนี้ไปต่อยอดใช้เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมต่าง ๆ ในหลายประเทศทั่วโลก และปัจจุบันคำ ๆ นี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายแวดวง รวมไปถึงใช้แทนโครงการพื้นที่นำร่องต่าง ๆ

สำหรับแฟน ๆ ซีรีส์เกาหลี คิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยดู เรื่อง Start-Up คงจะคิดถึงช่วงที่ ประธานยุน ตอบคำถามถึงที่มาของการตั้งชื่อ ‘แซนด์บ็อกซ์’ (Sandbox) ในตอนต้นเรื่องซีรีส์ Start-Up ซึ่งประธานยุนได้รับแรงบันดาลใจนี้มาจากเรื่องราวที่ ซอชองมยอง (รับบทโดย คิมจูฮอน) พ่อของซอดัลมี (รับบทโดย ซูจี) เคยเล่าเรื่องที่ลูกสาวให้ฟัง ว่าครั้งหนึ่งลูกสาวของเขาเล่นชิงช้าในสนามเด็กเล่นแล้วล้มลงมาบาดเจ็บ แล้วจะให้เลิกเล่น แต่ลูกกลับบอกว่าให้ปูพื้นทรายที่ใต้ชิงช้าแทน

เมื่อรัฐบาลเลือกที่จะใช้คำว่า Phuket sandbox เราก็ชอบที่ใช้คำนี้ น่ารักและมีความหมายก็ดี ส่วนตัวแล้วก็นึกภาพ หากจะอยู่ในพื้นที่แค่เกาะภูเก็ตที่มี ชายหาดขาวสะอาด ทะเลสีคราม แสงแดดและอากาศ ทีดี ของกินอร่อยๆ ฃื้อของจับจ่ายได้สนุกสนาน และมีความปลอดภัย แค่นี้ก็มีความสุข และอดไม่ได้ที่จะคิดถึงสมัยเด็ก ๆ เลยเอามาฝากอีกสองรูปสุดท้าย

ที่เอ่ยมาก็เพราะ เดาไว้ไม่ผิด คณะชังถ่วงชาติก็เริ่ม ดราม่า ด้วยวิธีการเดิม ๆ เช่นเคย ที่ตลกร้ายก็ไปเปรียบเทียบกับ ปราสาททรายว่า ลมพัด น้ำเซาะก็ไม่เหลืออะไรเลย ทั้ง ๆ ที่ มันคนละคำ คนละความหมายระหว่าง sandcastle กับ sandbox

นี่หากมีคนรู้จักมาเปรียบเทียบระหว่างสองความหมายนี้ จะเอาตีนถีบกะโหลกแรง ๆ ซักสามที เผื่อสมองจะเข้าที่ เลิกสมองกลวงซักที

 

ที่มา : https://www.facebook.com/1012077191/posts/10221368969146335/


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top