Wednesday, 14 May 2025
Lite

กรุงเทพฯ กลางแปลง ฉายหนังเรื่องอะไร ฉายที่ไหน มาดูกัน!!

ในเดือนกรกฎาคม 2565 กรุงเทพมหานครเตรียมจัดเทศกาล “กรุงเทพฯ กลางแปลง” โดยจะมีการฉายหนังทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อรับกับเทศกาล Film Festival ซึ่งจะจัดในสถานที่ รวม 10 สถานที่ ตลอด 4 สุดสัปดาห์ รวมฉายหนังทั้งหมด 25 เรื่อง โดยจะมีทั้งภาพยนตร์ที่เก่ามาก ตั้งแต่ปี 2502 จนถึงปัจจุบัน

สำหรับสถานที่ฉายหนังตลอดเดือน ก.ค. 65 มีดังต่อไปนี้

🎥สัปดาห์แรก (7-9 ก.ค. 65) มีรายละเอียดดังนี้ 

วันที่ 7 ก.ค. 65 ฉายเรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง (2540) ณ ลานคนเมือง เขตพระนคร และเรื่อง รถไฟฟ้ามาหานะเธอ (2552) ณ True Digital Park เขตพระโขนง

วันที่ 8 ก.ค. 65 ฉายเรื่อง เวลาในขวดแก้ว (2534) ณ ลานคนเมือง เขตพระนคร และเรื่อง 36 (2555) ณ True Digital Park เขตพระโขนง

วันที่ 9 ก.ค. 65 ฉายเรื่อง แพรดำ (2504) ณ ลานคนเมือง เขตพระนคร และเรื่อง แม่นาคพระโขนง (2502) ณ True Digital Park เขตพระโขนง

🎥สัปดาห์ที่สอง (14-16 ก.ค. 65) มีรายละเอียดดังนี้ 

วันที่ 14 ก.ค. 65 ฉายเรื่อง RRR (2565) ณ ศูนย์เยาวชนคลองเตย เขตคลองเตย และเรื่อง 4Kings (2564) ณ สวนรถไฟ เขตจตุจักร

วันที่ 15 ก.ค. 65 ฉายเรื่อง มนต์รักทรานซิสเตอร์ (2544) ณ ศูนย์เยาวชนคลองเตย เขตคลองเตย และเรื่อง Portrait of a Lady on Fire (2562) ณ สวนรถไฟ เขตจตุจักร

วันที่ 16 ก.ค. 65 ฉายเรื่อง บุญชูน่ารัก (2531) ณ ศูนย์เยาวชนคลองเตย เขตคลองเตย และเรื่อง One for the Road วันสุดท้ายก่อนบายเธอ (2564) ณ สวนรถไฟ เขตจตุจักร

🎥สัปดาห์ที่สาม (21-23 ก.ค. 65) มีรายละเอียดดังนี้ 

วันที่ 21 ก.ค. 65 ฉายเรื่อง หมานคร (2547) ณ สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย และเรื่อง Fast and Furious (2552) ณ ตลาดบางแคภิรมย์ เขตบางแค

วันที่ 22 ก.ค. 65 ฉายเรื่อง อนธการ (2558) ณ สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย และเรื่อง ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ (2547) ณ ตลาดบางแคภิรมย์ เขตบางแค

วันที่ 23 ก.ค. 65 ฉายเรื่อง Wheel of Fortune and Fantasy (2564) ณ สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย และเรื่อง เพื่อนสนิท (2548) ณ ตลาดบางแคภิรมย์ เขตบางแค

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 วันประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ปฐมบทสู่ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’

วันนี้เมื่อ 25 ปีก่อน ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท หลังจากถูกโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนัก ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนจาก 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ พุ่งขึ้นไปที่ 40 บาททันที

วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 วันอีกหนึ่งวันที่คนไทยหลายคนยังจดจำไม่ลืม เมื่อรัฐบาลไทยในสมัย พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างหนัก จากอัตราแลกเปลี่ยน 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นไปทันทีที่ 40 บาท และไต่ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง 52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลกระทบอย่างหนักกับหลายบริษัทที่ไปกู้เงินดอลลาร์สหรัฐมาลงทุน

จากภาวการณ์ลดลงของค่าเงินบาทได้ส่งผลต่อภาระหนี้ต่างประเทศเป็นอันมาก เพราะดอกเบี้ยที่ต้องชำระคืนเพิ่มสูงเป็นอันมาก (ก่อนเกิดวิกฤต กู้มาในอัตราเพียง 1 ดอลลาร์เท่ากับ 25 บาท) ในปี 2533 ประเทศไทยเป็นหนี้ต่างประเทศ 29,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มเป็น 82,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2539 และเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในปี 2540 ไทยเป็นหนี้ต่างประเทศสูงถึง 109,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำแนกเป็นหนี้ภาครัฐ 24,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หนี้ภาคเอกชน 85,200 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นภาครัฐเท่ากับร้อยละ 22.5 และหนี้ภาคเอกชนเท่ากับ 77.5 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด

3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเปิดการเดินรถ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย "โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-บางซื่อ)" อย่างเป็นทางการ 

โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เดินทางช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ระยะทาง 20 กม. จำนวน 18 สถานี โดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้รับสัมปทานในการลงทุนในระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตามมาตรฐานการให้บริการที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขสัญญา และมีสิทธิ์ในรายได้ค่าโดยสาร รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ภายในสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้า

๔ กรกฎาคม วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าคณะผู้บริหารและพนักงาน สำนักข่าวออนไลน์ THE STATES TIME

4 กรกฎาคม วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประสูติเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

พระนาม จุฬาภรณ์ หมายถึง การอัญเชิญพระนาม "จุฬา" ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาเป็นคำต้นพระนามของพระองค์ เนื่องด้วยในวันประสูตินั้น เป็นวันมหาปีติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ทรงเริ่มศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ทรงได้รับการปลูกฝังทางศิลปะ นาฏศิลป์และดนตรี จากพระอาจารย์ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ทั้งยังทรงสนพระทัยวิชาคำนวณและวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันโปรดศึกษาวิชาภาษาต่างประเทศ และวิชาศิลปะควบคู่กันไป โดยทรงเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์ ในระดับมัธยมปลาย เพื่อนำความรู้มาต่อยอดทำประโยชน์เพื่อความสุขของประชาชน

เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย ทรงเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์ สาขาอินทรีย์เคมี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงสอบได้ที่ 1 ในวิชาเคมีและชีววิทยา ทั้งยังทรงได้รับรางวัลเรียนดีจากมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ

พ.ศ.2528 ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอินทรีย์เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ยังทรงสำเร็จการอบรมระดับหลังปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยอูล์ม สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

พ.ศ.2550 ทรงสำเร็จการศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ.2557 ทรงสำเร็จการศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อนำความรู้ไปช่วยเหลือสัตว์ต่างๆ

ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ทรงอุทิศพระวรกายเพื่ออาณาประชาราษฎร์ให้มีความสุข อยู่ดีกินดี และร่วมพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ไม่ว่าจะในแขนงใด

รู้จัก 'สุนา' ชูเกียรติ บุญคง เจ้าของเพจ 'สุนา Channel' ครีเอเตอร์ดังแดนใต้ กับตัวตนที่มีสไตล์ ขอแค่ไม่อายที่จะชัดเจน

สัมภาษณ์พิเศษ : สุนา ครีเอเตอร์ดังภาคใต้ จากเพจ สุนา Channel

“ชัดเจน ไม่ต้องเขินอาย แล้วเราจะมีตัวตน” 
รู้จัก ‘สุนา’ ผ่านแนวคิด LGBTQ

“พี่สุนา จากเพจ สุนา Channel ปัจจุบันก็เปิดแบรนด์เสื้อผ้า “สุนาผ้าไทย” และก็ทำเพจและยูทูบเบอร์ ‘สุนา  Channel’ ค่ะ”

1.) ‘เพจสุนา’ ดังมาจากอะไร?

สุนา : เพจสุนาทำมาแล้วประมาณ 2 ปี ค่ะ มีผู้ติดตามอยู่ประมาณ 270,000 กว่าคน เพจเริ่มต้นด้วยจากความชอบค่ะ มันเกิดขึ้นมาจาก ช่วง Covid-19 คืองานประจำประสบปัญหาเศรษฐกิจ เราก็เลยคิดอีกหนึ่งช่องทาง คือการเปิดเพจเกี่ยวกับการเรียนรู้ วัฒนธรรมภาคใต้ ร่วมกับเพื่อนอีกหนึ่งคน 

แล้วบังเอิญมันเป็น Viral ขึ้นมา จากเรื่องวัฒนธรรม การไปเที่ยวงานประเพณีภาคใต้แล้วมีการไป “ลักแกงงาน” (ภาษาใต้) ก็คือเหมือนไปขอแกงของคนในหมู่บ้าน หรือขอแกงในงานต่างๆ เช่นคำพูดว่า “ฉันขอแกงกลับไปหน่อยนะ ฉันจะเอาไปให้คนที่บ้านกินนู้นนี่นั้น” 

มันเป็นสิ่งที่คนภาคใต้ปฏิบัติ และเราเอามาพูดแบบหยอกล้อเชิงสนุกสนาน ก็เลยทำให้ดังขึ้นมาเป็น Viral 



2.) ในฐานะตัวแทน LGBTQIA+ เดือนแห่งเทศกาล Pride Month อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง?

สุนา : อยากเห็นความเท่าเทียมที่มันชัดเจนขึ้น การออกมาเรียกร้องต่างๆ อยากให้ทางผู้ใหญ่ หรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นถึงปัญหาตรงนี้ และนำไปพัฒนาให้มันตอบโจทย์กับสิ่งที่พวกเรากำลังเรียกร้อง เพราะพวกเราก็คือหนึ่งในมนุษยชนคนนึง

3.) ข้อดีของการเป็น LGBTQIA+ คืออะไร?

สุนา : เราเป็นคนนึงคนที่อยากทำให้โลกใบนี้มีความสุข สนุก สดใส สดชื่น รู้สึกอยากให้ทุกอย่างมันพัฒนาไปในทางมันจะดีได้ทั้งชายหญิงและคนเพศอื่นๆ อยากให้มองว่าพวกเราไม่ใช่ตัวตลกแต่พวกเราคือคนที่ทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ทุกคนมีความสุขได้ 

'Ampa Ampa' สติ๊กเกอร์หอมติดแมสก์บำบัดอารมณ์ เสกกลิ่นหอมสดชื่น คลายความตึงเครียด

สองปีกว่าแล้วกับการใช้ชีวิตแบบใส่แมสก์อยู่ตลอดเวลา และคิดว่ายังคงต้องใส่ต่อไปเรื่อยๆ เชื่อว่าทุกๆคนรู้สึกแบบเดียวกันแน่นอน อึดอัดค่าาาา!!!! อยากจะกรี๊ด หายใจไม่ค่อยจะทั่วท้อง ยิ่งเพิ่งกินข้าวเสร็จแล้วน้องมาใส่แมสก์นี่นะ เป็นลมเลยได้หรือไม่😵‍💫 พามู้ดเสียไปทั้งวันได้นะพส. แต่แล้วค่าคุณผู้โช๊มมมมมม ฉันพบทางออก ฮ่าาาๆ คนอย่างริต้ามันต้องหาของมาสนองนี๊ดทุกทางสินะ55555

'Ampa Ampa สติ๊กเกอร์หอมติดแมสก์บำบัดอารมณ์น้องเสือขาว' กลิ่นหอมจาก essential oil ซึ่งมีกลิ่นให้เลือกถึง 3 กลิ่นเลย!  

1. Eucalyptus Tea Tree 
2. Pink Grapefruit
3. Peppermint Orange 

ใน 1 กล่องมี 3 แผ่นด้วยกัน และใน 1 แผ่นมีสติ๊กเกอร์ 8 ดวง รวมทั้งสิ้น 24 ดวง ในราคาแค่ 169 ส่งฟรี‼️ คุ้มมาก หรือจะคละกลิ่นภายในกล่องก็ได้เลย 

5 กรกฎาคม พ.ศ.2503 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จเยือนนิวยอร์ก ปชช.กว่า 7 แสนคน รอรับเสด็จบนถนนบรอดเวย์

วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯโดยรถยนต์พระที่นั่งเปิดประทุนไปบนถนนโลเวอร์บรอดเวย์ (Lower Broadway) นครนิวยอร์ก ท่ามกลางประชาชนรอรับเสด็จเนืองแน่น

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 1960 (พ.ศ.2503) ประชาชนกว่า 7.5 แสนคน (จากการประเมินของเจ้าหน้าที่ตำรวจ) ได้มาเฝ้ารอรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งประทับรถยนต์พระที่นั่งเปิดประทุนมาพร้อมกับขบวนพาเรด บนถนนโลเวอร์บรอดเวย์ (Lower Broadway) นครนิวยอร์ก โดยมีแถบกระดาษขนาดเล็กจำนวนมากโปรยปรายลงมาระหว่างการเคลื่อนขบวนเสด็จ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของการต้อนรับขบวนพาเรดในนครนิวยอร์ก

ขบวนพาเรดดังกล่าวกินเวลาประมาณ 20 นาที นำเสด็จจากถนนโลเวอร์บรอดเวย์ ไปถึงศาลาว่าการนครนิวยอร์ก เมื่อเวลาประมาณ 12.25 นาฬิกา
 

6 กรกฎาคม พ.ศ.2561 รำลึก 4 ปี สูญเสีย ‘จ่าแซม’ วีรบุรุษถ้ำหลวง จากภารกิจช่วยเหลือ 13 ชีวิตทีมหมูป่าอะคาเดมี

วันนี้ เมื่อ 4 ปีก่อน จ.อ.สมาน กุนัน หรือ จ่าแซม วีรบุรุษถ้ำหลวง เสียชีวิตจากภารกิจช่วยชีวิต 13 หมูป่า ที่ติดในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

ครบรอบ 4 ปี เหตุการณ์สุดช็อก สำหรับการสูญเสีย จ.อ.สมาน กุนัน หรือ จ่าแซม อดีตนักทำลายใต้น้ำจู่โจม หรือ หน่วยซีล รุ่น 30 ซึ่งเสียชีวิตในถ้ำหลวงฯ ขณะปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือ 13 ชีวิตทีมหมูป่าอะคาเดมี ภายในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

จ่าแซม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตระเวนระงับเหตุฝ่าย รปภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บ.ท่าอากาศยานไทย ตระเวนระงับเหตุฝ่าย รปภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บ.ท่าอากาศยานไทยในขณะนั้น ได้อาสาเข้าร่วมปฏิบัติการค้นหาทีมหมูป่า โดยเป็นภารกิจพิเศษ ในนามทีม AOT special team และได้โพสต์คลิปวิดีโอก่อนขึ้นเครื่องบิน โดยระบุว่า "ขอให้โชคดีอยู่กับเรา พาน้องๆ กลับบ้าน"

7 กรกฎาคม พ.ศ.2510 ‘สะพานสารสิน’ เปิดใช้งานครั้งแรก ครบ 55 ปี แลนด์มาร์คเชื่อมพังงา-ภูเก็ต

วันนี้เมื่อ 55 ปีก่อน เป็นวันเปิดใช้งาน สะพานสารสิน เป็นครั้งแรก เป็นสะพานแรกที่สร้างเพื่อข้ามจากจังหวัดพังงาไปจังหวัดภูเก็ต

สะพานสารสิน เปิดใช้ครั้งแรกเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 หรือเมื่อ 55 ปีที่แล้ว เป็นสะพานแรกที่สร้างเพื่อข้ามจากจังหวัดพังงาไปจังหวัดภูเก็ต โดยเชื่อมต่อระหว่างบ้านท่านุ่นของจังหวัดพังงาและบ้านท่าฉัตรไชยของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งสะพานสารสินมีความยาวทั้งหมด 660 เมตร รับผิดชอบดูแลโดย กรมทางหลวง

สะพานแห่งนี้ตั้งชื่อตามนามสกุลของ นายพจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติซึ่งดำรงตำแหน่งในขณะนั้น เริ่มสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดยเปิดให้บริษัทรับเหมาทำการก่อสร้าง แต่ปรากฏว่าการก่อสร้างในระยะแรกมีปัญหาเพราะขาดความชำนาญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 จึงเริ่มทำการก่อสร้างสะพานอีกครั้งจนสำเร็จ และเปิดทำการได้ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 28,770,000 บาท

ปัจจุบัน สะพานสารสิน ไม่ให้รถยนต์สัญจรไปมาแล้ว โดยให้รถยนต์ใช้สะพานสารสิน 2 และ สะพานท้าวเทพกระษัตรีแทน

สะพานสารสินเดิม หรือ สะพานสารสิน 1 นั้นจึงถูกปรับปรุงให้เป็นสะพานคนเดินและสร้างหอชมวิวทิวทัศน์ สะพานแห่งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด

ทั้งนี้ สะพานสารสิน เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นสถานที่ที่เป็นตำนานความรักของหนุ่มสาวสองคนที่ไม่สมหวัง คือ โกดำ (ดำ แซ่ตัน) กับ กิ๊ว (กาญจนา แซ่หงอ) ที่มีความแตกต่างกันทางฐานะ ด้วยโกดำเป็นเพียงคนขับรถสองแถวรับจ้างและรับจ้างกรีดยาง

8 กรกฎาคม พ.ศ.2498 วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยบูรพา ขุมปัญญาสำคัญแห่งภาคตะวันออก

ความเป็นมาก่อนจะมาเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา เริ่มในปี พ.ศ. 2492 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง” ขึ้นที่ซอยประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร” ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 ได้ขยายวิทยาเขตออกไปอีก 2 แห่ง ได้แก่ “วิทยาลัยวิชาการศึกษา ปทุมวัน” และ “วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน” 

การจัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาที่บางแสน จังหวัดชลบุรีนี้ ก็เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้ทราบว่า รัฐบาลได้ขยายการอุดมศึกษาออกไปสู่ส่วนภูมิภาคแล้ว วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน จึงเป็นสถาบันที่ให้ปริญญาแห่งแรกในส่วนภูมิภาค          

ดินแดนที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสนตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ เดิมทีเรียกว่า สวนหลวง เป็นที่ดินของกรมหมื่นพิชิตปรีชากร ใน พ.ศ. 2498 รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้แทน ได้ซื้อที่ดินสวนหลวงด้วยเงิน 252,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นในส่วนภูมิภาค ขณะนั้นเป็นสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีมีพลเอกหลวงพรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการวางศิลาฤกษ์วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 วิทยาลัยจึงได้ถือเอา วันที่ 8 กรกฎาคมเป็นวันสถาปนาวิทยาลัยและมีการเฉลิมฉลองวันสำคัญนี้ทุกปี      

ขณะนั้นดินแดนสวนหลวงเป็นที่ขาดการทะนุบำรุง จึงมีต้นไม้ขึ้นรกรุงรังส่วนใหญ่ก็มีต้นมะพร้าว เมื่อเป็นเช่นนี้จำเป็นจะต้องหาผู้ที่เข้มแข็ง บุกเบิกวิทยาลัยแห่งนี้ พลเอกหลวงพรหมโยธี และหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จึงแต่งตั้งให้ ดร.ธำรง บัวศรี มาเป็นรองอธิการคนแรก และมีอาจารย์มาช่วยอีก 6 คน รวม 7 คน เป็นผู้พัฒนาดินแดนแห่งนี้เป็นรุ่นแรกวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน มีนิสิตรุ่นแรกที่ผ่านการสอบคัดเลือกเป็นชายทั้งสิ้น 41 คน ขณะนั้น มีอาจารย์ 7 ท่าน โดย ดร.ธำรง บัวศรี เป็นรองอธิการ และในปี พ.ศ. 2501 มีผู้สำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรกจำนวน 35 คน

วิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและโอนสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ซึ่งมีวิทยาเขตทั้งหมด 8 แห่ง ดังนั้นวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จึงมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เมื่อเป็นมหาวิทยาลัย มีคณะวิชาเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่มีการผลิตบัณฑิตเฉพาะหลักสูตร
การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) เท่านั้น การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน มีทั้งหมด 6 คณะวิชา และหน่วยงานเทียบเท่าคณะ 1 หน่วยงาน คือ บัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท โดยเปิดสอนใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ การประถมศึกษา การบริหารการศึกษา ชีววิทยา และจิตวิทยาและการแนะแนว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top