Saturday, 17 May 2025
Lite

22 กันยายน ของทุกปี ‘วันแรดโลก - World Rhino Da’ ร่วมอนุรักษ์และต่อต้านการล่าเอานอ

จุดเริ่มต้นของวันแรดโลก ถือกำเนิดขึ้นในปี 2553 โดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature - WWF) แห่งแอฟริกาใต้ จากการริเริ่มของผู้หญิง 2 คน คือ ลิซ่า เจน แคมป์เบล และ ซิงห์ ที่มีความต้องการเหมือนกันในการก่อตั้งวันแรดโลกขึ้นมา เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับแรดทั้ง 5 สายพันธุ์ และผลักดันจนสามารถเกิดเป็นวันแรดโลกได้สำเร็จ จนกลายเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกและองค์กรต่าง ๆ ที่หันมาร่วมกันอนุรักษ์แรด 5 สายพันธุ์ ได้แก่

1. แรดขาว (Ceratotherium simum) เป็นแรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบในทวีปแอฟริกา

2. แรดดำ (Diceros bicornis) เป็นแรดที่มีความใหญ่รองมาจากแรดขาว พบในทวีปแอฟริกาเช่นกัน

3. แรดอินเดีย (Rhinoceros unicornis) พบในภูมิภาคเอเชียใต้ จัดเป็นแรดที่มีเพียงนอเดียว มีลักษณะเด่นคือ ผิวหนังหนาและมีรอยย่นเห็นได้ชัดเจน

4. แรดชวา (Rhinoceros sondaicus) พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับแรดอินเดีย เป็นแรดชนิดที่หายากที่สุดในโลก และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดที่หายากที่สุดในโลกอีกด้วย 

5. กระซู่ หรือแรด 2 นอ หรือ แรดสุมาตรา, แรดขน (Dicerorhinus sumatrensis) มีลักษณะเด่นที่สุดคือ มี 2 นอ นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง จัดเป็นสัตว์ตระกูลแรดที่มีขนาดเล็กที่สุด พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน มีลักษณะเด่นคือ มีขนปกคลุมทั้งลำตัว เป็นแรดที่หายากมากอีกชนิดหนึ่ง

ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดให้วันที่ 22 กันยายน ของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์แรดโลก พร้อมกันนี้การจัดตั้งวันแรดโลก ยังเป็นอีกหนึ่งหนทางเพิ่มความตระหนักถึงการลดจำนวนลงของประชากรแรดทั่วโลก จนเกือบจะกลายมาเป็นสัตว์สูญพันธุ์ในปัจจุบัน และเป็นการ ร่วมรณรงค์ต่อต้านการล่าเอานอแรด และตระหนักถึงความสำคัญของประชากรแรดที่กำลังลดจำนวนลงอย่างน่าเป็นห่วง

‘ชัยวุฒิ’ ยก ‘ปลาช่อนแม่ลา’ ตำนานของอร่อย สร้างอัตลักษณ์จากพื้นถิ่นสู่ ‘Soft Power อาหารไทย’

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวถึงการสนับสนุนอัตลักษณ์ความเป็นไทย มุ่งสู่การเป็น Soft Power โดยระบุว่า ขึ้นชื่อว่า ‘อาหารไทย’ ไม่ว่าจะเป็นประเภท ต้ม ผัด แกง ทอด ล้วนได้รับการยอมรับจากทั่วโลก อย่าง ‘ต้มยำกุ้ง’ ที่เมื่อเอ่ยขึ้นมา ชาวต่างชาติจะรู้ได้ทันทีว่าเป็น อาหารไทย นั่นแสดงให้เห็นว่า อาหารไทยนี่แหละ คือ Soft Power ที่สะท้อนความเป็นไทยได้อย่างแท้จริง

ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5F ที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้วางรากฐานไว้ ไม่ว่าจะเป็น F-Food อาหาร, F-Film ภาพยนตร์และวีดิทัศน์, F-Fashion การออกแบบแฟชั่นไทย, F-Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย และ F-Festival เทศกาลประเพณีไทย ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีศิลปวัฒนธรรมและอาหารที่คนต่างชาติหรือแม้แต่คนไทยเราด้วยกันเองยังไม่รู้จัก หรือยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสอีกมาก

นายชัยวุฒิ ได้กล่าวถึงการสนับสนุนอาหารท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์เหมาะที่สนับสนุนให้เป็นสินค้าให้ท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์ โดยยกตัวอย่างของใกล้ตัวในฐานะคนสิงห์บุรี นั่นก็คือ ‘ปลาช่อนแม่ลา’ ซึ่งเป็นปลาที่ถือกำเนิดในลำน้ำแม่ลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตพื้นที่ จ.สิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่ว่ากันว่าเป็นปลาช่อนที่รสชาติดีกว่าปลาช่อนที่ไหน ๆ แม้แต่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ยังทรงตรัสเมื่อครั้งเสด็จประพาสต้น พักแรมที่เมืองอินทร์ และได้เสวยปลาช่อนแม่ลาว่า “ปลาของลำแม่ลามีรสชาติดีกว่าที่อื่น”

นั่นคือ ตำนานความอร่อยของปลาช่อนแม่ลา ที่ได้รับการยอมรับและสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ และที่สำคัญปลาช่อนแม่ลา ที่มีลักษณะเด่นลำตัวอ้วนกลม หัวหลิม และครีบหูสีชมพู ยังได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ตั้งแต่ปี 2560 อีกด้วย

แต่อย่างที่เราทราบกันดีว่า จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งการทำประตูเปิด-ปิดทำให้ลำน้ำตื้นเขิน หรือหากเป็นในช่วงฤดูน้ำหลาก ก็จะเกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้ปลาในธรรมชาติเริ่มลดน้อยลงทุกที จนทางกรมประมงได้เริ่มทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลาช่อนแม่ลาขึ้นมา ส่วนหนึ่งเป็นการอนุรักษ์ไม่ให้ปลาสูญพันธุ์ และอีกส่วนคือการคัดพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพและสามารถสร้างมูลค่าให้กับตัวสินค้าได้ โดยเฉพาะหากต้องการส่งออกสินค้าไปขายในต่างประเทศ

“ผมเชื่อว่า คนไทยส่วนใหญ่รู้จักปลาช่อนแม่ลากันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะมีการแปรรูป และส่งเสริมเป็นสินค้าของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรีมานาน แต่ในต่างประเทศเราอาจจะต้องโปรโมตและสนับสนุนในการทำตลาด เพื่อให้ชาวต่างชาติได้รู้จักกันมากขึ้น มีของดีเราต้องบอกต่อครับ เพื่อพี่น้องในชุมชนจะได้มีอาชีพและสร้างรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้นครับ”

‘ยิปซี คีรติ’ ควงคู่ ‘นิโคลัส ฮอว์’ เข้าสู่ประตูวิวาห์ บรรยากาศอบอุ่น เต็มไปด้วยรอยยิ้มของครอบครัว

นับเป็นวันที่น่ายินดีสุดๆ สำหรับสาว ‘ยิปซี คีรติ’ ที่ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 66 ได้ควงคู่แฟนหนุ่มชาวต่างชาติ ‘นิโคลัส ฮอว์’ เข้าสู่ประตูวิวาห์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังคบหาดูใจกันมานานกว่า 4 ปี โดยมีครอบครัวของทั้งคู่ และคนสนิท มาร่วมเป็นสักขีพยาน

โดยบรรยากาศงานแต่งของ ‘ยิปซี’ และ ‘นิโคลัส’ เป็นไปอย่างเรียบง่าย อบอุ่น อบอวลไปด้วยความสุขและรอยยิ้มจากทั้งคู่บ่าว-สาว และแขกที่มาร่วมงาน ขณะที่น้องสาวอย่าง ‘ยิปโซ อริย์กันตา’ ก็โพสต์ IG Story ภาพบรรยากาศในงาน พร้อมกับรอยยิ้มแห่งความสุขของคุณพ่อและคุณแม่

23 กันยายน พ.ศ. 2445 ‘ธนบัตร’ ออกใช้เป็นครั้งแรกในสยาม มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของรัฐบาล

วันนี้ เมื่อ 121 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปิดรับแลกเปลี่ยนธนบัตรแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการ นับเป็นการนำ ‘ธนบัตร’ ออกใช้เป็นครั้งแรกในสยาม

แรกเริ่มก่อนที่จะมีการใช้ธนบัตรนั้น ไทยได้มีการออกใช้เงินกระดาษมาก่อนแล้ว เนื่องจากมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้ากับชาติตะวันตกทำให้ความต้องการเงินตราภายในสยามเกินกำลังการผลิต เกิดความขาดแคลนเงินที่ผลิตจากโลหะจึงมีการออกเงินกระดาษ เรียกว่า หมาย ในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อใช้ร่วมกันกับเหรียญโลหะแต่ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้เนื่องจากคนทั่วไปยังคุ้นเคยกับการใช้เงินโลหะอยู่ ต่อมาเมื่อมีธนาคารพาณิชย์จากต่างประเทศ คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์ และธนาคารแห่งอินโดจีนได้ขออนุญาตนำบัตรธนาคารออกใช้เป็นตั๋วสัญญาในการชำระหนี้ในวงแคบระหว่างธนาคารและลูกค้าในช่วง พ.ศ. 2432 - 2445 โดยมีการเรียกบัตรธนาคารทับศัพท์ว่า แบงก์โน้ตหรือแบงก์ ซึ่งสร้างความเคยชินและเรียกธนบัตรของรัฐบาลที่ออกใช้ในภายหลังจนติดปากถึงทุกวันนี้ว่า แบงก์

จนกระทั่ง พ.ศ. 2445 จึงเข้าสู่วาระสำคัญในการออกธนบัตร กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก 121 ขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2445 อีกทั้งโปรดให้จัดตั้ง กรมธนบัตร ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อทำหน้าที่ออกธนบัตรและรับจ่ายเงินขึ้นธนบัตร และเปิดให้ประชาชนนำเงินตราโลหะมาแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2445 จึงนับว่าธนบัตรได้เข้ามามีบทบาทในระบบการเงินของไทยอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา

ธนบัตรที่นำออกใช้ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก 121 นั้น มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของรัฐบาลที่สัญญาจะจ่ายเงินตราให้แก่ผู้นำธนบัตรมายื่นโดยทันที ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช 2471 ซึ่งกำหนดให้เงินตราของประเทศประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ ตลอดจนให้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการเปลี่ยนลักษณะของธนบัตรจากตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นเงินตราอย่างสมบูรณ์

24 กันยายน วันมหิดล น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน

24 กันยายน วันมหิดล ‘พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย’ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์)

‘สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก’ ทรงพระราชสมภพวันที่ 1 มกราคม (ตามปฏิทินเก่าคือ ปี พ.ศ. 2434 แต่ตามปฏิทินใหม่คือ ปี พ.ศ. 2435) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระเชษฐา และพระเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา 7 พระองค์

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นพระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

พระองค์มีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทย ประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า ‘กรมหลวงสงขลานครินทร์’ หรือ ‘พระราชบิดา’ และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า ‘เจ้าฟ้าทหารเรือ’ และ ‘พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย’ ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า ‘เจ้าฟ้ามหิดล’

หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระองค์ทรงพระประชวร ต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. เมื่อพระชนมายุ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน

ด้วยความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ผู้ที่เคยได้รับพระกรุณาในด้านต่าง ๆ จากพระองค์ จึงได้รวบรวมเงินจัดสร้างพระรูปประดิษฐานไว้ ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง มี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุม

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493 และ ในวันที่ 24 กันยายนปีเดียวกัน นักศึกษาแพทย์ได้ริเริ่มจัดงานขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ โดยมีพิธีวางพวงมาลา ถวายบังคมพระรูป อ่านคำสดุดีพระเกียรติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประกาศให้วัน ที่ 24 กันยายน ของทุกปีเป็น ‘วันมหิดล’ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในฐานะพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย

25 กันยายน พ.ศ. 2541 วันสถาปนา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง น้อมระลึกถึงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาลตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2541 ภายหลังการเรียกร้องของชาวจังหวัดเชียงรายที่ต้องการมีมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น และเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงใช้พระราชสมัญญา ‘แม่ฟ้าหลวง’ เป็นชื่อมหาวิทยาลัย

หลังจากที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสู่สวรรคาลัย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ประชาชนชาวเชียงรายร่วมกับหน่วยราชการในจังหวัดเชียงรายเห็นพ้องต้องกันว่า โดยที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลต่ออาณาประชาราษฎร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนชาวเชียงรายที่ได้ทรงเลือกจังหวัดเชียงรายเป็นสถานที่สร้างพระตำหนัก หรือบ้านหลังแรกของพระองค์ และทรงริเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุง ซึ่งได้นำความเจริญรุ่งเรือง มายังจังหวัดและประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง

ฉะนั้น เพื่อแสดงความจงรักภักดีตลอดจนเพื่อสนองพระราชปณิธานของพระองค์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาคน จึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงรายต่อรัฐบาลที่มีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรีการดำเนินการเพื่อการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงราย ได้มีความคืบหน้าเป็นลำดับ รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2539 ให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่จังหวัดเชียงราย โดยอาจยกฐานะสถาบันราชภัฏเชียงรายขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยก็ได้

ต่อมารัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีมติใหม่ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ในจังหวัดเชียงราย และได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2541 ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับงบประมาณในการดำเนินการเพื่อการเตรียมการจัดตั้ง ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 และงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างมหาวิทยาลัยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 2,325 ล้านบาท การก่อสร้างตามโครงการระยะแรกเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 5 ปี บนพื้นที่ 4,997 ไร่ ณ บริเวณดอยแง่ม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

26 กันยายน พ.ศ. 2430 ไทย-ญี่ปุ่น ลงนามปฏิญญาทางพระราชไมตรี ปฐมบทสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ

วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2430 หรือ เมื่อ136 ปีที่แล้ว ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นได้ลงนามในปฏิญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ระหว่างญี่ปุ่นและไทย เริ่มความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ

ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย มีประวัติยาวนานหลายร้อยปี แต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการโดยการลงนามในปฏิญญาทางไมตรี และการพาณิชย์ เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2430

ที่ผ่านมาไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและราบรื่น ความร่วมมือของทั้งสองประเทศครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ ไทยได้มุ่งกระชับความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับญี่ปุ่นให้พัฒนาไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ (strategic and economic partnership)

การเยือนสำคัญในระดับพระราชวงศ์ ที่สำคัญ คือในช่วงต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ เพื่อทรงเจริญสัมพันธไมตรี พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และหนึ่งในประเทศที่พระองค์เลือกเสด็จพระราชดำเนินเยือน คือ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2506

ในครั้งนั้น พระองค์ทรงเสด็จเยือนกรุงโตเกียว เมืองนาโงยา จังหวัดเกียวโต และนารา และฝ่ายญี่ปุ่นได้ถวายการต้อนรับ ด้วยการนำเสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงงานผลิตกล้องถ่ายรูป และวิทยุ เพื่อทอดพระเนตรเทคโนโลยีการผลิตของญี่ปุ่น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าฝ่ายญี่ปุ่นทราบถึงความสนพระราชหฤทัยของพระองค์เป็นอย่างดี

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนญี่ปุ่นในครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพระราชไมตรีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ซึ่งในขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ

เพื่อทรงตอบแทนพระราชไมตรี มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ พร้อมด้วยเจ้าหญิงมิชิโกะ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2507 ในครั้งนั้นมีเหตุการณ์อันเป็นที่ระลึกแห่งพระราชไมตรี และพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และนับเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

ขณะที่ความสัมพันธ์ระดับประชาชนของทั้งสองประเทศก็มีความใกล้ชิดแนบแน่น ปัจจุบัน มีชาวไทยที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น ประมาณ 50,000 คน ในขณะที่มีชาวญี่ปุ่นที่พำนักอยู่ในประเทศไทยประมาณ 40,000 คน

‘เอิ้ก ชาลิสา’ ลั่น!! “ฉันหิว ฉันก็ต้องกิน”

“หยุดได้ค่ะ แต่ไม่หยุด ท้องใครท้องมัน ปากใครปากมัน ฉันหิวฉันก็ต้องกิน…”

'เอิ้ก ชาลิสา' ยูทูบเบอร์ และเจ้าของเพลง เลือดกรุ๊ปบี ได้กล่าวเอาไว้

‘แพรรี่’ ประกาศลาจอสิ้นปีนี้ หลังอยู่หน้ากล้องมากว่า 1 ปี ยืนยัน!! ไม่มีใครไล่ แค่อยากไปทำตามความฝันของตัวเอง

(23 ก.ย.66) ทำเอาแฟนคลับและผู้ติดตามใจหายไปตามๆ ความคืบหน้าล่าสุด ‘แพรรี่ ไพรวัลย์ วรรณบุตร’ ครีเอเตอร์ พิธีกร และนักแสดงชาวไทย โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ไพรวัลย์ วรรณบุตร ประกาศอำลาวงการบันเทิง หลังจากทำงานหน้าจอมากว่า 1 ปีเต็ม

แพรรี่ ไพรวัลย์ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า หลังปลายปี 2566 อาจไม่ได้เห็นตนทำงานอยู่หน้ากล้องอีก ขอบคุณแสงสีเสียงและผู้ใหญ่ใจดีที่เมตตา มองเห็นในความสามารถของตน ที่ตัดสินใจอำลาวงการบันเทิง บอกลาบทบาทฐานะนักแสดงและพิธีกร ไม่ใช่เพราะมีใครมาไล่ แต่เป็นเพราะอยากไปทำคาเฟ่ร้านอาหารตามที่เคยคิดไว้เมื่อสึกใหม่ ๆ พร้อมขอบคุณแฟนคลับที่ติดตามและคอยให้กำลังใจมาเสมอ

“ทำงานหน้ากล้องมากว่า 1 ปีเต็ม ตอนนี้ใกล้ถึงเวลาแล้วนะคะ ที่ดิฉันจะอำลาหน้าที่การงานที่ได้ทำอยู่ตอนนี้ ขอบคุณแสงสีที่สาดส่องเข้ามาตลอดระยะเวลาของการทำงานอยู่ในวงการบันเทิง (คงจะพูดได้แหล่ะ)

ขอบคุณโอกาสและความเมตตาเอ็นดูจากผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่าน ซึ่งมองเห็นศักยภาพและความสามารถอันเล็กน้อยที่มีอยู่ในตัวของดิฉันนะคะ ถ้าไม่มีท่านเหล่านี้ ต่อให้ดิฉันจะอยากได้แสดงความสามารถแค่ไหน ก็คงไม่มีเวทีให้ได้แสดง

มีดวงเรืองก็ต้องมีดาวโรยอันนี้มันเป็นของคู่กันนะคะ ตอนนี้ดูเหมือนว่าดิฉันอยากจะรับบทเป็นดาวโรยแล้วหล่ะ ดิฉันคิดว่า ถึงเวลาที่ดิฉันควรจะหยิบหิ้วกระเป๋าสัมภาระและเก็บของนั่งรถกลับบ้านนาที่จากมาได้แล้ว

ต้องบอกนะคะว่า การที่ดิฉันได้มาอยู่ตรงจุดนี้ จุดที่ตัวเองกำลังยืนอยู่ มันเป็นเรื่องที่เกินฝันมาก ๆ และถึงตอนนี้ก็ไม่มีความทะเยอทะยานอะไรที่ดิฉันอยากจะได้รับมากไปกว่านี้แล้วค่ะ

คงต้องขออนุญาตขอบคุณและบอกลากันตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่า หลังปลายปีนี้ คงจะไม่ได้เห็นดิฉันในบทบาทฐานะของนักแสดงและพิธีกรตามรายการต่าง ๆ อย่างที่เคยเห็นมาแล้วนะคะ และก็ไม่ใช่เป็นเพราะว่ามีใครที่ไหนมาขับไล่ไส่ส่งดิฉันให้ไปจากจุดนี้ ไม่มีค่ะ

ทุกเรื่องเป็นเพราะดิฉันได้ตัดสินใจด้วยตัวเองแล้วว่าดิฉันต้องการให้ชีวิตของตัวเองดำเนินต่อไปแบบไหน ด้วยหน้าที่การงานอย่างไร เมื่อตัดสินใจแล้วก็ต้องเลือกและแลกค่ะ

ปีหน้าหลังหมดงานในวงการ คงมีหลายเรื่องที่ดิฉันอยากทำและได้ทำเพื่อตัวเองอย่างจริง ๆ จัง ๆ ทั้งการปลูกผมที่คิดไว้นานแล้ว การได้อยู่ดูแลแม่ด้วยตัวเอง ซึ่งระยะหลังนี้ แม่ก็พูดเปรย ๆ ว่ารู้สึกมีความสุขและมีกำลังใจมากขึ้นเวลาที่เราอยู่บ้านด้วย อีกเรื่องก็การทำคาเฟ่ร้านอาหาร นี่ก็เป็นความฝันที่เคยสัญญากับตัวเองไว้ตอนสึกใหม่ ๆ ว่าอยากทำ คงถึงเวลาที่ต้องทำตามสัญญาแล้วหล่ะ

ขอบคุณทุกคนที่คอยติดตามและให้กำลังใจกับดิฉันมาโดยตลอดนะคะ ขอบคุณที่รักและเอ็นดูความเป็นแพรรี่ในตัวของดิฉัน ขอบคุณที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บทบาทของการทำงานในวงการบันเทิงของดิฉันประสบความสำเร็จในแบบที่ดิฉันพอใจ ขอบคุณค่ะ”

หลังจากแพรรี่โพสต์อำลาวงการบันเทิง แฟนคลับต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งบอกว่า เคารพทุกการตัดสินใจของแพรรี่ และร่วมยินดีกับเส้นทางที่เลือกเดิน รวมถึงบางส่วนบอกว่าจะสนับสนุนแพรรี่ต่อไป หากคาเฟ่ร้านอาหารเปิดเมื่อไรจะเดินทางไปอุดหนุน

แม้เส้นทางในวงการบันเทิงจะสิ้นสุดลง แต่แฟน ๆ ยังสามารถติดตามคุณแพรรี่ ไพรวัลย์ และสนับสนุนเส้นทางที่คุณแพรรี่เลือกต่อไปได้ ไม่ว่าจะเลือกเส้นทางไหนก็ขอให้ประสบความสำเร็จสมความตั้งใจทุกประการนะคะ

‘เบิร์ด ธงไชย’ เผย ‘เคล็ดลับหน้าเด็ก’ แนะ!! ‘น้ำมะนาว-ออกกำลังกาย’ ช่วยได้

เมื่อไม่นานมานี้ เบิร์ด ธงไชย นักร้องรุ่นใหญ่ขวัญใจประชาชน และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2565 ได้เปิดเผยถึง ‘เคล็ดลับหน้าเด็กโกงอายุ’ ว่าตนนั้นมีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง ให้หน้ายังดูเด็กจนถึงทุกวันนี้ โดยระบุว่า…

“เคล็ดลับหน้าเด็ก คือ กินน้ำมะนาว แล้วออกกำลังกายให้เหงื่อออกเยอะ ๆ เพราะถ้าออกเยอะ ๆ หน้าก็จะคลายสารพิษออกมา โดยเฉพาะ PM 2.5 ตอนพี่อยู่เมืองนอกไม่เคยหยอดตาเลยนะ แต่พอพี่อยู่เมืองไทยกลับรู้สึกว่าตามันคัน เพราะฉะนั้นพวกเราต้องดูแลตัวเองให้ดีที่สุด กินน้ำเยอะ ๆ ฉี่ออกมาเยอะ ๆ น้ำมะนาวช่วยได้หมด อย่างข้างนอกเราสามารถฟอกสบู่ได้ ส่วนข้างในเราก็ให้น้ำมะนาวมันล้าง…”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top