Thursday, 18 April 2024
Lite

‘ป๋าเทพ’ ตลกอาวุโสชื่อดัง ลั่น!! ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลชุดใหม่จะมาแตะต้อง ม.112

เมื่อไม่นานมานี้ นายสุเทพ โพธิ์งาม นักแสดงตลกชาวไทย กล่าวถึงเรื่องการเมืองในขณะนี้ว่า ตนเองเป็นไทยคนหนึ่งไม่อยากให้เกิดเรื่องเกิดราวขึ้นมาหากรัฐบาลใหม่จะไปแก้ ม.112 บางทีเราฟังแล้วเป็นห่วง ทั้งที่ท่านไม่ได้มายุ่งมาเกี่ยวอะไรกับพวกเรา หากว่าปล่อยไป ใครทำอะไรขึ้นมา เช่น อยู่ๆ ก็ไปเผารูปบ้าง เวลาท่านเสด็จไปไหนก็ไปขวางรถ ไปสร้างความรำคาญให้ท่านบ้าง แล้วเอาผิดอะไรไม่ได้ กฎหมายมฝมีทั้งนั้นท่านเป็นประมุขนะ คนธรรมดายังมีกฎหมายคุ้มครองเลย ม.112 นั้น หากมีใครไปยุ่งกับท่านมันถึงจะผิด ถ้าเราไม่ยุ่ง มันก็ไม่ผิดอะไร เราต้องมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อยู่แล้ว ประเทศอื่นที่เขามีประธานาธิบดีมีปัญหา มีการล้มล้าง มีการฆ่ากัน บ้านเราไม่ค่อยมีอะไร เพราะมีระบบกษัตริย์ ซึ่งเป็นระบบที่ไว้วางใจได้

“เป็นห่วงแค่นี้แหละ เรื่องอื่นจะทำอะไรก็ทำไป เรื่องนี้ไม่ควรไปยุ่ง เราเป็นห่วงบ้านเมือง ไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้น ถ้าเรารักคนที่เขาไม่ชอบ เขาก็จะด่า เสียผู้เสียคน แค่ความคิดไม่ตรงกันเท่านั้น เหมือนโกรธกันมา 10 ชาติ อยากให้เขาดูด้วยว่าป๋าพูดเรื่องอะไร เพื่ออะไร เพื่อบ้านเมืองเท่านั้น ถ้าหากไม่มีกฎหมายก็ทำกันตามอำเภอใจเท่านั้น มันไม่ถูกต้อง ม.112 ไม่อยากให้ไปยุ่ง ประเทศเรา เราก็รักประเทศของเรา รักพระมหากษัตริย์ของเรา ไม่อยากให้ใครมายุ่ง มีคนมาด่าตนว่าแก่แก่กะโหลกกะลา ก็เฉพาะเรื่องนี้ ขอร้องเถอะครับ” ป๋าเทพ กล่าวทิ้งท้าย

31 พฤษภาคม ของทุกปี องค์การอนามัยโลก ยกให้เป็น ‘วันงดสูบบุหรี่โลก’ หลังเล็งเห็นอันตรายจากพิษของบุหรี่ที่กระทบต่อสุขภาพ

ตั้งแต่ปี 2531 องค์กรอนามัยโลก ได้กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศ ตระหนักถึงอันตราย และความสูญเสียทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการสูบบุหรี่ โดยได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดยใช้ชื่อว่า World Spidemic หรือการสูบบุหรี่เป็นโรคระบาดยู่ทั่วโลก 

ดังนั้นรัฐบาลไทย ได้ตระหนักถึงความสูญเสียในชีวิตของประชากร ที่เกิดจากการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี ให้รับทราบถึงอันตราย โทษของการสูบบุหรี่ซึ่งก็เป็นที่รู้กัน แต่จะให้เลิกสูบเลย เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้ที่ติดบุหรี่แล้ว

จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ และกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลนำมาใช้ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุขผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูบบุหรี่ พยายามเลิกสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเลิกได้สำเร็จหรือไม่ก็ตาม ดังเช่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุขประกาศบังคับใช้ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ให้มีการพิมพ์คำเตือนโทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซอง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา

1 มิถุนายน พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศใช้ ประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย

กฎหมายของไทยในสมัยอดีตในยุคก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ได้มีการใช้พระราชศาสตร์ มาเป็นแนวทางในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระเจ้าแผ่นดินสร้างขึ้นจากการพิจารณา และคำตัดสินในเหตุการณ์ต่าง ๆ และก็ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินตราขึ้นใช้บังคับ ตัวอย่างเช่น กฎหมายลักษณะแพ่ง กฎหมายลักษณะอาญาหลวง กฎหมายลักษณะผัวเมีย ลักษณะโจร เป็นต้น

พอมาสมัยรัตนโกสินทร์ในตอนต้น ในช่วงรัชกาลที่ 1- 4 ประเทศไทยมีกฎหมายตราสามดวงบังคับใช้ ต่อมามีชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้กฎหมายของไทยก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเริ่มมีการปรับปรุงกฎหมายให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับหลักความยุติธรรม

ต่อมาเมื่อ กรมหลวงราชบุรีทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ก็ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้นที่กระทรวงยุติธรรม โดยทรงสอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง และได้เขียนตำรากฎหมายขึ้นตามที่เป็นอยู่ในแบบกฎหมายของประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาและการละเมิดนั้นได้เอาหลักเกณฑ์แห่งกฎหมายอังกฤษมาสอน และผู้พิพากษาศาลไทยก็นำเอากฎหมายอังกฤษตามใช้ที่สอนในตำรามาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี 

การร่างกฎหมายใหม่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายใหม่นี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2450 โดยมีนักกฎหมายชั้นนำของไทยและของต่างประเทศ ได้เลือกร่างกฎหมายลักษณะอาญาก่อนกฎหมายฉบับอื่น โดยร่างเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วจึงค่อยแปลเป็นภาษาไทย เสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2450

จากนั้นก็พิมพ์เป็น 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส เมื่อเสร็จแล้วคณะกรรมการก็นำขึ้นทูลเกล้าถวาย และได้ทรงประกาศใช้เป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2451 และเรียกประมวลกฎหมายฉบับแรกนี้ว่า ‘กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127’

ว่ากันว่าประมวลกฎหมายฉบับแรกนี้เป็นกฎหมายที่ทันสมัยมากในสมัยนั้น เพราะได้นำเอาหลักกฎหมายอาญาอันเป็นที่นิยมกันในประเทศต่าง ๆ มาพิจารณาดัดแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคมไทยขณะนั้น และเพื่อเป็นการยกระดับประเทศขึ้นสู่ระดับอารยประเทศ

กฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นประมวลกฎหมายที่แท้จริงฉบับแรกของไทย มีทั้งสิ้นรวม 340 มาตรา 
และได้ใช้บังคับมาจนถึง พ.ศ. 2486  จึงได้มีการปรับปรุงใหม่ ฉบับใหม่เรียกว่า ‘กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. 2486’ และได้ใช้ต่อมาจนถึง พ.ศ. 2499 จึงได้มีการปรับปรุงใหม่อีกครั้งคือประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา

2 มิถุนายน ของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันส้มตำสากล’ (International Somtum Day) การันตีความจากอร่อยนานาชาติ พร้อมยกย่องให้เป็นอาหารสากล

ส้มตำไทย อร่อยไม่แพ้ชาติใดในโลกจริงๆ อร่อยจนนานาชาติยกย่องให้เป็นอาหารสากล และให้วันที่ 2 มิถุนายน กำหนดเป็นวันส้มตำสากล หรือ International Somtum Day ด้วย

“ส้มตำ” เป็นอาหารปรุงมาจากการทำตำส้ม คือการทำให้เปรี้ยว ในลาวเรียกว่า “ตำหมากหุ่ง” โดยนำมะละกอดิบที่สับแล้วฝานหรือขูดเป็นเส้นมาตำในครกเป็นหลัก พร้อมด้วยวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น มะเขือเทศลูกเล็ก,มะเขือสีดา,มะเขือเปราะ,พริกสดหรือพริกแห้ง,ถั่วฝักยาวมกระเทียม และปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา และมะนาว

โดยส่วนผสมและเครื่องปรุงต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ส้มตำมีรสเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว โดยในภาคอีสานนิยมส้มตำรสเผ็ดเค็ม ส่วนไทยภาคกลางนิยมรสเปรี้ยวหวาน ซึ่งนิยมรับประทานกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยในบางครั้งรับประทานกับขนมจีน เส้นเล็กลวก เส้นหมี่ และแคบหมู 

นอกจากนี้ ร้านส้มตำส่วนใหญ่มักขายอาหารอีสานอื่นด้วย เช่น ซุบหน่อไม้ อ่อม ลาบ ก้อย แจ่ว ปลาแดกบอง น้ำตก ซกเล็ก ตับหวาน ไก่ย่าง คอหมูย่าง พวงนม กุ้งเต้น (ก้อยกุ้ง) ข้าวเหนียว

3 มิถุนายน 2565 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2543

หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ในช่วงเวลานั้นพระองค์ทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท แจลเวย์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546 และทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551 ทรงใช้ชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป

ต่อมาทรงเข้ารับราชการทหารในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุด เป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ) ทั้งยังทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์

ย้อนกลับไปในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ (ในเวลานั้นคือพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์) ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้ตามเสด็จในพิธีสังเวยพระป้ายในเทศกาลตรุษจีน ณ พระที่นั่งอัมพรสถานฯ และปรากฏตัวอีกครั้งในวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ในปีเดียวกัน

ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทางกองพระราชพิธี สำนักพระราชวังได้เผยแพร่รายงานการเสด็จพระราชดำเนินที่พระองค์ได้ตามเสด็จพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติไปทอดพระเนตรพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเพิ่มเติมเป็น วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (มีหมายกำหนดการระบุชื่อสกุลดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน)

วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะที่ยังทรงเป็นสยามมกุฎราชกุมาร พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พระองค์ทรงนำทำการแสดงทางทหารประกอบดนตรี “ราชวัลลภ เริงระบำ” (Hop to the Bodies Slams) ในงานวันราชวัลลภได้อย่างสง่างามและเข้มแข็ง ในฐานะผู้บังคับการกองผสม

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560 มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจตุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน) ให้แก่ พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา อีกทั้งได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเพิ่มเติมเป็น ท่านผู้หญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็น “สมเด็จพระราชินีสุทิดา” ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์

ต่อมาในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสุทิดาขึ้นเป็น “สมเด็จพระบรมราชินี” ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี”

4 มิถุนายน พ.ศ. 2490  วันสถาปนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 โดยสังกัดอยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 

การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจ อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา 

ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านไวรัสและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

วันสิ่งแวดล้อมโลก จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัว ในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

สำหรับจุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day นั้น จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮล์ม ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่มีรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ โดยเรียกการประชุมนี้ว่า “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” หรือ “UN Conference on the Human Environment” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่าง ๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP : United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้นไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือจากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก

โรงพยาบาลรามคำแหง ให้บริการผู้ดูแลส่วนตัว สะดวกสบาย ครอบคลุมทุกความต้องการ

โรงพยาบาลรามคำแหง มีบริการผู้ดูแลส่วนตัว สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ เมื่อต้องมาโรงพยาบาลคนเดียว

โดยจะคอยช่วยเหลือผู้มาใช้บริการตั้งแต่ ช่วยทำนัด จัดหารถรับส่ง เป็นเพื่อนซื้อกาแฟ หาผ้าห่มให้เผื่อหนาว พาไปพบหมอ รอรับยา จนเสร็จสิ้นภารกิจ ขึ้นรถกลับบ้าน
 

‘ดร.ธรณ์’ โพสต์ความประทับใจ กับ ‘ปลาฉลาม’ ย้ำ มีความสุขที่ได้ทำงานอนุรักษ์สัตว์น้ำ และท้องทะเลไทย

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ลงในเฟซบุ๊กถึงความประทับใจกับฝูงปลาฉลาม โดยมีใจความว่า ... 

หากทะเลดี เราจะมีอะไร ? คำตอบคือมีฉลามไงครับ ตั้งแต่เช้าถึงตอนนี้ นับได้ 20+ ตัว
ฉลามพวกนี้ว่ายมาที่ preserved coral patch พื้นที่อนุรักษ์ปะการังน้ำตื้นติดฝั่ง Crossroads Maldives ที่ผมขอให้ทำไว้ตั้งแต่เริ่มพัฒนาเกาะ

ปัจจุบันปะการังโตเอาๆ ขยายพื้นที่จาก 489 ตร.ม. (2016) กลายเป็น 5,013 ตร.ม. พวกเธอโตเร็วขนาดนั้น

จากนั้นฉลามก็มา… ฉลามตัวโตๆ มาจนติดชายฝั่ง ไม่นับลูกฉลามที่เห็นได้แทบทุกเวลาที่เดินไปริมหาด เช้าที่ผ่านมาจึงเป็นงานแสนสุข ตามดูฉลามทั้งทางอากาศและในทะเล เก็บสถิติบันทึกไว้ต่อเนื่อง รวมถึงงานวิจัยที่ไปอีกขั้น เช่น การพิสูจน์อัตลักษณ์ฉลาม
ฉลามคือราชาแห่งท้องทะเล และงานองครักษ์พิทักษ์ราชา คืองานที่ผมทำแล้วมีความสุขมากมายครับ

อันนา – มูนา พ่ายให้กับ คิม โซยอง - คอง ฮียอง จากเกาหลีใต้ ในรายการ TOYOTA GAZOO RACING Thailand Open 2023

รายการแบดมินตัน TOYOTA GAZOO RACING Thailand Open 2023 ประเภทหญิงคู่ รอบชิงชนะเลิศ  "อันนา" นันทน์กาญจน์ เอี่ยมสอาด กับ "มูนา" เบญญาภา เอี่ยมสอาด คู่มือวาง 6 ของรายการ คู่มืออันดับ 12 ของโลก พ่ายให้กับ คิม โซยอง กับ คอง ฮียอง คู่มือวาง 1 ของรายการ คู่มืออันดับ 7 ของโลกจากเกาหลีใต้ ไป 0-2 เกม 13-21,17-21 คิม โซยอง กับ คอง ฮียองคว้าแชมป์ ครองถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พร้อมรับเงินรางวัล 33,180 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,114,000 บาท
ส่วนรองแชมป์ นันทน์กาญจน์ กับ  เบญญาภา รับเงินรางวัล 15,960  เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 550,000 บาท

โดยได้รับเกียรติจาก คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ,รองประธานสหพันธ์แบดมินตันโลก , รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ นายกสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันมอบรางวัลให้กับนักกีฬา , คุณพิริยา ทองสุข ผู้จัดการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ พลอากาศเอก มณฑล สัชฌุกร อุปนายกสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top