Pengเตรียมเปิดตัว 'รถบินได้'
'Land Aircraft Carrier' มีรูปแบบเป็นรถตู้ไฟฟ้าที่มีเครื่องบินแบบพับเก็บได้ติดตั้งอยู่ด้านหลังรถ หากต้องการใช้งานสามารถปล่อยขึ้นบินขึ้นได้ทันที เริ่มใช้จริงในจีนก่อน และมีแผนขยายสู่ต่างประเทศในอนาคต

'Land Aircraft Carrier' มีรูปแบบเป็นรถตู้ไฟฟ้าที่มีเครื่องบินแบบพับเก็บได้ติดตั้งอยู่ด้านหลังรถ หากต้องการใช้งานสามารถปล่อยขึ้นบินขึ้นได้ทันที เริ่มใช้จริงในจีนก่อน และมีแผนขยายสู่ต่างประเทศในอนาคต
วันนี้ เมื่อ 151 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดแรกของไทยขึ้นบริหารประเทศ เรียกการบริหารงานของรัฐมนตรีชุดนี้ว่า สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งสภาขึ้น 2 สภา คือ 1. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) (รัฐมนตรีสภา) มีสมาชิกจำนวน 12 คน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 ทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ-ออกกฎหมาย
2. สภาที่ปฤกษาในพระองค์ (ที่ปรึกษาในพระองค์) หรือ ปรีวีเคาน์ซิล (Privy Council) มีสมาชิกจำนวน 49 คน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2417 สมาชิกส่วนใหญ่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและดูแลบ้านเมือง-ราษฎรต่างพระเนตรพระกรรณ
ถือเป็นต้นกำเนิดของคณะบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงไว้วางพระราชหฤทัยและเป็นที่ปรึกษาพระเจ้าแผ่นดิน
สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ประกอบไปด้วย สมาชิกผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาจำนวน 12 คน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาและความคิดเห็นต่าง ๆ ในด้านนิติบัญญัติ และเมื่อข้อราชการใดที่ประชุมสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินมีมติเห็นชอบ ก็ให้ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป
ทั้งนี้ผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง ต้องทำพิธีสัตยานุสัตย์ สาบานต่อหน้าพระพักตร์และถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เพื่อให้มีความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่จนเต็มกำลังความสามารถโดยไม่ลำเอียง ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง และรักษาความลับ เพื่อให้การปฏิรูปการเมืองการปกครองบรรลุตามวัตถุประสงค์
การประชุมของสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน จะต้องมีสมาชิกมาประชุมร่วมกันตั้งแต่ 7 นายขึ้นไป จึงจะนับว่าครบองค์ประชุม ผลการประชุมทุกครั้งต้องกราบทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ เมื่อทรงเห็นชอบด้วย ผลของการประชุมหรือมติของสภาจึงจะมีผลบังคับใช้ต่อไป
ผ่านมาถึงวันนี้ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ถือเป็นก้าวแรกของการปฏิรูปการเมืองการปกครองของประเทศไทย เปรียบเสมือน ‘คณะรัฐมนตรี’ ที่ดำเนินการด้านกฎหมาย และให้คำปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดิน อันเป็นพื้นฐานการปกครองสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเปิดอาคารโรงกลั่นแอลกอฮอล์ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เพื่อค้นคว้าน้ำมันเชื้อเพลิงและเริ่มผลิตเอทานอลจากอ้อย ตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับพลังงานทดแทนด้วยน้ำมันแก๊สโซฮอล์
สำหรับการศึกษาวิจัยภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเริ่มตั้งแต่การทดลอง ปลูกอ้อยหลายพันธุ์ เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดนำมาทำแอลกอฮอล์ นอกจากอ้อยที่ผลิตได้ภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาแล้วยังออกไปรับซื้อ อ้อยจากเกษตรกรเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบอีกด้วย
โรงงานแอลกอฮอล์ซึ่งมีทั้งเครื่องหีบอ้อย ถังหมัก หอกลั่นขนาดเล็ก เริ่มเดินเครื่องการผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ.2529 สามารถผลิตแอลกอฮอล์ 91 เปอร์เซ็นต์ได้ในอัตรา 2.8 ลิตรต่อชั่วโมง
ต่อมาเนื่องจากวัตถุดิบมีไม่เพียงพอ จึงเปลี่ยนมาใช้กากน้ำตาล และมีการสร้างอาคารศึกษาวิจังหลังใหม่ภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
สำหรับแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้ในช่วงแรกยังไม่สามารถนำไปผสมกับเบนซินได้ จึงนำผลผลิตที่ได้ไปทำเป็นน้ำส้มสายชูต่อมาก็ทำเป็นแอลกอฮอล์แข็งใช้อุ่น อาหารให้กับทางห้องเครื่องของสวนจิตรลดา เนื่องจากเดิมใช้แอลกอฮอล์เหลว ครั้งหนึ่งเมื่อมีการขนส่งแอลกอฮอล์เหลวไปยังพระตำหนักในภาคเหนือ รถเกิดอุบัติเหตุทำให้ไฟไหม้รถทั้งคัน เพราะแอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี จึงได้มีการคิดนำแอลกอฮอล์มาทำเป็นเชื้อเพลิงแข็งเพื่อความปลอดภัยแทน
โรงงานแอลกอฮอล์มีการปรับปรุงการกลั่นเรื่อยมาต่อมาก็สามารถผลิต แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95 เปอร์เซ็นต์ หรือที่เรียกว่าเอทานอลได้เป็นผลสำเร็จ
วันนี้ เมื่อ 57 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร พระอารามหลวง ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
วัดพระธาตุเชิงชุมฯ ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญในจังหวัดสกลนคร เป็นพระอารามหลวงที่พระบรมวงศานุวงศ์ แทบทุกพระองค์เคยเสด็จฯ บำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อเสด็จฯมาทรงงานยังพื้นที่จังหวัดสกลนคร
โดยครั้งที่มีความสำคัญครั้งหนึ่ง คือเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ ในขณะทรงผนวชและดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายสักการะองค์พระธาตุเชิงชุมและหลวงพ่อพระองค์แสน ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2521
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้แทนพระองค์ในการต้อนรับ สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 (Pope John Paul II) ประมุขแห่งวาติกัน ซึ่งเสด็จเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรก ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบัญชาการกองทัพอากาศ ดอนเมือง
โดยในระหว่างการเยือนไทยนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาได้เสด็จไปเยี่ยมค่ายผู้อพยพที่พนัสนิคม และทรงรณรงค์เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพเหล่านั้น อีกทั้งยังทรงบริจาคเงินสดช่วยเหลือผู้ลี้ภัยอินโดจีน เป็นจำนวน 1 ล้านบาท
ขณะที่ภาพที่ยังคงตราตรึงในความทรงจำอย่างมิรู้ลืมเลือน ก็คือ การก้มลงจูบผืนแผ่นดินไทยขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์นปอลที่ 2 และภายหลังจากเยือนประเทศไทย พระองค์ยังได้เสด็จเยือนสาธารณรัฐเกาหลี ปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะโซโลมอน อีกด้วย
คอลใหม่จาก Gentlewoman สุดคิ้วท์ แมตลุคก็ง่าย ใส่ของได้เยอะ ราคาใบละ 1,790 น่ารักทั้งกระเป๋าและราคา
นำปากกายี่ห้อ M&G ด้ามที่หมึกหมด แสดงคู่กับบัตรนำมาเปลี่ยนปากการุ่นไหนก็ได้ในตู้โดม สามารถเปลี่ยนได้ 1 ด้าม ต่อวัน
เฉพาะ M&G Shop ที่ร่วมรายการทุกสาขาเท่านั้น
‘ท่านพุทธทาสภิกขุ’ คือหนึ่งในภิกษุที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยให้ความเคารพนับถือ แม้ปัจจุบันท่านจะละสังขารไปกว่า 30 ปี แต่ยังมีสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ นั่นคือ ‘สวนโมกขพลาราม’ วันนี้ถือเป็นวันครบรอบ 89 ปี ของการก่อตั้งสถานที่แห่งนี้
สวนโมกขพลาราม ถูกสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2475 แต่เดิม ณ สถานที่แรก สร้างขึ้นที่วัดร้างตระพังจิก อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในครั้งนั้น ท่านพุทธทาสภิกขุ พร้อมด้วยโยมน้องชาย และคณะธรรมทานอีก 4-5 คน ได้ออกเสาะหาสถานที่ที่มีความวิเวก และเหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
กระทั่งได้มาเจอกับวัดร้างแห่งนี้ บนเนื้อที่กว่า 60 ไร่ จึงได้จัดทำเพิงที่พักแบบเรียบง่าย พร้อมกับเข้าอยู่เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2475 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาในปีนั้นพอดี โดยที่มาของชื่อ ‘สวนโมกขพลาราม’ เนื่องมาจากบริเวณวัดดังกล่าวมีต้นโมก และต้นพลาขึ้นอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความหมายโดยนัยว่า ‘เป็นสวนป่าอันมีกำลังแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์’
ต่อมาในปี พ.ศ.2486 สวนโมกข์ได้ย้ายมาอยู่ที่ ‘วัดธารน้ำไหล’ บริเวณเขาพุทธทอง ริมทางหลวงหมายเลข 41 อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี โดยท่านพุทธทาสมีความปรารถนาให้สวนโมกข์เป็นสถานที่แสวงหาความสงบและศึกษาธรรม ภายในวัดจึงมีโรงมหรสพทางวิญญาณ ซึ่งเป็นอาคารที่รวบรวมภาพศิลปะ คำสอนในศาสนานิกายต่าง ๆ รวมทั้งมีภาพพุทธประวัติมากมาย
นอกจากนี้รอบบริเวณวัดยังเป็นสวนป่าร่มรื่น ที่เต็มไปด้วยปริศนาธรรม โดยปราศจากโบสถ์และศาลาอย่างวัดทั่วไป ต่อมาภายหลังจากท่านพุทธทาสมรณภาพในปี พ.ศ.2536 สวนโมกข์แห่งนี้ก็ยังคงมีพระภิกษุและพุทธศาสนิกชน เดินทางมาตักบาตร ฟังธรรม และปฏิบัติธรรมที่สวนโมกข์อยู่เรื่อยมา นับถึงวันนี้ ผ่านมาแล้วกว่า 93 ปี สถานที่แห่งนี้ก็ยังคงทำหน้าที่ช่วยฝึกจิต ชำระใจ และนำทางผู้คนให้ค้นพบกับความสงบ เหมือนดังเช่นที่เป็นมานับจากวันแรก