Sunday, 11 May 2025
Lite

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 รสช.ยึดอำนาจ รัฐบาลพลเอกชาติชาย ด้วยเหตุผลหลัก ‘ฉ้อราษฎร์บังหลวง’

เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ได้เกิดรัฐประหารขึ้นโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (National Peace Keeping Council-NPKC) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ  ร่วมด้วย พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศ เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ 

โดยคณะ รสช. ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจาก พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี โดยในแถลงการณ์ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่องคำชี้แจงเหตุผลการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลหลักที่เป็นเสมือนข้ออ้างในรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ไว้ 5 ประการ ได้แก่

นามสกุลแรกแห่งสยาม เจ้าพระยายมราช ปั้น ‘สุขุม’ เจ้าของนามสกุลหมายเลข ๐๐๐๑

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเหล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนนานาอารยประเทศ โดยให้มีการตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล โดยใช้แนวทางแบบตะวันตก ซึ่งพระองค์ได้ทรงประกาศขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ ๒๔๕๖ และมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยเรียกพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า ‘พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พระพุทธศักราช ๒๔๕๖’

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดและพระราชทานนามสกุลครั้งแรกที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ ๒๔๕๖ โดยโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลออกมา ๕ นามสกุล อันประกอบด้วย…

1) นามสกุลพระราชทาน หมายเลข ๐๐๐๑ ‘สุขุม’ 
2) นามสกุลพระราชทาน หมายเลข ๐๐๐๒ ‘มาลากุล’
3) นามสกุลพระราชทาน หมายเลข ๐๐๐๓ ‘พึ่งบุญ’
4) นามสกุลพระราชทาน หมายเลข ๐๐๐๔ ‘ณ มหาไชย’
5) นามสกุลพระราชทาน หมายเลข ๐๐๐๕ ‘ไกรฤกษ์’

ซึ่งผมจะเล่าถึงนามสกุลหมายเลข ๐๐๐๑ เนื่องเป็นนามสกุลพระราชทานนามสกุลแรก โดยในหลวงรัชกาลที่ ๖ พระราชทานให้แก่ ‘เจ้าพระยายมราช’ (ปั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น นามสกุล ‘สุขุม’ กำหนดเขียนเป็นอักษรโรมันว่า ‘Sukhum’ ทำไม ? ต้องเป็น ‘สุขุม’

ขอเล่าถึงประวัติของท่านผู้รับพระราชทาน ‘เจ้าพระยายมราช’ (ปั้น สุขุม) ท่านนี้กันสักหน่อยเพื่อให้ประจักษ์ถึงที่มาของนามสกุลพระราชทาน ว่ามีที่มา ที่ไป เป็นอย่างไร  เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๐๕ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน ๖ คน ของนายกลั่น และนางผึ้ง เมื่ออายุ ๖ ขวบ พ่อและแม่ของท่านได้ยกให้พระครูใบฎีกาอ่วม แห่งวัดหงส์รัตนาราม จังหวัดธนบุรี ซึ่งนับถือและสนิทกันมาก ขณะไปเทศน์ที่วัดประตูสาร คือเรียกว่า ‘ใส่กัณฑ์เทศน์ถวายพระ’ 

พระครูใบฎีกาอ่วมได้สอนให้เด็กชายปั้นเล่าเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาขอม ตามธรรมเนียมของการศึกษาในสมัยนั้น จนเมื่ออายุครบกำหนดก็ได้บวชเณรและบวชพระให้ตามลำดับ พระภิกษุปั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยและภาษาบาลีอย่างแตกฉาน โดยในปี ๒๔๒๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ โปรดให้ตั้งสนามหลวงสอบพระปริยัติธรรมขึ้นที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ปรากฏในการสอบ ๓ วันแรกในระดับ ‘มหา’ นั้น พระภิกษุ ‘ปั้น’ แห่งวัดหงส์รัตนาราม สอบได้เพียงรูปเดียวเท่านั้น นอกนั้นตกหมด ทำให้ชื่อเสียงของ ‘พระมหาปั้น’ เป็นที่เลื่องลือ จนได้มีโอกาสพบกับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในวัยไล่เลี่ยกันและสนพระทัยในการศาสนา จึงชอบไปมาหาสู่ สนทนากับพระมหาปั้นอยู่เนืองๆ  จนกระทั่งครั้งหนึ่งพระมหาปั้นได้ปรารภว่าอยากจะสึกออกมาดำเนินชีวิตทางโลก ขอให้พระองค์ช่วยหางานให้ทำด้วย 

กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ขณะนั้นทรงเป็นอาจารย์ของโรงเรียนพระตำหนักมหาดเล็กหลวง ในพระบรมมหาราชวัง จึงกราบทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอบรรจุ ‘มหาปั้น’ ซึ่งลาผนวชแล้ว เข้าเป็นครูในโรงเรียนพระตำหนักด้วย ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงรับเข้าเป็นครูภาษาไทย พร้อมกับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น ‘ขุนวิจิตรวรสาส์น’ สังกัดกรมพระอาลักษณ์ 

ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าหลวง จะทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ๔ พระองค์ ก็ทรงคำนึงว่าพระเจ้าลูกยาเธอยังทรงพระเยาว์เกรงจะลืมภาษาไทยเสียหมด จำจะต้องส่งอาจารย์ภาษาไทยไปถวายการสอนที่นั่นด้วย และตำแหน่งนี้คงไม่มีใครเหมาะเท่า ‘ขุนวิจิตรวรสาส์น’ ด้วยเหตุนี้ ท่านขุนจึงถูกส่งไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการสถานทูตสยามประจำกรุงลอนดอน โดยหน้าที่หลักคือพระอาจารย์ภาษาไทยของบรรดาพระเจ้าลูกยาเธอและเจ้าฟ้าทั้งหลาย

โดยส่วนตัวของท่าน ‘เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ชอบแสวงหาความรู้อยู่แล้ว จึงถือโอกาสนี้จ้างครูมาสอนภาษาอังกฤษให้ตนเอง จนสามารถทั้งพูด อ่าน เขียนได้ดี จากการทำงานที่มีคุณภาพเรียบร้อย ในปลายปี ๒๔๒๘ จึงได้รับ โปรดเกล้าฯ ให้ ‘ขุนวิจิตรวรสาส์น’ ขยับเป็น ‘หลวงวิจิตรวรสาส์น’ มีตำแหน่งเป็นเลขานุการสถานทูตสยามประจำกรุงลอนดอน

ในปี ๒๔๓๑ ระหว่างที่คุณหลวงวิจิตรฯ เดินทางมาราชการที่เมืองไทย ได้กราบทูล กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งทรงมีพระคุณแก่คุณหลวงมาตลอด ได้เป็นผู้ใหญ่ไปสู่ขอ ‘นางสาวตลับ’ บุตรสาวของ ‘หลวงวิเศษสาลี’ โดยกรมพระยาดำรง ฯ ท่านก็ขอร้องให้เจ้าจอมมารดาชุ่ม มารดาของท่าน ไปสู่ขอคู่ครองให้ ‘หลวงวิจิตรวรสาส์น’ จนได้แต่งงานเป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่ บ่าว-สาว จะกลับไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่ลอนดอน ตามหน้าที่ของคุณหลวง 

ในปี ๒๔๓๖ หลวงวิจิตรวรสาส์นได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น พระวิจิตรวรสาส์น ตำแหน่งอุปทูตประจำกรุงลอนดอน จนในปี ๒๔๓๗ คุณพระวิจิตรฯ และภรรยาได้เดินทางมาส่งพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิติบดี ซึ่งสำเร็จการศึกษา ที่ประเทศไทยและไม่ได้กลับไปทำหน้าที่ในกรุงลอนดอนอีก เพราะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่งเลขานุการเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการในกระทรวงมหาดไทยได้ไม่นาน ในปี ๒๔๓๙ พระวิจิตรวรสาส์น ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น ‘พระยาสุขุมนัยวินิต’ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งมีที่ว่าราชการอยู่ที่จังหวัดสงขลา

การลงไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนี้ นับว่าเป็นการมอบหน้าที่สำคัญยิ่งให้ เพราะการปกครองในขณะนั้น หัวเมืองภาคใต้และมลายู ยังอยู่ในแบบเมืองขึ้น มีเจ้าเมืองเป็นผู้สำเร็จราชการ มีหน้าที่ส่งส่วยอากรประจำปีมายังเมืองหลวง แต่การปกครองแบบใหม่ที่ท่านต้องดำเนินการคือการให้รวมหัวเมืองปักษ์ใต้ มี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปะลิส และหนองจิก มาเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช เปลี่ยนฐานะผู้สำเร็จราชการเมืองต่างๆ เหล่านั้น มาเป็นข้าหลวงประจำจังหวัด ที่สำคัญคือภาษีอากรที่เคยเก็บเลี้ยงตัวเอง ที่เรียกว่า ‘กินเมือง’ ต้องส่งให้รัฐบาลทั้งหมด โดยเจ้าเมืองจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนแบบนี้ ต้องทำให้เจ้าเมืองทั้งหลายขุ่นเคืองเป็นแน่ เพราะต้องสูญเสียผลประโยชน์ที่เคยได้ และอาจจะก่อให้การกระด้างกระเดื่องขึ้นได้ แต่ ‘พระยาสุขุมนัยวินิต’ สามารถใช้ความ ‘สุขุม’ วางกุศโลบายดำเนินงานได้อย่างเรียบร้อย ทำให้ไม่เกิดปัญหาขึ้นแต่อย่างใด

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาช และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา

ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งภายหลังเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสี หลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสร่วมกัน 3 พระองค์ พระองค์ใหญ่ซึ่งปรากฏพระนามภายหลังว่าเจ้าฟ้าราชกุมาร สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ รองลงมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์น้อย คือ  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 40 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ให้คงเสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม มิให้ขึ้นไปประทับ ณ พระราชวังบวรฯ ด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้กราบทูลไว้แต่เมื่อประชวรหนักว่าขอให้ลูกเธอได้อาศัยในพระราชวังบวรฯ ต่อไป ทั้งทรงพระราชดำริเห็นว่า พระองค์ก็ทรงพระชรามากอยู่แล้ว ไม่ช้านานเท่าใดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็จะได้เสวยราชสมบัติ การย้ายวัง ควรไว้ย้ายเมื่อเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังทีเดียว

ถึงปี พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

พ่อค้าประชาธิปไตย

เร่ค้าประชาธิปไตยไม่รู้จบ  กี่ล้านศพทบแผ่นดินสิ้นความฝัน
ยื่นมือแทรกให้แตกร้าวเข้าบีบคั้น  ใช้เชิงชั้นดันสงครามให้ลามรุก

ปักธงลงตรงไหน-ฉิบหายหมด  เลี้ยวลดคดในข้อก็ปั่นปลุก
ประชาธิปไตยปลอมเข้าย้อมคลุก  เคยวกฉุกคิดไหมในเรื่องนี้

‘พาต้า ปิ่นเกล้า’ความฝันของเด็กยุคสมโภชกรุงฯ ที่จะถูกปรับปรุงใหญ่ในรอบ 40 ปี

หากจะพูดว่า “พาต้า ปิ่นเกล้า คือ ความฝันของเด็กยุคสมโภชกรุงฯ” ก็ไม่น่าผิดจากความเป็นจริงนัก เพราะผมเองคือ หนึ่งในเด็กฝั่งธนฯ ที่เฝ้าฝันถึงวันจะได้มาเยือนห้างสรรพสินค้ามหัศจรรย์ชื่อ ‘พาต้า ปิ่นเกล้า’ อยู่แทบทุกเมื่อเชื่อวัน

เมื่อวันก่อนเห็นข่าวแจ้งจากเพจ ‘สวนสัตว์พาต้า’ (@Patazoo67) จึงอดดีใจลึกๆ กับเขาด้วยว่าคงถึงเวลาของตำนานห้างสรรพสินค้าอันดับหนึ่งของฝั่งธนบุรี ตัดสินใจปรับตัวสู้ศึกในโลกการค้าไร้พรมแดน อีกทั้งยังประกาศหาทีมงานปรับปรุงภาพลักษณ์ ‘พาต้า ปิ่นเกล้า’ พร้อมดัน ‘เสริมศิริมงคล รุ่น 2’ ขึ้นกุมบังเหียนเต็มตัว - ข้อความขึ้นต้นจากผู้บริหารพาต้าจั่วหัวไว้ประมาณนี้

แฟรนไชส์ ‘พาต้า’ เริ่มจากสาขาแรกที่ศูนย์การค้าอินทรา ประตูน้ำ (พ.ศ. 2518) และต่อมากับความสำเร็จจนรู้จักไปทั่วบ้านทั่วเมืองกับสาขาปิ่นเกล้า (พ.ศ. 2525) ต่อเนื่องไปถึงสาขาหัวหมาก (พ.ศ. 2535)

แต่ก็เช่นเดียวกับวัฏจักรโลกทั่วไปที่พาต้าฯ เอง ก็หนีไม่พ้นวงจรนี้ เพราะเมื่อขึ้นสู่จุดสูงสุด ก็จำต้องตกต่ำ ด้วยสภาพความเจริญของบ้านเมืองย่านฝั่งธนฯ ซึ่งดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนเข้ามาอย่างมหาศาล วงการสินค้าปลีกจึงตามมาแย่งชิง จนลูกค้าประจำของ พาต้า ปิ่นเกล้า ต่างหันหน้าไปสู่ห้างฯ อื่น นำมาสู่ความเงียบเหงาท้ายที่สุด

ปี พ.ศ. 2562 เกิดกระแสข่าวลือแชร์ว่อนโลกโซเชียลฯ ถึงการประกาศขายที่ดินของ พาต้า ปิ่นเกล้า แห่งนี้ บนค่าตัวหลักพันล้านบาท และ ‘ปิดกิจการ’ แต่สุดท้ายหนึ่งในคณะผู้บริหารได้ออกมาสยบข่าวลือนั้นว่า ไม่เป็นความจริง จากปากของ ‘วิวรรธน์ เสริมศิริมงคล’ อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท ห้างสรรพสินค้าปิ่นเกล้า จำกัด เคยให้สัมภาษณ์ยืนยันไว้ราวสองปีก่อนหน้า

แต่พอเข้าสู่ปี พ.ศ. 2566 หลังจากที่ทีมบริหารได้ปรับปรุงพื้นที่สวนสัตว์พาต้าจนใกล้จะแล้วเสร็จ และกำลังเตรียมเปิดบริการเต็มรูปแบบ คณะผู้บริหารบริษัท ห้างสรรพสินค้าปิ่นเกล้า ได้มีมติเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ พร้อมจะเริ่มต้น ปรับปรุงบ้านหลังนี้ ในรอบ 40 ปี ให้คืนสภาพ กลับมาพร้อมให้การต้อนรับผู้มีอุปการคุณ

ผมไล่อ่านรายละเอียดตามที่เห็นจากเพจฯ ถึงแผนพัฒนาห้างฯ และหัวข้อการปรับปรุงต่าง ๆ ตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อสุดท้ายว่า “...พื้นที่ชั้น 5 (พื้นที่ต่อเนื่องกับสวนสัตว์) ปรับให้เป็นพื้นที่เช่า ในโครงการพิเศษต่าง ๆ เช่น ตลาดนัดสัตว์เลี้ยง หรือตลาดของใช้ทั่วไป งานแสดงสินค้า งานประชุมวิชาการ”

เพียงเท่านั้นก็เหมือนผู้บริหาร ‘พาต้า ยุค 2’ อยากระลึกชาติหวนกลับไปใช้ความชำนาญที่เคยมีมาตั้งแต่รุ่นเปิดดำเนินการคือ ‘Localized Marketing’ ซึ่งเคยสร้างความเฟื่องฟูจนถึงขีดสุดในอดีต

ห้างสรรพสินค้าซึ่งถือฤกษ์งามยามดีเปิดบริการเอาในศักราช สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ที่ไม่ได้มีดีเพียงแค่อาคารรูป ‘ส.เสือ’ อักษรแรกของชื่อตระกูล น้ำพุสายรุ้งความสูงเท่ากับห้างก็คือตึก 7 ชั้น หลั่งไหลสลับสีพราวพรรณราย หรือแม้แต่ลิฟท์แก้วใสแจ๋วนอกตัวอาคาร ซึ่งน่าประหวั่นพรั่นพรึงแก่เด็กกลัวความสูงอย่างหนักเช่นผม

ผีเสื้อโบยบิน ‘กรณีศึกษา’ แก่นแท้แห่งบุญอันยิ่งใหญ่ 1มอบโอกาสชีวิตใหม่ ผ่านการศึกษา

ว่ากันว่า บุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่ใช่เงินทอง หรือ สิ่งของที่มากคุณค่า หากแต่เป็น ‘องค์ความรู้ - การศึกษา’ ที่ส่งต่อให้กับใครสักคน ได้นำไปต่อยอดชีวิตในอนาคตได้ด้วยตนเอง

จากเฟซบุ๊ก Win Phromphaet ได้โพสต์เรื่องราวน่าประทับใจจากการเป็นผู้ให้แก่บุคคลท่านหนึ่ง (ไม่เอ่ยนาม) ที่เขาได้ให้การช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา โดยในจดหมายดังกล่าวระบุความจากผู้รับความช่วยเหลือว่า...

รายงานผลการเรียนภาคเรียนที่ 1/2565

เรียน คุณวิน พรหมแพทย์

ตามที่กระผม ได้รับทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 จากท่าน กระผมขออนุญาตรายงานผลการศึกษาให้ท่านทราบว่า ขณะนี้กระผมได้จบการศึกษาแล้วภายในระยะเวลา 3.5 ปี ซึ่งในภาคการศึกษา (ภาค 1/2565) กระผมได้เกรดเฉลี่ย 3.30 ส่งผลให้เกรดเฉลี่ยสะสมเท่ากับ 3.12 ดังปรากฏในใบรับรองผลการศึกษาแนบ ทั้งนี้กระผมได้แนบบัญชีรายรับรายจ่ายมาพร้อมกับจดหมายฉบับนี้ด้วย

นอกจากการเรียนแล้ว กระผมใช้วลาว่างกับการค้นคว้าหาข้อมูลในด้านที่สนใจ เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การฝึกใช้ภาษาอังกฤษ และการค้นหาอาชีพในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังเข้าร่วมกิจกรรมของคณะ เช่น การเข้าร่วมฟังอบรมการสืบต้นฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการวิจัย การเข้าร่วมฟังกิจกรรมแนะแนวอาชีพ และกิจกรรมจิตอาสานอกรั้วมหาวิทยาลัย เช่น กิจกรรมปลูกป้าชายเลน เป็นต้น หลังจากจบการศึกษา กระผมมีความตั้งใจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้สามารถทำงานที่ตนเองสนใจและตรงกับสาขาที่เรียนมาในระดับที่สูงขึ้น และต้องเป็นงานที่ใช้ความรู้ที่เรียนมาพัฒนาประเทศต่อไป

กระผมขอขอบพระคุณในความอนุเคราะห์ของท่าน กระผมจะตั้งใจศึกษาล่าเรียนและปฏิบัติตนให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตให้อย่างดีที่สุด เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณผู้ให้ทุนการศึกษากับกระผม เพราะครอบครัวของกระผม ซึ่งเป็นแหล่งสนับสนุนด้านการเรียนมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูง และรายได้ที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้บิดาผู้ซึ่งหารายได้เพียงคนเดียวสนับสนุนด้านการเรียนของกระผมไม่ได้เต็มที่ อีกทั้งยังมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ส่งผลต่ออาการเหนื่อยง่าย สายตาแย่ลง และพักผ่อนน้อย

25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ เป็นวันแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในไทย

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันที่ประเทศไทยมีการกระจายเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรก

กิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 ด้วยพระดำริของ 'พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน' เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และโทรคมนาคม

พระองค์ทรงดำริตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น เมื่อพ.ศ.2471 โดยสั่งเครื่องส่งกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง และให้อยู่ในความควบคุมของช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งสถานีที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลวัดราชบูรณะเป็นครั้งแรก ใช้ชื่อสถานีว่า '4 พีเจ' (HS 4 PJ) ต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ ขึ้น ทำการทดลองที่ตำบลศาลาแดงใช้ชื่อสถานีว่า 'หนึ่ง หนึ่ง พีเจ' (HS 11 PJ) ซึ่งการใช้ชื่อสถานีว่า 'พีเจ' ในยุคนั้น ย่อมาจากคำว่า 'บุรฉัตรไชยากร' อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์ท่านนั่นเอง

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ศาลสั่งยึดทรัพย์ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ รวมมูลค่ากว่า 46,000 ล้านบาท

วันนี้ เมื่อ 13 ปีก่อน ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายึดทรัพย์ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 46,373 ล้านบาท คืนเงิน 30,247 ล้านบาท

องค์คณะผู้พิพากษาเริ่มอ่านคำพิพากษาในเวลา 13.30 น.ใช้เวลาอ่านคำฟ้องของอัยการ 1 ช.ม.อ่านคำคัดค้านการยึดทรัพย์ของผู้ถูกร้อง (จำเลย) 1.30 ช.ม. เริ่มเข้าสู่การพิจารณาในแต่ละประเด็น 16.00 น.

1. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะคดีนี้ไม่ใช่คดีความผิดทางละเมิดของศาลปกครอง หรือ คดีถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

2. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ร้อง ทั้งอัยการ, ป.ป.ช., คตส. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน ตกเป็นของแผ่นดิน เพราะ

2.1 พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ปี 42 ไม่ได้สิ้นสุดลงตาม รธน.40 จากการยึดอำนาจ 19 ก.ย.49
2.2 คตส.จึงสามารถใช้อำนาจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบการทุจริต ตามประกาศ คปค.ได้

2.3 การที่ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.กำหนดให้การฟ้องคดีร่ำรวยผิดปกติ ต้องทำในสมัยที่นักการเมืองคนนั้น อยู่ในตำแหน่ง ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับการตรวจสอบของ คตส.ที่มีการบัญญัติไว้เป็น กม.เฉพาะได้

2.4 การตั้งนายกล้าณรงค์ จันทิก , นายบรรเจิด สิงคเนติ , นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นอนุกรรมการตรวจสอบชอบด้วย กม.ไม่ได้มีอคติ หรือ เป็นปรปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหา เพราะการไปฟังกลุ่มพันธมิตรฯปราศรัย , การแสดงความเห็นตรงข้ามกับผู้ถูกกล่าวหา เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในฐานะประชาชนทั่วไป , นักวิชาการ และ ส.ว. ไม่ได้มีเรื่องโกรธแค้นเป็นการส่วนตัวกับผู้ถูกกล่าวหา

2.5 ป.ป.ช.ชุดนี้ตั้งตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ซึ่งชอบด้วย กม.แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องให้ ปธ.วุฒิสภา รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

2.6 คดีนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีแพ่งประกอบคดีอาญา ที่ต้องรอผลทางอาญาก่อน ตาม ป.วิ อาญา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาได้ โดยไม่ต้องรอให้มีคำพิพากษาในส่วนที่เป็นคดีอาญาก่อน

3. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้นชินคอร์ปผ่านเครือญาติ และนิติบุคคลที่ตัวเองตั้งขึ้น

27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ในพิธี วางศิลาฤกษ์ ‘เขื่อนสิริกิติ์’

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

เดิมเขื่อนนี้มีชื่อว่า 'เขื่อนผาซ่อม' โดยก่อสร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายหลังได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาขนานนามเขื่อนว่า เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511

'ปาท่องโก๋' ที่คุ้นเคย แท้จริงชื่อ 'อิ่วจาก้วย' เกิดจากความแค้นต่อ '2 ผัวเมีย' กบฏขายชาติ

'ปาท่องโก๋' เป็นอาหารที่คนไทยนิยมรับประทาน ไม่ว่าจะในอาหารมื้อเช้า หรือกินเล่นเป็นขนม จับคู่กับเครื่องดื่มทั้งชา กาแฟ หรือเครื่องเคียงรสชาติเลิศอย่าง นมข้นหวาน สังขยา ฯลฯ ต่างก็ลงตัวเข้ากันและอร่อยสุดๆ

เราเข้าใจตรงกันว่า ปาท่องโก๋ หมายถึง แป้งทอดที่ประกบคู่กันกรอบนอกนุ่มใน หรือมีบางร้านดัดแปลงเติมความสร้างสรรค์เป็นรูปไดโนเสาร์ หรือ มังกร หรือรูปร่างอื่นๆ ที่สะดวก

แต่ความรู้ด้านหนึ่งที่มีการเข้าใจผิดในเรื่องของภาษาและการเรียกตามความนิยม นั่นคือ แท้จริงแล้ว 'ปาท่องโก๋' ที่เป็นภาษากวางตุ้ง แปลว่า 'ขนมน้ำตาลขาว' เป็นขนมชนิดหนึ่งของคนกวางตุ้ง รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม เนื้อสัมผัสคล้ายกับขนมถ้วยฟู

แต่ลักษณะของปาท่องโก๋ที่คนไทยเรียกกันนั้น คือ 'อิ่วจาก้วย' หรือ 'อิ้วจาก๊วย' เป็นภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า ขนมทอดน้ำมัน ซึ่งตรงตามลักษณะของ 'ปาท่องโก๋' แบบที่เราเรียกติดปาก 

'อิ่วจาก้วย' มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน เป็นภูมิปัญญาที่คนจีนบ่มเพาะความคิดผสมความเคียดแค้น ก่อนจะกลายมาเป็นอาหารยอดนิยมอย่างในปัจจุบัน

ขอย้อนกลับไปในสมัยซ่งใต้ที่มีเมืองลิ่มอันเป็นเมืองหลวง (ราชวงศ์ซ่งมี 2 ยุค คือ ซ่งเหนือ ค.ศ. 960-1127 และซ่งใต้ ค.ศ. 1127-1279) ยุคนั้นราชวงศ์ซ่งใต้กำลังมีศึกปะทะกับประเทศไต้กิม โดยซ่งใต้ในขณะนั้นมี 'งักฮุย' หรือ 'เย่ว์เฟย' เป็นยอดขุนพล ที่นอกจากเก่งกาจด้านการรบที่สามารถต่อต้านทัพศัตรูได้ทุกครั้ง งักฮุยยังเป็นคนดีมีคุณธรรม จงรักภักดี รักชาติยิ่งชีพ จนเป็นที่นิยมรักใคร่ของคนจีนทั้งประเทศ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top