Wednesday, 9 July 2025
GoodsVoice

เปิดจีดีพีเกษตรไตรมาส 2 พลิกบวก 1.2% 

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2564 ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2564 ขยายตัว 1.2% ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันก่อน ที่หดตัวถึง 3.1% เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ละช่วงต้นปี 2564 ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกได้มากขึ้น 

รวมทั้งสภาพอากาศโดยทั่วไปที่เอื้ออำนวย และไม่ประสบปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง ทำให้สถานการณ์การผลิตพืชและปศุสัตว์ดีกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรเพิ่มปริมาณการผลิต โดยแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร ทั้งปี 2564 สศก. ยังคาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วง 1.7 – 2.7% ตามเดิมที่คาดการณ์ไว้

จากการวิเคราะห์ผลกระทบโควิด-19  พบว่า ภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากโควิด-19 น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ โดยผลกระทบที่ได้รับมีสาเหตุหลักมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคต่อสินค้าเกษตรที่อ่อนตัวลง เพราะมาตรการ ที่ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น การล็อคดาวน์ และการควบคุมพื้นที่ การจำกัดเปิดร้านค้า และ ร้านอาหารต่าง ๆ โดยผลวิเคราะห์พบว่า กรณีโควิด-19 กระทบ 5 เดือน (เมษายน - สิงหาคม 2564) มูลค่าทางเศรษฐกิจการเกษตรในส่วนของการบริโภคสินค้าเกษตรในประเทศ จะลดลงรวมทั้งสิ้น 13,895 ล้านบาท           

เชื่อมั่นอุตสาหกรรมยังไม่ฟื้น กกร.ทำหนังสือขอพบ “บิ๊กตู่”

นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ประจำเดือนก.ค. 2564 อยู่ที่ระดับ 78.9 ลดลงจากเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ถือว่าต่ำสุดในรอบ 4 เดือน โดยมีปัจจัยลบมาจาก สถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ภาครัฐออกมาตรการล็อคดาวน์ในพื้นที่ 13 จังหวัด แต่ยังไม่สามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้และยังส่งผลให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ประชาชนมีรายได้ลดลง การแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งทำให้กำลังการผลิตลดลงเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน

เช่นเดียวกับแรงงานในภาคอุตสาหกรรมยังได้รับวัคซีนในสัดส่วนที่น้อย อย่างไรก็ตามก็มีปัจจัยบวกจากภาคการส่งออกที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง จากคำสั่งซื้อและยอดขายต่างประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีทิศทางที่ดีขึ้นจากสัดส่วนประชากรที่ฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นทำให้อุปสงค์ในตลาดต่างประเทศขยายตัวและการอ่อนค่าลงของเงินบาทเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออก

สำหรับการคาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งหากไม่สามารถควบคุมได้จะกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออก มาตรการล็อคดาวน์จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ สถานการณ์โควิด19 ทั่วโลกยังไม่แน่นอนจากสายพันธุ์เดลต้าในหลายประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกรวมถึงการส่งออกของไทยในระยะต่อไป

ทั้งนี้ ส.อ.ท. มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ คือ การเร่งตรวจเชิงรุกในกลุ่มพื้นที่สีแดงเข้ม ขอให้ภาครัฐเร่งฉีดวัคซีนให้แก่แรงงาน ม.33 สนับสนุนให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานประกอบการ เสนอให้ภาครัฐนำระบบแจ้งเตือนผู้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้เพื่อช่วยป้องกันและติดตามการแพร่ระบาด ให้ภาครัฐดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและเร่งรัดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยเร็ว ๆ นี้ ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ในฐานะของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)จะทำหนังสือขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ช่วยปลดล็อคเรื่องวัคซีน และค่าใช้จ่ายในการรักษาพนักงานเพื่อให้รัฐช่วยเหลือและเยียวยาเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบในต่อไป

ปั๊ม 'ปตท. - บางจาก - PT' จัดโปร 'เติมน้ำมัน แจกมังคุด' ช่วยเหลือชาวสวนมังคุด หลังราคารับซื้อตกต่ำอย่างหนัก

9 ส.ค. 64 เพจติดโปร - Pro Addict ได้โพสต์ข้อความ "มังคุดล้นตลาด แค่เติมน้ำมันที่ PTT Station รับฟรี! มังคุด 1 กก."

PTT Station ช่วยเหลือชาวสวนในภาคใต้ รับซื้อมังคุดจากสวนภาคใต้ 100 ตัน แล้วนำมาจัดโปร เติมน้ำมันชนิดใดก็ได้ ไม่มีขั้นต่ำ รับฟรี! มังคุด 1 กิโลกรัม งานนี้ใครอยากกินมังคุดอร่อย ๆ แบบฟรี แล้วยังได้เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือเกษตรกร หยิบกุญแจ สตาร์ทรถ ไปเติมน้ำมันด่วนเลยย

ตั้งแต่วันที่ 12 - 15 สิงหาคม 2564 หรือจนกว่าของจะหมด เฉพาะสาขาในกรุงเทพฯ และนนทบุรีเท่านั้น

นอกจาก PTT station แล้ว ยังมีปั๊มน้ำมันอื่น ๆ ที่จัดโปรนี้เช่นกัน

โดย PT Station สมาชิก PT Max Card ที่เติมน้ำมันครบ 50 บาท จะได้รับมังคุด 1 กิโลกรัม ฟรี ตั้งแต่วันที่ 9 - 15 สิงหาคม 2564 หรือจนกว่าของจะหมด เฉพาะสาขาที่ร่วมรายการ กรุงเทพฯ ปริมณฑล จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร

ขณะที่ บางจาก เติมน้ำมันทุกชนิด ไม่มีขั้นต่ำ แถมมังคุดครึ่งกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 สิงหาคม 2564 หรือจนกว่าของจะหมด เฉพาะสาขาที่ร่วมรายการในกรุงเทพฯ เท่านั้น


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!

A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!

>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท

>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ

>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย

***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

กนอ. เผยภาพรวมการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม 9 เดือน ปีงบประมาณ 64 พุ่งกว่า 130,000 ล้านบาท โตก้าวกระโดด 138% อีอีซียังเนื้อหอม หลังพบทุนจีน - ญี่ปุ่นแห่ย้ายฐานการผลิตซบไทยอย่างต่อเนื่อง

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2564 (ต.ค.63-มิ.ย.64) มีการชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศชั่วคราว โดยในภาพรวมของนิคมอุตสาหกรรม มียอดขาย/เช่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม ประมาณ 927.09 ไร่ ประกอบด้วยยอดการขาย/เช่าในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จำนวน 747.99 ไร่ และนอกพื้นที่อีอีซี จำนวน 179.10 ไร่ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49.59 (ปี 2563 ยอดขาย/เช่า ช่วง 9 เดือน อยู่ที่ 1,838.96 ไร่) เนื่องจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ยังคงเลื่อนออกไปจากมาตรการจำกัดการเดินทาง

ขณะที่มูลค่าการลงทุนรวมช่วง 9 เดือนปี 2564 คิดเป็นมูลค่า 130,289.44 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เป็นจำนวนร้อยละ 138.27 (มูลค่าการลงทุนปี 2563 อยู่ที่ 54,681.37 ล้านบาท) จากการขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นของฐานลูกค้าเดิมในนิคมอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กระบวนการผลิต สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นกลไกขับเคลื่อนการลงทุน ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักรและอะไหล่

โดยกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกที่นักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง ร้อยละ 13.77 อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ ร้อยละ 10.83 อุตสาหกรรมยาง พลาสติก และหนังเทียม ร้อยละ 7.80 อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักร และอะไหล่ ร้อยละ 7.01 และอุตสาหกรรมปุ๋ย สี และเคมีภัณฑ์ ร้อยละ 6.05 โดยนักลงทุนจากประเทศจีนให้ความสนใจมาลงทุนมากเป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 15.15 รองลงมา คือ นักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 12.12 และสิงคโปร์ เกาหลี และสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 9.09

“ปัจจุบันมีนักลงทุนแสดงความสนใจที่จะซื้อ/เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจด้านโลจิสติกส์และคลังสินค้า (Warehouse) ที่มีการเติบโตอย่างโดดเด่น เนื่องจากได้รับอานิสงค์เชิงบวกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดต่อเนื่อง ผนวกกับกระแสการย้ายการลงทุนออกจากประเทศจีนของกลุ่มนักลงทุนชาวจีน ญี่ปุ่น และอเมริกามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น และประเทศไทยยังมีศักยภาพและความแข็งแกร่งในการรองรับการลงทุนเพื่อเป็นฐานและศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค

รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่มีต่อการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมทุกนิคมฯ ทั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. ดำเนินการเอง และนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี โดยเชื่อว่าในช่วงปลายปี 2564 การลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมจะดีขึ้น หลังคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะควบคุมการระบาดระลอก 3 ได้ในระดับหนึ่งจากการจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 และสร้างระดับภูมิคุ้มกันหมู่ได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวขึ้นได้” นายวีริศฯ กล่าว

สำหรับการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสะสมสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2564 มีจำนวนประมาณ 178,891 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง ประมาณ 37,724 ไร่ และเป็นนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน ประมาณ 141,167 ไร่ เป็นพื้นที่ขาย/ให้เช่า ประมาณ 118,667 ไร่ /เป็นพื้นที่ขาย/ให้เช่าแล้ว ประมาณ 90,972 ไร่ จึงยังคงมีพื้นที่คงเหลือสำหรับขาย/ให้เช่าอีกประมาณ 27,695 ไร่ มีมูลค่าการลงทุนสะสม ประมาณ 4.70 ล้านล้านบาท มีโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมประมาณ 4,944 โรง และมีการจ้างงานรวมทั้งสิ้นประมาณ 815,942 คน

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) พบว่า ปัจจุบันมีบริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าตั้งแต่กลางปี 2561 จนถึงปัจจุบันมีนักลงทุนมาลงทุนในไทยแล้วกว่า 230 โครงการ เงินลงทุนรวม 1.2 แสนล้านบาท ขณะที่ยังมีกลุ่มที่ตัดสินใจขยายการลงทุนในไทย เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามด้านซัพพลายเชน ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่มีพื้นฐานของระบบซัพพลายเชนที่ดีในระดับหนึ่ง อีกทั้งมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการตั้งฐานธุรกิจในระยะยาว


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!

A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!

>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท

>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ

>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย

***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ครม. เห็นชอบเร่งร่างกฎหมายล้มละลายฉบับใหม่ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ทุกกลุ่มยื่นคำร้องฟื้นฟูกิจการได้

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. เห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย ฉบับใหม่ โดยในส่วนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ โดยผลักดันให้เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิรูปในระยะเร่งด่วน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีหลักการสำคัญในการสร้างกลไกให้ลูกหนี้ที่เป็นเอสเอ็มอี สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้เช่นเดียวกับการฟื้นฟูกิจการปกติ ลดขั้นตอนและใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่า

สำหรับสาระสำคัญ คือ

1.) เพิ่มเติมจำนวนหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ที่สามารถร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการได้ จาก “จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท” เป็น “ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท” เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งการเพิ่มจำนวนหนี้อ้างอิงจากข้อมูลเชิงสถิติระหว่างปี 2560-2563 คดีที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอลูกหนี้มีจำนวนหนี้มากกว่า 50 ล้านบาท กว่า 90% ของคดีทั้งหมด

2.) กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่มีลักษณะเป็นเอสเอ็มอี ดังนี้

(2.1.) ยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดให้ลูกหนี้ที่เป็นเอสเอ็มอี ต้องขึ้นทะเบียนกับ สสว. หรือที่จดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นของรัฐ จึงจะสามารถร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการได้

(2.2.) กำหนดให้ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ โดยที่ยังไม่ต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเสนอศาลเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้มีการพักชำระหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ โดยลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการได้

3.) กำหนดให้มีกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัด ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ ได้แก่ ลูกหนี้ที่เป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ และลูกหนี้ที่เป็นเอสเอ็มอี สามารถเลือกยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัดได้ โดยแนบแผนพร้อมหลักฐานแสดงว่าเจ้าหนี้ได้มีมติยอมรับแผนแล้วต่อศาล

โดยให้ศาลพิจารณาคำร้องขอดังกล่าวเป็นการด่วน แต่หากศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอเพราะแผนไม่เข้าหลักเกณฑ์ ลูกหนี้อาจยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการอีกได้ โดยไม่ติดเงื่อนไขข้อห้ามเรื่องระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ศาลยกคำร้องขอกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัด


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!

A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!

>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท

>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ

>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย

***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ดีเดย์! คุ้มครองเงินฝาก วงเงิน 1 ล้านบาท คลังยันเป็นไปตามกฎหมาย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.2564 เป็นต้นไป วงเงินคุ้มครองเงินฝากที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะให้ความคุ้มครองจะกลับเข้าสู่ระดับ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน ซึ่งเป็นวงเงินการคุ้มครองเงินฝากที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยวงเงินความคุ้มครองเงินฝากนี้สามารถคุ้มครองกลุ่มผู้ฝากเงินรายย่อย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศกว่า% 98 จากผู้ฝากเงินทั้งหมดของระบบสถาบันการเงิน ซึ่งพบว่าสัดส่วนของจำนวนผู้ฝากเงินที่ได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวนตามวงเงินที่กฎหมายกำหนดของประเทศไทยมีความใกล้เคียงกันกับค่าเฉลี่ยสัดส่วนจำนวนผู้ฝากที่ได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวนตามกฎหมายของประเทศต่าง ๆ
 
ทั้งนี้ การกำหนดวงเงินความคุ้มครองเงินฝากของไทยเป็นไปตามหลักการสำคัญของระบบการคุ้มครองเงินฝากที่มีประสิทธิผล ซึ่งเป็นหลักการสากล โดยครอบคลุมกลุ่มผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศ และส่งเสริมการสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ระบบการเงินทั้งระบบ ทั้งในส่วนของผู้ฝากเงิน และในส่วนสถาบันการเงิน

สำหรับปัจจุบันสถาบันการเงินในประเทศไทย ยังคงมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ ทั้งในส่วนของระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) อยู่ที่ระดับ 20% ซึ่งสูงกว่าหลายประเทศในภูมิภาค ประกอบกับการมีสภาพคล่องที่ยังอยู่ในระดับสูง และสามารถรองรับความผันผวนของสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยายเวลาวงเงินความคุ้มครองเงินฝากเดิมออกไปอีก 

เกษตรกรยืนยันไข่ไก่ยังไม่ขาดตลาด แม้ราคาเพิ่มสูงหลังคนซื้อตุน

นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ยังคงเพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศอย่างแน่นอน  แม้ปัจจุบันการระบาดของไวริสโควิด-19 ในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในจังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งทำให้การขนส่งผลผลิตไข่ไก่ให้กับห้างต่าง ๆ ทำได้ไม่สะดวกนัก ซึ่งล่าสุดผลผลิตไข่ไก่ที่มีอยู่ในระบบยังมีปริมาณตามปกติ ที่  41-42 ล้านฟองต่อวัน และจากมาตรการรัฐที่ให้ยืดอายุแม่ไก่ยืนกรง จะทำให้ปริมาณไข่ไก่เพิ่มอีก 3 ล้านฟองต่อวัน รวมเป็น 44-45 ล้านฟองต่อวันในสิ้นเดือนส.ค.นี้ 

“ปริมาณไข่ไก่ตอนนี้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศอย่างแน่นอน  ที่สำคัญคือราคาขายหน้าฟาร์มเกษตรกรยังอยู่ในระดับเดิมตามที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือไว้ แต่ก็แปลกใจว่าทำไมราคาไข่ไก่ในหลายพื้นที่มีการปรับสูงขึ้น ซึ่งอยู่ที่พ่อค้าคนกลางเป็นสำคัญ ซึ่งทางสมาคมฯ ได้ย้ำให้เกษตรกรระมัดระวังไม่ขายผลผลิตไข่ให้คนแปลกหน้า แต่จะขายให้เฉพาะลูกค้าประจำ” 

ส่วนพื้นที่ภาคอีกสาน นายสุวัฒน์ แพร่งสุวรรณ์ ประธานชมรมไข่ไก่ภาคอีสาน ยอมรับว่า ราคาไข่ในขณะนี้ปรับตัวเพ่มขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้สำหรับผู้กักตัวที่โรงพยาบาลสนามต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้ป่วยจากกทม.ที่กลับมารักษาตัวที่ภูมิลำเนาของตนเองมากขึ้น ขณะที่ภาคเหนือ นายอุ่นเรือน ต้นสัก ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด กล่าวว่า ปริมาณไข่ไก่ในพื้นที่ทางภาคเหนือมีเพียงพอกับความต้องการบริโภค ไม่มีปัญหาขาดแคลน และจำหน่ายตามราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด พร้อมขอให้ภาครัฐช่วยดูแลให้ราคาไข่ไก่มีเสถียรภาพ รวมทั้งวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และกากถั่วเหลืองให้อยู่ในระดับที่เกษตรกรไม่เดือดร้อน

ร้านอาหารทรุดพิษโควิดเสี่ยงเสียหายยับ 2.59 แสนล้าน

น.ส.นิรัติศัย ทุมวงษา นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัยกรุงไทย คอมพาส ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า กรุงไทย คอมพาส ได้ประเมินผลกระทบจากการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดขึ้น และอาจลากยาวในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ต่อกลุ่มธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจวัตถุดิบอาหาร ซึ่งมาตรการที่ออกมาครั้งล่าสุดเป็นการซ้ำเติมธุรกิจร้านอาหาร และเปรียบเป็นพายุลูกใหม่ที่จะสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจร้านอาหารที่พยายามประคับประคองกิจการอย่างยากลำบากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา หลังเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยประเมินว่า หากสถานการร์ไม่ดีขึ้นจะก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายรวมประมาณสูงสุดถึง 259,600 ล้านบาท 

สำหรับการประเมินมูลค่าความเสียหายแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ 1.หากสิ้นสุดล็อกดาวน์ ณ 31 ส.ค. และควบคุม 29 จังหวัด จะมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 130,000 ล้านบาท 2.หากสิ้นสุดล็อกดาวน์ ณ 30 ก.ย. และควบคุม 29 จังหวัด จะมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 198,300 ล้านบาท และ 3.หากสิ้นสุดล็อกดาวน์ ณ 30 ก.ย.และขยายมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ไปสิ้นสุด ณ 31 ต.ค. ซึ่งอาจครอบคลุมทั่วประเทศ จะมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 259,600 ล้านบาท

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทางสมาคมภัตตาคารไทย ประเมินว่า จำนวนร้านอาหารโดยรวมในไทยมีอยู่ประมาณ 550,000 ราย ซึ่งคาดว่าปิดกิจการแล้ว 50,000 ราย ก่อนที่มีมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ที่เริ่มเมื่อ 28 มิ.ย. และประเมินว่าน่าจะมีอีก 50,000 ราย ที่เตรียมจะปิดกิจการแบบชั่วคราวและถาวร หากไม่ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐภายในเดือน ก.ค. 2021

พาณิชย์ปรับฐานข้อมูลจดทะเบียนหวั่นเจอมิจฉาชีพแอบอ้าง

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่ระหว่างการปรับปรุงฐานข้อมูลนิติบุคคลให้เป็นปัจจุบัน สร้างความน่าเชื่อถือความมั่นใจให้ภาคธุรกิจที่เข้ามาตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล รวมถึงป้องกันความเสียหายจากกลุ่มมิจฉาชีพต่าง ๆ ที่แอบอ้างความน่าเชื่อถือจากการจดทะเบียนนิติบุคคลไปหลอกลวงและแสวงหาประโยชน์โดยนิติบุคคลนั้นไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายจริง 

ล่าสุดกรมฯ ได้ออกประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เรื่อง จะขีดชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทออกจากทะเบียนจำนวน 10,810 ราย ซึ่งทั้งหมดเป็นนิติบุคคลที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับนิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด กรมฯ ได้ประสานสำนักงานพาณิชย์จังหวัดให้ดำเนินการตรวจสอบเช่นกันเพื่อจะได้มีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน

“การปรับปรุงฐานข้อมูลสถานะของนิติบุคคลถือเป็นภารกิจสำคัญที่กรมฯ ได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลนิติบุคคลอันจะส่งผลต่อการวิเคราะห์การเจริญเติบโตในภาคธุรกิจและตัดโอกาสการถูกหลอกลวงของประชาชน ดังนั้น ขอฝากไปยังนิติบุคคลจะต้องดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย  ซึ่งการจัดทำงบการเงินประจำปีและยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าถือเป็นหน้าที่สำคัญของนิติบุคคล รวมไปถึง กรณีที่ธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องยุติลง แต่ก็ยังคงมีหน้าที่ในการจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีให้ เสร็จสิ้นเช่นกัน”

ผู้ประกันตน ม.33 เฮ!! สปส. เปิดฉีดวัคซีนเข็ม 2 ทั่วกรุง 26 จุด เริ่ม 16 ส.ค.นี้

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกให้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ไปแล้วกว่า 1.3 ล้านราย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา และขณะนี้คณะทำงานบริหารจัดการและกระจายวัคซีนฯ ได้เตรียมจัดศูนย์ฉีดวัคซีนฯ เพื่อให้บริการผู้ประกันตนมาตรา 33 ในการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 โดยจะเริ่มฉีดในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป เป็นวัคซีนยี่ห้อ AstraZeneca ทั้งหมด

นายสุชาติ กล่าวต่อไปว่า วัคซีนเข็มที่ 2 นี้จะเริ่มฉีดในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป โดยแบ่งผู้ประกันตน ตามสูตรการฉีด ดังนี้ สูตรแรก (AZ+AZ) คือผู้ประกันตนที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 เป็น AstraZeneca และจะครบกำหนดฉีดเข็ม 2 ภายใน 12-16 สัปดาห์ ก็จะฉีดเข็มที่ 2 เป็นวัคซีนยี่ห้อ AstraZeneca เหมือนเดิม โดยผู้ประกันตนในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ได้รับเข็ม 1 ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน ถึง 21 กรกฎาคม 2564 จะได้รับเข็ม 2 ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม ถึง 28 กันยายน 2564 

ส่วนกลุ่มฉีดสูตร 2 (SV+AZ) แบบฉีดสลับวัคซีน ตามมติของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 คือผู้ประกันตนที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกเป็นยี่ห้อ Sinovac จะได้รับเข็ม 2 ภายใน 3 - 4 สัปดาห์ เป็นยี่ห้อ AstraZeneca ทั้งหมดเช่นกัน โดยผู้ประกันตนในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ได้รับเข็ม 1 ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม ถึง 6 สิงหาคม 2564 จะได้รับเข็ม 2 ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม ถึง 27 สิงหาคม 2564 และผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกลุ่มจังหวัดภาคผลิตสำคัญ 5 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร และนครปฐม ที่ได้รับวัคซีนตามสูตร 2 (SV+AZ) ตั้งแต่ 22 กรกฎาคม ถึง 13 สิงหาคม 2564 จะได้รับเข็ม 2 เป็นยี่ห้อ AstraZeneca ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม ถึง 27 สิงหาคม 2564 และผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกลุ่มจังหวัดภาคผลิตสำคัญ EEC และสมุทรปราการ ที่ได้รับวัคซีนตามสูตร 2 (SV+AZ) ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม – 20 สิงหาคม 2564 จะได้รับเข็ม 2 เป็นยี่ห้อ AstraZeneca ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม – 10 กันยายน 2564

โดยสำนักงานประกันสังคม ได้เตรียมพร้อมศูนย์ฉีดวัคซีนกระจายทั่วพื้นที่ กทม.ทั้ง 12 เขตความรับผิดชอบ รวม 26 จุดฉีด และทั้ง 5 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว จะส่งแจ้งนัดหมายให้ผู้ประกันตนทราบล่วงหน้าผ่าน SMS เข้าโทรศัพท์มือถือให้ผู้ประกันตนทราบตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา

นายสุชาติ กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ทุกท่าน เมื่อทราบกำหนดนัดหมายแล้ว โปรดเตรียมตัวให้พร้อม เหมือนกันกับการฉีดเข็มแรก คือ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งดการออกกำลังกายหนัก สวมเสื้อที่สะดวกในการฉีด เช่น เสื้อแขนสั้น และที่สำคัญคือ เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) ติดตัวมาด้วยในวันที่ ฉีดวัคซีน และมาให้ทันตามกำหนดนัดหมาย เพื่อร่วมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ไปด้วยกัน หากท่านอยู่ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็ม 2 ตามกำหนดข้างต้น แต่ไม่ได้รับ SMS นัดหมาย สามารถตรวจสอบวันนัดหมายฉีดวัคซีน เข็มที่ 2 ได้ที่หน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th อีกช่องทางหนึ่ง หากไม่พบข้อมูล ขอให้รีบแจ้งนายจ้าง หรือ HR บริษัท ด่วน หรือหากมีข้อสงสัย ติดต่อสายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top