Friday, 9 May 2025
ESG

เปิดภารกิจ WHA ใต้ธงเศรษฐกิจหมุนเวียน ต้อง ‘ใช้ซ้ำ-แบ่งปัน-แลกเปลี่ยน-ซ่อมแซม’

(6 ก.พ.67) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการสร้างนวัตกรรมบนห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่การนำวัสดุรีไซเคิลหรือพลังงานทดแทนมาใช้ในการผลิต (Circular Supplies) การออกแบบให้ง่ายต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ (Circular Design) การเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดการสูญเสียในการผลิต (Circular Manufacturing) ตลอดจนการใช้ของที่ผลิตขึ้นมาแล้วให้คุ้มค่าที่สุด ให้เกิด Utilization สูงที่สุดไม่ว่าจะเป็นการใช้ซ้ำ แบ่งปัน แลกเปลี่ยน หรือซ่อมแซม (Circular Consumption)

ช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายรายได้พัฒนาโมเดลธุรกิจจากแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เพราะเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้าไปแทรกในแต่ละหน่วยธุรกิจได้ตลอดซัพพลายเชน รวมถึงบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ที่ได้ริเริ่มสร้างโมเดลธุรกิจที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งอยู่ในเมกะเทรนด์ของโลก 

นายไกรลักขณ์ อัศวฉัตรโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ปเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในธุรกิจทั้ง 4 กลุ่มของบริษัท ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจ WHA: WE SHAPE THE FUTURE ที่มุ่งสร้างอนาคตอันยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย

WHA เรามีภารกิจ Mission to the Sun ซึ่งเป็นโครงการที่รวมยุทธศาสตร์ และโครงการที่สำคัญๆ ไว้ ซึ่งจะช่วยสร้างธุรกิจใหม่ให้กับกลุ่มบริษัท และยกระดับองค์กรสู่การเป็น Technology Company ในปี 2567 โดยมีการเริ่มโครงการ Circular Economy ภายใต้ภารกิจ Mission to the Sun ไปแล้วถึง 3 โครงการ ดังนี้

1.WHA Circular Innovation เป็นการวาง Roadmap ในการปฏิรูปทางธุรกิจ และสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ของกลุ่มดับบลิวเอชเอภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 ของกลุ่มบริษัท

โดยเราได้แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม Circular Business คือ การสร้างธุรกิจใหม่ และกลุ่ม Circular Process ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการต่างๆ ภายในของเราให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวันนี้เราได้เริ่มศึกษาและดำเนินการไปแล้วกว่า 40 Initiatives

2.WHA Waste Management เป็นโครงการที่ชนะเลิศจากการประกวด Bootcamp ซึ่งเป็นการแข่งขันสร้างโมเดลธุรกิจในกลุ่มพนักงาน เพื่อเปลี่ยน DNA องค์กร และสร้าง Tech Mindset

โดยจากการรวบรวมข้อมูลพบว่า นิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอในประเทศไทยจำนวน 12  แห่ง มีวัสดุเหลือใช้ และของเสียจากกระบวนการผลิตปีละประมาณ 500,000 ตัน ที่จำเป็นต้องบำบัดและกำจัด โดยในจำนวนของเสียทั้งหมดนี้ มีสัดส่วนถึง 65% สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น เศษโลหะ กระดาษ พลาสติก

ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป จึงอยู่ระหว่างการพัฒนาแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตของเสีย (Waste Generator) และผู้บริโภคของเสีย (Waste Consumer) หรือ ผู้รับบำบัดกำจัดของเสีย (Waste Processor) ซึ่งจะช่วยให้เกิดการนำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของโรงงานหนึ่งไปเป็นวัตถุดิบของโรงงานอีกแห่งหนึ่ง ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนได้อย่างลงตัว ทั้ง 2 ฝ่ายได้ขยะหรือวัตถุดิบที่ตัวเองต้องการ ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำโมเดลธุรกิจที่ต้องหารือกับผู้รับบำบัดกำจัดของเสีย และตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3.WHA Emission Trading คือ โครงการสร้างแพลตฟอร์ม Emission Trading ที่มีหน่วยงานรับรองในลักษณะเดียวกับการจำหน่ายคาร์บอนเครดิต ซึ่งน่าจะเห็นความเป็นรูปธรรมได้เร็ว เนื่องจากเป็นการต่อยอดจากโครงการ Peer-to-peer Energy Trading ที่เป็นแพลตฟอร์มเทรดพลังงานที่จะช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานและบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการในรูปแบบโครงการแซนด์บ็อกซ์ (Sandbox Project) แล้ว

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอพิจารณาให้เริ่มดำเนินโครงการภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ สำหรับแพลตฟอร์ม Emission Trading คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ประมาณไตรมาส 1 ปี 2567 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) และนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 

นอกจาก 3 โครงการ Circular Economy ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ภายใต้ภารกิจ Mission to the Sun ยังมีอีก 2 โครงการที่จะนำไปสู่เป้าหมายการเป็น Net Zero 2050 ได้แก่ 

1.โครงการ Green Logistics ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนการเปลี่ยนการใช้รถเชิงพาณิชย์ในการขนส่งจากรถเครื่องยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจสีเขียวในแต่ละส่วนของห่วงโซ่อุปทาน เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้า

บริษัท มีแผนที่จะจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะภายในนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอโดย ดับบลิวเอชเอ  ยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรองรับโครงการ Green Logistics ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม รับทราบข้อมูลในการตัดสินใจเลือกเส้นทางขนส่งสินค้าที่ประหยัด และใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้เวลาน้อยที่สุด

2.โครงการ Carbon Footprint Platform ซึ่งเป็นระบบ Carbon Accounting ที่มีข้อมูลว่าในแต่ละพื้นที่ปล่อยก๊าซต่างๆ ออกมาได้เท่าไรเพื่อไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะตอบโจทย์ผู้ประกอบการที่มีปริมาณการปล่อยออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX), ออกไซด์ของซัลเฟอร์ (SOX) จำนวนมาก และต้องการเข้าสู่ Zero Emission อาทิ ผู้ประกอบการด้านปิโตรเคมิคอลในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง 

นายไกรลักขณ์ มองว่า “สำหรับเป้าหมาย Net Zero 2050 มีระยะเวลานานอีก 27 ปี จึงมองว่ามีโอกาสที่ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป จะดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนได้อีกมาก และมองว่าการดำเนินการในปัจจุบันถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืน โดยดับบลิวเอชเอ ยังจะมีโครงการในลักษณะดังกล่าวเปิดตัวออกมาอีกหลายโครงการ” 

ทั้งนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการกำหนดมาตรการสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน อาทิ CBAM, RE100, Green Supply Chain, Digital Product ภาคธุรกิจเริ่มมีข้อกำหนดถึงกระบวนการผลิตสินค้าที่ลดการปล่อยคาร์บอน ผู้นำเข้าสินค้าเพิ่มเงื่อนไขการจัดเก็บภาษีคาร์บอนสำหรับสินค้าที่ไม่ลดการปล่อยคาร์บอน

ในประเทศไทยเอง เริ่มเห็นกระแสความต้องการบริการสีเขียวที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่การผลิต จากผู้ผลิตสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมและบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่หลายบริษัทที่มาลงทุนในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องพลังงาน เช่น การผลิตพลังงานหมุนเวียน 100% (RE100) ซึ่งผู้ให้บริการนิคมอุตสาหกรรมในหลายประเทศยังไม่สามารถทำ RE100 ได้ แต่ผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานหมุนเวียน 100%  

ทั้งนี้ เพื่อรองรับความต้องการของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มีแผนการขยายฐานการลงทุน หรือย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย อาทิ บริษัทด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่มีแผนเข้ามาลงทุน Data Center ในประเทศไทย ซึ่งต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้เอง ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ไม่เพียงแต่สามารถช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่นำมาซึ่งภาวะโลกร้อนเท่านั้น แต่ยังช่วยลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ รวมถึงสร้าง Business Model หรือรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถสร้างผลกำไรให้กับกิจการไปพร้อมกับการดำเนินการตามเป้าหมายความยั่งยืน 

“WHA Circular Economy จึงถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายการเจริญเติบโตทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน”

‘BDMS’ ครองอันดับหนึ่ง ดัชนี DJSI ปี 2023 ผู้นำด้านความยั่งยืน กลุ่มการบริการทางการแพทย์

ด้วยความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ส่งผลให้ BDMS ขึ้นที่ 1 ผู้นำด้านความยั่งยืนของโลก ปี 2023 ในกลุ่มการบริการทางการแพทย์ (Health Care Providers & Services) ทั้งในระดับโลก (DJSI World) เป็นปีแรก และกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (DJSI Emerging Markets) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยคะแนนอันดับ 1 มิติด้านสังคม ของกลุ่มธุรกิจการบริการทางการแพทย์ จากการประเมินของ S&P Global 

ดัชนี DJSI นี้ เน้นการประเมินความยั่งยืนของธุรกิจใน 3 ด้าน ได้แก่ การรักษาสิ่งแวดล้อม การดูแลสังคม และการกำกับดูแลบนหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นหลักดำเนินธุรกิจที่ BDMS ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ตามกลยุทธ์ขององค์กรที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน อาทิ การสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง (BDMS Innovative Healthcare) การบริการแพทย์ทางไกลเพื่อสุขภาพใจ (BeDee Tele Mental Health) และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (BDMS Green Healthcare) เป็นต้น

กลยุทธ์ BDMS Innovative Healthcare ที่นับเป็นความสำเร็จด้านนวัตกรรมที่น่าภาคภูมิใจนั้น ได้แก่ การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ด้วยเทคนิคใหม่ที่ไม่ตัดกล้ามเนื้อ หรือ Direct Anterior Approach Hip Replacement (DAA) วิธีใหม่นี้ช่วยลดระยะเวลาฟื้นตัวของผู้ป่วยได้มากกว่าร้อยละ 50 ทำให้ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้เข้ารับการรักษา 

ทั้งนี้ BDMS ได้จัดตั้งโครงการอบรมเทคนิคนวัตกรรมการผ่าตัดดังกล่าว โดยมีแพทย์ที่ผ่านการอบรมแล้วกว่า 180 ราย ใน 170 โรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการเผยแพร่องค์ความรู้นี้ไปสู่เวทีวิชาการในระดับนานาชาติ 

สำหรับนวัตกรรมการบริการการแพทย์ทางไกล BDMS ได้พัฒนา BeDee Tele Mental Health เพื่อดูแลสุขภาพใจ โดยร่วมกับมูลนิธิเวชดุสิตฯ ขยายโอกาสในการดูแลสุขภาพให้กับพนักงานในเครือ ฯ และ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการสุขภาพ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมบริการการแพทย์ในอนาคต 

ในส่วนของ BDMS Green Healthcare นั้น เป็นการตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการดําเนินงานสุทธิให้เป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ. 2593 (BDMS Net Zero 2050)  

BDMS มีพันธกิจสำคัญคือ “ผู้นำบริการด้านสุขภาพที่ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีบนวิถีแห่งความยั่งยืน” ซึ่งสอดคล้องกับหลักการดำเนินธุรกิจยั่งยืนตามแนวทาง ESG ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล อีกทั้งมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์อย่างมีคุณค่าแก่ผู้ใช้บริการด้วยความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการให้บริการด้านสุขภาพได้ด้วยมาตรฐานที่ทัดเทียมระดับสากล โดยความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ล้วนเป็นผลมาจากความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนที่พร้อมขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

‘SME D Bank’ เปิดตัว ‘จักรยานยนต์ไฟฟ้า’ พร้อมสถานีแบตเตอรี่ ใช้รับ-ส่งเอกสาร หนุนขับเคลื่อนองค์กรสีเขียวสู่ ‘Net Zero 2065

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 67 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ ‘SME D Bank’ ขับเคลื่อนองค์กรตามแนวทางแห่งความยั่งยืน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ด้วยการเปิดตัว ‘โครงการจักรยานยนต์ไฟฟ้า ธพว. EV.BCG’ โดยรถจักรยานยนต์ทั้งหมด ที่ใช้รับและส่งเอกสารของธนาคารทุกคันจะเป็น ‘รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า’

โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ธรรมชาติ ลดมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยดูแลสุขภาพของประชาชน สนับสนุน ‘เป้าหมาย Net Zero 2065’ สู่การเติบโตที่ยั่งยืนของประเทศไทยในเวทีโลก 

ไม่เพียงเท่านี้ SME D Bank ยังดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่นๆ  ต่อเนื่อง เช่น ติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้แสงสว่างในพื้นที่จอดรถอาคารสำนักงานใหญ่, ลดการใช้กระดาษ รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือด้านความยั่งยืนของบุคลากรทั้งองค์กร

‘AOT’ นำร่อง ‘TAXI EV’ พร้อมสถานีชาร์จ ให้บริการผู้โดยสาร ขานรับนโยบายคมนาคม มุ่งสู่ Green Airport แห่งแรกของไทย

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 67 ดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT) กล่าวว่า ปัจจุบันรถยนต์ 1 คันปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 5 ตันต่อปี ซึ่งในประเทศไทยมีรถยนต์มากกว่า 10 ล้านคัน ในส่วนของ AOT ซึ่งบริหารท่าอากาศยานหลัก 6 แห่งของประเทศไทย ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.), ท่าอากาศยานดอนเมือง, ท่าอากาศยานเชียงใหม่, ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย, ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ มุ่งสนองนโยบายของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการผลักดันความร่วมมือด้านการคมนาคมขนส่งของไทย เพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ

AOT จึงให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งขับเคลื่อน ทสภ.สู่การเป็นต้นแบบ ‘Green Airport’ หรือ ท่าอากาศยานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนรถยนต์ที่ให้บริการ ณ ทสภ.ให้เป็นรถไฟฟ้า (EV) ได้ จะทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 50 ล้านตันต่อปี

ดร.กีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการให้บริการยานยนต์ไฟฟ้ารับจ้างสาธารณะ (EV Taxi) นั้น ปัจจุบันมีสมาชิกผู้ขับขี่รถรับจ้างสาธารณะ เริ่มให้ความสนใจในการปรับเปลี่ยนมาใช้ EV Taxi เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงแรก AOT ได้ดำเนินการติดตั้งสถานีให้บริการเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบใช้สายโดยการอัดประจุแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Fast Charge) ซึ่งมีกำลังไฟฟ้าในการอัดประจุ 40 kW ต่อเครื่อง จำนวน 16 เครื่อง และ 150 kW ต่อเครื่อง จำนวน 2 เครื่อง บริเวณลานจอดรถระยะยาวโซน E ทสภ. สำหรับรองรับการให้บริการแก่รถแท็กซี่ที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็นยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันและอนาคต

นอกจากนี้ ทสภ.อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งเครื่อง DC Fast Charge ซึ่งมีกำลังไฟฟ้าในการอัดประจุ 360 kW ต่อเครื่อง จำนวน 10 เครื่อง และ 150 kW ต่อเครื่อง จำนวน 2 เครื่อง เพื่อรองรับการให้บริการแก่รถบริการรับ – ส่งผู้โดยสาร (Shuttle Bus) รถบริการสาธารณะ รถส่วนกลาง และรถส่วนงานของ AOT ภายในพื้นที่ Support Facilities บริเวณตรงข้ามศูนย์บริหารการขนส่งสาธารณะ

นอกจากนี้ ทสภ.อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งเครื่อง DC Fast Charge ซึ่งมีกำลังไฟฟ้าในการอัดประจุ 360 kW ต่อเครื่อง จำนวน 10 เครื่อง และ 150 kW ต่อเครื่อง จำนวน 2 เครื่อง เพื่อรองรับการให้บริการแก่รถบริการรับ – ส่งผู้โดยสาร (Shuttle Bus) รถบริการสาธารณะ รถส่วนกลาง และรถส่วนงานของ AOT ภายในพื้นที่ Support Facilities บริเวณตรงข้ามศูนย์บริหารการขนส่งสาธารณะ

ดร.กีรติ กล่าวในตอนท้ายว่า AOT มีความมุ่งมั่นการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมุ่งสู่การเป็น ‘ท่าอากาศยานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ หรือ ‘Green Airport’ เพื่อการเติบโตขององค์กรอย่างมั่นคง และยั่งยืน

สำหรับบริษัทพันธมิตรที่นำแท็กซี่อีวีมาให้บริการ คือ บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด ส่วนสถานีชาร์จเป็นของค่าย EAANYWHERE ในเครือ EA

‘EA’ ร่วมมือ ‘สภาอุตฯ จ.ภูเก็ต’ ลงนามความร่วมมือ สร้างต้นแบบเมืองท่องเที่ยวรักษ์โลกระดับเวิลด์คลาส

เมื่อไม่นานมานี้ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เซ็นเอ็มโอยูสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ร่วมสนับสนุนสร้างเมืองสีเขียวคาร์บอนต่ำ ซีอีโอ ‘สมโภชน์ อาหุนัย’ ประกาศเดินหน้าร่วมมือทุกภาคส่วน ผลักดันภูเก็ตเป็นต้นแบบเมืองท่องเที่ยวรักษ์โลกระดับเวิลด์คลาส พร้อมนำ Green Business Platform ที่ใช้ไปประยุกต์ในจังหวัดอื่น หวังดันไทยเป็นประเทศอันดับต้นของโลกที่เข้าสู่ Carbon Neutral เร็วกว่ากำหนด

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัท EA ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ในความร่วมมือ ‘สนับสนุนเมืองภูเก็ตเป็น Green Island : Low Carbon City เพื่อส่งเสริมการขยายการเติบโตเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจในภูเก็ต’ เพื่อให้เมืองภูเก็ตเป็นเกาะสีเขียว เป็นเมืองคาร์บอนต่ำ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดในทุกมิติ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก

โดยกลุ่ม EA มีความตั้งใจที่จะช่วยประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) และเล็งเห็นว่าภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความเหมาะสมที่จะส่งเสริมเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นจุดหมายท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ภูเก็ตจึงเป็นจังหวัดแรกและเป็นจังหวัดต้นแบบที่ EA จะสนับสนุนส่งเสริม Carbon Neutral อย่างครบวงจร   

สำหรับแนวทางสนับสนุนเมืองภูเก็ตเป็น Green Island; Low Carbon City นั้น กลุ่ม EA พร้อมร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนและลงทุน Green Logistics และ Green Electricity ในเกาะภูเก็ต ประกอบด้วย 

1. ส่งเสริมสนามบินนานาชาติภูเก็ตลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้ Green Electricity ผลิตไฟฟ้าจากไฮบริดโซล่าร์และแบตเตอรี่, เปลี่ยนรถใช้ในสนามบินเป็นอีวี และ ติดตั้งชาร์จเจอร์ในสนามบิน ส่งเสริมการใช้อีวีสาธารณะในสนามบิน โดยร่วมกับ บมจ.ท่าอากาศยานไทย จัดตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ บริษัท ท่าอากาศยาน พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด

2. ส่งเสริมการขายการใช้รถอีวีเพื่อการพาณิชย์และสาธารณะในภูเก็ตร่วมกับบริษัทเอกชนท้องถิ่น ผ่านบริษัท Nex Point PCL 

3. การติดตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า EA Anywhere ทั้งระบบ AC และ DC ตามจุดคมนาคมสำคัญของภูเก็ต

4. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำโดยใช้ E-Ferry ร่วมกับภาคเอกชนท้องถิ่น การขนส่งและท่องเที่ยวระหว่างเกาะ

5. ร่วมลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าขยะประสิทธิภาพสูง กำลังการผลิต 9.9 MW ในโครงการกำจัดขยะมูลฝอยด้วยระบบเตาเผาขนาดไม่น้อยกว่า 500 ตันต่อวัน ที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลนครภูเก็ต 

6. การปรึกษาและลงทุนใน Smart City, เมืองใหม่, หรือ กลุ่มมิกซ์ยูสที่อยู่อาศัยใหญ่ ส่งเสริม Green Logistics และ Green Electricity

โดยกลุ่ม EA สามารถเริ่มโครงการ Carbon Neutral หลายโครงการพร้อมกันภายในปีนี้ เนื่องจากภาครัฐและเอกชนของจังหวัดภูเก็ตให้การสนับสนุนการส่งเสริมการปฏิบัติการจริง เพื่อผลักดันให้เมืองภูเก็ต มีสิ่งแวดล้อมที่ดี นำไปสู่จุดหมายการท่องเที่ยวสีเขียว Green Traveling in Green Island. และกลุ่ม EA คาดหวังว่าจะสามารถนำ Green Business Platform ที่ดำเนินในภูเก็ต ไปประยุกต์ใช้จังหวัดอื่นๆ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับต้นของโลกที่เข้าสู่ Carbon Neutral ได้เร็วกว่ากำหนด

“กลุ่ม EA สนับสนุนเมืองภูเก็ตเป็น Green Island; Low Carbon City เพื่อส่งเสริมการขยายการเติบโตที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจในภูเก็ตในระดับ World Class เราพร้อมร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต สนับสนุนและลงทุน Green Logistics และ Green Electricity ทุกมิติในเกาะภูเก็ต และ กลุ่ม EA คาดหวังว่าจะสามารถนำ Green Business Platform ที่ดำเนินการในภูเก็ต ไปประยุกต์ใช้กับจังหวัดอื่นๆ เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับต้นในโลกที่เข้าสู่ Carbon Neutral ได้เร็วกว่ากำหนด” นายสมโภชน์ กล่าวในที่สุด

‘EA’ ติดอันดับความยั่งยืนระดับโลก The Sustainability Yearbook 2024

(23 ก.พ. 67) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ผู้นำธุรกิจพลังงานสะอาดระดับภูมิภาคอาเซียน ได้เปิดเผยว่า บริษัทได้รับคัดเลือกติดอันดับดัชนีความยั่งยืน ‘The Sustainability Yearbook 2024’ ในหมวดธุรกิจ Electric Utilities Industry รายงานองค์กรระดับโลก จัดโดย S&P Global สะท้อนการบริหารจัดการ ตามหลัก ESG สร้างคุณค่าระยะยาวและความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ พร้อมเดินหน้าพัฒนาธุรกิจสู่ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวว่า กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจเติบโต แข็งแกร่งและยั่งยืน โดยยึดถือความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และหลักบรรษัทภิบาล พร้อมมุ่งมั่นพัฒนา ‘Green Product’ ตั้งแต่กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน, ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน, ธุรกิจแบตเตอรี่ ลิเธียม ไอออน, ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และสถานีชาร์จ EA Anywhere มาอย่างต่อเนื่องกว่า 16 ปี  

ตลอดการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ ได้รับการยอมรับและถูกจัดอันดับ ในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ล่าสุด S&P Global ผู้ให้บริการด้านข้อมูลการเงิน และการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ได้ประกาศการจัดอันดับความยั่งยืนของกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ โดยปรากฏในรายงาน The Sustainability Yearbook 2024 หมวดธุรกิจ Electric Utilities Industry เป็นเครื่องหมายการันตี อีกขั้นของความสำเร็จ และ ความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจ ตามมาตรฐาน ESG ภายใต้กลยุทธ์ ‘Energy Absolute Energy for The Future’ ที่พร้อมจะยกระดับนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เป็นเลิศในทุกด้าน สู่ความเป็นผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด สร้างการเติบโตของธุรกิจแบบก้าวกระโดด ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างความสมดุล เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อองค์กร สังคม และประเทศชาติ

“กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาด มีแนวทางการบริหารจัดการที่ชัดเจน มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและโปร่งใส มีหลักบรรษัทภิบาล พร้อมที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ทำให้เกิดประโยชน์กับผู้ถือหุ้นและทุกภาคส่วนของสังคมอย่างยั่งยืน” นายอมรกล่าว

ความสำเร็จเกิดจากความทุ่มเทของพนักงาน ซึ่งเป็นที่ประจักษ์สร้างความเชื่อมั่นในสายตาผู้ลงทุน โดยลงทุนด้านการยกระดับอุตสาหกรรมการขนส่งสีเขียว ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสิ่งแวดล้อม ให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งมีเมืองภูเก็ตเป็นโมเดลเศรษฐกิจต้นแบบ ‘Green Island; Low Carbon City’ ซึ่งจะมีบทบาทในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ สนับสนุนขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน และเป็นจังหวัดต้นแบบที่จะขยายผลความสำเร็จนี้ไปสู่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

‘เชลล์’ ประกาศยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ปี 2024 ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้น้ำมันของเชลล์

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท เชลล์ จำกัด (มหาชน) (Shell) ได้เผยแพร่การอัปเดตข้อมูลการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ที่มีการเปิดตัวกลยุทธ์ Powering Progress ในปี ค.ศ. 2021 ในงาน Capital Markets Day ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2023 นั้น เชลล์ได้เน้นย้ำถึงแนวทางของกลยุทธ์นี้ที่จะนำมาใช้ในการสร้างมูลค่าที่มากขึ้นควบคู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในงาน Capital Markets Day นั้น เชลล์มุ่งเน้นที่ ‘การสร้างมูลค่าที่มากขึ้น’ ส่วนในการอัปเดตการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานครั้งนี้ เชลล์มุ่งเน้นไปที่วิธีการที่กลยุทธ์เดียวกันนี้จะช่วย ‘ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก’

เป้าหมายของเราที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในค.ศ. 2050 ในการดําเนินงานและผลิตภัณฑ์พลังงานทั้งหมดนี้กำลังเปลี่ยนแปลงธุรกิจของเรา เราเชื่อว่าเป้าหมายนี้จะช่วยให้บรรลุความมุ่งมั่นที่ท้าทายของข้อตกลงปารีสในการจํากัดภาวะโลกร้อนให้ไม่เกิน 1.5°C เหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม กลยุทธ์ของเชลล์สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่โซลูชันพลังงานคาร์บอนต่ำอย่างสมดุลและมีแบบแผนเพื่อรักษา แหล่งพลังงานที่มั่นคงและมีระดับราคาที่จับต้องได้

มร.วาเอล ซาวัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุดของบริษัท เชลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “พลังงานมีส่วนช่วยในการพัฒนาของมนุษย์อย่างมากมาย ช่วยให้ผู้คนทั่วโลกจำนวนมากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบัน โลกต้องตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ต้องจัดการกับความท้าทายเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผมรู้สึกมีกำลังใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในหลายประเทศ และเทคโนโลยีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งตอกย้ำความเชื่อมั่นอันแน่วแน่ของผมในทิศทางของกลยุทธ์เรา” 

“เชลล์มีบทบาทสำคัญมากในการจัดหาพลังงานที่โลกต้องการในปัจจุบัน และในการช่วยสร้างระบบพลังงานคาร์บอนต่ำสำหรับอนาคต การมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพ วินัย และความเรียบง่ายในกระบวนการทำงานของเรา ช่วยผลักดันให้เกิดการตัดสินใจที่ชัดเจน ในจุดที่เราสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับนักลงทุนและลูกค้าของเชลล์ เราเชื่อว่า การมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพ วินัย และความเรียบง่ายนี้จะยิ่งทำให้เรามีโอกาสบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศมากขึ้น โดยการจัดหาพลังงานประเภทต่าง ๆ ที่โลกต้องการ เราเชื่อว่าเชลล์เป็นทั้งทางเลือกสำหรับการลงทุนและพันธมิตรที่เหมาะสมที่สุด ในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานนี้” ซาวัน กล่าว

>>แผนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของเชลล์ครอบคลุมธุรกิจทั้งหมด ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญ

ในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และเชลล์กำลังขยายธุรกิจ LNG ชั้นนำของโลกด้วยความเข้มข้นของคาร์บอนที่ต่ำลง นอกจากนี้ เชลล์ยังมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตน้ำมันและก๊าซ ในขณะที่ยังคงรักษาระดับการผลิตน้ำมันให้คงที่ และเพิ่มยอดขายพลังงานคาร์บอนต่ำ รวมถึงทยอยลดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมัน เช่น น้ำมันเบนซิน ดีเซล และน้ำมันเครื่องบิน ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้ค้าพลังงานรายใหญ่ที่สุดของโลก เชลล์สามารถเชื่อมโยงการจัดหาพลังงาน คาร์บอนต่ำเพื่อตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแน่นอน เช่นเดียวกับที่เราเคยทำมาเป็นเวลานานกับธุรกิจน้ำมันและก๊าซ  
เป้าหมายด้านสภาพอากาศของเชลล์มีความคืบหน้าที่ดีมากดังนี้ 

• ในปี ค.ศ. 2023 เชลล์บรรลุความสำเร็จไปแล้วกว่า 60% จากเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการดำเนินงานลงครึ่งหนึ่งภายในปี ค.ศ. 2030  เมื่อเทียบกับ ปี ค.ศ. 2016 ซึ่งถือว่าเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดโดยผู้ลงนามในกฎบัตรการลดปริมาณคาร์บอนของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ (Oil and Gas Decarbonization Charter) ที่ตกลงกันในเวทีการประชุมสมัชชาภาคีประเทศอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 28 (COP28)

• เชลล์ยังคงเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในการลดการปล่อยก๊าซมีเทน โดยเป็นหนึ่งในบริษัทแรก ๆ ที่ตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซมีเทนเกือบเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยในปี ค.ศ. 2023 เชลล์บรรลุการปล่อยความเข้มข้นของก๊าซมีเทนที่ 0.05% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ 0.2% อย่างมีนัยสำคัญ 

นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 2023 เชลล์ยังได้ให้การสนับสนุนกองทุน World Bank’s Global Flaring and Methane Reduction ของธนาคารโลกเพื่อสนับสนุนการดำเนินการร่วมกันของทั้งอุตสาหกรรมเพื่อการลดการปล่อยก๊าซมีเทนและการเผาก๊าซธรรมชาติเพื่อลดแรงดันในกระบวนการผลิตในปี ค.ศ. 2023 เชลล์บรรลุเป้าหมายด้านความเข้มข้นของคาร์บอนสุทธิของผลิตภัณฑ์พลังงานที่จำหน่าย โดยลดลง 6.3% เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2016 ซึ่งเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่เชลล์บรรลุเป้าหมาย เชลล์กำลังเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจพลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โดยที่มีจุดแข็งที่สามารถแข่งขันได้ มองเห็นความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า และเข้าใจชัดเจนกับกฎระเบียบที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อผลักดันการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคขนส่ง เชลล์ตั้งเป้าความท้าทายใหม่ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันโดยลูกค้าลง 15-20% ภายในปีค.ศ. 2030 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2021 (ขอบเขตที่ 3, หมวดที่ 11)

การมุ่งเน้นไปยังจุดที่เชลล์สามารถสร้างมูลค่าได้สูงสุด นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจไฟฟ้าแบบบูรณาการ เชลล์วางแผนที่จะสร้างธุรกิจไฟฟ้า รวมถึงพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย ยุโรป อินเดีย และสหรัฐอเมริกา และเชลล์ได้ถอนตัวการจัดหาพลังงานแก่ลูกค้ารายย่อยระดับครัวเรือนในยุโรป

เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในการจัดลำดับความสำคัญของมูลค่ามากกว่าปริมาณในธุรกิจไฟฟ้า เราจะให้ความสำคัญกับการเลือกตลาดและกลุ่มลูกค้า ซึ่งรวมถึงการขายไฟฟ้าให้กับลูกค้าภาคธุรกิจมากขึ้น และลดการขายให้กับลูกค้ารายย่อยลง การที่เราให้ความสำคัญกับมูลค่าเช่นนี้ เชลล์คาดว่าจะทำให้อัตราการเติบโตของยอดขายไฟฟ้าโดยรวมลดลงภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งจะส่งผลต่อการปรับเป้าหมายความเข้มข้นของการปล่อยคาร์บอนสุทธิของเชลล์  ปัจจุบันเชลล์มีเป้าหมายความเข้มข้นของคาร์บอนสุทธิจากผลิตภัณฑ์พลังงานที่จำหน่ายลง 15-20% ภายในปี ค.ศ. 2030 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2016 และเทียบกับเป้าหมายเดิมที่ 20% 

ทั้งนี้ เชลล์จะยังคงรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับเป้าหมายและความมุ่งมั่นของเราอย่างโปร่งใสทุกปี

>>ขับเคลื่อนสู่อนาคตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ระหว่างปี ค.ศ. 2023 ถึงปลายปี ค.ศ. 2025 เชลล์ได้ลงทุนจำนวน 10,000-15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโซลูชันพลังงานคาร์บอนต่ำ ซึ่งทำให้เชลล์กลายเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โดยในปี ค.ศ. 2023 เชลล์ลงทุน 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในโซลูชันพลังงานคาร์บอนต่ำ หรือคิดเป็นกว่า 23% ของการลงทุนทั้งหมด 

การลงทุนเหล่านี้ครอบคลุมถึงสถานีชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานหมุนเวียน ไฮโดรเจน การดักจับและกักเก็บคาร์บอน การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสำหรับเชลล์และลูกค้า เชลล์มุ่งมั่นที่จะช่วยปรับขนาดเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้กลายเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับลูกค้า และยังมุ่งเน้นการผลักดันนโยบายสำคัญ ในด้านต่าง ๆ ที่เชลล์เชื่อมั่นว่ามีความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เช่น นโยบายที่สนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ รวมถึงราคาคาร์บอน การจัดหาพลังงานที่มั่นคงตามความต้องการของโลก 
การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงความต้องการ และการเติบโตของโซลูชันพลังงานคาร์บอนต่ำ

*การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของลูกค้าจากการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันของเชลล์ (ขอบเขตที่ 3, หมวดที่ 11) อยู่ที่ 517 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ในปีค.ศ. 2023 ซึ่งลดลงจาก 569 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ในปี ค.ศ. 2022

‘กฟผ. - Metlink’ แลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนฯ ปักหมุด!! วิธี ‘ไครโอเจนิค’ เล็งต่อยอดใช้งานในโรงไฟฟ้าของ กฟผ.

เมื่อวันที่ (20 มี.ค.67) นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน เป็นผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมลงนามสัญญารักษาความลับ Confidentiality Agreement (CA) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้เทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีไครโอเจนิค (Cryogenic Carbon Capture: CCC) กับนายประพันธ์ อัศวพลังพรหม กรรมการและประธานบริหาร ผู้แทนจาก บริษัท เมทลิงค์ อินโฟ จํากัด (Metlink Info Co.,Ltd) โดยมีนายฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมและก่อสร้างโรงไฟฟ้า กฟผ. และนายนิพนธ์ ลิ่มบุญสืบสาย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เมทลิงค์ อินโฟ จํากัด ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ อาคาร 50 ปี กฟผ. สำนักงานใหญ่ จ.นนทบุรี

นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า เป็นก้าวสำคัญในการขยายองค์ความรู้ด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กว้างขึ้น โดยการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีไครโอเจนิคหรือความเย็นยิ่งยวด Cryogenic Carbon Capture: CCC เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าสนใจ สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้กับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ได้ในอนาคต และเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ Triple S: Sink ของ กฟผ. ด้วยวิธี ‘การดักจับ ใช้ประโยชน์และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Utilization and Storage: CCUS)’ ซึ่งจะตอบโจทย์แผน EGAT Carbon Neutrality ที่มีเป้าหมายเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 

นายประพันธ์ อัศวพลังพรหม กรรมการและประธานบริหาร ตัวแทนจาก บริษัท Metlink เปิดเผยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้ กฟผ. สามารถบรรลุเป้าหมายของ CCUS ด้วยต้นทุนที่ต่ำ โดยการดักจับคาร์บอนด้วยวิธีความเย็นยิ่งยวด เป็นเทคโนโลยีทางเลือกในการดักจับคาร์บอน และกำลังได้รับการพัฒนาเพื่อใช้งานในโรงไฟฟ้า สามารถแข่งขันได้ในเชิงต้นทุน และคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการดักจับมีความบริสุทธิ์เกือบ 100% จึงมีศักยภาพที่จะนำไปใช้งานได้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และทางการแพทย์ เป็นต้น

‘OR’ นำร่องใช้รถไฟฟ้าขนาดใหญ่ขนส่งเมล็ดกาแฟดิบ ระยะทางไกล ‘เชียงใหม่-อยุธยา’ รายแรกของไทย

(21 มี.ค. 67) นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) พร้อมด้วย ดร.อารยา คงสุนทร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (WICE) และ นายชูเดช คงสุนทร กรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจกลุ่มบริษัท WICE ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการทดลองการขนส่งเมล็ดกาแฟดิบ โดยยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่ (EV Truck) หรือ Green Logistics for Café Amazon Project ระหว่าง บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) โดยมี นายสุชาติ ระมาศ ผู้อำนวยการใหญ่ OR และ นายธเนศ เมฆินทรางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ WICE ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องพลังไทย 2 ชั้น M อาคาร 2 อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่

นายดิษทัต เปิดเผยว่า ความร่วมมือกับ WICE ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการร่วมกันศึกษาและสร้างต้นแบบ (Prototype) ‘กรีน โลจิสติกส์’ (Green Logistics) สำหรับทดลองระบบการขนส่งสินค้าระยะไกลด้วย EV Truck เป็นเจ้าแรกของประเทศไทย เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี และความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีให้แก่ OR ต่อไป 

โดย OR และ WICE จะร่วมกันออกแบบ EV Truck พร้อมทดลองการขนส่ง โดยกำหนดเส้นทางการขนส่ง ‘กรีน คอฟฟี่ บีน รูท’ (Green Coffee Bean Route) เพื่อขนส่งเมล็ดกาแฟดิบจากต้นทางที่โกดังเก็บเมล็ดกาแฟของ OR อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มายังปลายทางที่โกดังเก็บเมล็ดกาแฟที่ศูนย์ธุรกิจไลฟ์สไตล์คาเฟ่อเมซอน (OASYS) อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เครือข่ายสถานีชาร์จ EV Station PluZ ของ OR ในเส้นทาง ‘Green Coffee Bean Route’ เป็นจุดพักเพื่อชาร์จไฟของรถขนส่ง เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในกิจกรรมการขนส่งสินค้า ตลอดจนช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างต้นแบบของการนำห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจสู่ความเป็น Green ทั้งระบบนิเวศของ OR และการพัฒนา Ecosystem ของกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเมล็ดกาแฟแบบยั่งยืน โดยก่อนหน้านี้ OR ได้เปิดจุดรับซื้อและโรงแปรรูปกาแฟคาเฟ่ อเมซอน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจุดรับซื้อเมล็ดกาแฟกะลาอะราบิกาจากเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรโดยตรงในราคาที่เป็นธรรม รวมถึงได้เปิดแผนการดำเนินโครงการอุทยาน คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon Park) ที่จังหวัดลำปาง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจต้นน้ำของคาเฟ่อเมซอน และเป็นการสร้างแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ณ จังหวัดลำปาง เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

ดร.อารยา กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือ กับ OR ในครั้งนี้ จะส่งเสริมแนวทางการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ให้สอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของ WICE พร้อมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจของบริษัท ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ไปพร้อมกับการดูแลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน (Green Logistics) และช่วยสนับสนุนกลยุทธ์ด้าน ESG ของ OR ในการผลักดันการใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางและขนส่งให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานอย่างไร้รอยต่อ และมุ่งเน้นให้การใช้ยานยนต์เชื้อเพลิงไฟฟ้า (EV) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกภาคส่วน ซึ่งการให้บริการด้านยานยนต์เชื้อเพลิงไฟฟ้า (EV) เป็นหนึ่งโครงการที่ WICE ได้ริเริ่มและผลักดันมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือกับพันธมิตรและคู่ค้า เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ ไปสู่ระบบยานยนต์เชื้อเพลิงไฟฟ้า (EV) อย่างแท้จริง

“ความร่วมมือในครั้งนี้ ยังสอดคล้องกับแนวทางการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนผ่าน OR SDG โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน ‘G’ หรือ ‘GREEN’ หรือการสร้างโอกาสเพื่อสังคมสะอาด โดยมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของ OR รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) และบรรลุเป้าหมายของ OR 2030 Goals หรือเป้าหมายขององค์กรในการสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกับสังคมชุมชน สิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับผลดำเนินการงานที่ดี” นายดิษทัต กล่าวเสริมในตอนท้าย

‘กัลฟ์’ ผนึกกำลัง ‘ซันโกรว์’ จัดหาระบบกักเก็บพลังงาน ใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เดินเครื่อง ปี 67-73

(27 มี.ค. 67) บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) จับมือ บริษัท ซันโกรว์ พาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (Sungrow) หนึ่งในผู้จัดหาอินเวอร์เตอร์และระบบกักเก็บพลังงานระดับโลก ลงนามในสัญญาจัดหา (Master Supply Agreement) ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage Systems) และระบบอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ (PV Inverter) สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มบริษัทกัลฟ์และบริษัทในเครือ รวมกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 3,500 เมกะวัตต์ (MWp) โดยมีแผนทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ระหว่างปี 2567-2573

สำหรับการลงนามสัญญาในครั้งนี้เป็นการลงนามระหว่างบริษัท กัลฟ์ เอ็นจิเนียริ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (บริษัทที่ GULF ถือหุ้นร้อยละ 100) และ Sungrow เพื่อจัดหาระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ และระบบอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farms) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar Farms with Battery Energy Storage Systems) และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftops) ของกลุ่มบริษัทกัลฟ์และบริษัทในเครือ รวมกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 3,500 เมกะวัตต์ (MWp) 

โดยมีนายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GULF และ นายเฉา เหรินเซียน ประธานกรรมการบริหาร Sungrow เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วย นางพรทิพา ชินเวชกิจวานิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ GULF และนายซู เยว่จื้อ ผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Sungrow ร่วมเป็นสักขีพยาน

ความร่วมมือครั้งนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองบริษัท ในการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจพลังงานหมุนเวียน รวมถึงสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ GULF ในการคัดสรรพันธมิตรชั้นนำที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มั่นใจได้ถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบกักเก็บพลังงานและระบบอินเวอร์เตอร์ ซึ่ง Sungrow เป็นผู้นำในธุรกิจอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ระดับสากลด้วยประสบการณ์กว่า 27 ปี ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่สูงที่สุด (Tier 1) 

อีกทั้งยังมีปริมาณการขายระบบอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นอันดับ 1 ของโลก ขนาดการติดตั้งมากกว่า 405 กิกะวัตต์ ในกว่า 170 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อินเดีย และสเปน นอกจากนี้การจัดซื้ออุปกรณ์ในปริมาณมากยังเพิ่มประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ส่งผลให้ GULF บริหารจัดการต้นทุน และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top