Saturday, 10 May 2025
Econbiz

ภาคธุรกิจเอกชน ชงรัฐตั้งคณะทำงานฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมดันเป็นวาระแห่งชาติ ระบุอยากเห็นคนไทยได้ฉีดวัคซีนตั้งแต่ ก.ค.นี้

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คือ ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้เห็นชอบให้จัดทำข้อเสนอให้ภาครัฐตั้งคณะทำงานเตรียมการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนในประเทศเป็นเรื่องเร่งด่วน และกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนไทยและต่างชาติ

ทั้งนี้ ภาคเอกชนอยากเห็นประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 หรือตั้งแต่เดือนก.ค.เป็นต้นไปจนถึงธ.ค.นี้ โดยให้ทำใบรับรองยืนยันการฉีดวัคซีน หรือวัคซีน พาสสปอร์ตให้กับพนักงานต่างชาติที่ทำงานในไทย และต่างด้าวโดยในส่วนของต่างด้าวและต่างชาติเอกชนพร้อมร่วมมือรัฐในเรื่องค่าใช้จ่าย โดยขอลดหย่อนภาษีเรื่องการฉีดวัคซีนโดยเป็นโมเดลในการบริหารจัดการนำร่องในภาคท่องเที่ยวเป็นลำดับแรก

นอกจากนี้ กกร.ยังประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 โดยประเมินว่า จะขยายตัวในกรอบ 1.5-3.5% การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ 3-5% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 0.8 -1% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

อพท. ผลักดันพื้นที่พิเศษสู่เมืองในเครือข่าย ‘เมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก’ หวังดันเมืองพัทยาสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ หลังปั้นภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพมหานครฯ และสุโขทัยสำเร็จไปแล้วก่อนหน้า

นายบรรลือ กุลละวณิชย์ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนขับเคลื่อนเมืองพัทยาสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ ที่ดำเนินการโดยองค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.

โดยมี เรือตรี ปราโมทย์ ทับทิม ปลัดเมืองพัทยา นายรัตนชัย สุทธิเดชานัย ที่ปรึกษานายกเมืองพัทยาด้านภาคท่องเที่ยว รวมทั้งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่เขตเมืองพัทยา เข้าร่วมที่ห้องประชุมโรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี

นายสุธารักษ์ สุนทรวิภาต ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 3 อพท. เปิดเผยว่า อพท. ได้มีแนวทางการผลักดันพื้นที่พิเศษให้เป็นเมืองในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ตามหลักเกณฑ์พิจารณาสู่ความเป็นเมืองสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยว 7 ด้าน คือ 1.) เมืองแห่งวรรณคดี 2.) เมืองแห่งการออกแบบ 3.) เมืองแห่งภาพยนตร์ 4.) เมืองแห่งดนตรี 5.) เมืองแห่งหัตถกรรมพื้นบ้าน 6.) เมืองแห่งศิลปกรรมร่วมสมัย และ 7.) เมืองแห่งอาหาร

ที่ผ่านมา อพท.ได้ผลักดันพื้นที่พิเศษเข้าเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกของไทยไปแล้ว ประกอบด้วย 1.) ภูเก็ต เมืองแห่งอาหาร 2.) เชียงใหม่ เมืองแห่งหัตถกรรมพื้นบ้าน 3.) กรุงเทพมหานครฯ เมืองแห่งการออกแบบ 4.) สุโขทัย เมืองแห่งหัตถกรรมพื้นบ้าน และกำลังผลักดันสุพรรณบุรี ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี และเมืองพัทยา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ ซึ่งทางยูเนสโกมีหลักเกณฑ์พิจารณาชัดเจนว่า เมืองที่จะได้รับการรับรองต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านนั้นๆ อย่างชัดเจน

ทั้งนี้ ทาง อพท.3 ได้มีการเสนอแผนปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บทการบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงฉบับ พ.ศ.2564 - 2570 ให้กับเมืองพัทยา ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทพัฒนาเมืองพัทยาสู่เมืองภาพยนตร์ในระยะ 5 ปี (2565 - 2570) และแนวทางของรัฐบาลในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ (City of Film) โดยบูรณาการความร่วมมือทุกหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนเมืองพัทยาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์

องค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษ 3 สาขาพัทยา จึงได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้ในหัวข้อ แนวทางการขับเคลื่อนเมืองสู่เมืองสร้างสรรค์ตามแนวทางขององค์กรยูเนสโก จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นเป็นการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเมืองพัทยาสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการแบ่งกลุ่มจัดทำแผนงานโครงการฯ ก่อนสรุปเป็นข้อมูลให้กับทาง อพท.สำนักงานใหญ่ดำเนินการผลักดันให้เมืองพัทยาได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกตามลำดับต่อไป


ที่มา: ภาพ/ข่าว อนันต์ สุขวัฒนะ เอกชัย สุขวัฒนะ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค พัทยา จ.ชลบุรี

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เผย รถไฟฟ้า MRT พร้อมรับผู้โดยสารใช้สิทธิโครงการ ‘เราชนะ’ ได้ตั้งแต่ 5 ก.พ. - 31 พ.ค.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) พร้อมสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยได้เตรียมพร้อมรองรับการใช้สิทธิ์ในโครงการ “เราชนะ” ออกเหรียญโดยสาร (Token) เพื่อเดินทางในระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ได้ทุกสถานี ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ – 31 พฤษภาคม 2564

ผู้ได้รับสิทธิในโครงการฯ แบ่งเป็น กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และกลุ่มผู้ได้รับสิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ดังนี้

กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้สิทธิสนับสนุนค่าเดินทางจากภาครัฐได้ทั้ง 2 กรณี

กรณีที่ 1 ใช้สิทธิค่าเดินทางของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในวงเงิน 500 บาทต่อเดือน โดยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีสัญลักษณ์ “แมงมุม” บนหลังบัตร สามารถใช้แตะที่ประตูจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเพื่อเดินทางได้ทันที ส่วนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีสัญลักษณ์ “Prompt Card” ต้องนำบัตรมาออกเหรียญโดยสารที่ห้องออกบัตรโดยสาร

กรณีที่ 2 ใช้สิทธิในโครงการ “เราชนะ” ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนำบัตรมาออกเหรียญโดยสารที่ห้องออกบัตรโดยสาร ซึ่งระบบจะตัดเงินจากโครงการฯ ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถเริ่มใช้สิทธิ์ในโครงการ “เราชนะ” ได้ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2564

กลุ่มผู้ได้รับสิทธิในโครงการ “เราชนะ” ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง (G-Wallet) สามารถมาติดต่อออกเหรียญโดยสารได้ที่ห้องออกบัตรโดยสารทุกสถานี โดยระบบจะตัดเงินจากโครงการ “เราชนะ” ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งจะเริ่มใช้สิทธิ์ในโครงการฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์-31 พฤษภาคม 2564

ผู้ได้รับสิทธิในโครงการ “เราชนะ” สามารถออกเหรียญโดยสารประเภทบุคคลทั่วไป โดยคิดอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง ได้ที่ห้องออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ทุกสถานี ระหว่างเวลา 06.00-23.00 น.

และหากผู้ใช้สิทธิออกเหรียญโดยสารแล้ว จะไม่สามารถนำเหรียญโดยสารเปลี่ยนหรือคืนได้ทุกกรณี ทั้งนี้ สิทธิในโครงการฯ ไม่สามารถใช้ออกเหรียญโดยสารประเภทเด็ก/ผู้สูงอายุ และไม่สามารถใช้เติมเงิน เติมเที่ยวโดยสาร ชำระค่าที่จอดรถ หรือชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ของรถไฟฟ้า MRT ได้

‘เอ็มบีเค เซ็นเตอร์’ หรือ ที่คนไทยเรียกติดปากว่า ‘มาบุญครอง’ จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากหนึ่งในแผนการรีโนเวตศูนย์การค้าครั้งใหม่ในรอบ 36 ปีนั้น มีชื่อของ ‘ดองกิ’ ราชาแห่งร้านดิสเคาน์สโตร์จากญี่ปุ่นติดเข้ามาอยู่ในโผด้วย

นายสมพล ตรีภพนารถ กรรมการผู้จัดการธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ทำการรีโนเวตครั้งใหญ่ในรอบ 36 ปี โดยมีการปรับเปลี่ยน จัดโซนนิ่งและพื้นที่ภายในใหม่ เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการเดินช็อปปิ้ง รองรับความต้องการได้อย่างตรงจุด หลังจากห้างสรรพสินค้าโตคิวได้ปิดตัวลง

สำหรับการรีโนเวตพื้นที่บางส่วนภายในศูนย์ฯ จัดวางผังร้านค้าใหม่ เพิ่มเติมร้านค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ ทั้งวัยทำงาน นักเรียน นักศึกษา และ กลุ่มครอบครัว

โดยแบ่งพื้นที่แต่ละชั้น ดังนี้

• ชั้น 1 จับมือกับเครือสหพัฒน์ทั้งในส่วนของไอ.ซี.ซี ,โอ.ซี.ซี. และร้านซูรูฮะ

• ชั้น 2 เปิดตัวร้านดองกิ (DON DON DONKI) สาขาแฟล็กชิฟสโตร์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงและเน้นบริการสินค้าในกลุ่มอาหารเป็นหลัก

• ชั้น 3 อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ในการเช่าพื้นที่

• ชั้น 4 เป็นโซนสินค้าไอทีทั้งหมด

ทั้งนี้ศูนย์การค้าเอ็มบีเค มีแผนเปิดตัวการรีโนเวตอย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาส 3 นี้ ให้ได้อย่างน้อย 80% และจะเปิดได้เต็ม 100% ในช่วงปลายปี เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ ทั้งวัยทำงาน นักเรียน นักศึกษา และ กลุ่มครอบครัว ซึ่งปัจจุบันมีผู้มาใช้บริการราว 2-3 หมื่นคนต่อวัน โดยคาดการณ์ว่า ในช่วงไตรมาส 3 หลังวัคซีนโควิด-19 เริ่มถูกนำมาใช้ น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการในศูนย์ได้อีกครั้ง

สำหรับไฮไลท์ของการรีโนเวต เอ็มบีเค ในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะอยู่ที่การเปิดตัวร้านดองกิ สาขาแฟล็กชิฟสโตร์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย ต่อจากทองหล่อ และ The Market ราชดำริ เพราะจะเป็นจิ๊กซอว์เติมเต็มการจากหายไปของโตคิวได้ด้วย

...ว่าแต่ทำไม เอ็มบีเค ถึงสนใจในตัว ‘ดองกิ’

‘ดองกิ’ หรือ ‘DON DON DONKI’ (ชื่อในไทย) ถือเป็นดิสเคาน์สโตร์ที่คนไทยที่ชอบไปเที่ยวญี่ปุ่นคุ้นเคยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว หรือเรียกว่าเป็นร้านที่ใครไปญี่ปุ่น ก็ต้องแวะ โดยชูคอนเซ็ปต์ ‘ร้านค้าที่ขายเฉพาะแบรนด์ญี่ปุ่น’ ที่ตั้งใจเจาะกลุ่มคนญี่ปุ่นที่อาศัยในไทย คนไทยและนักท่องเที่ยว

ฉะนั้นการที่ ดองกิ มาเปิดในไทย และรวมถึงมาเปิดใหม่ในเอ็มบีเค จึงเป็นการตอบโจทย์กลุ่มนักท่องเที่ยวไทยที่เคยไปเที่ยวญี่ปุ่นบ่อยๆ นี่คือโอกาสทางตรง

ขณะเดียวกันโอกาสทางอ้อม เชื่อว่าจะมาจากการพลิกวิกฤติโควิด-19 ลามกรุง และทั่วโลกมาเป็นตัวผลักดัน หลังจากช่วงเวลานี้ในอดีตมักมีคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นจำนวนมาก แต่พอเจอโรคระบาดหนัก ก็ทำให้อดไป การได้มา ดองกิ ก็เหมือนได้ซึมซับความรู้สึกที่คุ้นเคยทดแทนไปกลายๆ

สำหรับผลตอบรับของ ดองกิ ในช่วงที่ผ่านมากับ 2 สาขาที่เปิดอยู่ ถือว่าน่าสนใจ เพราะแค่เพิ่งเข้ามาทำตลาดในบ้านเราได้ 2 ปี แต่ก็มีผลประกอบการที่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยผลประกอบการ บริษัท ดองกิ (ประเทศไทย) จำกัด

• ปี 2562 มีรายได้ 160 ล้านบาท

• ปี 2563 มีรายได้ 728 ล้านบาท

เหตุผลที่ทำให้รายได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดของดองกิ มาจาก...

1.) รูปแบบธุรกิจมีความเฉพาะเจาะจง ยากต่อการเลียนแบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบร้าน การจัดวางสินค้าที่ดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาสำรวจ และค้นหาหรือแม้แต่การใช้ปากกาเมจิก เขียนป้ายบอกราคา

2.) มอบประสบการณ์ที่แตกต่าง นอกจากจะมีสินค้าที่เป็นซิกเนเชอร์ หาไม่ได้จากที่ไหน เสน่ห์อีกอย่างของดองกิ คือ การมอบประสบการณ์ที่มากกว่ามาช้อปปิ้ง อย่างดองกิ สาขาทองหล่อ นอกจากจะมีร้านค้า ร้านอาหาร เครื่องดื่ม คาเฟ่ เบเกอรี และคาราโอเกะ ส่วนด้านบน ก็ยังทำเป็นสวนสนุก และสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์ นำเข้าจากญี่ปุ่น ถือเป็นอีกหนึ่งกิมมิกที่ทำให้หลายคนอยากไปเช็คอิน

สำหรับ ดองกิ ในไทยนั้น ตั้งเป้าขยายให้ได้ 20 สาขาใน 5 ปี โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังมองไปถึงเมืองท่องเที่ยว อย่าง ภูเก็ต, เชียงใหม่ และ ระยอง อีกด้วย


ที่มา:

https://www.prachachat.net/marketing/news-605213

https://www.facebook.com/1387231808035873/posts/3635479016544463/

‘อัศวิน’ เผย กทม. งดจัดงานตรุษจีนเยาวราช ป้องกัน ‘โควิด-19’

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาในช่วง วันตรุษจีน ของทุกปี กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ จะร่วมกับคณะกรรมการจัดงานตรุษจีนเยาวราช ผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ จัดงานเทศกาลตรุษจีนเป็นประจำ

แต่เนื่องจากปีนี้อยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโควิด-19 ในกลุ่มคนจำนวนมาก

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ที่อาจเกิดขึ้นได้จากงานตรุษจีนยาวราช จึงยกเลิกการจัดงานในปีนี้


ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2021/63902

โฆษกรัฐบาล เผยเศรษฐกิจไทยไทยผ่านจุดตกต่ำแล้ว เชื่อปี 2564 ตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ จะดีขึ้น ลั่นเงินคงคลังเข้มแข็ง ยืนยันมีงบประมาณลงทุนเพียงพอ

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันว่า สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยขณะนี้ถือว่ามีสัญญาณที่ดี มีรานงานจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลังออกมาให้ข้อมูลว่าช่วงเดือน ธ.ค. 2563

ตัวเลขต่าง ๆถือว่าดีเช่นการขยายการส่งออก มีการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 4.7 อัตราเงินเฟ้อต่ำ ทุนสำรองสูง ผ่านพ้นจุดที่ตกต่ำมาแล้ว และ ในปี 2564 ตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ จะดีขึ้น

อีกทั้งสำนักงานบลูมเบิร์ก ประเมินมุมมองอนาคตเศรษฐกิจของไทยปี 2564 ว่า เป็นประเทศที่น่าสนใจอันดับ 1 ใน 17 ประเทศของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทำให้มีแรงดึงดูดจากเงินทุนต่างประเทศ รวมทั้ง ดัชนีสุขภาพของไทยติด 1 ใน 10 ประเทศแรกของโรค

ส่วนการจัดเก็บรายได้ของไทยระหว่างปี 2557- 2563 ก็ถือว่าขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี มีเพียง3 ปี ที่จัดเก็บลดลงจากปีก่อนหน้า คือ 2557 , 2560 และ 2563 โดยปี 2563 สาเหตุที่จัดเก็บภาษีได้น้อยที่เกิดผลประทบจากโควิด19 ที่รัฐบาลออก มาตรการภาษีช่วยเหลือประชาชน และ มาตรการช่วยผู้ประกอบการต่าง จึงจัดเก็บรายได้น้อยลง

อีกทั้งสำนักงานบลูมเบิร์ก ประเมินมุมมองอนาคตเศรษฐกิจของไทยปี 2564 ว่า เป็นประเทศที่น่าสนใจอันดับ 1 ใน 17 ประเทศของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทำให้มีแรงดึงดูดจากเงินทุนต่างประเทศ รวมทั้ง ดัชนีสุขภาพของไทยติด1ใน 10 ประเทศแรกของโรค ส่วนการจัดเก็บรายได้ของไทยระหว่างปี 2557- 2563

ก็ถือว่าขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี มีเพียง3 ปี ที่จัดเก็บลดลงจากปีก่อนหน้า คือ 2557 ,2560 และ 2563 โดยปี 2563 สาเหตุที่จัดเก็บภาษีได้น้อยที่เกิดผลประทบจากโควิด19 ที่รัฐบาลออก มาตรการภาษีช่วยเหลือประชาชน และ มาตรการช่วยผู้ประกอบการต่าง ึงจัดเก็บรายได้น้อยลง

นายอนุชา กล่าวว่า "สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ชี้แจงว่าสภาพ เงินคงคลัง มีเพียงพอในการดำเนินนโยบาย และการลงทุนต่างๆ โดยเงินคงคลังปลายงวดปี 2563 มากกว่าเงินคงคลังปลายปี 2562 ร้อยละ 49.5 และ หนี้สาธารณะไม่เกินกรอบที่กฎหมายร้อยละ 60"

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ หวังมาตรการช่วยเหลือของรัฐ ‘เราชนะ’ / ‘คนละครึ่ง’ และ ‘ม.33 เรารักกัน’ ช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยปี 64 รอด!! คาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวกว่า 2.8%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังพิจารณามาตรการและโครงการต่างๆ ของรัฐบาลที่นำมาเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทั้ง ‘เราชนะ’ / ‘คนละครึ่ง’ และ ‘ม.33 เรารักกัน’ โดยจะประเมินว่า โครงการทั้งหมดจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยปีนี้อย่างไรบ้าง

ทั้งนี้ เบื้องต้นมีการประเมินถึงมาตรการทั้งหมดว่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจประมาณ 303,000 ล้านบาท หรือกระตุ้นจีดีพีเพิ่มขึ้นประมาณ 1.7% ซึ่งหากแยกเป็นโครงการต่าง ๆ จะพบว่า โครงการเราชนะ ที่ใช้วงเงินกว่า 2.1 แสนล้านบาท คาดช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 1.2% โครงการคนละครึ่ง วงเงิน 53,000 ล้านบาท คาดช่วย กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 0.3% และโครงการเรารักกัน วงเงิน 40,000 ล้านบาท คาดกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 0.2%

ฉะนั้น หากรวมมาตรการทั้งหมดแล้วเชื่อว่า จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจ และพยุงการจ้างงานในระบบไว้ได้กว่า 6 - 9 แสนคน ทั้งยังช่วยให้มีแรงงานกลับเข้ามาในกลุ่มธุรกิจค้าขาย ขนส่ง และกลุ่มอาหาร ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการว่างงานไม่ทะลุเกิน 2% และมีโอกาสกลับลงมาอยู่ที่ระดับ 1 - 1.5% ได้ ขณะเดียวกันยังช่วยลดหนี้สาธารณะลงได้ โดยคาดว่าปีนี้หนี้สาธารณะจะไม่ขึ้นไปแตะระดับ 90% ต่อจีดีพี และอาจจะอยู่ที่ระดับ 84 - 85% ต่อจีดีพี

จากภาพรวมดังกล่าว ทำให้หอการค้าฯ คงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยสำหรับปีนี้ไว้ที่ 2.8%

‘กรอ.พาณิชย์’ ไฟเขียว เรือใหญ่ ขนาด 400 เมตร เทียบท่าแหลมฉบัง รับสินค้าไทยส่งออกได้ สู่ประเทศปลายทาง ไม่ต้องถ่ายสินค้าลงเรือใหญ่ที่สิงคโปร์ โดยใช้เวลาขออนุญาต 1 วัน และมีอายุ 2 ปี คาดส่งออกไทยปีนี้ขยายตัวได้ถึง 4%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและะเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ครั้งที่ 1/2564 ว่า ที่ประชุมได้มีการติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการส่งออก โดยในเรื่องการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่เป็นปัญหากระทบไปทั่วโลก สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว โดยเรื่องที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้เปิดโอกาสเรือขนาด 400 เมตร

ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ และมีสายการเดินเรืออยู่ประมาณ 6 สายการเดินเรือ เข้ามาเทียบท่าที่แหลมฉบังได้โดยไม่ต้องขออนุญาต หรือไม่ต้องอนุญาตโดยใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ ภาคเอกชน ได้หารือร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะอนุญาตให้เรือที่มีขนาดใหญ่ 400 เมตร สามารถเข้ามาเทียบท่าและรับสินค้าไทยเพื่อการส่งออกได้ โดยการขออนุญาตใช้เวลาแค่ 1 วัน และใบอนุญาตจะมีอายุ 2 ปี จะช่วยให้การส่งออกสินค้าสามารถขึ้นเรือใหญ่และไปสู่ประเทศปลายทางได้เลย จากที่จะต้องไปถ่ายลงเรือใหญ่ที่สิงคโปร์หรือท่าอื่นๆ ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่จากนี้จะเป็นการลดต้นทุนไปในตัว

ส่วนการแก้ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ สำหรับสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องส่งออกโดยการใช้ตู้ จะหลีกเลี่ยงการใช้ตู้ โดยจะใช้เรือที่ขนสินค้าส่งออกแทน เช่น ผลไม้ มะพร้าว พืชเกษตรชนิดอื่น และไม้ยางพารา เป็นต้น โดยมีการเตรียมเรือไว้จำนวนหนึ่ง จะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.พ.2564

เพื่อลดการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ และจะส่งเสริมให้มีการนำให้เรือบรรทุกสินค้านำตู้เปล่าเข้ามา โดยมีมาตรการจูงใจ เช่น ลดค่าธรรมเนียมนำเข้าตู้เปล่า ซึ่งการท่าเรือฯ จะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป โดยจะเป็นผู้เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบ คาดว่าจากเร็วที่สุดอาจเป็นวันที่ 9 ก.พ.2564

สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังจีน จะเน้นการขนส่งทางรถหรือทางบกให้มากขึ้น โดยเร่งเจรจาการขนส่งผ่านด่านของไทยไปสปป.ลาว เวียดนาม และจีน ให้ได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นในการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ลงได้

นอกจากนี้ จะเร่งรัดการเปิดด่านชายแดนเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีด่านชายแดนทั้งหมด 97 ด่าน เปิดแล้ว 39 ด่าน ล่าสุดจากการเจรจาของกระทรวงพาณิชย์สามารถเปิดได้อีก 1 ด่าน คือ ด่านถาวรที่บึงกาฬ รวมเป็น 40 ด่าน และตั้งเป้าจะเร่งรัดเปิดอีก 3 ด่าน คือ 1.) ด่านป่าแซง จ.อุบลราชธานี 2.) ด่านเชียงคาน จ.เลย 3.) ด่านท่าเรือหายโศก จ.หนองคาย โดยจะนำเข้าหารือในที่ประชุม ครม. เพื่อให้ท่านนายกรัฐมนตรีสั่งการเป็นนโยบาย เพื่อเร่งรัดการส่งออกสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้นต่อไป

ส่วนปัญหาการส่งออกรถยนต์ไปเวียดนาม ซึ่งเดิมเคยติดขัดในเรื่องกฎระเบียบในการนำรถตัวอย่างไปตรวจสอบแทบทุกล็อต ต่อไปนี้ปัญหายุติแล้ว หลังจากที่อาเซียนได้ลงนามความตกลงยอมรับร่วมสินค้ายานยนต์ (MRA) โดยได้ลงนามครบทั้ง 10 ประเทศแล้ว เหลือขั้นตอนการให้สัตยาบัน โดยไทยจะเร่งนำเข้าสภาผู้แทนราษฎรให้เร็วที่สุด คาดว่าจะทันในสมัยประชุมนี้ หากบังคับใช้ จะส่งผลต่อการส่งออกรถยนต์ไปเวียดนามได้ง่ายขึ้น และปัญหาการขนส่งรถยนต์จากโรงงานไปท่าเรือเพื่อส่งออก ที่เดิมติดปัญหารถไม่มีป้ายทะเบียน ทำให้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม ล่าสุดหลังหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อยุติว่าจะไม่มีการจับกุม เพราะเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมายที่สามารถทำได้

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้ติดตามสถานการณ์ในเมียนมา พบว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อภาคการค้าและภาคธุรกิจของไทย ยังดำเนินธุรกรรมได้ตามปกติ การค้าขายระหว่างกันยังสามารถดำเนินการได้ การค้าชายแดนก็ไม่ได้รับผลกระทบ โดยด่านสำคัญ 3 ด่าน ที่เป็นด่านถาวรในการส่งออกสินค้าของไทยทั้งด่านแม่สาย แม่สอด หรือระนอง สามารถส่งออกสินค้าได้ตามปกติ

และด่านสังขลาบุรี ที่กาญจนบุรี ที่ปิดไป คาดว่าจะสามารถเปิดด่านได้ในเร็ววันนี้ และกระทรวงพาณิชย์ยังได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ที่เมียนมา ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และรายงานกลับมาทุกวัน และจะอัพเดตสถานการณ์ในเมียนมาที่เกี่ยวข้องกับการค้า การลงทุน การทำธุรกิจ ให้ทราบผ่านเว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ทุกวัน

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังได้มีการประเมินสถานการณ์ส่งออกในปี 2564 โดยภาคเอกประเมินว่าการส่งออกในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.5-4% ส่วนกระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามีโอกาสที่การส่งออกจะขยายตัวได้ถึง 4% เพราะการส่งออกของไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 2563 กำลงจะฟื้นตัวดีขึ้นในปี 2564

การบินไทย จะบิน หรือ จะจอด ? | สนามนักสู้ EP.23

จากข่าว 'การบินไทยขอยื่นส่งแผนฟื้นฟูอีกรอบศาลล้มละลายกลางให้เวลาถึง 2 มีนาคมปี 64' ทางการบินไทยจะมีวิธีการรับมือกับสถานการณ์นี้ต่อไปอย่างไร เพื่อให้พ้นสถานะล้มละลาย การบินไทยจะสู้อย่างไร พบคำตอบได้ที่สนามนักสู้ กับ คุณปอ ณัฐภูมิ รัฐชยากร . สนามนักสู้ เพราะทำธุรกิจ ต้องสู้! ติดตามรายการได้ทุกวันพุธ และวันศุกร์

.

 

การบินไทย เคาะลดขนาดฝูงบิน ปลดกัปตันเฉียด 400 ชีวิต พร้อมตัดเงินที่เหลือ 900 คน แต่พนักงานข้องใจ? ทำไมยังจะทุ่มหมื่นล้าน ซื้อเครื่องบินเจ้าปัญหาเพิ่ม

รายงานข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ล่าสุดการบินไทยได้สรุปแผนฟื้นฟูกิจการด้านการปรับลดฝูงบินเรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทตัดสินใจปลดระวางเครื่องบิน 3 ประเภท คือ แอร์บัส A-330-300, แอร์บัส A380 และโบอิ้ง 747 คงเหลือเครื่องบิน 3 ประเภทที่จะใช้ในการทำบินต่อไป ได้แก่ โบอิ้ง 777-300ER, โบอิ้ง 787 และแอร์บัส 350-900

การปรับลดฝูงบินครั้งนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อนักบินที่ทำการบินเครื่องบิน 3 ประเภทดังกล่าว รวมประมาณ 395 คน ซึ่งจะต้อง ‘ถูกปลดออก’ หรือขอให้เข้าร่วมโครงการสมัครใจลาออกก่อนกำหนด โดยเฉพาะนักบินที่มีอายุเกินกว่า 52 ปี ซึ่งบริษัทมีคำแนะนำให้สมัครใจลาออก โดยจะอนุมัติให้ออกตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2564 และส่งผลให้มีนักบินเหลือที่จะปฏิบัติงานรวม 905 คน จากปัจจุบันที่มีนักบินรวม 1,300 คน และในช่วงปี 2564-2565 จะไม่มีการเพิ่มจำนวนนักบินอีก

รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 บริษัทจะประกาศรายชื่อนักบินที่บริษัทเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อจำนวน 905 คน โดยจะใช้เกณฑ์ในการประเมินและคัดเลือก ซึ่งพิจารณาจากประสิทธิภาพการทำงานด้านต่างๆ

นอกจากนี้ บริษัทจะทำการปรับโครงสร้างเงินเดือนของนักบินใหม่ทั้งหมด โดยจะปรับลดอัตราเงินเดือนลง 15-20% ตามตลาดความต้องการนักบินทั่วโลกที่ปรับลดลง หลังจากอุตสาหกรรมการบินซบเซาจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยบริษัทจะให้นักบินทั้ง 905 คน ที่ทำสัญญาจ้างฉบับใหม่

อย่างไรก็ตาม ในแผนการปรับโครงสร้างฝูงบินครั้งนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะจัดหาเครื่องบินโบอิ้ง 787 จำนวน 9-10 ลำ พร้อมเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์รุ่น Trent-1000 มูลค่าอีกหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งฝ่ายมองว่าไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากเครื่องยนต์รุ่นดังกล่าวมีปัญหาใบพัดอัดอากาศเสี่ยงต่อการแตกร้าว ซึ่งการบินไทยเคยประสบปัญหาดังกล่าวมาแล้วในอดีต ทำให้ต้องจอดเครื่องบินรอซ่อมเครื่องยนต์เป็นเวลานาน จนสูญเสียประโยชน์ในการทำการบิน รวมทั้งที่ผ่านมาสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐ (FAA) ยังได้ออกคำเตือนความเสี่ยงในการใช้เครื่องยนต์ประเภทดังกล่าวด้วย

“ไม่เข้าใจว่าทำไมการบินไทยจะซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 787 เพิ่มอีก 10 ลำ พร้อมเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์รุ่น Trent-1000 เพราะเป็นเครื่องที่มีปัญหาไปทั่วโลก มีการผูกขาดหลังการขายต้องซ่อมในศูนย์ซ่อมโรลส์รอยซ์และยังต้องจ่ายค่าใช้โปรแกรมเครื่องยนต์อีก ถือว่าเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้บริษัทมาก ขัดแย้งกับแผนฟื้นฟูที่ต้องเร่งลดค่าใช้จ่าย ที่สำคัญในอดีตเครื่องยนต์ยี่ห้อนี้ยังมีข้อครหาเรื่องสินบนมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นอยากให้ผู้ทำแผนชี้แจงเหตุผลการสั่งปลดเครื่องบินแอร์บัส A-330-300 จำนวน 15 ลำ ทั้งๆ ที่ผ่อนหมดแล้ว และยังเหลืออายุการใช้งานอีกอย่างน้อย 5 ปี เป็นอย่างน้อย” แหล่งข่าวกล่าว


ที่มา: https://www.thebangkokinsight.com/545260/


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top