Saturday, 17 May 2025
Econbiz

ททท.จัด 'มหกรรมเที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม' สัญจร ที่จังหวัดเชียงใหม่

ททท. ปลื้มมหกรรมเที่ยวเมืองไทยAmazing ยิ่งกว่าเดิมคึกคัก เดินหน้าจัดงานมหกรรม เที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม@เชียงใหม่ พบกับ กิจกรรมเจรจาธุรกิจใน Business Matching ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายกว่า 130 บริษัททั่วประเทศ ได้แก่ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวภาคเหนือองค์กรภาครัฐและเอกชน บริษัทนำเที่ยว โรงเรียนนานาชาติ และกลุ่มผู้จัดงานทั่วประเทศ หวังสร้างโอกาสทางธุรกิจ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

ในวันพุธ ที่ 21 ธันวาคม 2565 เวลา 08.30 - 13.00 น. ททท. จัดกิจกรรมการเจรจาทางธุรกิจ (B2B) ในโครงการ มหกรรมเที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม สัญจร ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางสาวภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยนางสาวสุลัดดา ศรุติลาวัณย์ ผู้อำนวยการสำนักงานททท.สำนักงานเชียงใหม่  นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคใต้ นายพัลลภ แซ่จิว ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ นายศุภมิตร กิจจาพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารศิริปันนา วิลล่า รีสอร์ทและสปาเชียงใหม่ และผู้ประกอบการท่องเที่ยว ร่วมกิจกรรม ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่

นางสาวภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการภูมิภาค ภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. กำหนดจัดงานมหกรรมเที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม @เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 20 – 21 ธันวาคมนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวในประเทศ สร้างโอกาสทางธุรกิจ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เตรียมพร้อมรองรับการท่องเที่ยวที่จะกลับสู่สภาวะปกติในปี 2566 ตามแนวคิดโครงการ Save Partner

โดยกิจกรรมดังกล่าวถือเป็นการต่อยอดงาน 'มหกรรมเที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม' ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 – 18 ธันวาคม ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา ซึ่ง ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยการจัดงานตลอดทั้ง 4 วัน พบว่า มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดกว่า 50,000 คน เกิดการซื้อขายภายในงานกว่า 70 ล้านบาท  

สำหรับการจัดงานมหกรรมเที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม@เชียงใหม่ เป็นการจัดกิจกรรม การเจรจาธุรกิจ B2B (Business to Business) ในรูปแบบของ 'Business Matching' ระหว่าง กลุ่มผู้ซื้อ (Buyer) และผู้ขาย (Seller) จำนวนกว่า 130 รายจากทั่วประเทศ ประกอบด้วย กลุ่มผู้ซื้อ (Buyer) จากองค์กรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน บริษัทนำเที่ยว กลุ่มการศึกษา โรงเรียนเอกชน โรงเรียนนานาชาติ กลุ่มผู้จัดงาน เป็นต้น และ ผู้ขาย (Seller) ประกอบด้วย ผู้ประกอบการโรงแรม บริษัทนำเที่ยว ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภูมิภาคภาคเหนือ ร่วมนำเสนอแพ็คเกจพิเศษการท่องเที่ยวสำหรับองค์กรและการจัดรายการนำเที่ยว

‘ศักดิ์สยาม’ ตั้งเป้า 3 ปี ไทยเป็นฮับในอาเซียน ถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบราง

เมื่อไม่นานมานี้ (15 ธ.ค. 65) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ‘ผนึกกำลังพันธมิตรพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางของภูมิภาค’ ระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) และกลุ่มธุรกิจระบบรางฝรั่งเศส โดยการสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ไม่มีกำหนดกรอบระยะเวลา เป็นการต่อยอดความร่วมมือการผนึกกำลังพัฒนาศักยภาพบุคลากร เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างสถาบันวิจัยฯ และกลุ่มอุตสาหกรรมระบบรางจากประเทศฝรั่งเศส 5 บริษัท โดยเป็นบริษัทที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบราง ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับโลก

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันที่เป็นรูปธรรมเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ 

1. การสร้างสถาบันพัฒนาบุคลากรระบบราง ที่เป็นกลไกการพัฒนาบุคลากรระบบราง ทั้งระดับช่างเทคนิคทักษะสูง และระดับวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ โดยร่วมกับสถาบันและหน่วยงานเครือข่าย เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง

2. การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนฝรั่งเศส และภาคเอกชนไทย เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนระบบรางภายในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Thai First ของกระทรวงคมนาคม โดยไม่เพียงแค่ผลิตได้ แต่คาดหวังให้เกิดผู้ประกอบการไทยที่มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้

และ 3. การวิจัยและพัฒนาร่วมกัน และถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบรางชั้นแนวหน้าระหว่างกลุ่มธุรกิจระบบรางชั้นนำของฝรั่งเศส และเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย เพื่อส่งเสริม และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) การถ่ายทอด และการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภูมิภาคอาเซียนภายใน 2-3 ปีหลังจากนี้

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ดังนั้นเวลานี้ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องรับความรู้ และเทคโนโลยีจากหลากหลายประเทศที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งนอกจากจะนำความรู้เพื่อมาใช้ผลิตบุคลากรในการเตรียมรองรับทางคู่ 4,000 กิโลเมตร (กม.) ทั่วประเทศ และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศไทยแล้ว ยังสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับประเทศอื่น ๆ เพื่อร่วมพัฒนาระบบขนส่งทางรางในระดับอาเซียนด้วย

รัฐบาล ปลื้ม 11 เดือน ต่างชาติลงทุนในไทยพุ่ง 74% ส่งสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว สร้างงานกว่า 5 พันตำแหน่ง

โฆษกรัฐบาล โว ต่างชาติเชื่อมั่นลงทุนไทย เพิ่มขึ้นถึง 74% รัฐบาล เร่ง สร้างงานสร้างรายได้ เศรษฐกิจฟื้นตัว

เมื่อวันนี้ (22 ธ.ค. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีเรื่องน่ายินดี ตัวเลขการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ตลอด 11 เดือนของปี 2565 (มกราคม - พฤศจิกายน) มูลค่ารวมกว่า 112,466 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ถึงร้อยละ 74 เกิดการจ้างงานคนไทยกว่า 5,000 คน โดยพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่นักลงทุนต่างชาติยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และมีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ขานรับและดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลอย่างแข็งขัน ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณบวกต่อเนื่อง ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนชาวต่างชาติ และสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนไทย

นายอนุชา กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2565 กระทรวงพาณิชย์ได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 530 ราย โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 

1) ญี่ปุ่น 137 ราย (ร้อยละ 26) เงินลงทุน 39,000 ล้านบาท 
2) สิงคโปร์ 85 ราย (ร้อยละ 16) เงินลงทุน 11,999 ล้านบาท 
และ 3) สหรัฐอเมริกา 70 ราย (ร้อยละ 13) เงินลงทุน 3,343 ล้านบาท

ผักในตลาด จ.สงขลา หลายชนิดเริ่มปรับราคา ส่งผลให้ปริมาณผักที่ส่งให้ลูกค้าต่างจังหวัดลดน้อยลง และยังมีแนวโน้มที่จะปรับราคาสูงขึ้น

วันนี้ (22 ธ.ค. 65) ตลาดผักที่ตลาดทรัพย์สินพลาซ่า เขตเทศบาลนครสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา ขณะนี้ผักหลายชนิดเริ่มปรับราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะผักบุ้งจีนราชบุรี จากเดิม กก.ละ 60 บาท ขึ้นเป็น กก.ละ 90 บาท ถั่วฝักยาว จากเดิมกก.ละ 60 บาทขึ้นเป็น 80 บาท ผักคะน้า จากเดิม กก.ละ 40-50 บาท ขึ้นเป็น 60 บาท ผักกวางตุ้งจากเดิม กก.ละ 40 บาทขึ้นเป็น 50 บาท มะเขือยาวจากเดิมกก.ละ 50 บาท ขึ้นเป็น 80 บาท มะเขือเปราะจากเดิม กก.ละ 50 บาทขึ้นเป็น 60 บาท ส่วนผักชียังคงราคาเดิม กก.ละ 250 บาท ต้นหอมยังคงราคากก.ละ 150 บาทและผักขึ้นฉ่ายยังคงราคา กก.ละ 150 บาท

‘โครงสร้างพื้นฐาน - เขต EEC’ จุดเปลี่ยนประเทศ ดูดนักลงทุนต่างชาติทุ่มเงินลงทุนกว่าแสนล้านบาท

ต้องบอกว่า ปีนี้ประเทศไทยเนื้อหอมมากจริง ๆ เนื่องจากนักลงทุนหลาย ๆ เจ้ากำลังทยอยเข้ามาปักหลักปักธงทำธุรกิจในไทย ไม่ว่าจะเป็น BYD ที่ได้ลงหลักในเขต EEC ไปแล้ว ที่จะตามมาคือ MG, เกรท วอลล์ มอเตอร์ (GWM) หรือข่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศซาอุดีอาระเบียที่ก็เล็ง ๆ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเช่นกัน ขอบอกเลยว่าไทยมีเสน่ห์สุด ๆ แถมยังสามารถดูดเงินลงทุนได้มาถึงแสนล้านบาทเลย

แต่ที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ นักลงทุนทั้งต่างชาติและจีน ที่เคยลงทุนในจีนนั้นกำลังเตรียมแผนย้ายฐานการผลิตออกจากจีนเพื่อไปลงทุนในประเทศอื่นแทน จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้จีนได้รับฉายาว่า ‘โรงงานของโลก’ เชียวนะ

สำหรับเรื่องนี้ ช่องยูทูบ ‘Property Expert Live’ ของคุณคิม ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจ โดยสามารถสรุปใจความได้ว่า…

ปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนมองหาฐานการผลิตนอกประเทศจีน ได้แก่

1. สงครามการค้า หรือ Trade War ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จึงทำให้การลงทุนในจีนแล้วส่งออกไปยังสหรัฐฯ นั่นมีอุปสรรคในด้านกำแพงภาษี รวมถึงสหรัฐฯ มีนโยบายกีดกันทางด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในประเทศจีน จึงเป็นจุดที่ทำให้นักลงทุนรู้สึกไม่ปลอดภัยหากยังลงทุนในจีนต่อไป ไม่เพียงแต่นักลงทุนต่างชาติเท่านั้น แต่นักลงทุนจีนก็มองหาทางหนีทีไล่ไว้เช่นกัน

2. ราคาค่าแรง จากเดิมค่าแรงในจีนถูก จึงเป็ดจุดเด่นดึงดูดนักลงทุน แต่มีเศรษฐกิจขยายใหญ่ขึ้น มีรายได้มากขึ้น ค่าแรงก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย 

3. นโยบาย Zero Covid-19 ที่เข้มงวด

4. นโยบายควบคุมด้านเศรษฐกิจ ที่มีวลีเท่ๆ ว่า ‘มั่งคั่งทั่วกัน’ ทว่านโยบายเหล่านี้ไม่ส่งเสริมด้านการลงทุน จึงทำให้บริษัทต่อชาติที่อยู่ในจีนทยอยปิด และออกมาลงทุนนอกประเทศจีน เช่น Apple ที่ก่อนหน้ามีฐานการผลิตที่จีน แต่ก็ย้ายฐานไปที่เวียดนามและอินเดียแทน รวมถึงบริษัทสัญชาติจีนก็ย้ายออกเช่นกัน

PTT-OR แจงทำธุรกิจในเมียนมา ยึดหลักสิทธิมนุษยชนเคร่งครัด ไม่หนุนความรุนแรงในพม่า หลังมีข่าวกองทุนถอนลงทุน

ซีอีโอ PTT-OR แจงข่าวกองทุนถอนลงทุนจากประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในเมียนมา ยืนยันดำเนินธุรกิจยึดหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด ด้าน OR ยันลงทุนคลังปิโตรเลียมในเมียนมาจริง แต่แสดงเจตนารมณ์ให้บริษัทร่วมทุนหยุดการดำเนินงานและไม่ชำระเงินทุนเพิ่มเติมแล้ว

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT รายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ตามที่มีข่าวระบุว่ามีกองทุนได้ประกาศถอนการลงทุนใน PTT และบริษัทในกลุ่ม เนื่องจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมานั้น บริษัทขอขี้แจงว่า ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทั้งในส่วนที่ ปตท.ดำเนินการเองและลงทุนผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน

ซึ่งประกอบด้วยมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติการกำกับดูแล โดยมีการบูรณาการหลักสิทธิมนุษยชน ครอบคลุมสายโซ่อุปทานของบริษัท ตั้งแต่การตรวจสอบอย่างรอบด้าน การบริหารจัดการ ตลอดจนส่งเสริม ปกป้อง และให้ความเคารพด้านสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล ทั้งนี้ ในการพิจารณาการลงทุนของ ปตท.นั้น ได้ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่มีการบังคับใช้ รวมถึงมีการตรวจสอบและวิเคราะห์สถานะของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว

ปตท.ยึดถือการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐาน และมีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาภายหลังการรัฐประหารปี 2564 โดยสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาวิกฤตอย่างสันติและเข้มงวดในการปฏิบัติตามกฎหมาย แนวปฏิบัติสากลในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ

รวมถึงการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับปรุงกระบวนในการตัดสินใจและการบริหารจัดการ เพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนดังกล่าวเป็นการส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งพลังงานได้อย่างเท่าเทียม ปตท.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์ในเมียนมาจะคลี่คลายและกลับคืนสู่สภาวะปกติในเร็ววัน

‘บินไทย’ ผงาด!! ทำรายได้ทะลุ 1.2 หมื่นล้านต่อเดือน หลังปรับต้นทุนการบริหารงานและค่าใช้จ่ายในทุกส่วน

‘การบินไทย’ เผยท่องเที่ยวฟื้นตัวทำรายได้นิวไฮทะลุ 1.2 หมื่นล้านบาทต่อเดือน ดันกระแสเงินสดในมือพุ่ง 3 หมื่นล้านบาท ชี้ความจำเป็นจัดหาทุนใหม่หวังพ้นสภาพฟื้นฟูกิจการ กลับซื้อขายหลักทรัพย์ก่อนเป้าหมายกำหนดในปี68

เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 65 นายสุวรรธนะ สีบุญเรือง รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงภาพรวมผลการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยระบุว่า ขณะนี้ผู้โดยสารของการบินไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับเทรนด์การท่องเที่ยวของทั่วโลกที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว ซึ่งปัจจุบันการบินไทยกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางบินราว 70% หากเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 และมีอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (เคบิ้นแฟกเตอร์) สูงอยู่ที่ 85%

อย่างไรก็ตาม จากการฟื้นตัวของผู้โดยสารส่งผลให้รายได้จากการดำเนินงานของการบินไทย กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 โดยปัจจุบันมีความสามารถทำรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาทต่อเดือน ใกล้เคียงกับสถานการณ์ปกติเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่มีรายได้จากการดำเนินงานราว 1.5 หมื่นล้านบาทต่อเดือน และถือเป็นรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง หากเทียบกับช่วงเกิดโควิด-19 ที่การบินไทยมีรายได้ต่ำสุดจากการดำเนินงานเพียง 200 ล้านบาทต่อเดือน

“ตอนนี้รายได้จากการดำเนินงานของเราเป็นนิวไฮในทุกเดือน โดยการบินไทยเริ่มมีกำไรตั้งแต่เดือน พ.ค. 2565 ซึ่งเกิดขึ้นจากการปรับต้นทุนการบริหารงาน ค่าใช้จ่ายในทุกส่วน และยังหารายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อหักลบกับช่วงต้นปี ก่อนการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว ทำให้ภาพรวมผลการดำเนินงานของการบินไทยในขณะนี้ยังไม่ทำกำไร แต่ถือว่าขาดทุนลดลงอย่างมาก”นายสุวรรธนะ กล่าว

นายสุวรรธนะ กล่าวว่า การฟื้นตัวของผู้โดยสารยังส่งผลให้กระแสเงินสด (แคชโฟว์) ของการบินไทยเพิ่มขึ้นสูงอยู่ที่ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนที่มากเพียงพอในการบริหารจัดการองค์กร ส่งผลให้การบินไทยไม่ได้มีความเร่งด่วนในการจัดหาเพิ่มทุนใหม่ แต่อย่างไรก็ดี เพื่อให้องค์กรยั่งยืนและสามารถออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ การบินไทยยังคงต้องดำเนินการจัดหาทุนใหม่จำนวน 2.5 หมื่นล้านบาท ตามรายละเอียดที่ยื่นปรับปรุงแผนฟื้นฟูฉบับล่าสุด

สำหรับแผนฟื้นฟูฉบับล่าสุดที่ศาลล้มละลายได้อนุมัติให้การบินไทยปรับปรุงนั้น จะต้องดำเนินการจัดหาทุนใหม่ตามกระบวนการแปลงหนี้เป็นทุน และการเพิ่มทุน จากเจ้าหนี้เดิมและผู้ถือหุ้นเดิม ในวงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2567 ซึ่งลดลงจากแผนฟื้นฟูเดิมที่วางไว้ 5 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันการบินไทยอยู่ระหว่างเตรียมจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) เพื่อเข้ามาช่วยดำเนินการในส่วนนี้

'ทิพานัน' ชี้ ดัชนีเชื่อมั่น SME เดือน พ.ย. พุ่ง 53.8 สูงสุดในรอบ 11 เดือน สะท้อนธุรกิจเริ่มฟื้นตัว

(24 ธ.ค. 65) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ผลักดันมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs จากผลกระทบวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น มาตรการด้านสินเชื่อ การลดภาระค่าธรรมค้ำประกันของผู้ประกอบการ SMEs และโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เพื่อประคับประคองธุรกิจและพยุงการจ้างงานของประเทศ ส่งผลให้ล่าสุด สสว. รายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME หรือ SMESI อยู่ที่ระดับ 53.8 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 เดือน และสูงสุดในรอบ 11 เดือนซึ่งมีปัจจัยมาจากการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว และภาคการค้าที่ชัดเจนจนเกือบเป็นปกติ 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ส่วนในรายภาคธุรกิจ พบว่าภาคการบริการมีค่าดัชนี SMESI สูงสุดอยู่ที่ 55.3 จากการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องขยายตัว และที่น่าสนใจคือ ภาคการเกษตร มีค่าดัชนี SMESI เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3.2 มาอยู่ที่ 53.4 จากการขายได้ราคาที่ดีขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มพืชไร่ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว และกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ 

ส่วนภาคการค้าขยายตัวทั้งการค้าปลีกและค้าส่งโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ที่ได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวที่ขยายตัว และยังทำให้ภาคการผลิตปรับตัวดีขึ้นจากกำลังซื้อและต้นทุนที่มีแนวโน้มดีขึ้นด้วย 

‘ILINK’ เสริมทัพใหม่รุกธุรกิจเทคโนโลยีการแพทย์ เพิ่ม 'ความเชื่อมั่น-สร้างรายได้' นักลงทุนระยะยาว

ILINK ตั้งเป้าแผนปีหน้าใหม่ จัดกลยุทธ์ หนุนดันทุกธุรกิจเติบโตสวยงามอย่างยั่งยืน มุ่งการเติบโตแบบมีคุณภาพ สามารถทำกำไรได้สูงสุดและต่อเนื่อง นับเป็นการสร้างความเชื่อมั่นอันดีให้แก่นักลงทุนต่อไป 

บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ปรับแผนยุทธศาสตร์ใหม่ ตั้งมั่นว่าใน 1 - 3 ปีข้างหน้า ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เน้นการเติบโต ทั้งรายได้ และกำไรสุทธิ อีกทั้ง มองยาวไปอีกว่าใน 3 - 5 ปี มั่นใจที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทุกท่านได้ Up Size เพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ตาม VISION ของกลุ่มฯ ที่มุ่งมั่น และมั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีความยั่งยืน ผ่าน 3 + 1 ในธุรกิจหลักของบริษัทฯ ได้อย่างแน่นอน 

โดยมี 3 ธุรกิจหลัก คือ 
1. ธุรกิจจัดจำหน่ายสายสัญญาณ (Cabling Distribution)
2 ธุรกิจวิศวกรรมโครงการ (Turkey Engineering)
3. ธุรกิจโทรคมนาคม และดาต้าเซ็นเตอร์ (Telecom & Data Center)

และ 1 ธุรกิจใหม่ คือ
1. ธุรกิจเทคโนโลยีการแพทย์ (Tech Medical)

‘อลงกรณ์’ เผยบอร์ดเกลือเห็นชอบโครงการรักษาเสถียรภาพราคาเกลือ และโครงการสินเชื่อชะลอการขายเกลือปีการผลิต 2565/66 รองรับปริมาณเกลือทะเลปีหน้า 5 แสนตัน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทยเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 5/2565  ว่า ผลการดำเนินการการพัฒนาเกลือทะเลในปี2565 รวมถึงกิจกรรมการสืบทอดและฟื้นฟูประเพณีทำขวัญเกลือและพิธีแรกนาเกลือ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของเกลือทะเลไทยและเป็นหนึ่งในแนวทางการส่งเสริมSoft power ตลอดจนการคุ้มครองเกลือทะเลไทยจากการค้าระหว่างประเทศ การแสวงหาโอกาสในการส่งออก การพัฒนามาตรฐานเกลือ เพื่อเข้าสู่ตลาดผู้บริโภค รวมทั้งการใช้ผลผลิตจากนาเกลือไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น การใช้ขี้แดดนาเกลือเพื่อเป็นปุ๋ยให้กับพืช
 
ตลอดจนการแปรรูปเกลือเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เกลือ เช่น เกลือสปา สบู่เกลือ การให้ความสำคัญของการสร้างแบรนด์ การพัฒนานาเกลือเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว การช่วยเหลือเกษตรกรกรณีเกิดภัยพิบัติ การสนับสนุนแหล่งสินเชื่อเงินทุนให้กับเกษตรกร ฯลฯ พร้อมทั้งกล่าวชื่นชมและขอบคุณคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทยและหน่วยงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการบูรณาการการทำงานเชิงรุกจากทุกภาคส่วนร่วมกัน ตลอดจนการสร้างระบบและโครงสร้างการพัฒนาเกลือทะเลไทยอย่างยั่งยืน มีการจัดตั้งสถาบันเกลือทะเลไทยซึ่งเป็นศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์AIC)ประเภทศูนย์ความเป็นเลิศด้านเกลือ ในการยกระดับการพัฒนาเกลือทะเลไทยสู่มาตรฐานสากล
 
   นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงาน (1) ผลการดำเนินงานอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาด้านเกลือทะเล “ประเพณีแรกนาเกลือ” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ณ วิสาหกิจชุมชนสหกรณ์ หมู่ 3 โคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (2) การคาดการณ์ปริมาณผลผลิตเกลือทะเล ปีการผลิต 2565/66 คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตเกลือทะเลรวม 7 จังหวัด จำนวน 531,201.87 ตัน โดยจังหวัดเพชรบุรี เป็นจังหวัดที่มีผลผลิตเกลือทะเลมากที่สุด จำนวน 219,292 ตัน คิดเป็นร้อยละ 41.27 รองลงมา ได้ สมุทรสาคร จำนวน 208,674.84 ตัน คิดเป็นร้อยละ 39.28 จังหวัดสมุทรสงคราม 93,840 ตัน จังหวัดชลบุรี 4,015.75 ตัน จังหวัดฉะเชิงเทรา 2,520.27 ตัน จังหวัดปัตตานี 2,310.01 ตัน และจังหวัดจันทบุรี 549 ตัน  (3) ความก้าวหน้าการดำเนินงานการพัฒนาเกลือทะเลไทย สถาบันเกลือทะเลไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
 
สถาบันเกลือทะเลไทย ซึ่งได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาเกลือทะเลไทยและการแก้ไขปัญหาเกลือทะเลอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่ปี 2559 จนปัจจุบัน ยกระดับเป็นศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 Kick off เป็น “ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center หรือ AIC)” ให้เป็นแหล่งบริการเกษตรกร ที่รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร สามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปใช้พัฒนาต่อยอดการผลิต สามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร และให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐาน โดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน สำหรับในปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
 
(1) การสนับสนุนให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์มมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตซึ่งจะช่วยลดต้นทุน ด้านแรงงานเพิ่มความสะดวก แม่นยำ และง่ายต่อการบริหารจัดการ ระบบจัดการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยรถขนเกลือรถกลิ้งนาเกลือไร้คนขับ (2) การสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปการวิจัยและพัฒนาเพื่อแปรรูปผลผลิตเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ เกลือคุณภาพสูงน้ำแร่ เซรั่มบำรุงผิว สบู่ดอกเกลือ (3) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีใหม่จากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม เกษตรภูมิปัญญาและระบบบริหารสถานที่ท่องเที่ยวการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยท้องถิ่นสร้างเนื้อหาการท่องเที่ยว ตลอดจนบริหารจัดการเส้นทางและจำนวนนักท่องเที่ยวได้ด้วยตนเองบนเส้นทางสายเกลือ การยกระดับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เช่น พิธีแรกนาเกลือทำขวัญเกลือ (4) การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เน้นการแปลงของเสียให้เป็นแหล่งรายได้การวิจัยและฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการเดิมในระบบรวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ เช่น โมเดล Zero waste การใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือ ปุ๋ยอินทรีย์ขี้แดดนาเกลือสำหรับพืชผลต่าง ๆ เกลือน้ำทะเลเทียมเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 
 
ที่ประชุมได้พิจารณา (1) เห็นชอบในหลักการโครงการสินเชื่อชะลอการขายเกลือ ปีการผลิต 2565/66โดยเป็นเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมในครั้งที่แล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอปริมาณเกลือทะเลไม่ให้ออกสู่ตลาดพร้อมกัน บรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรนาเกลือด้านค่าใช้จ่ายในครอบครัวและหนี้สิน ตลอดจนยกระดับราคาเกลือให้สูงขึ้นและรักษาราคาเกลือให้มีเสถียรภาพ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานอื่น ๆ เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
(2) แนวการพัฒนาความร่วมมือด้านการตลาดเกลือทะเลไทยในต่างประเทศ  โดยความร่วมมือจากทูตเกษตร (ประเทศเบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา อิตาลี ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น)  เพื่อพิจารณาแนวทางความร่วมมือช่องทางการตลาดไปยังต่างประเทศ  เช่น ช่องทางการขยายตลาดไปต่างประเทศด้วยการตลาดออนไลน์ การให้ความรู้เกี่ยวกับประเทศที่สามารถส่งออก มาตรการสินค้าเกษตรในแต่ละประเทศ ความรู้ทั้งกฎหมายการค้า ภาษี สถิตินำเข้าส่งออกที่น่าสนใจ รวมไปถึงเทคนิคที่สร้างสินค้าให้โดนใจ สามารถเข้าใจ Insight แต่ละประเทศได้ และการเจาะไปที่การตลาดที่เหมาะสมในแบบประเทศนั้น ๆ เป็นต้น เพื่อการสร้างโอกาสในการแข่งขันในตลาดใหม่ และลดผลกระทบกับภาคการเกษตรของไทยเพื่อให้การขับเคลื่อนการสร้างโอกาสในการลงทุนการขยายช่องทางการตลาดเกลือทะเลในต่างประเทศด้วย
 
(3) การใช้นิยามศัพท์ “นาเกลือสมุทร” และ “นาเกลือทะเล” โดยที่ประชุมมีมติใช้คำว่า “นาเกลือทะเล” ซึ่งมีความเหมาะสม และเข้าใจง่ายตรงตามความหมายการทำนาเกลือของเกษตรกร


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top