Monday, 19 May 2025
Columnist

มหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน EP#20 'ทำไมสหรัฐฯ จึงไม่ชนะในสงครามอินโดจีน'

สงครามอินโดจีนที่สหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมคงต้องใช้คำว่า “ไม่ชนะ” แทนคำว่า “พ่ายแพ้” เพราะอันที่จริงแล้วศักยภาพของกองทัพอเมริกันและพันธมิตรสามารถเอาชนะสงครามอินโดจีนได้ หากเป็นการรบตามแบบ และไม่คำนึงถึงปัญหาอุปสรรคอันเกิดจากข้อจำกัดต่าง ๆ ตลอดจนการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศของสหรัฐฯ เอง รวมทั้งการไม่สามารถเอาชนะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และจิตวิทยาภายในเวียตนามทั้งเหนือและใต้อีกด้วย สงครามเวียตนามของสหรัฐฯ ผ่านการบริหารประเทศโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถึง 5 คน ได้แก่ Truman, Eisenhower, Kennedy, Johnson และ Nixon

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หน่วย OSS (ต้นกำเนิดของ CIA ในปัจจุบัน) ได้ขบวนการเวียตมินห์ (ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นกองทัพประชาชนเวียตนาม) ซึ่งโฮจินมินห์เป็นผู้ก่อตั้งเป็นพันธมิตรในการสู้รบกับญี่ปุ่น ด้วยการสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อให้เวียตมินห์ช่วยเหลือนักบินอเมริกันที่ถูกยิงตกและหาข่าวให้กับ OSS หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงในปี 1945 ความผิดพลาดของสหรัฐฯ ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1946 เมื่อประธานาธิบดี Truman ได้ปฏิเสธคำขอความช่วยเหลือของโฮจิมินห์ในการขับไล่ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคม โดยเลือกที่จะสนับสนุนฝรั่งเศสแทน ทั้ง ๆ ที่ตัวโฮจิมินห์เองรู้สึกขอบคุณและชื่นชมสหรัฐฯ ที่ช่วยขบวนการเวียตมินห์จนสามารถขับไล่ญี่ปุ่นจากการยึดครองเวียตนามต่อจากฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมเดิม อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สหรัฐฯไม่สามารถเอาชนะทั้ง “จิตใจและแนวคิด” ของชาวเวียตนามได้ ซ้ำร้ายผลจากสงครามเย็นทำให้สังคมอเมริกันโดยรวมถูกกระแสต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าครอบงำ จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับเวียตนามเหนือไม่เป็นไปด้วยดีตาม แล้วก็เข้าสู่สงครามในที่สุด

ประธานาธิบดี Harry S. Truman จึงเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรกที่ทำให้สหรัฐฯ เข้าไปเกี่ยวข้องกับเวียตนาม ในปี 1945 เขาได้รับคำเตือนจากเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศด้านกิจการเอเชีย ภายหลังจากการเข้ารับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดี Franklin Delano Roosevelt (ผู้ซึ่งต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมหรือการล่าอาณานิคม) ซึ่งเสียชีวิตในตำแหน่ง ว่า การกลับมาปกครองเวียตนามของฝรั่งเศสจะนำไปสู่ "การนองเลือดและความไม่สงบ" แต่ประธานาธิบดี Truman กลับยอมรับต่อการกลับเข้าปกครองอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศสอีกครั้ง ด้วยหวังว่า เรื่องดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญในการเกื้อหนุนเศรษฐกิจและเพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับฝรั่งเศส (ซึ่งพ่ายแพ้ต่อเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างหมดรูป) อีกครั้งหนึ่ง ไม่ช้าฝรั่งเศสก็กลับมาปกครองเวียตนามพร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์จากยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 และเปิดฉากสู้รบกับกองทัพประชาชนเวียตนามหรือเวียตมินห์ของของโฮจิมินห์ในทันที โดยแรก ๆ นั้น สหรัฐอเมริกายังคงดำรงความเป็นกลางอย่างเป็นทางการ หลีกเลี่ยงการติดต่อใด ๆ กับโฮจิมินห์ อย่างไรก็ตามต่อมาในปี 1947 ประธานาธิบดี Truman ยืนยันว่านโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ คือการช่วยเหลือประเทศที่ยืนหยัดต่อการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ สงครามเกาหลีในปี 1950 รวมถึงความช่วยเหลือจากจีนและสหภาพโซเวียตต่อเวียตหมินห์ทำให้ประธานาธิบดี Truman กลับมาพิจารณาและให้จัดเวียตนามเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการทำสงครามเย็น ด้วยความกลัวว่า ที่สุดเวียตนามจะกลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ เขาได้ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์พร้อมกับที่ปรึกษาทางทหารจำนวน 35 นาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดความช่วยเหลือมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ที่รัฐบาลสหรัฐฯ มอบให้แก่ฝรั่งเศส และยิ่งถลำลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปลายสมัยที่สองของประธานาธิบดี Truman สหรัฐฯ ได้ทุ่มงบมากกว่าหนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายในการทำสงครามในเวียตนามให้กับฝรั่งเศส และในที่สุดได้เพิ่มจำนวนเงินงบประมาณเป็นประมาณ 80% ของค่าใช้จ่ายในการทำสงคราม

ประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 2 ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับเวียตนาม ในปี 1954 ฝรั่งเศสประสบความพ่ายแพ้ชนิดหมดรูปที่เดียนเบียนฟู ทำให้ความพยามในการครอบครองอาณานิคมของพวกเขาสิ้นสุดลง เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ บางคนได้เสนอให้ทำการโจมตีทางอากาศ รวมถึงการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อรักษาสถานภาพของฝรั่งเศส แต่ประธานาธิบดี Eisenhower ปฏิเสธ เพราะสงครามเกาหลีพึ่งจะสงบลงได้ไม่นานนัก ประธานาธิบดี Eisenhower ได้เขียนไว้ในบันทึกของเขา ว่า “ผมเชื่อมั่นว่าจะไม่มีชัยชนะทางทหารเกิดขึ้นเหมือนอดีตอีกแล้ว” แต่ด้วยเขาเป็นผู้ที่เชื่อใน "ทฤษฎีโดมิโน" ซึ่งมีแนวคิดที่ว่า หากประเทศใดประเทศหนึ่งพ่ายแพ้ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์แล้ว จะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านกลายเป็นคอมมิวนิสต์ตามมา จึงปฏิเสธที่ปล่อยเวียตนามโดยสิ้นเชิง ที่สุดเวียตนามถูกแบ่งเป็นสองประเทศโดยมีโฮจินมินห์เป็นผู้นำเวียตนามเหนือ และ Ngo Dinh Diem ผู้ซึ่งเป็นพวกนิยมชาติตะวันตกได้รับการสนับสนุนให้เป็นประธานาธิบดีของเวียตนามใต้ แต่เขาเป็นชาวเวียตนามเชื้อสายจีนจากตระกูลที่มั่งคั่ง ซ้ำยังเป็นแคทอลิก ในขณะที่ชาวเวียตนามใต้ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธและมีฐานะยากจน การเลือกตั้งซึ่งควรจะเกิดขึ้นเพื่อรวมเวียตนามเหนือและใต้เข้าด้วยกัน แต่ถูกประธานาธิบดี Diem หยุดไว้ด้วยการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ด้วยเกรงว่า โฮจินมินห์จะชนะการเลือกตั้งและมีความชอบธรรมที่จะรวมเวียตนามเหนือและใต้เข้าด้วยกัน

แม้ว่า ประธานาธิบดี Diem จะถูกขุดคุ้ยตรวจสอบและประจักษ์ชัดว่า เป็นพวกเผด็จการและทุจริตโกงกิน แต่ประธานาธิบดี Eisenhower ก็เรียกเขาว่า "รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด" และ "ตัวอย่างของผู้คนที่เกลียดชังทรราชและรักเสรีภาพ" ที่สำคัญกว่านั้นเขายังได้จัดหาเงินและอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่ ประธานาธิบดี Diem โดยมอบเงินช่วยเหลือจำนวนมากในระหว่างปี 1955 ถึง 1960 และเพิ่มจำนวนที่ปรึกษาทางทหารเพิ่มเป็น 1,000 นาย เมื่อประธานาธิบดี Eisenhower หมดวาระการดำรงตำแหน่ง การสู้รบอย่างเปิดเผยระหว่างกองกำลังทหารของประธานาธิบดี Diem กับเวียตกง ในเวียตนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเวียตนามเหนือก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 3 ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับเวียตนามคือ ประธานาธิบดี John F. Kennedy หลังจากไปเยือนเวียตนามในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 1951 เขาได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อสาธารณชนที่สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือแก่ฝรั่งเศสในเวียตนาม โดยเขากล่าวว่า การกระทำนั้น “เป็นการท้าทายความเป็นชาตินิยมโดยรู้ล่วงหน้าว่าจะล้มเหลวอยู่แล้ว” และอีก 3 ปีต่อมาเขาได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า “ผมเชื่อในความเชื่อที่ว่า ไม่มีความช่วยเหลือทางทหารของอเมริกันจำนวนมาก…จะสามารถพิชิตศัตรูได้ทุกที่ในเวลาเดียวกัน” ท่าทีของเขาเปลี่ยนไปเมื่อเขาลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 1960 ด้วยความกังวลว่า จะถูกตราหน้าว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี Kennedy ได้จัดหาเครื่องบินขับไล่ไอพ่น เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินลำเลียง เรือลาดตระเวนลำน้ำ และอาวุธยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ให้กับเวียตนามใต้ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ใช้ Napalm และ สารพิษ เช่น ฝนเหลือง (Agent Orange) และเพิ่มที่ปรึกษาทางทหารเป็น 16,000 คน บางนายมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการรบอย่างลับ ๆ ต่อมาประธานาธิบดี Diem ผู้ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนถูกรัฐประหารและสังหารในปี 1963 เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่ประธานาธิบดี Kennedy จะถูกลอบสังหาร โดยก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิตไม่นาน เขาเคยบอกกับคณะทำงานของเขาว่า เขาอาจจะถอนกำลังและการสนับสนุนออกจากเวียตนามภายหลังจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่า เขาจะทำเช่นนั้นจริงหรือไม่

ประธานาธิบดี Lyndon B. Johnson เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 4 ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับเวียตนาม หลังการลอบสังหารของประธานาธิบดี Kennedy การมีส่วนร่วมในสงครามเวียตนามของสหรัฐฯ ยังค่อนข้างจำกัด แต่สิ่งนั้นได้เปลี่ยนไปในเดือนสิงหาคม 1964 “เหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย” ทำให้รัฐสภาอเมริกันมอบอำนาจในการทำสงครามอย่างไม่จำกัดให้กับประธานาธิบดี Johnson ผู้ซึ่งพึ่งเข้าดำรงตำแหน่ง เพราะตระหนักว่า รัฐบาลและกองทัพเวียตนามใต้กำลังจะล่มสลาย ประธานาธิบดี Johnson ได้ส่งกำลังรบสหรัฐเข้าสู่สนามรบในเวียตนามเป็นครั้งแรกในต้นปี 1965 และให้มีการทิ้งระเบิดขนานใหญ่ในชื่อรหัสว่า Operation Rolling Thunder ซึ่งปฏิบัติการดังกล่าวดำเนินต่อเนื่องมาอีกหลายปี ในไม่ช้าร่างรัฐบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสงครามเวียตนามใต้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย พร้อมกับการต่อต้านร่างกฎหมายเหล่านั้น ในปี 1967 มีทหารอเมริกันราว 500,000 นายในเวียตนามใต้ และในปีเดียวกันนั้นมีก็การประท้วงต่อต้านสงครามครั้งใหญ่ในเมืองต่าง ๆ ทั่วสหรัฐอเมริกา เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ต่างยืนยันกับประธานาธิบดี Johnson ว่า ชัยชนะกำลังใกล้เข้ามา แต่ต่อมาเมื่อเอกสารของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ถูกเปิดเผยในภายหลังกลายเป็นว่า ความคิดเห็นเหล่านี้ทำให้เข้าใจผิดอย่างมากมาย ในความเป็นจริงแล้วการสู้รบในเวียตนามใต้นั้นได้กลายเป็นหลุมใหญ่และลึกไปเสียแล้ว สงครามเวียตนามกลายเป็นเป้าโจมตีอย่างหนัก และประธานาธิบดี Johnson ก็กลายเป็นพวกกระหายสงคราม ในที่สุดประธานาธิบดี Johnson ก็ตัดสินใจที่จะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 1968

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 5 คนสุดท้ายที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับเวียตนามคือ ประธานาธิบดี Richard Nixon ในการรณรงค์ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี Nixon สัญญาว่า จะยุติสงครามเวียตนาม อย่างไรก็ตามภายหลังปรากฏว่า มีพยายามขัดขวางการเจรจาสันติภาพเพื่อทำให้คะแนนเสียงของเขาดีขึ้น ในฐานะประธานาธิบดี ประธานาธิบดี Nixon ค่อยๆ ทยอยถอนทหารอเมริกันออกจากเวียตนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “Vietnamization” แต่เขาก็เพิ่มความขัดแย้งในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การอนุมัติการโจมตีทางอากาศอย่างลับ ๆ ในกัมพูชาในปี 1969 ต่อมาส่งกองกำลังภาคพื้นดินเข้าไปยังกัมพูชาในปี 1970 และอนุมัติการบุกลาวในปี 1971 ทั้งหมดล้วนแต่เป็นความพยายามที่ไร้ประโยชน์อย่างยิ่งในการทำลายเส้นทางลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์และยุทธปัจจัยกองกำลังเวียตกง นอกจากนั้นแล้วประธานาธิบดี Nixon ยังสั่งให้มีการโจมตีทางอากาศที่รุนแรงที่สุดในสงคราม ซึ่งส่งผลเวียตนามเหนือถูกทิ้งระเบิดถึง 36,000 ตัน ในช่วงปลายปี 1972 ในเดือนมกราคมปี 1973 เมื่อกรณีอื้อฉาว Watergate ถูกเปิดเผย ประธานาธิบดี Nixon จึงยุติบทบาทการมีส่วนร่วมโดยตรงของสหรัฐฯ ในเวียตนาม โดยกล่าวว่า ปฏิบัติการ "สันติภาพอย่างมีเกียรติ" ประสบความสำเร็จ แม้จะปรากฏว่า การสู้รบในเวียตนามยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปี 1975 กระทั่งกองกำลังทหารเวียตนามเหนือและกองกำลังเวียตกงสามารถยึดกรุงไซ่ง่อนได้เมื่อ 30 เมษายน 1975 เมืองหลวงของเวียตนามใต้ และรวมประเทศเข้าด้วยกันภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์เวียตนาม

สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทในอินโดจีนด้วยเหตุผลคือ การป้องกันการแผ่อำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต และสหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ โดยยอมละเลยอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยของตนด้วยการสนับสนุนให้กองทัพที่เป็นพวกเป็นฝ่ายที่สนับสนุนและยอมทำตามสหรัฐฯ ทำการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลจากการเลือกตั้ง นี้คือ อีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯ พ่ายแพ้ในภูมิภาคนี้ด้วยผู้นำทางทหารเหล่านั้นเมื่อยึดอำนาจสำเร็จแล้วแทนที่จะพัฒนาชาติบ้านเมือง กลับกลายเป็นเผด็จการทรราชทำการทุจริตโกงกินคอร์รัปชันกันอย่างมากมายมหาศาล เมื่อนายทหารใหญ่ ๆ กลายเป็นเผด็จการทรราชทุจริตโกงกินแล้ว คุณภาพของกองทัพก็ลดลงทั้งวินัย ขวัญกำลังใจ และความสามารถในการรบ อุดมการณ์รักชาติกลายเป็นอุดมกินแสวงหาผลประโยชน์เงินทองในหมู่ทหารทุกระดับชั้น เมื่อมีความสุขสบาย ความรักตัวกลัวตายจึงเกิด อีกทั้งความช่วยเหลือที่ได้รับจากสหรัฐฯ นั้นมากมายมหาศาล ในขณะที่กองกำลังคอมมิวนิสต์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ยังคงยึดถืออุดมการณ์รักชาติ เพื่อชาติ อยู่เช่นเดิม

เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอินโดจีนถูกเผยแพร่ตีแผ่ในสื่อต่าง ๆ ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะโทรทัศน์ ชาวอเมริกันได้เห็นปฏิบัติการรบ ทำให้ส่วนหนึ่งเกิดความไม่พอใจจึงการเกิดการประท้วงต่อต้านสงครามอยู่ตามมหาวิทยาลัยและตามเมืองใหญ่ต่าง ๆ เด็กหนุ่มอเมริกันซึ่งแต่เดิมสหรัฐฯ ใช้ระบบการเกณฑ์ทหารต่างก็หวาดกลัวจึงพากันต่อต้านและอพยพหลบหนีออกจากประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเกณฑ์ไปรบในเวียตนาม ความเบื่อหน่ายต่อสงครามซึ่งสหรัฐฯ เข้าร่วมตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองต่อเนื่องมา ทั้งอเมริกันชนไม่เห็นประโยชน์ในการทำสงครามเวียตนาม ทั้งสูญเสียชีวิตทหารอเมริกันเกือบหกหมื่นนาย รัฐบาลสหรัฐฯ จึงยอมเจรจาสงบศึกและทยอยถอนกำลังทหารสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ออกจากเวียตนามในปี 1973 แต่ยังคงให้การสนับสนุนรัฐบาลเวียตนามใต้ด้วยการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมหาศาล โดยหวังว่า กองทัพเวียตนามใต้จะนำประชาชนจับอาวุธต่อสู้กับกองทัพเวียตนามเหนือและกองกำลังเวียตกง ด้วยความผิดพลาดจากการทำให้กองทัพเวียตนามใต้เสพติดการทุจริตคอร์รัปชันโกงกิน ใช้อำนาจในการรังแกประชาชนจนขาดความยกย่อง นับถือ และเชื่อมั่น จึงไม่มีใครร่วมที่จะต่อสู้เลย ซ้ำร้ายทหารเวียตนามใต้เองเมื่อขาดวินัย ขวัญกำลังใจต่ำมาก ๆ จึงพากันถอดเครื่องแบบหนีทัพ ที่สุดแล้วอาวุธยุทโธปกรณ์มากมายมหาศาลเหล่านั้นก็ตกอยู่มือของกองทัพเวียตนามเหนือ (กองทัพเวียดนามในปัจจุบัน) แม้จะสูญเสียไปในการรบกับจีนในสงครามจีนสั่งสอนเวียตนาม สงครามในกัมพูชา รบกับกองทัพไทย ไปเป็นจำนวนมากแล้ว แต่ก็ยังคงมีเหลืออยู่อีกเป็นจำนวนมากและบางส่วนยังไม่เคยได้นำออกมาใช้งานเลย

การที่สหรัฐฯ ไม่สามารถเอาชนะในสงครามครั้งนั้นได้ ด้วยเพราะการบริหารที่ผิดพลาดทั้งการทหารและการเมือง เมื่อบริหารร่วมกันในการทำสงครามเวียตนามแล้วยิ่งผิดพลาดจนไปกันใหญ่ แม้จนปัจจุบันกองทัพสหรัฐฯ จะยังคงเป็นกองทัพอันดับหนึ่งของโลกก็ตาม หากแต่พิจารณาถึงสงครามที่สงครามต่าง ๆ ในระยะหลังที่กองทัพสหรัฐฯ เข้าไปมีบทบาทนั้น กองทัพสหรัฐฯ จะถูกมองในบทบาทของผู้รุกรานมากกว่าบทบาทของผู้ช่วยเหลือหรือผู้ปลดปล่อย ภาพปรากฏจึงกลายเป็นศัตรูมากกว่ามิตร เปรียบเหมือนกับกองทัพสหรัฐฯ นั้นใช้พระเดช (อำนาจ) มากกว่าพระคุณ (ไมตรีจิต-มิตรภาพ-จริงใจ-ช่วยเหลือ-ห่วงใย-ใส่ใจ) ความสำเร็จในการทำสงครามในมุมมองของผู้เขียนคือ การบริหารพระเดชและพระคุณให้เกิดความเหมาะสมสมดุล ไม่ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งมากหรือน้อยจนเกินไป แต่ใช้ทั้งสองอย่างให้เหมาะสม ตามแต่บริบทของพื้นที่และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้น ๆ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) คือ สัจธรรมที่มนุษยชาติต้องประสบพบเจอ ไม่เว้นแม้แต่ สหรัฐอเมริกา ประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบ ซึ่งเราท่านน่าจะมีโอกาสได้เห็นความเป็นไปที่เกิดขึ้นในเวลาต่อไป

หมายเหตุ ผู้เขียนใช้คำว่า “เวียตนาม” ตัว ‘ต’ สะกด เพราะเอกสารสมัยก่อนใช้เช่นนี้ ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น “เวียดนาม” สะกดด้วยตัว ‘ด’

ตลอดเดือนเมษายน 2568 พบกับเรื่องราวของมหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน
ในโอกาสครบ 50 ปีแห่งการสิ้นสุดสงคราม วันที่ 30 เมษายน 2518

ถอดรหัส 'การส่งออกก๊าซระหว่างรัสเซียและอิหร่าน' การสร้างพันธมิตรทางพลังงานและผลกระทบต่อภูมิรัฐศาสตร์

ในระยะหลังความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและอิหร่านในด้านพลังงานมีการพัฒนาและขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในแง่ของการค้าพลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภูมิรัฐศาสตร์โลก การตกลงของรัสเซียที่จะเริ่มการส่งก๊าซไปยังอิหร่านในปีนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสใหม่ในความร่วมมือทางพลังงานระหว่างสองประเทศนี้ ข้อตกลงดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างรัสเซียและอิหร่าน แต่ยังส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อทิศทางการเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลางและมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงสมดุลอำนาจในระดับโลกได้

อิหร่านเป็นหนึ่งในประเทศที่มีทรัพยากรพลังงานสำคัญ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติในขณะที่รัสเซียก็เป็นผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่ของโลก การที่ทั้งสองประเทศสามารถทำข้อตกลงในเรื่องการส่งก๊าซจะทำให้ทั้งสองฝ่ายมีอำนาจในการควบคุมตลาดพลังงานในภูมิภาคและสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับทั้งสองประเทศ ขณะเดียวกันการร่วมมือด้านพลังงานนี้ยังช่วยเสริมสร้างบทบาทของทั้งสองประเทศในฐานะ "ผู้เล่นสำคัญ" ในการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีความขัดแย้งและการแทรกแซงจากประเทศภายนอกรวมถึงสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรตะวันตก

จากมุมมองของรัสเซียการส่งก๊าซไปยังอิหร่านไม่เพียงแต่เป็นการเสริมสร้างพันธมิตรทางพลังงานที่สามารถช่วยให้รัสเซียมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาวแต่ยังเป็นการแสดงออกถึงอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ซึ่งการมีอำนาจในตลาดพลังงานเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ ขณะเดียวกันอิหร่านก็จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มการจัดหาก๊าซในตลาดภายในประเทศและเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้ากับหนึ่งในประเทศที่มีอิทธิพลที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามข้อตกลงนี้ไม่เพียงแต่จะกระทบต่อเศรษฐกิจและการเมืองภายในสองประเทศเท่านั้นแต่ยังสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิรัฐศาสตร์โลกโดยเฉพาะในแง่ของการยกระดับความตึงเครียดกับชาติตะวันตกและการสร้างแนวทางใหม่ในการคัดค้านการแทรกแซงจากมหาอำนาจต่างๆ การขยายตัวของความสัมพันธ์พลังงานระหว่างรัสเซียและอิหร่านจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่เพียงแต่ในแง่ของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแต่ยังมีผลต่อการปรับเปลี่ยนทิศทาง ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ในด้านเศรษฐกิจรัสเซียได้เผชิญกับผลกระทบจากการคว่ำบาตรที่เข้มข้นจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะในด้านการส่งออกพลังงาน ทำให้ต้องหาตลาดใหม่เพื่อทดแทนการสูญเสียตลาดยุโรปที่มีมูลค่าสูง ขณะเดียวกันการขยายตลาดไปยังเอเชียกลางและตะวันออกกลางช่วยให้รัสเซียสามารถรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดพลังงานโลก อิหร่านเองก็มีสถานการณ์คล้ายกัน เนื่องจากการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรทำให้การส่งออกก๊าซและน้ำมันของประเทศถูกจำกัด การมีพันธมิตรในรัสเซียจึงเป็นโอกาสที่อิหร่านสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการคว่ำบาตรและเพิ่มการเข้าถึงตลาดพลังงานใหม่ๆ ทั้งในแง่ของการส่งออกและการบริโภคในประเทศ การตกลงเพื่อส่งก๊าซระหว่างทั้งสองประเทศจึงมีความสำคัญในฐานะการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและเศรษฐกิจของทั้งรัสเซียและอิหร่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่การกดดันทางเศรษฐกิจจากประเทศตะวันตกยังคงมีอยู่

ผลประโยชน์ที่ทั้งสองชาติจะได้รับจากการส่งออกก๊าซ
รัสเซีย: การส่งก๊าซไปยังอิหร่านถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่สำคัญในการขยายตลาดไปยังภูมิภาคที่มีความต้องการพลังงานสูงในช่วงนี้ การมีตลาดพลังงานใหม่ในอิหร่านและพื้นที่ตะวันออกกลางจะทำให้รัสเซียสามารถกระจายการพึ่งพาตลาดยุโรปได้มากขึ้น นอกจากนี้การเป็นผู้ส่งออกก๊าซหลักไปยังอิหร่านจะช่วยเพิ่มบทบาทของรัสเซียในฐานะผู้นำทางพลังงานของโลกในระดับภูมิภาคและทั่วโลก

อิหร่าน: สำหรับอิหร่านการรับก๊าซจากรัสเซียจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานภายในประเทศ ในขณะที่ประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาการผลิตพลังงานภายในที่ลดลงจากการคว่ำบาตรต่างๆ การมีรัสเซียเป็นพันธมิตรทางพลังงานจะช่วยให้การจัดหาก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูกและสะดวกสบายยิ่งขึ้นซึ่งจะมีผลดีต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานพลังงานภายในประเทศและยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ในทางภูมิรัฐศาสตร์ความร่วมมือทางพลังงานนี้ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างรัสเซียและอิหร่าน โดยทำให้ทั้งสองประเทศสามารถรับมือกับการแทรกแซงจากต่างชาติได้ดีขึ้นทั้งในระดับเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้พวกเขามีอิทธิพลมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ

การตอบสนองของโลกตะวันตกต่อการขยายอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาค
ข้อตกลงระหว่างรัสเซียและอิหร่านในเรื่องการส่งออกก๊าซธรรมชาติได้สร้างความวิตกกังวลในหมู่ประเทศตะวันตกที่อาจมองว่าการร่วมมือทางพลังงานระหว่างสองประเทศนี้อาจเสริมสร้างอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบริบทที่รัสเซียและอิหร่านมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความมั่นคงทางทหารและภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งสองประเทศต่างมีความมุ่งมั่นที่จะท้าทายอิทธิพลของสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตกในตะวันออกกลางและพื้นที่อื่น ๆ การที่รัสเซียสามารถส่งออกก๊าซให้กับอิหร่านได้มากขึ้น น่าจะเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างกัน ซึ่งสามารถมีผลต่ออำนาจการต่อรองในหลาย ๆ สนาม

การขยายความสัมพันธ์ทางพลังงานระหว่างรัสเซียและอิหร่านคงจะไม่ได้ผ่านไปอย่างราบรื่น เนื่องจากโลกตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ และประเทศในยุโรปมีท่าทีต่อต้านการพัฒนาเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการส่งออกพลังงานในปริมาณมาก สิ่งนี้สามารถเสริมสร้างสถานะของอิหร่านในฐานะผู้ผลิตพลังงานสำคัญในภูมิภาคและลดผลกระทบของการคว่ำบาตรที่สหรัฐฯ และ EU ได้ใช้กับอิหร่านมาก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรในยุโรปอาจตอบสนองด้วยการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น เช่น การจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีพลังงาน หรือการห้ามการลงทุนในโครงสร้างพลังงานของอิหร่าน นอกจากนี้อาจมีการใช้มาตรการทางการทูตเพื่อกดดันรัสเซียและอิหร่านให้ลดความร่วมมือในภาคพลังงานรวมถึงการขยายการคว่ำบาตรจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติหรือ G7 เพื่อลดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ

การร่วมมือระหว่างรัสเซียและอิหร่านในด้านพลังงานสร้างความท้าทายทางการทูตที่ซับซ้อนสำหรับโลกตะวันตก โดยเฉพาะในกรณีที่สหรัฐฯ และพันธมิตรไม่สามารถหาทางออกที่สามารถหยุดยั้งการเติบโตของความสัมพันธ์นี้ได้ ความพยายามที่จะจำกัดการเข้าถึงทรัพยากรพลังงานและการส่งออกของอิหร่านอาจทำให้เกิดปัญหาทางการทูตในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การขยายบทบาทของรัสเซียในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง เช่น ในซีเรีย หรือลงลึกไปในการช่วยเหลือด้านพลังงานที่อาจสนับสนุนโครงการทางทหารของอิหร่านที่มีความเสี่ยงสูง

ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสองขั้วอำนาจนี้ สหรัฐฯ และพันธมิตรอาจมีการปรับกลยุทธ์ทางการทูตเพื่อเผชิญหน้ากับการพัฒนาความสัมพันธ์ทางพลังงานของรัสเซียและอิหร่าน โดยการเจรจากับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเพื่อเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือการสนับสนุนการดำเนินการทางการทูตที่มีลักษณะเชิงรุกมากขึ้น การขยายมาตรการคว่ำบาตรและเพิ่มแรงกดดันต่อทั้งรัสเซียและอิหร่านอาจกลายเป็นเครื่องมือหลักในการปกป้องผลประโยชน์ของโลกตะวันตกและสกัดกั้นการเติบโตของอิทธิพลรัสเซียในตะวันออกกลางและภูมิภาคอื่น ๆ การพัฒนาความสัมพันธ์ทางพลังงานนี้ยังอาจเป็นการทดสอบการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ รวมถึงประเทศในเอเชียกลางที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสมดุลทางภูมิรัฐศาสตร์ในบริเวณนี้ ท่ามกลางความกังวลที่มีต่อการขยายอิทธิพลของรัสเซียและอิหร่านในเชิงพลังงานและการเมือง

ผลกระทบต่อภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
การตกลงระหว่างรัสเซียและอิหร่านในการส่งออกก๊าซธรรมชาติอาจเสริมสร้างอำนาจของรัสเซียในภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับประเทศในภูมิภาคมีความเข้มแข็งขึ้น รัสเซียได้เข้ามามีบทบาทในหลายพื้นที่สำคัญของตะวันออกกลาง อาทิเช่น ซีเรีย โดยที่การสนับสนุนของรัสเซียต่อรัฐบาลของบาชาร์ อัล-อัสซาดยังคงมีบทบาทสำคัญในการคงอำนาจของรัฐบาลในดามัสกัสและการป้องกันไม่ให้กลุ่มอำนาจตะวันตกขยายอิทธิพลในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้การที่รัสเซียสามารถส่งออกก๊าซไปยังอิหร่านได้มากขึ้นยิ่งทำให้รัสเซียกลายเป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักทางเศรษฐกิจในภูมิภาคซึ่งสามารถขยายอิทธิพลในระดับภูมิรัฐศาสตร์โดยการใช้พลังงานเป็นเครื่องมือในการต่อรองและการสร้างพันธมิตรกับประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง การมีส่วนร่วมของรัสเซียในการดำเนินการทางพลังงานของอิหร่านและการส่งออกก๊าซยังช่วยเสริมความสามารถของรัสเซียในการเข้าถึงตลาดพลังงานที่สำคัญของโลกซึ่งจะทำให้รัสเซียสามารถใช้พลังงานเป็นเครื่องมือในการปรับกลยุทธ์ทางการทูตและภูมิรัฐศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในขณะที่การขยายความร่วมมือทางพลังงานกับรัสเซียจะมีผลกระทบสำคัญต่อทิศทางการดำเนินนโยบายพลังงานของอิหร่านโดยเฉพาะในด้านการส่งออกก๊าซและน้ำมันที่สำคัญ อิหร่านที่เคยต้องพึ่งพาความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคและตะวันตกในการค้าขายพลังงานอาจเห็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่การพึ่งพารัสเซียมากขึ้นในการพัฒนาและส่งออกก๊าซธรรมชาติ การร่วมมือในโครงการพลังงานกับรัสเซียจะช่วยให้การส่งออกพลังงานของอิหร่านเติบโตขึ้นขณะเดียวกันก็ช่วยลดผลกระทบจากการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่โลกตะวันตกได้ใช้กับอิหร่านก่อนหน้านี้ นอกจากนี้อิหร่านยังสามารถใช้ความสัมพันธ์ทางพลังงานกับรัสเซียเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในประเทศซึ่งจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน เช่น การขุดเจาะและขนส่งก๊าซรวมถึงการสร้างงานในภาคพลังงานภายในประเทศโดยเฉพาะในช่วงที่อิหร่านมีความพยายามในการหลีกเลี่ยงการพึ่งพิงจากประเทศตะวันตก

การขยายความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและอิหร่านในด้านพลังงานไม่เพียงแต่จะมีผลกระทบต่อรัสเซียและอิหร่านเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อลักษณะของความสัมพันธ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางในหลาย ๆ ด้าน ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ หรือชาติในยุโรปอาจรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการขยายอำนาจของรัสเซียและอิหร่าน การเพิ่มขึ้นของอิทธิพลรัสเซียในภูมิภาคอาจทำให้ประเทศเหล่านี้มองว่าการร่วมมือระหว่างรัสเซียและอิหร่านเป็นการท้าทายอำนาจของตะวันตกในตะวันออกกลาง สำหรับประเทศที่เคยพึ่งพาพลังงานจากอิหร่านหรือรัสเซีย เช่น ประเทศในแถบอ่าวเปอร์เซีย ประเทศเหล่านี้อาจต้องปรับตัวในด้านการพัฒนาพลังงานและการตลาดใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการขยายตัวของความสัมพันธ์ทางพลังงานระหว่างรัสเซียและอิหร่านที่อาจทำให้การแข่งขันในตลาดพลังงานเพิ่มสูงขึ้น การเพิ่มความร่วมมือในด้านพลังงานระหว่างสองประเทศนี้ยังอาจทำให้ความตึงเครียดในภูมิภาคที่มีอยู่แล้วระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น ซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ทวีความรุนแรงขึ้นและอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางการลงทุนในโครงสร้างพลังงานของประเทศต่าง ๆ ทั่วทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง

บทสรุป ข้อตกลงการส่งก๊าซระหว่างรัสเซียและอิหร่านในปีนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่มีผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์โดยเฉพาะในด้านพลังงานและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การร่วมมือในครั้งนี้ไม่เพียงแค่เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศแต่ยังเพิ่มความแข็งแกร่งในการเจรจาทางการทูตของทั้งรัสเซียและอิหร่านในเวทีโลก นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างอำนาจของรัสเซียในภูมิภาคตะวันออกกลางและสามารถปรับสมดุลพลังงานในตลาดโลกได้ การส่งออกก๊าซไปยังอิหร่านไม่เพียงแค่ช่วยเสริมความมั่นคงทางพลังงานของทั้งสองประเทศ แต่ยังเสริมสร้างอำนาจและอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีการแข่งขันสูง ข้อตกลงนี้ยังสามารถเป็นเครื่องมือในการลดผลกระทบจากการคว่ำบาตรของตะวันตกและช่วยให้รัสเซียและอิหร่านมีความสามารถในการต่อรองทางเศรษฐกิจและการทูต ในอนาคต ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและอิหร่านคาดว่าจะยังคงแข็งแกร่งขึ้นโดยเฉพาะในด้านพลังงานและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การส่งออกก๊าซจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างอิทธิพลของทั้งสองประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ขณะเดียวกันก็จะส่งผลให้เกิดการปรับตัวของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเพื่อรักษาความสมดุลและผลประโยชน์ทางพลังงานของตนเอง ความร่วมมือนี้อาจมีผลต่อทิศทางภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคในระยะยาวและกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดอนาคตของการเมืองโลก

ตุ๊กตาถักไหมพรม 2 ตัว จาก คุณยุ้ย 'ศิริลักษณ์ ใจชื่น' เจ้าหน้าที่กงสุลไทยประจำราชอาณาจักรภูฏาน สะท้อนความอบอุ่น สายสัมพันธ์แน่นแฟ้น ระหว่างสองแผ่นดิน

(1 พ.ค. 68) ภาพตุ๊กตาถักไหมพรม 2 ตัวที่อยู่ในพระหัตถ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ตุ๊กตาคู่นี้ มาจาก คุณยุ้ย–ศิริลักษณ์ ใจชื่น เจ้าหน้าที่กงสุลไทยประจำราชอาณาจักรภูฏาน

คุณยุ้ยได้ตั้งใจนำมาติดเข็ม แล้วทูลเกล้าฯ ถวายเป็นของที่ระลึกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีในโอกาสการเสด็จเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการ

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวเล็ก ๆ แต่เต็มไปด้วยความภักดีและหัวใจไทยที่สะท้อนความอบอุ่นและสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างสองแผ่นดิน

เว็บไซต์นอร์เวย์ เปิดบันทึกพระราชหัตถเลขา ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเขียนถึง พระธิดา ทรงทำนายตั้งแต่ปี 1907 ไว้ว่า ‘ในอนาคตจะมีโทรศัพท์แบบพกพา ที่เล็กเท่านาฬิกาพก’

(1 พ.ค. 68) พอดีไปเจอบทความต่างประเทศฉบับหนึ่งเข้าโดยบังเอิญ เป็นเรื่องราวจากเว็บไซต์นอร์เวย์ชื่อ Mykles.com ที่เล่าเหตุการณ์เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) และได้เสด็จถึงประเทศนอร์เวย์ ซึ่งตอนนั้นถือว่าเป็นดินแดนแห่งเทคโนโลยีพลังน้ำที่ก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ว่ากันว่า พระองค์ทรงเดินทางไปยังเมืองโนโทดเดิน (Notodden) เพื่อศึกษาดูงานด้านไฟฟ้า และได้พบกับวิศวกรผู้มีชื่อเสียงคือ แซม ไอเด (Sam Eyde) ผู้ก่อตั้งบริษัท Norsk Hydro ซึ่งเป็นผู้ผลิตปุ๋ยจากไนโตรเจนด้วยกระแสไฟฟ้า

แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ — ในบันทึกพระราชหัตถเลขาที่พระองค์ทรงเขียนถึงพระธิดา (เจ้าหญิงน้อย) ที่กรุงเทพฯ พระองค์ได้เล่าถึงบทสนทนาในค่ำคืนหนึ่งว่า:
> “คงไม่เกินเลยนักหากจะทำนายว่าในอนาคตจะมีโทรศัพท์แบบพกพาที่เล็กเท่านาฬิกาพก เมื่อคุณต้องการสนทนา เพียงพูดกับนาฬิกา แล้วแนบหูฟังเสียงจากอีกฝ่าย...”

หลายคนที่ได้อ่านตรงนี้อาจจะตกใจ เพราะนี่มันคือภาพของ 'สมาร์ตวอทช์' อย่างแท้จริง — แต่ถูกจินตนาการไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907!!

บทความนั้นเล่าอีกว่า พระองค์ทรงเสด็จแบบ 'in cognito' หรือไม่ได้เปิดเผยสถานะความเป็นพระมหากษัตริย์ ทำให้สามารถสังเกตสังคมนอร์เวย์ในเวลานั้นได้อย่างลึกซึ้ง — ทั้งความยากจน ความตั้งใจของผู้คน และความมุมานะในการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์

นอกจากเรื่องโทรศัพท์พกพาแล้ว พระองค์ยังสนทนากับนักวิทยาศาสตร์นามว่า คริสเตียน บีร์เคอลันด์ (Kristian Birkeland) ถึงเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า ปืนไฟฟ้า การทำฝนเทียม และการสื่อสารแบบไร้สายด้วยพลังน้ำฟ้า — ซึ่งก็ล้ำยุคไม่แพ้กัน

บทความนี้ทำให้เรากลับมาทบทวนอีกครั้งว่า พระมหากษัตริย์ไทยในอดีต มิได้ทรงเป็นเพียง 'ผู้อุปถัมภ์' เท่านั้น หากยังทรงเป็น 'นักวิทยาศาสตร์' และ 'นักพยากรณ์เทคโนโลยี' ผู้เห็นไกลเกินยุคสมัย

ในวันที่พวกเราสวมสมาร์ตวอทช์ไว้ที่ข้อมือ และคุยโทรศัพท์ผ่านนาฬิกาได้จริง ๆ นั้น... ก็ไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่กษัตริย์ไทยเคยจินตนาการไว้เมื่อ 100 ปีก่อน

‘The Mandela Rules’ เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ สำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ส่งผลอย่างมาก!! ต่อนโยบาย และแนวปฏิบัติ เกี่ยวกับเรือนจำทั่วโลก

องค์การสหประชาชาติ (UN) ให้ความสำคัญกับความทุกข์ยากของนักโทษและความรับผิดชอบที่ซับซ้อนของเจ้าหน้าที่เรือนจำมาโดยตลอด ดังนั้นในปี 1955 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติจึงได้นำกฎเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติต่อนักโทษ (Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners: SMRs) มาใช้ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งแรกว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด กฎเกณฑ์เหล่านี้เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสำหรับการจัดการสถานที่ในเรือนจำและการปฏิบัติต่อนักโทษมาเป็นเวลากว่า 60 ปี กฎเกณฑ์เหล่านี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนากฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเรือนจำทั่วโลก

เมื่อกฎหมายระหว่างประเทศและความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทางอาญาและสิทธิมนุษยชนได้รับการพัฒนา ประเทศสมาชิกสหประชาชาติก็ตระหนักว่ามาตรฐานการลงโทษจะได้รับประโยชน์จากการทบทวน ในปี 2011 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาลขึ้นเพื่อปรับปรุงมาตรฐานการลงโทษให้เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 โดยไม่ลดมาตรฐานที่มีอยู่ใด ๆ ตั้งแต่ปี 2012 จนถึงปี 2015 ประเทศสมาชิกได้หารือเกี่ยวกับลักษณะและขอบเขตของการแก้ไขโดยได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) นอกจากนี้ ภาคประชาสังคมและองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องยังได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมด้วย

หลังจากวิเคราะห์ความก้าวหน้าของกระบวนการทางกฎหมายระหว่างประเทศ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการลงโทษ และแนวทางปฏิบัติด้านการบริหารจัดการเรือนจำที่ดีตั้งแต่ปี 1955 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้เสนอให้แก้ไขกฎเกณฑ์เดิมมากกว่าหนึ่งในสามในเก้าประเด็นหลัก ได้แก่ ศักดิ์ศรีของนักโทษในฐานะมนุษย์ กลุ่มนักโทษที่เปราะบาง บริการด้านการดูแลสุขภาพ ข้อจำกัด วินัย และการลงโทษ การสืบสวนการเสียชีวิตและการทรมานในระหว่างการควบคุมตัว การเข้าถึงตัวแทนทางกฎหมายของนักโทษ การร้องเรียนและการตรวจสอบ การอบรมเจ้าหน้าที่เรือนจำ และคำศัพท์ที่ต้องปรับปรุง ในเดือนธันวาคม 2015 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ลงมติเห็นชอบเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติที่แก้ไขใหม่สำหรับการปฏิบัติต่อนักโทษ โดยเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า 'The Mandela Rules' เพื่อเป็นเกียรติแก่ 'Nelson Mandela' อดีตประธานาธิบดีแห่งแอฟริกาใต้ ซึ่งเคยถูกจำคุกเป็นเวลา 27 ปีเนื่องจากการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน

'The Mandela Rules' เป็น 'Soft law (กฎหมายอ่อน)' ซึ่งหมายความว่าข้อกำหนดนี้ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย กฎหมายของประเทศมีอำนาจเหนือกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าข้อกำหนดเหล่านี้ไม่มีความสำคัญ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชนระหว่างประเทศได้นำข้อกำหนดเหล่านี้มาใช้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ตกลงกันโดยสากล ประเทศสมาชิกสหประชาชาติจำนวนมากได้นำบทบัญญัติของข้อกำหนดเหล่านี้มาใช้ในกฎหมายในประเทศของตนหรืออยู่ระหว่างดำเนินการ นอกจากนี้ ฝ่ายตุลาการในประเทศนั้น ๆ อาจใช้ข้อกำหนดเหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลรองเมื่อตัดสินว่าแนวทางปฏิบัติในเรือนจำของประเทศนั้นถูกต้องตามธรรมนูญดังกล่าวหรือไม่

“The Mandela Rules” เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อนักโทษได้รับการรับรองโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2015 หลังจากผ่านกระบวนการแก้ไขเป็นเวลา 5 ปี ประกอบด้วย "ข้อกำหนด" 122 ข้อ ซึ่งไม่ใช่ข้อกำหนดทั้งหมด บางข้อเป็นหลักการ เช่น ความเท่าเทียมกันในสถาบันและปรัชญาของการกักขัง ข้อกำหนดดังกล่าวได้รับการรับรองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 1955 ในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดจัดขึ้นที่เจนีวาและได้รับการอนุมัติโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาติในมติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 1957 และ 13 พฤษภาคม 1977

ตั้งแต่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมได้รับรองเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติต่อนักโทษ (Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners : SMR) ในปี 1957 เป็นต้นมา เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติต่อนักโทษก็ได้กลายมาเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสำหรับการปฏิบัติต่อนักโทษ แม้ว่าเกณฑ์ดังกล่าวจะไม่มีข้อผูกมัดทางข้อกำหนดหมาย แต่เกณฑ์ดังกล่าวก็มีความสำคัญทั่วโลกในฐานะแหล่งข้อมูลสำหรับข้อกำหนดหมายระดับชาติที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการบริหารจัดการเรือนจำตามกฎหมายระหว่างประเทศและในประเทศสำหรับพลเมืองที่ถูกคุมขังในเรือนจำและการควบคุมตัวในรูปแบบอื่น ๆ หลักการพื้นฐานที่อธิบายไว้ในมาตรฐานดังกล่าวคือ "จะต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยพิจารณาจากเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่น ๆ ชาติกำเนิดหรือสังคม ทรัพย์สิน การเกิดหรือสถานะอื่น ๆ"

ภาคที่ 1 ประกอบด้วยเกณฑ์การใช้ทั่วไป ประกอบด้วยมาตรฐานที่กำหนดว่าอะไรเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีในการปฏิบัติต่อนักโทษและการจัดการสถาบันเรือนจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ: มาตรฐานขั้นต่ำของที่พัก (ข้อกำหนดข้อที่ 12 ถึง 17); สุขอนามัย ส่วนบุคคล (18); เครื่องแบบและเครื่องนอน* (19 ถึง 21); อาหาร (22); การออกกำลังกาย (23); บริการทางการแพทย์ (24 ถึง 35); วินัยและการลงโทษ (36 ถึง 46); การใช้เครื่องมือควบคุม (47 ถึง 49); การร้องเรียน (54 ถึง 57); การติดต่อกับโลกภายนอก (58 ถึง 63); ความพร้อมของหนังสือ (64); ศาสนา (65 และ 66); การยึดทรัพย์สินของนักโทษ (67); การแจ้งการเสียชีวิต การเจ็บป่วย การย้าย (68 ถึง 70); การเคลื่อนย้ายนักโทษ (73); คุณภาพและการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่เรือนจำ (74 ถึง 82); และการตรวจสอบเรือนจำ (83 ถึง 85)

*เครื่องแบบนักโทษคือชุดเสื้อผ้ามาตรฐานที่นักโทษสวมใส่ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยเสื้อผ้าที่มองเห็นได้ชัดเจนเพื่อบ่งบอกว่าผู้สวมใส่เป็นนักโทษ โดยแตกต่างจากเสื้อผ้าของทางการอย่างชัดเจน เนื่องจากได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ระบุตัวนักโทษได้ทันที จำกัดความเสี่ยงผ่านวัตถุที่ซ่อนอยู่ และป้องกันการบาดเจ็บผ่านวัตถุที่สวมบนเสื้อผ้าที่ไม่ได้ระบุตัวตน เครื่องแบบนักโทษยังสามารถทำลายความพยายามหลบหนีได้ เพราะเครื่องแบบนักโทษโดยทั่วไปใช้การออกแบบและรูปแบบสีที่สังเกตเห็นและระบุได้ง่ายแม้จะอยู่ห่างไกลออกไป การสวมเครื่องแบบนักโทษมักจะทำอย่างไม่เต็มใจและมักถูกมองว่าเป็นการตีตราและละเมิดอำนาจการตัดสินใจของตนเอง โดยในกฎข้อที่ 19 กำหนดว่า 
- ผู้ต้องขังทุกคนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้สวมเสื้อผ้าของตนเอง จะต้องได้รับชุดเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับสภาพอากาศและเพียงพอที่จะรักษาสุขภาพที่ดี เสื้อผ้าดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือทำให้ผู้อื่นอับอายแต่อย่างใด
- เสื้อผ้าทั้งหมดต้องสะอาดและอยู่ในสภาพที่เหมาะสม เสื้อผ้าชั้นในจะต้องเปลี่ยนและซักบ่อยเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาสุขอนามัย
- ในสถานการณ์พิเศษ เมื่อใดก็ตามที่นักโทษถูกนำตัวออกไปนอกเรือนจำเพื่อวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุญาต นักโทษจะได้รับอนุญาตให้สวมเสื้อผ้าของตนเองหรือเสื้อผ้าที่ไม่สะดุดตาอื่น ๆ

ภาคที่ 2 ประกอบด้วยเกณฑ์ที่บังคับใช้กับนักโทษประเภทต่างๆ รวมถึงนักโทษที่ถูกพิพากษาโทษ มีหลักเกณฑ์หลายประการ (ข้อกำหนดข้อที่ 86 ถึง 90) การปฏิบัติ (การฟื้นฟู) นักโทษ (91 และ 92) การจำแนกประเภทและการทำให้เป็นรายบุคคล (93 และ 94) สิทธิพิเศษ (95) การทำงาน[ 4 ] (96 ถึง 103) การศึกษาและการพักผ่อนหย่อนใจ (104 และ 105) ความสัมพันธ์ทางสังคมและการดูแลภายหลัง (106 ถึง 108) ภาคที่ 2 ยังมีเกณฑ์สำหรับนักโทษที่ถูกจับกุมหรืออยู่ระหว่างรอการพิจารณาคดี (โดยทั่วไปเรียกว่า "การพิจารณาคดีระหว่างพิจารณาคดี") เกณฑ์สำหรับนักโทษทางแพ่ง (สำหรับประเทศที่ข้อกำหนดหมายท้องถิ่นอนุญาตให้จำคุกเนื่องจากหนี้สิน หรือตามคำสั่งศาลสำหรับกระบวนการที่ไม่ใช่ทางอาญาอื่นๆ) และเกณฑ์สำหรับบุคคลที่ถูกจับกุมหรือคุมขังโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา

ในปี 2010 สมัชชาใหญ่ได้ขอให้คณะกรรมาธิการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาลที่เปิดกว้างเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขเกณฑ์มาตรฐานเพื่อให้สะท้อนถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านเรือนจำและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ใด ๆ จะไม่ส่งผลให้มาตรฐานที่มีอยู่ลดลง สมัชชาใหญ่ยังได้เน้นย้ำถึงหลักการหลายประการที่ควรเป็นแนวทางสำหรับกระบวนการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง รวมถึง (ก) การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์มาตรฐานใดๆ ไม่ควรทำให้มาตรฐานที่มีอยู่ลดลง แต่ควรปรับปรุงเกณฑ์เพื่อให้สะท้อนถึงความก้าวหน้าของศาสตร์ด้านการบริหารขัดการเรือนจำ และแนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย ความมั่นคง และสภาพความเป็นมนุษย์ของนักโทษ และ (ข) กระบวนการแก้ไขควรคงขอบเขตการใช้เกณฑ์มาตรฐานที่มีอยู่สำหรับการปฏิบัติต่อนักโทษ และยังคงคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคม ข้อกำหนดหมาย และวัฒนธรรม ตลอดจนภาระผูกพันด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิก

ในเดือนธันวาคม 2015 สมัชชาใหญ่ได้มีมติเห็นชอบมติ 70/175 เรื่อง "ข้อกำหนดขั้นต่ำมาตรฐานของสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อนักโทษ (“The Mandela Rules”) การอ้างอิงนี้ไม่เพียงแต่เพื่อรับทราบถึงการสนับสนุนอย่างสำคัญของแอฟริกาใต้ต่อกระบวนการแก้ไขเท่านั้น แต่ยังเพื่อเป็นเกียรติแก่“Nelson Mandela” ผู้ซึ่งใช้เวลา 27 ปีในเรือนจำระหว่างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและการส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ดังนั้น สมัชชาใหญ่จึงได้ตัดสินใจขยายขอบเขตของ “วัน Nelson Mandela สากล” (18 กรกฎาคม) เพื่อใช้เพื่อส่งเสริมสภาพการจำคุกในเรือนจำอย่างมีมนุษยธรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้ว่านักโทษเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเพื่อให้เห็นคุณค่าของการทำงานของเจ้าหน้าที่เรือนจำในฐานะบริการสังคมที่มีความสำคัญ

บทเรียนราคาแพง จากไฟดับ ในทวีปยุโรป ไม่มีแสง ไร้สัญญาณอินเทอร์เน็ต ‘วิทยุ’ ที่เคยถูกมองว่าล้าสมัย!! กลับกลายเป็น ‘สิ่งจำเป็นในยามวิกฤต’

(3 พ.ค. 68) ในค่ำคืนที่ไฟฟ้าทั้งระบบดับลงพร้อมกันทั่วกรุงมาดริดและหลายเมืองใหญ่ในสเปนและโปรตุเกส—ไม่มีแสง ไม่มีสัญญาณ ไม่มีอินเทอร์เน็ต—สิ่งที่กลับถูกถามหามากที่สุดไม่ใช่โทรศัพท์รุ่นใหม่ ไม่ใช่แท็บเล็ต แต่คือ วิทยุ

“ยังมีวิทยุเหลือไหม?” เป็นคำถามที่ร้านขายของชำเล็ก ๆ ในมาดริดได้ยินถี่ที่สุดในช่วงไฟดับ ผู้คนพากันต่อคิวถามหาไฟฉาย แบตเตอรี่ เทียนไข และวิทยุทรานซิสเตอร์ ราวกับย้อนเวลากลับไปในยุคก่อนสมาร์ตโฟน

เรเยส พาแตร์นา แม่ลูกสองที่กำลังพาลูกกลับบ้านบอกว่า “ไม่มีอะไรใช้ได้เลย โทรศัพท์ก็เงียบ เรายังมีของใช้เด็กนิดหน่อย แต่ไม่รู้จะหาข่าวจากไหน เรามีเตาแคมป์ก็จริง แต่ไม่แน่ใจว่ากระป๋องแก๊สจะยังเหลือไหม”

บนถนนสายหนึ่งในย่านชุมชน คนขับรถจอดรถ เปิดกระจกรถ แล้วเปิดวิทยุดัง ๆ ให้คนอื่นมารวมตัวฟังข่าวด้วยกัน บางคนเอาเก้าอี้มานั่งฟัง สร้าง 'ชุมชนคลื่นเสียง' ขึ้นท่ามกลางความมืดมิด

มาเรีย รามิเรซ นักข่าวจาก elDiario.es ซึ่งรายงานเหตุการณ์นี้ กล่าวว่า “สิ่งที่น่าทึ่งที่สุดไม่ใช่แค่การฟื้นฟูไฟฟ้าใน 12 ชั่วโมง แต่คือความสงบและสามัญสำนึกของประชาชน—กับวิทยุเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่ออีกครั้ง”

แต่ไม่ใช่ทุกคนจะอยู่ในภาวะสงบนิ่งเช่นนั้น แท็กซี่ตะโกนว่า “รับเฉพาะเงินสด!” และมีคนบางกลุ่มแซงคิวหญิงตั้งครรภ์ขึ้นรถ บ่งชี้ว่าเมื่อระบบล่ม ความเป็นระเบียบก็อาจล่มสลายตาม

มานูเอล ปาสเตอร์ วัย 72 ปี ส่ายหัวพลางลากรถเข็นใส่อาหารกระป๋องกลับบ้าน “เราหวังว่าทุกอย่างจะกลับมาภายในวันสองวัน ถ้าเกินกว่านั้นคนจะเริ่มตื่นตระหนก แล้วจะเกิดเรื่องเหมือนตอนโควิดอีก”

เหตุการณ์นี้ตอกย้ำข้อเท็จจริงอันเจ็บปวดว่า แม้ในโลกที่ก้าวหน้าที่สุด หากไร้ไฟฟ้าเพียงไม่กี่ชั่วโมง ทุกสิ่งอาจหยุดชะงัก และสิ่งที่คนเคยหัวเราะเยาะว่า "ล้าสมัย" อย่างวิทยุ กลับกลายเป็นของมีค่าเหนือเทคโนโลยีใด ๆ

มันไม่ใช่แค่เครื่องส่งสัญญาณเสียง แต่มันคือสื่อกลางของความหวัง ความมั่นใจ และการเชื่อมโยงมนุษย์ในยามที่โลกดิจิทัลพังลง

ถึงเวลาหรือยังที่เราจะกลับไปมองสิ่งพื้นฐานด้วยความเคารพ ไม่ใช่เหยียดว่า “เชย”

เพราะในวันที่โลกไร้แสง สิ่งเดียวที่อาจยังพาเรากลับมาหากันได้ คือเสียงจากวิทยุเครื่องเก่า

3 วันแห่งสันติภาพ หรือ 3 วันแห่งกลยุทธ์ ปูติน ประกาศหยุดยิงชั่วคราวในสมรภูมิยูเครน วิเคราะห์!! วัตถุประสงค์การหยุดยิงของรัสเซียในช่วง ‘วันแห่งชัยชนะ’ ปี ค.ศ. 2025

เมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 2025 ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินประกาศหยุดยิงชั่วคราวในสมรภูมิยูเครนระหว่างวันที่ 8 ถึง 11 พฤษภาคม เพื่อรำลึกถึงวาระครบรอบ 80 ปีแห่งชัยชนะของสหภาพโซเวียตเหนือเยอรมนีนาซีในสงครามโลกครั้งที่สอง การหยุดยิงดังกล่าวมีนัยทางการเมืองที่สำคัญและชวนให้ตั้งคำถามว่า “นี่คือสัญญาณแห่งสันติภาพที่แท้จริง หรือเป็นเพียงช่วงเวลาพักรบเพื่อวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์?” แม้จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการจากรัสเซียว่าเป็น “การเคารพต่อประวัติศาสตร์และความเสียสละของผู้คน” ฝ่ายยูเครนกลับแสดงความระแวง โดยมองว่าหยุดยิงดังกล่าวอาจถูกใช้เป็นกลยุทธ์ในการจัดทัพใหม่ หยั่งเชิง หรือแม้แต่ขยายอิทธิพลในเชิงสัญลักษณ์ต่อสายตานานาชาติ การหยุดยิงที่กินระยะเวลาเพียงสามวันจึงไม่ใช่เพียงการ “ลดเสียงปืน” ชั่วคราว หากแต่เป็นจุดตัดของประวัติศาสตร์ การเมือง และยุทธศาสตร์—ที่ซึ่งอดีตถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือปั้นแต่งปัจจุบัน เพื่อเป้าหมายแห่งอนาคตที่อาจไม่จำเป็นต้องหมายถึงสันติภาพ บทความนี้จะวิเคราะห์การหยุดยิงดังกล่าวผ่านมุมมองของภูมิรัฐศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ (historical geopolitics) และ การเมืองของความทรงจำ (politics of memory) โดยพิจารณาความหมายที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่อย่าง “Victory Day” และพฤติกรรมของรัฐที่มีผลต่อทั้งสนามรบและสนามการทูตในระดับโลก

“Victory Day” หรือ День Победы ในวันที่ 9 พฤษภาคม ไม่ได้เป็นเพียงวันหยุดราชการหรือการรำลึกถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเท่านั้น หากแต่เป็นหนึ่งใน “เสาหลัก” ของการประกอบสร้างอัตลักษณ์ชาติรัสเซียยุคใหม่ โดยเฉพาะในยุคของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินที่ใช้วันแห่งชัยชนะนี้เป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์เพื่อย้ำภาพของรัสเซียในฐานะ “ผู้ปลดปล่อยยุโรปจากลัทธินาซี” และ “มหาอำนาจผู้เสียสละ”ในเวทีภายในประเทศ Victory Day กลายเป็นพิธีกรรมทางการเมืองที่ช่วยหล่อเลี้ยงความชอบธรรมของรัฐ ผ่านการจัดสวนสนามทางทหาร การเดินพาเหรด "ผู้ไม่ตาย" «Бессмертный полк» และสื่อสารถึงความต่อเนื่องของความยิ่งใหญ่จากอดีตสู่ปัจจุบัน ประชาชนได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักถึงบทบาทของรัสเซียในประวัติศาสตร์โลก พร้อมกับเสริมสร้างความภูมิใจในชาติและ “ความรักต่อมาตุภูมิ” «патриотизм»  ซึ่งถูกยกขึ้นมาเป็นคุณค่าสูงสุดของพลเมืองรัสเซีย ในเวทีระหว่างประเทศ Victory Day ถูกใช้เป็น “ทุนทางสัญลักษณ์” ในการส่งสารทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะในบริบทของสงครามยูเครนการอ้างถึงชัยชนะเหนือฟาสซิสม์มักถูกใช้ในการเปรียบเทียบยูเครนหรือชาติตะวันตกว่าเป็น “ภัยคุกคามทางอุดมการณ์แบบเดียวกับในอดีต” สิ่งนี้ทำให้การเมืองของความทรงจำ (memory politics) กลายเป็นกลไกสำคัญที่รัสเซียใช้ในการสร้างกรอบการรับรู้ใหม่ ซึ่งผู้ฟังไม่ใช่เพียงประชาชนของตน แต่รวมถึงประชาคมระหว่างประเทศที่กำลังมองดูรัสเซียอย่างใกล้ชิด

นักวิชาการรัสเซียจำนวนมากให้ความสนใจต่อบทบาทของ Victory Day ในฐานะ "เครื่องจักรแห่งความทรงจำของชาติ" ที่รัฐใช้เพื่อควบคุมการตีความอดีต ตัวอย่างเช่น นิโคไล มิทโรฟานอฟ (Nikolai Mitrofanov) นักประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรัฐมอสโกชี้ว่า "ชัยชนะในสงครามมหาบูรพาคือปัจจัยหลักที่หล่อหลอมภาพลักษณ์ความเป็นมหาอำนาจของรัสเซียหลังยุคโซเวียต" โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศกำลังเผชิญความท้าทายจากภายนอกขณะเดียวกัน นักรัฐศาสตร์สายภูมิรัฐศาสตร์อย่าง อันเดรย์ ซูซดาลเซฟ «Андрей Иванович Суздальцев» มองว่า Victory Day ไม่ได้เป็นเพียง “ความทรงจำร่วมของประชาชน” แต่เป็น “เครื่องมือของรัฐในการจัดเรียงลำดับศัตรู-มิตรใหม่” โดยเฉพาะในยุคสงครามยูเครน ที่ความทรงจำเกี่ยวกับชัยชนะถูกนำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบยูเครนกับลัทธินาซีในอดีต นักคิดชาตินิยมคนสำคัญอย่างอเล็กซานเดอร์ 

ดูกิน (Alexander Dugin) ยังกล่าวไว้อย่างตรงไปตรงมาว่า "Victory Day เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ทางการเมืองที่เชื่อมรัสเซียเข้ากับโชคชะตาอันยิ่งใหญ่ของยุโรปและโลก" สำหรับดูกินการหยุดยิงในช่วงดังกล่าวจึงเป็น “พิธีกรรมของรัฐ” «государственный ритуал»  มากกว่าจะเป็นการเปิดทางสู่การเจรจาทางสันติ ด้วยเหตุนี้ บริบทของ Victory Day ในสายตานักวิชาการรัสเซียจึงมีความลึกและซับซ้อนมากกว่าการเฉลิมฉลองทั่วไป เพราะมันคือการแสดงออกของ “รัฐในฐานะผู้ควบคุมอดีต” (state as memory manager) และใช้สัญลักษณ์แห่งชัยชนะมาเป็นเครื่องมือกำหนดยุทธศาสตร์ในปัจจุบัน ดังนั้นการประกาศหยุดยิงในช่วง Victory Day ปี ค.ศ. 2025 จึงไม่อาจแยกขาดจากบริบทนี้ เพราะมันคือการใช้สัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์เพื่อห่อหุ้มพฤติกรรมทางยุทธศาสตร์ สันติภาพที่ถูกนำเสนอในครั้งนี้จึงมีความเป็น “พิธีกรรม” มากพอ ๆ กับความเป็น “นโยบาย”

แม้การประกาศหยุดยิงของรัสเซียในช่วงวันแห่งชัยชนะหรือ Victory Day ปี ค.ศ. 2025 จะถูกเสนอในนามของ “สันติภาพ” และ “เกียรติยศแห่งความทรงจำ” ฝ่ายยูเครนกลับปฏิเสธที่จะตอบรับหรือประกาศหยุดยิงตอบโดยอ้างเหตุผลหลักสองประการคือ 1) ความไม่ไว้วางใจในเจตนารมณ์ของรัสเซีย และ 2) ความกลัวต่อการใช้ช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ สำหรับยูเครน Victory Day ไม่ใช่สัญลักษณ์ของการปลดปล่อยหากแต่เป็นร่องรอยของอิทธิพลโซเวียตที่ยังหลงเหลืออยู่ในโครงสร้างอำนาจปัจจุบันของรัสเซีย ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกีได้ปรับเปลี่ยนวันที่ระลึกชัยชนะให้ตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคมตามแบบสากลและยกเลิกการจัดขบวนพาเหรดทางทหารเพื่อ “ตัดขาดจากวาทกรรมชัยชนะของมอสโก” จึงไม่น่าแปลกใจที่การหยุดยิงโดยใช้ Victory Day เป็นกรอบความชอบธรรมจะถูกมองว่าเป็นการ “ครอบงำเชิงสัญลักษณ์” มากกว่าจะเป็นการแสดงความจริงใจทางการทูต ในทางยุทธศาสตร์ยูเครนมีประสบการณ์ตรงจากช่วงปี ค.ศ. 2022–2023 ที่การหยุดยิงเฉพาะกิจในบางพื้นที่กลับกลายเป็นโอกาสให้กองทัพรัสเซียจัดแนวรบใหม่หรือเสริมกำลังอย่างเงียบ ๆ ตัวอย่างเช่นในช่วง “หยุดยิงคริสต์มาส” เดือนมกราคม ค.ศ. 2023 ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่ารัสเซียใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการเคลื่อนพลและเสริมเสบียงจึงเป็นเหตุให้รัฐบาลยูเครนในปี ค.ศ. 2025 ปฏิเสธที่จะ “ลดการระวังภัย” แม้ในช่วงเวลาที่ถูกนำเสนอว่าเป็น “โอกาสทองแห่งการรำลึกและคืนดี”นอกจากนี้ ยูเครนยังมองว่า รัสเซียกำลังใช้การหยุดยิงเป็นเครื่องมือในการ “ตีกรอบทางจริยธรรม” (moral framing) โดยวาดภาพฝ่ายตรงข้ามว่า “ปฏิเสธสันติภาพ” หากไม่ตอบรับข้อเสนอของรัสเซีย สิ่งนี้อาจสร้างความกดดันต่อยูเครนในสายตาประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่เริ่มลังเลต่อความยืดเยื้อของสงครามในบริบทเช่นนี้ความไม่ไว้วางใจจึงไม่ใช่เพียงปฏิกิริยาเชิงอารมณ์แต่คือกลยุทธ์ในการปกป้องอธิปไตยและการเล่าเรื่อง (narrative) ของตนเอง ซึ่งยูเครนพยายามอย่างหนักที่จะควบคุมในเวทีระหว่างประเทศ

การประกาศหยุดยิงในช่วง Victory Day ของรัสเซียไม่เพียงแค่มีผลต่อฝ่ายสงครามในสนามรบหากแต่ยังส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อยุทธศาสตร์ทางการทูตและภาพลักษณ์ของรัสเซียในระดับโลก การหยุดยิงในช่วงเวลาดังกล่าวทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมการรับรู้ของประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะในแง่การสร้างภาพลักษณ์ของรัสเซียในฐานะรัฐที่มีความรับผิดชอบและเคารพต่อ “สันติภาพ” ที่ถูกเน้นย้ำในวาระครบรอบการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง การหยุดยิงในวันดังกล่าวสามารถมองได้ว่าเป็นความพยายามของรัสเซียในการส่งสัญญาณถึงสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตกว่ารัสเซียเปิดทางให้การเจรจาทางการทูตแม้ในขณะที่ความขัดแย้งในยูเครนยังดำเนินต่อไป สัญญาณนี้อาจมีจุดประสงค์ในการบีบให้ฝ่ายตะวันตกแสดงท่าทีเกี่ยวกับการหาทางออกสงครามหรือแม้แต่เสนอทางเลือกในการเจรจาที่เป็นมิตรกับผลประโยชน์ของรัสเซีย ซึ่งในทางการทูตถือเป็นการ "เคลื่อนไหวเชิงภาพลักษณ์" ที่มีเป้าหมายในการสร้างความเชื่อมั่นและขยายการยอมรับจากประเทศต่างๆ ในขณะเดียวกัน การประกาศหยุดยิงยังเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงกดดันทางสัญลักษณ์ต่อประเทศที่ยังคงให้การสนับสนุนยูเครน โดยเฉพาะประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้าใกล้ชิดกับรัสเซีย เช่น จีน อินเดีย และบางประเทศในอาเซียน การแสดงออกเช่นนี้ทำให้ความสัมพันธ์ทางการทูตของรัสเซียกับประเทศเหล่านี้ดูดีขึ้นในสายตาของสาธารณชน โดยการส่งสัญญาณว่า "รัสเซียพร้อมที่จะยุติสงคราม หากฝ่ายอื่นยินดีที่จะหารือ"

เมื่อเปรียบเทียบกับกลยุทธ์ในอดีตการหยุดยิงในช่วง Victory Day ยังสะท้อนให้เห็นถึงการใช้กลยุทธ์ทางการทูตในลักษณะคล้ายคลึงกับที่รัสเซียใช้ในช่วงสงครามเย็น ในช่วงเวลานั้นสหภาพโซเวียตใช้การหยุดยิงหรือข้อตกลงทางการทูตในช่วงเวลาสำคัญเพื่อทำลายความเป็นเอกภาพของฝ่ายตะวันตกและสร้างแรงกดดันให้เกิดความลังเลในการสนับสนุนประเทศที่เป็นคู่ขัดแย้ง ในกรณีนี้รัสเซียอาจพยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ทำให้ชาติตะวันตกและยูเครนต้องตัดสินใจเลือกว่าจะทำตามข้อเรียกร้องของรัสเซียหรือไม่โดยเฉพาะในช่วงที่ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้การหยุดยิงครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้รัสเซียแสดงบทบาทในฐานะ “ผู้เสนอทางออก” ต่อความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย ซึ่งในทางการทูตถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่รัสเซียสามารถชูขึ้นมา เป็นรัฐที่ไม่เพียงแค่เป็นผู้โจมตีหากแต่เป็น “ตัวกลาง” ที่ช่วยลดความรุนแรงในระดับสากล แม้ในความเป็นจริงการหยุดยิงนี้ยังไม่สามารถสะท้อนถึงความตั้งใจในการยุติความขัดแย้งอย่างถาวร ในแง่การเมืองภายในรัสเซียอาจมองว่าการประกาศหยุดยิงนี้จะช่วยเพิ่มความชอบธรรมในสายตาของประชาชนและชดเชยความสูญเสียในระยะยาวของสงครามขณะที่ยังคงรักษาสถานะของตนในฐานะมหาอำนาจที่มีบทบาทในเวทีโลก

คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นจากการประกาศหยุดยิงในช่วง Victory Day ของรัสเซียคือ “มันจะนำไปสู่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการทูตที่ใช้สร้างภาพลวงตา?” ในขณะที่รัสเซียเสนอการหยุดยิงเพื่อรำลึกถึงชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายยูเครนและหลายประเทศในประชาคมระหว่างประเทศต่างตั้งคำถามถึงความจริงใจและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของรัสเซีย การหยุดยิงในช่วงนี้ถูกมองว่าเป็นโอกาสในการปูทางสู่การเจรจาสันติภาพ หากฝ่ายต่างๆ พร้อมที่จะกลับมาร่วมโต๊ะเจรจา หลังจากการต่อสู้ที่ยืดเยื้อมาเกือบสองปี อย่างไรก็ตามความเป็นไปได้ของการเจรจาที่ยั่งยืนนั้นยังคงอยู่ในความสงสัย รัสเซียเองไม่ได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนในการลดความเข้มข้นของการปฏิบัติการทางทหารหรือให้สัญญาที่เป็นรูปธรรมในการยุติสงคราม

แม้การหยุดยิงจะถูกนำเสนอว่าเป็น “จุดเริ่มต้น” สำหรับการเจรจาแต่หลายฝ่ายมองว่ามันเป็นเพียงแค่กลยุทธ์ที่รัสเซียใช้ในการสร้างกรอบการเจรจาที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศตนเอง และอาจถูกใช้เพื่อเพิ่มแรงกดดันให้ฝ่ายยูเครนยอมรับเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมในอนาคต ยูเครนและพันธมิตรตะวันตกยืนยันว่าพวกเขาจะไม่ยอมรับการเจรจาที่ไม่คำนึงถึงอธิปไตยและดินแดนของยูเครนโดยเฉพาะเมื่อรัสเซียยังคงยืนยันในข้อเสนอที่เป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศและหลักการสากลในการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค ยิ่งไปกว่านั้น ความไม่มั่นใจในความจริงใจของรัสเซียในการหยุดยิงครั้งนี้สะท้อนจากการกระทำในอดีตเมื่อครั้งที่รัสเซียเคยละเมิดข้อตกลงทางการทูตหลายครั้งในช่วงสงคราม การหยุดยิงในกรอบเวลานี้อาจถูกมองว่าเป็นเพียงการใช้ช่วงเวลาที่มีความสำคัญทางสัญลักษณ์เพื่อเจรจาในเงื่อนไขที่รัสเซียจะได้ประโยชน์มากขึ้นในระยะยาว มากกว่าการจริงจังในการหาทางออกที่แท้จริง ข้อเสนอการหยุดยิงในช่วงวัน Victory Day ยังสร้างความสงสัยในหลายประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของรัสเซียในสงครามยูเครน อย่างไรก็ตามยังมีมุมมองบางประการที่เชื่อว่าการประกาศหยุดยิงในช่วงวันสำคัญเช่นนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเปิดการเจรจาระหว่างรัสเซียและยูเครนโดยเฉพาะหากมีการสร้างความเชื่อมั่นจากทั้งสองฝ่ายว่าการเจรจาจะไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือในการสร้างภาพลวงตา หากแต่เป็นการจริงจังที่จะยุติสงคราม สุดท้ายนี้ การหยุดยิงในช่วงวัน Victory Day จึงเป็นการทดสอบที่สำคัญสำหรับประชาคมระหว่างประเทศและทั้งสองฝ่ายในสงครามหากการหยุดยิงนี้นำไปสู่การเจรจาที่แท้จริงก็จะถือเป็นสัญญาณของความพร้อมในการยุติสงคราม แต่หากเป็นเพียงกลยุทธ์ในการสร้างความสงบเพื่อเตรียมการรุกทหารใหม่ก็จะยิ่งเพิ่มความไม่มั่นใจและการต่อต้านจากทั้งยูเครนและพันธมิตรของพวกเขา

บทสรุป การประกาศหยุดยิงของรัสเซียในช่วงวันครบรอบ 80 ปีแห่งชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งกำหนดระหว่างวันที่ 8–11 พฤษภาคม ค.ศ. 2025 เป็นการแสดงออกที่มีความหมายทางการทูตและการเมืองอย่างลึกซึ้ง สำหรับรัสเซียการหยุดยิงนี้ไม่ได้เพียงแค่เป็นการรำลึกถึงความสำเร็จทางทหารในอดีตแต่ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในฐานะประเทศที่เปิดช่องทางสู่สันติภาพแม้ในขณะที่สงครามในยูเครนยังคงดำเนินอยู่อย่างไรก็ตามการหยุดยิงนี้ได้รับการตอบสนองที่แตกต่างกันจากฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะจากยูเครนและพันธมิตรตะวันตกซึ่งมองว่าเป็นการใช้ช่วงเวลาสัญลักษณ์เพื่อบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์มากกว่าจะเป็นการยุติสงครามที่แท้จริง ยูเครนไม่เชื่อมั่นในความจริงใจของรัสเซียและมีความกังวลว่ารัสเซียอาจใช้การหยุดยิงนี้เพื่อเสริมกำลังและจัดการแนวรบใหม่ในขณะเดียวกัน แม้บางฝ่ายจะมองว่าการหยุดยิงในช่วงนี้อาจเป็นการเปิดโอกาสให้เริ่มต้นการเจรจาสันติภาพแต่ยังคงมีคำถามถึงความจริงใจของรัสเซียและความพร้อมในการยุติสงครามอย่างถาวร ในขณะที่ยูเครนยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องรักษาอธิปไตยและความสมบูรณ์ของดินแดนท้ายที่สุดการหยุดยิงนี้อาจเป็นเพียงภาพลวงตาที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างแรงกดดันต่อฝ่ายยูเครนและพันธมิตรของพวกเขาหรืออาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของการเจรจาสันติภาพขึ้นอยู่กับการตอบสนองและท่าทีของทั้งสองฝ่ายในอนาคต การจับตาและวิเคราะห์การดำเนินการในช่วงเวลาเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางของสงครามและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอนาคต

BRN ใช้!! ‘ความเงียบ’ เป็นข้ออ้างในการเดินหน้าก่อการร้าย ซุ่มยิง ลอบสังหาร ฆ่าเด็ก ผู้หญิง คนพิการ อย่างโหดเหี้ยม

(5 พ.ค. 68) ขณะที่ประเทศไทยกำลังสลดกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญ — เด็กหญิงวัย 9 ขวบถูกยิงเสียชีวิต ผู้หญิงตาบอดถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม — กลับมีบางเสียงในสังคมผลักดันให้รัฐไทย "เจรจา" กับกลุ่มผู้ก่อเหตุภายใต้หน้ากากคำว่า "สันติภาพ" และ "หยุดยิงชั่วคราว" 15 วัน จากกลุ่ม BRN

ข้อเสนอของ BRN ดังกล่าวถูกส่งมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยอ้างว่าเพื่อสร้าง “ความไว้เนื้อเชื่อใจ” และ “บรรยากาศสันติภาพ” แต่ตลอดช่วงเวลากว่าสามเดือนหลังจากนั้น — แทนที่เราจะได้เห็นท่าทีสงบ — กลับเต็มไปด้วยข่าวการซุ่มยิง การลอบสังหาร และที่รุนแรงที่สุดคือการฆ่าเด็ก ผู้หญิง และผู้พิการ

นั่นคือหลักฐานชัดเจนว่า BRN ไม่ได้รอการตอบรับ — แต่ใช้ “ความเงียบ” เป็นข้ออ้างในการเดินหน้าก่อการร้ายต่อ

1. ข้อเสนอที่ขาดความจริงใจ ไม่ใช่หนทางของประเทศไทย
“สันติภาพ” ที่ปราศจากจริยธรรม ไม่ใช่สันติภาพที่ประเทศไทยควรยอมรับ ข้อเสนอของ BRN ฟังดูหรูหราทางเทคนิค แต่ในทางคุณธรรม มันคือการขอคืนภาพลักษณ์จากสังคมโลก โดยไม่ต้องไถ่โทษให้เหยื่อแม้แต่รายเดียว ประเทศไทยจะให้รางวัลกับความรุนแรงหรือ??

2. หยุดยิง 15 วัน หรือหยุดเพื่อตั้งลำยิงใหม่?
ข้อเสนอ “หยุดยิงสองฝ่าย” โดยตั้งทีมติดตามจาก CSO และ NGO ที่ไร้ความชัดเจนในจุดยืน อาจเป็นเพียงกลไกให้ BRN ซุ่มสะสมกำลังใหม่ พื้นที่หยุดยิงคือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้ก่อการร้าย ไม่ใช่สำหรับประชาชน

3. ความเงียบของทางการไทย คือหลักประกันว่าประเทศนี้ไม่อ่อนข้อให้ความตาย
การที่ไทยยังไม่ตอบรับตลอด 3 เดือน ไม่ได้แปลว่าไม่ใส่ใจ แต่เป็นการแสดงจุดยืนอย่างมีหลักการ เพราะความเงียบไม่ควรถูกตอบแทนด้วยกระสุนที่ยิงใส่เด็กวัย 9 ขวบ หรือคนชราที่ไร้อาวุธ

4. หาก BRN จริงใจ – หยุดยิงโดยไม่ต้องต่อรอง
ประเทศไทยไม่ใช่ผู้เริ่มความรุนแรง และไม่จำเป็นต้องเป็นฝ่ายยื่นมือก่อน หาก BRN ต้องการเจรจาจริง — ขอให้ปลดอาวุธ หยุดทุกการกระทำอันเป็นภัยต่อประชาชน และแสดงความเสียใจกับเหยื่อ เสียก่อน

5. ยื่นข้อเสนอแล้วฆ่าเด็ก = เจตนาไม่บริสุทธิ์
การที่ BRN ยื่นข้อเสนอหยุดยิง แต่กลับดำเนินความรุนแรงต่อเนื่อง โดยเฉพาะต่อเป้าหมายที่อ่อนแอที่สุดของสังคม คือ การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่อแนวคิด “สันติภาพ”

หากยังมีใครพยายามผลักให้ประเทศไทยยอมอ่อนข้อในสถานการณ์เช่นนี้ — จงอย่าหลอกตัวเองว่านั่นคือสันติภาพ แต่คือการเปิดประตูให้กับการทำร้ายซ้ำอีกครั้ง

BRN แถลงเสียใจ!! แต่ความรุนแรงยังต่อเนื่องสวนทางกับคำขอโทษ กลบไม่มิดความจริง…เมื่อคำว่า ‘ศักดิ์ศรี’ ถูกใช้เพื่อแลกกับชีวิตเด็ก พระ และครู

(6 พ.ค. 68) จากโพสต์ล่าสุดของเพจเฟซบุ๊ก ปราชญ์ สามสี ถึงเรื่อง “คำขอโทษที่ลอยอยู่เหนือซากศพ: ความจริงที่สวนทางกับคำแถลงของ BRN”

แม้ BRN หรือแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี จะออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ปาตานีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2568 พร้อมยืนยันว่า “ไม่มีนโยบายโจมตีพลเรือน” และอ้างว่ายึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ แต่ประวัติศาสตร์ในพื้นที่ชายแดนใต้กลับตอกย้ำความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้—ว่าพลเรือนตกเป็นเหยื่ออย่างต่อเนื่องจากการกระทำที่มีลักษณะเป็นการมุ่งเป้าโดยตรงจากกลุ่มติดอาวุธที่อ้างชื่อ BRN เอง

ในเดือนเมษายน 2568 กลุ่มติดอาวุธได้ยิงถล่มรถที่พระภิกษุและสามเณรใช้บิณฑบาตในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ส่งผลให้สามเณรอายุ 16 ปีเสียชีวิต และเด็กชายวัย 12 ปีได้รับบาดเจ็บ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้าการออกแถลงการณ์ และไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่ชีวิตของเยาวชนต้องดับสูญเพียงเพราะความรุนแรงที่กลุ่มติดอาวุธอ้างว่า “ต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรี”

ย้อนไปเมื่อปี 2560 ห้างบิ๊กซีในจังหวัดปัตตานีถูกโจมตีด้วยระเบิดสองลูก ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บถึง 56 ราย รวมถึงเด็กเล็ก ขณะที่ปี 2562 จุดตรวจในจังหวัดยะลาถูกลอบโจมตีด้วยอาวุธสงคราม ส่งผลให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครเสียชีวิตถึง 15 ราย—ล้วนเป็นบุคคลไร้อาวุธ ผู้ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่น

ยิ่งไปกว่านั้น สถิติการสังหารครูในพื้นที่ภาคใต้ระหว่างปี 2547–2556 ระบุว่าครูอย่างน้อย 157 รายถูกสังหาร ไม่ใช่เพราะมีบทบาททางทหาร แต่เพียงเพราะทำหน้าที่ให้ความรู้เด็กๆ ในพื้นที่ที่ควรเป็นพื้นที่ปลอดภัย

ที่น่าตกใจยิ่งไปกว่านั้น คือมีรายงานว่าเด็กอายุ 14 ปีขึ้นไปถูกกลุ่มติดอาวุธเกณฑ์เข้าฝึกและใช้เป็นผู้สอดแนม นั่นย่อมขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับคำกล่าวอ้างเรื่อง “สิทธิมนุษยชน”

ในบริบทนี้ การที่ BRN ออกแถลงการณ์เสียใจภายหลังการสังหารเด็ก คนชรา หรือพระสงฆ์ แทนที่จะกล่าวถึงความรับผิดชอบหรือแสดงเจตจำนงที่จะยุติการใช้ความรุนแรง กลับยิ่งทำให้แถลงการณ์กลายเป็นเพียงคำพูดลอยๆ ที่ไม่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรมแต่อย่างใด

เพราะการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีนั้น ต้องไม่แลกมาด้วยชีวิตของผู้บริสุทธิ์ และไม่ควรมีเด็กคนใดต้องโตมากับเสียงปืนเพื่อให้ใครบางคน “ได้สิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเอง”

หากการต่อสู้ของ BRN ยังคงดำเนินไปด้วยแนวทางเดิม แถลงการณ์ใดๆ ที่ตามมาจะเป็นเพียงฉากหน้าของการใช้กำลังที่ไร้ความชอบธรรม และจะไม่มีวันได้รับการยอมรับจากสังคมไทยหรือประชาคมโลกได้อย่างแท้จริง

รู้จัก ‘Muhammad Mahmood Alam’ ผู้ใช้เวลาไม่ถึงสองนาทียิงเครื่องบินรบอินเดียตก 5 ลำ

ข่าวการสู้รบระหว่างอินเดียและปากีสถานในขณะนี้เป็นที่จับตามองของชาวโลกเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทั้ง 2 ชาติต่างมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ผลจากการปะทะในครั้งนี้อินเดียต้องสูญเสียเครื่องบินรบสมรรถนะสูงไปถึง 5 ลำ โดยเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2025 กองทัพอากาศอินเดียได้ส่งเครื่องบินขับไล่แบบ Rafale พร้อมขีปนาวุธ SCALP และระเบิด AASM Hammer ออกปฏิบัติการในช่วงเช้าตรู่เพื่อโจมตีค่ายก่อการร้ายหลายแห่งในปากีสถาน ซึ่งปากีสถานระบุว่าได้ยิงเครื่องบินอินเดียตก 5 ลำที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีครั้งนี้ รวมถึงเครื่องบินขับไล่แบบ Rafale จำนวน 3 ลำ ก่อนหน้านี้ ปากีสถานได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของระบบป้องกันภัยทางอากาศที่สามารถต่อต้านระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องบินขับไล่แบบ Rafale ของอินเดียได้สำเร็จ ตามรายงานของ CNN เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสได้ยืนยันถึงการสูญเสียเครื่องบิน Rafale 1 ลำ และกำลังสืบสวนการสูญเสียในการรบเพิ่มเติม โดยปรากฏภาพของชิ้นส่วนเครื่องบิน Rafale หมายเลขประจำเครื่อง BS001 ของกองทัพอากาศอินเดียบนโซเชียลมีเดีย ปากีสถานระบุว่า เครื่องบินรบของอินเดียถูกยิงตกโดยขีปนาวุธนำวิถีด้วยเรดาห์ (อากาศสู่อากาศ) แบบ PL-15Es จากเครื่องบินขับไล่แบบ J-10CE (ซึ่งทั้งคู่ผลิตโดยจีน) ในเวลาต่อมา สำนักข่าวรอยเตอร์ได้อ้างว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่ไม่เปิดเผยชื่อได้ยืนยันการยิงเครื่องบินรบอินเดียตกอย่างน้อย 2 ลำ (รวมถึงเครื่องบินขับไล่แบบ Rafale) โดยเครื่องบินขับไล่แบบ J-10CE ของปากีสถาน

อันที่จริงแล้ว กองทัพอากาศปากีสถานมีขีดความสามารถในการรบทางอากาศเหนือกว่ากองทัพอากาศอินเดียมานานแล้ว ตั้งแต่การรบทางอากาศในสงครามระหว่างอินเดียและปากีสถานในปี 1965 โดยสงครามครั้งนั้น กองทัพอากาศอินเดียสูญเสียเครื่องบินรบในราว 60-75 ลำ ขณะที่กองทัพอากาศปากีสถานสูญเสียเครื่องบินรบในราว 19-20 ลำ คิดเป็นอัตราส่วนความสูญเสียของอินเดีย-ปากีสถานที่ 3-3.5 ต่อ 1 ในยุคนั้นกองทัพอากาศอินเดียประจำการด้วยเครื่องบินรบจากอังกฤษ อดีตเจ้าอาณานิคมเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่กองทัพอากาศปากีสถานใช้เครื่องบินรบส่วนใหญ่จากสหรัฐอเมริกา อันได้แก่ เครื่องบินขับไล่แบบ F-86F Sabre และ F-104

หนึ่งในเสืออากาศที่มีชื่อเสียงที่สุดของกองทัพอากาศปากีสถาน ได้แก่ นาวาอากาศเอก(พิเศษ) Muhammad Mahmood Alam (6 กรกฎาคม 1935 – 18 มีนาคม 2013) เป็นที่รู้จักในชื่อ M.M. Alam หรือ มังกรน้อย (Little dragon) หรือ M.M. Sabre เป็นนักบินขับไล่และวีรบุรุษสงครามแห่งปากีสถาน เขาเป็นเสืออากาศที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากกองทัพอากาศปากีสถานว่าสามารถยิงเครื่องบินขับไล่แบบ Hawker Hunter ของอินเดียตกได้ 5 ลำในเวลาเพียงไม่ถึงสองนาทีในสงครามอินเดีย-ปากีสถานในปี 1965 M.M. Alam เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 1935 ในครอบครัวชาวเบงกอลมุสลิม เขาเกิดและเติบโตในนครกัลกัตตา เบงกอล จักรวรรดิอินเดียของอังกฤษในขณะนั้น เขาพูดภาษาเบงกอลได้คล่องเนื่องจากเป็นภาษาแม่ ด้วยมารดามีเชื้อสายเบงกอลและบิดามีเชื้อสายบิฮารี โดยอพยพมาจากปัตนาและต่อมาตั้งรกรากอยู่ในจังหวัดเบงกอล ต่อมาครอบครัวของเขาอพยพมาอพยพต่อไปยังดินแดนเบงกอลตะวันออก (ซึ่งต่อมากลายเป็นปากีสถานตะวันออกและบังกลาเทศในปัจจุบัน) หลังจากก่อตั้งปากีสถานในปี 1947 เขาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในปากีสถานตะวันออก โดยสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของรัฐบาลในเมืองธากาในปี 1951 เขาเข้าร่วมกองทัพอากาศปากีสถานในปี 1952 โดยเข้าประจำการเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1953 เนื่องจากเป็นพี่คนโตในบรรดาพี่น้อง 11 คน เขาจึงไม่ได้แต่งงานเนื่องจากต้องรับผิดชอบในการเลี้ยงดูครอบครัว น้องชายของเขาเป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงในทางวิชาการที่หลากหลาย อาทิ M. Shaheed Alam นักเศรษฐศาสตร์และศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น บอสตัน มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา และ M. Sajjad Alam นักฟิสิกส์อนุภาคแห่งมหาวิทยาลัยออลบานี (SUNY) มลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

วันที่ 7 กันยายน 1965 ในช่วงสงครามอินเดีย-ปากีสถาน M.M. Alam ประจำการอยู่กับฝูงบินที่ 11 ฐานทัพอากาศ Sargodha และทำการบินด้วยเครื่องบินขับไล่แบบ F-86F Sabre เขาประสบความสำเร็จในภารกิจสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่น่าจดจำที่สุดในประวัติศาสตร์การรบทางอากาศ โดยสามารถยิงเครื่องบินขับไล่แบบ Hawker Hunter ของกองทัพอากาศอินเดียตกเพียงลำพังได้ถึง 5 ลำภายในเวลาไม่ถึงสองนาที โดย 4 ลำใช้เวลาเพียง 30 วินาทีเท่านั้น โดยมีการกล่าวอ้างว่า ครั้งนั้นเขาสามารถยิงเครื่องบินรบ Hunter ตกถึง 7 ลำ แต่ 2 ลำในจำนวนนี้ถูกจัดว่า "น่าจะ" ถูกยิงตก (ซึ่งไม่มีการยืนยัน) โดยเขาเล่าว่าในขณะนั้น เขาได้บิน "หมุนตัว 270 องศาด้วยความเร็วประมาณ 12 องศาต่อวินาที และยิงเครื่องบินรบ Hunter ตกไป 4 ลำรวด และต่อมาอีก 1 ลำ" ผลงานอันน่าทึ่งนี้ทำให้เขาได้รับการยอมรับทั่วโลกและได้รับเกียรติอันหายากในการเป็น 'สุดยอดเสืออากาศในหนึ่งวัน' ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มอบให้กับนักบินขับไล่ที่สามารถยิงเครื่องบินของศัตรูตกได้ตั้งแต่ 5 ลำขึ้นไปในหนึ่งวัน ผลงานของเขาเป็นเครื่องพิสูจน์ทักษะ ความแม่นยำ และความกล้าหาญที่ไม่มีใครเทียบได้ภายใต้การโจมตี ตำนานของ M.M. Alam ยังคงสร้างแรงบันดาลใจอย่างมากมายให้กับชาวปากีสถาน และชื่อของเขายังได้รับการจารึกไว้ในปากีสถานผ่านเกียรติยศต่างๆ เช่น ถนน M. M. Alam ซึ่งเป็นถนนสายหลักในเมืองลาฮอร์ รัฐปัญจาบ ซึ่งตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ในสงครามปากีสถาน-อินเดียปี 1965 ในการสู้รบทางอากาศ เขาสามารถยิงเครื่องบินรบอินเดียตกได้ทั้งหมด 9 ลำ (และน่าจะยิงตกอีก 2 ลำ)

M.M. Alam เป็นนักบินขับไล่คนแรกของกองทัพอากาศปากีสถานที่ถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อหอเกียรติยศ (Hall of Fame) ของพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศปากีสถาน ในนครการาจี และได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษแห่งชาติของปากีสถาน รางวัล 'Sitara-e-Jurat' และเหรียญ BAR อีกด้วย ในปี 1967 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการฝูงเครื่องบินขับไล่แบบ Dassault Mirage III ฝูงบินแรกที่กองทัพอากาศปากีสถานจัดหา ในปี 1982 เขาเกษียณอายุราชการและย้ายไปอยู่ที่นครการาจี เขาปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัดในช่วงบั้นปลายชีวิต ในบางครั้ง เขาจะรับเชิญให้ไปบรรยายตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในปากีสถาน เขาสะสมหนังสือเป็นจำนวนมาก และอ่านหนังสือพิมพ์วันละหลายฉบับเพื่อติดตามข่าวสาร หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งของปากีสถานระบุว่า "M.M. Alam เป็นชายที่เคารพตัวเองมาก เขาใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและนับถือตัวเองอย่างที่สุด เขาเป็นคนตรงไปตรงมาและเป็นกันเองกับเพื่อนที่เขาไว้ใจ" M.M. Alam เข้ารับการรักษาปัญหาทางเดินหายใจเป็นเวลา 18 เดือนที่โรงพยาบาล PNS Shifa ของฐานทัพเรือปากีสถานในนครการาจี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2013 สิริอายุ 77 ปี มีการสวดภาวนาเพื่อไว้อาลัย ณ ฐานทัพอากาศ PAF Masroor ซึ่งเป็นที่ที่เขาประจำการใช้ในช่วงหลายปีที่สำคัญในอาชีพทหาร เขาถูกฝังที่สุสาน Shuhuda (ผู้พลีชีพ) ซึ่งตั้งอยู่ภายในฐานทัพอากาศ Masroor


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top