Friday, 29 March 2024
8ปีที่เปลี่ยนไป

เขื่อนยกระดับน้ำ 'สิงห์บุรี-พิจิตร' และ 'ท่าเรือนครสวรรค์-พิจิตร' ช่วยลดค่าใช้จ่ายขนส่ง-เชื่อมต่อระบบราง-จัดการน้ำลงตัว

เพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Structure' ได้โพสต์ข้อมูลโครงการเขื่อนยกระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางแม่น้ำ ที่มีต้นทุนการให้บริการที่ต่ำมาก รวมถึงยังสามารถการแก้ไขปัญหาแล้งของแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางช่วงเวลาน้ำแห้งขอด ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลไว้อย่างน่าสนใจ ผ่านหัวข้อ เขื่อนยกระดับน้ำ บนแม่น้ำเจ้าพระยา 'สิงห์บุรี-พิจิตร' รองรับการขนส่งสินค้าทางเรือ ควบคู่กับการพัฒนา 'ท่าเรือนครสวรรค์' และ 'พิจิตร' ว่า...

พอดีมีลูกเพจส่งข้อมูลเรื่องการทำเขื่อนยกระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางแม่น้ำ ที่มีต้นทุนการให้บริการที่ต่ำมาก รวมถึงการแก้ไขปัญหาแล้งของแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางช่วงเวลาน้ำแห้งขอดอีกด้วย จึงมีการวางแผนในการพัฒนาเขื่อนยกระดับแม่น้ำเจ้าพระยา 2 จุด คือ...

1. เขื่อนบน กม.345 ในเขตอำเภอพยุหะคีรี นครสวรรค์

2. เขื่อนล่าง กม.205 ในเขตอำเภอพรหมบุรี สิงห์บุรี

เป้าหมายเพื่อให้เรือกินน้ำลึกไม่เกิน 3 เมตร ที่ใช้ในการขนส่งข้าวสาร, น้ำตาล, ถ่านหิน และปุ๋ย สามารถให้บริการได้จนถึงท่าเรือตะพานหิน จังหวัดพิจิตร 

>> ว่าแต่ทำไมต้องพัฒนาการขนส่งทางแม่น้ำ???

รู้รึเปล่าว่าการขนสินค้าทางแม่น้ำ สูงถึง 9.5% โดยมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำที่สุด เพียง 0.64 บาท/ตัน/กิโลเมตร

แต่กลับกัน แม่น้ำเจ้าพระยา สามารถใช้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้าได้สูงสุดในบางฤดูกาล ได้แค่อ่างทอง หรือเพียง 180 กิโลเมตร จากปากแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ลดต่ำลง

ดังนั้น จึงทำให้มีโครงการก่อสร้างเขื่อนเพื่อยกระดับน้ำใน 'แม่น้ำเจ้าพระยา' และ 'แม่น้ำน่าน' ขยายพื้นที่ให้บริการขนสินค้าทางเรือไปได้ถึง ท่าเรือตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ที่ กม. 475 จากปากแม่น้ำเจ้าพระยา

>> รายละเอียดโครงการ

ในโครงการมีการก่อสร้างเขื่อนเพื่อยกระดับน้ำ 2 จุด คือ...

1. เขื่อนบน กม.345 ในเขตอำเภอพยุหะคีรี นครสวรรค์ ระดับกักเก็บน้ำ 20.50 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง

2. เขื่อนล่าง กม.205 ในเขตอำเภอพรหมบุรี สิงห์บุรี ระดับกักเก็บน้ำ 8.50 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง

โดยทั้ง 2 จุด จะมีประตูเรือสัญจร เพื่อยกเรือขึ้นตามความสูงของระดับน้ำในแต่ละขั้น

ควบคู่กับการทำประตูระบายน้ำ ซึ่งรองรับการระบายน้ำได้มากกว่า 2,400 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เพื่อช่วยระบายในช่วงฤดูน้ำหลาก

โดยทั้ง 2 เขื่อน จะมีการติดตั้ง โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์จากการไหลของผ่าน ที่กำลังการผลิต 10 และ 8 mW

นอกจากการทำเขื่อนแล้วก็ต้องมีการขุดลอกร่องน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ลึก 5-6 เมตร กว้าง 40-56 เมตร เพื่อให้รองรับการขนส่ง สินค้าทางเรือ

>> พัฒนาแม่น้ำแล้ว ก็ต้องมีท่าเรือในการขนส่งสินค้าที่สอดคล้อง โดยมีการพัฒนาท่าเรือในการขนส่งสินค้า 2 ท่า คือ...

1. ท่าเรือนครสวรรค์ (ท่าข้าวกำนันทรง) ใกล้กับสถานีรถไฟปากน้ำโพ พร้อมกับมีทางรถไฟเข้าท่าเรือเพื่อขนส่งสินค้าเชื่อมต่อกับเรืออีกด้วย

โดยมีสินค้าหลักที่ตั้งเป้าคือ ข้าว, มันสำปะหลัง และอาหารสัตว์ รวม 4 ล้านตัน/ปี

2. ท่าเรือตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ซึ่งพัฒนาต่อจากท่าเรือเดิม พร้อมกับการพัฒนาการเชื่อมต่อ และเปลี่ยนถ่ายทางรถไฟ 

โดยมีสินค้าหลักคือถ่านหิน กว่า 4 ล้านตัน/ปี รองรับการขนส่งถ่านหินเพื่อสนับสนุนโรงไฟฟ้าแม่เมาะในอนาคต

'รัฐบาล' ปลื้ม!! ท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุ 4 ล้านคน

ข่าวดี!! ต่างชาติแห่เที่ยวไทย พุ่งเกิน 4 ล้านคน เชื่อสิ้นปี 65 ดึงนักท่องเที่ยวเข้าไทย 10 ล้านคน หลังเพิ่มวันพำนักต่างชาติ ช่วยทำรายได้เข้าประเทศเพิ่ม 

(25 ส.ค. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าการเดินทางเข้าประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2565 ว่า ขณะนี้จำนวนมากกว่า 4 ล้านคน นับเป็นสัญญาณเชิงบวก สะท้อนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยเป็นผลสืบเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงรุกของรัฐบาล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาหาแนวทางกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 ล้านคน ในปีนี้ 

นายอนุชา กล่าวว่า ข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 16 สิงหาคม 2565 อยู่ที่ 4,015,504 คน และคาดการณ์ว่าภายในเดือนส.ค.นี้ จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยสะสม 4.5 ล้านคน โดย5 อันดับแรก ได้แก่ มาเลเซีย อินเดีย สปป.ลาว สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร

นายอนุชา กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีนโยบายที่สอดคล้องกันเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว โดยขยายระยะเวลาการพำนักของผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง และเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ดังนี้...

ส่อง 8 ผลงานสุดปัง ในยุค ‘ลุงตู่’ ที่ใครเห็นเป็นต้องอยากเคลม กับช่วงเวลา 8 ปี ที่ทำเพื่อประเทศไทย

หลังจากมีอดีตส.ส.บางพรรค ขึ้นป้ายหาเสียงระบุข้อความว่า “EEC ภาคตะวันออก เพื่อคนไทยทั้งประเทศ เพื่อไทย เพื่อประชาชนคนไทยทุกคน” ทั้งที่เป็นหนึ่งในผลงานของรัฐบาลลุงตู่ชัดๆ กลับเอามาเคลมได้

'ธนกร' ชูผลงาน 'บิ๊กตู่' ทำเพื่อปชช. เหน็บฝ่ายค้าน ดีแต่ดิสเครดิตไปวันๆ 

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่พรรคร่วมฝ่ายค้านยังพยายามออกมาเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลาออก ว่า พล.อ.ประยุทธ์บริหารประเทศจนประสบความสำเร็จในหลายๆ โครงการ และหลายโครงการกำลังทยอยเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้เห็น เช่น โครงการ EEC ที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจมหภาคเติบโตอย่างยั่งยืน การลงทุนที่เพิ่มขึ้น การส่งออกสินค้าที่มากขึ้น การสนับสนุนการพัฒนาระบบ 5G โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 

ในอนาคตไทยจะมีระบบขนส่งทางรางที่รวดเร็วไว้บริการนักท่องเที่ยวให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินทาง รวมทั้งการเชื่อมโยงการเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วยระบบรถไฟฟ้า จะทำให้การขนส่งทางราง การเดินทางของประชาชน สะดวกสบาย รวดเร็ว และลดมลพิษลงได้ 

นายธนกร กล่าวว่า สำหรับผลงานที่โดดเด่นของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์เริ่มต้นไว้เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา และกำลังทยอยเห็นผลเป็นรูปธรรมนั้น เช่น ถนนมอเตอร์เวย์สายสำคัญๆ ได้แก่ บางปะอิน-นครราชสีมา, บางใหญ่-กาญจนบุรี, นครปฐม-ชะอำ และอีกหลายเส้นทางที่จะเกิดขี้นในอนาคต 

'ทิพานัน' ชี้!! ค่าแรงไม่ถึง 425 เพราะหลายตัวแปร ย้ำ!! รัฐมีนโยบายช่วยเหลือประชาชนเสมอมา

'ทิพานัน' แจงขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพผู้ใช้แรงงาน ปรับไม่ถึง 425 บาท เพราะผลกระทบจากสถานการณ์โควิดอย่างหนัก ชี้ที่ผ่านมาอัดมาตรการช่วยเหลือทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ทุกมาตรการยึดประโยชน์ประเทศและประชาชน มากกว่าการเมือง

27 ส.ค. 65 - น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการค่าจ้างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2565 ว่า ต้องขอชี้แจงเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงความตั้งใจของรัฐบาลว่าการปรับค่าจ้างให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้เพิ่ม เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพจากสถานการณ์ที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและเงินเฟ้อสูงขึ้น ยิ่งสถานการณ์หวั่นไหวทางเศรษฐกิจอาจทำให้มีการปรับราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นได้ ที่ผ่านมารัฐบาลโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่ได้กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงานได้กำชับให้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และผู้อำนวยการพรรคพลังประชารัฐ ดูแลแรงงาน โดยให้หาแนวทางดำเนินการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เร็วที่สุดเมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลาย

น.ส.ทิพานัน กล่าวต่อว่า พรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้าน ต้องทำความเข้าใจเกณฑ์สำหรับการปรับอัตราค่าแรงได้นำตัวเลขคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของแต่ละจังหวัดชัดเจน และนำมาเทียบกับภาวะเงินเฟ้อ นำมาคำนวณจนได้ข้อสรุปแบ่งเป็น 9 อัตรา และมีระดับค่าแรงตั้งแต่ 328 - 354 บาท ตามที่ทราบกัน ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรียกว่าคณะกรรมการค่าจ้าง โดยมีผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล ร่วมหารือมาโดยตลอดจนได้ข้อสรุป เพื่อเสนอ ครม. ที่คาดว่าจะประกาศใช้ ภายใน 1 ตุลาคม 2565

ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยวิจารณ์ว่ารัฐบาลไม่สามารถปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาท เท่ากันทั่วประเทศได้ตามนโยบายหาเสียงไว้จนปลายอายุรัฐบาล น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบหนักต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และจากมาตรการทางด้านสาธารณสุข โดยตัวเลขอัตราค่าแรงขั้นต่ำนั้นได้มีการหารือทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการมาแล้วเบื้องต้นว่าอยู่ในจุดที่ยอมรับได้ อีกทั้งก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ให้การช่วยเหลือและเยียวยาทั้งนายจ้างและลูกจ้างผ่านมาตรการต่างๆ เพื่อพยุงสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้และไม่เกิดการว่างงานขึ้น รวมเงินกู้ผ่านธนาคารของรัฐเพื่อให้พลิกฟื้นธุรกิจ

32 ปีที่รอคอย!! เหตุการณ์สำคัญหลังฟื้นสัมพันธ์

บันทึกเหตุการณ์สำคัญ ฟื้นสัมพันธ์ ไทย - ซาอุฯ สู่ระดับปกติเหมือนเมื่อ 32 ปีก่อน

เป็นเวลากว่า 6 เดือน นับตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย ตามคำเชิญของมกุฎราชกุมาร แห่งซาอุฯ ซึ่งเป็นการเยือนระดับผู้นำของสองประเทศครั้งแรกในรอบ 32 ปี เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน และพัฒนาการในทางบวกที่จะเป็นประโยชน์ต่อสองประเทศ หลังมีปัญหาระหว่างกันเมื่ออดีตกว่า 30 ปีก่อน

เปิด 18 ผลงาน 'ภาคใต้' ช่วง 8 ปี 'รัฐบาลลุงตู่'

นับตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศทั้งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปคุณภาพชีวิตในชุมชน นอกจากนี้ยังแก้ไขปัญหาสะสมเรื่องความไม่สงบในประเทศ ออกมาตราการทางเศรษฐกิจ มีการจัดทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการชิมช้อปใช้ มีการส่งเสริมศักยภาพตามพื้นที่ 5 ภาค รวมถึงส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนจับต้องได้ทั้งสิ้น และคนที่ได้รับประโยชน์คือประชาชนไทยทุกคนทุกภูมิภาคอย่างเท่าเทียมกัน

ในส่วนการพัฒนาภาคใต้ มีโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สามารถเชื่อมโยงทั้งในและต่างประเทศ ผุดเมืองศูนย์กลางที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายผลจากโครงการเมืองต้นแบบ รองรับการขยายตัวทางการค้าและการท่องเที่ยวชายแดน ทั้งหมดนี้ภายใต้วิสัยทัศน์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน “เกษตรก้าวหน้า การค้าชายแดน การท่องเที่ยวเชื่อมโยง สู่อาเซียน” สามารถแยกให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมดังนี้

1. วางรากฐานแนวพัฒนาเกษตรกรรมและเศรษฐกิจรากฐาน ตั้งแต่การเพิ่มศักยภาพผลผลิต ข้าว ยางพารา อ้อย  มีการประกันรายได้เกษตรกร  

2. คลอง ร.1 จ.สงขลา แก้ปัญหาน้ำท่วมและการชลประทาน

3. จ้างงานเด็กจบใหม่ โดยรัฐบาลช่วยอุดหนุนเงินเดือนค่าจ้างให้เด็กจบใหม่ร้อยละ 50% รวมถึงเด็กจบใหม่ในภาคใต้ด้วย

4. รัฐบาลมอบโฉนดที่ดินทั่วไทย ซึ่งโครงการนี้แพร่กระจายไปทุกภาค รวมถึงภาคใต้

5. พัฒนาสนามบินทั่วประเทศ รวมทั้งสนามบินตรังและสนามบินเบตง 

6. สร้างทางแยกต่างระดับทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เป็นทางแยกต่างระดับที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้

7. โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่-ด่านบูกิตกายูฮิตัม

8. โครงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงสายใต้กับทางมาเลเซีย ซึ่งไม่ได้เชื่อมต่อเฉพาะสองประเทศเท่านั้น แต่สามารถเชื่อมต่อถึง 5 ประเทศ คือ จีน ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์

สถิติ ชี้!! ผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น-เร็วขึ้น ตอกย้ำ!! นโยบายรัฐบาล 'ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง'

รัฐบาล โชว์ผลงาน นโยบาย 'ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง' ดูแลประชาชน บัตรทองรักษามะเร็งทุกที่ ครึ่งปีงบประมาณ 2565 มีผู้ป่วยโรคมะเร็งเข้ารับบริการแล้ว 603,060 ครั้ง ทำให้ประชาชนเข้าถึงและได้รับการรักษาโดยเร็วและสะดวกขึ้น 

วันที่ (31 ส.ค. 65) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ด้วยนโยบาย 'ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง' ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เน้นดูแลให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการอย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพที่ได้กำชับให้ทุกภาคส่วนจัดระบบการดูแลอย่างครอบคลุม จึงเห็นได้ปัจจุบัน 'สิทธิบัตรทอง' ได้ยกระดับการให้บริการ ทั้งการขยายการรักษาจำนวนโรค สิทธิประโยชน์ อาทิ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ยาคุมกำเนิด และที่สำคัญคือ การให้ผู้ป่วยเข้าถึงแพทย์ได้อย่างสะดวก หากเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการเป็นผู้ป่วยนอกได้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ โดยไม่ถูกปฏิเสธ และไม่ถูกเรียกเก็บเงิน

8 ปี 'ภาคเหนือ' รัฐบาล 'ลุงตู่' จัดให้!!

ตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศ ในส่วนการพัฒนาภาคเหนือ มีการกำหนดให้พื้นที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือเพื่อยกระดับให้เป็นพื้นที่ลงทุนด้านการพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 

การพัฒนาและผลงานที่เป็นรูปธรรมและเอื้อประโยชน์ให้แก่พี่น้องชาวภาคเหนือมีมากมายหลายโครงการ ขอยกตัวอย่างมาให้เห็นคร่าวๆ ดังนี้

1.) พัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ที่เชียงราย

2.) เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา การท่องเที่ยวธรรมชาติและสุขภาพ ตามเส้นทางเมืองเก่าลำพูน ลำปาง เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน

3.) ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหมายเลข 11 ตอนแยกภาคเหนือ-ขุนตาล จาก 4 ช่องจราจรเป็น 8 ช่องจราจร

4.) พัฒนาทางหลวงหมายเลข 116 ตอนป่าสัก-สะปุ๋ง-บ้านเรือน-สันป่าตอง จาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 19 กม.

5.) พัฒนาทางหลวงหมายเลข 10.35 ตอนวังหม้อพัฒนา-แจ้ห่ม ระยะทาง 19 กม.

6.) ก่อสร้างส่วนขยายสะพานข้ามทางแยกต่างระดับ แยกภาคเหนือ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 ตอนเกาะคา-สามัคคี กับทางหลวงหมายเลข 11 ตอนแยกภาคเหนือ-ขุนตาน

7.) ก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ทางหลวงหมายเลข 1136 ตอนเหมืองง่า-ลำพูน เพื่อเชื่อมทางเลี่ยงเมืองลำพูน สายเหมืองง่า-ท่าจักร และเชื่อมโยงจังหวัดเชียงใหม่

8.) ก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองแม่ริม เมืองสันกำแพง

9.) สร้างสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าในภูมิภาค

10.) ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม 'เมืองเก่าลำพูน'

11.) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบริเวณถนนนิมมานเหมินทร์ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ

12.) ขยายท่าอากาศยานฯ และการศึกษาความเหมาะสมการขยายระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ (Logistic) เชื่อมต่อจากจังหวัดลำปาง-จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน และลดต้นทุนการขนส่งน้ำมัน

‘อนุชา’ เผย ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย คืบ “สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง -สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เล็งทดสอบเดินรถ ต.ค.นี้ ก่อนเปิดใช้ปี 66 

เมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย ในกทม.และปริมณฑล ว่า โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ดำเนินงาน งานโยธา 94.99% งานระบบรถไฟฟ้า M&E มีความก้าวหน้า 93.99% ความก้าวหน้าโดยรวม 94.56% ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ดำเนินงาน งานโยธา 91.74% งานระบบรถไฟฟ้า M&E มีความก้าวหน้า 89.39% ความก้าวหน้าโดยรวม 90.55% 

โดยทั้งสองมีแผนสำหรับการทดสอบเดินรถเสมือนจริง ภายในเดือน ต.ค.นี้ ก่อนจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบทั้งสองเส้นทางในปี 2566  ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน 95.94% เร็วกว่าแผน 0.24%


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top