เขื่อนยกระดับน้ำ 'สิงห์บุรี-พิจิตร' และ 'ท่าเรือนครสวรรค์-พิจิตร' ช่วยลดค่าใช้จ่ายขนส่ง-เชื่อมต่อระบบราง-จัดการน้ำลงตัว

เพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Structure' ได้โพสต์ข้อมูลโครงการเขื่อนยกระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางแม่น้ำ ที่มีต้นทุนการให้บริการที่ต่ำมาก รวมถึงยังสามารถการแก้ไขปัญหาแล้งของแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางช่วงเวลาน้ำแห้งขอด ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลไว้อย่างน่าสนใจ ผ่านหัวข้อ เขื่อนยกระดับน้ำ บนแม่น้ำเจ้าพระยา 'สิงห์บุรี-พิจิตร' รองรับการขนส่งสินค้าทางเรือ ควบคู่กับการพัฒนา 'ท่าเรือนครสวรรค์' และ 'พิจิตร' ว่า...

พอดีมีลูกเพจส่งข้อมูลเรื่องการทำเขื่อนยกระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางแม่น้ำ ที่มีต้นทุนการให้บริการที่ต่ำมาก รวมถึงการแก้ไขปัญหาแล้งของแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางช่วงเวลาน้ำแห้งขอดอีกด้วย จึงมีการวางแผนในการพัฒนาเขื่อนยกระดับแม่น้ำเจ้าพระยา 2 จุด คือ...

1. เขื่อนบน กม.345 ในเขตอำเภอพยุหะคีรี นครสวรรค์

2. เขื่อนล่าง กม.205 ในเขตอำเภอพรหมบุรี สิงห์บุรี

เป้าหมายเพื่อให้เรือกินน้ำลึกไม่เกิน 3 เมตร ที่ใช้ในการขนส่งข้าวสาร, น้ำตาล, ถ่านหิน และปุ๋ย สามารถให้บริการได้จนถึงท่าเรือตะพานหิน จังหวัดพิจิตร 

>> ว่าแต่ทำไมต้องพัฒนาการขนส่งทางแม่น้ำ???

รู้รึเปล่าว่าการขนสินค้าทางแม่น้ำ สูงถึง 9.5% โดยมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำที่สุด เพียง 0.64 บาท/ตัน/กิโลเมตร

แต่กลับกัน แม่น้ำเจ้าพระยา สามารถใช้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้าได้สูงสุดในบางฤดูกาล ได้แค่อ่างทอง หรือเพียง 180 กิโลเมตร จากปากแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ลดต่ำลง

ดังนั้น จึงทำให้มีโครงการก่อสร้างเขื่อนเพื่อยกระดับน้ำใน 'แม่น้ำเจ้าพระยา' และ 'แม่น้ำน่าน' ขยายพื้นที่ให้บริการขนสินค้าทางเรือไปได้ถึง ท่าเรือตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ที่ กม. 475 จากปากแม่น้ำเจ้าพระยา

>> รายละเอียดโครงการ

ในโครงการมีการก่อสร้างเขื่อนเพื่อยกระดับน้ำ 2 จุด คือ...

1. เขื่อนบน กม.345 ในเขตอำเภอพยุหะคีรี นครสวรรค์ ระดับกักเก็บน้ำ 20.50 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง

2. เขื่อนล่าง กม.205 ในเขตอำเภอพรหมบุรี สิงห์บุรี ระดับกักเก็บน้ำ 8.50 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง

โดยทั้ง 2 จุด จะมีประตูเรือสัญจร เพื่อยกเรือขึ้นตามความสูงของระดับน้ำในแต่ละขั้น

ควบคู่กับการทำประตูระบายน้ำ ซึ่งรองรับการระบายน้ำได้มากกว่า 2,400 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เพื่อช่วยระบายในช่วงฤดูน้ำหลาก

โดยทั้ง 2 เขื่อน จะมีการติดตั้ง โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์จากการไหลของผ่าน ที่กำลังการผลิต 10 และ 8 mW

นอกจากการทำเขื่อนแล้วก็ต้องมีการขุดลอกร่องน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ลึก 5-6 เมตร กว้าง 40-56 เมตร เพื่อให้รองรับการขนส่ง สินค้าทางเรือ

>> พัฒนาแม่น้ำแล้ว ก็ต้องมีท่าเรือในการขนส่งสินค้าที่สอดคล้อง โดยมีการพัฒนาท่าเรือในการขนส่งสินค้า 2 ท่า คือ...

1. ท่าเรือนครสวรรค์ (ท่าข้าวกำนันทรง) ใกล้กับสถานีรถไฟปากน้ำโพ พร้อมกับมีทางรถไฟเข้าท่าเรือเพื่อขนส่งสินค้าเชื่อมต่อกับเรืออีกด้วย

โดยมีสินค้าหลักที่ตั้งเป้าคือ ข้าว, มันสำปะหลัง และอาหารสัตว์ รวม 4 ล้านตัน/ปี

2. ท่าเรือตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ซึ่งพัฒนาต่อจากท่าเรือเดิม พร้อมกับการพัฒนาการเชื่อมต่อ และเปลี่ยนถ่ายทางรถไฟ 

โดยมีสินค้าหลักคือถ่านหิน กว่า 4 ล้านตัน/ปี รองรับการขนส่งถ่านหินเพื่อสนับสนุนโรงไฟฟ้าแม่เมาะในอนาคต

โดยโครงการจะใช้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างรวม 38,000 ล้านบาท 

โครงการจะมี EIRR 15.07% P/E 1.76 ซึ่งเหมาะสมกับการลงทุน

ถ้าโครงการนี้ทำได้สมบูรณ์ เราสามารถจะพัฒนาระบบขนส่งทางเรือ เพื่อให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าได้อีกมาก ควบคู่กับการเชื่อมต่อกับระบบราง ให้เป็นโครงข่ายร่วมกัน

มากไปกว่านั้นก็มีประโยชน์ในด้านการบริหารจัดการด้านชลประทานในการกระจายน้ำอีกด้วย

ใครสนใจรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมดูได้ตามลิ้งค์ http://www.navidam.com


ที่มา: https://www.facebook.com/491766874595130/posts/pfbid02kxJ1WFjJYbMeTeuXBCRecoSGcjtnmCYz8BtSuFdTrjJRTmbFRCTpavDEdCGQLUB1l/