Wednesday, 26 June 2024
เลือกตั้ง

พิษยุบพรรค

นับจากวันนี้ ถนนทุกสายกำลังมุ่งหน้าสู่การเลือกตั้งใหญ่ 14 พฤษภาคม 2566 หลายพรรคการเมืองเริ่มทยอยเปิดตัวผู้สมัคร  ชูนโยบายหาเสียง และเริ่มลงพื้นที่ปราศัยกันมากขึ้น แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกพรรคการเมืองต้องระแวดระวัง คือการดำเนินการใดๆ ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย จนอาจนำไปสู่โทษสูงสุด คือการถูก "ยุบพรรค" ซึ่งที่ผ่านมา มีหลายเหตุการณ์ ที่ชวนให้ย้อนกลับไปดูเพื่อทวนความจำและนำเป็นบทเรีบนให้กับการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง

จุดเปลี่ยนสำคัญของการปฏิรูปการเมืองร่วมสมัย คือการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่มีการออกแบบให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง พร้อมกับเกิดองค์กรอิสระต่างๆ  รวมถึง คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. และ ศาลรัฐธรรมนูญ  และเมื่อมีบทบัญญัติที่ให้เสรีภาพบุคคลในการรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมืองได้แล้ว อีกด้านก็มีกลไกที่นำไปสู่การ "ยุบพรรค" ได้ หากพรรคการเมืองมีการดำเนินการที่ขัดต่อหลักการตามที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องบัญญัติไว้  ซึ่งที่ผ่านมามีหลายกรณียุบพรรค ที่กลายเป็นบันทึกหน้าสำคัญของประวัติศาสตร์การเมือง

เริ่มจากกรณี "จ้างพรรคเล็ก" นำมาสู่การยุบ "พรรคไทยรักไทย" จนเกิดเป็นตำนานบ้านเลขที่ 111

ย้อนไปเมื่อต้นปี 2549  ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา ก่อนกำหนดวันเลือกตั้ง 2 เมษายน แต่อีก 3 พรรคการเมือง ที่เป็นคู่แข่งในสภา คือประชาธิปัตย์  ชาติไทย และมหาชน ประกาศ "บอยคอต" เหลือเพียงพรรคไทยรักไทยที่เดินหน้าส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง บนเงื่อนไขกฎหมายที่กำหนดว่า ในเขตที่มีผู้สมัครพรรคเดียว ไร้คู่แข่ง จะต้องได้คะแนนเสียง มากกว่าร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นจึงจะได้เก้าอี้ ส.ส. ซึ่งต่อมาเกิดการร้องเรียนว่า พรรคไทยรักไทยทำผิดกฎหมายจากการ "จ้างพรรคเล็ก" ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อหนี "เกณฑ์ร้อยละ 20"  

เมื่อกกต.ตรวจสอบหลักฐาน ชี้มูลความผิด จึงนำไปสู่การยื่นร้องให้ยุบพรรคต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่ระหว่างนั้นเกิดรัฐประหาร 19 ก.ย. ทำให้ต่อมาคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ถูกแต่งตั้งขึ้น มีมติ ในวันที่ 30 พ.ค. 2550 ให้ "ยุบพรรค" ไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย ฐานเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ผลที่ตามมาคือกรรมการบริหารพรรคทั้ง 3 พรรค รวม 111 คน ถูกตัดสิทธิการเมือง 5 ปี  เป็นที่มาของ "บ้านเลขที่ 111"

วิบากกรรมยังมีต่อเนื่อง เมื่อบรรดาขุนพลไทยรักไทยเดิมที่ยังเหลือรอด พากันย้ายบ้านมาที่ "พรรคพลังประชาชน" ลงสู้ศึกเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550  แต่กลับเกิดกรณี "ยงยุทธ ติยะไพรัช" ส.ส. บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ถูก กกต.ให้ใบแดง เนื่องจากพบการกระทำที่น่าเชื่อได้ว่า "ทุจริตเลือกตั้ง" เช่นเดียวกับพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่กรรมการบริหารพรรคกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเช่นกัน กรณีดังกล่าวนำมาสู่การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 สั่งให้ทั้งยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค ส่งผลให้คณะกรรมการบริหารทั้ง 3 พรรค รวม 109 คน ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ในจำนวนนั้น มีนายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยที่ต้องเว้นวรรคทางการเมืองไปด้วย

กาลล่วงมาจนถึงยุคของการใช้รัฐธรรมนูญ ปี 60 ผลจากการกำหนดการเลือกตั้งแบบ "จัดสรรปันส่วนผสม" ป้องกันการผูกขาดในสภา ทำให้พรรคใหญ่อย่าง "เพื่อไทย" ต้องปรับกลยุทธ์ แตกแบงค์พันเป็นแบงค์ร้อย ด้วยการจัดตั้งพรรคการเมืองเครือข่ายเพื่อเรียกจำนวน ส.ส. ในสภา หนึ่งในนั้นคือ "พรรคไทยรักษาชาติ"

นอกจากถูกจับตาเพราะกรรมการบริหารพรรคเป็นอดีตรัฐมนตรี และ ส.ส. คนรุ่นใหม่ในเครือข่ายพรรคเพื่อไทยแล้ว ยังมึประเด็นที่ถูกจับตาที่สุดคือการ ยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรค เป็นเหตุให้ กกต. มีมติยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค

'ลุงตู่' นายกฯที่ สร้างความสัมพันธ์อันดี ต่อมิตรประเทศ

'ลุงตู่' ประกาศยุบสภาไปเรียบร้อย หากย้อนคิดถึงการบริหารงานของนายกรัฐมนตรีคนนี้ นับแค่ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ถามว่ามีเรื่องไหนที่โดดเด่นไม่แพ้ใคร ต้องบอกว่า เรื่องสร้าง 'มิตรประเทศ' ของลุงตู่ โดดเด่นเป็นอย่างมาก

ตลอด 4 ปีมานี้ แม้จะมีช่วงโควิด-19 ระบาด จนต้องหยุดการเดินทางไปยังต่างประเทศอยู่บ้าง แต่ที่ผ่านมา ถือว่านายกฯ ประยุทธ์ออกเดินทางไปเยี่ยมเยือน รวมทั้งไปร่วมงานประชุมครั้งสำคัญๆ ในระดับนานาชาติอยู่ตลอดเวลา 

แต่ที่ถือว่าเป็นภาพที่น่าจดจำสำหรับการ 'ผูกมิตร' และรวมถึงการสร้างภาพลักษณ์อันดีให้ประเทศ คงต้องยกให้กับ 2 เหตุการณ์สำคัญเหล่านี้ นั่นคือ การเป็นผู้นำในการประชุมเอเปค และการเดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อปี 2565

สำหรับการเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย นายกประยุทธ์มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือข้อราชการ แต่ประเด็นสำคัญที่ฉายภาพชัดกว่านั้น นี่คือการเยือนในระดับผู้นำรัฐบาลระหว่างสองประเทศเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี ซึ่งถือเป็นการสานสัมพันธ์ที่ขาดหายไปของมหามิตรอย่างซาอุดีอาระเบียได้เป็นอย่างดี

จากวิถีการเดินทาง 'รถไฟไทย' แบบดั้งเดิม สู่โครงการ 'รถไฟความเร็วสูง' ที่เป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้

พูดคำว่า “โครงการรถไฟความเร็วสูง” ในเมืองไทย นับถึงวันนี้ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน หรือจับต้องไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งหากย้อนกลับไป โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไม่ว่าจะเป็นสายไหนก็ตาม) ถูกคิดริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2535 หรือกว่า 31 ปีมาแล้ว

แต่เมื่อผ่านกาลเวลา ผ่านหลายต่อหลายรัฐบาลที่เข้ามาบริหาร และผ่านหลายเหตุการณ์ทางการเมือง กระทั่งปี 2557 หลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้มีการเดินทางไปที่ประเทศจีน เพื่อหารือกับนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ก่อนที่จะได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงส่งเสริมความร่วมมือด้านรถไฟไทย–จีน (โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ–หนองคาย)

โดยหลังจากคณะทำงานได้ทำการศึกษาในรายละเอียด จนได้ข้อสรุปว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง จะเริ่มก่อสร้างช่วงกรุงเทพ–นครราชสีมา เป็นระยะเริ่มต้น และเพิ่มความเร็วของรถไฟจาก 160–180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในวงเงินลงทุน 1.79 แสนล้านบาท ซึ่งฝ่ายไทยจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 100%

กระทั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ–นครราชสีมาและต่อมาในเดือนกันยายน 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เดินทางไปเยือนจีนเพื่อพบปะกับประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง อีกครั้ง และได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามสัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทยและจีนเส้นดังกล่าว และเริ่มต้นก่อสร้างโครงการในวันที่ 21 ธันวาคม 2560 นับเป็นการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย

‘ธรรมรักษ์’ นำทัพลุย ‘อุดรฯ’ ชู บัตรประชารัฐ-ก้าวข้ามความขัดแย้ง ปลื้ม!! ประชาชนเห็นด้วย เผย อยากเห็นคนไทยหยุดแตกแยก

(29 มี.ค. 66) ที่ศูนย์ประสานงานพรรคพลังประชารัฐ จังหวัดอุดรธานี พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) รับผิดชอบดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ลงพื้นที่พบประชาชน จังหวัดอุดรธานี เพื่อรับฟังปัญหาจากในพื้นที่และให้กำลังใจว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคฯ พร้อมเน้นย้ำนโยบายก้าวข้ามความขัดแย้งของ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

โดย พล.อ.ธรรมรักษ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ในวันนี้ ได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี และส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายของพรรค พปชร. โดยเฉพาะเรื่องการก้าวข้ามความขัดแย้ง เพราะไม่อยากเห็นคนไทยกลับมาทะเลาะกันเหมือนเดิมอีก และนโยบายบัตรประชารัฐ 700 บาทต่อเดือน ที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชนได้

“ผมเชื่อว่า วันนี้ คนไทยรู้ดีว่าประเทศบอบช้ำจากการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แบ่งขั้ว แบ่งสี ทำให้คนไทยต้องมาทะเลาะกันเองยาวนานเป็น 10 ปีแล้ว ทุกคนอยากเห็นสังคมไทยกลับมามีแต่รอยยิ้มอีกครั้ง ดังนั้น หลายคนจึงมองว่า นโยบายก้าวข้ามความขัดแย้งจะช่วยให้ประเทศชาติเดินหน้าไปสู่ความเจริญ รุ่งเรืองได้อย่างยั่งยืน หากคนในชาติเกิดความสามัคคีขึ้น” พล.อ.ธรรมรักษ์ กล่าว

‘เสี่ยหนู’ นั่ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เบอร์ 1 ‘ภูมิใจไทย’ เผย รายชื่อว่าที่ ส.ส.คืบ 90% พบคนเด่น-ดังเพียบ!!

(29 มี.ค. 66) ที่พรรคภูมิใจไทย นายศุภชัย ใจสมุทร นายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย แถลงถึงการจัดทำไพรมารีโหวตผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคในการเลือกตั้ง ทั้งส.ส.แบบระบบเขต และ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ว่าในส่วนของรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต ทั้ง 400 เขต ขณะนี้ดำเนินการไปแล้วกว่า 90% ขั้นตอนต่อจากนี้จะส่งให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณา แล้วสรุปส่งต่อเสนอไปยังคณะกรรมการบริหารพรรค ไม่เกินวันที่ 31 มี.ค.นี้

ส่วนรายชื่อผู้เสนอตัวเป็นผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรค ล่าสุดได้ครบ 100 คนแล้ว โดยลำดับที่ 1 คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค ลำดับที่ 2 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เลขาธิการพรรค ส่วนที่เหลืออีก 98 คน ใช้รูปแบบการเรียงลำดับตัวอักษร หลังจากนี้ก็จะเข้ากระบวนการส่งให้คณะกรรมการสรรหา และคณะกรรมการบริหารพรรคตามลำดับ เพื่อพิจารณาเรียงลำดับผู้สมัครตั้งแต่หมายเลข 3 -100 ต่อไป ซึ่งต้องเสร็จก่อนวันที่ 3 เม.ย.นี้

นายศุภชัย กล่าวต่อว่า สำหรับวันรับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคภูมิใจไทย จะไปยื่นสมัครในวันที่ 3 เม.ย.นี้ ส่วนวันรับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จะเป็นในวันที่ 4 เม.ย.นี้ ที่ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. ซึ่งนายอนุทิน จะนำทีมไปสมัครด้วยตัวเอง และจับสลากหมายเลขผู้สมัคร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อผู้เสนอตัวเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคภูมิใจไทย มีบุคคลที่น่าสนใจ อาทิ น.ส.ชนม์ทิดา อัศวเหม, นายศุภชัย ใจสมุทร, นายทรงศักดิ์ ทองศรี, นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์, น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม, นายสวาป เผ่าประทาน, นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร, นายสุพล ฟองงาม, นายองอาจ ปัญญาชาติรักษ์, น.ส.อนุสรี ทับสุวรรณ, นายอารี ไกรนรา, นายภิญโญ นิโรจน์, นายนัจมุดดีน อูมา, นางนันทนา สงฆ์ประภา, นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา, น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล, นายสามารถ แก้วมีชัย, นายชลัฐ รัชกิจประการ, นายกิตติชัย เอ่งฉ้วน, นายพิกิฎ ศรีชนะ, นายมารุต มัสยวาณิช, น.ส.เรวดี รัศมิทัต และนายวิรัช พันธุมะผล เป็นต้น

‘ณัฐวุฒิ’ ลั่น!! นายกฯ ต้องมาจากแคนดิเดต ‘เพื่อไทย’ เผย พร้อมตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคที่ยึดหลักประชาธิปไตย

(29 มี.ค. 66) เฟซบุ๊กแฟนเพจหลักของ ‘พรรคเพื่อไทย’ ได้ออกมาโพสต์ข้อความ โดยมีเนื้อหาระบุว่า…

“ถ้าพรรคเพื่อไทยชนะลำดับ 1 เพื่อไทยต้องเป็นแกนนำตั้งรัฐบาล นายกรัฐมนตรีต้องมาจากแคนดิเดตคนใดคนหนึ่งของพรรคเพื่อไทย  เราจะตั้งรัฐบาลผสมและพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยต้องเป็นพรรคที่ยืนยันหลักการประชาธิปไตย และนโยบายของพรรคเพื่อไทยต้องเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล”

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์สดในรายการเปลี่ยนใหม่หรือไปต่อ ตอน ตัวตึง!!! ดำเนินรายการโดย สรยุทธ สุทัศนะจินดา ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 3 โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองอื่นเข้าร่วมอีกรวม 6 พรรค ในช่วงแรก ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กล่าวตอบคำถามของผู้ดำเนินรายการถึงเหตุผลอะไรที่จะต้องเลือกพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลว่า เพราะในช่วง 8 ปีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นช่วงที่มีแต่ข่าวการทุจริตคอร์รัปชัน โดยสถาบันจัดลำดับการคอร์รัปชั่นทั้งในและต่างประเทศได้รายงานการทุจริตเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาจะอ้างเสมอว่าตัวเองเป็นคนดี ยึดมั่นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในส่วนนั้นตนให้ความเคารพ แต่ที่เห็นได้ชัดคือพลเอกประยุทธ์ไม่เคยได้ยึดมั่นในประชาชนเลย เพราะพลเอกประยุทธ์ยึดอำนาจมาจากประชาชน และเขียนกติกาสืบทอดอำนาจให้พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณมาตั้ง ส.ว. และให้ ส.ว.มาเลือกพลเอกประยุทธ์มาเป็นนายกรัฐมนตรี สิ่งเหล่านี้มันจึงอธิบายว่าประเทศกำลังเดินผิดทางและผลกระทบจากการเดินผิดทางคือความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชน พรรคเพื่อไทย จึงเสนอตัวและเป็นทางเลือกทางเดียวที่จะปฏิเสธการเดินต่อของพลเอกประยุทธ์คือการต้องสนับสนุนพรรคเพื่อไทย เปลี่ยนขั้วตั้งรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตย

ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยได้คะแนนเป็นลำดับหนึ่ง ต้องเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อไทยจะตั้งรัฐบาล นายกรัฐมนตรีต้องมาจากแคนดิเดตคนใดคนหนึ่งของพรรคเพื่อไทย เราจะตั้งรัฐบาลผสมและพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยต้องเป็นพรรคที่ยืนยันหลักการประชาธิปไตย และนโยบายของพรรคเพื่อไทยต้องเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล

“ผมกล้าเชื่อว่า ถ้าหากว่าเพื่อไทยเสียงนำมาเป็นที่หนึ่ง และจับกับพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยตั้งรัฐบาลแล้ว เชื่อว่า ส.ว. 250 เสียงจะไม่ตัดสินใจเหมือนเดิมไม่กล้าโหวตสวน แต่จะมีจำนวนหนึ่งที่ยอมรับการตัดสินใจของประชาชน และหันกลับมาโหวตให้ฝ่ายประชาธิปไตยจัดตั้งรัฐบาล” ณัฐวุฒิ กล่าว


ที่มา : https://www.facebook.com/pheuthaiparty/posts/pfbid0UB8rRebSpurtV7YQ1mA4SswQhKRY8Q8JRiCaYCS31kSyjWPReD5asciAmJv35phPl

เส้นทางของ "รัฐบาลประยุทธ์"

ในที่สุด รัฐนาวาภายใต้การนำของ "ลุงตู่" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็สามารถฝาคลื่มลมทางการเมืองมาเกือบ 4 ปี จนถึงปลายทางที่จบลงด้วยการยุบสภา รอเลือกตั้งอีกครั้งในอีกไม่ถึง 2 เดือนข้างหน้า

เส้นทางของ "รัฐบาลประยุทธ์" ที่ผ่านมาถือว่าไม่ง่าย เพราะต้องผ่านทั้งวิกฤติ โควิด - 19 รวมทั้งบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองทั้งใน และนอกสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อ ที่นำมาสู่การเติบโตของขบวนการข่าวปลอม หรือ "เฟกนิวส์"

ท่ามกลางอุปสรรคขวากหนามที่ว่า มี "หนึ่งคน" ที่มีบทบาทชัดเจน ในการออกหน้า ปะ ฉะ ดะ ปกป้องตอบโต้ ชี้แจง กรณีที่มีการพาดพิง หรือเกิดข่าวปลอม เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีอยู่เสมอ จนได้รับขนานนามเป็น "องครักษ์พิทักษ์ลุงตู่" เดาไม่ยากว่า ใครคนนั้นคือ "ธนกร วังบุญคงชนะ" รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั่นเอง

วิถีชีวิตของ รมต. คนนี้ไม่ธรรมดา หากย้อนเวลากลับไป เขามีฝันอยากเป็นนักการเมืองมาตั้งแต่เยาว์วัย นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นและแรงขับดันให้ "แด๊ก - ธนกร วังบุญคงชนะ" เด็กหนุ่มจาก อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ก้าวเดินตามฝัน แม้เป็นลูกชาวบ้านธรรมดา แต่เขาได้รับการปลูกฝังความเป็นผู้นำ และหัวจิตหัวใจในการช่วยเหลือผู้อื่นจาก พ่อและแม่มาตั้งแต่ยังเล็ก

"ธนกร" เริ่มเลียบเคียงแวดวงการเมือง ค่อยๆ ขยับเข้าใกล้จนถึงเป้าหมายที่เขาตั้งไว้ เริ่มจากการเลือกศึกษาด้านสื่อสารมวลชน จบออกมาเริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าวสายทำเนียบฯ ประจำหนังสือพิมพ์สยามรัฐในช่วงสั้นๆ ก่อนขยับไปเป็นเลขานุการกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติหรือ ปปช. เกือบ 2 ปี จนได้รับโอกาสเข้าสู่เส้นทางการเมืองเต็มตัวจากการชักนำของ "สมศักดิ์ - อนงค์วรรณ เทพสุทิน" ซึ่งธนกร ยกให้เป็นครูทางการเมืองของเขา

หลังจากนั้นเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งหนแรกกับพรรคมัชฌิมาธิปไตย ก่อนขยับมาเป็นที่ปรึกษา และเลขานุการรัฐมนตรีหลายกระทรวง จนกระทั่งมีโอกาสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพรรคพลังประชารัฐในฐานะพรรคแกนนำรัฐบาล "ธนกร" ผ่านการรับบทบาทเป็นโฆษกพรรค เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นโฆษกรัฐบาล ต่อมาได้รับตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และได้ก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในที่สุด

ด้วยตำแหน่งหน้าที่ ทั้งโฆษกรัฐบาล และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ทำให้ธนกรเป็นหนึ่งในผู้ที่ทำงานใกล้ชิด และมีบทบาทในการดูแล ติดตามสานต่อนโยบายของพลเอกประยุทธ์ แต่ที่ผ่านมา เขาถูกมองว่าทำเกินหน้าที่ หรือ ทำตัวเป็น "องครักษ์พิทักษ์ลุงตู่" จากการออกมาเปิดหน้าชน เป็นปากเป็นเสียง ตอบโต้กรณีที่มีประเด็นให้ร้าย โจมตีหรือพาดพิงนายกรัฐมนตรีอยู่เสมอ

แต่ธนกร มองว่าการออกมาปกป้องพลเอกประยุทธ์ ไม่ใช่หน้าที่ แต่เป็นความเต็มใจ ด้วยความเคารพ และเชื่อมั่นในตัวพลเอกประยุทธ์ จึงต้องออกมาปกป้อง ดูแลเท่าที่จะสามารถทำได้

สิ่งที่เป็นเรื่องอันน่าจดจำสำหรับ “รัฐบาลลุงตู่”

รัฐบาลลุงตู่ยุบสภา และเตรียมเดินหน้าสู่การ #เลือกตั้ง66 สิ่งที่เป็นเรื่องอันน่าจดจำสำหรับ “รัฐบาลลุงตู่” ที่เชื่อเหลือเกินว่า คงมีคนพูดถึงกันไปอีกนาน นั่นคือ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบางคนเรียกสั้นๆ ว่า “บัตรลุงตู่”

โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มต้นขึ้นราวปี 2560 และอย่างที่ทราบกันว่า เป็นการช่วยเหลือเยียวยาคนไทย “ผู้มีรายได้น้อย” หรือคนยากคนจน ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า โครงการเปิดมาเพียงไม่กี่ปี ก็เกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาดใหญ่ทั่วโลก ไม่มากก็น้อย บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เข้าช่วยเหลือคนยากไร้ได้อย่างมากมาย

‘อนุทิน’ เมินหลากโพล ชี้ คะแนนพรรค ภท.ไม่กระเตื้อง เชื่อ ‘โพลอนุทิน’ ไม่เคยพลาด 2-3 ครั้งที่ผ่านมา

(29 มี.ค. 66) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้า การจัดลำดับรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคภูมิไทย ว่า เบอร์ 1 เบอร์  2 เสร็จแล้ว ส่วนตำแหน่งอื่นมีอยู่ในใจแล้ว รอให้ประชุมกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) พิจารณาก่อน

ผู้สื่อข่าวถามว่า หลายพรรคมีปัญหาผู้สมัครปาร์ตี้ลิสต์ ไม่พอใจการจัดลำดับจนขอลาออก จะเกิดเหตุแบบนี้กับพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า “ยืนยันในพรรค ภท.ไม่มีปัญหาเรื่องพวกนี้ เพราะเตรียมตัวมาเป็นปีและพูดคุยกับสมาชิกแล้ว ไม่เคยทะเลาะกัน และทะเลาะกันไม่ได้”

เมื่อถามว่า บัญชีรายชื่อลำดับ 1 และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค ภท.เป็นคนเดียวกันใช่หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า “คนเดียวกัน แคนดิเดตนายกฯ มีคนเดียว ที่ผ่านมาก็เสนอคนเดียวมาตลอด ไม่จำเป็นต้องมีสำรอง คนเดียวเอาอยู่”

ผู้สื่อข่าวถามถึง การลาราชการได้ยื่นใบลากับนายกฯ แล้วหรือยัง นายอนุทิน กล่าวว่า “จะยื่นลาเป็นวัน ๆ ไป วันไหนที่ต้องใช้เวลาราชการ จะลาตามช่วงที่ได้ใช้ไปจะได้ไม่มีปัญหา เพราะบางครั้งช่วงเวลาคาบเกี่ยวกัน และขณะนี้กำลังจัดเวลาอยู่ ใครขอคิวมาให้ ขอให้เสร็จในช่วงเวลา 16.00 น.”

เมื่อถามย้ำว่า ไม่ได้ลาติดต่อกันตลอดทั้งเดือนใช่หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า “อุ๊ย!! ลาไม่ได้หรอก ลาเป็นเดือนก็ไม่กล้าเขียน เขียนไปถูกดุตายเลย”

เมื่อถามว่า จำนวน ส.ส.ที่พรรค ภท.ตั้งเป้าไว้ก่อนหน้านี้ จะเพิ่มขึ้นหรือยัง เพราะพรรคพลังประชารัฐ ตั้งเป้าไว้ที่ 100 ที่นั่ง นายอนุทิน กล่าวว่า “ความจริงกระแสของพรรค ภท.ดีขึ้นเรื่อย ๆ อุปสรรคที่เกิดขึ้นมา ไม่ได้มีผลกระทบอะไรที่ทำให้คะแนนนิยมของพรรคลดลง เราประเมินผลในทุกพื้นที่มาตลอด”

ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรค ภท.หวังว่าจะได้ ส.ส.เขต และปาร์ลิสต์เท่าไหร่ นายอนุทิน กล่าวว่า “เก็บไว้ในใจ บอกไปไม่ได้”

‘ปชป.’ เคาะ!! ผู้สมัคร 400 เขต พ่วงปาร์ตี้ลิสต์อีกนับ 100 ชู ‘จุรินทร์’ เป็นแคนดิเดตนายกฯ เพียงรายชื่อเดียว

(29 มี.ค. 66) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารพรรคมีมติเห็นชอบรายชื่อบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ทั้ง 400 เขต และ 100 ส.ส. บัญชีรายชื่อ ทั้งหมดแล้ว ซึ่งในส่วนของ ส.ส. บัญชีรายชื่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในฐานะหัวหน้าพรรค และนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ในฐานะเลขาธิการพรรค จะเป็นผู้พิจารณาจัดลำดับรายชื่อ เหมือนการเลือกตั้งเมื่อ 2 ครั้งที่ผ่านมา ด้วยความเที่ยงธรรมและคำนึงถึงประโยชน์ของพรรคเป็นหลัก และผู้สมัครไม่มีความขัดข้องใด ๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top