Saturday, 19 April 2025
เกาหลีเหนือ

เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยไกล ตกทะเลญี่ปุ่น คาดยิงโชว์ 'ทรัมป์' ก่อนรับตำแหน่ง

(6 ม.ค. 68) สื่อท้องถิ่นเกาหลีใต้รายงานว่า ทางการเกาหลีเหนือได้ทำการยิงขีปนาวุธพิสัยไกลตกลงในทะเลญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกของปี 2025

ตามข้อมูลจากคณะเสนาธิการร่วม (JCS) ของเกาหลีใต้ ขีปนาวุธที่เกาหลีเหนือยิงในครั้งนี้บินไปได้ไกลถึง 1,100 กิโลเมตร (683.5 ไมล์) ก่อนจะตกลงในทะเลญี่ปุ่น

การยิงขีปนาวุธครั้งนี้เป็นครั้งแรกในปี 2025 และเกิดขึ้นหลังจากการยิงขีปนาวุธพิสัยใกล้ (SRBM) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2024 ที่ผ่านมา

ขีปนาวุธดังกล่าวตกลงนอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะของญี่ปุ่น โดยอ้างอิงจากแหล่งข่าวรัฐบาลญี่ปุ่นที่รายงานว่าไม่พบความเสียหายจากเหตุการณ์นี้

หน่วยงานยามชายฝั่งญี่ปุ่นยืนยันว่า เกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธข้ามทะเลจริง และหลังจากหกนาที หน่วยงานดังกล่าวได้ออกแถลงการณ์ว่า ขีปนาวุธได้ตกลงแล้ว พร้อมทั้งเรียกร้องให้เรือทุกลำรายงานชิ้นส่วนที่พบ แต่ห้ามเข้าใกล้พื้นที่ดังกล่าว

ทางทหารเกาหลีใต้ได้เพิ่มการเฝ้าระวังและความเข้มงวดในการควบคุม โดยเตรียมพร้อมรับมือกับการยิงขีปนาวุธเพิ่มเติม พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับขีปนาวุธของเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยยังคงรักษาความพร้อมรบเต็มที่ ตามรายงานจากคณะเสนาธิการร่วม (JCS)

การทดสอบขีปนาวุธครั้งนี้อาจเป็นการแสดงแสนยานุภาพของเกาหลีเหนือ ก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคมนี้

คณะเสนาธิการทหารร่วมของเกาหลีใต้กล่าวว่า “กองทัพยังคงรักษาท่าทีเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ โดยแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวกับขีปนาวุธของเกาหลีเหนืออย่างใกล้ชิดกับสหรัฐฯ และญี่ปุ่น พร้อมทั้งเพิ่มการเฝ้าระวังและเตรียมรับมือหากเกิดการยิงขีปนาวุธเพิ่มเติม”

ญี่ปุ่นยังได้ประกาศว่า เกาหลีเหนือได้ยิงสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นขีปนาวุธ ซึ่งคาดว่าวัตถุดังกล่าวได้ตกลงมาแล้ว

การยิงขีปนาวุธครั้งล่าสุดของเกาหลีเหนือเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2024 ซึ่งเป็นขีปนาวุธพิสัยใกล้ (SRBM) และถือเป็นการยิงครั้งสุดท้ายก่อนที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะออกมา

‘เกาหลีเหนือ’ เปิดตัว!! ภาพยนตร์เรื่องล่าสุด เขียนบท กำกับการแสดงโดย ‘คิมจองอึน’

(12 ม.ค. 68) ทางการเกาหลีเหนือได้เปิดตัว ภาพยนตร์เรื่องใหม่ของเกาหลีเหนือ ‘72 ชั่วโมง’ มีความยาวประมาณ 4 ชั่วโมง เนื้อหาเกี่ยวกับการรบในช่วงสงครามเกาหลี โดยใช้มุมมองของเกาหลีเหนือเป็นจุดเริ่มต้น ตั้งกองทัพสหรัฐและเกาหลีใต้เป็นฝ่ายที่ก่อสงคราม ส่วน คิมอิลซุง ผู้นำเกาหลีเหนือในขณะนั้นยังคงถูกยกย่องเป็น ‘วีรบุรุษ’ และท้ายที่สุด กองทัพเกาหลีเหนือก็สามารถยึดกรุงโซลได้สำเร็จ ทั้งนี้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ได้เน้นเรื่องสงครามเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการสอดแทรกเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง และที่แตกต่างจากภาพยนตร์เกาหลีเหนือในอดีตมากที่สุด คือการใส่ฉากบนเตียงและสาวสวยเปลือยกายอาบน้ำลงไปในภาพยนตร์

นอกจากนี้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ จะเพิ่ม การไตร่ตรองของผู้บังบัญชาการ ซึ่งเป็นมุมมองใหม่ในวงการภาพยนตร์เกาหลีเหนือ ซึ่งในอดีตจะมุ่งเน้นเรื่องการสรรเสริญ

ทั้งนี้ 8 ม.ค.เป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 41 ปี ของคิมจองอึน โดยคาดกันว่า ผู้นำเกาหลีเหนือ พยายามใช้การสร้างภาพยนตร์และสื่อ เพื่อดำเนินการปรับเปลี่ยนและรวบรวมอำนาจภายในประเทศ

สำหรับเนื้อหาของภาพยนตร์ เรื่องนี้มีการอ้างว่า บทและการกำกับการแสดง ออกแบบโดย ผู้นำสูงสุด ‘คิมจองอึน’

โสมใต้เผยคิมสั่งถอนทหารพ้นแนวหน้ายูเครน หลังสูญเสียหนัก ดับ-เจ็บนับพัน

(5 ก.พ. 68) หน่วยข่าวกรองเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ทหารเกาหลีเหนือได้ถอนตัวออกจากแนวหน้าการสู้รบในภูมิภาคเคิร์สก์ของรัสเซียเรียบร้อยแล้ว หลังจากปฏิบัติภารกิจสนับสนุนกองทัพรัสเซียเพื่อสู้ศึกยูเครนมาหลายเดือน

สำนักข่าวกรองแห่งชาติเกาหลีใต้ (NIS) รายงานว่า ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่ากองกำลังเกาหลีเหนือยังคงมีบทบาทในพื้นที่สู้รบทางตะวันตกของรัสเซีย หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่อาจนำไปสู่การถอนกำลังคือการสูญเสียทหารจำนวนมากจากการปะทะกับยูเครน

ก่อนหน้านี้ ในช่วงต้นเดือนมกราคม NIS ได้แจ้งต่อรัฐสภาเกาหลีใต้ว่า มีรายงานการเสียชีวิตของทหารเกาหลีเหนือประมาณ 300 นาย และบาดเจ็บอีกกว่า 2,700 นายจากการสู้รบในภูมิภาคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับชะตากรรมของทหารที่ได้รับบาดเจ็บว่าพวกเขาได้รับการรักษาหรือถูกส่งตัวไปยังพื้นที่ปลอดภัยอื่น

หน่วยข่าวกรองของเกาหลีใต้กำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของการถอนกำลังครั้งนี้ โดยข้อมูลล่าสุดสอดคล้องกับรายงานจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพยูเครน ซึ่งระบุว่า ไม่พบความเคลื่อนไหวทางทหารของกองทัพเกาหลีเหนือในภูมิภาคเคิร์สก์ตลอดช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวด้านความมั่นคงจากชาติตะวันตกเปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของการเข้าร่วมปฏิบัติการรบในรัสเซีย เกาหลีเหนือสูญเสียทหารไปแล้วราว 4,000 นาย จากกำลังพลที่ถูกส่งไปทั้งหมดประมาณ 11,000 นาย ซึ่งการสูญเสียนี้รวมถึงทหารที่เสียชีวิต บาดเจ็บ สูญหาย และถูกจับเป็นเชลยศึก โดยมีการประเมินว่า ทหารที่เสียชีวิตมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000 นายจนถึงกลางเดือนมกราคม

ในอีกด้านหนึ่ง ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครนให้สัมภาษณ์กับสื่ออังกฤษ โดยกล่าวว่าหากยูเครนไม่สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ได้ ประเทศพันธมิตรตะวันตกควรจัดหาแนวทางรับประกันความมั่นคงของยูเครนในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ ระบบขีปนาวุธ งบประมาณด้านการทหาร หรือแม้แต่การส่งกำลังทหารเข้ามาช่วยดูแลพื้นที่

นอกจากนี้ ผู้นำยูเครนยังยืนยันว่าพร้อมเปิดการเจรจากับรัสเซีย หากการพูดคุยสามารถนำไปสู่การยุติสงครามและลดการสูญเสียชีวิตของประชาชน

เกาหลีเหนือเผยโฉมเรือดำน้ำนิวเคลียร์เป็นครั้งแรก ท้าทายมหาอำนาจโลก สั่นสะเทือนคาบสมุทรเกาหลี

(10 มี.ค. 68) สำนักข่าว KCNA ของเกาหลีใต้ เผยแพร่ภาพถ่ายเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยระบุว่าเป็น “เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธนำวิถีทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหารของเกาหลีเหนือ

รายงานของ KCNA ยังเปิดเผยว่า คิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ได้เดินทางไปเยี่ยมชม อู่ต่อเรือแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้สร้างเรือรบของประเทศ โดยเขาได้ตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการพัฒนาเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ และกล่าวย้ำถึงความสำคัญของการเสริมสร้างกำลังทางทะเลเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากศัตรู

แหล่งข่าวทางทหารจากเกาหลีใต้และสหรัฐฯ กำลังวิเคราะห์ภาพถ่ายและข้อมูลที่เผยแพร่ เพื่อตรวจสอบความสามารถที่แท้จริงของเรือดำน้ำลำนี้ โดยเฉพาะศักยภาพในการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งหากได้รับการยืนยัน จะถือเป็นก้าวสำคัญของเกาหลีเหนือในด้านยุทธศาสตร์นิวเคลียร์ทางทะเล

ทั้งนี้ การเปิดตัวเรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลียังคงสูงขึ้น ท่ามกลางการซ้อมรบร่วมระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ซึ่งเปียงยางมองว่าเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อความมั่นคงของตน

นักวิเคราะห์เชื่อว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของเกาหลีเหนืออาจกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันด้านอาวุธในภูมิภาค และเพิ่มความกังวลในหมู่ชาติตะวันตกเกี่ยวกับเสถียรภาพและสันติภาพในคาบสมุทรเกาหลี

เกาหลีเหนือเตือนญี่ปุ่นอย่าติดตั้งขีปนาวุธพิสัยไกล มิฉะนั้นจะเจอมาตรการตอบโต้ อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ร้ายแรง

(20 มี.ค. 68) เกาหลีเหนือออกแถลงการณ์เตือนรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างดุเดือด กรณีมีแผนติดตั้งขีปนาวุธพิสัยไกลของสหรัฐฯ บนเกาะคิวชู ซึ่งเป็นเกาะทางตอนใต้ของญี่ปุ่น โดยระบุว่าการกระทำดังกล่าวจะยกระดับความตึงเครียดในภูมิภาค และอาจกระตุ้นให้เกิดมาตรการตอบโต้จากเปียงยาง

สื่อของทางการเกาหลีเหนือรายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีเหนือออกมาประณามแผนดังกล่าว โดยชี้ว่าเป็นการยั่วยุที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านความมั่นคงในเอเชียตะวันออก พร้อมเตือนว่าหากญี่ปุ่นยังเดินหน้าโครงการนี้ เปียงยางจะพิจารณามาตรการป้องกันเชิงรุกเพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากโตเกียว

“การติดตั้งขีปนาวุธพิสัยไกลในพื้นที่ที่สามารถยิงถึงเกาหลีเหนือได้ ถือเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์โดยตรง และจะผลักดันให้สถานการณ์ในภูมิภาคเข้าสู่ความไม่แน่นอนที่อันตราย” แถลงการณ์ระบุ

สำหรับปุ่นกำลังพิจารณาติดตั้งขีปนาวุธพิสัยไกลรุ่น Tomahawk และขีปนาวุธของสหรัฐฯ ที่สามารถยิงโจมตีเป้าหมายได้ไกลถึงเกาหลีเหนือ บนเกาะคิวชู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนเสริมขีดความสามารถป้องกันประเทศท่ามกลางภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือและจีน

แผนดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านกลาโหมใหม่ของญี่ปุ่นที่มุ่งเพิ่มศักยภาพการโจมตีตอบโต้ (counterstrike capability) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากแนวทางการป้องกันตัวเองของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

เกาหลีเหนือและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่เป็นปฏิปักษ์มาอย่างยาวนาน โดยญี่ปุ่นมักแสดงความกังวลเกี่ยวกับโครงการอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ขณะที่เปียงยางมองว่าการที่ญี่ปุ่นเพิ่มศักยภาพทางทหารเป็นภัยคุกคามโดยตรง

ที่ผ่านมา เกาหลีเหนือได้ทำการทดสอบขีปนาวุธหลายครั้ง ซึ่งบางครั้งได้ยิงข้ามน่านฟ้าของญี่ปุ่น ทำให้โตเกียวต้องยกระดับมาตรการป้องกันภัยทางอากาศ และพิจารณาปรับยุทธศาสตร์ความมั่นคงเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น

ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่มีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับคำเตือนจากเกาหลีเหนือ แต่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นระบุว่าประเทศมีสิทธิ์ดำเนินมาตรการด้านความมั่นคงเพื่อปกป้องตนเองจากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น

สถานการณ์นี้นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจเพิ่มความร้อนแรงให้กับความขัดแย้งในเอเชียตะวันออก ซึ่งยังคงเป็นจุดสนใจของประชาคมระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top