Tuesday, 20 May 2025
อีลอนมัสก์

‘อีลอน มัสก์’ เปิดศึก ‘โซรอส – Deep State’ หลังแฉตระกูลโซรอสใช้เงินปั่นการเมืองทั่วโลกรวมถึงไทย

หรือว่า!? Elon Musk เดินหน้าชน! เปิดศึกตระกูลโซรอส – เผยเครือข่ายทุนที่เชื่อมโยงถึงไทย 

'Yeah.' คำสั้น ๆ จาก Elon Musk ที่เหมือนเป็นเพียงการตอบโพสต์ของ Mario Nawfal แต่อาจเป็นสัญญาณเปิดฉากศึกใหญ่ ระหว่างเขากับ Deep State ที่มี George Soros และเครือข่าย Open Society Foundations (OSF) อยู่เบื้องหลัง

โพสต์ที่ Musk ตอบนั้นเปิดโปงว่า Soros และลูกชาย Alex Soros ไม่จำเป็นต้องลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะพวกเขาสามารถ ควบคุมการเมืองจากเบื้องหลัง ผ่านการให้ทุนสนับสนุนพรรคการเมือง นักกฎหมาย สื่อมวลชน และ NGO ทั่วโลก

Soros กับบทบาทการปั่นเกมการเมืองทั่วโลก

George Soros คือเจ้าพ่อกองทุนที่ใช้ Open Society Foundations เป็นเครื่องมือสำคัญในการแทรกแซงการเมืองระดับโลก ตั้งแต่ Color Revolutions (ปฏิวัติเสื้อสี) ในยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง ไปจนถึงการสนับสนุนอัยการ นักการเมือง และนักเคลื่อนไหวสายซ้ายในสหรัฐฯ

อิทธิพลของ Soros ที่แทรกซึมเข้าไทย โซรอสมีบทบาทในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน เช่น วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 ที่ค่าเงินบาทถูกโจมตีโดยกองทุนเก็งกำไร ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจล่มสลาย การสนับสนุนเครือข่าย NGO และสื่อที่มีแนวทางเสรีนิยมสุดโต่ง Color Revolution ฉบับไทย ที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่ม 3 นิ้ว เพื่อต่อต้านมาตรา 112 และพยายามเปลี่ยนแปลงสถาบันหลักของชาติ

Prachatai: เครื่องมือของ Soros ในไทย?

หนึ่งในองค์กรที่ถูกพูดถึงบ่อยที่สุดคือ Prachatai (ประชาไท) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Open Society Foundations ของโซรอส มาอย่างต่อเนื่อง

หลักฐานที่เชื่อมโยง Prachatai กับ Soros
การสนับสนุนทางการเงินจาก OSF ต่อ Prachatai ถูกตั้งคำถามมาตั้งแต่ปี 2559 โดยมีการเปิดโปงผ่าน การแฮ็กฐานข้อมูลของ OSF โดยเว็บไซต์ DCLeaks ซึ่งพบว่ามีเงินไหลเข้ามาสนับสนุนประชาไทมากถึง 1.7 ล้านบาทต่อปีตั้งแต่ปี 2548

เรื่องนี้ถูกขยายความโดย เทพชัย หย่อง อดีตบรรณาธิการเครือเนชั่น ที่รายงานเรื่องนี้ผ่าน The Nation พร้อมย้ำว่า Prachatai ยอมรับว่าได้รับเงินจาก Soros แต่ปฏิเสธว่าเงินนี้ไม่มีผลต่อแนวทางการนำเสนอข่าว

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า Prachatai มักมีแนวทางที่กระทบกระเทียบสถาบันพระมหากษัตริย์ และเน้นสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่ม 3 นิ้ว ซึ่งอยู่ในแนวทางเดียวกับขบวนการที่ Open Society สนับสนุนทั่วโลก

อ้างอิง 
https://www.bangkokbiznews.com/news/714023#google_vignette
https://www.nationtv.tv/news/378513810#google_vignette

Deep State และการแทรกแซงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
อีกประเด็นที่สำคัญคือ การแทรกแซงของเครือข่ายทุน Soros ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ Soros และองค์กรเครือข่ายของเขา ให้ทุนสนับสนุนกลุ่ม NGO ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาชายแดนภาคใต้ ซึ่งหลายครั้งถูกตั้งคำถามว่า ให้ความชอบธรรมกับกลุ่มที่ขัดแย้งกับฝ่ายรัฐ มากกว่าที่จะสนับสนุนความมั่นคงของประเทศ

แนวทางของ NGO ที่ได้รับทุนจาก OSF มักเน้นไปที่ การลดบทบาทของรัฐไทย ในพื้นที่ชายแดน ขณะที่เปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มที่มีแนวคิดแยกตัว โดยใช้วาทกรรมเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือ

Elon Musk: คู่ต่อกรตัวจริงของ Soros และ Deep State
Musk ไม่ใช่แค่เจ้าพ่อเทคโนโลยี แต่กำลังกลายเป็น ศัตรูตัวฉกาจของเครือข่ายทุนโลกาภิวัตน์ เขาเคยแฉว่า Soros ต้องการทำลายอารยธรรมตะวันตก เขายกเลิกโครงการของ USAID ซึ่งเป็นแขนขวาของ Deep State ที่ใช้แทรกแซงต่างประเทศ

ล่าสุดเขาเปิดโปง เครือข่าย Open Society Foundations และนักการเมืองสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับ Alex Soros

Deep State กำลังถูกเปิดโปง – ศึกนี้จะลงเอยอย่างไร?
นี่ไม่ใช่แค่เกมการเมืองของสหรัฐฯ แต่เป็นการต่อสู้ระดับโลก เครือข่ายทุนเงา ที่เคยกำหนดทิศทางของประเทศต่างๆ กำลังเผชิญหน้ากับคู่ต่อกรที่ท้าทายอำนาจของพวกเขาโดยตรง สิ่งที่คนไทยควรจับตามองคือ NGO และสื่อในประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก Open Society Foundations ของโซรอส กำลัง ปั่นกระแสอะไร และ สร้างวาทกรรมอะไร ในสังคม ศึกนี้ยังไม่จบ และ Elon Musk กำลังเข้าสู่บอสไฟต์ที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา!

ทำเนียบขาวให้อาณาสิทธิ์ 'อีลอน มัสก์' ชี้ขาดผลประโยชน์ทับซ้อนของบริษัทตัวเอง

(6 ก.พ.68) สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า นายอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีที่เป็นผู้นำในหน่วยงานปรับปรุงประสิทธิภาพรัฐบาลภายใต้ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะเป็นผู้มีสิทธิ์ขาดในการพิจารณาว่าบรรดาบริษัท บริษัท Tesla, SpaceX, xAI, Neuralink และบริษัทต่างๆ ของเขาเองนั้นมีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างที่เขามีบทบาทตรวจสอบการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางกับธุรกิจของเขาที่เป็นเจ้าของทั้ง 6 บริษัทหรือไม่

คาโรไลน์ ลีวิตต์ เลขาธิการฝ่ายสื่อของทำเนียบขาวกล่าวระหว่างการแถลงข่าว กล่าวว่า “ท่านประธานาธิบดีได้รับคำถามนี้ไปแล้วในสัปดาห์นี้ และท่านได้กล่าวว่า หากอีลอน มัสก์พบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนเกี่ยวกับสัญญาหรือเงินทุนที่หน่วยงาน Doge ดูแล เขาจะถอนตัวจากสัญญานั้น และเขาก็ยังคงปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด”  

สำหรับอีลอน มัสก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็น 'ลูกจ้างพิเศษของรัฐบาล' และเป็นหัวหน้าทีมของหน่วยงานรัฐบาลกลางที่เรียกว่ากรมประสิทธิภาพรัฐบาล ( Doge) ซึ่งอยู่ภายใต้กฎระเบียบด้านผลประโยชน์ทับซ้อน อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎเหล่านี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว  

มัสก์ วัย 53 ปี เป็นซีอีโอของ SpaceX บริษัทที่มีสัญญารัฐบาลมูลค่าสูงกับองค์การนาซาและกองทัพสหรัฐฯ โดยโครงการปล่อยจรวดของบริษัทอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งซีอีโอของ Tesla บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เคยถูกสอบสวนโดยหน่วยงานรัฐบาลกลางหลายแห่ง รวมถึงสำนักงานบริหารความปลอดภัยการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติ (NHTSA) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC)  

“ผมไม่เคยเห็นกรณีไหนที่บุคคลสามารถตัดสินใจด้วยตัวเองว่าเขามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่” ดร.โดนัลด์ เคตเทิล ศาสตราจารย์กิตติคุณและอดีตคณบดีคณะนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยแมริแลนด์กล่าว “ในความเป็นจริง การกำหนดผลประโยชน์ทับซ้อนด้วยตนเองก็ถือเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนในตัวมันเองอยู่แล้ว”  

คำสั่งบริหารที่ก่อตั้งหน่วยงาน Doge ได้มอบหมายให้ทีมงานดำเนินการ ปรับปรุงเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ของรัฐบาลกลางให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของรัฐบาล  

นับตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้ง มัสก์ได้เร่งดำเนินงานอย่างรวดเร็ว โดยขณะนี้ทีมงานของ Doge ได้เข้าไปทำงานในหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่ง รวมถึงสำนักงานบริหารงานบุคคล (OPM) สำนักงานบริหารบริการทั่วไป (GSA) และกระทรวงการคลังสหรัฐ

'ทรัมป์' ฝากความหวัง 'มัสก์' แฉกลาโหมทุจริตหลายแสนล้าน

(10 ก.พ.68) โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า เขาคาดหวังให้อีลอน มัสก์ เปิดเผยปัญหาการใช้งบประมาณอย่างไม่เหมาะสมและการทุจริตครั้งใหญ่ภายในกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน)

ทรัมป์กล่าวเรื่องนี้ระหว่างการให้สัมภาษณ์พิเศษกับ Fox News เนื่องในโอกาสการแข่งขันซูเปอร์โบวล์ ซึ่งบางส่วนของการสัมภาษณ์ถูกนำมาเผยแพร่เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ ตามเวลาท้องถิ่น

“ผมกำลังจะแจ้งให้เขาทราบภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้านี้ ให้เริ่มตรวจสอบกระทรวงศึกษาธิการก่อน จากนั้นค่อยตรวจสอบกระทรวงกลาโหม ผมมั่นใจว่าเราจะพบการทุจริตและการใช้จ่ายงบประมาณอย่างไม่เหมาะสม คิดเป็นมูลค่าหลายพันล้าน หรืออาจสูงถึงหลายแสนล้านดอลลาร์” ทรัมป์กล่าว

ด้านรอยเตอร์รายงานว่า งบประมาณของเพนตากอนอยู่ที่เกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี โดยในเดือนธันวาคม 2567 อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามอนุมัติงบประมาณกลาโหมจำนวน 8.95 แสนล้านดอลลาร์ สำหรับปีงบประมาณที่สิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2568

มัสก์ ซึ่งทำเนียบขาวระบุว่าเป็น "พนักงานพิเศษของรัฐบาล" ได้รับมอบหมายจากทรัมป์ให้เป็นผู้นำในการปรับลดขนาดกำลังคนของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ทีมงานของมัสก์ได้รับสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลลับในระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานรัฐหลายแห่ง

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการนี้ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้องทางกฎหมาย และมีความกังวลว่าอาจทำให้ข้อมูลลับรั่วไหล อีกทั้งยังอาจเป็นการรื้อโครงสร้างหน่วยงานรัฐโดยไม่ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา

นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากบริษัทของมัสก์มีสัญญามูลค่ามหาศาลกับเพนตากอน

ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ในรายการ “Meet the Press” ของช่อง NBC ว่ากระบวนการต่อเรือของเพนตากอนเป็นจุดอ่อนที่ควรได้รับการตรวจสอบเป็นพิเศษ โดยเสนอให้กระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล (DOGE) ซึ่งมัสก์เป็นผู้นำ เข้ามาดูแลปัญหานี้

วอลซ์ยังระบุว่า เพนตากอนมีปัญหาด้านความล่าช้าในการจัดซื้อจัดจ้าง และจำเป็นต้องให้ผู้นำจากภาคธุรกิจเข้ามาช่วยปฏิรูป

แม้ว่าปัญหาประสิทธิภาพการใช้งบประมาณของเพนตากอนจะถูกวิพากษ์วิจารณ์มาอย่างยาวนานจากนักการเมืองทั้งสองพรรค แต่พรรคเดโมแครตและสหภาพข้าราชการพลเรือนยังคงแสดงความกังวลว่า ทีมงานของมัสก์อาจไม่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอในการปรับโครงสร้างเพนตากอนอย่างเหมาะสม

ทรัมป์สั่งโรงกษาปณ์หยุดผลิตเหรียญ 1 เซนต์ เชื่อประหยัดงบ ตามคำแนะนำอีลอน มัสก์

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังสหรัฐหยุดการผลิตเหรียญ 'เพนนี' หรือเหรียญ 1 เซนต์ หลังจากมีการชี้แจงว่าค่าใช้จ่ายในการผลิตเหรียญดังกล่าวสูงกว่ามูลค่าของมันเอง  

ตามรายงานจากกรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ (10 ก.พ.68) ทรัมป์ได้โพสต์ข้อความผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย 'ทรูธ โซเชียล' โดยระบุว่า การผลิตเหรียญกษาปณ์ของสหรัฐในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีต้นทุนเกินกว่า 2 เซนต์ต่อเหรียญ ซึ่งถือเป็นการสูญเสียทรัพยากรอย่างมาก  

ในคำสั่งของทรัมป์ เขาได้กำหนดให้กระทรวงการคลังสหรัฐหยุดผลิตเหรียญเพนนีใหม่เป็นการชั่วคราว เพื่อประหยัดงบประมาณให้กับรัฐบาล

การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่สำนักงานประสิทธิภาพรัฐบาล (ดอจ) ภายใต้การนำของนายอีลอน มัสก์ ได้ยกประเด็นนี้ขึ้นมาในเดือนมกราคมที่ผ่านมา  

การลดต้นทุนการผลิตเหรียญในสหรัฐเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันมานานและเคยมีการนำเสนอร่างกฎหมายหลายฉบับในสภาคองเกรส แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีกฎหมายใดที่ได้รับการอนุมัติจากสภา

‘อีลอน มัสก์’ หั่นอิทธิพล Deep State สหรัฐฯ ปฏิบัติการรุกหนักเปลี่ยนเกมข้อมูลสู่ยุคใหม่

อีลอน มัสก์ จุดกระแสร้อนแรงอีกครั้ง หลังออกมาสนับสนุนให้ปิด Radio Free Europe/Radio Liberty (RFE/RL) และ Voice of America (VOA) ซึ่งเป็นสองสื่อที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ โดยมัสก์ให้เหตุผลว่า "ไม่มีความจำเป็นอีกแล้ว ใช้งบภาษีไปปีละ 1 พันล้านดอลลาร์แบบไร้เหตุผล"

เรื่องนี้เริ่มจากโพสต์ของ ริชาร์ด เกรเนลล์ (Richard Grenell) อดีตผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติยุครัฐบาลทรัมป์ ที่โจมตี RFE/RL และ VOA ว่า "เป็นเครื่องมือของ Deep State เต็มไปด้วยอคติทางการเมืองและนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย" ซึ่งมัสก์ตอบกลับทันทีว่า "ถูกต้อง ควรปิดมันไปเลย"

RFE/RL - VOA: เครื่องมือ Deep State ที่มัสก์ต้องการโค่น ต้องเข้าใจก่อนว่า RFE/RL และ VOA ไม่ใช่แค่สื่อธรรมดา แต่มันคือ 'กระบอกเสียง' ของ Deep State สหรัฐฯ ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือแทรกแซงต่างประเทศมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น

RFE/RL ก่อตั้งในปี 1950 เพื่อเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลอเมริกัน ในการต่อต้านอิทธิพลของสหภาพโซเวียต

VOA ก่อตั้งในปี 1942 เพื่อตอบโต้โฆษณาชวนเชื่อของนาซีเยอรมนี และต่อมาได้กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้แทรกแซงประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

ทั้งสององค์กรนี้ ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลกลาง และอยู่ภายใต้ United States Agency for Global Media (USAGM) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ Deep State ใช้ควบคุมวาระข่าวสารระดับโลก

แม้ว่าสงครามเย็นจะจบไปแล้ว แต่สื่อเหล่านี้ยังคงอยู่ เพราะ Deep State ยังต้องการมีเครื่องมือที่ใช้ควบคุมข้อมูลในเวทีระหว่างประเทศ

การโค่น USAGM: ภารกิจหินที่แม้แต่ทรัมป์ยังทำไม่สำเร็จ
การจะล้มองค์กรที่อยู่ภายใต้ United States Agency for Global Media (USAGM) ไม่ใช่เรื่องง่าย แม้แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเคยมีอำนาจเต็มมือ ก็ยังไม่สามารถรื้อถอนมันได้

ทรัมป์เคยพยายามปรับโครงสร้าง USAGM ในสมัยดำรงตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง Michael Pack เป็นผู้อำนวยการ USAGM และออกคำสั่งปลดเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนที่ควบคุมสื่อเหล่านี้ แต่สุดท้าย Pack กลับถูกเล่นงานจากภายใน และถูก Joe Biden ปลดออกหลังเข้ารับตำแหน่ง

การล้ม USAGM เป็นมากกว่าการปิดหน่วยงานรัฐ แต่มันหมายถึงการรื้อถอนเครื่องมือหลักของ Deep State ที่ใช้แทรกแซงโลกมาเกือบศตวรรษ นี่เป็นงานใหญ่ที่ต้องเผชิญแรงต้านมหาศาลจากนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง และเครือข่าย Deep State ภายในรัฐบาลเอง

มัสก์อาจมีอำนาจทางเทคโนโลยีและเงินทุน แต่เขาไม่มีอำนาจรัฐ ต่างจากทรัมป์ที่เป็นประธานาธิบดี ดังนั้น การผลักดันให้ปิด RFE/RL และ VOA อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของสงครามใหญ่ที่รออยู่

มัสก์กำลังลดอิทธิพล Deep State และเปลี่ยนมืออำนาจสื่อ
สิ่งที่มัสก์ทำ ไม่ใช่แค่เรื่อง 'ภาษีประชาชน' แต่มันคือ การล้างไพ่กระดานข่าวสารระดับโลก และตัดแขนตัดขาของกลุ่ม Deep State อเมริกัน

1. Deep State สูญเสียเครื่องมือสำคัญ – สื่อของรัฐบาลอเมริกันเหล่านี้ เคยเป็นช่องทางหลักในการแทรกแซงข่าวสารของประเทศอื่นๆ หากปิดตัวลง Deep State จะสูญเสียอำนาจทางข้อมูลขนาดใหญ่

2. แพลตฟอร์มใหม่จะขึ้นมาครองเวที – มัสก์เองถือครอง X (Twitter) ซึ่งกำลังกลายเป็นแหล่งข่าวหลักของประชาชนทั่วโลก นี่อาจเป็นหมากสำคัญของเขาในการเปลี่ยนอำนาจจากสื่อดั้งเดิมมาสู่แพลตฟอร์มออนไลน์

3. สหรัฐฯ ยุคใหม่อาจไม่มี Deep State คุมเกมข่าวสาร – มัสก์ไม่ใช่แค่กำลังเปลี่ยนมือสื่อ แต่เขากำลังผลักดันให้สหรัฐฯ เข้าสู่ยุคใหม่ที่ไม่ต้องพึ่งพาระบบ Deep State ในการครอบงำข้อมูลอีกต่อไป

ไทยต้องเรียนรู้อะไรจากเกมนี้?
สิ่งที่มัสก์กำลังทำ สะท้อนให้เห็นว่า อเมริกาไม่ได้แค่กำลังลดบทบาทของสื่อเก่า แต่มันคือสัญญาณของ 'การเปลี่ยนอำนาจ' ภายในสหรัฐฯ เอง

1. Deep State ไม่เคยถอนกำลัง เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการ – ตั้งแต่สงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน สหรัฐฯ ใช้เครื่องมือสื่อและข้อมูลเพื่อแทรกแซงประเทศต่าง ๆ มาโดยตลอด แม้ RFE/RL และ VOA จะถูกปิด แต่พวกเขาจะหาทางใช้ช่องทางอื่นแทน

2. อเมริกาจะยังแทรกแซงไทย แต่เปลี่ยนรูปแบบ – อย่าคิดว่าอเมริกาจะเลิกสนใจไทย เพียงเพราะพวกเขาปิดสื่อแบบเดิม ในอนาคต การแทรกแซงอาจมาในรูปแบบแพลตฟอร์มโซเชียล อินฟลูเอนเซอร์ หรือ AI แทน

3. ไทยต้องหยุดมองโลกสวย – อเมริกาไม่ได้ทำแบบนี้เพื่อ 'ลดอำนาจ' ของตัวเอง แต่เป็น การเปลี่ยนยุทธศาสตร์ เราต้องตามเกมให้ทัน

อเมริกายุคใหม่: ใครควบคุมข้อมูล ใครกำหนดวาระโลก?
อย่าคิดว่าการปิด RFE/RL และ VOA เป็นแค่เรื่องเล็กๆ แต่นี่คือ 'การเปลี่ยนเกมข้อมูลระดับโลก' Deep State กำลังถูกท้าทาย และพยายามปรับตัว

มัสก์กำลังสร้างระบบข่าวสารใหม่ ที่อาจอยู่ในมือของแพลตฟอร์มเอกชน
สหรัฐฯ จะยังมีบทบาทในโลก แต่ในรูปแบบใหม่

สุดท้ายแล้ว การควบคุมข้อมูลข่าวสารยังคงเป็นอำนาจสำคัญของโลกยุคปัจจุบัน อเมริกาอาจลดบทบาท Deep State แต่ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะเลิกควบคุมข้อมูล เพียงแต่ มือที่ถือไพ่ อาจเปลี่ยนไปอยู่ในกลุ่มคนที่พร้อมเล่นเกมใหม่แทน

อีลอน มัสก์หน้าแตก ทุ่มซื้อ ChatGPT ถูกปัดตก อัลท์แมนเจ้าของ Open AI สวนกลับ ขอซื้อทวิตเตอร์แทน

(11 ก.พ. 68) กลุ่มนักลงทุนที่นำโดยอีลอน มัสก์ได้ยื่นข้อเสนอเข้าซื้อองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ควบคุม OpenAI ด้วยมูลค่าสูงถึง 97.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.32 ล้านล้านบาท) โดยมาร์ก โทเบอรอฟฟ์ ทนายความของมัสก์ ยืนยันว่าข้อเสนอดังกล่าวได้ถูกส่งไปยังคณะกรรมการบริหารของ OpenAI แล้ว

แหล่งข่าวระบุว่าหากการซื้อกิจการสำเร็จ ทีมของมัสก์มีแผนจะเปลี่ยนทิศทางของ OpenAI ให้กลับมาเป็นแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์แบบโอเพนซอร์สอีกครั้ง โดยเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ มัสก์ได้แสดงความคิดเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่ OpenAI ควรกลับไปสู่แนวทางโอเพนซอร์สที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย

มัสก์เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI ร่วมกับแซม อัลท์แมน และทีมงานในปี 2015 ก่อนจะถอนตัวออกจากองค์กรในปี 2018

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2024 ทีมกฎหมายของมัสก์ได้ยื่นคำร้องขอคำสั่งห้ามชั่วคราวเพื่อเปลี่ยนสถานะของ OpenAI จากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยมี xAI บริษัทปัญญาประดิษฐ์ของมัสก์เข้าไปมีบทบาทในการดำเนินการครั้งนี้ ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าหากข้อตกลงการซื้อกิจการเป็นผลสำเร็จ อาจมีการควบรวมระหว่าง OpenAI และ xAI

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากแซม อัลท์แมน ซีอีโอของ OpenAI ซึ่งได้โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์ม X (Twitter) เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ว่า “เราสามารถซื้อทวิตเตอร์ในราคา 9.74 พันล้านดอลลาร์ หากคุณต้องการ” ซึ่งถูกมองว่าเป็นการตอบโต้ข้อเสนอของมัสก์อย่างมีนัยสำคัญ

เวียดนามไฟเขียวเปิดประตูรับ 'สตาร์ลิงก์' ใช้ดาวเทียมมักส์แลกทรัมป์เลี่ยงขึ้นภาษี

(19 ก.พ.68) เวียดนามกำลังเดินหน้าออกกฎระเบียบใหม่ที่เอื้อให้ Starlink บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมของ อีลอน มัสก์ สามารถให้บริการภายในประเทศได้ โดยเปิดทางให้บริษัทต่างชาติสามารถควบคุมการดำเนินงานของตนเองได้อย่างเต็มที่ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญ ท่ามกลางความตึงเครียดทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและสหรัฐฯ

กฎระเบียบใหม่นี้จะอนุญาตให้ Starlink สามารถดำเนินธุรกิจในเวียดนามผ่านบริษัทลูกที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย SpaceX ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของมัสก์ การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการเจรจาที่ยืดเยื้อระหว่างเวียดนามกับ SpaceX และถูกมองว่าเป็นสัญญาณแห่งความร่วมมือ หรือ ‘กิ่งมะกอก’ ที่ส่งถึงรัฐบาลสหรัฐฯ

นโยบายใหม่นี้มีขึ้นในช่วงที่สหรัฐฯ ภายใต้การนำของ โดนัลด์ ทรัมป์ ขู่ว่าจะเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากเวียดนาม ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ปัจจุบัน สหรัฐฯ ถือเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าเกษตร

จากอุปสรรคสู่โอกาส: เวียดนามเปลี่ยนจุดยืนต่ออินเทอร์เน็ตดาวเทียม ก่อนหน้านี้ เวียดนามมีข้อจำกัดเข้มงวดเกี่ยวกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม โดยไม่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือดำเนินธุรกิจโดยอิสระ ส่งผลให้แผนขยายตลาดของ SpaceX ในเวียดนามต้องหยุดชะงักในช่วงปลายปี 2023 อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายฉบับใหม่ ซึ่งมีกำหนดนำเสนอในที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์นี้ จะเปิดทางให้บริษัทอินเทอร์เน็ตดาวเทียมสามารถควบคุมการดำเนินงานของตนเองได้เต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการนำร่องที่มีกำหนดดำเนินการจนถึงปี 2030

หาก Starlink สามารถเข้าสู่ตลาดเวียดนามได้สำเร็จ อาจช่วยให้ประเทศลดแรงกดดันจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ได้บางส่วน ปัจจุบัน เวียดนามมียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูงถึง 123,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 4.1 ล้านล้านบาท) ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลทรัมป์พิจารณาเพิ่มภาษีนำเข้า

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลเวียดนามเปิดเผยว่า SpaceX มีแผนลงทุนมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 50,000 ล้านบาท) ในเวียดนาม โดยขยายเครือข่ายซัพพลายเออร์และพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งการอนุมัติกฎระเบียบใหม่

นอกจากการเปิดตลาดอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมแล้ว เวียดนามยังพยายามปรับสมดุลการค้ากับสหรัฐฯ โดยเสนอที่จะนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากอเมริกามากขึ้น และอยู่ระหว่างหารือเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าอื่น ๆ เพื่อบรรเทาแรงกดดันจากมาตรการภาษีที่อาจเกิดขึ้น

การตัดสินใจเปิดทางให้ Starlink ดำเนินธุรกิจในเวียดนามสะท้อนถึงแนวทางที่รัฐบาลฮานอยใช้ในการรับมือกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจจากมหาอำนาจโลก พร้อมส่งสัญญาณถึงวอชิงตันว่า เวียดนามพร้อมที่จะเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ หากได้รับข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน

'มัสก์' เล็งแจกเงินชาวอเมริกัน คนละ 1.5 แสนบาท หลัง DOGE ช่วยประหยัดงบแสนล้าน แต่เสี่ยงเงินเฟ้อ-ขัดกฎหมาย

(20 ก.พ. 68) อีลอน มัสก์ ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานด้านประสิทธิภาพรัฐบาล (DOGE) ได้จุดกระแสใหม่บนโซเชียลด้วยการเผยแนวคิดเงินปันผล  DOGE (DOGE Dividend) ซึ่งอาจมาในรูปแบบของเช็คกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 5,000 ดอลลาร์ ให้กับผู้เสียภาษีชาวอเมริกา โดยระบุว่า การมอบเงิน 5,000 ดอลลาร์นี้ เป็นผลพลอยได้จากการที่หน่วยงาน DOGE ของมัสก์สามารถประหยัดงบประมาณประเทศไปได้หลายแสนล้าน

แนวคิดนี้มาจากเจมส์ ฟิช แบ็ค ซีอีโอบริษัทการลงทุนและที่ปรึกษา DOGE ซึ่งเสนอให้จัดสรร 20% ของเงินออมที่คาดว่าจะเกิดจากนโยบาย DOGE ไปมอบเป็นเงินช่วยเหลือแก่ประชาชน โดยฟิชได้อ้างว่าหาก DOGE สามารถประหยัดงบประมาณรัฐบาลได้ถึง $2 ล้านล้าน ก็สามารถจัดสรร 20% หรือราว $400,000 ล้าน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ 78 ล้านครัวเรือนที่เสียภาษีได้ในอัตรา $5,000 ต่อครัวเรือน

“เราต้องการทำให้ DOGE เป็นเรื่องจริงสำหรับชาวอเมริกันหลายล้านคน พวกเขาสมควรได้รับส่วนแบ่งจากเงินออมที่ DOGE จะช่วยให้เกิดขึ้นภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์” ฟิชแบ็คกล่าว

มัสก์ตอบรับแนวคิดนี้โดยกล่าวว่า เขาจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับโดนัลด์ ทรัมป์ อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวยังต้องเผชิญกับอุปสรรคสำคัญหลายประการ อาทิ 

การอนุมัติจากสภาคองเกรส การใช้เงินงบประมาณรัฐบาลต้องได้รับการอนุมัติจากฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งอาจมีการคัดค้านจากสมาชิกสภาคองเกรสที่ต้องการนำเงินไปใช้กับโครงการอื่น เช่น การลดหนี้สาธารณะ

นอกจากนั้นหากจ่ายเงินช่วยเหลือ5,000 ดอลลาร์ อาจส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ  โดยผู้เชี่ยวชาญด้านงบประมาณเตือนว่า การแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในปริมาณมหาศาลอาจทำให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่พรรครีพับลิกันเคยต่อต้านในช่วงการระบาดของโควิด-19 เพรสตัน แบรชเชอร์ นักวิจัยด้านนโยบายภาษีจาก Heritage Foundation กล่าวว่า “การลดรายจ่ายของรัฐบาลช่วยควบคุมเงินเฟ้อได้ แต่ถ้ารัฐบาลแจกเช็คกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินเฟ้อจะกลับมาอย่างหนัก”

นอกจากนี้ยังอาจติดปัญหาทางกฎหมาย เพราะโครงการ DOGE เองกำลังเผชิญกับการตรวจสอบทางกฎหมาย และผลลัพธ์ของคดีความที่เกี่ยวข้องอาจส่งผลกระทบต่อแนวคิดเงินปันผลนี้

ข้อเสนอนี้เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลทรัมป์กำลังพิจารณานโยบายลดภาษีในหลายรูปแบบ แต่ต้นทุนของมาตรการเหล่านี้อาจสูงถึง $5-11 ล้านล้าน ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเงินปันผล DOGE อาจต้องแข่งขันกับนโยบายอื่น เช่น การยกเลิกเก็บภาษีเงินได้จากค่าทิปและโอที แม้ว่าการได้รับเช็ค 5,000 ดอลลาร์ จะเป็นที่สนใจของประชาชนจำนวนมาก แต่ก็ยังมีความท้าทายทางกฎหมายและเศรษฐกิจที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ 

ใครเป็นเจ้าของ ‘TESLA’

เมื่อเอ่ยถึง ‘TESLA’ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของโลก คนส่วนใหญ่ย่อมคิดถึง ‘อีลอน มัสก์’ เป็นอันดับแรก เพราะถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้มายาวนาน

แต่รู้หรือไม่ว่า ‘มัสก์’ ไม่ได้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว แต่ยังมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกหลายราย ส่วนมีใครบ้างใน 10 อันดับแรก และถือครองในสัดส่วนเท่าใด ไปส่องกันเลย

อีลอน มัสก์ จ่อถอนตัวจากบทบาท ‘พนักงานรัฐบาลพิเศษ’ หลังพบแรงต้านในกลุ่มรัฐบาลสหรัฐฯ และความตึงเครียดทางการเมือง

(3 เม.ย. 68) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้แจ้งกับบุคคลใกล้ชิด รวมถึงสมาชิกคณะรัฐมนตรีว่า อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทเทสลาและเอ็กซ์ (X) เตรียมถอนตัวจากบทบาท “พนักงานรัฐบาลพิเศษ” ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มพันธมิตรของรัฐบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่บางรายที่เริ่มมองว่ามัสก์เป็น “ภาระทางการเมือง” และเชื่อว่าการที่เขามีบทบาทในรัฐบาลสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับกลุ่มพันธมิตรและความเชื่อมั่นในรัฐบาล

มัสก์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่พนักงานรัฐบาลพิเศษ หรือบทบาทในกรมประสิทธิภาพของรัฐบาล (DOGE) เพื่อช่วยเสริมสร้างนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในสหรัฐฯ มีบทบาทที่สำคัญในหลายโครงการรัฐบาล แต่กระแสความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นจากบางส่วนในรัฐบาล ทำให้การตัดสินใจถอนตัวของมัสก์กลายเป็นเรื่องที่ได้รับการจับตามอง

อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลคนหนึ่งกล่าวว่า มัสก์มีแนวโน้มที่จะยังคงมีบทบาทอย่างไม่เป็นทางการในฐานะที่ปรึกษา และยังคงเป็นบุคคลภายนอกที่ปรากฏตัวเป็นครั้งคราวในบริเวณทำเนียบขาว ส่วนอีกคนหนึ่งเตือนว่าใครก็ตามที่คิดว่ามัสก์จะหายไปจากวงโคจรของทรัมป์ เขาคนนั้นกำลังหลอกตัวเอง

แหล่งข่าวระบุว่า มัสก์จะถอนตัวจากบทบาทนี้ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แต่ยังไม่ได้มีการประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการในอนาคตของเขา โดยคาดว่าเขาจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาธุรกิจส่วนตัวและการลงทุนในเทคโนโลยีต่อไป

“สักวันหนึ่ง อีลอนคงอยากจะกลับไปที่บริษัทของเขา เขาต้องการแบบนั้น ผมจะเก็บเขาไว้ตราบเท่าที่ผมยังเก็บเขาไว้ได้” ทรัมป์กล่าวกับนักข่าว

เบร็ท แบเยอร์ จาก Fox News ถามมัสก์เมื่อวันพฤหัสบดีว่า เขาพร้อมที่จะลาออกหรือไม่เมื่อสถานะพนักงานพิเศษของรัฐบาลของเขาสิ้นสุดลง เขาก็ได้ประกาศว่าภารกิจของเขาสำเร็จลุล่วงแล้ว โดยกล่าวว่า “ผมคิดว่าเราจะบรรลุภารกิจส่วนใหญ่ที่จำเป็นเพื่อลดการขาดดุลลง 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในกรอบเวลาดังกล่าว”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top