Thursday, 2 May 2024
พรรคสร้างอนาคตไทย

สร้างอนาคตไทยชี้ ร่างงบฯ 66  ตอบโจทย์ขับเคลื่อนประเทศ ท่ามกลางวิกฤติหรือไม่

อุตตม-สนธิรัตน์-สันติ แท็กทีมวิเคราะห์งบปี 66  ชี้โครงสร้างงบฯ 2566 ต้องเป็นเครื่องมือหลักให้รัฐบาลสามารถดูแลบริหารความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่จะเผชิญอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเป็นพลังช่วยขับเคลื่อนการฟื้นเศรษฐกิจจากนี้ไป นอกจากนี้ พบ  8 ช่อง สุ่มเสี่ยงความไม่โปร่งใส เรียกร้อง สภาฯ พิจารณาให้รอบคอบ มองประโยชน์ประเทศเป็นที่ตั้ง

วันนี้ (28 พ.ค.) พรรคสร้างอนาคตไทย นำโดยนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค และนายสันติ กีระนันทน์ รองหัวหน้าพรรคและประธานกรรมการนโยบาย ได้ร่วมแถลงข่าวกรณีร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ที่จะเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรระหว่างวันที่  31 พ.ค.- 2 มิ.ย. นี้ โดยได้ชี้จุดบกพร่องของร่างฯ ดังกล่าว ที่จะส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการประเทศอย่างร้ายแรง

นายอุตตม กล่าวว่า พรรคสร้างอนาคตไทยได้ติดตามการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ด้วยความเป็นห่วงมาโดยตลอด  และพบว่ารายละเอียดในร่างดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน อีกทั้งยังไม่ส่งผลดีต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

“พรรคสร้างอนาคตไทย ได้ส่งสัญญาณให้ทุกภาคส่วนร่วมกันพิจารณาการจัดสรรงบประมาณปี 2566 อย่างละเอียดคอบเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด เช่นเดียวกับวันนี้ที่เราต้องการชี้ให้เห็นว่าร่างฯ ดังกล่าว ไม่มีความเหมาะสมอย่างไร เพื่อให้ทุกฝ่ายได้นำไปเป็นแนวทางในการพิจารณา เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศต่อไป”
ด้านนายสันติ กล่าวว่า รายละเอียดร่างงบประมาณ 2566 ซึ่งมีวงเงินทั้งสิ้น 3.185 ล้านล้านบาท มีข้อสังเกตที่ชี้ให้เห็นถึงความไม่เหมาะสม 8 ประการ ประกอบด้วย 

1.การจัดทำงบประมาณ 2566 ใช้สมมติฐานที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงในปัจจุบัน เช่น การประมาณการณ์จัดเก็บรายได้เพื่อนำมาใช้จ่ายในวงเงินงบประมาณที่ตั้งไว้ อาจไม่เป็นไปตามที่คาด โดยจากตัวเลขการจัดเก็บรายได้ที่ผ่านมา รัฐบาลไม่เคยจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมาย ตัวอย่างปี 2563 ตั้งเป้า 2,864,562 ล้านบาท เก็บได้ 2,388,274ล้านบาท ปี 2664 ตั้งเป้า 2,829,228 ล้านบาท เก็บได้ 2,372,551 ล้านบาท ปี 2565 (5 เดือนแรก) ตั้งเป้า  1,095,092 ล้านบาท เก็บได้  917,857 ล้านบาท 
นอกจากนี้ การวางแผนงบประมาณ 2566 ยังใช้ฐานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ล้าสมัยมาประกอบ เช่น การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ ใช้ตัวเลขร้อยละ 3.5-4.5 (2565) และ 3.2-4.2 (2566) แต่ล่าสุดหน่วยงานสภาพัฒน์คาดการณ์เศรษฐกิจปรับลดลงมาอยู่ที่ 2.5-3.5 เท่านั้น
อีกทั้ง ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อก็ไม่เป็นปัจจุบัน กล่าวคือ ใช้ตัวเลขการขยายตัวที่ 1.5-2.5 (2565) และ 0.5-1.5 (2566) ทั้งที่สถานการณ์จริงวันนี้การขยายตัวของเงินเฟ้อขยับขึ้นตั้งแต่ ธ.ค. 2564 เป็น 2.17 ตามด้วย 3.23 ในเดือน ม.ค. 2565 และ 5.28 ในไตรมาสแรกของปีนี้ 

‘สร้างอนาคตไทย’ ถอดรหัสเงินเฟ้อพุ่ง 7.10% ชี้!! ข้าวของที่เห็นว่าแพง ยังจะแพงต่อไปอีก

(7 มิ.ย.65) นายสันติ กีระนันทน์ ทีมเศรษฐกิจพรรคสร้างอนาคตไทย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม หนึ่งในคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า... 

ขอเขียนยาวหน่อยนะครับ ... ต้องอ่านให้จบครับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นถึง 7.10% สูงสุดในรอบ 13 ปี !!! 

ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ได้ชี้แจงว่า เงินเฟ้อทั่วไป เดือน พ.ค. 2565 เท่ากับ 106.62 สูงขึ้น 7.10% สูงสุดในรอบ 13 ปี สาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น และหากพิจารณากลุ่มอาหารกลุ่มเดียว ก็จะพบว่า ราคาสูงขึ้นถึง 6.18% และยังสรุปว่า เดือนมิถุนายน 2565 นี้ อัตราเงินเฟ้อก็ยังมีแนวโน้มขยายตัว 

แปลความง่าย ๆ ว่า ข้าวของที่เราเห็นว่าแพงในขณะนี้ ยังจะแพงต่อไปอีกครับ !!!

ในวันพุธที่ 8 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็จะมีการประชุม ซึ่งก็ต้องจับตาดูว่าจะมีท่าทีอย่างไรต่อภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมานั้น กนง. ได้พยายามชี้แจงว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นนั้น จะเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น และจะปรับตัวดีขึ้น จึงจะไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยให้เหตุผลว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ในความเห็นข้างต้นของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น ผมได้แสดงความไม่เห็นด้วยมาอย่างต่อเนื่อง (ย้ำครับว่า ผมไม่เห็นด้วย !!!) 

ด้วยเหตุผลสำคัญคือ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของคนในประเทศไทยที่อยู่ในระดับสูงนั้น อัตราเงินเฟ้อหรือพูดง่าย ๆ เป็นภาษาชาวบ้านว่า ข้าวของแพงขึ้นนั้น จะทำร้ายคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างรุนแรง เพราะความเหลื่อมล้ำในระดับสูงนั้น แสดงถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศยังยากจนอยู่มาก ข้าวของแพงขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ประกอบกับระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงมากเกือบ 100% ของ GDP 

อย่างในขณะนี้นั้น รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการทำงานสอดประสานกันอย่างไรเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนกลุ่มนี้ ... คำถามนี้เป็นคำถามใหญ่ และเป็นสิ่งที่นโยบายการคลัง (โดยรัฐบาล คือ กระทรวงการคลัง) และนโยบายการเงิน (โดยธนาคารแห่งประเทศไทย) ต้องมีการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง มิฉะนั้นแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะอยู่อย่างไร

'อุตตม' ชี้!! เร่งฟื้นท่องเที่ยว รัฐบาลต้องมี '3 พร้อม'

อุตตม โพสต์เฟซบุ๊ก ชี้เร่งฟื้นภาคท่องเที่ยวสร้างรายได้ประเทศรองรับแรงกระแทกจากปัญหาเศรษฐกิจรอบด้าน แนะรัฐบาลต้องมีความพร้อม 3 ด้าน ทั้งการสร้างความได้เปรียบประเทศคู่แข่ง การช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ใช้โอกาสนี้เร่งสร้างรายได้ชดเชยความเสียหายจากโควิด และส่งเสริมการลงทุนด้านการท่องเที่ยว
 
นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์เฟซบุ๊กส์ ระบุว่า หลังจากที่ประเทศไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวเต็มรูปแบบเมื่อ 1  มิ.ย.ที่ผ่านมา ตนเชื่อว่าภาคธุรกิจท่องเที่ยวต่างก็รู้สึกกลับมามีความหวังอีกครั้ง ซึ่งตนก็รู้สึกเช่นนั้น และยังคิดหวังต่อไปอีกว่า หากเราสามารถพลิกฟื้นการท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็ว จะส่งผลดีต่อประเทศในแง่แหล่งรายได้ ที่มาช่วยดูดซับแรงกระแทกจากปัญหานานับประการที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และที่สำคัญจะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันของผู้ประกอบการในทุกกลุ่ม เป็นโอกาสให้พวกเขาฟื้นฟูกิจการและกลับมาเข้มแข็งได้อีก


 
อย่างไรก็ตาม การจะพลิกฟื้นภาคการท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนนั้น รัฐบาลต้องมี '3 พร้อม' ประกอบด้วย
 
1.พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยมุ่งเสริมสร้างให้เกิดความได้เปรียบเหนือประเทศคู่แข่งในการดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย
 
2.พร้อมช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการ ให้เข้มแข็งสามารถฟื้นฟูกิจการ และใช้โอกาสนี้เพื่อสร้างรายได้โดยเร็ว

3.พร้อมสนับสนุนและลงทุน เพื่อขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวโดยเร็ว

“เราต้องยอมรับความจริงว่า สถานการณ์โควิดและเศรษฐกิจในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กระทบผู้ประกอบการอย่างรุนแรง นอกจากรายได้จะหายไปแล้ว ทุนที่มีอยู่ก็ถูกนำมาใช้จนร่อยหรอแทบหมดลง ผมเสนอว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยว ต้องร่วมกันจัดหามาตรการที่ถือเป็นมาตรการพิเศษ มาช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเงินทุนได้อย่างเพียงพอโดยรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถใช้โอกาสที่การท่องเที่ยวมีสัญญาณพลิกฟื้นได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งบรรเทาปัญหาหนี้สินก่อนที่จะทรุดหนักไปมากกว่านี้”

นายอุตตม ระบุอีกว่า การท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องเกิดการลงทุนใหม่ ซึ่งจากการที่ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการเอกชนหลายรายในพื้นที่การท่องเที่ยวต่างๆของประเทศ พบว่า ผู้ประกอบการต้องการลงทุน แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจที่ยังมีความท้าทายและความเสี่ยงมากเช่นนี้ มองว่ารัฐบาลสมควรพิจารณามาตรการที่จะส่งเสริมจูงใจให้เอกชนลงทุน พร้อมทั้งสื่อสารให้ผู้ประกอบการทราบอย่างชัดเจน เช่น แผนการลงทุนที่เกื้อหนุนภาคการท่องเที่ยวในทันที การช่วยผู้ประกอบการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรในภาคการท่องเที่ยว รวมถึงการพิจาณาสิทธิประโยชน์เป็นกรณีพิเศษ เพื่อกระตุ้นและจูงใจให้ภาคเอกชนเกิดการลงทุนในรูปแบบใดบ้าง เป็นต้น

ทั้งนี้ หากรัฐบาลสามารถดำเนินการในเรื่องเหล่านี้และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องได้รวดเร็ว ก็จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนเดินหน้าลงทุน ทั้งกลุ่มผู้ลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศ

'พงศ์พรหม' ชวนดูเหตุผลแห่งการลาของ 'ชัชชาติ' จะเสล่อมาก!! หากลาไปเที่ยวหรือพบคนแดนไกล

นายพงศ์พรหม ยามะรัต รองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.) กล่าวถึงกรณีที่สังคมมีการแซะ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เรื่องลางาน 4 วันเพื่อไปงานรับปริญญาลูก ว่า...

ผมเห็นคนแซะ อ.ชัชชาติ เรื่องลางาน 4 วันไปรับปริญญาลูก

ผมมองแบบนี้ครับ

สิ่งสำคัญ คือ เหตุแห่งการลา

ผมเองแจ้งทุกคนนะครับ จะที่บริษัทผม หรือพรรคการเมืองที่ทำ

ผมทำงานเต็มที่ แต่ผมขอ 19.45 - 21.00 น.ทุกวัน ผมขอไม่รับสายใคร เพราะผมมองว่าการคุยกับลูก การอ่านนิทานให้ลูกก่อนนอนคือสิ่งสำคัญ

'อุตตม' ชี้!! ขีดแข่งขันไทยลดฮวบ สะท้อนอนาคตประเทศเสี่ยงสูง

หัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย ชี้ ตัวเลขขีดความสามารถทางการแข่งขันไทยตก สะท้อนอนาคตประเทศมีความเสี่ยงสูง แนะเร่งยกระดับสินค้าส่งออก แก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน และจัดหาแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการ

17 มิ.ย. 65 นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังจะเผชิญกับมรสุมเศรษฐกิจถึง 3 ลูก โดยลูกแรกคือโควิด แม้จะทุเลาลงแต่ก็ได้สร้างบาดแผลทางเศรษฐกิจต่อเนื่อง ลูกที่ 2 คือราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นจากสงครามยูเครน และลูกที่ 3 ซึ่งกำลังก่อตัวรุนแรงขึ้น คือภาวะเงินเฟ้อ ที่ส่งผลทำให้สินค้าราคาแพง กระทบกับการทำธุรกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน

“เรากำลังเผชิญกับปัญหาทั้งต้นทุนพลังงาน ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก สหรัฐอเมริกากำลังห่วงว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย จีนก็ยังไม่เปิดประเทศ ขณะที่ไทยต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ จึงมีคำถามว่าเราจะบริหารจัดการกับภาวะท้าทายที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร ไม่ใช่เพียงการจัดการระยะสั้น แต่ต้องมองไปถึงความยั่งยืนในอนาคตด้วย”

นายอุตตม กล่าวต่ออีกว่า ความกังวลประการหนึ่ง คือตัวเลขผลสำรวจขีดความสามารถทางการแข่งขันจากมุมมองของนักบริหารทั่วโลก ที่เพิ่งเผยแพร่โดยสถาบัน TMA ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏว่าปี 2565 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 33 จากปีก่อนที่อยู่ในอันดับที่ 28 เป็นการลดลงถึง 5 อันดับ ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยพบว่าประเทศไทยจะมีอันดับลดลงมากขนาดนี้

โดยสมรรถนะทางเศรษฐกิจที่ลดลงมีผลมาจากปัจจัยหลักในเรื่องการค้า ทั้งการบริโภคภายในประเทศที่ลดลงจากโควิด ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกแม้ที่ผ่านมาจะมีตัวเลขที่สูงขึ้น แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนทั่วโลก ทำให้เราไม่สามารถไว้วางใจได้ ที่สำคัญประเทศไทยจำเป็นต้องยกระดับสินค้าส่งออกให้สู้กับคู่แข่ง และตรงความต้องการของตลาดโลกในปัจจุบัน รวมทั้งพัฒนาระบบเศรษฐกิจจากฐานราก เพื่อความยั่งยืนในอนาคต 

ส่วนประสิทธิภาพภาครัฐ อันดับที่ตกลงมาเกิดจากการบริหารการคลัง ที่รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อบริหารจัดการผลกระทบโควิด ซึ่งผลการจัดอันดับนี้เป็นสัญญาณที่ชี้ว่า คนภายนอกหรือผู้บริหารทั่วโลกมองประเทศไทยอย่างไร มีความสามารถควบคุมความเสี่ยงด้านการคลังแค่ไหน เราจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อมาดูแลยามวิกฤตเป็นเรื่องถูกต้อง แต่ต้องดูว่ากู้มาแล้วเอาไปทำอะไร แก้ไขปัญหาถูกจุดหรือไม่ วันนี้เรากู้เต็มเพดานแล้วจะมีผลกระทบกับการคลังในอนาคตอย่างไร

สำหรับประสิทธิภาพภาคเอกชนที่ลดลง ต้องยอมรับว่าเป็นผลสะท้อนจากสมรรถนะเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพภาครัฐมีผลต่อประสิทธิภาพของเอกชน เนื่องจากรัฐบาลคือผู้ขับเคลื่อนนโยบายที่จะสนับสนุนภาคเอกชน วันนี้ต้องดูว่านโยบายของภาครัฐนั้นถูกทิศทางและทันต่อสถานการณ์หรือไม่ ยุทธศาสตร์ที่วางไว้ตอบโจทย์กับความเสี่ยงในอนาคตหรือไม่

'สันติ' เตือน ระวังถูกทวงคืนปตท.อีกรอบ

'สันติ' แนะรัฐบาลอย่าอ้าง "ต้องปล่อยปตท. เพราะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ กระทรวงการคลังคือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บ.พลังงาน"

นายสันติ กีระนันทน์ รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย และอดีตรองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แสดงความคิดเห็นต่อเนื่องจากการแถลงข่าวกรณีวิกฤตพลังงานที่พรรคสร้างอนาคตไทย เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า 

ในช่วงที่มีวิกฤติราคาพลังงานเกิดขึ้นนั้น ปตท. ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ก็จะตกเป็นจำเลยของสังคมทุกครั้ง และทุกครั้งก็จะมีขบวนการ "ทวงคืน ปตท." เกิดขึ้น ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ผมเชื่อว่า อีกไม่ช้าไม่นาน ชนวนเหตุของราคาพลังงานแพง ซึ่งเป็นต้นทางของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่จะตามมานั้น มีโอกาสไม่น้อยที่จะนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการ "ทวงคืน ปตท." ออกมาจากตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกในไม่ช้านี้

เมื่อวานนี้ 17 มิถุนายน 2565 ผมได้แสดงทัศนะไปแล้วว่า ในโรงกลั่น 6 โรง ไล่ลำดับความใหญ่โตของขนาดสินทรัพย์ คือ PTTGC, TOP, BCP, IRPC, ESSO, และ SPRC ซึ่ง 2 โรงหลังนั้น (ESSO และ SPRC) มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ต่างชาติ คือ ExxonMobil และ Chevron ในขณะที่ PTTGC, TOP, และ IRPC มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือ ปตท. ซึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่า 45% และ BCP นั้น มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เป็นคนไทย ได้แก่ สำนักงานประกันสังคม (14.4%) กองทุนรวมวายุภักษ์ (19.84%) กระทรวงการคลัง (4.76%) รวมแล้วคือ 39% 

และสำหรับ ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของโรงกลั่นหลัก ก็มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 51.1%

จะเห็นได้ว่า ตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยนั้น ยังอยู่ในการควบคุมของรัฐ (โดยกระทรวงการคลัง) ด้วยการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แม้บริษัทเหล่านั้นจะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

มักจะมีข้ออ้างว่า เมื่อเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ผู้ถือหุ้น แม้จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ ซึ่งก็เป็นข้ออ้างที่ฟังดูดี แต่เมื่อพิจารณาโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว จะพบว่า เกือบจะไม่มีบริษัทจดทะเบียนใดเลย ที่ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และโดยสภาพความเป็นจริงอีกเช่นกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เหล่านั้น ก็เป็นเจ้าของเดิมและเป็นผู้กำหนดนโยบายหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนเหล่านั้น นโยบายหลักใด ๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างไม่เป็นธรรม ก็มีแนวปฏิบัติให้ไปขออนุมัติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เรียบร้อยก่อนที่จะดำเนินการตามนโยบายนั้น ... นั่นก็คือกระบวนการเพื่อสร้างความโปร่งใส ความยุติธรรม และคำนึงถึงการพัฒนาในระยะยาวเพื่อความยั่งยืน (sustainable development - SD) 

ข้ออ้างที่บอกว่า เมื่อเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้อีกต่อไป จึงเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นครับ และหากเป็นเช่นนั้นจริง บริษัทจดทะเบียนทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ฯ คงจะมีผลประกอบการที่เละเทะ เพราะผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือเจ้าของเดิม ก็จะเป็นผู้ที่มีความชำนาญและรู้แจ้งในธุรกิจ มากกว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เข้าไปร่วมในการระดมทุน (ในตลาดแรก และเปลี่ยนมือได้ในตลาดรอง) 

ผมพยายามอธิบายเหตุผลอย่างยืดยาวนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า ใครก็ตามที่พยายามยกข้ออ้างว่า โรงกลั่น 4 โรงใหญ่ของประเทศไทย เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว รัฐจึงเข้าไปยุ่งไม่ได้ เป็นเรื่องไม่จริงครับ

อย่าลืมว่า บริษัทจดทะเบียนนั้น ต้องไม่มุ่งหวังกำไรระยะสั้นที่ทำให้อนาคตของบริษัทสั้นลงด้วย เพราะการกอบโกยโดยไม่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) อย่างรอบด้านนั้น ย่อมทำให้เกิดการรังเกียจบริษัทนั้นในที่สุด และก็คงจะเกิดกระบวนการต่าง ๆ ทางสังคม ตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับบริษัทในกลุ่มพลังงานนี้ก็คือ ขบวนการ "ทวงคืน ปตท." ซึ่งก็อาจจะนับได้ว่าเป็นหนึ่งใน social sanction ที่แสดงให้เห็นว่า stakeholder สำคัญ คือประชาชนซึ่งเป็นลูกค้า ไม่พอใจต่อการได้ "กำไรเกินควร" จากการดำเนินงานที่ไม่โปร่งใส จึงเกิดข้อเรียกร้องเหล่านั้น 

ผมอยากจะเรียนว่า ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน อย่าประเมินกระบวนการทางสังคมต่ำเกินไปนะครับ เพราะพลังของกระบวนการทางสังคม มีพลังมากกว่าที่ท่านคาดคิดได้ เรามีตัวอย่างมาให้เห็นหลายครั้งแล้วนะครับ ต่อความประมาท ต่อความถือดีในอำนาจรัฐที่ตนเองถือครองอยู่ ... ในที่สุด ก็อยู่ไม่ได้ครับ

ดังนั้น ไม่เป็นการแปลกครับที่รัฐจะใช้โอกาสนี้ "ดูแลโรงกลั่นของรัฐ" ให้มี "ความรับผิดชอบต่อสังคม" ด้วยวิธีการที่โปร่งใส เป็นธรรม ยอมรับได้ และตอบสนองต่อ stakeholder อย่างรอบด้าน

หากท่านไม่มั่นใจว่า ท่านจะกำหนดนโยบาย (เช่น ค่าการกลั่น) ผิดไปจากความต้องการของผู้ถือหุ้น ท่านก็สามารถจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อขออนุมัตินโยบายก็ได้ครับ

'สร้างอนาคตไทย' ประกาศยุทธศาสตร์ "ปรับ-เติม-เพิ่ม-ลด" ช่วยชาวอีสาน ปลอดหนี้

พรรคสร้างอนาคตไทยลงพื้นที่อีสาน ชูยุทธศาสตร์แก้หนี้สร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรม อุตตม ชี้ปรับโครงสร้างหนี้ – เติมทุน – เพิ่มแหล่งรายได้ - ลดต้นทุน ทางออกวิกฤตปากท้องคนไทย ด้านสนธิรัตน์ ปลุกชาวอีสานร่วมเครือข่าย “พี่น้องสร้างอนาคตไทย” ต่อสู้กับความยากจน ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  

วันนี้ (18 มิ.ย.) พรรคสร้างคนาคตไทยนำโดย นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค นาย สุพล ฟองงาม ประธานภาคอีสาน นายวิเชียร ชวลิต รองหัวหน้าพรรค นายนริศ เชยกลิ่น โฆษกพรรค นายวัชระ กรรณิการ์ รองเลขาธิการพรรค นายบุญส่ง ชเลธร รองเลขาธิการพรรค และนายสุทธิชัย จรูญเนตร รองประธานภาคอีสาน ได้เดินทางไปที่ตลาดเมืองทองเจริญศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อเปิดศูนย์ประสานงานพรรค และเปิดตัวผู้แสดงเจตจำนงเป็นสมัคร ส.ส.ในนามพรรคพลังสร้างอนาคตไทย จำนวน 3 เขต ได้แก่ เขต 1 คือ นายโกเมนทร์ ทีฆธนานนท์ เขต 2 คือ นายชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง และเขต 6 คือ นายมนตรี พึ่มชัย พร้อมกับการพบปะกับประชาชนทั้ง 3 เขต รวมกว่า 1,200 คน

นายอุตตม กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ได้รับเสียงสะท้อนว่า ชาวอีสานกำลังเผชิญกับ ปัญหาหนี้สิน รายได้ตกต่ำ ข้าวของแพง ต้นทุนการผลิตสูง ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนคนไทยทั่วประเทศกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ พรรคสร้างอนาคตไทยจึงขอประกาศยุทธศาสตร์ที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ภายใต้แนวคิด “ปรับ-เติม-เพิ่ม-ลด” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ กล่าวคือวันนี้คนไทยทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการ ต้องเผชิญกับปัญหาหนี้สินสะสมมายาวนาน โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลง จากนั้นต้องเติมเงินทุนเพื่อให้นำไปดำเนินกิจการต่อ ขณะเดียวกันก็ต้อง เพิ่มแหล่งรายได้ให้ประชาชนจากกิจกรรมที่ทำอยู่เดิมก่อนหน้านี้ และสุดท้ายต้อง ลดต้นทุนการผลิตเพื่อสร้างผลกำไรให้มากยิ่งขึ้น

“หลายสิบปีที่ผ่านมาหนี้สินของเกษตรกรไม่เคยถูกแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จ การพักหนี้แค่เพียงปีสองปีแต่ดอกเบี้ยเดินอยู่ไม่ได้ช่วยอะไร หากจะทำให้สำเร็จและเป็นรูปธรรม จะต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ ยืดหนี้ออกไปนานขึ้น จะเป็น 7-8 ปีก็ได้ แต่เกษตรกรต้องปรับตัวในการที่จะเพิ่มแหล่งรายได้ใหม่ๆ เพื่อให้ธนาคารมั่นใจว่าจะสามารถจ่ายหนี้ได้ โดยภาครัฐต้องช่วยส่งเสริมเงินทุน เทคโนโลยี และช่วยหาตลาด สุดท้ายต้องมีโครงการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรอย่างจริงจัง” 

ด้านนายสนธิรัตน์ กล่าวว่า การลงพื้นที่อีสานครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่สองของทีมผู้บริหารพรรค โดยพรรคต้องการที่จะเชิญชวนพี่น้องชาวอีสานที่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเมืองแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เข้ามาร่วมเป็นเครือข่าย “พี่น้องสร้างอนาคตไทย” เพื่อที่จะดำเนินกิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่อีสานให้เจริญรุ่งเรือง จากที่ผ่านมากว่าสิบปีที่พี่น้องชาวอีสานรวมทั้งชาวไทยทั้งประเทศสูญเสียโอกาสไปมากจากการเมืองแบบเดิมๆ วันนี้ประเทศต้องการความสงบและความร่วมมือกันในการนำพาประเทศออกจากวิกฤต

“ผมไม่กังวลว่ากับคำว่าอีสานเป็นพื้นที่ของใคร จะเจาะได้หรือไม่ แต่ผมมั่นใจว่าพรรคสร้างอนาคตไทยคือหนึ่งในพรรคทางเลือกที่ดีที่พี่น้องชาวอีสานจะพิจารณา และเชื่อว่าพี่น้องทางภาคอีสานก็ต้องการความเปลี่ยนแปลงเหมือนกับพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ พรรคสร้รางอนาคตไทย ขอเชิญชวนประชาชนชาวอีสานมาร่วมเป็นพี่น้องสร้างอนาคตไทย ช่วยกันขับเคลื่อนให้อีสานเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตไปด้วยกัน เพื่ออนาคตของลูกหลานเรา” นายสนธิรัตน์ กล่าว

“สร้างอนาคตไทย” แนะ รบ.อย่าแก้ปัญหาน้ำมันแพงแบบรูทีน ยกเป็นวาระแห่งชาติ แก้เชิงรุกให้ตอบโจทย์ความเดือดร้อนประชาชน

วันนี้ (26 มิ.ย.65) ที่ทำการพรรคสร้างอนาคตไทย พรรคสร้างอนาคตไทย นำโดย นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค พร้อมด้วย นายนริศ เชยกลิ่น โฆษกพรรค ร่วมแถลงข่าวเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาราคาน้ำมันแพงแบบบูรณาการ เสนอยกเรื่องน้ำมันเป็นวาระแห่งชาติ ชี้ ผลกระทบลากวงกว้าง ขณะที่ยังไม่เห็นนโยบายแก้ปัญหาที่ชัดเจนและตรงจุด ขณะที่ ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จี้ รบ.ตระหนัก 5 ข้อสำคัญ อย่าประมาท หลังประกาศโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ปัญหาราคาน้ำมันแพงส่งผลกระทบอย่างทวีคูณ ขณะที่แนวนโยบายการแก้ปัญหาเรื่องนี้ยังขาดการบูรณาการและบริหารเชิงรุก พรรคสร้างอนาคตไทย จึงขอเสนอให้มีการยกเรื่องน้ำมันเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาแบบบูรณาการ เนื่องจากมองว่าราคาน้ำมันดิบยังคงไม่ลดลงง่ายๆ และจากข้อมูล การวิเคราะห์ของหน่วยงานในต่างประเทศชี้ว่ามีแนวโน้มของการแกว่งตัวไปถึงปีหน้าและบางสำนักคาดการณ์ จะไต่ระดับขึ้นไปแตะ 120-180 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงพลังงานไม่ควรแก้ปัญหาแบบรูทันน เนื่องจากกลไกที่รัฐบาลมีอยู่ในวันนี้ ไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา ทั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบทะลุ 9 หมื่นล้านบาท ส่วนความหวังเรื่องขอให้โรงกลั่นนำส่งกำไรลดภาระกองทุนน้ำมันอาจทำได้ไม่ง่าย และอาจได้ไม่เท่าอย่างที่คิด ฉะนั้นวันนี้ กระทรวงพลังงานต้องมีแผนบูรณาการแก้ปัญหาเชิงรุก และแผนระยะยาวที่ชัดเจน 

นอกจากนี้ การแก้ปัญหาน้ำมันแพงอย่างเดียวไม่อาจตอบโจทย์ความเดือดร้อนของประชาชน ทางออกเดียวที่ต้องทำคือยกเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ แล้วบูรณาการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่กระทบเป็นลูกโซ่จากปัญหาดังกล่าว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน เช่น กระทรวงพาณิชย์ต้องมีมาตรการเร่งด่วน ในการแก้ปัญหาสินค้าที่พาเหรดกันขึ้นราคา กระทรวงคมนาคมต้องวางมาตรการรองรับเรื่องภาคขนส่งสินค้า และการขนส่งสาธารณะของภาคประชาชน ขณะที่กระทรวงการคลังต้องพิจารณาเรื่องการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และภาษีอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ และพร้อมต่อการแบกรับได้เท่าไร

“วันนี้การแก้ปัญหาเรื่องน้ำมันยังขาดการบูรณาการร่วมกัน ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อพี่น้องประชาชนได้ ผลกระทบเรื่องน้ำมันแพงมันเกี่ยวข้องกับปัญหาปากท้องประชาชน เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ ดังนั้น การแก้ปัญหาทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน แต่วันนี้ ทั้งกระทรวงพลังงาน พาณิชย์ คลัง และคมนาคม ยังคงต่างคนต่างเดินเพราะปัญหาผลกระทบต่างๆ มาจากปัจจัยภายนอกที่ยากจะควบคุม หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ร่วมมือกันก็ยากที่จะแก้ไขให้ตอบโจทย์ความเดือดร้อนของประชาชนได้” นายสนธิรัตน์ กล่าว

'สนธิรัตน์' แนะ!! แก้วิกฤตเศรษฐกิจยุคนี้ ปลุกท้องถิ่นเข้มแข็ง เพิ่มพลังเศรษฐกิจฐานราก

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์บนเฟซบุ๊กระบุว่า...

คำตอบอยู่ที่เศรษฐกิจฐานราก!!

เศรษฐกิจชะลอตัว เศรษฐกิจถดถอย น่าจะเป็นคำคาดการณ์เรื่องเศรษฐกิจโลกและประเทศที่เราได้ยินกันบ่อยในช่วงนี้ครับ

เงินเฟ้อในประเทศต่าง ๆ ก็เพิ่มสูงขึ้น คนที่ลำบากคือพวกเราที่ต้องซื้อของในราคาที่สูงขึ้น ต่อให้ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น แต่พอไปซื้อของก็ได้ของลดลง

อ.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวในงาน ม. ธรรมศาสตร์ เมื่อวันก่อนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังมีปัญหาและจะรุนแรงขึ้น และเศรษฐกิจบ้านเราอิงกับปัจจัยภายนอกอย่างการส่งออก ท่องเที่ยว หรือลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งไม่พ้นว่าจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

ท่านอาจารย์ได้ชี้ทางออกอย่างหนึ่งคือ “สร้างความเข้มแข็งกับเศรษฐกิจท้องถิ่น ให้เกิดการขยายตัว สร้างงานสร้างรายได้ควบคู่การอาศัยแรงหนุนจากภายนอก การเปลี่ยนแปลงโหมดแห่งการพัฒนาต้องการพลังที่ยิ่งใหญ่เข้าไปช่วยขับเคลื่อนในภาคชนบทและขับเคลื่อนให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารจัดการ”

จึงเป็นที่มาของคำว่า ถ้าจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจของไทยวันนี้ คำตอบอยู่ที่เศรษฐกิจฐานรากครับ

คำตอบที่อยากเอามาแชร์กันวันนี้ คือ 'โรงไฟฟ้าชุมชน' ครับ

‘ครูเป็ด’ ให้ข้อคิด ‘ฟืนเปียก’ จุดไม่ติดก็ต้องทิ้ง แล้วเก็บไม้ขีดจุดฟืนที่พร้อมลุกโชนเป็นไฟดีกว่า

กลายเป็นอีกกระแสบนโลกโซเชียล หลังจากคุณครูท่านหนึ่งได้ออกมาตัดพ้อถึงความเป็นครูที่นักเรียนไม่แม้แต่เคารพ พร้อมเผยภาพให้เห็นข้อความหยาบคายจากเด็กนักเรียนที่ไม่พอใจ เดินตรงไปเขียนกระดานดำว่า ‘ควาย’ หลังถูกครูผู้สอนยึดโทรศัพท์มือถือกลางห้องขณะเรียน พร้อมเนื้อหาระบุว่า…

เมื่อเข้าห้องสอน บอกให้เก็บโทรศัพท์ เริ่มเข้าเนื้อหา ก็บอกให้เก็บโทรศัพท์ ทบทวนเนื้อหา ก็บอกให้เก็บโทรศัพท์ รอบที่ 3 ฉันเดินเข้าไปยึดโทรศัพท์ และบอกให้มาสอบเพื่อแลกเอาโทรศัพท์คืน (คะแนนไม่มีสักช่อง) นักเรียนลุกขึ้นยืนและเดินผ่านหน้าดิฉัน เดินผ่านดิฉันขณะสอนอยู่ เพื่อนนั่งฟังอยู่ และเดินไปทางกระดานดำ หยิบชอล์กขึ้นมาเขียน แล้วเดินกลับไป

ตอนส่งงานเอางานที่จดไม่ครบ ไม่เสร็จมาส่ง ดิฉันบอกว่า งานไม่ครบนะ อุตส่าห์เอาสมุดเพื่อนที่ครบมาเปิดให้ดู แต่นักเรียนไม่ดู เอื้อมมือมาหยิบโทรศัพท์และเดินสะพายกระเป๋าออกไป ม.1 ขนาดนี้ ต่อไปขนาดไหน #ครูไม่มีสิทธิดุเด็ก #ครูไม่มีสิทธิตีเด็ก #ครูไม่มีสิทธิแสดงกริยาท่าทางไม่เหมาะสมหรือรุนแรงกับเด็ก #ครูต้องเป็นผู้มีสติละวางอารมณ์ให้ได้ #ครูต้องไม่พูดจารุนแรงกับเด็ก #ครูต้องมีจรรยาบรรณ #ใช่ค่ะครูต้องเป็นผู้รู้ผู้เบิกบาน #แต่ฉันก็เป็นคนผู้หนึ่งที่มีความโลภโกรธหลงมีจิตใจเช่นกัน” 

นับตั้งแต่เรื่องราวดังกล่าวถูกแชร์ก็มีคนแห่เข้ามาให้กำลังใจคุณครูกันอย่างล้นหลาม หนึ่งในนั้น คือ นายมนต์ชีพ ศิวะสินางกูร หรือ ‘ครูเป็ด’ สมาชิกพรรคสร้างอนาคตไทย ที่ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในฐานะที่เป็นครูเหมือนกัน โดยระบุว่า... 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top