Friday, 3 May 2024
ปทุมธานี

ปทุมธานี – “บิญฑ์ –ไทด์” 2 ดารากิจอาสา เหมาบ่อปลากะพงมาขายราคาถูก เพื่อช่วยหลือผู้เลี้ยงปลา ในช่วงระบาดของเชื้อไวรัสโควิด- 19

วันที่ 25 ส.ค 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานจากแฟลตคอม ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีพบ คุณบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ คุณเอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ ดารานักแสดง ได้นำปลากระพง มาจำหน่ายราคาถูก ให้กับพี่น้อง หมู่ 5 ต.คูบางหลวง ชาวแฟลตคอม ในราคาโลละ 50 บาท มีพี่น้องประชาชนจำนวนมากให้ตวามสนใจเข้ามาซื้อปลา

ด้าน คุณบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมกับผู้สื่อข่าวว่า “วันนี้กระผมพร้อมด้วยทีมงานได้เหมาบ่อปลากระพงมาให้พี่น้องได้บริโภคของดีราคาถูกจำนวน 4 ตันและยังมีขนมหม้อแกง พร้อมด้วยฟักทองมาแจกให้กับพี่น้องชาวแฟลตคอมด้วย”

ต่อมาผู้สื่อข่าวได้สอบถาม นายอนุสรณ์ บุญมั่น ประชาชนชาวตำบลคูบางหลวง ที่ได้มาต่อแถวซื้อปลากระพง ได้กล่าวเพิ่มเติมกับผู้สื่อข่าวว่า “ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณ คุณบิณฑ์ บันลือฤทธิ์ / คุณเอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ และทีมงานที่ได้นำ ปลากะพงสด ๆ จากบ่อมาจำหน่ายในราคาถูกวันนี้เลยมาซื้อ จำนวน 4 กิโลกรัม เพื่อนำไปประกอบอาหาร ในค่ำคืนนี้และอยากจะให้ดาราทั้ง 2 ท่านได้นำสินค้าราคาถูกมาจำหน่ายที่นี่อีกครั้งครับผม”


ภาพ/ข่าว  สหรัฐ แก้วตา รายงาน

ปทุมธานี - มทร.ธัญบุรี จับมือ บริษัท ทีเอชซีจี กรุ๊ป จำกัด และ 3 วิสาหกิจชุมชน ร่วมกันวิจัย พัฒนา กัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อนำไปผลิตเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 31 สิงหาคม 2564 ที่ห้องประชุมมังคลอุบล ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 48 พระชันษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการศึกษา วิจัย และพัฒนาโครงการวิจัย กัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บริษัท ทีเอชซีจี กรุ๊ป จำกัด วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปบุกเขาค้อ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกและแปรรูปบุก,เกษตรอินทรีย์บ้านทุ่งแพม และวิสาหกิจชุมชนทุ่งนางแลสมุนไพรเพื่อการแพทย์

โดยมี ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นายธนารัตน์ จิตต์พายัพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเอชซีจี กรุ๊ป จำกัด นางอรพินทร์ พญาพิทักษ์สกุล ประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปบุกเขาค้อ นายพลวรรน์ พญาพิทักษ์สกุล รองประธาน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกและแปรรูปบุก,เกษตรอินทรีย์บ้านทุ่งแพม และนายณัฐวรรน์ วรพนิตกุล รองประธาน วิสาหกิจชุมชนทุ่งนางแลสมุนไพรเพื่อการแพทย์ เข้าร่วมงาน

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในครั้งนี้ เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาโครงการวิจัย กัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อนำไปผลิตเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีสารสกัดจากกัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาทางการแพทย์ ทั้งในลักษณะที่เป็นยาสมุนไพร ยาแผนปัจจุบัน และกิจการอื่น ๆ ให้ถูกต้องตาม หลักวิชาการและชอบด้วยกฎหมาย โดยมีขอบเขตความร่วมมือ ดังนี้

1. ร่วมส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนางานวิจัยด้านสายพันธุ์กัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร รวมไป ถึงระบบการเพาะปลูก นวัตกรรมต้านการผลิต การพัฒนาและการจัดจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีสารสกัด จากกัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร เพื่อใช้ในทางการแพทย์ เชิงพาณิชย์ เชิงอุตสาหกรรม และกิจการอื่น ๆ

2. ร่วมพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้และทักษะต้านการวิจัย การผลิต(ปลูก) การแปรรูป(สกัด) การตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีสารสกัดจากกัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและชอบด้วยกฎหมาย

3. สนับสนุน ผลักดัน วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการผลิตยาที่มีส่วนประกอบจากวัตถุดิบและสารสกัดกัญชา กัญชง และพืชสมุนไพร ให้เกิดการนำผลงานวิจัยหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติที่มีสารตั้งต้นของสารสกัด CBD (Cannabidiol) / THC (Tetrahydrocannabinol จากงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ ทางการแพทย์ เชิงพาณิชย์ และเชิงอุตสาหกรรม การครอบครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิใดของผลงานวิจัย โดยให้เป็นไปตามที่ทุกฝ่ายจะได้ตกลงกัน เพื่อดำเนินการตามข้อตกลงนี้ และ

4. ร่วมสนับสนุนการใช้ครุภัณฑ์ เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ ในการสนับสนุนด้านนโยบายเพื่อผลักดัน พัฒนา พร้อมทั้งสนับสนุนด้านคำปรึกษาด้านวิซาการหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


ภาพ/ข่าว  สหรัฐ แก้วตา รายงาน

ปทุมธานี – บิ๊กแจ็ส ชูสมุนไพรไทย! ทางเลือกเสริมภูมิคุ้มกันสู้โควิด-19

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 6 มิถุนายน 2564 ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ตำบลบ้านฉาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี พระมหาขวัญชัย เจ้าอาวาสวัดน้ำตกหรือวัดคีรีวงก์ จ.ชุมพร , นายชูศักดิ์ ศรีราชา รองประธานมูลนิธิตามรอยบาทพระศาสดา , แถลงข่าวเปิดตัวสมุนไทยเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันในยุคไวรัสโควิด-19 ระบาดอยู่ในขณะนี้

โดยมี ดร.สิริภัทร ชมัฒพงษ์ คณบดีแพทย์บูรณาการ มทร.ธัญบุรี , ร.ต.อ.ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต , นางดารา นวลสุทธิ์ แพทย์แผนไทย และประชาชนทั่วไปให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังการแถงข่าวสมุนไพรไทยทางเลือก ซึ่งมีส่วนผสมสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ฟ้าทลายโจร เหงือกปลาหมอ หนุมานประสานกาย พลูคาว และกระชาย ซึ่งเป็นสูตรรักษาไข้พิษไข้กาฬ ซึ่งยาสมุนไพรไทย 5 ชนิดเป็นตำรับยาวัดคีรีวงก์ เสริมภูมิต้านไข้พิษไข้กาฬ ใช้รับประทานในระหว่างที่มีโรคระบาด ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วย ฟ้าทลายโจร 44 มิลลิกรัม , เหงือปลาหมอ 89 มิลลิกรัม , หนุมานประสานกาย 89 มิลลิกรัม , พลูคาว 89 มิลลิกลัม และกระชาย 89 มิลลิกรัม หากยังไม่ติดเชื้อให้รับประทานครั้งละ 2 แคปซูลต่อสัปดาห์ หลังอาหารหรือก่อนนอน ส่วนผู้ที่ติดเชื้อแล้ว (โดสละ 28 แคปซูล) ผู้ใหญ่ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หลังอาหาร ต้องรับประทานต่อเนื่อง 7 วัน เพื่อเพิ่มฤทธิ์ยาให้ดื่มน้ำหอมแดงต้ม 1 แก้วต่อ1วัน

พระมหาขวัญชัย เจ้าอาวาสวัดน้ำตกหรือวัดคีรีวงก์ จ.ชุมพร กล่าวว่า อยากให้ญาติโยมทุกท่านเปิดใจรับฟังก่อน ว่าความเป็นมาในการใช้สมุนไพรไทยมีความเป็นมาตั้งแต่อดีต อาตมาได้ทำสมุนไพรแจกให้กับชาวบ้านตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 เพื่อให้ทานเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เนื่องจากโรคที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ตามหลักที่คนโบราณได้ใช้สมุนไพรดูแลชาวบ้านมา ซึ่งการใช้ยาสมุนไพรอย่างถูกวิธี เช่น นายก อบจ.ปทุมธานี ได้เอายาสมุนไพรทดลองใช้กับชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอีกหลายตำหรับ ซึ่งเป็นผลผลิตจาก แพทย์แผนไทยและพื้นบ้านทั่วประเทศ เพื่อต้องการช่วยเหลือชาวบ้าน แล้วสรุปเมื่อใช้แล้วเห็นผลว่าเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สูตรยานี้หลวงปู่พัน จันทสิริ อดีตเจ้าอาวาสวัดบรรพตวิสัย จังหวัดชุมพร ท่านเคยได้ใช้ช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวบ้านในสมัยเมื่อ 100 ปีที่แล้ว โดยมีสูตรสมุนไพรดังนี้ พลูคาว หนุมานประสานกาย เหงือกปลาหมอ กระชาย และฟ้าทลายโจร ซึ่งสูตรยานี้เป็นของคนไทยทั่วประเทศ ทั้งนี้เป็นหน้าที่ของเราทุกคนทั่วประเทศที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกับ เพื่อให้ประเทศไทยของเรากลับมาสงบสุข

ส่วน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า ตนเองได้ศึกษาเรื่องยาสมุนไพรมากว่า 30 ปี ที่ผ่านมาเราใช้สมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เราต้องนึกถึงการใช้สมุนไพร ซึ่งศาสตร์ของพระมหาขวัญชัย อัคคชโย วัดคีรีวงก์ จังหวัดชุมพร ตนจึงได้ศึกษาดู หากใช้สมุนไพรฟ้าทลายโจรอย่างเดียวตามที่สาธารณสุขจ่ายให้คนไข้โควิด-19 เพียงแต่ชะลออาการ หากมีสมุนไพรตัวอื่นร่วมด้วย เช่น หนุมานประสานกายที่มีสรรพคุณฟอกปอด และสมุนไพรตัวอื่น ๆ ทั้งนี้ยาชุดนี้ไม่ได้คุยว่ารักษาโควิด-19 ได้ เพียงแต่ว่าเป็นการเสริมภูมิในร่างกาย เราได้ทดลองกับคนไข้จำนวน 100 คน ที่ผ่านมาตรวจคัดกรองด้วยแรปบิทแอนติเจนเทส เป็นผลบวกวันละ 40-50 คน เมื่อพบว่าติดเชื้อเราได้ทำประวัติและถ่ายภาพไว้ แล้วรับยาไป แล้วต้องทาน ผ่านไป 5 วันกลับมาตรวจใหม่ ผลออกมาเป็นลบ จะให้เราเข้าใจว่าอย่างไร ตนไม่ได้บอกว่าหายหรือไม่หาย แต่บอกว่าผลเป็นลบ นอกจากนี้ยังได้เอ็กซเรย์ปอดซ้ำพบว่าปอดปกติ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น

ซึ่งคิดว่าเรามาถูกทางแล้ว เพียงแต่ว่า สาธารณสุขจะยอมรับหรือไม่ หากเปิดใจยอมรับแพทย์สมุนไพร ผู้ใหญ่ในสาธารณสุขก็โตมาจากสมุนไพร ลอกเปิดใจกัน เอาวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์มา รีบวิจัยตรงนี้ด่วน หากพบว่าสมุนไพรมีผลจริงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านโควิด-19 ได้จริง สมุนไพรไทยจะเป็นสินค้าส่งออกทำเศรษฐกิจไทยฟื้นฟูขึ้นมาได้ เพราะว่าโควิ-19ได้ระบาดไปทั่วโลก ทั่วโลกก็ต้องคิดถึงสมุนไพรไทย จะเป็นสิ่งที่ทำให้พี่น้องประชาชนเกิดรายได้อย่างดี ที่ผ่านมาผมได้ทดลองภายในจังหวัดปทุมธานี ต่อจากนี้ผมจะแจกยาสมุนไพรตัวนี้ให้พี่น้องชาวปทุมธานีให้ไปทานเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายของพี่น้องชาวปทุมธานี ตนเองจะพาพี่น้องชาวปทุมธานีให้รอดจากสงครามไวรัสครั้งนี้ไปได้ด้วยความปลอดภัย

ทางด้าน นายเอกภพ คงมีสุข อายุ 52 ปี ชาวปทุมธานี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 ที่ผ่านมาพบว่าตนเองมีอาการไม่สบาย จึงได้เดินทางมาตรวจคัดกรองด้วยแรปบิทแอนติเจสเทสที่ อบจ.ปทุมธานี ผลตรวจออกมาเป็นบวก ทางอบจ.ให้ยาสมุนไพรมาทาน ผมก็ทานตามที่ฉลากแนะนำ ขณะที่ป่วยมีอาการลิ้นไม่รู้รส จมูกไม่ได้กลิ่นเลย จนอาการดีขึ้นก็คือกินข้าวแล้วรู้สึกถึงรสชาต ได้กลิ่มหมอของน้ำแกง จากนั้นวันที่ 19 ผมเข้ามาตรวจที่ อบจ.พบว่าผลออกมาเป็นลบ


ภาพ/ข่าว  สหรัฐ แก้วตา รายงาน

ปทุมธานี - บิ๊กแจ๊ส อนุมัติงบ 25 ล้านให้กับพุทธศาสนา สร้างอาคารปฏิบัติธรรมและอุโบสถ ปลูกฝังเยาวชนประชาชนเป็นดี

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564 ที่วัดโบสถ์ ตำบลบางกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานีพร้อมด้วยคณะบริหาร และเจ้าหน้าที่ อบจ.ปทุมธานี ร่วมมอบเงินอุดหนุนวัดโบสถ์เพื่อสมทบการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมจังหวัดปทุมธานี เป็นจำนวนเงิน 15,000,000 บาท โดยมี พระราชวรเมธาอาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ (ฝ่ายธรรมยุต) รับถวายเพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรม ส่วนวัดเทพสรธรรมาราม ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี  พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานีพร้อมด้วยคณะบริหาร และเจ้าหน้าที่ อบจ.ปทุมธานี ได้มอบเงินสมทบการก่อสร้างอุโบสถวัดเทพสรธรรมาราม เป็นเงินจำนวน 10,000,000 บาท

โดยมี พระอาจารย์เทียนชัย ชัยทีโป เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพสรธรรมาราม รับถวาย ซึ่งขณะนี้ทางวัดอยู่ระหว่างการก่อสร้างอุโบสถเพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และทำกิจกรรมของสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาต่อไป ทางด้าน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า เนื่องจากวัดโบสถ์เป็นวัดสายธรรมยุติมีการปฏิบัติธรรม แต่ยังขาดอาคารที่ใช้ปฏิบัติธรรม ทางวัดได้ของบประมาณส่วนหนึ่งมาทาง อบจ.จึงได้สนับสนุนเป็นงบประมาณ 15 ล้านบาท โดยทางวัดก็จะเดินหน้าก่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรม ต่อไป ประชาชนและเยาวชนของเราจะได้เข้ามาร่วมกิจกรรมปฏิบัติธรรมภายในวัดแห่งนี้ ถือว่าโครงนี้เป็นการปลูกฝังให้เด็กเยาวชนของเราให้มีความเข้าใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา รวมถึงเป็นการฟื้นฟูศาสนาของเราต่อไป

ในส่วนของการฉีดวัคซีนตนมีความมั่นใจว่าวัดทุกวัดในจังหวัดปทุมธานีทาง อบจ.ได้ดำเนินการฉีดพ่นฆ่าเชื้อทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคาร รวมถึงพระสงฆ์ทุกองค์ในจังหวัดปทุมธานี ทั้งธรรมยุติและมหานิกาย ได้ฉีดวัคซีนทางเลือกซิโนฟาร์มให้พระสงฆ์ทุกรูปในจังหวัดปทุมธานี ทั้ง 2 เข็มเรียบร้อยแล้ว   ซึ่งทาง อบจ.ได้สร้างความมั่นใจให้กับพุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญกับวัดทุกวัดในจังหวัดปทุมธานี อย่างปลอดภัย  ตนเองอยากจะทำกำไลริสแบนด์เป็นสัญลักษณ์ให้ทราบว่าฉีดครบ 2 เข็มแล้ว


ภาพ/ข่าว  ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน

ปทุมธานี - ผู้ว่าฯปทุมธานี ให้เกียรติเป็นประธาน กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเนื่องในวันประมงแห่งชาติ ประจำปี 2564 ณ วัดสะแก ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก

วันที่ 9 กันยายน 2564 เมื่อเวลา 10.00 น นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธาน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในวันประมงแห่งชาติ ประจำปี 2564 โดยมีพระอธิการเริงชัย ฐานุตตฺโร เจ้าอาวาสวัดสะแก พร้อมด้วย ประมงจังหวัดปทุมธานี นายอำเภอสามโคก / ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปทุมธานี นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสามโคก หัวหน้าส่วนราชการ / ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสะแก และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน

เนื่องในวันประมงแห่งชาติประจำปี 2564 ตามมติครมเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2549 อนุมัติให้ในวันที่ 21 กันยายนของทุกปีเป็นวันประมงแห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อได้รำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นมาเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2469 ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมการประมงและเป็นกรมประมงในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ในการจัดงานมีดังนี้

1.เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้พี่น้องประชาชนให้เกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรสัตว์น้ำ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำธรรมชาติ

 2.เพื่อเพิ่มพูนผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติและรณรงค์ให้ชุมชนมีส่วนร่วมและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรสัตว์น้ำ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและร่วมกันบริหารจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนและ

3.เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนชาวประมงและประชาชนในการบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ในการจัดพิธีปล่อยพันธุ์ปลา

ในการจัดพิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนพันธุ์น้ำจืดจากศูนย์วิจัยและพัฒนา เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปทุมธานีจำนวน 500,000 ตัว ชนิดพันธุ์ ของปลาประกอบด้วย

1.ปลาตะเพียนทอง 100,000 ตัว

 2.ปลาตะเพียนขาว 300,000 ตัว

 3.ปลาสร้อยขาว 50,000 ตัว

และ 4.ปลาหมอ 50,000 ตัว


ภาพ/ข่าว  สหรัฐ แก้วตา

ปทุมธานี - ฉีดวัคซีนเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มพื้นที่สีแดงเข้ม สสจ.ขอบคุณทุกภาคส่วนช่วยผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี นายแพทย์สุรินทร์ สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ได้เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ภายในจังหวัดปทุมธานี มีผู้ติดเชื้อลดลงเนื่องจากประชาชนตระหนักรู้ในการป้องกันตนเอง และทุกภาคส่วนร่วมมือช่วยเหลือกันฝ่าวิกฤติโควิด-19 มีประชาชนชาวปทุมธานีได้รับการฉีดวัคซีนแล้วกว่า 910,000 คน คิดเป็น 78 เปอร์เซ็นต์ตามทะเบียนราษฎร์ เป็นอันดับ 2 รองจากกรุงเทพ ซึ่งเป็นจังหวัดในกลุ่มพื้นที่สีแดงเข้มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

นายแพทย์สุรินทร์ สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ภายในจังหวัดปทุมธานีนั้นตามสถิติจังหวัดปทุมธานีไม่ติด 1 ใน 10 ของประเทศหลายอาทิตย์แล้ว จากการประเมินการติดเชื้อภายในจังหวัดปทุมธานีอยู่ในระดับทรงตัว มีแนวโน้มที่จะลดลง วันนี้เราได้ร่วมมือกับท้องถิ่นและกับทุกภาคส่วนในการดำเนินการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงนี้ถือว่าเป็นจุดสูงสุดของสถานบริการการการแพทย์ภายในจังหวัดปทุมธานี ทั้งโรงพยาบาลภาครัฐ เอกชนสามารถดำเนินการได้อย่างครอบคลุมมาก ในภาคเอกชนได้เปิดโรงพยาบาลรวมแล้วหลาย 1,000 เตียง สามารถรองรับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี โรงพยาบาลสนามก็ร่วมมือร่วมใจกัน ทั้งภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น ช่วยเหลือกับทำโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วย ทำให้มีจำนวนเตียงสามารถดำเนินการรับผู้ป่วยได้ ศูนย์พักคอย หรือ Community Isolation ทางท้องถิ่นได้เปิดดำเนินการเกือบทุกที่ สามารถดำเนินการได้เป็นอย่างดี

ส่วนการกักตัวเองและดูแลที่บ้าน Home Isolation ประชาชนมีความเข้าใจมากขึ้นในการที่จะดูแลตัวเองที่บ้าน ร่วมกับทุกภาคส่วนในการช่วยเหลือสนับสนุน สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยที่มีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้จำนวนผู้ป่วยจะลดลงแล้ว แต่เรายังต้องมีการสุ่มตรวจ  Active surveillance เฝ้าระวังเชิกรุกในจุดสำคัญทั้งหมดว่ายังมีผู้ติดเชื้อในระดับอย่างไรบ้าง เช่น ตลาด แคมป์คนงานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนแออัด ผมได้มอบนโยบาลให้ทุกอำเภอลงพื้นที่สุ่มตรวจอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อประเมินสถานการณ์ในภาพรวมของจังหวัดปทุมธานี ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงเนื่องจากประชาชนมีการดูแลตัวเองเป็นอย่างดี

นอกจากนี้จังหวัดปทุมธานียังมีการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมมาก เบื้องต้นมีประชาชนชาวปทุมธานีได้รับการฉีดเข็มแรกไปแล้ว 910,000 คน เมื่อฉีดเข็มแรกหนึ่งไปแล้วการนัดฉีดเข็มสองจะตามมาเอง หากคำนวณตามจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ก็ได้รับการฉีดวัคซีนไปจำนวน 78  เปอร์เซ็นต์แล้ว หากรวมประชากรแฝงด้วยจังหวัดปทุมธานีได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 65 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะไม่ไกลเกินเอื้อมจะให้ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ตามเป้าหมาย ส่วนกลุ่มที่สำคัญคือกลุ่มผู้สูงอายุได้ 72 เปอร์เซ็นต์ ส่วน 7 กลุ่มโรคได้รับการฉีดเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว และกลุ่มคนท้องได้ 50-60 เปอร์เซ็นต์แล้ว ถือว่าปทุมธานีฉีดวัคซีนมากสุดเป็นอันดับ 2 รองจากกรุงเทพ ซึ่งเป็นจังหวัดในกลุ่มพื้นที่สีแดงเข้มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งปัจจัยที่ผู้ป่วยภาพร่มลดลงคือการฉีดวัคซีน เราจึงต้องรณรงค์ต้องไป และคงจุดฉีดวัคซีนทุกโรงพยาบาลในจังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย โรงพยาบาลภาครัฐ 11 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 12 แห่ง ประชาชนสามารถเข้าถึงทุกอำเภอ และมีศูนย์ฉีดวัคซีนใหญ่อีก 2 แห่ง คือ ฟิวเจอร์พาร์ครังสิตเป็นการฉีดวัคซีนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และเซียร์รังสิต ของประกันสังคม เมื่อได้รับวัคซีนแล้วในอนาคตโอกาสติดเชื้อจะน้อยลง ถึงติดเชื้อก็ไม่รุนแรง ลดการเสียชีวิต ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ช่วยเหลือให้ปทุมธานีผ่านวิกฤตสถานการณ์โควิดนี้ไปด้วยกัน


ภาพ/ข่าว  ประภาพรรณ ขาวขำ / รายงาน

ปทุมธานี - ศธ.จับมือ สพฐ. มรภ.วไลยอลงกรณ์ ประกาศเดินหน้าพลิกโฉมสร้างนวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียน จาก Passive Learning สู่ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 ณ หอประชุมคุรุสภา กรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาได้จัดให้มีการประชุมทางวิชาการประกาศนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “ประกาศเดินหน้าพลิกโฉมสร้างนวัตกรรมครูสู๋นวัตกรรมนักเรียน ก้าวข้ามสภาวะวิกฤต Covid -19 แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps” ขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นผลสำเร็จของการดำเนินการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดให้มีการพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมผ่านการ Coaching ของผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในโรงเรียนต้นแบบภาคเหนือจำนวน 10 จังหวัด รวม 30 โรงเรียน จำแนกเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 10 โรงเรียน โรงเรียนขนาดกลาง 10 โรงเรียน และโรงเรียนขนาดใหญ่ 10 โรงเรียน ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เกิดผลงานจากการปฏิบัติเป็นนวัตกรรมครูสู๋นวัตกรรมของนักเรียนจำนวนมากกว่า 1,500 นวัตกรรม และหวังให้เกิดคลื่นการพัฒนาการจัดการศึกษาไทยในยุค New Normal อย่างกว้างขวางต่อไป

ในการนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความชื่นชมยินดีถึงผลสำเร็จของความพยายามในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติครั้งนี้ ที่มีความชัดเจนสะท้อนให้เห็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตอบสนองเจตนารมณ์ของมรัฐธรรมนูญ มาตรา 54, มาตรา 258 จ.(4) และนโยบายของรัฐบาลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ที่กำหนดให้ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียนรายบุคคลตามหลักการพหุปัญญา และเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องขับเคลื่อนมากขึ้นกว่าเดิมโดยต้องเร่งดำเนินการให้เต็มกำลัง เพื่อให้เกิดผลจริงตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวว่า ในการที่เราจะปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนที่จะจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นั้น ครูจะต้องปรับบทบาทของตนเอง ในยุคปัจจุบัน ครูจะต้องมีบทบาทหน้าที่หลายอย่าง ครูต้องทำหน้าที่ Coaching ได้ ครูต้องเป็นต้นแบบเป็นตัวอย่าง ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ให้มากขึ้นยิ่งในยุค New Normal เช่น ครูจะต้องทำสื่อต่าง ๆ ขึ้นเองได้ เช่น vdo clip สื่อการเรียนการสอนให้มากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น

ปทุมธานี - บิ๊กแจ๊สไม่ยอม! ให้ปทุมธานีเป็นแก้มลิง เพื่อรับน้ำป้องกันน้ำท่วมเต็มที่!

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว 24 ชั่วโมง เตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง และลงเรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเก็บของขึ้นที่สูง หลังผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานีเตือนประชาชนให้ระมัดระวังและให้ทุกอำเภอ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ฝนตกหนักหรืออาจเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ จ. ปทุมธานี ได้แก่ พื้นที่เสี่ยงที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เกษตรกร ที่ประกอบอาชีพประมง เพาะปลูก หรือเลี้ยงสัตว์บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริษัทห้างร้าน ที่ประกอบกิจการ ในแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น ร่วมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ประกาศส่งผลให้ระดับน้ำเจ้าพระยาจะสูงขึ้น 30 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า เนื่องจากเมื่อวานฝนตกหนักจนถึงวันนี้ก็ยังตกอยู่ ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีได้ออกคำสั่งแล้วว่า ให้แจ้งเตือนพี่น้องชาวปทุมธานีที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ให้เตรียมยกของขึ้นที่สูง วันนี้ได้เอาเรือออกและเตือนพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งให้เตรียมขนของขึ้นที่สูง ซึ่งพี่น้องประชาชนทั้งสองฝั่งเจ้าพระยา เขาใช้ชีวิตปกติอยู่แล้ว ในฤดูน้ำหลากเขาจะมีการเตรียมตัวของเขาอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็ต้องแจ้งเตือน เพราะอาจจะมีหลายคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารทางโซเซียล อาจไม่ทราบข้อมูลข่าวสาร จึงได้จัดเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เพื่อเป็นการเตรียมการ

โดยให้นายชัยวัฒน์ อินทร์เลิศ ประธานสภาสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี นายสมร แตงอ่อนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ให้ไปดูเขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท เพื่อดูปริมาณน้ำที่แท้จริง ที่ได้ปล่อยน้ำลงมา เพื่อที่จะวางแผนให้พี่น้องประชาชนถูก เพราะจังหวัดปทุมธานีต้องแบ่งออกเป็นสองส่วน 1.พี่น้องที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 2. ประชาชนที่อาศัยอยู่ในช่วงคลองระบายน้ำ รังสิตเหนือและรังสิตใต้ ซึ่งจังหวัดปทุมธานีจะไม่ใช้แกมลิงอีกต่อไป หากคิดว่าจังหวัดปทุมธานีเป็นแกมลิง พี่น้องชาวปทุมธานีที่อยู่หมู่บ้านจัดสรรอีกหลายร้อยหลายพันหมู่บ้านจะต้องเดือดร้อนหากผันน้ำเข้ามาท่วมทุ่งรังสิต 

2 เดือนที่ผ่านมาเราได้เตรียมการไว้แล้ว

1.เอารถดูดโคลนเข้าไปตามหมู่บ้านจัดสรร เพื่อล้างท่อระบายน้ำ ทั้งหมด ซึ่งได้ทำไปเยอะแล้ว

2.ได้นำเรือโป๊ะแบคโฮขุดลอกคลองทุกคลอง คลองส่งน้ำต้องเป็นคลองส่งน้ำ จะมีแต่สิ่งปริกูลมีแต่ขยะเต็มคลองอย่างนั้นไม่ได้ เราไล่ดำเนินการตั้งแต่คลองระพีพัฒน์ไปจนถึงคลองรังสิตประยูศักดิ์ระยะทาง 22 กิโลเมตร ทุกคลองต้องไม่มีผักตบชวาและไม่มีหญ้าขึ้นอีกต่อไป

 

ปทุมธานี - ‘บิ๊กแจ๊ส’ เดินลุยน้ำพา นร.อาชีวะ ลงพื้นที่ตลาดเก่าแก่อิงน้ำ ช่วยปชช.ริมเจ้าพระยา เลื่อนปลั๊กไฟเตรียมป้องกันโบราณสถาน

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 08:30 น. ที่ท่าเรือหน้าวิทยาลัยเทคนิคปทุมานี ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี ได้ขับเรือยนต์ พร้อม เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปทุมธานี เพื่อมารับนักเรียนอาชีวศึกษาสาขาช่างไฟฟ้าวิทยาลัยเทคนิคปทุมานี เพื่อพาล่องเรือตรวจระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและช่วยย้ายสายไฟ ปลั๊กไฟและ มิเตอร์ไฟฟ้าให้กับบ้านริมน้ำตลอดเส้นทางจากนั้นได้ลงพื้นที่ตลาดอิงน้ำ ซึ่งเป็นตลาดเก่าแก่ ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่อตรวจเยี่ยมประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำพร้อมช่วยย้ายปลั๊กไฟและสิ่งของขึ้นที่สูง

โดยมี นายสิระพงษ์ สิริโพธินันท์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี , ร.ต.อ.ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต , นายกฤษดา พงษ์เสริม ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปทุมธานี พร้อมทีมงาน, นายระเด่น ดวงแก้ว อาจารย์สาขาช่างไฟฟ้ากำลังพร้อมอาจารย์อีก 5 คน และนักเรียนอาชีวศึกษาสาขาช่างไฟฟ้า จิตอาสาอีกจำนวน 6 คน ร่วมลงพื้นที่ย้ายปลั๊กไฟและหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในจุดที่ใกล้ระดับน้ำ

ในส่วนของเทศบาลนครรังสิต ได้ระดมสูบน้ำจนสถานการณ์เป็นปกติ โดยสถานีสูบน้ำกึ่งถาวรปากคลองรังสิตฯ เดินเครื่องสูบน้ำ 6 ลบ.ม./วินาที จำนวน 8 เครื่อง ระดับน้ำด้านเหนือน้ำ(คลองรังสิต) +1.65 ม.รทก. ระดับน้ำด้านท้ายน้ำ(แม่น้ำเจ้าพระยา) +2.05 ม.รทก. , สถานีสูบน้ำเปรมใต้ เดินเครื่องสูบน้ำ 3 ลบ.ม./วินาที จำนวน 1 เครื่อง ระดับน้ำเปรมใต้(คลองเปรมประชากร) +0.60 ม.รทก. ระดับน้ำคลองรังสิต +1.80 ม.รทก. , สถานีสูบน้ำจุฬาฯ1 เดินเครื่องสูบน้ำ 6 ลบ.ม./วินาที จำนวน 1 เครื่อง , สถานีสูบน้ำจุฬาฯ2 เดินเครื่องสูบน้ำ 6 ลบ.ม./วินาที จำนวน 4 เครื่อง , สถานีสูบน้ำจุฬาฯ3 เดินเครื่องสูบน้ำ 3 ลบ.ม./วินาที จำนวน 4 เครื่อง ระดับน้ำด้านเหนือน้ำ(ด้านในคลองรังสิต) +1.08 ม. รทก. ระดับน้ำด้านท้ายน้ำ(ด้านซ่อมสร้าง) +1.82 ม. รทก. ซึ่งระดับภายในเขตรังสติอยู่ในระดับสภาวะปกติ

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า สิ่งที่เราห่วงคืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ต่ำแล้วกลัวว่าน้ำจะท่วมแล้วประชาชนจะได้รับอันตราย เมื่อเราลงพื้นที่สำรวจพบว่ามีบางบ้านที่จำเป็นต้องปิดไฟหมด เพราะว่ากลัวกระแสไฟฟ้าดูด ต้องขอขอบคุณทางท่านผู้จัดการไฟฟ้าจังหวัดปทุมธานี และวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี ได้จัดอาจารย์และนักศึกษไฟฟ้ากำลังมาร่วมแก้ไขปัญหาให้ประชาชนและสามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้จริง ๆ ทางเราจะดำเนินการต่อไปและถ้าประชาชนต้องการความช่วยเหลือก็สามารถแจ้งมาที่ทางการไฟฟ้า เบอร์ด่วน 1129 เพื่อช่วยแก้ไขความเดือดร้อนเรื่องไฟฟ้า

นอกจากนี้ ตนเองยังจัดอุปกรณ์ตรวจสอบกระแสไฟรั่วในน้ำให้กับทางการไฟฟ้าและทางคณะของเทคนิคปทุมเพื่อให้ไปใช้ตรวจสอบกระแสไฟในน้ำ หากในน้ำมีกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์ตัวนี้จะสั่น เราจึงนำมามอบให้พี่น้องประชาชนบางส่วนก่อน เพื่อเอาไว้ใช้ตามหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย และเราได้ประเมินสถานการณ์น้ำวันต่อวันโดยให้ นายชัยวัฒน์ อินทร์เลิศ และนายสมร แตงอ่อน สมาชิกสภาองค์หารบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ไปเกาะติดที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เมื่อเขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำมาจนมาที่ อ.บางไทร ปล่อยน้ำเท่าไร ซึ่งตอนนี้ปล่อยน้ำเกิน 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ถือว่ายังอยู่ในสถานการณ์วิกฤต พี่น้องประชาชนต้องเฝ้าระวัง และวันที่ 15 ตุลาคม 2564 จะมีพายุใหญ่เข้ามาอีก จึงต้องมาดูเตรียมความพร้อมเพื่อระมัดระวังกันต่อไป

 

ปทุมธานี - บิ๊กแจ็ส จับมือท้องถิ่นลอกคลองหนองเสือ เตรียมรับมือ ‘พายุไลออนร็อค’

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 08:30 น. ที่คลอง 10 บริเวณที่เขื่อนหน้าที่ว่าการอำเภอหนองเสือ ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี นายเสวก ประเสริญสุข , นายสิระพงษ์ สิริโพธินันท์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี , ร.ต.อ. ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต , นายวริศ เจริญกัลป์ นายกเทศมนตรีตำบลหนองเสือ ร่วมลงพื้นที่ติดตามตรวจการทำงานขุดลอกคลองโดยใช้เรือโป๊ะในการขุดลอกภายในคลอง 10 ซึ่งเป็นหนึ่งคลองจากการดำเนินการทั้งหมด14 คลองเพื่อเป็นการปรับทัศนียภาพเเละกำจัดวัชพืชบริเวณผิวน้ำ รวมไปถึงรองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดปัญหาอุทกภัยในช่วงสองวันข้างหน้าหากมีผลกระทบจากน้ำฝนและเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับปริมาณน้ำรวมไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลทำให้ระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นอีก 30 - 50 เซนติเมตร และรับพายุหมายเลข 17  ไลออนร็อค จะทำให้ฝนตกหนักในภาคเหนือและอีสานตอนบนในวันที่ 11-12 ต.ค.64 นี้

สืบเนื่องกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ มีประกาศแจ้งว่าได้ประเมินสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก พบว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,775 - 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564 ปริมาณน้ำหลากสูงสุดจากเขื่อนปาสักชลสิทธิ์ได้ไหลผ่านเขื่อนพระรามหกสูงสุดในอัตรา 762 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยคาดว่าในวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ปริมาณน้ำหลากรวมกันผ่าน อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์สูงสุดที่ 3,050 - 3,150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะไหลออกสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 7-10 ตุลาคม 2564 ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดสภาวะน้ำทะเลหนุนสูง คาดว่าจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 30-50 เซนติเมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี จึงเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าว

โดยแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัทห้างร้านที่ประกอบกิจการริมแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก ทราบถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบัน และเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ขอให้อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก กำชับผู้อำนวยการท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ติดตามสถานการณ์และตรวจสอบแนวคันกันน้ำให้มีความพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าว ตลอดจนประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เตรียมความพร้อม กำลังพล วัสดุ อุปกรณ์เครื่องจักร และยานพาหนะ ให้พร้อมปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง หากเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ให้รายงานสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทราบทันที ผ่านทางสายด่วน 1784

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top