ปทุมธานี - ศธ.จับมือ สพฐ. มรภ.วไลยอลงกรณ์ ประกาศเดินหน้าพลิกโฉมสร้างนวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียน จาก Passive Learning สู่ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 ณ หอประชุมคุรุสภา กรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาได้จัดให้มีการประชุมทางวิชาการประกาศนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “ประกาศเดินหน้าพลิกโฉมสร้างนวัตกรรมครูสู๋นวัตกรรมนักเรียน ก้าวข้ามสภาวะวิกฤต Covid -19 แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps” ขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นผลสำเร็จของการดำเนินการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดให้มีการพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมผ่านการ Coaching ของผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในโรงเรียนต้นแบบภาคเหนือจำนวน 10 จังหวัด รวม 30 โรงเรียน จำแนกเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 10 โรงเรียน โรงเรียนขนาดกลาง 10 โรงเรียน และโรงเรียนขนาดใหญ่ 10 โรงเรียน ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เกิดผลงานจากการปฏิบัติเป็นนวัตกรรมครูสู๋นวัตกรรมของนักเรียนจำนวนมากกว่า 1,500 นวัตกรรม และหวังให้เกิดคลื่นการพัฒนาการจัดการศึกษาไทยในยุค New Normal อย่างกว้างขวางต่อไป

ในการนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความชื่นชมยินดีถึงผลสำเร็จของความพยายามในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติครั้งนี้ ที่มีความชัดเจนสะท้อนให้เห็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตอบสนองเจตนารมณ์ของมรัฐธรรมนูญ มาตรา 54, มาตรา 258 จ.(4) และนโยบายของรัฐบาลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ที่กำหนดให้ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียนรายบุคคลตามหลักการพหุปัญญา และเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องขับเคลื่อนมากขึ้นกว่าเดิมโดยต้องเร่งดำเนินการให้เต็มกำลัง เพื่อให้เกิดผลจริงตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวว่า ในการที่เราจะปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนที่จะจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นั้น ครูจะต้องปรับบทบาทของตนเอง ในยุคปัจจุบัน ครูจะต้องมีบทบาทหน้าที่หลายอย่าง ครูต้องทำหน้าที่ Coaching ได้ ครูต้องเป็นต้นแบบเป็นตัวอย่าง ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ให้มากขึ้นยิ่งในยุค New Normal เช่น ครูจะต้องทำสื่อต่าง ๆ ขึ้นเองได้ เช่น vdo clip สื่อการเรียนการสอนให้มากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น

ซึ่งโครงการดังกล่าวสำเร็จได้นั้นเกิดจากความร่วมมือของบริหารและคุณครูของโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการ ผลของการทำงานร่วมกัน ระหว่างมหาวิทยาลัยกับคณะครู ทำให้เราได้ตัวอย่างความสำเร็จ ที่มากมาย ที่สามารถเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ โดยเราจะมีการขยายองค์ความรู้ไปทั่วประเทศ ผ่าน platform ของมหาวิทยาลัยที่กำลังพัฒนา เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เชื่อว่าเราจะสามารถที่ก้าวไปถึงระดับนานาชาติได้อย่างแน่นอน อธิการบดีกล่าว


ภาพ/ข่าว  ประภาพรรณ ขาวขำ รายงาน