Monday, 21 April 2025
ท่านพุทธทาสภิกขุ

'การให้อภัย' ไม่อาจเปลี่ยนแปลงอดีตได้ แต่ 'การให้อภัย' นั้น อาจเปลี่ยนแปลงอนาคตได้

การให้อภัย ไม่อาจเปลี่ยนแปลงอดีตได้

แต่การให้อภัยนั้น อาจเปลี่ยนแปลงอนาคตได้

- ท่านพุทธทาสภิกขุ - 

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2565 : ท่านพุทธทาสภิกขุ

ปัญหา...เป็นสิ่งที่เราต้องแก้
กรรม...เป็นสิ่งที่เราต้องชดใช้
ทุกข์..เป็นสิ่งที่เราต้องดับ
เหล่านี้เป็นภาระชีวิตของเรา

-ท่านพุทธทาสภิกขุ-

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2565 : ท่านพุทธทาสภิกขุ

สุขแท้...
เกิดจากความสงบเท่านั้น
ส่วนสุขที่เกิดจากความวุ่นวาย
เป็นเพียงความสนุก
หาใช่ความสุขไม่

- ท่านพุทธทาสภิกขุ -

#THESTATESTIMES
#WeekendNews
#ธรรมะวันอาทิตย์
#ธรรมะ 
#ท่านพุทธทาสภิกขุ

8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ‘พระธรรมโกศาจารย์’ (ท่านพุทธทาสภิกขุ) มรณภาพ ด้าน 'ยูเนสโก' ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

‘พระธรรมโกศาจารย์’ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม ‘ท่านพุทธทาสภิกขุ’ เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ท่านได้ตัดสินใจมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านพร้อมปวารณาตนเองเป็น ‘พุทธทาส’ เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่

ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และยังมีผลงานอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลังในการศึกษาศาสนาพุทธเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ

ทั้งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา

หลังจากที่ท่านได้มรณภาพไปแล้ว ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2548 องค์การยูเนสโก ประกาศยกย่องให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของมวลมนุษย์


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top