Thursday, 22 May 2025
ทรงพระเจริญ

รัฐบาล เชิญชวน!! ประชาชน ร่วมงานพระราชพิธีสมมงคล เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 14 ม.ค. นี้

(12 ม.ค. 68) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ (สลค.) แจ้งการเลื่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งที่ 2 จากเดิมในวันอังคารที่ 14 มกราคม มาเป็นวันจันทร์ที่ 13 มกราคม ในเวลา 10.00 น. เนื่องด้วยในวันที่ 14 มกราคม รัฐบาลได้จัดงาน ‘พระราชพิธีสมมงคล’ (สะ-มะ-มง-คล) โดยนายกรัฐมนตรีเชิญชวนคนไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ ‘พระราชพิธีสมมงคล’ ซึ่งรัฐบาลได้จัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคล พระชนมายุเท่ากับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในวันที่ 14 มกราคม 2568

นายจิรายุ กล่าวว่า ในส่วนของกิจกรรม ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ดังนี้ 1.พิธีสืบพระชะตาหลวง ณ สวนสราญรมย์ และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 13-20 มกราคม 2568 2.การบูรณปฏิสังขรณ์ วัดสังกัสรัตนคีรี จ.อุทัยธานี 3.การจัดแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ณ ลานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บริเวณสะพานพระพุทธยอดฟ้า กรุงเทพมหานคร ในวันที่อังคารที่ 14 มกราคม 2568

4.การจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติฯ 5.การจัดพิธีทางศาสนาและกิจกรรมถวายพระราชกุศล ณ ศาสนสถานที่เกี่ยวเนื่องกับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 6.การจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตตภาวนา ถวายพระราชกุศล และ 7.การจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กรุงเทพมหานคร

“วันที่ 14 มกราคมนี้ นับเป็นโอกาสมหามงคลสมัยพิเศษ เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมายุได้ 26,469 วัน เป็นวันสมมงคล (สะ–มะ-มง-คล) เท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีสำคัญในครั้งนี้” นายจิรายุ กล่าวทิ้งท้าย

‘มาดามน้ำชา’ เผย!! พระองค์ท่าน ทรงเป็นกลาง ทางการเมือง ลั่น!! อย่าดึง ‘สถาบันเบื้องสูง’ ลงมาทำเป็น ‘คอนเทนต์’ 

(9 มี.ค. 68) มาดามน้ำชา TikToker ชื่อดัง โพสต์คลิป ย้ำ!! ‘ในหลวง’ ไม่เคยแบ่งแยกสี ไม่เคยแบ่งแยกคนในชาติ ทรงรักพสกนิกร เท่ากันทุกคน โดยระบุว่า ...

ฝากอินฟลูเบอร์ใหญ่ ... อย่า!! 

อย่านําลุงตู่ อย่าเอ่ยถึงในหลวง ว่ามาเกี่ยวโยงอะไรกับการเมือง ยุทธศาสตร์ชาติ รัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวค่ะนะคะ 

ในหลวงพระองค์ท่านเป็นกลางทางการเมือง
อยู่นอกอยู่เหนือหลุดพ้นแล้ว ซึ่งการเมือง
ลุงตู่ท่านเป็นผู้นํา เราก็จริงนะคะก่อนหน้านี้ แต่ตอนนี้ท่านเป็นองคมนตรี แล้ว
ท่านเป็นผู้ชายที่นั่งอยู่ในดวงใจของพวกเรา ภาคภูมิใจในตัวลุงตู่
อย่านํามาสร้างเป็นคอนเทนต์นะคะ

มันไม่ถูกนะคะสังคมมันจะแตกแยก
การเมืองก็คือการเมืองนะคะ 

สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการเมืองเลย

พระองค์ท่านไม่รู้ด้วยซ้ําว่าลูกในชาติสีไหน
พระองค์ท่านรักลูกในชาติเท่ากันหมดทุกคน
ลูกในชาติเนี่ย แหละที่จําแนกสีกันเอง 

เพราะบางสีเช่นสีส้มเนี่ย
คุกคามกฎหมายที่คุ้มกันพระองค์ท่าน
เราก็เลยไม่ชอบสีส้ม 

ลูกทั้งชาติเนี่ย ทุกคนเค้าก็รักในหลวง เพราะฉะนั้นเราอย่านําในหลวงมายึดโยงกับการเมืองนะคะ 

อย่าทําแบบนั้นเลยเชื่อพี่เถอะมันไม่ดี
หนูเก่งหนูก็ไปสร้างคอนเทนต์อย่างอื่น
หนูไปเผยแพร่ยุทธศาสตร์ชาติที่มันถูก

แต่อย่านําสถาบันพระมหากษัตริย์ มาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ
มาเกี่ยวกับว่ารัฐธรรมนูญ

อย่าดึง ‘ในหลวง’ มาเกี่ยวกับการเมืองค่ะ 

‘สถาบันพระมหากษัตริย์’ เป็นของคนไทย ดวงใจทั้งประเทศ

๑ พฤษภาคม วันคล้ายวันบรมราชาภิเษกสมรส ทรงพระเจริญ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ในเย็นวันนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้อง ว.ป.ร. พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรสกับ พลเอก หญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระยศในขณะนั้น พร้อมทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา พลเอก หญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา พระอัครมเหสี ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

ในครั้งนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระยศในขณะนั้น ทรงลงพระนามาภิไธยในฐานะทรงเป็นสักขีพยาน และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ลงนามในสมุดจดทะเบียนราชาภิเษกสมรส ในฐานะสักขีพยาน ในวาระศุภมงคลนี้ด้วย

ต่อมาในวันที่ ๔ พฤษภาคม ปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ตามพระราชประเพณี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ตามราชประเพณีสืบมา

ตลอดระยะเวลาแห่งการครองคู่เป็นพระมิ่งขวัญแห่งแผ่นดิน ทั้งสองพระองค์ทรงตั้งมั่นพระราชปณิธานที่จะ 'สืบสาน รักษา ต่อยอด' แนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อทรงแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของประชาชน ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพระคู่ขวัญคู่พระบารมี เสริมพลังรักแห่งแผ่นดินให้มีความร่มเย็น ทรงถักทอร้อยรักแผ่นดินไทยให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ด้วยน้ำพระราชหฤทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังรักที่มีต่อปวงพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ผ่านโครงการในพระราชดำริ และพระราชกรณียกิจต่างๆ นานัปการ ดังเป็นที่ประจักษ์ อันเป็นความรักที่หาที่สุดมิได้

เนื่องในโอกาสมหามงคลวันคล้ายวันบรมราชาภิเษกสมรส วันที่ ๑ พฤษภาคมได้เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง ปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล ขอทั้งสองพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ พระชนมายุยิ่งยืนนาน พระบารมีแผ่ไพศาลเป็นร่มโพธิ์ทองฉัตรแก้ว ปกเกล้าปกกระหม่อมปวงพสกนิกรชาวไทยตราบจิรัฐิติกาล

ความหมาย ’วันทยหัตถ์’ ของปธน.ซูบียันโต ต่อในหลวง สะท้อนมิตรภาพและเกียรติยศของผู้เคยผ่านการเป็นทหาร

เพจเฟซบุ๊ก ‘ทหารหลังกองพัน‘ ได้โพสต์ข้อความถึงภาพการทำวันทยหัตถ์ ระหว่างในหลวง และประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ว่า อีกหนึ่งภาพแห่งความประทับใจ ที่หลาย ๆ คนคงได้เห็น ในโอกาสที่นายปราโบโว  ซูบียันโต (Mr. Prabowo Subianto) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

และได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต 

ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีภาพการทำวันทยหัตถ์ ในการพบปะระหว่าง ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย กับ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนประธานาธิบดีอินโดนีเซียจะเดินทางกลับ จึงได้ทำวันทยหัตถ์กับในหลวง ซึ่งในหลวงก็ได้ทรงทำวันทยหัตถ์ตอบรับ 

การทำวันทยหัตถ์ (salute) ระหว่างกัน จะเป็นการแสดง มารยาททางทหารและการทูต โดยขึ้นอยู่กับบริบท ดังนี้

ลักษณะของการทำวันทยหัตถ์ระหว่างผู้นำ
• ไม่ใช่การวันทยหัตถ์แบบทหารทั่วไป (เช่น ทหารทำต่อผู้บังคับบัญชา) แต่เป็นการแสดง 'เกียรติสูงสุด' ตามมารยาทระหว่างประเทศ

• กรณีถ้าประธานาธิบดีอินโดนีเซียเคยเป็นทหาร (เช่น ปราโบโว ซูบียันโต) ก็อาจ แสดงความเคารพในรูปแบบทหาร 

• ส่วนในหลวงรัชกาลที่ 10 ซึ่งทรงเป็นจอมทัพไทย ทรง รับวันทยหัตถ์ ด้วยการพยักหน้า หรือวันทยหัตถ์ตอบในกรณีสมควร

อย่างไรก็ดี ธรรมเนียมของผู้นำทหารระหว่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของมารยาททางการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพ ซึ่งมีแบบแผนที่ชัดเจน เพื่อแสดง ความเคารพ เกียรติยศ และมิตรภาพระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเมื่อผู้นำทหาร หรือผู้นำประเทศที่มีพื้นฐานจากกองทัพ พบกันอย่างเป็นทางการ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top