ความหมาย ’วันทยหัตถ์’ ของปธน.ซูบียันโต ต่อในหลวง สะท้อนมิตรภาพและเกียรติยศของผู้เคยผ่านการเป็นทหาร
เพจเฟซบุ๊ก ‘ทหารหลังกองพัน‘ ได้โพสต์ข้อความถึงภาพการทำวันทยหัตถ์ ระหว่างในหลวง และประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ว่า อีกหนึ่งภาพแห่งความประทับใจ ที่หลาย ๆ คนคงได้เห็น ในโอกาสที่นายปราโบโว ซูบียันโต (Mr. Prabowo Subianto) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
และได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีภาพการทำวันทยหัตถ์ ในการพบปะระหว่าง ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย กับ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อนประธานาธิบดีอินโดนีเซียจะเดินทางกลับ จึงได้ทำวันทยหัตถ์กับในหลวง ซึ่งในหลวงก็ได้ทรงทำวันทยหัตถ์ตอบรับ
การทำวันทยหัตถ์ (salute) ระหว่างกัน จะเป็นการแสดง มารยาททางทหารและการทูต โดยขึ้นอยู่กับบริบท ดังนี้
ลักษณะของการทำวันทยหัตถ์ระหว่างผู้นำ
• ไม่ใช่การวันทยหัตถ์แบบทหารทั่วไป (เช่น ทหารทำต่อผู้บังคับบัญชา) แต่เป็นการแสดง 'เกียรติสูงสุด' ตามมารยาทระหว่างประเทศ
• กรณีถ้าประธานาธิบดีอินโดนีเซียเคยเป็นทหาร (เช่น ปราโบโว ซูบียันโต) ก็อาจ แสดงความเคารพในรูปแบบทหาร
• ส่วนในหลวงรัชกาลที่ 10 ซึ่งทรงเป็นจอมทัพไทย ทรง รับวันทยหัตถ์ ด้วยการพยักหน้า หรือวันทยหัตถ์ตอบในกรณีสมควร
อย่างไรก็ดี ธรรมเนียมของผู้นำทหารระหว่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของมารยาททางการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพ ซึ่งมีแบบแผนที่ชัดเจน เพื่อแสดง ความเคารพ เกียรติยศ และมิตรภาพระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเมื่อผู้นำทหาร หรือผู้นำประเทศที่มีพื้นฐานจากกองทัพ พบกันอย่างเป็นทางการ