Saturday, 18 May 2024
ชุมพร

ชุมพร - ร่วมมือทุกหน่วยงาน ลงพื้นที่รับปากประชาชนได้ใช้ไฟฟ้าแน่นอน ก่อนปีใหม่ 2565 แก้ไขชาวบ้าน อ.หลังสวน ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้นานกว่า50 ปี ร่วม 200 ครัวเรือน

วันที่ 31 สิงหาคม 2564 เวลา 09.30 น. ภายใต้การอำนวยการของนายธีระ อนันตเสรีวิทยา ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และนายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (รับผิดชอบด้านความมั่นคงและการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ) ได้มอบหมายให้ ปลัดจังหวัดชุมพร เป็นประธานการประชุม(ครั้งที่ 2) เพื่อบูรณาการเเก้ไขปัญหากับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดติดตามผลความคืบหน้ากรณีชาวบ้านในพื้นที่ ม.7 ม.9 ม.12 และ ม.13 ต.หาดยาย อ.หลังสวน ไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ติดเขตป่าของกรมป่าไม้ และเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของกรมอุทยานเเห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ณ ห้องประชุม อบต.หาดยาย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ท้องถิ่นจังหวัดชุมพร,  นายก อบต.หาดยาย ,ผู้เเทนรอง ผอ.รมน.จังหวัด ช.พ. (ฝ่ายทหาร) ผู้แทน หน.สนจ.ชพ.,ผู้แทนประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร ,ผู้แทน ผอ.ทสจ.ชพ.,ผู้แทน ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 11 (สุราษฎร์ธานี),ผอ.ศูนย์ป่าไม้จังหวัดชุมพร,ผจก.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอหลังสวน,หน.อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว,ผู้แทนนายอำเภอหลังสวน,ปลัดอำเภอหลังสวน,กำนันตำบลหาดยายและผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่

จากนั้นได้ลงพื้นที่ ม.7 ม.9 และ ม.12  ซึ่งมีเนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน 56 ตร.วา ที่อยู่ในเขตป่า ตาม ม.54 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และได้รับอนุญาตจาก สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 11 (สุราษฎร์ธานี)ให้ดำเนินการโครงการขยายเขตระบบไฟฟ้าแล้ว โดยจะเริ่มดำเนินการปักเสาไฟต้นแรกพร้อมจ่ายไฟฟ้า ในพื้นที่ ม.12 ภายในวันที่ 25 ก.ย.64 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอหลังสวน จะเรียนเชิญ ผวจ.ชพ. เป็นประธานเปิด เฟสเเรกต่อไป

ส่วนพื้นที่ป่าไม้ถาวร ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2504 เนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 67 ตร.วา กรมป่าไม้ ได้ทำหนังสือ เสนอ รมว.ทส. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบแล้ว กรมป่าไม้ก็จะให้ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 11 (สุราษฎร์ธานี) พิจารณาอนุญาตตามที่ อธิบดีกรมป่าไม้ได้มอบอำนาจให้ต่อไป พื้นที่ขยายเขตไฟฟ้าดังกล่าวทั้ง 2 ส่วนระยะทาง 11.290 กม. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอหลังสวนจะเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างปักเสาไฟฟ้าให้เเล้วเสร็จภายใน 31 ธ.ค.64 นี้

หลังจากนั้นได้ลงพื้นที่ ม.13 ต.หาดยาย ซึ่งชาวบ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 178 ครัวเรือน จำนวน 4 เส้นทาง ระยะทาง 8.2 กม. เศษ อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ของอุทยานเเห่งชาติน้ำตกหงาว  การไฟฟ้าภูมิภาคอำเภอหลังสวนจะเป็นเจ้าภาพในการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าโดยได้ทำการสำรวจออกเเบบและประมาณการเสร็จเรียบร้อยแล้วได้ส่งเรื่องเเละรายละเอียดให้ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว เมื่อวันที่ 27 ม.ค.64(ฉบับเเก้ไขล่าสุด) ทางหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ได้รับทราบปัญหาและข้อเท็จจริงรวมทั้งได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม ณ ศาลา ม.13 ต.หาดยาย โดยจะเร่งรัดส่งข้อมูลให้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) พิจารณา และในเบื้องต้นปลัดจังหวัดชุมพรได้โทรประสาน ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 เพื่อพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ด้วยแล้ว

ในส่วนรายละเอียดที่เกี่ยวข้องได้มอบหมายให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอหลังสวน ,นายอำเภอหลังสวน และ อบต.หาดยาย ได้บูรณาการ โดยจัดทำโครงการร่วมกับ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาวในรายละเอียดข้อเท็จจริงและการใช้ประโยชน์ของอุทยานและปัญหาความเดือดร้อนเรื่องประชาชนไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากได้อยู่อาศัยมากว่า40 ปี มีการปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยและประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักแหล่งมีถนนหนทางเข้าออกได้สะดวกเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งไม่สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และอินเตอร์เน็ตได้ ปัจจุบันมี นักเรียนชั้นประถมศึกษา และมัธยมฯ จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในการเรียนออนไลน์ รวมทั้งประชาชนที่ป่วยโควิด19 ต้องได้รับการดูเเลรักษาอย่างทันท้วงที ซึ่งต้องเร่งรัดประสานงานเพื่อให้ได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชต่อไปในการขยายเขตไฟฟ้าโดยเร็ว รวมทั้งได้ติดตามผลความคืบหน้าเป็นระยะ จนกว่าชาวบ้านในพื้นที่จะมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน และในระดับจังหวัดที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานจังหวัดชุมพร(ศดธ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบแก้ไขปัญหา และติดตามผลความคืบหน้ากรณีเรื่องร้องเรียนดังกล่าวต่อไป อีกทางหนึ่งด้วย


ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร

ชุมพร - 'จุรินทร์' ติดตามความหน้า...การประกันรายได้สินค้าเกษตร และคืนโฉนดที่ดินให้สมาชิกกองทุนฯ ชุมพร พร้อมมอบเช็คฟื้นฟูอาชีพ-เช็คชำระหนี้ กว่า 9.2 ล้านบาท

จุรินทร์ลงพื้นที่จังหวัดชุมพรติดตามความคืบหน้า และประชาสัมพันธ์โครงการ ประกันรายได้สินค้าเกษตร พร้อมกับการคืนโฉนดที่ดินให้สมาชิกกองทุนฯ ชุมพร พร้อมมอบเช็คฟื้นฟูอาชีพ-เช็คชำระหนี้ กว่า 9.2 ล้านบาท รองนายกรัฐมนตรี "จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(กฟก.) เป็นประธาน มอบคืนโฉนดให้กับสมาชิก กฟก.ชุมพร 29 รายที่ชำระหนี้ครบตามสัญญา มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูฯ 3.6 ด้านบาท พร้อมแก้ปัญหาหนี้ให้เกษตรกรด้วยการชำระหนี้แทนสหกรณ์กว่า 5 แสนบาท

วันที 11 กันยายน 2564 กองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) จังหวัดชุมพร มีการจัดกิจกรรม "มอบเช็คชำระการฟื้นฟูอาชีพ และมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ จังหวัดชุมพร" ณ โครงการ หนองใหญ่ในพระราชดำริ ตำบลบางลีก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประชานในพิธี และมี นายสัมฤทธิ์ กองเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร  นายชุมพล จุลใสสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 1 จังหวัดชุมพร นายสราวุธ อ่อนละมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 จังหวัดชุมพร นายอุดม ศรีสมทรง  พาณิชย์จังหวัดชุมพร นายธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ เกษตรจังหวัดชุมพร  นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหารกองทุนฯ นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฯ ตัวแทนจากองค์กร หน่วยงานราชการต่าง ๆ และสมาชิกเกษตรกรเข้าร่วมงาน

นายสัมฤทธิ์ กองเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าว่า ขอบคุณท่านจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิยย์ และคณะที่ให้เกียรติมาตรวจเยี่ยมพื้นที่จังหวัดชุมพร และเป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าและประชาสัมพันธ์โครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร มอบเช็คชำระหนี้ และมอบโฉนดที่ดินของกองทุนฟื้นฟูเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้แก่เกษตรกรจังหวัดชุมพร จังหวัดชุมพร มีประชาคร 509,292 คน แบ่งการปกครองเป็น 8 อำเภอ โดดเด่นในเรื่อง เกษตรกรรม และการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า "ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐาน การเกษตรกรรม และการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล" สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ปาส์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน กาแฟ และมะพร้าว ผลิตภัณฑ์ชุมขนที่สำคัญ ได้แก่ ผลผลิตจากกล้วยเล็บมือนาง กาแฟ 3 ก 1 อาหารทะเลแปรรูป เป็นตัน

สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดชุมพร ได้แก่ หาดทรายรี หาดทุ่งวัวแล่น ศาลพ่อตาหินช้าง หลาดกล้วยพ่อตา เขามัทรี เกาะพิทักษ์ หลาดใต้เคี่ยม ปัจจุบันได้รับความนิยม แพร่หลายจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็ง ทางเศรษฐกิจและแช่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยการยกระดับการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญของจังหวัดทุมพร จากข้อมูล ปี 2562 จังหวัดชุมพร มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) 116,164 ล้านบาท รายใต้เฉลี่ยต่อหัว 232,817 บาท/คน/ ปี รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 54.62 รองลงมาภาคบริการ ร้อยละ 36.82 และภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 8.56 จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 1,045.017 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิต 1,010,522 ไร ,950,724 ตัน ต้นทุนการผลิต 8,639.15 บาท/ไร่ ต้นทุนการผลิต 3.01 บาท/กก. มีโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน จำนวน 36 โรง โรง A จำนวน 14 โรง โรง B จำนวน 14 โรง โรงงานไบโอดีเซล จำนวน 1 โรง โรงสกัดเมล็ดใน จำนวน 5 โรง และคลังรับฝากจำนวน 2 โรง มีลานเทรับซื้อผลปาล์ม จำนวน ราคารับซื้อผลปาล์มน้ำมันหน้าโรงงาน ปี 2564 (ม.ค. ส.ค.) ราคา 6.21 บาท/กก. ราคาน้ำมัน CPO 35.55 ปอร์เซ็นต์ น้ำมัน 17.86 ปริมาณการรับซื้อผลปาล์ม ปี 2564 (ม.ค.-ส.ค.) จำนวน 1,490,622,829 ตันโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันปี ระหว่างปี 2562 - 2564 มีการประกันรายได้ จำนวน 7 ครั้ง เกษตรกร จำนวน 54,418 ราย จำนวนเงิน 1,219.081 ล้านบาท ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2653 เนื่องจากปัจจุบัน ราคาผลปาล์มทะลายสูงกว่าราคาเป้าหมาย กก.ละ 4บาท จึงไม่มีการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน

จังหวัดชุมพร ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันคุณภาพ ภายใต้ชุมพรทีม ร่วมกำหนดนโยบายยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้าน การตลาดในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดน้ำมันปาล์ม ให้มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงขึ้นจาก 17 % เป็น 18-19 %เพื่อ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรในอัตรา 300 บาท/ตัน และส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) จังหวัดชุมพร ภาคการเกษตร (ปาล์มน้ำมัน) เดือนสิงหาคม 2564 มูลค่ารวม 9,477.17 ล้านบาท นอกจากนี้ คณะทำงานชุมพรทีมได้ลงพื้นที่พบปะหารือกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ลานเท และโรงสกัดน้ำมัน ปาล์มอย่างต่อเนื่อง รับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการผลิ ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป พี่น้องชาวชุมพรได้รับสิ่งดีๆ จากกิจกรรมที่เกิดขึ้น และมอบโฉนดที่ดินของกองทุนพื้นฟู ในการประชุมครั้งนี้ เกษตรกรสร้างรายได้และมีอาชีพมั่นคงอย่างยั่งยืนตลอดไป 


ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร

ชุมพร - ชู 'Sand Dune' เนินทรายงาม แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ หนึ่งเดียวของเมืองไทย!!

จังหวัดชุมพรชู  'Sand Dune' หรือเนินทรายงามแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่หนึ่งเดียวของเมืองไทยพลิกภาพจากเมืองผ่านสู่เมืองต้องแวะที่อุดมด้วยแหล่งท่องเที่ยวและของดีครบวงจร ในอดีตจังหวัดชุมพรที่เป็นประตูสู่ภาคใต้มักจะเป็นเมืองที่มาไม่ถึง หรือไม่เป็นเมืองผ่านเพื่อไปสู่จังหวัด ยอดนิยมทำให้พลาดโอกาสสัมผัสความงดงามและเสน่ห์ของเนินทรายชุมพร ยุคสมัยก่อนต่างมองว่าขุมพรเป็น เมืองป่าเมืองดงห่างไกลความเจริญเป็นแค่ทางผ่าน แม้แต่บทเพลงชื่อดังยุคนั้นอย่าง "ไอ้หนุ่มชุมพร'ยังบันทึกไว้ ว่าหนุ่มจากชุมพรอุตส่าห์ดั้นด้นไปจีบสาวถึงสุราษฎรธานี ที่ยังโดนสาวบ้านดอนสาวเกาะสมุยหักอกจนชอกช้ำไม่มี ชิ้นดีต้องชมซานกลับบ้านเก่า แต่ปัจจุบันนี้ชุมพรเปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามของการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจที่ กำลังเจียระไนไว้รอต้อนรับนักท่องเที่ยวหลังวิกฤตโควิด-19 นี้ในการท่องเที่ยววิถีใหม่

วันนี้ (12 ต.ค. 64) นายสัมฤทธิ์ กองเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายบุญเสริม ขันแก้ว รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว ร่วมประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงาม (Sand Dune) อำเภอ ปะทิว จังหวัดชุมพร โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น ณ โรงแรมเอ เต้ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร และเชื่อมต่อกับผู้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์  ณ ร้าน  Helio Beach Club อำเภอ ปะทิว ร่วมแสดงความคิดเห็น

โดยกรมการท่องเที่ยว ได้มอบหมายให้บริษัท เทสโก้ จำกัด เป็นที่ปรึกษาดำเนินการโครงการ จัดทำ แผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงาม (Sand Dune ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต้นแบบเพื่อรองรับการ ท่องเที่ยววิถีใหม่ New Normal ตามเส้นทาง Scenic Route บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเชื่อมโยง กับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งในจังหวัดชุมพร และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงาม (Sand Dune) อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเนิน ทรายแห่งเดียวในประเทศไทย เกิดจากปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ประกอบเข้าด้วยกันหลาย ๆ ปัจจัย คือ การยกตัวของ ชายฝั่งอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน การขึ้นลงของระดับน้ำทะเล การตั้งอยู่ในพื้นที่กระแสลมแรง เม็ด ทรายชายทะเลที่มีขนาดเล็กมากและน้ำหนักเบาสามารถล่องลอยตามกระแสลมพัดพาไปสะสมในระยะไกล ๆ ได้ ทำ ให้มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ ทั้งพันธุ์ไม้ประจำถิ่น และพันธุ์ไม้จากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เนินทรายงามดังกล่าว มีความเป็นเอกลักษณ์ มีพันธุ์พืชที่ขึ้นอยู่ในระบบนิเวศป่าเนินทราย ซึ่งหาดูได้ยากในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย

ประกอบกับแหล่งท่องเที่ยวเนินทรายงามตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอื่น ๆ ทั้งในเขตจังหวัด ชุมพร และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อาทิ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ จังหวัดชุมพร ธนาคารปู แหล่งดำน้ำเกาะร้าน เป็ดร้านไก่ หาดบางเบิด หาดทุ่งวัวแล่น ซึ่งล้วนแต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ ได้รับความนิยมบนเส้นทาง Scenic Route เลียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทย

 

“สุชาติ” รมว.แรงงาน ห่วงใยผู้ประกันตน มอบที่ปรึกษาแรงงาน “ธิวัลรัตน์” ลงพื้นที่ช่วยผู้ประกันตนทุพพลภาพ ที่จังหวัดชุมพร

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย พล.ต.ต.นันทชาติ ศุภมงคล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจผู้ประกันตนทุพพลภาพ ในการนี้ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ นางวันทนา ณัฐพูลวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม นายพูลศักดิ์ ประมงค์ ประกันสังคมจังหวัดชุมพร ร่วมคณะลงพื้นที่ด้วย

นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใย ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ที่ประสบอันตรายหรือมีความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้น จนเป็นเหตุให้เป็นผู้ทุพพลภาพ รวมถึงให้ความสำคัญในการดูแลผู้ประกันตนอย่างใกล้ชิด ในทุก ๆ ด้าน แม้ลูกจ้าง/ผู้ประกันตนประสบอันตราย จะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในวันนี้ ตนได้รับมอบหมายจากนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ในจังหวัดชุมพร เพื่อเยี่ยมสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ทุพพลภาพและครอบครัว ได้มีความรู้สึกอบอุ่น และมีความรู้สึกที่ดีต่อระบบประกันสังคม อีกทั้งรับทราบปัญหาและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามกฎหมายของผู้ทุพพลภาพ รวมทั้งติดตามอาการเจ็บป่วย เพื่อนำสู่การรักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ

ด้าน นางวันทนา ณัฐพูลวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม ว่า ตนได้รับมอบหมายจากนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ร่วมคณะลงพื้นที่จังหวัดชุมพรกับนางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นำของใช้จำเป็นมามอบให้กับผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดชุมพร ที่บ้านพักของตนเองจำนวน 2 ราย ได้แก่

นายสมชาย โกสุมา ปัจจุบันอายุ 39 ปี เป็นผู้ประกันตาม มาตรา 33 อยู่บ้านเลขที่ 10/2 หมู่ 2 ตำบลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานถูกรถบรรทุกถอยหลังมาชนเป็นผู้ทุพพลภาพตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 ปัจจุบันได้รับเงินทดแทนรายเดือน เดือนละ 5,642 บาท ตลอดชีวิต (ได้รับเงินแล้วทั้งสิ้น ณ กันยายน 2564 เป็นเงินประมาณ 174,300.- บาท ) 

 

"หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา” พร้อมด้วยคณะโรงเรียนสอนวิชาชีพและบริการ ปิยะแสงปัญญา อัญเชิญ "ผ้ากฐินพระราชทาน" นำไปถวายฯ วัดขันเงิน พระอารามหลวง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2564  เวลา  13.00 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานผ้ากฐิน ให้โรงเรียนสอนวิชาชีพและบริการปิยะแสงปัญญา ตามที่ขอพระราชทานเพื่อน้อมนำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ  วัดขันเงิน พระอารามหลวง ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

ในการนี้ "หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ " พระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่4 ) องค์อุปถัมภ์ โรงเรียนสอนวิชาชีพและบริการปิยะแสงปัญญา ทรงกรุณาเสด็จเป็นองค์ประทาน ถวาย "ผ้ากฐินพระราชทานฯ" พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร ครู อาจารย์ โรงเรียนสอนวิชาชีพและบริการปิยะแสงปัญญา น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้า ล้นกระหม่อม ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่10 ) อย่างหาที่สุดมิได้

 

'พล.อ.ประวิตร’ ลงชุมพร สุราษฎร์ธานี เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมและแสดงความเสียใจครอบครัวผู้เสียชีวิต ห่วงสถานการณ์อุทกภัยหลายพื้นที่ สั่งจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าภาคใต้

พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อ 1145 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม.และคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่ภาคใต้ จว.ชุมพรและสุราษฎร์ธานี เป็นห่วงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่จังหวัดภาคใต้ โดยได้สั่งการให้ สทนช.จัดต้ัง “ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้” พร้อมลงรับทราบติดตามสถานการณ์อุทกภัยและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาพรวม จากส่วนราชการต่างๆ ณ ศาลากลาง จว.ชุมพร

โดยสรุปสถานการณ์ภาพรวม จากอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ตั้งแต่ 10 พ.ย.64 ส่งผลให้ฝนตกหนักต่อเนื่อง เกิดอุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งใน 8 จว.ภาคใต้หลายพื้นที่  ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขัง 3 จว.คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานีและสงขลา รวม 10 อำเภอ 315 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,909 ครอบครัว โดยคาดการณ์ว่ายังมีฝนตกต่อเนื่อง ส่งผลต่อระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลางของภาคใต้ มีปริมาณน้ำมากกว่า 80%และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลายแห่ง เสี่ยงน้ำล้นตลิ่ง กระทบพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ 

พล.อ.ประวิตร’ ย้ำว่า รัฐบาลมีความเป็นห่วงใยและตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่จังหวัด  ซึ่งมีประชาชนได้รับผลกระทบหลายครัวเรือน ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต และขอเป็นกำลังใจกับผู้ประสบภัยทุกครอบครัว พร้อมยืนยันว่า รัฐบาลและทุกส่วนราชการจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในการช่วยเหลือดูแลจนกว่าสถานการณ์จะปกติ

พร้อมกันนี้ ยังได้กำชับให้ทุกส่วนราชการในพื้นที่ เร่งระบายน้ำลงทะเล โดยเฉพาะ  อ.สวี อ.ท่าแซะ อ.เมือง จว.ชุมพร ที่เป็นที่ต่ำและยังคงมีน้ำท่วมขัง  พร้อมทั้งให้กระจายช่วยเหลือเร่งด่วนให้ทั่วถึงในทุกพื้นที่ เร่งซ่อมแซมบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  เร่งสำรวจความเสียหายและเยียวยาผู้ประสบภัยให้ทั่วถึง  ขณะเดียวกันให้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์และพื้นที่เสี่ยง โดยต้องมีการแจ้งเตือนภัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่เสี่ยง 

 

เลขานุการในองค์ "หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ " เชิญ "สิ่งของประทาน" ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.ชุมพร ในโครงการ ‘แสงอาทิตย์อุทัย ช่วยบรรเทาภัย ในอุปถัมภ์หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์’

หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ทรงกรุณาให้ "นายยุทธพงษ์  เอี้ยงอ้าย" เลขานุการในองค์ฯ เชิญสิ่งของอุปโภค บริโภค ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (น้ำท่วม) นำไปใช้ในการดำรงชีพเบื้องต้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแด่ผู้ประสบภัย ให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ด้วยดี  

โดย เชิญ "สิ่งของประทาน” ให้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนผู้ประสบภัย จากหมู่ที่ 9 หมู่ที่ 2 ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 10 ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 10  หมู่ที่ 4 ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 

ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก เจ้าหน้าที่สำนักงานเลขานุการในหม่อมเจ้า อุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ /โรงเรียนนิรมลชุมพร / สมาคมแรงงานคนพิการไทย / นายอนัน รามพันธุ์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร / นายสุรินทร์ เหล่าพัทรเกษม ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ( CSR ) จังหวัดชุมพร ได้ร่วมนำสิ่งของอุปโภค บริโภค ช่วยเหลือหมู่บ้านผู้ประสบอุทกภัย และได้รับความเมตตาจาก พระมหาขวัญชัย อคฺคชโย เจ้าอาวาสวัดคีรีวงก์ ได้นำยาสมุนไพร(ตำรับยาวัดคีรีวงก์) เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ไข้พิษ ไข้กาฬ ร่วมมอบให้ประชาชน ในครั้งนี้ด้วย

ชุมพร - สนข. เดินหน้าพัฒนาโครงการ Land Bridge ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาคอาเซียน

นายกองเอกพุทธ กฤชคงพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อแนะนำโครงการและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ณ ห้องพุทธรักษา โรงแรมมรกตทวิน อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

ด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ณ ห้องพุทธรักษา โรงแรมมรกตทวิน จังหวัดชุมพร เพื่อนำเสนอความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ และขอบเขตการดำเนินงาน โดยมีคณะผู้บริหารและสื่อมวลชน เข้าร่วมงานดังกล่าว

ปัจจุบันการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้า ทั้งนำเข้าและส่งออกผ่านช่องแคบมะละกา (สิงคโปร์) ซึ่งเส้นทางดังกล่าว เป็นเส้นทางที่อ้อมและมีระยะไกล การจราจรทางน้ำคับคั่ง จากข้อมูลปี 2561 ช่องแคบมะละกามีความหนาแน่นของปริมาณเรือสูงถึง 85,000 ลำ/ปี และในอีก 10 ปีข้างหน้า ปริมาณเรือจะเพิ่มขึ้นกว่า 128,000 ลำ ซึ่งเกินกว่าความจุของช่องแคบมะละกาที่รองรับได้ 122,000 ลำต่อปี ก่อให้เกิดปัญหาการติดขัดและเสียเวลาในการเดินทาง กระทรวงคมนาคม จึงมอบหมายให้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Landbridge) โดยมีขอบเขตการศึกษา ประกอบด้วย

1.ศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ การเงิน วิศวกรรม สังคม ของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เช่น ท่าเรือ รถไฟ ถนน เป็นต้น ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน

2.ออกแบบรายละเอียดเบื้องต้น และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน

3.จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ตามพระราชบัญญัติการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน

4.วิเคราะห์จัดทำรูปแบบการพัฒนาและการลงทุน (Business Development Model) ของโครงการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เช่น ท่าเรือ รถไฟ ถนน เป็นต้น ที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน และ สร้างความเข้าใจ พร้อมรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านตลอดระยะเวลาดำเนินงาน โดยมีระยะเวลาศึกษาโครงการ 30 เดือน ซึ่งคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในปี 2566

โดยแนวคิดการพัฒนาสร้างท่าเรือชุมพร กำหนดให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัย โดยนำระบบออโตเมชั่นมาใช้เพื่อยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port  ส่วนแนวคิดการพัฒนาท่าเรือระนอง กำหนดให้เป็นท่าเรือสินค้าคอนเทนเนอร์และเป็นประตูการค้าฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือระนองกับท่าเรือกลุ่มประเทศแถมเอเชียใต้

นอกจากนี้จากการศึกษาความเหมาะสมเพื่อพัฒนาท่าเรือเชื่อมอ่าวไทย-อันดามันแล้ว โครงการฯ ยังได้ศึกษาความเหมาะสมเพื่อบูรณาการการขนส่งทางท่อ ทางบก และทางราง เพื่อให้เชื่อมต่อกับ 2 ท่าเรืออย่างไร้รอยต่อ โดยศึกษาความเหมาะสมเพื่อพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) และรถไฟทางคู่ และการขนส่งทางท่อ โดยจะก่อสร้างคู่ขนานบนเส้นทางเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินของภาคประชาชน

 

“ปชป.” เอกฉันท์ส่ง “อิสรพงษ์-สุภาพร” ลงลต.ช่อม ส.ส.ชุมพร-สงขลา ด้าน “เฉลิมชัย” ยัน “สุพัชรี-นริศ” ยังเหนียวแน่นกับพรรค 

ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ว่า ที่ประชุมมติเอกฉันท์ให้นายอิสรพงษ์ มากอำไพ เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมส.ส. เขต1 จังหวัดชุมพร และให้น.ส.สุภาพร กำเนิดผล เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต6 จังหวัดสงขลา 

เมื่อถามถึงตระกูลธรรมเพชรส่วนหนึ่งไปเปิดตัวสังกัดกับพรรคพลังประชารัฐ ยังยืนยันหรือไม่ว่าน.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร อดีตส.ส.พัทลุง ยังจะสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์  เป็นผู้ตอบคำถามว่า คนของพรรค ทั้งน.ส.สุพัชรี และนายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุง ยังอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมด และยืนยันว่าพรรคส่งครบทุกเขต

ชุมพร - จัดโครงการ “สวมหมวกนิรภัย 100 % ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร” เคารพต่อกฎหมาย- เคารพกฎจราจร ด้วยการสวมหมวก!!

วันที่ 16 ธันวาคม 2564 เวลา 09.30 น.นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้เกียรติมาเป็นประธานในกิจกรรมโครงการสวมหมวกนิรภัย 100 % ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ร่วมกับพลตำรวจตรี วิรุฬ สุวรรณวงศ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร / พันตำรวจเอกประสิทธิศักดิ์ ศรีสุข รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร / พันตำรวจเอกเทเวศร์ ปลื้มสุทธิ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองชุมพร / นายประมูล อุ่นเรือน ท้องถิ่นจังหวัดชุมพร / นางสาวสุนารี บุญชุบ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร / นายนักรบ ณ ถลางนายอำเภอเมืองชุมพร / นายภาสกร ชาญกสิกร เลขานุการ อบจ. และ นายศรีชัย วีรนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร

โดย พันตำรวจโทสมชาย มากอำไพ กล่าวว่า ท่านพลตำรวจโทอำพล บัวรับพร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ซึ่งเห็นความสำคัญว่าปัจจุบันอุบัติเหตุทางถนน ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ต่อทรัพย์สินและความสูญเสียต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก อุบัติเหตุทางถนนจะเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นส่วนมาก ท่านจึงดำริให้จัดทำโครงการสวมหมวกนิรภัย 100 % ขึ้นทุกสถานีตำรวจในสังกัด ตำรวจภูธรภาค 8 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารตระหนักถึงความสำคัญในการสวมหมวกนิรภัย ซึ่งจะช่วยป้องกันให้ลดการบาดเจ็บ ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนน เป็นการปลูกจิตสำนึกของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ให้เคารพต่อกฎหมาย เคารพกฎจราจร ด้วยการสวมหมวก

จากนั้น พันตำรวจเอกเทเวศร์ ปลื้มสุทธิ์ กล่าวว่า โครงการสวมหมวกนิรภัย 100 %เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร การปลูกจิตสำนึกของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ให้เคารพต่อกฎหมาย เคารพกฎจราจร ด้วยการสวมหมวก นิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ขั้นตอนการปฏิบัติ มี 3 ช่วงด้วยกัน ช่วงเริ่มต้นรณรงค์ คือตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564 ถึง 31 มกราคม2565  ช่วงกวดขันเข้มข้น มีด้วยกัน 3 ระยะ สำหรับผู้กระทำผิดข้อหา "ไม่สวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์" และข้อหา "เป็นผู้ขับขี่ยินยอมให้ผู้โดยสารไม่สวม หมวกนิรภัยในขณะโดยสารรถจักรยานยนต์ จะมีอัตราเปรียบเทียบปรับต่างกัน ผู้กระทำผิดระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 จะเปรียบเทียบปรับในอัตรา 200 บาท ผู้กระทำผิดระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 จะเปรียบเทียบปรับในอัตรา 300 บาท ผู้กระทำผิดระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป จะเปรียบเทียบปรับในอัตราสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมมอบหมวกนิรภัยให้แก่ผู้กระทำผิด

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top