Sunday, 27 April 2025
ค้นหา พบ 47700 ที่เกี่ยวข้อง

หนีห่าว!! อ้าว!! นึกว่าทักทาย ที่แท้!! ‘เหยียดผิว’ ‘ฝรั่ง’ รุ่นใหม่ ใช้ด้อยค่า ‘เอเชีย’ ในโลกออนไลน์

(20 เม.ย. 68) นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจ ฟาร์มปลาสวยงาม โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Nitipat Bhandhumachinda ว่า …

เมื่อวานนั่งถกกับลูกสาว ว่า"หนีห่าว"เป็นการเหยียดตรงไหน

เพราะผมเองก็มองว่า ตนเองเวลาไปต่างประเทศเช่นไปเยอรมัน ก็พูดคำว่า "Good Morning" กับฝรั่งมังค่าเสมอ ไม่เคยพูดว่า "Guten Morgen" ก็ไม่เห็นมีใครเขาว่าอะไร

ลูกสาวก็อธิบายให้ผมเข้าใจว่า การใช้คำว่า"หนีห่าว" ในปัจจุบันนั้น ชาวต่างชาติหลายๆคนจะใช้ ในนัยยะที่ซ่อนความเหยียดผิว ซึ่งคนรุ่นเดียวกับลูกสาวผมจะเจอบ่อยๆในสังคมออนไลน์

มันจะไม่ใช่การทักทายธรรมดา แต่เป็นการจงใจเหยียดแบบเหมารวมที่มีรากฐานมาจากแนวความคิดแบบ Sinophobia ที่ไม่ชอบคนจีน หรือวัฒนธรรมและค่านิยมแบบคนจีน แล้วก็ลามไปสู่คนเอเชียโดยรวม ที่ฝรั่งอาจมองว่าหน้าตาก็คล้ายๆกัน

ซึ่งสำหรับผมก็เป็นความรู้ใหม่ เพราะคนสมัยนี้เขาจะไม่เหมือนสมัยผมเด็กๆที่อยากจะเหยียดก็เหยียดกันตรงๆ เช่นผมเดินอยู่บนถนนในนิวยอร์คช่วงปี พศ. ๒๕๒๔ มีฝรั่งตะโกนมาทางผมว่า "Chink" แล้วเอานิ้มจิ้มตาตัวเองพร้อมกับหัวเราะขำขัน ก็ต้องกลับบ้านมาถามคำแปล แล้วก็เลยรู้ว่าโดนเหยียด

มาสมัยนี้การเหยียดกันตรงๆมันทำไม่ได้แล้ว แต่ก็อาจมีบางคนที่ยังมีจิตสำนึกที่อยากจะเหยียดใครต่อใครเพื่อลดปมด้อยของตน ก็อาจหาแนวทางอื่นมาเหยียดกันแบบซ่อนเร้นเช่นนี้เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการพูดคำว่า"หนีห่าว"กับคนไทย หรือคนเอเชียไหนๆที่ไม่ใช่คนจีน สำหรับผมแล้วก็ต้องมองบริบทโดยรวม เพราะหลายๆครั้งชาวต่างชาตินั้นๆ อาจพูดทักทายเป็นปรกติโดยไม่ได้คิดจะดูถูกอะไรใดๆ ก็เป็นไปได้ด้วยเช่นกัน

กรณีน้องทรายนั้น ผมไม่ได้เคยร่วมกิจกรรม หรือร่วมงานอะไรใดๆด้วย จึงไม่สามารถให้ความเห็นอะไรใดๆได้มากนัก แต่เท่าที่มองจากภายนอกนั้น น้องเขาก็มีจิตสำนึกที่รักธรรมชาติ และมีความชัดเจนเชิงอุดมคติ

แต่ผมเองก็ให้ความเป็นธรรมกับองค์กรและบุคลากรทุกๆคนของกรมอุทยานฯ ที่ต่างก็มุ่งมั่นทำงาน ทำหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ แต่อาจไม่สามารถประสานการทำงานกับน้องทรายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จะด้วยเหตุผลอะไรใดๆก็ตาม

ส่วนเรื่องการเหยียดนั้น สมัยปัจจุบันที่ทำงานกับลูกค้าซึ่งทุกคนเป็นชาวต่างชาตินั้น หากมีใครถามว่าเคยโดนเหยียดอะไรบ้างไหม
ก็ตอบได้ตรงๆว่าไม่เคยเลย

เพราะเวลาผมทำอะไรผิดพลาด ลูกค้าเขาไม่ต้องหานัยยะมาเหยียดอะไรใดๆให้เสียเวลา
ด่าผมตรงๆเลย ง่ายกว่าเยอะนะครับ

‘เจือ ราชสีห์’ ร่วมกับ ‘แขวงทางหลวงสงขลาที่ 1’ เร่ง!! ออกเเเบบ โครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมห้าแยกน้ำกระจาย หลัง ครม.สัญจรอนุมัติงบ 15 ล้าน

(20 เม.ย. 68) นายเจือ ราชสีห์ ที่ปรึกษาของรองนายกรัฐมนตรีและของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายอนุวัฒน์ จันทร์คง หัวหน้าหมวดทางหลวงสิงหนคร(รับผิดชอบ ต.พะวง อ.เมืองสงขลา)  นายสมเกียรติ จันทร์ดวง ปลัดอำเภอเมืองสงขลา และนายบุญสิทธิ์ จรรีบรัด ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณห้าแยกน้ำกระจาย ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมานานหลายปี

โครงการนี้เป็นผลสืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีสัญจรเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 15 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงระบบระบายน้ำบนทางหลวงหมายเลข 407 ตอนควนหิน - เขารูปช้าง ระหว่าง กม. 21+300 ถึง กม. 21+800 รวมระยะทาง 500 เมตร โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปัญหาน้ำท่วมขัง เพิ่มความปลอดภัยในการสัญจร และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

นายเจือเปิดเผยว่า “ขณะนี้โครงการอยู่ในขั้นตอนการออกแบบและวางแผน โดยกรมทางหลวงได้จัดทำแบบระบบระบายน้ำใหม่ที่สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการแก้ปัญหาน้ำท่วมบริเวณห้าแยกน้ำกระจายอย่างยั่งยืน” และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

สุสานคนเป็น รับชมพร้อมกันที่ SF cinema

รสสุคนธ์และชีพต้องอยู่ที่บ้านหลังนี้ด้วยเงื่อนไขบางอย่าง เงื่อนไขที่เริ่มมาจากความรักแบบผิดๆ นำมาซึ่งการแก้แค้นอันน่าสยดสยอง รับชมพร้อมกันวันที่ 24 เม.ย.นี้ ที่ SF cinema 

การเจรจาข้อตกลงแร่ธาตุสำคัญ!! ระหว่าง ‘ยูเครน – สหรัฐอเมริกา’ ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงคราม และการปะทะเชิงภูมิรัฐศาสตร์

เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2025 ที่ผ่านมายูเครนและสหรัฐอเมริกาได้ประกาศความคืบหน้าในการเจรจาความร่วมมือด้านแร่ธาตุสำคัญ (critical minerals) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและส่งออกแร่เชิงยุทธศาสตร์ เช่น ลิเธียม, นิกเกิล, โคบอลต์, และกราไฟต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในเทคโนโลยีแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด และระบบอาวุธขั้นสูง การเจรจานี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนเชิงยุทธศาสตร์ในความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ข้อตกลงดังกล่าวมิได้เป็นเพียงการลงทุนทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังแฝงนัยสำคัญด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความมั่นคง และการฟื้นฟูยูเครนหลังจากสงครามที่ดำเนินมายาวนานกับรัสเซีย ทำให้การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสหรัฐอเมริกาและยูเครนว่าด้วยความร่วมมือด้านแร่ธาตุได้กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากนานาชาติโดยเฉพาะจากฝ่ายรัสเซียซึ่งมองว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้มิได้เป็นเพียงข้อตกลงทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่เป็นยุทธศาสตร์การแผ่อิทธิพลของตะวันตกในพื้นที่ยุโรปตะวันออกอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ยูเครนถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแหล่งแร่หายากที่อาจกลายเป็นฐานอุตสาหกรรมใหม่ของตะวันตก ในขณะที่รัสเซียมองว่าการแทรกซึมของสหรัฐฯ เข้าสู่ภาคทรัพยากรธรรมชาติของยูเครนเป็นการคุกคามต่ออิทธิพลของมอสโกในพื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียต ในบริบทนี้ นักคิด นักวิเคราะห์ และสื่อรัสเซียจำนวนมากจึงพยายามให้ภาพข้อตกลงดังกล่าวในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่สหรัฐฯ กำลังใช้ทรัพยากรของยูเครนเป็นเครื่องมือต่อรองทางยุทธศาสตร์มากกว่าการพัฒนาเพื่อผลประโยชน์ของชาวยูเครนโดยตรง โดยสาระสำคัญของข้อตกลง มีอยู่ด้วยกัน 3 เรื่องประกอบด้วย

1) การจัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการฟื้นฟู (Joint Investment Fund) โดยยูเครนจะนำรายได้ 50% จากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติของรัฐ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เข้ากองทุนร่วมกับสหรัฐฯ เพื่อใช้ในการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และอุตสาหกรรมภายในยูเครน การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวสะท้อนถึงความพยายามในการผสมผสานผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของพันธมิตรกับเป้าหมายการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานในประเทศที่ถูกทำลายจากสงคราม
2) การลดข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ: สหรัฐฯ ได้ลดข้อเรียกร้องในการชดเชยความช่วยเหลือจาก $300 พันล้าน เหลือ $100 พันล้าน เพื่อให้ข้อตกลงเป็นที่ยอมรับของยูเครนมากขึ้น ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ เคยแสดงความคาดหวังว่ายูเครนควรจะให้สิทธิหรือผลประโยชน์บางอย่างเพื่อแลกกับการสนับสนุนทางการทหาร การเงิน และเทคโนโลยี โดยมีข่าวว่ามีการคาดการณ์มูลค่าผลประโยชน์ตอบแทนจากฝั่งยูเครนสูงถึง $300 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่อาจเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่อง reconstruction bonds หรือการ “แปรค่า” ทรัพยากรเพื่อใช้หนี้หรือเป็นหลักประกันการฟื้นฟูหลังสงคราม การลดข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ครั้งนี้เป็นผลจาก 1) แรงกดดันภายในสหรัฐฯ เห็นได้จากความลังเลของรัฐสภาและกระแสต่อต้านการช่วยเหลือยูเครนที่เพิ่มขึ้นในหมู่ประชาชน ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้อง “ปรับท่าที” ให้มีลักษณะของ win-win deal มากขึ้น 2) แรงต้านจากยูเครน ซึ่งมีเสียงวิจารณ์ว่าข้อเรียกร้องที่มากเกินไปอาจละเมิดอธิปไตยทางเศรษฐกิจของยูเคร และกลายเป็นกับดักการพึ่งพิงระยะยาว และ 3) บริบทระหว่างประเทศ เมื่อจีนและรัสเซียเริ่มเคลื่อนไหวสร้างกรอบความร่วมมือด้านพลังงาน-แร่ธาตุกับประเทศกำลังพัฒนา สหรัฐฯ จึงต้อง ลดแรงกดดัน และ ปรับกลยุทธ์เพื่อไม่ให้สูญเสียพันธมิตร การลดข้อเรียกร้องของสหรัฐฯลงเหลือ $100 พันล้าน สื่อถึงความพยายามสร้าง “ความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์” มากกว่าการเอาเปรียบ การเปลี่ยนผ่านจาก “ความช่วยเหลือเพื่อความอยู่รอด” สู่ “ความร่วมมือเพื่อการลงทุนและฟื้นฟู” รวมถึงอาจมีข้อตกลงที่ไม่เป็นทางการแฝงอยู่ เช่น สหรัฐฯ ได้สิทธิพิเศษในการเข้าถึงแร่สำคัญอย่างลิเทียม แรร์เอิร์ธ หรือยูเรเนียมในภูมิภาคของยูเครน
3) การเข้าถึงแหล่งแร่ธาตุสำคัญ ข้อตกลงนี้จะเปิดโอกาสให้สหรัฐฯ เข้าถึงแหล่งแร่ธาตุสำคัญของยูเครน ซึ่งจำเป็นต่ออุตสาหกรรมพลังงานสะอาด เทคโนโลยีขั้นสูง และความมั่นคงด้านอุตสาหกรรม

ในแง่เศรษฐกิจ ข้อตกลงนี้ถือเป็นกลไกสำคัญในการระดมทุนเพื่อฟื้นฟูประเทศในระยะกลางและยาว โดยไม่ต้องพึ่งพาการบริจาคโดยตรงจากภายนอก ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ก็ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเข้าถึงแหล่งแร่ธาตุสำคัญของยูเครน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมพลังงานสะอาด เทคโนโลยีขั้นสูง และความมั่นคงด้านอุตสาหกรรม

ในทางความมั่นคง ข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของสหรัฐฯ ที่จะสานต่อการมีบทบาทในภูมิภาคยุโรปตะวันออก แม้จะไม่มีการให้หลักประกันด้านความมั่นคงอย่างเป็นทางการ แต่ก็สื่อถึง “พันธสัญญาแฝง” (implicit commitment) ในการสนับสนุนยูเครนทั้งในเชิงเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์

ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ข้อตกลงนี้ไม่ใช่เพียงเรื่อง “ทรัพยากร” แต่เป็นการล็อกพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ในระยะยาว โดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นตัวประกัน สหรัฐฯ พยายามลดข้อขัดแย้งเพื่อสร้าง “เสถียรภาพความร่วมมือ” ในระยะยาว และกันไม่ให้ยูเครนเปิดดีลทางเลือกกับจีนหรือกลุ่ม BRICS ในทางกลับกันรัสเซียมองว่าการทำข้อตกลงเช่นนี้คือ การบ่อนทำลายภูมิรัฐศาสตร์พลังงานในยูเรเซียที่รัสเซียเคยครองอิทธิพลอยู่

นัยทางภูมิรัฐศาสตร์และการแข่งขันกับรัสเซีย ในบริบทของสงครามรัสเซีย–ยูเครน ความตกลงนี้มีนัยที่ลึกซึ้งในระดับโครงสร้าง กล่าวคือสหรัฐฯ ไม่เพียงแต่สนับสนุนยูเครนในเชิงทหารเท่านั้นแต่ยังวางรากฐานความร่วมมือเชิงโครงสร้าง (structural alignment) ที่อาจเปลี่ยนแปลงสถานะของยูเครนในระบบระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับรัสเซีย

ในมุมของรัสเซีย ความร่วมมือระหว่างยูเครนและสหรัฐฯ ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการ “ครอบงำยูเรเชีย” ของตะวันตกและเป็นการท้าทายต่ออิทธิพลของรัสเซียในอดีตพื้นที่หลังโซเวียต ข้อตกลงนี้จึงอาจถูกตีความว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “สงครามตัวแทนทางเศรษฐกิจ” (economic proxy conflict) โดยสามารถแยกประเด็นในการวิเคราะห์ออกเป็นด้านต่างๆ ได้ดังนี้
1) การมองว่าข้อตกลงฯดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่ออิทธิพลของรัสเซียในยูเครน นักวิเคราะห์รัสเซียหลายคนมองว่าข้อตกลงนี้เป็นความพยายามของสหรัฐฯ ในการลดอิทธิพลของรัสเซียในยูเครน โดยการเข้าถึงทรัพยากรแร่ธาตุสำคัญของยูเครน ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถของรัสเซียในการควบคุมภูมิภาคนี้ในระยะยาว
2) ข้อเสนอของรัสเซียในการร่วมมือด้านแร่ธาตุกับสหรัฐฯ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้แสดงความพร้อมที่จะเสนอความร่วมมือด้านแร่ธาตุหายากและอลูมิเนียมแก่สหรัฐฯ โดยเน้นว่ารัสเซียมีทรัพยากรเหล่านี้มากกว่ายูเครนและสามารถเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือได้ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินยังได้แสดงความพร้อมที่จะเสนอความร่วมมือด้านแร่ธาตุหายากและอลูมิเนียมแก่สหรัฐฯ โดยเน้นว่ารัสเซียมีทรัพยากรเหล่านี้มากกว่ายูเครนและสามารถเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือได้ เห็นได้จากการที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินได้กล่าวต่อสาธารณะหลายครั้งว่า รัสเซียมีศักยภาพในการเป็นแหล่งจัดหาทรัพยากรแร่หายาก (rare earth elements) และโลหะอุตสาหกรรม เช่น อลูมิเนียม ไทเทเนียม และนิกเกิล ที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมยุทโธปกรณ์ พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีขั้นสูง  เมื่อวิเคราะห์ในประเด็นนี้รัสเซียมีข้อได้เปรียบด้านทรัพยากร เพราะมีแหล่งแร่ธาตุหายากจำนวนมาก โดยเฉพาะในไซบีเรียและตะวันออกไกล เช่น Yttrium, Neodymium, Dysprosium เป็นผู้ส่งออกอลูมิเนียมรายใหญ่ ผ่านบริษัท Rusal ซึ่งเคยเป็นผู้จัดหาสำคัญให้กับสหรัฐฯ รวมถึงการมีโครงสร้างพื้นฐานการผลิตครบวงจร ตั้งแต่เหมือง การแปรรูป ไปจนถึงโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ (โดยเฉพาะทางรถไฟและทะเล) เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วรัสเซียยังคงมีจุดแข็งที่เหนือกว่ายูเครน เนื่องจาก ปริมาณทรัพยากรแร่และโลหะหายากมากกว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมพร้อมกว่า และเสถียรภาพในบางภูมิภาคของรัสเซีย (เช่น ไครเมียตอนนี้) อาจมากกว่ายูเครนที่ยังมีความไม่แน่นอนด้านความมั่นคง 
แม้ในเชิงเศรษฐกิจข้อเสนอของรัสเซียจะดูน่าสนใจ แต่ในเชิงการเมืองระหว่างประเทศ มีอุปสรรคสำคัญดังนี้ 1) ข้อจำกัดเชิงนโยบาย สหรัฐฯ มีนโยบายลดการพึ่งพาทรัพยากรจากประเทศ “ศัตรูเชิงยุทธศาสตร์” มีมาตรการกีดกันต่อบริษัทรัสเซียหลายแห่งในภาคเหมืองแร่และโลหะ เช่น Rusal, Norilsk Nickel นอกจากนี้การทำข้อตกลงกับรัสเซียอาจถูกวิพากษ์อย่างรุนแรงจากพันธมิตร NATO และ EU ในขณะที่การเลือกยูเครนนั้นเป็นการสร้างโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่ โดยสหรัฐฯ ต้องการลงทุนระยะยาวในประเทศที่สามารถควบคุมเชิงระบบได้มากกว่าและยูเครนถูกมองว่าเป็น “รัฐในกระบวนการสถาปนาใหม่” ที่สามารถสร้าง dependency model ได้ง่าย
3) การเน้นย้ำถึงความไม่แน่นอนของทรัพยากรในยูเครน แม้ว่ายูเครนจะถูกกล่าวขานว่าเป็นประเทศที่ “อุดมด้วยทรัพยากรใต้ดิน” โดยเฉพาะในภาคตะวันออกและตอนใต้ แต่ในทางวิชาการและอุตสาหกรรม ยังมีข้อจำกัดหลายประการ นักวิชาการรัสเซียบางคนชี้ให้เห็นว่าทรัพยากรแร่ธาตุในยูเครนอาจไม่มีปริมาณหรือคุณภาพที่เพียงพอสำหรับการลงทุนระยะยาว โดยอ้างถึงข้อมูลที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับปริมาณสำรองของแร่ธาตุหายากในยูเครน แหล่งข้อมูลหลักเกี่ยวกับ REEs (rare earth elements) ของยูเครนจำนวนมากยังอยู่ในขั้น “preliminary estimates” (การประเมินเบื้องต้น) โดยไม่มีการสำรวจทางธรณีวิทยาเชิงลึก (deep exploration drilling) หรือ การประเมินเชิงปริมาณ (proven reserves) ที่ได้รับการรับรองในระดับสากลข้อมูลที่ปรากฏในสื่อยูเครนจำนวนมาก เช่น การกล่าวว่า “ยูเครนมีแร่หายาก 117 ชนิด” นั้น ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นทางการ และไม่ปรากฏในฐานข้อมูลของ USGS หรือ IAEA แม้บางแหล่งจะมี REEs แต่หากระดับความเข้มข้นต่ำ (low-grade ores) การสกัดจึงต้องใช้ต้นทุนสูงและอาจไม่คุ้มกับการลงทุนระยะยาว

นอกจากนี้มีรายงานจากนักธรณีวิทยาท้องถิ่นยูเครนว่าแหล่งแร่บางแห่งใน Zhytomyr และ Kirovohrad มีปัญหาเรื่องสารปนเปื้อน (impurities) เช่น thorium และ uranium ทำให้ต้องใช้กระบวนการแยกที่ซับซ้อนและแพง ยูเครนยังขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านเหมืองแร่และการแปรรูป ยูเครนไม่มีโรงงาน separation plant สำหรับแร่หายาก ซึ่งจำเป็นในการแยกธาตุเฉพาะออกจากแร่ดิบ การขนส่งโลจิสติกส์ในบางพื้นที่ยังไม่พร้อม โดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้เขตความขัดแย้งทางทหาร (Donbas, Kharkiv) พื้นที่ที่อ้างว่ามีศักยภาพแร่ เช่น Donetsk, Luhansk, Zaporozhzhia ล้วนอยู่ในเขตความขัดแย้งที่ยังไม่สงบ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องความไม่แน่นอนทางความมั่นคง ปัญหาคอร์รัปชัน และข้อจำกัดด้านกฎหมายในยูเครน แม้จะได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจากสหรัฐฯ
ข้อตกลงฯดังกล่าวยังคงมีข้อกังวลและประเด็นที่ยังต้องเจรจาอีกในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 
1) การควบคุมท่อส่งก๊าซ สหรัฐฯ มีข้อเสนอให้ควบคุมท่อส่งก๊าซสำคัญที่ผ่านยูเครน ซึ่งเป็นประเด็นที่ยูเครนยังไม่เห็นด้วย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับอธิปไตยและผลประโยชน์ของประเทศ
2) การให้หลักประกันด้านความมั่นคง แม้ข้อตกลงจะไม่มีการให้หลักประกันด้านความมั่นคงโดยตรง แต่ยูเครนหวังว่าความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้จะนำไปสู่การมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ในการรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศในระยะยาว
3) การให้สัตยาบันโดยรัฐสภายูเครน ข้อตกลงนี้ยังต้องได้รับการให้สัตยาบันจากรัฐสภายูเครนก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ 
แม้ข้อตกลงนี้จะเป็นเพียงกรอบเบื้องต้น แต่หากได้รับการให้สัตยาบันและดำเนินการจริง อาจเป็นต้นแบบของการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นทุน และเป็นกรณีศึกษาสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ–การเมืองระหว่างประเทศขนาดกลางกับมหาอำนาจในโลกหลังความขัดแย้งในขณะเดียวกัน ยูเครนจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้ข้อตกลงนี้ขัดแย้งกับพันธะสัญญาต่อสหภาพยุโรป หรือเงื่อนไขของ IMF ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรของรัฐ

บทสรุป การลงนามข้อตกลงแร่ธาตุระหว่างยูเครนกับสหรัฐฯ ถูกจับตามองจากรัสเซียอย่างใกล้ชิด โดยนักวิเคราะห์รัสเซียมองว่าข้อตกลงนี้เป็นการขยายอิทธิพลของสหรัฐฯ เข้ามาในภูมิภาคที่มีความละเอียดอ่อนทั้งด้านประวัติศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งยังสะท้อนถึงการใช้ยูเครนในฐานะเครื่องมือทางภูมิยุทธศาสตร์ของตะวันตกเพื่อสกัดกั้นรัสเซียในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน โลจิสติกส์ หรือทรัพยากรแร่ธาตุ แม้ว่ารัสเซียจะพยายามเสนอความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านเดียวกันเพื่อรักษาฐานอำนาจของตน แต่พลวัตของภูมิภาคยุโรปตะวันออกกลับเคลื่อนตัวอย่างต่อเนื่องไปสู่การจัดระเบียบใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องเอื้อประโยชน์ต่อมอสโกอีกต่อไป บทวิเคราะห์เหล่านี้สะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านเชิงอำนาจในศตวรรษที่ 21 ที่รัสเซียจำเป็นต้องเผชิญหน้าและปรับตัว ทั้งในแง่ยุทธศาสตร์และวาทกรรม

ชาวเน็ตโยง!! ‘มหกรรมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่สากลฯ - World Expo’ จัดได้เงียบมาก!! ทั้งที่ใช้งบประมาณมหาศาล แต่ผลงาน กลับว่างเปล่า

(20 เม.ย. 68) อดีตบรรณาธิการนิตยสารสาละวินโพสต์ วันดี สันติวุฒิเมธี ได้ออกมาโพสต์ข้อความสุดเศร้าลงในเฟซบุ๊ก หลังเจ้าตัวมาออกบูธร่วมกับอีก 200 ผู้ประกอบการ ที่มาออกบูธขายของในงาน ‘มหกรรมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่สากลและการเจรจาธุรกิจ’ ภายใต้โครงการนโยบาย ‘หนึ่งครอบครัว หนึ่งพลังสร้างสรรค์’ ในวันที่ 18-22 เม.ย. แต่แล้วกลับไร้การโปรโมต แถมไม่มีพิธีกร อีกทั้งคนยังเงียบ เมื่อมาเปิดถ่ายรูปเสร็จแล้วก็กลับ นับว่าทำเอาผู้ประกอบการถึงกับเครียดกันเลยทีเดียว โดยผู้โพสต์ได้ระบุข้อความถึงบรรยากาศที่ไม่คึกคัก โดยระบุว่าในช่วงพิธีเปิดงาน มีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงวัฒนธรรมมาเป็นประธาน มีช่างภาพ และผู้ร่วมงานจำนวนหนึ่ง แต่หลังจากนั้นบรรยากาศกลับเงียบสนิท ราวกับป่าช้า ทั้งที่บริเวณห้างสรรพสินค้าด้านล่างยังคงมีผู้คนเดินสัญจรไปมาอย่างคึกคัก

ผู้ประกอบการกว่า 200 ครอบครัว ต่างตั้งใจเดินทางมาจากทั่วประเทศ โดยไม่ได้มีการสนับสนุนเรื่องที่พักหรือค่าเดินทาง ด้วยความหวังว่าจะได้รับโอกาสทางธุรกิจตามที่เจ้าภาพได้กล่าวไว้ว่าเป้าหมายของงานนี้คือการสร้าง Business Matching

อย่างไรก็ตาม หลังจากวันแรกผ่านไป ผู้ประกอบการต่างเกิดความสงสัยว่าเหตุใดจึงไม่มีผู้คนเดินขึ้นมาชมนิทรรศการ พวกเขาตั้งคำถามถึงการประชาสัมพันธ์งานของเจ้าภาพ ว่ามีการดำเนินการมากน้อยเพียงใด และมีสิ่งใดเป็นแรงจูงใจให้ผู้คนที่เดินอยู่ในห้างสรรพสินค้าด้านล่างขึ้นมาเยี่ยมชมงาน

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต่างนำผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและมีศักยภาพมาจัดแสดงและจำหน่าย โดยหวังว่าจะได้รับการโปรโมทให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่กลับไม่มีกิจกรรมใดๆ จากผู้จัดงานที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้คนเข้าร่วมงาน พิธีกรหายเงียบ เวทีแสดงว่างเปล่า ไร้ผู้ชม แม้กระทั่งบูธที่นำนักศึกษาต่างชาติมาแสดงยังรู้สึกเศร้าใจที่ไม่มีใครให้ความสนใจ

ชาวเน็ตเริ่มตั้งคำถาม วิจารณ์ ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ ของ ‘รัฐบาลแพทองธาร’ 

จัดอะไรก็ ‘แป้ก’ 

ไม่เหมือนยุครัฐบาล ‘ลุงตู่’

รมว.ดีอี ที่ชื่อ ‘ชัยวุฒิ’ โชว์ผลงานอย่างยิ่งใหญ่ ให้ทั่วโลกได้ประจักษ์ ถึงฝีมือของคนไทย 

สร้างความยิ่งใหญ่ ในงาน ‘World Expo’ 

นี่สิ!! คนจริง ของจริง

แต่คนจัดงาน ของรัฐบาลชุดนี้ ที่ตั้งใจจะปั้น ‘ซอฟต์พาวเวอร์’ กลับทำ ‘งานกร่อย’

มีหลากหลายความคิดเห็นของชาวโซเชียล อาทิเช่น …

“พอๆ กับข่าวงาน Soft Power ที่พารากอน?
งบเยอะ แต่ออกแนวตลาดนัดสินค้าโอท็อป สุดท้ายก็กร่อย”

“เราไม่ทราบรายละเอียดแต่หัวเรือใหญ่เปลี่ยนจากกระทรวงดีอีในยุคประยุทธซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่แพทองธารเปลี่ยนหัวเรือใหญ่จาก ก.ท ดี อี เป็น ก.ท สาธารณสุข ผลที่ได้คืองานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน อาจเป็นเพราะเอากระทรวงหมอมาทำงานผิดประเภท หรืออาจเป็นเพราะบริหารงบประมาณไม่เต็มประสิทธิภาพ เราก็ไม่อาจทราบได้”

“ไปมอบให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นแม่งานได้อย่างไร นายสมศักดิ์ รัฐมนตรีหลายสมัยทุกรัฐบาล เขาเป็นคนเก่าคนแก่ที่หมดไฟในการทำงานแล้ว ที่ได้เป็นรัฐมนตรีทุกสมัยไม่ใช่เพราะความรู้ความสามารถแต่เป็นเด็กในคาถาของนายใหญ่เท่านั่นเอง”

“แค่งานนิทรรศการ ยังห่วยเลย ไหนคุยนักหนาว่า ทำงานเป็น”

“ตรวจสอบเถอะ ใช้เงินทำอะไรไปบ้าง”

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่ง จากหลากหลายคำติชม หากอยากจะอ่านเพิ่มเติม เชิญได้ที่ 

https://www.facebook.com/thestatestimes/posts/pfbid02N2mYxtxW4pu5gDa3cGKaG1iSr5T36XpKQZQ9rz3euskZtZCQuU6usbBACK23njzyl

หรือท่านใด อยากจะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม กับ THE STATES TIMES เชิญพูดคุยกันได้ ที่คอมเมนต์ด้านล่าง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top