Saturday, 26 April 2025
ค้นหา พบ 47667 ที่เกี่ยวข้อง

วันเสาร์...เราไปคลองโอ่งอ่าง ว่าแต่มันอยู่ตรงไหน?

หลายคนอาจะเคยผ่านหูผ่านตาข่าวการปรับภูมิทัศน์ ‘คลองโอ่งอ่าง’ ที่ทำน้ำในคลองให้ใสขึ้น และปรับให้ทางเดินสองข้างทางดูสะอาดสะอ้าน รวมไปถึงพาศิลปินรุ่นใหม่มาเพ้นท์ภาพสวย ๆ แนวสตรีทอาร์ตตามกำแพงเก่า

ล่าสุดตอนนี้ ‘คลองโอ่งอ่าง’ ฮิตมากนะเธอว์จ๋า โดยก่อนหน้านี้ ทางกทม. นำโดยท่านผู้ว่ากทม. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นโต้โผให้มีการจัดงานในช่วงเทศกาลลอยกระทงที่ผ่านมา ช่วงค่ำ ๆ มีการประดับประดาไฟสวยงามเชียวแหละ

และผลตอบรับก็ดีเกินคาด จนทำให้ตอนนี้ทุกวันศุกร์ - เสาร์ - อาทิตย์ จะมีกิจกรรมถนนคนเดิน มีการแสดงดนตรี มีร้านค้าขายของ และมีการแต่งคอสเพลย์สร้างสีสัน วันหยุดเสาร์ -อาทิตย์นี้ใครไม่มีแผนไปเที่ยวไหน ตกเย็นลองมาเดินชิลๆ กันได้นะ

ว่าแต่ ‘คลองโอ่งอ่าง’ อยู่ตรงไหน? ก็ตั้งอยู่ย่านสะพานหัน สำเพ็ง กินพื้นที่ยาวไปถึงตีนสะพานพระราม 7 (ปากคลองตลาด) ถามต่อว่า แล้วไปยังไง? ง่ายมาก ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลงสถานีสามยอด เดินไม่ไกลก็มาถึงแล้ว ช่วงนี้อากาศเย็นด้วย ใครมาเดินที่คลองโอ่งอ่างแล้ว

เผลอไผลคิดว่าเป็นคลองชองเกซอนที่เกาหลีใต้ อันนี้ก็อย่าลืมหันไปพูดกับคนข้างๆ ที่มาด้วยกันว่า ‘พี่ชาย ฉันหนาววววววว’

ใจเย็นก่อน ขอทีละเรื่อง

เมื่อวันที่ 12 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวถึงความคืบหน้าในการบรรจุญัตติของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ขอให้รัฐสภามีมติส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 3 ฉบับ ไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ

เพื่อวินิฉัยว่ามิชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ เนื่องจากวันที่ 11 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาจากการประชุมหารือกับวิปทั้ง 3 ฝ่าย ว่า ถ้าหากต้องการประชุมตามปกติต้องบรรจุระเบียบวาระตามเรื่องที่เข้ามาไปเป็นลำดับ

แต่เนื่องจากเมื่อผลประชุมออกมา ทั้ง 3 เห็นว่าให้นำเฉพาะเรื่องรัฐธรรมนูญก่อน และในวันที่ 17 - 18 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 จะบรรจุเฉพาะเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วและร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ในส่วนญัตติของนายไพบูลย์ และร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะบรรจุหลังวันที่ 18 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563

ทัวร์ลงกับเป๊ก!

แฮ่! เป็นข่าวฮอตเว่อร์เลยเชียวล่ะ กรณีหนุ่ม"เป๊ก - ผลิตโชค อายนบุตร" ไปเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับโครงการของแบรนด์ร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ งานนี้ถูกเชื่อมโยงไปเรื่องการเมืองซะได้ จนเกิดกระแสในทวิตเตอร์ #แบนเป๊กผลิตโชค

เรียกว่า "ทัวร์ลงเป๊ก" ซะอย่างนั้น แต่โดยส่วนตัว เป๊กเขาก็ชอบออนทัวร์นะฮะ ที่ผ่านมา หากเข้าไปดูในอินสตาแกรมของเจ้าตัว เขาออนทัวร์ เที่ยวนู่นนี่เป็นประจำ สถานที่ที่เจ้าตัวชอบไปบ่อย ๆ คือ ประเทศญี่ปุ่น หรือบางทริปในประเทศ เจ้าตัวก็เคยไปเป็นทูตบ้าง พรีเซนเตอร์บ้าง ให้กับโครงการแนว CSR ของหลาย ๆ องค์กร

เช่น ครั้งหนึ่งเคยพาแฟนคลับไปเก็บขยะตามชายหาดที่ชลบุรี หรือไปเก็บขยะ - ปลูกป่าชายเลนที่บางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี และอีกหลายต่อหลายที่ ยืนยันนั่งยันนอนยันเลยว่า เจ้าตัวชอบทัวร์ลง เอ้ย! ลงทัวร์เจง ๆ

แต่ลักษณะเป็นทัวร์ดีนะฮะ ไม่สร้างมลพิษ ไม่มีพิษมีภัย อันนี้ก็โปรดเข้าใจด้วย และโปรดเข้าใจให้มากกว่านั้น โครงการที่กำลังเป็นกรณีเดือดนี้ ที่มีชื่อโครงการว่า #อิ่มคุ้มอิ่มบุญกับคุณหลวง ก็เป็นโครงการที่เปิดให้ทุกคนช่วยกันซื้อข้าวกล่อง เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือน้อง ๆ มูลนิธิเด็กทั่วประเทศ ให้ได้อิ่มท้องด้วยเช่นกัน

เอาเป็นว่า ก่อนจะไปทัวร์ลงกับใคร ก็ย้อนดูสิ่งที่เขาทำกันบ้าง ที่สำคัญ เราอ่ะทำดีสู้เขาได้บ้างหรือยัง?

สมานฉันท์สมชื่อหรือเอาเท่ห์

ในช่วงนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเมืองบ้านเราร้อนระอุมากขึ้นทุกที และดูเหมือนจะร้อนขึ้นเรื่อยๆไม่มีหยุด จากผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยและการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่เมื่อการเรียกร้องเริ่มมีแนวโน้มยืดเยื้อต่อไป คงหนีไม่พ้นต้องมีคนเข้ามาห้ามมวย เพื่อช่วยคลี่คลายความขัดแย้งอันร้อนระอุนี้ให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

แล้วใครล่ะจะเป็นคนที่เข้ามาห้ามมวยระดับประเทศ ? ในความขัดแย้งต่าง ๆ ที่ผ่านมาในประเทศ กรรมการห้ามมวยก็มีมาหลาย ๆ ต่อหลายชื่อต่างกันไปในแต่ละยุครัฐบาลก็เท่านั้น แต่ถ้าพูดถึงในช่วงเวลานี้ก็คงหนีไม่พ้น "คณะกรรมการสมานฉันท์"

ซึ่งนำทีมโดยท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา "ชวน หลีกภัย" ที่ได้รับมอบหมายจากสถาบันพระปกเกล้าให้วางโครงสร้างคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์หาทางออกให้ประเทศ

ซึ่งคณะกรรมการสมานฉันท์นี้จะเข้ามามีบทบาทในการเปิดเวทีให้คู่ขัดแย้งได้พูดคุยถึงปัญหาและหา "ตรงกลาง" ให้กับทั้งสองฝ่าย โดยให้ทั้งสองฝ่ายมาถกปัญหากันด้วยเหตุและผล เพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

ซึ่งจุดประสงค์ในการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์นั้นมาจากการที่ต้องการให้คนในประเทศไม่ทะเลาะกันและปรองดองกันในที่สุด แต่สุดท้ายเมื่อตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมาแล้วจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้จริงอย่างชื่อหรือเปล่าล่ะ ?

โดยแนวทางในตอนนี้มีด้วยกัน 2 แนวทาง ทางแรกมีคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ 7 หรือ 5 ฝ่าย ที่ประกอบด้วยฝ่ายที่มีอำนาจตัดสินใจหรือจะเป็นตัวแทนของกลุ่มผุ้ชุมนุม ส.ส.ฝ่ายค้าน ส.ส.รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นโครงสร้างที่มีองค์ประกอบครบทุกฝ่าย

ในส่วนของทางที่สองคือการเสนอ "คนกลาง" จากแต่ละฝ่ายเพื่อมาเป็นคณะกรรมการหรือประธานรัฐสภาสรรหาบุคคล หรือจะตั้งประธานคณะกรรมการโดยการทาบทามมาเป็นคณะกรรมการ

ในตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปมาว่าจะใช้แนวทางไหนหรืออาจมีการนำทั้งสองแนวทางมาผสมกันเพื่อให้เกิดความลงตัวมากขึ้น ถ้าเกิดมาในแนวทางนี้จริงก็คงเป็นการหาทางออกที่ผ่านเสียงจากทุกฝ่าย

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าไม่มีฝ่ายค้านไหนเข้าร่วมสังฆกรรมด้วย หรือง่าย ๆ "ไม่เอาด้วย" เพราะหลายฝ่ายกลับมองว่าเป็นการซื้อเวลาให้รัฐบาลมากกว่า

ถ้าคณะกรรมการสมานฉันท์เป็นเหมือนกับการหงายการ์ดปรองดองอย่างรัฐบาลต่างๆที่ผ่านมา ก็ไม่ต่างจากการเป็นฟูกลดแรงกระแทกให้กับทางฝั่งรัฐบาลหรือเป็นการซื้อเวลาเสียมากกว่าการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ที่สุดท้ายแล้วข้อเสนอหรือรายงานต่าง ๆ ถูกดองหรือนำออกมาใช้เพียงน้อยนิด สุดท้ายถ้าเป็นไปในรูปแบบเดิมการตั้งคณะกรรการสมานฉันท์ก็มีขึ้นเพื่อลดแรงกระแทกจากผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" เท่านั้น

ม็อบไม่กลัว....กลัวไม่แก้

เมื่อวานนี้ (วันที่ 13 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563) นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติในฐานะเป็นกฎหมายปฏิรูปประเทศว่า ได้ส่งร่างดังกล่าวไปที่รัฐสภาแล้วและได้พิจารณาแล้วว่าเป็นกฎหมายปฏิรูปประเทศ

ซึ่งต้องพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา โดยได้บรรจุระเบียบวาระแล้ว แต่ตามขั้นตอนการพิจารณากฎหมายประชามติต้องนำไปหารือกับวุฒิสภาก่อนว่าพร้อมเมื่อไหร่

ในส่วนรัฐสภาจะพิจารณาให้เสร็จ 3 วาระในคราวเดียวหรือไม่ขึ้นอยู่กับมติของของที่ประชุมรัฐสภาโดยนายชวนยังได้กล่าวอีกว่า ในการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 17 - 18 พฤษจิกายน พ.ศ. 2563 จะมีเพียงการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น

ซึ่งได้เตรียมความพร้อมสำหรับการลงมติแล้ว รวมไปถึงการรองรับผู้ชุมนุมที่จะมาติดตามการประชุมรัฐสภาด้วย เพราะทางส.ว. มีความกังวลในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้มีการกำชับเป็นพิเศษเพราะทางสภาฯดำเนินการอยู่แล้ว ส่วนเรื่องข้างนอกสภาฯก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดูแล


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top