5 ธุรกิจไทย ‘รายได้’ ทะลุหมื่นล้าน ที่อายุยืนนานกว่า ‘มิกกี้เม้าส์’
วันนี้เมื่อ 92 ปีที่แล้ว ( 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2471) เป็นวันเกิดของมิกกี้เม้าส์ (MICKEY MOUSE) ตัวละครการ์ตูนที่ครองใจเด็ก ๆ ทั่วโลก ด้วยลักษณะของหนูสีดำที่สวมกางเกงเอี๊ยมสีแดง

วันนี้เมื่อ 92 ปีที่แล้ว ( 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2471) เป็นวันเกิดของมิกกี้เม้าส์ (MICKEY MOUSE) ตัวละครการ์ตูนที่ครองใจเด็ก ๆ ทั่วโลก ด้วยลักษณะของหนูสีดำที่สวมกางเกงเอี๊ยมสีแดง
‘โขน’ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แถมยังกลายเป็นความร่วมสมัย โดยเฉพาะกับโขนเรื่องสำคัญที่คนไทยรู้จักกันดี ‘รามเกียรติ์’
ย้อนกลับไป วันนี้เมื่อกว่า 223 ปีก่อน ถือเป็นวันแรกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ โดยตั้งแต่ต้นเรื่องไปจนจบเรื่อง ทรงนิพนธ์ลงในสมุดไทยไปถึง 102 เล่ม ซึ่งหากพิมพ์เป็นหนังสือขนาด 8 หน้ายกอย่างในปัจจุบัน จะมีความหนากว่า 2,976 หน้าเลยทีเดียว
รามเกียรติ์ เป็นเรื่องราวการทำศึกสงครามระหว่างฝ่ายพระราม (มนุษย์) กับฝ่ายทศกัณฐ์ (ยักษ์) เนื่องจากทศกัณฐ์ได้ลักพาตัวนางสีดา มเหสีของพระรามไป โดยฝ่ายพระรามมีทหารเอกชื่อ หนุมาน เป็นลิงเผือก พร้อมด้วยพรรคพวกอีกมากมายคอยช่วยเหลือ
โดยสาเหตุที่รัชกาลที่ 1 ทรงนิพนธ์รามเกียรติ์ขึ้นนี้ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองเพิ่งผ่านศึกสงคราม จึงมีพระราชประสงค์ให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูด้านศิลปวัฒนธรรมของบ้านเมืองนั่นเอง
รามเกียรติ์ ถุกเล่าผ่านยุคผ่านสมัยมามากมาย ถึงวันนี้ รามเกียรติ์ยุค 2020 ก็ยังถูกเล่าขานต่อไป แต่มาด้วยภาพลักษณ์อันร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็นภาพลายเส้นการ์ตูน หรือแม้แต่สติกเกอร์ไลน์ เป็นวรรณคดีอมตะที่ยังคงมีลมหายใจ และทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
ถ้าถามผู้คนในวันนี้ ว่าของชิ้นไหนในโลกที่สามารถรวมความสนใจคนเอาไว้ในที่เดียวกันได้ คำตอบคือ สมาร์ทโฟน รวมถึงโซเชี่ยลมีเดีย แต่หากย้อนกลับไปราวปี ค.ศ.1925 มีอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งกำเนิดขึ้นมา แถมมันยังสามารถรวมผู้คนให้มาอยู่ที่หน้าจอเดียวกันได้ เราเรียกมันว่า โทรทัศน์
โทรทัศน์เครื่องแรกของโลก เป็นผลงานการประดิษฐ์ของ จอห์น โลกี้ เบียร์ด ชาวสกอตแลนด์ เขาได้ทดลองส่งสัญญาณภาพวัตถุไปยังเครื่องรับภาพอีกเครื่องได้เป็นผลสำเร็จ ต่อมาก็กลายเป็นโทรทัศน์ที่ยังไม่มีสี (ขาว-ดำ) กระทั่งพัฒนาไปสู่โทรทัศน์สี
จนถึงวันนี้มีทั้งแบบจอแบน จอทัชสกรีน สมาร์ททีวี มาไกลจนหากว่านายจอห์น โลกี้ เบียร์ด ได้มาเห็น คงต้องทึ่งในพัฒนาการสิ่งที่ตัวเองคิดค้นอย่างแน่นอน
วันนี้เป็น ‘วันโทรทัศน์โลก’ เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงเรื่องการสื่อสารและการเผยแพร่ข่าวสารของผู้คนทั่วโลก รวมทั้งยังรณรงค์เรื่องความปลอดภัยในการบริโภคสื่อ แม้ว่าปัจจุบันจะมี ‘สื่อต่าง ๆ’ เกิดขึ้นอีกมากมาย แต่โทรทัศน์ก็ยังคงเป็นสื่อพื้นฐานหลัก และยังเป็นจุดศูนย์รวมผู้คนทั้งโลกเอาไว้ได้อยู่เหมือนเดิม
.
อ้างอิง: https://th.wikipedia.org/wiki/โทรทัศน์
เกือบจะกลายเป็นบุรุษที่โลกลืมไปแล้ว สำหรับ "โดนัลด์ ทรัมพ์" หลังจากที่มีการสรุปผลการเลือกตั้งเรียบร้อยในหลายรัฐ และ "โจ ไบเดน" ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคณะผู้เลือกตั้งไปแล้ว แม้จะยังเหลืออีกไม่กี่รัฐเท่านั้นที่คะแนนยังมีปัญหา แต่แทบไม่มีผลกับการเลือกตั้งแล้วในตอนนี้
แม้ว่าทรัมพ์จะกล่าวหาว่ามีการโกงเลือกตั้ง และขอต่อสู้ในชั้นศาล แต่ศาลในบางรัฐก็ยกคำร้อง ไม่รับพิจารณาคดี อีกทั้งโจ ไบเดน ก็เดินหน้าประกาศตัวเป็นว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่อย่างเต็มตัว ด้วยการเริ่มวางตัวคณะรัฐมนตรีของตัวเองในสมัยหน้าแล้ว
ซึ่งต่างจากทรัมพ์ ที่ยังคงเก็บตัวเงียบ แทบไม่ได้ออกสื่อ มีเพียงการเคลื่อนไหวในทวิตเตอร์ส่วนตัว และมาพร้อมกับข่าวลือความขัดแย้งภายใน ทั้งในครอบครัว และ ในพรรครีพับลิกัน ว่าจะให้ทรัมพ์ลาตำแหน่งอย่างสง่างาม หรือ จะยังคงยื้อเวลา เดินหน้าต่อสู้ในชั้นศาล
และล่าสุด เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่ผ่านมาตามเวลาสหรัฐ ทรัมพ์ก็ได้ปรากฏตัวออกสื่ออย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากห่างหายมาเนิ่นนาน ที่งานแถลงข่าวหน้าทำเนียบขาว ด้วยการประกาศความสำเร็จของวัคซีน Covid-19 ที่พัฒนาโดยบริษัทยา Pfizer ที่ได้ผลดีเกินคาดถึง 90% ในกลุ่มทดลอง 43,500 คนใน 6 ประเทศ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา
โดยทรัมพ์ได้เคลมความสำเร็จของการพัฒนาวัคซีนของ Pfizer ว่าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Operation Warp Speed ของเขา ที่ได้อนุมัติอัดเม็ดเงินมากกว่า 1 พันล้านเหรียญให้กับบริษัทยาชั้นนำที่ได้รับคัดเลือก ในการพัฒนาวัคซีน Covid-19 ให้ออกมาให้เร็วที่สุด
ทรัมพ์อ้างว่า ด้วยโครงการ Operation Warp Speed ทำให้โลกได้วัคซีนตัวใหม่นี้เร็วกว่าการพัฒนาแบบธรรมดาถึง 5 เท่า นับว่าเร็วที่สุดในโลก และเขาจะผลักดันให้ชาวอเมริกันได้รับวัคซีน Covid-19 ตัวใหม่นี้ ให้เร็วที่สุด อย่างน้อยภายในสิ้นปีนี้
ซึ่งการที่ทรัมพ์ออกมาเคลมความสำเร็จของวัคซีน จาก Pfizer ก็เพราะเป็นหนึ่งในเรื่องที่ทรัมพ์พยายามผลักดันอย่างหนัก ที่จะให้ชาวอเมริกันต้องได้รับข่าวดีเรื่องวัคซีนก่อนการเลือกตั้ง เพื่อเป็นผลดีกับคะแนนเสียงของเขา
เพียงแต่โชคไม่เข้าข้าง ข่าวดีที่ทรัมพ์รอคอยนั้นมาช้าไม่ทันการณ์ และที่ตลกร้ายกว่านั้นคือ Pfizer ไม่ได้อยู่ในโครงการ Operation Warp Speed
บริษัทยาที่ได้คัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Operation Warp Speed ที่ประกาศอย่างเป็นทางการมีรายชื่อดังนี้
.
- Johnson & Johnson
- AstraZeneca–University of Oxford
- Moderna
- Merck ร่วมกับ IAVI
- Novavax
- Sanofi ร่วมกับ GlaxoSmithKline
.
และบริษัทยาที่ได้ทุนวิจัยบางส่วนอีก 2 แห่งคือ Vaxart และ Invio แต่ไม่มี Pfizer
แคทเธอรีน แจนเซน รองประธานบริษัท Pfizer ก็เคยออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อของสหรัฐเองว่า Pfizer ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Warp Speed เราไม่เคยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลางสหรัฐ
นอกจากนี้ ด็อกเตอร์ แอนโธนี ฟาวซี หัวหน้าศูนย์บริหารสถานการณ์ Covid-19 ของสหรัฐ ก็เคยออกมาบอกว่า ถึงจะเร่งผลิตวัคซีนแค่ไหนก็ตาม ชาวอเมริกันน่าจะได้รับวัคซีนอย่างเร็วที่สุดก็เดือนมีนาคมปีหน้า
ถึงเวลานั้น สหรัฐคงยืนยันประธานาธิบดีคนที่ 46 อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งจะยังคงเป็นทรัมพ์หรือเปล่า ตอนนี้ทรัมพ์เองก็ชักจะไม่แน่ใจ ได้แต่บอกว่า "เดี๋ยวถึงเวลาก็รู้เองแหล่ะ"
ถึงจะไม่พูดออกมาตรง ๆ แต่ถือเป็นครั้งแรกที่ทรัมพ์มีท่าทีอ่อนลง และเริ่มส่งสัญญาณว่าคงยอมรับความพ่ายแพ้ แต่จะให้ประกาศโต้ง ๆ ว่า "ผมแพ้" คงไม่ใช่สไตล์ของแก จึงได้แต่พูดอ้อมๆว่า
.
"Hopefully the – whatever happens in the future, who knows which administration will be. I guess time will tell. But I can tell you this administration will not go to a lockdown.”
(ผมหวังว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต ใครจะได้เป็นรัฐบาลชุดใหม่ ถึงเวลาก็รู้เองแหล่ะครับ แต่ผมยืนยันกับพวกคุณได้อย่างหนึ่งก็คือ รัฐบาลของผมจะไม่ยอมให้มีการ Lockdown เมืองเป็นอันขาด)
แต่ว่าล่าสุด รัฐโอเรกอน และ นิว เม็กซิโก ได้ประกาศมาตรการ Lockdown บางเขตที่มีปัญหาการระบาด Covid-19 อย่างหนักไปแล้วในวันนี้
ก็สงสัยว่ารัฐบาลชุดต่อไป ไม่น่าจะเป็นทรัมพ์แล้วหล่ะมั้ง
.
ข้อมูลอ้างอิง
The Guardian
https://www.theguardian.com/us-news/2020/nov/13/trump-biden-white-house-defeat-election
The Hill
https://thehill.com/homenews/administration/525927-trump-breaks-public-silence-but-doesnt-talk-election
New York Times
https://www.nytimes.com/2020/11/10/health/was-the-pfizer-vaccine-part-of-the-governments-operation-warp-speed.html
AP News
https://apnews.com/article/virus-surge-officials-resist-restriction-f7995f3df600b3115fe7058db4b84435
Wikipedia
https://en.wikipedia.org/wiki/Operation_Warp_Speed
คอลัมน์ "สายตรงจากเคแอล"
รับปริญญาแบบ new normal - มหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย University College of Yayasan Pahang (UCYP) ในรัฐปะหัง นำร่องจัดพิธีรับปริญญาบัตรแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการตัดต่อเสมือนจริง
ผู้สำเร็จการศึกษาเหมือนได้ร่วมรับพระราชทานปริญญาบัตรกับสมเด็จพระราชินี รายา ประไหมสุหรี (Her Majesty Raja Permaisuri Agong Tunku Hajah Azizah Aminah Maimunah Iskandariah binti Almarhum Al-Mutawakkil Alallah Sultan Iskandar Al-Haj.) พระองค์จริง
เนื่องจากมาเลเซียยังอยู่ในช่วงล็อคดาวน์ประเทศจากการระบาดของโรคโควิด 19 ดังนั้นพิธีการต่างๆจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อสอดคล้องตามมาตรฐาน (SOP) ของรัฐบาลมาเลเซีย
ซึ่งการรับปริญญารูปแบบใหม่นี้ ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้งคือ ตั้งแต่วัน 9 - 11 ตุลาคม , 16 - 18 ตุลาคม และ 23 - 25 ตุลาคม ทั้ง 3 ครั้งจัดขึ้นในปีนี้ (ค.ศ.2020) ที่ผ่านมา ซึ่งการจัดงานดำเนินไปด้วยดีมีผู้สำเร็จการศึกษา 376 คน
Cr: houseofpahang
.
ผิงกั่ว
สาวเมืองชล ตั้งรกรากชานกรุงกัวลาลัมเปอร์ ตามสามีคนจีนมาเลย์ ชีวิตท่ามกลางคนจีน แขกมาเลย์ และแขกอินเดีย พหุวัฒนธรรม ส่องมุมมองจากประเทศเพื่อนบ้านด้านล่างแผ่นดินแม่ มาเล่าสู่กันฟัง