Saturday, 26 April 2025
ค้นหา พบ 47667 ที่เกี่ยวข้อง

หยุดพฤติกรรม ‘Silo’ เพราะเรื่องของ ‘กู’ อาจทำให้ Me too ‘So Slow’

ดูปัญหาของสังคมไทยตอนนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องของคนเก่งหรือไม่เก่ง แต่เป็นเรื่องของคนที่พร้อม ‘ร่วมมือ’ กันแค่ไหนมากกว่า

หลังจาก คุณกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ได้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์รวมธุรกิจการค้าออนไลน์ในไทย ภายใต้นโยบาย ‘คนละครึ่ง’ และรวมถึงยอดขาย ‘11.11’ ที่ผ่านมา

ผลปรากฏที่เด่นชัดมากๆ คือ คนไทยค่อนข้างพร้อมกับการใช้จ่ายแบบสังคมไร้เงินสดพอสมควร

สังเกตุจากโครงการคนละหนึ่งก็ ที่พอมีการเปิดให้ลงทะเบียนรอบ 2 ก็ลงกันสิทธิ์อย่างรวดเร็ว มียอดการใช้จ่ายผ่านแอพลิเคชั่น ‘เป๋าตัง’ ไปแล้วถึง 13,764 ล้านบาท กระจายสู่ร้ายหาบเร่แผงลอยได้กว่า 650,000 แสนร้าน

ที่น่าสนใจในุมมของคุณกรณ์ คือ ตอนนี้รัฐได้ทำให้คนกว่า 12 ล้านคนยอมรับและคุ้นเคยกับการใช้ Cashless (ไร้เงินสด) มากขึ้น และเช่นเดียวกันผู้ค้ากว่า 6.5 แสนรายก็เข้ามาอยู่ในระบบดิจิทัลไปเรียบร้อย (และลุงตู่ก็คงยิ้มแป้น)

แต่ก็มีคำถามตามมาว่า ทำไมประเทศไทย ไม่พัฒนาระบบ e-Commerce Platform ของตัวเองแบบเป็นจริงเป็นจังสักที

ทั้งๆ ที่ยอดการใช้จ่ายในโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นทุกปี ตัวภาครัฐก็มีข้อมูล ‘Big Data’ มากมายมาตุนไว้ อุปสรรคคืออะไร? ทำไมเรายังไม่ไปถึงจุดนั้น?

ลองจินตนาการต่อไปว่าในอนาคต หากรัฐเปิดโอกาสให้คนไทยเสนอขายสินค้าโดยตรงกับผู้บริโภคตามฐานข้อมูลที่รัฐมี

รวมถึงรัฐคอยช่วยสนับสนุนด้วยโปรโมชั่นต่างๆ และบริการส่งของผ่านไปรษณีย์ไทย...นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของ e-Commerce Platform ของไทยที่เรารอคอยก็ได้

.

คำตอบหนึ่งที่ได้จากบทสรุปนี้คืออะไร

ปัญหาใหญ่ที่เด็กอมมือก็ยังรู้ คือ รัฐไทยยังทำงานกันแบบ ‘Silo’ หรือต่างคนต่างทำ อย่างกรณีโครงการ ‘คนละครึ่ง’ ตัวข้อมูลอยู่ที่กระทรวงการคลัง แต่ผู้ที่มีพันธกิจสร้าง e-Commerce Platform คือ กระทรวงดิจิทัล และกระทรวงพาณิชย์

ผลคือการทำงานแบบตัวใครตัวมัน และทำให้เกิดปัญหา ‘คอขวด’ เวลาต้องคิดโปรเจ็กต์ใหม่ๆ ที่ล่าช้า

.

ว่าแต่ ‘Silo’ ที่คุณกรณ์พูดถึงนี้คืออะไร?

Silo มาจาก Siloed Organization หรือ Siloed Company มีความหมายตรงตัว คือ แผนกต่างๆ ในองค์กรเดียวกัน ไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือองค์ความรู้ระหว่างกัน

โดยสัญญาณที่บ่งชี้ว่า Silo กำลังเข้ามาครอบงำการทำงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือรัฐบาลในตอนนี้ คือ...

1. ภาครัฐไม่สามารถใช้เทคโนโลยีหรือช่องทางการสื่อสารเพื่อแบ่งแยกกำลังซื้อจริงของประชาชน กับกำลังซื้อแฝง ยกตัวอย่างเช่น ทีมการตลาดหรือทีมบริหารไม่คิดจะดูแลคนที่ซื้อของไปแล้ว ราวกับคนที่ยังไม่ได้ซื้อของ เพราะฝ่ายเซลล์กับฝ่ายการตลาดไม่คุยกัน สุดท้ายก็ทำลายประสบการณ์ของลูกค้า

2. ความแปลกหน้าในองค์กร สัญญาณเตือนภัย คือ หากไม่รู้จักคนหรืองานจากนอกทีม ซึ่งไม่ได้หมายถึงให้ต้องรู้จักแบบละเอียด จะไม่มีวันเข้าใจปัญหาของแต่ละฝ่ายได้เลย ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นบริษัทเล็กๆ ก็ควรรู้จักชื่อของทุกคน แต่ถ้าเป็นองค์กรใหญ่อย่างน้อยก็ควรจะรู้ชื่อและช่องทางติดต่อระดับบริหารแต่ละแผนก เพื่อให้เกิดการทำงานแบบประสานมือได้ง่ายขึ้น

3. ภาวะ ‘เรา’ กับ ‘เขา’ ระหว่างแผนก จะทำให้เกิดภาวะการแข่งขันเชิงเห็นแก่ตัว เพราะไม่มีการแชร์ข้อมูลและขาดความร่วมมือร่วมใจ เหตุกลัวว่าอีกทีมจะได้หน้า แต่สุดท้ายจะแพ้ฝ่าย

4. พนักงานที่ถูกเพิกเฉย หรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม และถูกปฏิบัติไม่เหมือนคนอื่น อาจจะไม่มีความสุข รู้สึกไม่มีประโยชน์ และเสี่ยงต่อการแชร์หรือปั่นหัวสิ่งที่ไม่ดีกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ

5. การทำงานซ้ำซ้อน เพราะไม่มีการสื่อสารกัน ไม่มีทางที่จะรู้ว่าสิ่งที่เราทำไป ได้ทำซ้ำกับคนอื่นหรือแผนกอื่นหรือไม่ ธุรกิจที่ขาดความร่วมมือจะมีคนและทีมงานที่ทำงานในโครงการที่คล้ายกัน ซึ่งนำไปสู่ความไร้ประสิทธิผลและสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย

ฉะนั้นไม่ว่าจะรัฐหรือองค์กรไหนควรสร้าง Sharing is caring และ Knowledge is power ด้วยการร่างระบบการทำงานที่ทุกคน ‘ควรรู้ในสิ่งที่ควรรู้’ และต้อง ‘ไม่ต่างคนต่างรู้’ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งของการ Move on

การทำงานของรัฐในมุมของคุณกรณ์ จึงเหมือน Silo ที่หากปล่อยไปเรื่อยๆ ไอ้สิ่งดีๆ ที่จะคิดสร้างสรรค์หรือทำต่อในอนาคต (ซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มาก) จะยิ่งไกลฝั่งออกไปๆ เลยล่ะลุงตู่!!…

.

อ้างอิง: เฟซบุ๊ค กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij / ETDA Thailand

ปตท. ยังท็อปฟอร์ม โกย ‘DJSI’ 9 ปีติด โตทั้งกำไร ได้ใจทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม

กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เสียแล้วขององค์กรธุรกิจทั่วโลก ที่จะต้องคำนึงถึง ‘การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม’ โดยธุรกิจในยุคนี้จำเป็นต้องสนใจคำ 3 คำ คือ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และ บรรษัทภิบาล (Governance) หรือย่อๆ ว่า ‘ESG’

เพราะ ESG จะช่วยกรองให้ธุรกิจดำเนินไปโดยใส่ใจกับผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวเนื่องกับ 3 คำที่ว่ามา ไม่ใช่แค่ดีต่อมวลรวม แต่การให้ความสำคัญกับ ESG ขององค์กร ยังดีต่อใจของนักลงทุนที่จะตัดสินใจได้ง่ายในการเข้าไปร่วมลงทุนหรือถือหุ้นในธุรกิจนั้น ๆ

แต่ ESG ก็ไม่ใช่ว่าจะแค่ทำไปตามแต่ใจ เพราะตามเกณฑ์มาตรฐานสากลโลก ได้มีการออกดัชนี หรือตัวชี้วัดในการประเมินองค์กรที่ให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้อยู่

โดยหนึ่งในนั้น คือ ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ หรือ ‘DJSI’ (Dow Jones Sustainability Indices) ที่จัดทำโดย RobecoSAM และ S&P Dow Jones Indices ดัชนีนี้มีการคัดเลือกจาก 2,521 บริษัทในตลาดทุนทั่วโลก และ 802 บริษัทในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (ข้อมูลปีพ.ศ.2561)

มีการประเมินผลการดำเนินงานในมิติเศรษฐกิจ บรรษัทภิบาล สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อคัดเลือกบริษัทที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยให้กองทุนต่าง ๆ ทั่วโลกใช้พิจารณาประกอบการลงทุน แน่นอนว่าการจะรักษาสถานะตัวเองให้อยู่ในลิสต์ DJSI ต่อไปเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก!!

หลายคนอาจจะเข้าใจว่า ESG เหล่านี้ ก็แค่ไปปลูกป่า ลดมลพิษโรงงาน และบลา ๆ ที่พร้อมจะบอกว่าองค์กรนั้น ๆ Go Green แต่นั่นแค่เรื่องผิวเผิน เพราะที่พูด ๆ กันเขาเรียกว่า CSR!!

ในความเป็นจริงแล้ว การจะก้าวเข้าไปอยู่ใน DJSI ได้ ต้องยกระดับกระบวนการทางธุรกิจ เอาแบบว่าทั้งองค์กรต้องร่วมมือกันแบบเครือทั่วถึง จะเรียกว่าเป็นจิตวิญญาณขององค์กร ต้องร่วมกันทำเพื่อให้ตอบสนองต่อทุกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบบพัฒนาใจมาได้ระดับหนึ่งตั้งแต่ผู้บริหารไปจนถึงพนักงานตัวเล็ก ๆ

ส่วนในเชิงโครงสร้างก็ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ ESG ของตนเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงรูปแบบธุรกิจ ตรงนี้จะเป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้บรรดานักลงทุนเกิดความมั่นใจ อยากมาร่วมลงทุน โดยไม่ได้มองแค่ผลกำไรขององค์กรนั้น ๆ เป็นที่ตั้งเพียงอย่างเดียว

สรุปเลยก็คือ ธุรกิจเดินหน้ามีกำไร แถมยังต้องโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หูยย...ยากเหลือล้น

ทั้งนี้บริษัทไทยที่ผ่านการคัดเลือกเป็นสมาชิกดัชนี DJSI เป็นครั้งแรก คือ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ที่ได้ในปีพ.ศ.2547 หลังจากนั้น ก็มีบริษัทไทยทยอยคว้ารางวัลนี้กันมากขึ้น เช่น ในปีพ.ศ.2561 ที่มีบริษัทไทยถึง 20 บริษัท ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกของดัชนี เช่น KBANK, SCB, PTTEP, PTT, CPALL, THBEV, PTTGC, SCC และ CPN

ล่าสุดในปี พ.ศ.2563 บริษัท ปตท. เป็นอีกรายที่ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) สำหรับปตท. กวาดรางวัลนี้มาแล้วต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ในกลุ่มดัชนีโลก (World Index) และดัชนีตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Index) โดยปตท.ได้คะแนนสูงสุดเป็น Industry Leader ในกลุ่ม Oil & Gas Upstream & Integrated (OGX) นอกจากนี้ บริษัทในกลุ่ม ปตท. ประกอบด้วย...

.

- บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

- บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

- บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

- และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (จีซี)

.

ยังได้ผ่านการประเมินเป็นสมาชิก DJSI ต่อเนื่องครบทุกบริษัท โดย ไทยออยล์ ได้คะแนนสูงสุดเป็น Industry Leader ในกลุ่ม Oil & Gas Refining & Marketing (OGR) และ จีซี ได้คะแนนสูงสุดเป็น Industry Leader ในกลุ่ม Chemicals (CHM) อีกด้วย

19 พฤศจิกายน...วันส้วมส้วม

‘เรื่องส้วม...เรื่องใหญ่’ ใครว่าไม่ใหญ่ ลองอั้นฉี่ ไม่เข้าห้องส้วมให้ได้ครึ่งวัน เราจะมอบเหรียญทองโอลิมปิกด้านกลั้นฉี่ให้ไปเลย

วันนี้ถูกยกให้เป็น 'World Toilet Day' หรือภาษาไทยแบบตรงไปตรงมาก็คือ 'วันส้วมโลก' เกิดขึ้นจากองค์การสหประชาชาติอยากให้ผู้คนทั่วโลก ตระหนักถึงปัญหาการสุขาภิบาล เนื่องจากมีสถิติบ่งชี้ว่า ผู้คนทั่วโลกในวันนี้กว่า 4.5 พันล้านคน มีส้วมหรือห้องน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ตลอดจนการที่ต้องประสบกับโรคภัยด้านทางเดินอาหารมากมาย

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการกำหนดให้วันที่ 19 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ให้ผู้คนได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ร่วมกัน แถมยังตั้งเป้าว่า ในปี ค.ศ.2030 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า ปัญหาการสุขาภิบาลของโลกจะต้องหมดไป หรืออย่างน้อย ผู้คนต้องมีสุขอนามัยเรื่องการขับถ่ายที่ดีขึ้นกว่านี้

.

อ้างอิง: https://innovativeplumbingpros.com/world-toilet-day-sanitation-awareness/

ยาต้านซึมเศร้า...รักษาโควิด-19?

อ่ะจริงดิ?! มีรายงานข่าวออกมาว่า กลุ่มนักวิจัยทางการแพทย์ได้ทำการทดลองใช้ยาต้านซึมเศร้าในผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งปรากฎว่าได้ผลดีเกินคาด!

งานวิจัยครั้งนี้ ถูกเผยแพร่ออนไลน์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (JAMA) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา โดยเป็นการศึกษาเบื้องต้นของคณะวิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในเมืองเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พวกเขาได้ทดลองใช้ยาฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine) ซึ่งเป็นยารักษาโรคซึมเศร้า กับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่อาสาเข้าร่วมโครงการนี้จำนวนกว่า 152 ราย

ปรากฎว่า ในช่วงระยะเวลากว่า 2 สัปดาห์ คณะวิจัยได้โทรศัพท์สอบถามติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และพบว่า ผู้ป่วยกว่า 80 คน ไม่มีผู้ใดมีอาการทรุดหนักลงหลังผ่านไป 15 วัน ส่วนที่เหลืออีก 72 ราย ก็พบแค่เพียง 6 รายที่มีอาการป่วยขั้นรุนแรง โดย 4 ใน 6 คน จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

คณะวิจัยได้ให้เหตุผลถึงผลการทดลองที่เป็นไปในทิศทางบวกนี้ว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยาฟลูวอกซามีน เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการลดทอนจำนวนการผลิตโมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ จึงส่งผลต่ออาการของผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ยังเป็นเพียงการวิจัยเบื้องต้นเท่านั้น แต่ภายในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป คณะวิจัยจะขยายผลการทดลองนี้ไปทั่วคลีนิคในสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากว่า ผลการทดลองเป็นไปด้วยดี คาดว่าจะมีการยกระดับและศึกษารายละเอียดถึงความเป็นไปได้ในการใช้ยานี้ต่อไป

.

อ้างอิง: https://newsroom.uvahealth.com/2020/11/13/antidepressant-may-prevent-severe-covid-19-clinical-trial-finds/

พูดจาภาษานิ้ว

ช่วงนี้อะไรๆ ก็มีแต่นิ้วนะฮะ ไปไหนเห็นแต่คนชูนิ้วสลอน เมื่อวันก่อนเจอคนชูนิ้วโป้งดำปี๋ ตกใจมือทาบอก! อ๋อ! คุณพี่เพิ่งเอาทองไปตึ๊งที่โรงรับจำนำนี่เอง เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ราคาทองขึ้นเอ๊าขึ้นเอา! อันนี้ก็เข้าใจ

เอ้า! ไปเจอเด็กชายวัยรุ่นใส่ช็อพน้ำตาลเดินมากลุ่มใหญ่ ชู 3 นิ้วให้ด้วย ตกใจมือทาบอก! นึกว่าจะชวนไปเย๊วๆ ที่ไหน อ๋อ! กลุ่มลูกเสือเขาสวัสดีเรานั่นเอง มารยาทงามแท้

เพราะสัญลักษณ์นิ้วมีมากมายจริงไรจริง ว่าแล้วเราไปเปิดคอร์ส ‘เรียนภาษานิ้ว’ กันดีกว่า ทำนิ้วแบบไหนหมายถึงอะไร และทำนิ้วแบบใด เสี่ยงถึงชีวิต! ไปดูกันฮ่ะ!

 

 

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top