Monday, 19 May 2025
ค้นหา พบ 48202 ที่เกี่ยวข้อง

ปลื้มปริ่ม!! ‘คุณพ่อ’ ส่งลูกสาวเข้าพิธีวิวาห์ ฝากเจ้าบ่าว “ถ้าวันไหนไม่รัก อย่าทำร้าย แค่พาเธอกลับมาหาพ่อ”

วันแต่งงานถือเป็นวันสุดพิเศษ ไม่ใช่เพียงเจ้าสาวและเจ้าบ่าวรอคอย แต่พ่อแม่ผู้ปกครองของพวกเขายังเฝ้ารอวันนี้ด้วย ลูกตัวน้อยที่เติบโตจนเป็นผู้ใหญ่ เตรียมสร้างครอบครัว ทำให้พวกท่านต่างเตรียมคำพูดที่จะมาพูดกับลูกมากมาย

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.66 ‘ไคลี่ โยว’ ผู้ใช้ติ๊กต็อกจากสิงคโปร์ได้โพสต์วิดีโอชวนซึ้ง เป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อของเธอได้พูดฝากฝังเธอไว้กับเจ้าบ่าว ซึ่งคำพูดทุกคำล้วนกลั่นออกมาจากหัวใจ ทำผู้คนภายในงานต่างน้ำตาซึม

โดยคุณพ่อได้ขอให้เจ้าบ่าวช่วยรักและดูแลลูกสาวของเขาให้ดี ขอให้ครองคู่กันชั่วนิรันดร์ มีสุขภาพแข็งแรง และถ้าวันใดวันหนึ่งเจ้าบ่าวไม่รักลูกสาวของเขาแล้ว ได้โปรดอย่าทำร้ายเธอและส่งเธอคืนมาให้เขา

“พ่อมอบลูกสาวสุดที่รักของพ่อให้แล้ว พ่อรู้ว่าคุณรักเธอมาก พ่อขอคุณให้รัก ดูแลเธอ และให้ความสำคัญกับเธอในทุกเรื่องเสมอ พ่อขอให้อวยพรให้ทั้งคู่มีความสุข รักยืนยาวชั่วนิรันดร์

ถ้าวันหนึ่งเกิดเปลี่ยนใจ ไม่ได้รักลูกสาวของพ่อแล้ว ได้โปรดอย่าทำร้ายเธอเลย แค่พาเธอกลับมาหาพ่อและคืนเธอมาให้พ่อก็พอ”

หลังจากคุณพ่อพูดจบ เจ้าบ่าวก็ให้คำมั่นว่า สิ่งที่คุณพ่อกลัวจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน จากนั้นคุณพ่อก็ส่งตัวลูกสาวไปให้เจ้าบ่าวและสวมกวดกับทั้งคู่

ต่อมา ไคลี่ ได้เปิดเผยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่เธอเห็นพ่อร้องไห้ เธอไม่รู้มาก่อนว่าคุณพ่อจะเตรียมคำพูดมา และที่สำคัญเธอไม่เคยได้ยินคุณพ่อพูดคำกล่าวที่ยาวเช่นนี้มาก่อน

“สามีของฉันน้ำตาไหล เขาร้องไห้หนักมาก พวกเรายังคงน้ำตาไหลเมื่อดูวิดีโอซ้ำ ๆ และฉันคิดว่าเราก็ยังคงเสียน้ำตาในงานแต่งของคนอื่น เพราะมันทำให้เรานึกถึงช่วงเวลานี้”

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ส่งความสุข และกำลังใจ มอบอั่งเปา ชุดของขวัญ และจัดเลี้ยงอาหารแก่ผู้สูงวัย ในสถานสงเคราะห์คนชรา และสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง รวม 8 แห่ง เนื่องในเทศกาลตรุษจีน ประจำปี 2567

วันนี้ (วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย พร้อมด้วยนางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ นำทีมฝ่ายสังคมสงเคราะห์ฯ นำโดย นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นางสาวดวงชุตา ติยะพจนพรกุล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และนางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ ลงพื้นที่มอบเงินอั่งเปาคนละ 1,000 บาท  พร้อมชุดของขวัญ และจัดเลี้ยงอาหาร ให้กับผู้สูงวัยในสถานสงเคราะห์คนชราปากน้ำ (มูลนิธิวัยวัฒนานิวาส) สถานสงเคราะห์คนชราบางเขน (มูลนิธิธารนุเคราะห์) และสถานสงเคราะห์คนชราปทุมธานี (มูลนิธิมิตรภาพสงเคราะห์) เพื่อเป็นการเยี่ยมเยียนและเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้สูงวัย เนื่องในเทศกาลตรุษจีน ประจำปี 2567  โดยมีมูลนิธิจีน 4 แห่ง ประกอบด้วย มูลนิธิสามัคคีการกุศลสงเคราะห์ มูลนิธิส่งเสริมวัฒนธรรม มูลนิธิส่งเสริมศีลธรรมสงเคราะห์ และ มูลนิธิศรัทธาสงเคราะห์ ร่วมดำเนินการ พร้อมด้วย นางชญาน์นันท์ สรพลจิโรจเดชา หัวหน้าแผนกสื่อสารองค์กร(จีน)  พร้อมทีมงาน และนางสาวอัญชลี จงคดีกิจ (ปุ๊-อัญชลี) ร่วมลงพื้นที่มอบสิ่งของ โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่น 

และในวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง กำหนดลงพื้นที่ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบางละมุง จ.ชลบุรี สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี จ.นนทบุรี ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุปทุมธานี จ.ปทุมธานี สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี จ.ปทุมธานี และ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี จ.ปทุมธานี เพื่อมอบเงินอั่งเปาคนละ 1,000 บาท  พร้อมชุดของขวัญ และจัดเลี้ยงอาหาร  เพื่อเป็นการเยี่ยมเยียนและเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้สูงวัย เนื่องในเทศกาลตรุษจีน ประจำปี 2567

โครงการป่อเต็กตึ๊ง จัดเลี้ยงอาหารคนชรา เนื่องในเทศกาลตรุษจีน ของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มูลนิธิได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา 57 ปี โดยในปี 2567 นี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และมูลนิธิอีก 4 แห่ง  สถานสงเคราะห์คนชรา ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการ และสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง  รวม 8 แห่ง  รวมงบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 755,000 บาท (เจ็ดแสนห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung

5 ประเทศที่ ‘คนเวียดนาม’ ไปเรียนต่อมากที่สุด

จากข้อมูลของ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในปี 2021 เวียดนามเป็นประเทศอาเซียนที่มีประชากรออกไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศ จำนวนทั้งหมด 137,022 คน

โดยจุดหมายยอดฮิต 5 อันดับแรก คือ ญี่ปุ่น (44,128 คน) เกาหลีใต้ (24,928 คน) สหรัฐอเมริกา (23,155 คน) ออสเตรเลีย (14,111 คน) แคนาดา (8,943 คน) นอกจากนี้ ตัวเลขนักเรียนนอกของเวียดนามเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนยังเรียกได้ว่านำแบบไม่เห็นฝุ่น เพราะอันดับ 2 อย่าง ‘อินโดนีเซีย’ นั้นมีจำนวนนักเรียนที่ไปเรียนต่างประเทศเพียง 59,224 คน อันดับ 3 อย่าง ‘มาเลเซีย’ มี 48,810 คน ขณะที่ ‘ไทย’ ที่มาเป็นอันดับที่ 4 มีทั้งหมด 28,609 คน

ปัจจัยที่ทำให้เวียดนามมีนักเรียนออกไปเรียนต่างประเทศได้มาก มีทั้ง ‘ค่านิยมในการออกไปเรียนต่างประเทศของชาวเวียดนาม’ เอง ในกรณีที่เป็นครอบครัวมีฐานะและมีกำลังส่งลูกหลานไปเรียน และ ‘ทุนการศึกษาจากต่างประเทศ’ 

โดยในหมู่ทุนการศึกษาทั้งหมด ทุนที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ คือ ทุนจากมูลนิธิ Vietnam Education Foundation (VEF) ที่ ‘สหรัฐอเมริกา’ ตั้งขึ้นในปี 2003 เพื่อให้ทุนการศึกษาเด็กเวียดนามไปศึกษาต่อในสหรัฐฯ โดยใช้เงินจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่เวียดนามส่งเป็นเงินใช้หนี้สงครามให้สหรัฐฯ ทุกปี โดยส่วนมากจะได้เข้าศึกษาในคณะและสาขาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยดังระดับโลกต่าง ๆ ทั้ง Harvard และ Stanford

ความสำคัญของทุนนี้เห็นได้ชัดจากผลงานของผู้ได้รับทุนเก่าที่ส่วนมากกลับมาทำงาน และประสบความสำเร็จในการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ในประเทศ โดยเฉพาะสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยี โดยผลงานที่โดดเด่นของผู้ได้รับทุน VEF ก็อย่างเช่น Palexy บริษัทสตาร์ตอัปด้านแมชชีนเลิร์นนิ่ง และ VNG บริษัทยูนิคอร์นเจ้าของแอปแชท Zalo ที่ในปัจจุบันเป็นที่นิยมในเวียดนามมากกว่า Facebook

นี่ทำให้นอกจากเวียดนามจะมีเด็กไปเรียนต่างประเทศเป็นจำนวนมากแล้ว จำนวนหนึ่งยังเป็นผู้ที่กำลังศึกษาด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นแรงงานที่เป็นที่ต้องการมากในหลาย ๆ ประเทศที่กำลังแข่งขันกันสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้ง เวียดนามที่มีการเติบโตรวดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีศักยภาพในการดึงแรงงานกลับประเทศ ไม่เกิดปรากฏการณ์ ‘สมองไหล’ อย่างที่ผ่านมา

ปัจจุบัน เวียดนามมีตลาดงานที่พร้อมรองรับบัณฑิตศักยภาพสูงจากต่างประเทศ เพราะเป็นประเทศที่มีบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ สนใจเข้าไปลงทุนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น LG และ Alibaba และมีศักยภาพในการผลิตสินค้าเทคโนโลยีระดับสูงต่าง ๆ โดยในปี 2020 มีการส่งออกสินค้าในประเภทนี้คิดเป็นสัดส่วนถึง 42% เพิ่มจากเพียง 13% ในปี 2010

จากการศึกษาของ Google, Temasek, และ Bain เวียดนามจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตมากที่สุดในภูมิภาคภายอาเซียนภายในปี 2025 และดึงดูดเงินลงทุนได้มากที่สุดในระหว่างปี 2025-2030

‘บอร์ดอีวี’ ไฟเขียว!! ซื้อ ‘รถบัส-รถบรรทุกไฟฟ้า’ ลดภาษีสูงสุด 2 เท่า ชี้!! มีผลบังคับใช้ถึงสิ้นปี 68 หวังลดการปล่อย ‘มลภาวะ’ ภาคขนส่ง

(21 ก.พ.67) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือบอร์ดอีวี (EV) ครั้งแรกของปี 2567 โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบมาตรการสำคัญเพื่อส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าให้ครบทั้งระบบ

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ทั้งรถโดยสารไฟฟ้า (E-Bus) และรถบรรทุกไฟฟ้า (E-Truck) โดยอนุญาตให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้ามาใช้งานมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

โดยแยกเป็น กรณีซื้อรถที่ผลิตหรือประกอบในประเทศ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 เท่า ส่วนกรณีนำเข้ารถสำเร็จรูปจากต่างประเทศ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่า 

สำหรับมาตรการนี้จะมีผลใช้บังคับจนถึงสิ้นปี 2568 ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ซื้อรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้ามาใช้งานสามารถซื้อได้ไม่จำกัดจำนวน และไม่กำหนดเพดานราคาขั้นสูง คาดว่ามาตรการนี้จะช่วยเร่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนรถยนต์เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 คัน โดยขั้นตอนต่อจากนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมสรรพากร พิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

นายนฤตม์ กล่าวว่า การออกมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่นี้ จะช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจในการลดการปล่อยคาร์บอน ช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน รวมถึงช่วยสร้างฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศ 

“การที่บอร์ดอีวีได้ออกมาตรการสนับสนุนการใช้รถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าในครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดจากมาตรการ EV3 และ EV3.5 ที่เน้นกลุ่มรถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ และรถกระบะเป็นหลัก คาดว่าจะมีการซื้อรถโดยสารไฟฟ้าประมาณ 6,000 คัน และรถบรรทุกไฟฟ้าอีก 4,000 คัน ช่วยลดการปล่อยมลภาวะในภาคการขนส่ง และผลักดันการเป็นศูนย์กลางอีวีของภูมิภาคในรถยนต์ทุกประเภท” นายนฤตม์ กล่าว

พร้อมกันนี้ที่ประชุมบอร์ดอีวี ยังได้เห็นชอบให้ปรับปรุงมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 เช่น ขยายขอบเขตของรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิให้ครอบคลุมรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และเพิ่มคุณสมบัติของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า กรณีที่มีขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 3 kWh แต่มีระยะทางวิ่งมากกว่า 75 กิโลเมตรต่อรอบการชาร์จ รวมทั้งมีมาตรฐานความปลอดภัย สามารถเข้าร่วมมาตรการ EV3.5 ได้ เพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการมากขึ้น

ทั้งนี้ ที่ผ่านมามาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐสามารถกระตุ้นตลาดอีวีในประเทศ ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เห็นได้จากยอดจดทะเบียนรถยนต์อีวีที่สูงถึงกว่า 76,000 คันในปี 2566 เพิ่มขึ้น 6.5 เท่าจากปีก่อน นำมาสู่การลงทุนในอุตสาหกรรมอีวีแบบครบวงจร

โดยข้อมูล ณ สิ้นปี 2566 บีโอไอ ได้ให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมอีวี จำนวน 103 โครงการ เงินลงทุนรวม 77,192 ล้านบาท แบ่งเป็น

- รถยนต์อีวี 18 โครงการ 40,004 ล้านบาท
- รถจักรยานยนต์อีวี 9 โครงการ 848 ล้านบาท
- รถบัสอีวีและรถบรรทุกอีวี 3 โครงการ 2,200 ล้านบาท
- แบตเตอรี่สำหรับรถอีวีและ ESS 39 โครงการ 23,904 ล้านบาท
- ชิ้นส่วนสำคัญ 20 โครงการ 6,031 ล้านบาท
- สถานีอัดประจุไฟฟ้า 14 โครงการ 4,205 ล้านบาท

ผบ.ศูนย์สงครามพิเศษ ประดับปีกร่ม ให้กับนักศึกษา มส.16 เข้าเป็นครอบครัวพลร่มป่าหวาย 

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ศูนย์สงครามพิเศษ จ.ลพบุรี พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานมูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง และประธานหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.) พร้อมด้วยพล.อ.ดร.มารุต ปัชโชตะสิงห์ ผู้อำนวยการหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคง
ขั้นสูง (มส.) ผศ.พล.อ.ต.หญิง ดร.พัชรี พิพิธสุขสันต์ รองผู้อำนวยการฯ ดร.วรวุฒิ ไชยศร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ พร้อมอาจารย์ประจำหลักสูตร นำนักศึกษาหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.) รุ่น 16 ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ โดยมี พล.ต.เดชา ศรีมงคล  (ผบ.ศสพ. )ผบ.ศูนย์สงครามพิเศษ ให้การต้อนรับ และบรรยายสรุปถึงความเป็นมาของหน่วย 

พร้อมกันนี้ พล.ต.เดชา ศรีมงคล เป็นประธานในพิธีประดับเครื่องหมายร่มสัมพันธ์ ให้นักศึกษาหลักสูตร มส.รุ่น 16 เข้าเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ 

จากนั้น คณะนักศึกษาร่วมฟังการบรรยายพิเศษจาก คุณสมนึก เต็งชาตะพันธุ์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สุรินทร์ ออมย่า เคมิคอล (ประเทศไทย) จำกัด ฐานะรองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก่อนจะเดินทางกลับ 

สำหรับหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง ( มส) จัดโดย มูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง ภายใต้วิสัยทัศน์ 4 สร้างคือ สร้างความมั่นคงแห่งชาติ สร้างความมั่นคงของมนุษย์ สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม สร้างคุณธรรมจริยธรรม 

เป็นหลักสูตรเดียวที่นำผู้เข้ารับการอบรมศึกษาดูงานด้านความมั่นคงครบทั้ง 4 เหล่าทัพ คือ กองทัพอากาศ  กองทัพบก กองทัพเรือ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ เข้าใจ เข้าถึงบทบาทหน้าที่ภารกิจของกองทัพแต่ละกองทัพ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อร่วมกันพัฒนาสังคม ประเทศชาติให้เกิดความมั่นคงในทุกมิติ ตามวิสัยทัศน์ 4 สร้างของหลักสูตร มส.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top