Tuesday, 20 May 2025
ค้นหา พบ 48202 ที่เกี่ยวข้อง

เสธ.เปิ้ล 'พลโท เจียรนัย วงศ์สอาด' ผงาด!! นั่งบอร์ด กฟผ. ร่วมทีมสร้างพลังงานไทยเป็นธรรม เพื่อประชาชน

(20 ก.พ. 67) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติ/เห็นชอบ การแต่งตั้ง ดังนี้...

ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวม 10 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์และขอลาออก ดังนี้...

1.นายประเสริฐ สินสุขประเสิริฐ ประธานกรรมการ
2.รองศาสตราจารย์กุลยศ อุดมวงศ์เสรี กรรมการ
3.พลโท เจียรนัย วงศ์สอาด กรรมการ
4.รองศาสตราจารย์ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา กรรมการ
5.นางสาวนิรมาณ ไหลสาธิต กรรมการ
6.นายปกรณ์ อาภาพันธุ์ กรรมการ
7.นายพรพจน์ เพ็ญพาส กรรมการ
8.ศาสตราจารย์พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กรรมการ
9.นายวรากร พรหโมบล กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงพลังงาน)
10.นายอัครุตม์ สนธยานนท์ กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)

โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป 

สำหรับ เสธ.เปิ้ล พลโท เจียรนัย วงศ์สอาด เคยเป็นแกนนำ ตท.29 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสำนักปลัดกลาโหม และเคยเป็น ประธานบอร์ดการเคหะฯ ในยุครัฐบาลบิ๊กตู่ ซึ่งมี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยความเป็นธรรม และเร่งรัดการปฏิบัติราชการในขณะนั้น

'กรมเจ้าท่า' เตรียมเผยโฉมใหม่ 'ท่าเรือท่าเตียน' มี.ค.นี้   พร้อมเร่งพัฒนาท่าเรืออื่นๆ ในกรุงเทพและปริมณฑล 

(20 ก.พ.67) นายกริชเพชร ชัยช่วย อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยว่า ท่าเรือท่าเตียนมีความสำคัญตั้งแต่ในอดีต เป็นท่าเรือสำคัญของพระนคร ในฐานะตลาดการค้าขนาดใหญ่ เป็นจุดขนส่งอาหาร ผัก ผลไม้ และเป็นท่าเรือโดยสารอีกด้วย ปัจจุบันความสำคัญท่าเรือท่าเตียน มีจุดเชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญมากมาย อาทิ พระบรมมหาราชวัง, วัดพระแก้ว, วัดโพธิ์, วัดอรุณฯ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งทางน้ำและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มีความสำคัญอย่างมาก และด้วยตำแหน่งที่ตั้งของท่าเตียนในปัจจุบัน ที่อยู่ตรงข้ามกับพระปรางค์วัดอรุณฯ จะทำให้เป็นอีกหนึ่งท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เป็น Landmark ให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มาเช็กอิน และถ่ายภาพ มุมฝั่งตรงข้าม ที่เห็นพระปรางค์วัดอรุณฯ ที่สวยงามยามพระอาทิตย์ตก 

สำหรับ ท่าเรือท่าเตียน มีความสำคัญสำหรับการเดินทางคมนาคมทางน้ำ รองรับเรือต่างๆ ดังนี้ 1. เรือข้ามฝากท่าเตียน ฝั่งท่าวัดอรุณ ธนบุรี 2. เรือโดยสารสาธารณะ (เรือด่วนเจ้าพระยา เรือไฟฟ้า) 3. เรือทัวร์ และเรือทั่วไป

ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า ได้ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณท่าเรือท่าเตียน และพื้นที่ด้านหน้าอาคารสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมออกทั้งหมด แล้วดำเนินการก่อสร้างท่าเรือใหม่ เพื่อใช้สำหรับการคมนาคมทางน้ำ ทั้งเรือข้ามฟากและเรือโดยสาร อีกทั้งใช้เป็นแหล่งพักผ่อน และชมวิวทิวทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมออกแบบท่าเรือให้กลมกลืนกับ อาคารบริเวณใกล้เคียงโดยต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ซึ่งท่าเรือฯ มีสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ให้บริการ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ลานโล่ง รวม 1,320 ตารางเมตร มีอาคารพักคอย จำนวน 2 หลัง พร้อมทางลาดสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ เก้าอี้รองรับสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ที่จอดรถวีลแชร์และการประชาสัมพันธ์ด้วยระบบภาพและเสียง สำหรับโป๊ะเทียบเรือ มีจำนวน 4 ลูก ประกอบด้วย ท่าเรือข้ามฟาก จำนวน 2 ลูก และท่าเรือโดยสาร จำนวน 2 ลูก โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 39.047 ล้านบาท พร้อมเปิดใช้ในเดือนมีนาคม 2567 นี้

สำหรับแผนพัฒนาท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นสถานีเรือ 29 ท่า อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา โดย...

1. แบ่งเป็นท่าเรือที่ปรับปรุงแล้วเสร็จ จำนวน 9 ท่า ได้แก่ท่ากรมเจ้าท่า, ท่าสะพานพุทธ, ท่าเรือนนทบุรี, ท่าเรือพายัพ, ท่าบางโพ, ท่าช้าง, ท่าราชินี, ท่าเตียน, ท่าสาทร 

2. ท่าเรือที่อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุง มีจำนวน 5 ท่า ได้แก่...

- ท่าพระปิ่นเกล้า ผลงาน 60% คาดว่าจะแล้วเสร็จ เม.ย. 67
- ท่าพระราม 5 ผลงาน 45% คาดว่าจะแล้วเสร็จ พ.ค. 67
- ท่าปากเกร็ด ผลงาน 20% คาดว่าจะแล้วเสร็จ ส.ค. 67
- ท่าพระราม 7 ผลงาน 42% คาดว่าจะแล้วเสร็จ พ.ย. 67
- ท่าเกียกกาย ผลงาน 24% คาดว่าจะแล้วเสร็จ ธ.ค. 67

ทั้งนี้ เนื่องจากตำแหน่งก่อสร้างเป็นบริเวณเดียวกับตำแหน่งก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การก่อสร้างทั้ง 2 โครงการไม่กีดขวางกันจึงมอบให้ กรุงเทพมหานคร ดำเนินการต่อ)

3. ในปี พ.ศ. 2568 วางแผนจะพัฒนาปรับปรุงเพิ่มอีกจำนวน 4 ท่า ได้แก่ ท่าโอเรียนเต็ล, ท่าเทเวศร์, ท่าสะพานกรุงธน (ซังฮี้) และท่าเขียวไข่กา

4. ในปี พ.ศ. 2569 วางแผนจะพัฒนาปรับปรุงเพิ่มอีกจำนวน 11 ท่า ได้แก่ ท่าราชวงศ์, ท่าวัดเทพากร, ท่าพิบูลสงคราม 2, ท่าวัดเทพนารี, ท่าวัดตึก, ท่ารถไฟ, ท่าพิบูลสงคราม, ท่าสี่พระยา, ท่าวัดเขมา, ท่าพรานนก และท่าวัดสร้อยทอง

อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวเพิ่มเติม กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการตามนโยบาย 'คมนาคม เพื่อความอุดมสุข ของประชาชน' ซึ่งหมายถึงความสุขของประชาชนในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านความปลอดภัย ด้านการให้บริการที่เป็นมาตรฐานสากลและด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกรอบแนวทางภายใต้นโยบายของรัฐบาลและทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม จะต้องขับเคลื่อนนโยบายด้านต่างๆ สู่การปฏิบัติ เพื่อประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดความสะดวกและความปลอดภัย

‘มาเลเซีย’ หวังคว้าประโยชน์จาก ‘เทคโนโลยีจีน’ ภาคส่วนการบิน เชื่อ!! จะนำโอกาสมาให้ พร้อมก้าวสู่บทบาทห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

เมื่อวานนี้ (19 ก.พ.67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เหลียวชินตง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรมของมาเลเซีย กล่าวว่ามาเลเซียต้องการคว้าประโยชน์จากเทคโนโลยีของจีนในภาคส่วนการบิน เพื่อมีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกในภาคส่วนดังกล่าว

ทั้งนี้ เหลียวชินตง ได้ขึ้นกล่าวที่การประชุมการบินมาเลเซีย-จีน ปี 2024 (Malaysia-China Aviation Forum 2024) ระบุว่า อุตสาหกรรมการบินและอวกาศที่เติบโตอย่างรวดเร็วของจีนจะนำมาซึ่งโอกาสและพลวัตใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่มาเลเซียหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์ด้วย

ซึ่ง เหลียวชินตง กล่าวเสริมว่ามาเลเซียมีสถานะที่น่าเชื่อถืออยู่แล้วในด้านวัสดุการบิน รวมถึงการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบของเครื่องบิน แต่เราต้องการเดินหน้าทำงานมากกว่านี้และมีส่วนสำคัญมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

การประชุมฯ เน้นย้ำถึงความร่วมมือที่ผสานรวมความเชี่ยวชาญของจีน และความปรารถนาของมาเลเซียในการเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการบินและอวกาศระดับโลก

ทั้งนี้ แบบพิมพ์เขียวอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของมาเลเซีย ปี 2030 ระบุว่ามาเลเซียตั้งเป้าเป็นประเทศด้านการบินและอวกาศแห่งหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นส่วนสำคัญของตลาดโลกภายในปี 2030 โดยคาดการณ์ทำรายได้ต่อปี 5.52 หมื่นล้านริงกิต (ราว 4.16 แสนล้านบาท) และสร้างตำแหน่งงานที่มีรายได้สูงกว่า 32,000 อัตรา

สมุทรปราการ-จัดใหญ่ !! “นันทิดา” จับมือภาครัฐ ภาคเอกชน หวนรำลึก ร.ศ.112 เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยกว่า 130 ปี “ปราการเวลา The Theatre”

นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วย นางสาวนันทิดา แก้วบัวสาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ พล.ร.ท.กำจร เจริญเกียรติ รองเสนาธิการทหารเรือสายงานกิจการพลเรือน ร่วมแถลงข่าวการจัดงานการแสดงแสง เสียง สื่อผสมในรูปแบบมิวสิคัล รำลึกเหตุการณ์ ร.ศ.112 ตอน “ปรากาลเวลา The Theatre” ภายในชั้น 24 หอชมเมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ  

โดยทางด้าน นางสาวนันทิดา แก้วบัวสาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ประธานการจัดงาน กล่าวว่า โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผู้ทรงวางรากฐาน สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่คนไทย และระลึกถึงวีรบุรุษผู้เสียสละปกป้องอธิปไตยรักษาดินแดนของชาติ ตลอดจนร่วมรำลึกเหตุการณ์ ร.ศ.112 เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ผ่านมา กว่า 130 ปี มีการแสดงละครเวที แสง เสียง สื่อผสมในรูปแบบมิวสิคัล ตอน”ปราการเวลา The Theatre”

พร้อมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรปราการ และยังเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของจังหวัดสมุทรปราการได้อีกด้วย ภายในงานมีเหล่านักแสดงมากฝีมืออย่าง นพพล โกมารชุน, แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์, สองพระเอกหนุ่มช่อง 7 HD โอ๊ด รัฐธีร์ วรโรจน์โยธิน, หลุยส์ เฮส, มิลลี่ อภิสรา วงศ์ทัศนีโย, สปาย ภาสกรณ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์ พร้อมนักแสดงรับเชิญ ทหารเรือ นักเรียน นักศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมถ่ายทอดเรื่องราว พร้อมเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมฟรี 4 รอบการแสดง 14 มี.ค.- 17 มี.ค.2567 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า

ด้านนายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดสมุทรปราการ ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาลที่ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน อาหาร และของดีประจำท้องถิ่นช่วยสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมของจังหวัดสมุทรปราการอีกด้วย

ด้าน พล.ร.ท.กำจร เจริญเกียรติ รองเสนาธิการทหารเรือ สายงานกิจการพลเรือน กล่าวว่า กองทัพเรือ ในฐานะผู้ดูแลป้อมพระจุลจอมเกล้า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เอื้อเฟื้อสถานที่กำลังพลมีส่วนร่วมทำการแสดง รวมถึงอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน นักท่องเที่ยว ในการเข้ามาร่วมทำกิจกรรมและเข้ามาศึกษาเรียนรู้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การจารึกไว้ในความทรงจำ นอกจากนี้ก่อนการแสดงยังสามารถเข้าชมนิทรรศการป้อมพระจุลจอมเกล้าและ ชม ชิม ช็อป สินค้าคุณภาพใน เขื่อนขันธ์มาร์เก็ต ชุมชนคนสมุทรปราการ ได้ตั้งแต่ 15.00 น. โดยมีรถบัสอำนวยความสะดวกตามจุดสำคัญตลอดงาน ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Page:ปราการเวลา The Theatre

คิว-ข่าวสมุทรปราการ รายงาน

อีอีซี ร่วมมือ มูลนิธิเสนาะอูนากูลม.บูรพา พร้อมภาคีเครือข่าย เปิดเวทีสัมมนา “บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก” สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำผลักดันลงทุนเศรษฐกิจสีเขียวสู่การพัฒนาพื้นที่ อีอีซีและชุมชนอย่างยั่งยืน  

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)หรืออีอีซี ร่วมกับมูลนิธิเสนาะ อูนากูล มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)และศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี เรื่องสถานการณ์ภาคตะวันออก พ.ศ. 2567 หัวข้อ “ระบบนิเวศของภาคตะวันออก และการบริหาร จัดการน้ำ”ณ หอประชุมธํารงบัวศรีมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูล เป็นประธาน ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี ร่วมปาฐกถาพิเศษ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวให้การต้อนรับ พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมเสวนา และนำเสนอกรณีศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา กรรมการมูลนิธิเสนาะ อูนากูลดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการ TDRI ดร.ดิชพงษ์ ภูมิเกียรติศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบนวัตกรรม GISTDA นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช ประธานสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ส.อ.ท.เป็นต้น และมีดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI ร่วมดำเนินการเสวนา 
 ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูลกล่าวว่า งานสัมมนาฯ ครั้งนี้เพื่อเป็นเวทีกลางแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกให้มีใช้อย่างยั่งยืน ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนรวมทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาสังคม ตลอดจนสถาบันการศึกษาและเยาวชน อีกทั้งเพื่อนำเสนอ“รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออกพ.ศ. 2565”เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ให้สาธารณชนโดยรวมได้รับทราบสถานภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ โดยมูลนิธิเสนาะ อูนากูล ได้จัดทำรายงานชิ้นนี้เพื่อติดตามสถานการณ์การพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนำเสนอข้อมูลโดยสรุป หรือDashboardเรื่อง State of the Eastern Regionเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงใน 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการพัฒนาในพื้นที่

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวถึง การบริหารความพิเศษเพื่อโอกาสของ อีอีซี ซึ่งเป็นการพัฒนาภายใต้แนวคิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยได้ใช้ข้อมูลเดียวกับแนวคิดการพัฒนาอีอีซี กลไกในการขับเคลื่อนการลงทุนและการบริหารงานใน สกพอ. การส่งเสริมการให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ การพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซี รวมถึงสิทธิประโยชน์ และมาตรการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนที่ สกพอ. พร้อมให้บริการมาตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 
2566 – 2570 

สำหรับงานสัมมนาวิชาการฯ ครั้งนี้ ได้นำเสนอกรณีศึกษาในการจัดการน้ำในพื้นที่ทั้งที่ใช้ระบบเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังของชุมชน เช่นระบบ Actionable Intelligence Policy (AIP) ที่ GISTDA ได้พัฒนาและทดลองดำเนินการเพื่อเสริมการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซีและกรณีศึกษาชุมชนในท้องถิ่นที่บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง ซึ่งมีความเข้มแข็งในการจัดการทรัพยากรน้ำด้วยตนเอง เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพและทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำในพื้นที่

นอกจากนี้ ภายในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการจัดการน้ำในภาคตะวันออกซึ่งมี ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์  ประธาน TDRI ดำเนินการเสนวนา ได้เจาะลึกถึงข้อเสนอหลักจากรายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก พ.ศ. 2565 ดังกล่าวรวมทั้งได้มีการอภิปรายจากมุมมองของหน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรผู้ใช้น้ำโดยเฉพาะภาคเอกชน รวมทั้ง TDRI GISTDA สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
โดยในรายงานฯ ได้มี4ข้อเสนอหลัก ถึงเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกได้แก่
1)ปรับวิธีคิดของภาครัฐในการจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยให้คำนึงถึงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ 2)เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน และองค์กรผู้ใช้น้ำ โดยพัฒนาบุคลากรและเพิ่มทักษะความรู้ ให้กับบุคลากรในองค์กรทุกระดับ 3)พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ หรือที่เรียกว่า Integrated Area-based Water Resource Management (IWRM)โดยอาจดำเนินการในลักษณะSandboxในอีอีซี4)เตรียมแผนรองรับ ป้องกัน และลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเผชิญกับภัยภูมิอากาศ ในเขตพื้นที่อีอีซีรวมถึงพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top