Tuesday, 20 May 2025
ค้นหา พบ 48202 ที่เกี่ยวข้อง

‘หญิงสิงคโปร์’ ตัดสินใจจัด ‘งานศพคนเป็น’ ให้ตัวเอง หวังบอกลาคนที่รักครั้งสุดท้าย ก่อนจากไปด้วยโรคมะเร็ง

(20 ก.พ. 67) กลายเป็นไวรัลสุดเศร้าในโลกออนไลน์ หลังสำนักข่าวต่างประเทศ รายงานถึงภาพวาระสุดท้ายในชีวิตของ ‘มิเชลล์ อึ้ง’ (Michelle Ng) หญิงสาวชาวสิงคโปร์ วัย 29 ปี ตัดสินใจจัดงานศพให้ตัวเองในบรรยากาศสุดอบอุ่น เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของคนที่รัก

โดยเชิญเพื่อนกับญาติ 30 คน มาร่วมงานเลี้ยง เพื่อเป็นการบอกลาครั้งสุดท้าย ก่อนที่เธอจะจากไปเพราะโรคมะเร็งในอีก 1 สัปดาห์หลังจากนั้น

ตามรายงานระบุจากข้อมูลของ ‘HCA Hospice Care’ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่จะให้ความช่วยเหลือ ดูแลแบบประคับประคองแก่ผู้ป่วย งานศพนี้มีการจัดเลี้ยงอาหาร และนักร้องมาร้องเพลง ไม่ต่างไปจากงานวันเกิด

ในคำเชิญที่มิเชลล์ส่งให้แขกที่มาร่วมงาน เธอยังสนับสนุนให้ทุกคนเขียนจดหมายฉบับสุดท้ายให้เธอ รวมถึงมีการนำหนังสือมาแลกเปลี่ยนกับญาติ และเพื่อนคนอื่น ๆ

มิเชลล์กล่าวในงานว่า “ฉันอยากจะแบ่งปันความรัก อาหาร ดนตรี และหนังสือกับเพื่อน ๆ” และบอกอีกว่า “ฉันอยากจะเรียกงานนี้ว่างานศพที่มีชีวิต… ฉันคิดว่าความตายอยู่ใกล้ใจเรามากและไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ขอบคุณที่ทำให้ฉันมีความสุขมากในวันนี้ ขอบคุณมากที่มา ฉันรู้สึกขอบคุณทุกเสียงหัวเราะที่ได้ยินและทุกรอยยิ้มที่ฉันเห็น”

อย่างไรก็ดี เดิมที มิเชลล์ เป็นนักวิ่งและนักปั่นตัวยง แถมยังมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ขณะที่ชีวิตกำลังไปได้สวยทุกอย่างก็ต้องหยุดลง เมื่อเธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งรังไข่ ขณะมีอายุเพียง 27 ปี

กระทั่งในช่วงสิ้นปี 2565 มะเร็งได้ลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย อีกทั้งการรักษา ก็ไม่ทำให้อาการของเธอดีขึ้น

จากนั้นเธอจึงตัดสินใจอยู่บ้าน และใช้เวลาอยู่กับญาติ ๆ ให้มากขึ้นในช่วงเวลาที่เหลือ ก่อนรู้ว่าตัวเองเหลือเวลาอยู่อีกไม่นาน จึงตัดสินใจจัด ‘งานศพคนเป็น’ ให้ตัวเองขึ้น เพราะอยากใช้วันสุดท้ายของชีวิตที่บ้านของเธอ ท่ามกลางคนที่เธอรักและรักเธอ

โดยงานศพในครั้งนี้ ถูกจัดขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2566 หลังจากนั้น ผ่านไปได้ 10 วัน มิเชลล์ก็เสียชีวิตลงอย่างสงบ ในวันที่ 2 ม.ค.67 ที่ผ่านมา

'นักวิจัยญี่ปุ่น' เผย!! 'ตาข่ายสีแดง' ปกป้องพืชผลจากแมลงได้ดีที่สุด บังตาพืชผล ลดใช้สารเคมี เพิ่มโอกาสพืชรับ 'แสง-น้ำ-อากาศถ่ายเท'

(20 ก.พ. 67) จาก TNN Tech เผยข้อมูลจากนักวิจัยประเทศญี่ปุ่นที่ค้นพบว่า 'ตาข่ายสีแดง' สามารถปกป้องพืชผลจากแมลงได้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ซึ่งแตกต่างจากตาข่ายที่ใช้กับแปลงปลูกผักแบบกางมุ้งในปัจจุบันที่มักเป็นสีดำ สีขาว สีเขียวหรือสีน้ำเงิน

แม้ว่าการปลูกพืชในมุ้งจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ผักปลอดจากสารเคมีกำจัดแมลงมากที่สุด แต่ยังคงมีแมลงบางชนิดที่สามารถหลุดรอดผ่านมุ้งเข้าไปทำลายแปลงผักของเกษตรกรได้ โดยเฉพาะ 'เพลี้ยไฟหัวหอม' ซึ่งนอกจากกินต้นพืช มันยังมีเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายทิ้งเอาไว้ด้วย

งานวิจัยตาข่ายสีแดงปกป้องพืชชิ้นนี้เกิดขึ้นโดยความบังเอิญหลังมีการตรวจพบว่าเพลี้ยไฟหัวหอม มักอยู่ห่างจากพืชที่ถูกฉายรังสีด้วยแสงสีแดง ทำให้ศาสตราจารย์ มาซามิ ชิโมดะ และทีมงานนักวิจัยมหาวิทยาลัยโตเกียว ตั้งสมมติฐานว่าหากใช้ตาข่ายสีแดงอาจสามารถกันแมลงได้ 

ทีมงานได้ใช้ตาข่ายสีแดงผสมกับสีอื่นๆ สามสี ประกอบด้วย แดง-ขาว แดง-ดำ และแดง-แดง โดยตาข่ายแต่ละสีมีขนาดรูแตกต่างกัน เช่น 2, 1 และ 0.8 มม. เพื่อให้ได้คำตอบของงานวิจัยที่แม่นยำทั้งในด้านของการใช้สีและขนาดของรูตาข่าย

ตาข่ายทั้ง 3 แบบ ถูกนำมาคลุมแปลงต้นหอมคูโจ หรือหัวหอมเวลส์ และเริ่มทำการทดลองปล่อยให้ต้นหอมเจริญเติบโต ผลการทดลองพบว่าแม้ตาข่ายสี 'แดง-แดง' จะมีรูตาข่ายขนาดใหญ่แมลงลอดผ่านได้ง่ายมากกว่าตาข่ายสีอื่น แต่ผักกลับมีร่องรอยการโจมตีของแมลงที่น้อย แสดงว่าให้เห็นว่าแมลงอาจมองไม่เห็นตาข่ายสีแดง

นักวิจัยได้ทำการค้นคว้าเพิ่มเติมและพบคำตอบว่า แมลงส่วนใหญ่รวมถึงเพลี้ยไฟหัวหอม ไม่มีเซลล์รับแสงสีแดงในดวงตาไม่สามารถมองเห็นสีแดงได้เช่นเดียวกับดวงตาของมนุษย์ ทำให้พวกแมลงไม่สามารถมองเห็นตาข่ายสีแดง รวมไปถึงผักที่โดนตาข่ายสีแดงปกป้องเอาไว้ 

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังคงทำการทดลองต่อไป เพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติของตาข่ายสีแดงที่มีผลต่อแมลงและพฤติกรรมของเพลี้ยไฟหัวหอมอย่างแท้จริง รวมไปถึงศึกษาพฤติกรรมของแมลงสายพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากตาข่ายสีแดงยังไม่สามารถป้องกันแมลงทุกสายพันธุ์ได้อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าว นับว่าเป็นการค้นพบครั้งสำคัญและอาจปูทางไปสู่การลดใช้สารเคมีปราบแมลงในการทำเกษตร นอกจากนี้การใช้ตาข่ายสีแดงและรูตาข่ายที่ใหญ่ขึ้น ยังเพิ่มโอกาสให้พืชสามารถรับแสงแดด น้ำและการไหลเวียนของอากาศได้ดีมากขึ้นยิ่งขึ้น

22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 ‘รัชกาลที่ 9’ เสด็จฯ เปิด ‘เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล’ จ.เชียงใหม่ ช่วยอำนวยประโยชน์ด้าน ‘ชลประทาน-ผลิตไฟฟ้า-บรรเทาอุทกภัย’

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เดิมชื่อว่า ‘เขื่อนแม่งัด’ ตั้งอยู่บนลำน้ำแม่งัด สาขาแม่น้ำปิง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และยังตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติศรีลานนา สำหรับทางเข้าเขื่อนอยู่ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 41 บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (สายเชียงใหม่-ฝาง) เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 11 กิโลเมตร

โดยเขื่อนอเนกประสงค์ มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ด้านเหนือเขื่อนที่สามารถอำนวยประโยชน์ได้หลายด้าน อาทิ ด้านการชลประทาน การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ การบรรเทาอุทกภัยแก่พื้นที่เพาะปลูกท้ายอ่างเก็บน้ำ การประมงในอ่างเก็บน้ำ ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ทั้งนี้ เขื่อนแม่งัดเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยกรมชลประทาน ซึ่งการก่อสร้างตัวเขื่อนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 ต่อมา กฟผ. ได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำในปี พ.ศ. 2528 แล้วเสร็จในปีเดียวกัน

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเขื่อนว่า ‘เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล’ เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2529 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 เช่นกัน

‘สุริยะ’ เผย ตั๋วเครื่องบินแพง เหตุคำนวณราคาอิงน้ำมันโลก ชี้!! ควรปรับสูตรคำนวณใหม่ ลดราคาให้ทันช่วงสงกรานต์

(20 ก.พ.67) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม กล่าวถึงกรณีผู้ใช้เครื่องบินโดยสารโพสต์ในโซเชียลมีเดียถึงราคาตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพฯ - ภูเก็ต มีราคาแพงมาก ว่า ตนได้ให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ที่ดูแลเรื่องการกำหนดเพดานค่าโดยสาร เครื่องบินหลังจากตรวจสอบแล้ว ตั๋วเครื่องบินที่บอกว่ามีราคาเป็นหมื่น ไม่ใช่เพราะเป็นการเดินทางไป - กลับ แต่ถ้าเป็นสายการบินแบบ low cost ไม่น่าจะเกิน 5,000 บาท ต่อเที่ยวบิน แต่ในขณะเดียวกันตนได้ให้ ผู้อำนวยการ กพท. ไปดูการปรับสูตรเพื่อที่จะลดราคาตั๋วเครื่องบินลง เพราะในสูตรเดิมมีค่าน้ำมัน ที่อยู่ในสูตรการคำนวณราคา แต่เดิมราคาน้ำมัน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตอนนี้น้ำมันถูกลงแล้ว จะต้องมีการปรับสูตร ทาง กพท. ก็จะชวนสายการบินต่าง ๆ มาพูดคุยกัน เพื่อหาทางลดภาระของผู้โดยสาร

เมื่อถามว่ามีราคาในใจที่คิดว่าเหมาะสมจะอยู่ที่เท่าไหร่ นายสุริยะกล่าวว่า มันคงจะต้องถูกกว่าเดิมแน่ แต่เท่าไหร่นั้นมันมีสูตรการคำนวณอยู่ และยืนยันว่าจะทันในช่วงที่ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาได้ คือช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top