Monday, 19 May 2025
ค้นหา พบ 48194 ที่เกี่ยวข้อง

‘อนุรัตน์’ หวั่นชาวพะเยาเผชิญภัยแล้ง วอนรัฐฯ พิจารณางบวางระบบประปาท้องถิ่น

(20 ก.ค. 66) นายอนุรัตน์ ตันบรรจง ส.ส. เขต 2 จังหวัดพะเยา ในอำเภอจุน ในอำเภอพูซาน อำเภอเชียงคำ กล่าวหารือถึงในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ได้รับแจ้งจากพี่น้องประชาชนใน 4 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลลอ ตำบลหิน ตำบลห้วยยางขาว และตำบลห้วย  ถึงสถานการณ์ปริมาณน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค รวมถึงเกษตร แหล่งน้ำในอำเภอจุนใน ที่ยังต้องพึ่งพิงจากธรรมชาติ โดยการขุดสระ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ แต่ขณะนี้ประชาชนกำลังได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากเกิดปัญหาภัยแล้ง น้ำในสระมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะสูบขึ้นมาใช้ในการอุปโภค บริโภค ปัญหาที่ตามมาคือ น้ำในการใช้เพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ เช่นเดียวกัน เนื่องจากประชาชนทั้ง 4 ตำบลนี้ มีอาชีพทำเกษตรกร ทำสวน ทำไร่ เป็นหลัก 

“ผมขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันงบประมาณ ส่งเสริมให้เกิดการโครงการวางท่อน้ำ HDPE จัดทำน้ำประปาระดับชุมชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด มีน้ำใช้ แต่ในขณะนี้พบว่า ยังขาดงบประมาณในการที่จะทำการวางท่อ เพื่อการผลิตน้ำปะปาที่จะป้อนให้กับประชาชนได้ใช้น้ำประปา ขอให้หน่วยงานเร่งดำเนินการพิจารณาโดยด่วน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว” นายอนุรัตน์ กล่าว

นายอนุรัตน์ กล่าวต่อว่า ถนนสาย 1021 เป็นถนนที่เชื่อมต่อจาก อำเภอจุนสู่ อำเภอเชียงคำ ใน กมที่ 70+300 -กมที่ 71+400 เป็นแยกเชียงบาน เป็นจุดเสี่ยงสำคัญ ที่ประชาชนได้ประสบอุบัติเหตุ อย่างที่เรียนไว้ข้างต้นครับ กมที่ 70+300 -กมที่ 71+400 ตนขอให้ขยายเป็นถนนสี่เลน และมีสัญญาณไฟจราจร ให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน 

‘เท่ง เถิดเทิง’ ย้อนอดีตเล่าชีวิตก่อนจะมาเป็นตลกดัง เผย ต้องหาเงินเลี้ยงดูครอบครัวมาตั้งแต่อายุ 11 ขวบ

(20 ก.ค. 66) เป็นตลกชื่อดังที่มีประสบการณ์ชีวิตที่โลดโผน และสร้างชื่อขึ้นมาได้ด้วยความมุมานะจริงๆ สำหรับตลกร้อยล้านอย่าง ‘เท่ง-พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ’ หรือ ‘เท่ง เถิดเทิง’ และเป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนจะมีชื่อเสียงโด่งดังอย่างเช่นทุกวันนี้ เจ้าตัวนั้นผ่านอาชีพการงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงลิเก การเล่นตลกคาเฟ่ เป็นต้น

ล่าสุดเจ้าตัวได้มาย้อนเล่าชีวิตในอดีต ผ่านทางรายการ โต๊ะหนูแหม่ม กับพิธีกรตัวแม่ หนูแหม่ม สุริวิภา พร้อมเผยอาชีพแรกที่เคยทำมาก่อนจะเป็นตลกมหาชนอย่างทุกวันนี้

>> ก่อนจะมาเป็นตลกมหาชน เคยทำอาชีพอะไรมาก่อน?
ก่อนหน้าที่จะเข้าสู่วงการบันเทิงเราเคยทำอาชีพรับจ้างขี่สามล้อมาก่อน ตั้งแต่อายุประมาณ 11-12 จุดเริ่มต้นที่เราทำเพราะว่ามันได้เงิน แล้วเรารู้สึกว่าปั่นสามล้อมาเอามาให้พ่อกับแม่ 30 บาท มันสามารถจุนเจือครอบครัวได้ซื้อกับข้าวได้เลย ซึ่งตอนนั้นเราไม่ได้เรียนหนังสือต่อ เพราะต้องเป็นลิเก เราก็เอาแค่อ่านออกเขียนได้พอจบ ป.4 พอ เราก็ยินดีที่จะออกมาเพื่อขับสามล้อ จนเราเก็บหอมรอมริบซื้อจักรยานให้พี่ชายคนโต เพราะตอนนั้นเค้าเรียนอยู่คนเดียว เป็นความหวังของครอบครัว

และเราก็ดาวน์จักรยานให้เขาคันนึงและส่งให้จนครบ หลังจากนั้นก็มีคนแนะนำให้เราไปล้างจานเพราะมันได้เงินรายได้ดี ซึ่งทำ 20 วันเราก็สามารถจ่ายค่าจักรยานได้ทั้งหมด จากงานแค่ 20 วันจนกลายมาเป็นอาชีพให้กับเราถึง 4 ปี อยู่ทางภาคอีสานได้สักพัก ก็ไปอยู่ที่ใต้อีก 7 ปี

>> เสียดายไหมที่ไม่ได้เรียนหนังสือ?
ต้องบอกตามตรงว่าเวลาเราไปเห็นคนในสถานที่ตามราชการเรา รู้สึกว่าเราโชคดีมากถ้าเรียนจบมาทำงานแบบนี้คงไม่ใช่ทาง เลยไม่เสียดายเลย จนได้มาเล่นลิเก แต่วันที่เข้ามาในกรุงเทพเราไม่ได้ตั้งใจจะมาหางานทำเพราะตั้งใจแค่มาหาเงินเท่านั้น วันแรกเค้าให้ไปเก็บของก่อนแต่ให้ค่าตัวมา 150 บาท ตอนนั้นบอกกับตัวเองว่าเรารวยแล้ว จนอยู่มาเรื่อย ๆ เลยได้มาเป็นตัวเล่น

>> เป็นตัวเล่นจากพรสวรรค์หรือพรแสวง?
ผมว่าน่าจะทั้งสองอย่าง ซึ่งก็จะใช้เวลาไม่นาน ก็ได้มาอยู่กับ พี่หม่ำ ในเวิร์คพอยท์ จุดเริ่มต้นเราได้มาเป็นตัวแจ้งในรายการชิงร้อยชิงล้าน จนมีคนรู้จักมากขึ้น

>> จนวันหนึ่งได้มาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์?
แล้วก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์ แต่ตอนแรกเราไม่ได้อยากเป็นผู้กำกับ แต่ก็ได้ทำอะไรหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทเอง

>> ในที่สุดก็ได้เป็นนักร้อง 100 ล้านวิว?
ตอนแรกเราก็คิดว่าเราทำได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นลิเก เดินเล่นตลก ก็เลยคิดว่าอยากลองทำเพลงสนุก ๆ จากจุดเล็ก ๆ ก็กลายเป็นความภาคภูมิใจให้กับตัวเราเอง

22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ในหลวงรัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระราชหฤทัย นำประเทศไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1

วันนี้เมื่อกว่า 105 ปีมาแล้ว เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระราชหฤทัย นำประเทศไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2457-2461 โดยเป็นความขัดแย้งระหว่าง ฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย เป็นผู้นำ กับฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งมีเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เป็นผู้นำในเหตุการณ์ครั้งนั้น ประเทศสยาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดำเนินนโยบายรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด

กระทั่งในปี พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และปราศจากมนุษยธรรม ส่งผลให้เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 พระองค์ทรงตัดสินพระราชหฤทัยประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง และเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร พร้อมทั้งส่งกองทหารอาสาไปร่วมรบณ สมรภูมิทวีปยุโรป

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 โดยฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้สร้างถาวรวัตถุ เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว 

เป็นที่มาของการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวงเวียน ที่เป็นอนุสรณ์สถานแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น โดยทำการสร้างบริเวณถนน 3 สาย (ปัจจุบันคือ ถนนไมตรีจิตต์ ถนนมิตรพันธ์ และถนนสันติภาพ) ซึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ต่อมาได้พระราชทานนามวงเวียนว่า ’22 กรกฎาคม’

ปัจจุบัน วงเวียน 22 กรกฎาคม กลายเป็นแหล่งการค้าของกรุงเทพมหานครชั้นใน ทั้งนี้ที่บริเวณวงเวียน ยังปรากฎป้ายหินที่จารึกเป็นภาษาไทยและภาษาจีน มีใจความว่า...

อนุสรณ์แห่งนี้เป็นวงเวียนแห่งแรกของประเทศไทย สร้างเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงนำประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ก่อนจะได้รับชัยชนะในเวลาต่อมา

21 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ‘นีล อาร์มสตรอง’ มนุษย์คนแรก เหยียบลงบนพื้นผิวดวงจันทร์

วันนี้ เมื่อ 54 ปีก่อน นีล อาร์มสตรอง เหยียบลงบนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนแรกของโลก พร้อมคำกล่าวขณะที่ก้าวลงบนดวงจันทร์ว่า "นี่เป็นก้าวเล็กๆ ของชายคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ"

เรือโท นีล ออลเดน อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) 5 สิงหาคม พ.ศ. 2473 — 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นนักบินอวกาศชาวอเมริกัน และเป็นมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คนแรกของโลก

นีล อาร์มสตรอง เกิดที่เมืองวาปาโคเนตา รัฐโอไฮโอ ชื่นชอบเรื่องการขับเครื่องบินมาตั้งแต่ยังเด็กๆ เรียนการขับเครื่องบินครั้งแรกเมื่อตอนอายุ 15 ปีแล้วได้รับใบอนุญาตนักบินเมื่อตอนอายุ 16 ปี และเป็นนักบินทดสอบให้กับองค์การนาซามาก่อน เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) และปฏิบัติภารกิจหลายภารกิจในโครงการเจมินีและโครงการอะพอลโล และยังเคยเป็นนักบินในกองทัพสหรัฐ ปฏิบัติภารกิจ 78 ครั้งในสงครามเกาหลี

พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เขาเป็นผู้บัญชาการของโครงการอะพอลโล 11 ซึ่งมีเป้าหมายนำยานไปจอดบนดวงจันทร์โดยสมาชิกในทีมคือ เอ็ดวิน อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์

เขากล่าวประโยคนี้เมื่อเหยียบลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์

That’s one small step for man, one giant leap for mankind. นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของชายคนนึง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ

วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555 อาร์มสตรองได้เสียชีวิตในซินซินนาติ รัฐโอไฮโอ ขณะอายุได้ 82 ปี เนื่องด้วยภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐได้กล่าวยกย่องอาร์มสตรองว่าเป็น 'บุรุษชาว'

อนึ่ง นีล อาร์มสตรอง เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทย และ หนึ่งในสถานที่มาเยือนนั้นคือที่ โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ในต้นฤดูฝน พ.ศ. 2512 มีนักเรียนชื่อ อรนุช ภาชื่น และ พรเพ็ญ เพียรชอบ และเพื่อนรวม 6 คน ได้เขียนจดหมายเป็นภาษาอังกฤษส่งไปยังนีล อาร์มสตรอง ซึ่งแปลความเป็นภาษาไทยได้ว่า “เราต้องการรู้เรื่องราวเกี่ยวกับอะพอลโล 11 และคิดว่านักบินอวกาศจะเป็นผู้สามารถเล่าให้เราฟังได้มากที่สุดและดีที่สุด” ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จหลังการประสานงาน เมื่อสำนักงานข่าวสารอเมริกัน บรรจุโรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ไว้ในรายการเยือนประเทศไทยอีกจุดหนึ่งด้วย โดยในเดือนกรกฎาคม ปี 2512 นีล อาร์มสตรอง กลับจากดวงจันทร์ไม่นาน ก็ได้มายืนถ่ายรูปกับครูและนักเรียน ณ โรงเรียนประจำจังหวัดในภาคอีสาน นามว่า “ร.ร.สิรินธร จ.สุรินทร์”

ในการเดินทางมายังประเทศไทยอย่างเป็นทางการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น ตริตราภรณ์ช้างเผือก ให้แก่เขาด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top