Sunday, 18 May 2025
ค้นหา พบ 48168 ที่เกี่ยวข้อง

‘นริศโรจน์’ ซัด!! เหล่าดารา-คนดัง หลังแห่เปิดหน้าแขวะ กกต. ฟาดแรง!! “คงเล่นละครมาก ไปจนไม่รู้อะไรทั้งนั้น”

(13 ก.ค. 66) นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า…

“รู้ว่าเป็น ‘ดารา’ แต่ถ้าดาราไม่รู้ว่า กกต.มีไว้ทำไม อันนี้คนทั่วไปคงตอบแทนเขาได้ คงเล่นละครมาก ไปจนไม่รู้อะไรทั้งนั้น”

15 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 ประเทศไทยสูญเสียดินแดน ครั้งที่ 7 ยกเขมรและ 6 เกาะ ให้ฝรั่งเศส ในยุคล่าอาณานิคม

เมื่อ 156 ปีก่อน ประเทศไทยสูญเสียดินแดนเขมรและเกาะ 6 เกาะ ให้ฝรั่งเศส ในยุคล่าอาณานิคม อีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่คนไทยทุกคนต้องศึกษาและจดจำ

วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 เป็นอีกวันที่คนไทยทั้งชาติควรศึกษาและจดจำไว้เป็นบทเรียน กับเหตุการณ์หน้าประวัติศาสตร์ที่อันสำคัญในการรักษาอำนาจอธิปไตย ให้รอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นในยุคล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก กับความเจ็บปวดที่แลกมากับการต้องสูญเสียดินแดน เขมรและเกาะ 6 เกาะ เป็นพื้นที่ 124,000 ตร.กม. ให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 เป็นการเสียดินแดนครั้งที่ 7 จากทั้งหมด 14 ครั้ง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2325 จวบจนปัจจุบัน

สำหรับการเสียดินแดนเขมรและเกาะ 6 เกาะ นั้น สืบเนื่องจากการทำสงครามระหว่างไทยกับญวนหลายปี เพื่อแย่งชิงเขมรส่วนนอก หรือที่เรียกว่า 'อานามสยามยุทธ' ซึ่งภายหลังได้มีการตกลงกันว่า จะให้เขมรเป็นประเทศราชของสยามต่อไป แต่ก็ต้องส่งบรรณาการไปให้ญวนเสมือนประเทศราชของญวนด้วย แต่ไทยมีสิทธิ์ในการสถาปนากษัตริย์เขมรดั่งเดิม

โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ นักองด้วง เป็นกษัตริย์แห่งเขมร สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี หรือ สมเด็จพระหริรักษ์รามสุริยะมหาอิศวรอดิภาพ แต่ในปี 2397 เขมรได้แอบส่งสารลับไปยังฝรั่งเศส ขอให้ฝรั่งเศสช่วยกู้ดินแดนที่เสียให้ญวณกลับมาอยู่กับเขมรอีกครั้ง และมาช่วยคุ้มครองเขมรให้พ้นจากทั้งอำนาจของสยามและญวน

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ รัชการที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นักองราชาวดี หรือ สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ ขึ้นเป็นกษัตริย์เขมรองค์ต่อจาก สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ที่เสด็จสวรรคต โดยในช่วงก่อนปี 2406 นั้น ฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบอินโดจีนหรือญวนมากขึ้น และได้เข้ามาบีบบังคับโดยใช้กำลัง ทั้งทางกองเรือและทางการทูต

ทำให้สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ยอมให้อำนาจแก่ฝรั่งเศส ในการเข้ามาปกครอง และให้เขมรเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส โดยมีพระองค์ยังคงเป็นกษัตริย์อยู่ และได้ทำสัญญากันในปี 2406 ฝรั่งเศสเข้ามาเอาผลประโยชน์ โดยเอาเปรียบทางการค้าไทย และต้องการดินแดนเพื่อเข้าไปใกล้กับแม่น้ำโขง เพราะต้องการจะล่องเรือเข้าไปยังจีนผ่านทางนั้น

อย่างไรก็ตาม สยามได้พยายามรักษาสิทธิของตนเหนือกัมพูชา โดยทำสนธิสัญญาลับสยาม - กัมพูชา เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ.2406 เพื่อยืนยันสิทธิของสยามเหนือกัมพูชา พระนโรดมยินยอมลงนามในสนธิสัญญานี้เช่นกัน แต่เมื่อฝรั่งเศสทราบถึงการทำสนธิสัญญาลับสยาม-กัมพูชา ก็ได้เข้ามาคัดค้านและเจรจาเพื่อขอยกเลิกสนธิสัญญา

ทั้งนี้เมื่อฝ่ายสยามประเมินแล้วเห็นว่า ไม่มีทางจะต่อสู้กับฝรั่งเศสได้ จึงต้องยอมไปใน พ.ศ.2410 (ค.ศ.1867) โดยสยามจำต้องยอมลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส รับรองให้เขมรส่วนนอกด้านติดกับโคชินไชนา รวมเกาะอีก 6 เกาะ เป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศสบังคับกษัตริย์นโรดมพรหมบริรักษ์แห่งเขมร ให้ยอมยกดินแดนดังกล่าวไปอยู่ใต้การปกครอง

ร้านอาหารอิตาเลียนกลางกรุง บรรยากาศอบอุ่น พร้อมเสิร์ฟหลากหลายเมนู จากฝีมือเซฟชาวอิตาลี

ใครชอบรับประทานอาหารอิตาเลียน หรือกำลังมองหาอาหารตะวันตกมาลิ้มลอง ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์นี้ THE STATES TIMES ขอแนะนำร้าน ‘House of Tango’ ร้านอาหารอิตาเลียนที่บรรจงสร้างสรรค์หลากหลายเมนู โดยเน้นสีสันและรสชาติ ให้ถูกปาก ติดใจผู้คนที่ได้ลิ้มรส

ขอบอกก่อนว่า ‘House of Tango’ เกิดขึ้นจากฝีมือ คุณชัยยศ เพชรดาษดา (คุณยศ) นักออกแบบแห่งแบรนด์ TANGO ที่ตัดสินใจผันตัวมาทำร้านอาหาร แรกเริ่มจะเปิดแค่เล็ก ๆ แต่ไป ๆ มา ๆ ก็กลายเป็นร้านอาหารเต็มรูปแบบ แถมยังได้ Chef Frederic Farina เชฟหนุ่มใหญ่ชาวอิตาเลียนที่เคยเป็น Head Chef จากโรงแรมแกรนด์ฮแอทเอราวัณแบงค็อก (Grand Hyatt Erawan Bangkok) ผู้มีประสบการณ์มาเกือบ 30 ปี มาเป็นผู้วาง Concept ให้กับร้านด้วย

ภายในร้าน ‘House of Tango’ จะตกแต่งด้วยของที่ระลึกของคุณยศที่สะสมจากหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก โดยวางไว้ที่มุมต่าง ๆ ของร้าน คล้ายเป็นแกลอรีให้ลูกค้าได้ชื่นชม นอกจากนี้ยังตกแต่งร้านให้เกิดบรรยากาศที่อบอุ่น เสมือนอยู่ที่บ้านกับครอบครัว แต่ก็แฝงไปด้วยความหรูหรา สวยงาม เหมือนหลุดเข้าไปในมุมหนึ่งของอิตาลีด้วย

และสิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้เมื่อมาถึง ‘House of Tango’ ก็คือ ‘อาหาร’ ที่เป็นพระเอกนางเอกของร้าน ซึ่งมีหลากหลายเมนูขึ้นชื่อ เช่น

-Mixed Tomatoes Salad สลัดมะเขือเทศ เพิ่มเติมรสชาติให้กลมกล่อมมากกว่าเดิมด้วยแตงโม และทับทิม ปรุงรสเปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ จุดเด่นคือมะเขือเทศ สายพันธุ์ดั้งเดิมจากอิตาลี นำมาปลูกในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

-Blue Mussel หอยแมลงภู่จากชิลีนึ่งซอสไวน์ขาว อร่อยกลมกล่อม

-Sweet Pumpkin Ravioli, Truffle Cream Sauce ราวิโอลีแป้งสดทำเอง แต่เติมสีสันชวนลิ้มลองด้วยลวดลายที่ได้แรงบันดาลใจจากแพตเทิร์น แพทเวิร์ค ใช้สีธรรมชาติจากผัก เสิร์ฟพร้อมซอสทรัฟเฟิล ได้รสหวานเล็กน้อยจากไส้ฟักทอง

-Thai River Prawn สปาเกตตีกุ้งแม่น้ำ ได้กลิ่นและรสชาติจากกระเทียม น้ำมันมะกอก ไวน์ขาว เส้นหมึกดำจากแป้งซีโมลินาที่นำเข้าจากอิตาลีตอนใต้ 

-Beef Wellington เนื้อสันในจากออสเตรเลีย ห่อด้วยสมุนไพรและแป้งพัฟ หั่นโชว์เนื้อนุ่มในระดับ Medium Rare ชุ่มฉ่ำด้วยซอสไวน์แดง

นอกจากอาหารคาวรสชาติอร่อยที่ยกตัวอย่างไปแล้วบางส่วน ทางร้าน ‘House of Tango’ ก็ยังมีของหวานให้รับประทานตบท้าย เช่น Milles Feuilles ขนมอบรสชาติหวานกำลังดี หรือจะเป็น Waffle with Chalongbay Cherry Jubilee วาฟเฟิลกรอบนอกนุ่มใน ราดด้วยซอสเชอร์รี่ตุ๋นโฮมเมดเปรี้ยวหวานสุดลงตัว

สำหรับใครที่อยากตามไปลิ้มลอง ร้าน ‘House of Tango’ ตั้งอยู่ที่ ซอยเจริญกรุง 107 แยก 44 บางคอแหลม กรุงเทพฯ ร้านเปิดเวลา 17.00 -23.00 (อ.-อา) และ 12.00 - 15.00 (ส.-อา) ปิดทุกวันจันทร์ หรือโทรจองได้ที่เบอร์ 063-141-0999

'ส.ว.สมชาย' แฉ!! เจตนาก้าวไกลเรื่อง ม.112 ลั่น!! ดึงฟ้าลงดิน แต่ยังอ้างว่าแก้เพื่อปกป้อง

(13 ก.ค. 66) นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้พูดอภิปรายในรัฐสภา วาระการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ย้ำว่าจะไม่โหวต เลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมยกกรณีการเสนอร่างแก้มาตรา 112 ที่หลายคนอาจยังไม่เคยเห็น ว่า...

ผมอยากนำเสนอเอกสารจากทางพรรคก้าวไกล ซึ่งได้เสนอร่างกฎหมายแก้ไขมาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล ตัวจริง ซึ่งพรรคร่วมทั้ง 7 ไม่เคยเห็น ประชาชนก็ไม่เคยเห็น ร่างที่บอกไม่เคยเสนอเข้าสู่สภาฯ ลงเลขที่ 27/2564 ของสภาฯ วันที่ 25 มีนาคม 2564 และลงเลขรับอีกครั้งวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 

ทำไมถึงมีเลขรับ 2 ครั้ง และเหตุใด ส.ว.จึงไม่ไว้วางใจให้ก้าวไกลให้แก้ไข/ยกเลิกมาตรา112 และรัฐธรรมนูญมาตราที่เกี่ยวข้องกับชาติและสถาบันฯ ลองมาดูกันจะจะอีกครั้งครับ

ร่างกฎหมายดังกล่าว ถูกเสนอโดยพรรคก้าวไกลเข้าสภาผู้แทนราษฎร แต่ถูกท่านประธานสภาให้ไปปรับแก้ไข แต่ก้าวไกลก็ไม่ยอมแก้ไข และยืนยันจะเอาเข้าสภาฯ ให้ได้นั้น โดยในสาระสำคัญของร่างนั้น ได้แยกมาตรา 112 ที่ป้องไม่ให้ผู้ใดหมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย ต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท ออกจากกัน 

พร้อมทั้งลดโทษจำคุกลงเหลือแค่ไม่เกิน 6 เดือนไม่เกิน 1ปี และปรับลดโทษลงโดยไม่ต้องรับโทษเลย หากอ้างว่าทำเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือหากเป็นความจริง 

ทั้งนี้ หากแยกดูในบางรายละเอียดจะพบข้อความระบุโทษที่มีการปรับลดกฎหมายซึ่งถือเป็นกฎหมายคุ้มครองประมุขของแผ่นดินไว้ดังนี้… ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ จะระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 300,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดหมิ่นประมาทดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระราชินีรัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

>> ยิ่งไปกว่านั้น หากผู้ใดติชม แสดงความคิดเห็นหรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต เพื่อประโยชน์สาธารณะ >> ‘ผู้นั้นไม่มีความผิด’ เพราะมองว่า ความผิดในลักษณะนี้ เป็นความผิดอันยอมความได้

หรือบางมาตราก็มีตัดโทษจำคุกทิ้งหมดเหลือแค่โทษปรับเล็กน้อย เช่น มาตราที่คุ้มครองพระราชอาคันตุกะ เจ้าพนักงาน ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้มีหลักฐาน เป็นลายลักษณ์อักษรในร่างกฎหมายที่พรรคก้าวไกลพยายามที่จะนำเข้าสู่สภาในสมัยที่แล้ว เพื่อที่จะแก้ไขถึง 2 ครั้งและก็ยังคงดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง

ผมจึงไม่ขอสนับสนุนให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตของก้าวไกล ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

‘ไอติม พริษฐ์’ ถามเหล่า ส.ส.กลางรัฐสภา “พร้อมจะเคารพเสียงของประชาชน 14 ล้านคน ที่ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่”

(13 ก.ค. 66) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวอภิปรายในรัฐสภา ในวาระการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่า…

“คำถามที่สำคัญสำหรับสมาชิกรัฐสภา ไม่ใช่คำถามว่าพวกเรา 750 คนนั้น มีความคิดเห็นอย่างไรกับคุณสมบัติของคุณพิธา ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือมีความคิดเห็นอย่างไรกับนโยบายของพรรคก้าวไกล แต่คำถามที่สำคัญที่สุด ต่อหน้าสมาชิกรัฐสภาทุกท่านในวันนี้ ก็คือ พวกเรา 750 คน พร้อมจะเคารพเสียงของประชาชน 14 ล้านคน ที่ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top